url
stringlengths 30
33
| date
stringlengths 16
16
| title
stringlengths 2
170
| body_text
stringlengths 500
210k
| labels
stringlengths 2
867
|
---|---|---|---|---|
https://prachatai.com/print/79406 | 2018-11-01 21:13 | อัยการสั่งฟ้อง 8 แกนนำร้องเลือกตั้ง ฐานยั่วยุปลุกปั่นเหตุชุมนุมสกายวอล์กปทุมวัน | อัยการสั่งฟ้อง 8 แกนนำชุมนุมเรียกร้องเลือกตั้ง สกายวอล์กปทุมวัน หรือ 'MBK39' เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 61 ถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่น ม.116 ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ
ที่มาภาพ เฟสบุ๊กแฟนเพจ Banrasdr Photo [1]
1 พ.ย.2561 วันนี้ ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถนนเจริญกรุง พนักงานอัยการคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 สั่งฟ้องคดีรังสิมันต์ โรม, สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์, อานนท์ นำภา, เอกชัย หงส์กังวาน, สุกฤษฎ์ เพียรสุวรรณ, เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล, ณัฏฐา มหัทธนา, และสมบัติ บุญงามอนงค์ ผู้ต้องหากลุ่มคนอยากเลือกตั้งหน้าห้างเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ (MBK39) ที่ถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ จากการเรียกร้องให้ คสช. จัดการเลือกตั้งบริเวณสกายวอล์กห้างเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2561 โดยอัยการสั่งฟ้อง วีระ สมความคิด ไปก่อนแล้วเมื่อวันที่ 22 ต.ค. ที่ผ่านมา
16.32 น. อานนท์ โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัวว่า "ปล่อยตัวแล้วครับ พรุ่งนี้เป็นทนายต่อได้ เจอกันที่ศาลทหารครับ"
ข่าวสดออนไลน์ [2] รายงานว่า ณัฎฐา กล่าวก่อนถูกนำตัวไปฟ้องว่า วันนี้เป็นขั้นตอนที่อัยการส่งฟ้องต่อศาล ซึ่งพวกเราเตรียมทำเรื่องขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ไว้แล้ว ด้วยหลักการเดียวกับที่เคยยืนยันไปแล้ว ด้วยเราไม่เข้าข่ายเงื่อนไขอะไร ไม่มีเจตนาหลบหนี ก่อความวุ่นวาย ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานอะไรเลย คดีนี้ที่เราเคยได้ให้ความเห็นไว้คือ อยากให้ทุกคนในกระบวนการยุติธรรมตระหนักว่า คสช.เป็นผู้ฟ้องเรา เป็นคู่กรณีโดยตรง ในวันนี้คาดหวังว่าเราจะได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ เช่นเดียวกับที่ คุณวีระ สมความคิด ที่ถูกฟ้องไปก่อนหน้านี้ ซึ่งก็เป็นบรรทัดฐานมาสองครั้งแล้ว ก็คาดหวังให้เป็นเช่นนั้นต่อไป เพื่อให้เป็นบรรยากาศเตรียมพร้อมสู่การเลือกตั้ง คนอยากเลือกตั้งก็ไม่ควรจะต้องถูกกลั่นแกล้งไปมากกว่านี้
ศาลสั่งคุก 12 วัน 2 จำเลย คนอยากเลือกตั้ง MBK39 สารภาพลดเหลือรอลงอาญา 1 ปี [3]
แอมเนสตี้ฯ ชวนทั่วโลกส่งจดหมายร้องไทยยุติคดี MBK39 [4]
'ศูนย์การค้า MBK' ขอกลุ่มค้าน คสช.สืบทอดอำนาจ งดใช้ชื่อคล้ายเคลื่อนไหวการเมือง [5]
ณัฎฐา ยังกล่าวอีกว่า ตนอยากให้ความสำคัญในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก ต้องมองให้ชัดว่า คู่กรณีของคดีหลายๆ คดีที่เกิดขึ้นในประเทศนี้ คือ คสช.และเป็นไปเพื่อปิดปากประชาชน บรรยากาศแบบนี้ถ้านำไปสู่การเลือกตั้งก็จะนำสู่การเลือกตั้งที่ไม่มีเสรีภาพ จะเป็นการเลือกตั้งที่ไร้ความหมาย เพราะฉะนั้นเสรีภาพในการพูดเป็นประเด็นที่อยากจะไฮไลท์มากที่สุด เพราะสิ่งที่เราทำในวันที่ 27 ม.ค. 2561 ก็คือการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล และบอกว่าเราต้องการการเลือกตั้งเท่านั้น และคสช.เป็นผู้ฟ้องเรา เช่นเดียวกับเพลง ประเทศกูมี ที่ถูกข่มขู่ ดังนั้นจึง อยากให้เราช่วยกันปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก
รังสิมันต์ กล่าวถึงกรณีที่ประเทศกำลังเข้าสู่บรรยากาศของการเลือกตั้ง แต่คดีของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งกลับเพิ่งถูกสั่งฟ้อง ว่า เป็นเรื่องตลกดี เราเรียกร้องการเลือกตั้งมาโดยตลอด ถ้าหากรัฐบาลมีความประสงค์ให้มีการเลือกตั้งจริงก็ไม่ควรดำเนินคดีกับเราตั้งแต่แรก ในเมื่อรัฐบาลต้องการจะจัดเลือกตั้ง เราก็ต้องการการเลือกตั้ง ทำไมการเรียกร้องสิ่งเดียวกันจึงกลายเป็นปัญหา จริงๆ ถ้าจัดให้มีการเลือกตั้ง รักษาสัญญา ทุกอย่างก็จบ อย่างไรก็ตามก็คงต้องดูกันต่อไปว่า การในวันที่ 24 ก.พ. 2562 จะมีการเลือกตั้งจริงหรือไม่ แล้วจะเกิดการเลือกตั้งแบบใด เพราะการเลือกตั้งเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่ถ้าที่สุดแล้วการเลือกตั้งไม่ฟรี ไม่แฟร์ ก็จะไม่ส่งผลอะไร สุดท้ายการเลือกตั้งก็จะไม่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศ ซ้ำร้ายเป็นการย้ำปัญหาของประเทศไทยให้มากขึ้นกว่าเดิม ก็ขอให้คำนึงถึงประเทศด้วย ผ่านมากว่าห้าปี ประเทศบอบช้ำพอแล้ว
เอกชัย กล่าวด้วยว่า ถ้านับจากวันนี้ก็เหลือเพียง 116 วันก็จะถึงวันที่ 24 ก.พ. 2562 วันเลือกตั้ง แต่จนถึงวันนี้ยังมีบรรยากาศที่คลุมเครือ วันเลือกตั้งยังไม่มีประกาศชัดเจน เรายังไม่เชื่อจนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกาออกมา รวมทั้งการพยายามดำเนินคดีคนอยากเลือกตั้ง ที่เคลื่อนไหวก่อนหน้านี้ให้มีการเลือกตั้ง การคุกคามนักเคลื่อนไหวในท้องที่ที่มี ครม.สัญจร รวมทั้งล่าสุดที่ ดอน ปรมัตวินัย รมว.การต่างประเทศ ระบุว่า ไม่ต้องการให้ต่างชาติเข้ามาสังเกตการณ์ ถ้าจริงใจในการเลือกตั้ง ควรจะเปิดเสรีทุกอย่างจริงๆ ไม่ใช่มากั๊กเรื่องปลดล็อกการเมือง และหลายๆ อย่าง ทั้งที่เหลือเวลาอีกแค่ 116 วัน ทำให้คิดได้ว่ารัฐบาลมีความจริงใจกับการเลือกตั้งหรือไม่
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ', 'MBK39', 'การชุมนุมเรียกร้องเลือกตั้ง', 'ข้อหายุยงปลุกปั่น', 'ม.116', 'ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558'] |
https://prachatai.com/print/79407 | 2018-11-01 21:46 | จาตุรนต์ ฉายแสง: การเดินหาเสียงของนายสุเทพสะท้อนอะไร | การเดินหาเสียงของนายสุเทพกับพวกแสดงให้เห็นว่าการดำเนินการของพรรค....คงจะยากมากที่จะประสบความสำเร็จ แต่ถึงแม้ปฏิกิริยาที่มีต่อนายสุเทพ จะสะท้อนความเห็นที่ยังแตกต่างในสังคมอย่างลึกซึ้ง การที่นายสุเทพเลือกที่จะเข้าร่วมในการเลือกตั้ง ความแตกต่างทางความคิดเห็นก็จะไม่นำไปสู่ความรุนแรงใดๆ แตกต่างจากเมื่อนายสุเทพเคลื่อนไหวต่อต้านขัดขวางการเลือกตั้งก่อนการรัฐประหาร
การเดินหาเสียงของนายสุเทพไม่ได้รับการต้อนรับสนับสนุนหรือถูกตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์หรือแม้กระทั่งด่าประณามด้วยเหตุผลที่ต่างๆกันไป ผู้ที่อยากให้มีการเลือกตั้ง นิยมประชาธิปไตย ยังจำภาพการเดินเชิญชวนคนไปชุมนุมและขอบริจาคเงินไปล้มรัฐบาลและเชิญชวนให้กองทัพทำรัฐประหาร ก็ยังไม่เชื่อว่านายสุเทพจะมีความเชื่อถือศรัทธาอะไรต่อการเลือกตั้งและระบอบประชาธิปไตย ทั้งยังจำไม่ลืมว่านายสุเทพกับพวกคือต้นเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่ให้ประเทศไทยต้องตกอยู่ในสภาพเสียหายยับเยินอย่างที่ผ่านมากว่า 4 ปี
ผู้ที่เคยสนับสนุนหรือแม้แต่ศรัทธานายสุเทพก็คงผิดหวังต่อนายสุเทพในแง่มุมที่ต่างกันไป พวกที่ไม่เชื่อถือการเลือกตั้งย่อมไม่เห็นประโยชน์อะไรจากการที่นายสุเทพจะตั้งพรรคการเมืองเข้ารับการเลือกตั้ง พวกที่นิยมนายสุเทพเพราะเข้าใจว่านายสุเทพเสร็จภารกิจในการล้มรัฐบาลแล้วไปบวชรวมทั้งกล้าประกาศไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองอีก แต่กลับมาเป็นผู้นำพรรคตัวจริง ก็ย่อมรู้สึกได้ว่านายสุเทพไม่รักษาคำพูด พวกที่นิยมพลพรรคตลอดจนกรรมการบริหารพรรคและหัวหน้าพรรคต้องมาเห็นนายสุเทพนำอยู่คนเดียวก็คงไม่พอใจอีก
โดยส่วนตัวแล้วผมไม่อยากให้มีการต่อต้านขัดขวางการเดินหาเสียงของนายสุเทพ หากไม่ชอบก็แค่วางเฉย ถ้าไปต่อต้านกันมาก ก็อาจมีคนสวมรอยวางแผนทำให้เกิดความวุ่นวายก็จะสมประโยชน์ของผู้มีอำนาจที่ต้องการจะบอกว่าการเลือกตั้งทำให้เกิดความขัดแย้ง ทั้งๆที่การเลือกตั้งเป็นวิธีการที่จะแก้ปัญหาการที่ผู้คนมีความเห็นต่างกันในเรื่องใครควรเป็นรัฐบาลและรัฐบาลควรมีนโยบายอย่างไร โดยทุกฝ่ายไม่ต้องใช้ความรุนแรงแต่อย่างใด
การเดินหาเสียงของนายสุเทพยังแสดงให้เห็นปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่เสรีไม่เป็นธรรมอย่างชัดเจนอีกด้วยกล่าวคือนายสุเทพเดินพบประชาชนได้อยู่ฝ่ายเดียว พรรคอื่นจะทำบ้างก็อาจมีปัญหาผิดกฎหมาย ก็คือเลือกปฏิบัติ แต่การเดินทักทายประชาชนก็เป็นกิจกรรมเพียงเล็กน้อย ไม่สามารถพูดถึงนโยบายหรือแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นเรื่องเป็นราวอะไรได้ ประชาชนก็ไม่ได้รับข้อมูลว่าพรรคไหนมีนโยบายอะไร จึงเป็นการเลือกตั้งที่ไม่เสรี ทางที่ดีควรจะรีบเปิดให้พรรคการเมืองหาเสียงสื่อสารกับประชาชนได้อย่างไม่มีข้อจำกัดจะเป็นประโยชน์มากกว่า
| ['บทความ', 'การเมือง', 'จาตุรนต์ ฉายแสง', 'สุเทพ เทือกสุบรรณ', 'เดินคารวะแผ่นดิน'] |
https://prachatai.com/print/79404 | 2018-11-01 19:29 | ไกล่เกลี่ยปมติดเงินค่าข้าว 3 ล้าน ‘วิสาหกิจไร่เชิญตะวัน’ แบ่งจ่าย 5 งวด | ชาวนาร้องเรียนวิสาหกิจไร่เชิญตะวันติดเงินค่าข้าวกว่า 3 ล้าน ล่าสุดไกล่เกลี่ยที่ศาลากลางเชียงราย วิสาหกิจไร่เชิญตะวันขอแบ่งจ่าย 5 งวด พร้อมค่าปรับ-ดอกเบี้ย เริ่ม 1 ธ.ค. ตัวแทนพระจากไร่เชิญตะวันยัน ‘ว.วชิรเมธี’ ไม่เกี่ยวข้อง เป็นเพียงคนส่งเสริมตั้งกลุ่ม-อบรมโรงเรียนชาวนา ช่วยซื้อข้าวจากชาวนา 3 ปีเท่านั้น หลังจากนั้นมีผู้ก่อตั้งบริษัทขึ้นมาทำต่อ
ภาพจากเฟซบุ๊ค มะลิ ภิญญาพัชญ์
1 พ.ย.2561 มติชนออนไลน์ [1] รายงานว่า วันนี้ (1 พ.ย.) ที่ห้องเวียงกาหลง ศาลากลาง จ.เชียงราย ลิขิต มีเสรี ผู้อำนวยการสำนักงานศูนย์ดำรงธรรม จ.เชียงราย พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดให้มีการประชุมไกล่เกลี่ยระหว่างกลุ่มชาวบ้านจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์บ้านป่าเปา หมู่ 4 ต.เจริญเมือง อ.พาน จ.เชียงราย นำโดย จันทร์ติ๊บ คำอ้าย ประธานกลุ่ม และ เกษลักษณ์ หาราชัย ประธานวิสาหกิจชุมชนไร่เชิญตะวัน โดยมีพระภิกษุและ ว่าที่ร้อยโท ทัศน์ไชย ไชยทน เลขาธิการมูลนิธิวิมุตตยาลัย ไปร่วมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชาวนา
เนื่องจากก่อนหน้านี้ชาวบ้านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์บ้านป่าเปาเคยไปร้องเรียนต่อหลายหน่วยงานว่า ได้รวมกลุ่มจำนวน 69 ราย เข้ารับการส่งเสริมให้ปลูกข้าวอินทรีย์จากโรงเรียนชาวนาโดย เกษลักษณ์ ประธานวิสาหกิจชุมชนไร่เชิญตะวัน ให้การสนับสนุนและมีการรับซื้อข้าวจากชาวนาซึ่งปีที่ 1-3 ไม่มีปัญหาแต่งวดที่ 4 งวด วันที่ 21 ธ.ค.2560 ชาวบ้านระบุว่าคงค้างยังไม่ได้จ่ายรวมกัน 3,728,555 บาท ทำให้ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักติดต่อกันมาเกือบ 1 ปีล่าสุดยังไปร้องต่อการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่ จ.เชียงราย มาแล้วด้วย
รายงานข่าวระบุด้วยว่า การหารือครั้งนี้ทางพระภิกษุจากไร่เชิญตะวันและว่าที่ร้อยโท ทัศน์ไชย ชี้แจงว่า ไร่เชิญตะวัน โดยความเมตตาของพระอาจารย์วุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มและอบรมโรงเรียนชาวนา มีภาครัฐและเอกชนร่วมสนับสนุน วิสาหกิจชุมชนไร่เชิญตะวันเคยไปช่วยซื้อข้าวจากชาวนาเพียง 3 ปีเท่านั้น เพราะต้องการให้ชาวบ้านออกไปจัดตั้งกลุ่มกันเองเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับตัวเอง แต่เมื่อพ้นจากนั้นถือว่าจบโครงการโดยไม่มีปัญหาใดๆ แต่เกษลักษณ์ ซึ่งเป็นอดีตผู้ประสานโครงการได้ไปก่อตั้งบริษัทเองและอบรมชาวนาให้ทำข้าวอินทรีย์กันเอง กระทั่งปี 2560 ได้ซื้อข้าวจากชาวนาเองโดยยังคงใช้ชื่อวิสาหกิจชุมชนไร่เชิญตะวันอยู่ ดังนั้น ไร่เชิญตะวันจึงไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เลยกระทั่งเรื่องบานปลาย เพราะไม่สื่อสารให้ชาวบ้านเข้าใจ โดย พระอาจารย์วุฒิชัย แนะนำ ให้ไปยกเลิกวิสาหกิจชุมชนไร่เชิญตะวันเสีย แต่ปรากฎว่าปีต่อมาไม่มีการยกเลิก แต่มีการปรับโครงสร้างกรรมการภายในเท่านั้น รวมทั้งเมื่อไปทำข้อตกลงกับชาวบ้านก็กลับยังใช้หัวหนังสือของวิสาหกิจชุมชนเดิมอยู่จนมาเกิดปัญหาในครั้งนี้ กระนั้นแม้ไม่เกี่ยวข้องพระอาจารย์ก็เมตตาช่วยเหลือและแนะนำมาโดยตลอดในฐานะครูอาจารย์กระทั่งเรื่องราวยืดเยื้อมาถึงศูนย์ดำรงค์ธรรมดังกล่าว
ด้าน เกษลักษณ์ ให้เหตุผลว่าสาเหตุที่ค้างชำระเพราะมีปัญหาทางการเงินและราคาข้าวในตลาดตกต่ำ ไม่ได้ใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์นานาชาติ ทั้งนี้ น.ส.เกษลักษณ์ ยืนยันว่าตั้งใจจริงที่อยากให้เกษตรกรมีชีวิตที่ดีขึ้นและต้องการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างแข็งขันมาโดยตลอดจนบางครั้งประสบภาวะขาดทุนไปกว่า 20 ล้านบาท เพราะมีการจ่ายค่าต้นทุนและซื้อข้าวราคาแพงกว่าตลาดถึง 50%
หลังการประชุมไกล่เกลี่ยดังกล่าว ผู้สื่อข่าว ‘ประชาไท’ สอบถามไปยัง จันทร์ติ๊บ ในฐานะประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์บ้านป่าเปา กล่าวว่าหลังการเจรจาได้มีการทำข้อตกลงกันก็มีการทำข้อตกลงเพื่อจ่ายเงินให้กับชาวนา โดยงวดแรกวันที่ 1 ธ.ค.นี้ จำนวน 1 ล้านบาท งวดที่ 2 วันที่ 1 ม.ค.2562 จำนวน 1 ล้านบาท งวดที่ 3 วันที่ 1 ก.พ.2562 จำนวน 1 ล้านบาท และอีก 2 งวดที่เหลือคือดอกเบี้ยและค่าปรับซึ่งจะจ่ายจนครบภายในเดือนมี.ค. 2562
ทั้งนี้ จันทร์ติ๊บ ยืนยันว่า ไม่มีการถูกข่มขู่ใดๆ สามารถตกลงกันได้ด้วยดี โดยก่อนหน้านี้ได้นัดเจรจาไปแล้วครั้งหนึ่งแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ครั้งนี้ก็ถือว่าพอใจที่ตกลงกันได้เพราะรอมานานเกือบ 1 ปีแล้ว มีการลงบันทึกข้อตกลงกันไว้เรียบร้อย หลังจากนี้จันทร์ติ๊บยืนยันว่าหากวิสาหกิจชุมชนไร่เชิญตะวันจ่ายเงินจนครบจำนวนแล้ว หากต่อไปจะมีการทำการค้าขายกันอีกก็ยินดี โดยซื้อขายเป็นเงินสด
| ['ข่าว', 'เศรษฐกิจ', 'สังคม', 'คุณภาพชีวิต', 'กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์บ้านป่าเปา', 'วิสาหกิจชุมชนไร่เชิญตะวัน', 'จันทร์ติ๊บ คำอ้าย', 'เกษลักษณ์ หาราชัย', 'ไร่เชิญตะวัน', 'ว.วชิรเมธี'] |
https://prachatai.com/print/79408 | 2018-11-01 21:52 | ใบตองแห้ง: มวลมหาประชาหาย | สุเทพ เทือกสุบรรณ นำพรรครวมพลังประชาชาติไทย เดินคารวะแผ่นดิน (ไม่ใช่เดินขอขมา) โดนชาวบ้านตะโกนด่า “โกหก” “กินข้าวนะไม่ใช่กินหญ้า” ลุงกำนันอ้างว่าเป็นฝีมือกลุ่มอำนาจเก่า ไม่ใช่ กปปส.เดิมโกรธอยากเชื่ออย่างนั้นก็เอาที่สบายใจ ยังไงก็สังเกตได้ จากไลฟ์สดของเทือกเอง ว่าหลายคนเฉยชา บ้างทำเป็นไม่เห็น บ้างกอดอกไม่รับไหว้ บางร้านบางห้างไม่ให้เข้าไป แม้ยังมีแฟนคลับต้อนรับ บรรยากาศก็ต่างลิบลับ กับสมัยชัตดาวน์
พวกที่ตะโกนด่า อาจเป็นเสื้อแดงก็ได้ แต่เพราะบรรยากาศซบเซาไง ไม่มีมวลมหาประชาชนเนืองแน่น ถึงกล้าตะโกนด่า
มองโลกแง่ดีหน่อย กปปส.อาจยังไม่เปลี่ยนใจ แต่ต่างยุคต่างเป้าหมาย ปี 57 คนกรุงโกรธเกลียดยิ่งลักษณ์ อยากไล่ให้พ้น ๆ ใครเป็นผู้นำก็ได้ หน้าขาวหน้าดำ ลุงกำนันลุงกำนวย เห็นด้วยทั้งนั้น เชิดชูเป็นขวัญใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าอยากเลือกเป็น ส.ส. เป็นรัฐบาลซักหน่อย
โดยตรรกะ มันก็ย้อนแย้งอยู่แล้ว ผู้นำม็อบขัดขวางเลือกตั้ง กลับมาชวนอดีตม็อบเลือกพรรคที่ตัวเองตั้ง มันฟังไม่ขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องทวงคำมั่นสัญญาอะไรเลย
มวลมหาประชาชน ถ้าเรียกตามที่ประโคมตอนนั้น เป้าหมายอุดมการณ์ พากันไปไกลสุดติ่ง ไกลจนกลับมาเลือกตั้งไม่ได้ จนกว่าจะปฏิรูปประเทศไทยให้ใสสะอาด ชูป้ายปฏิวัติประชาชน ไปไกลถึงขั้นเลือกตั้งผู้ว่าฯ ถามจริงสี่ห้าปีผ่านไป ได้ปฏิรูปอะไรมั่ง นอกจากได้รัฐประหาร
นี่ว่าตามที่โปรโมทกันตอนนั้นถ้าไม่ใช่ก็บอกมา ถ้ารู้แก่ใจว่า ที่พูด ๆ แค่หลอกกัน เอาเข้าจริง ที่แห่ไปชุมนุม ที่คุยว่าเป็นล้าน ๆ ยิ่งใหญ่กว่า 14 ตุลาฯ แท้จริงคือเรียกหาเผด็จการ ถ้าอย่างนั้นก็น่าจะมีความสุข บรรลุจุดสปัสซั่มเหลือไม่พอใจอย่างเดียว คือไม่อยากเลือกตั้ง กลัวสืบทอดอำนาจไม่สำเร็จ
ก็อยากรู้เหมือนกันว่า กปปส.สมัยนั้น รวมทั้งดาราเซเลบส์คับคั่ง สุขสมหวังขนาดไหน อุตส่าห์ปิดเมืองขัดขวางเลือกตั้ง เศรษฐกิจพังทลาย สี่ปีที่ผ่านมามีความสุขดีอยู่ไหม หรือสะใจกับรัฐประหารโดยถ้วนหน้า แล้วด่า MV “ประเทศกูมี” ต่างหากทำให้ประเทศพัง
เพียงแต่พิสูจน์ยากเหมือนกัน เพราะถ้ามีคนกลับใจ ถ้าไม่ใช่คนดังที่ถูกแคปภาพไว้ ก็คงลบภาพตัวเอง แล้วทำเฉย ๆ เนียน ๆ เหมือนไม่เคยคาบนกหวีด
แน่ละ คนส่วนหนึ่งยังเกลียดชังคลั่งไคล้ อาจหนักกว่าเดิมเสียอีก เพราะถูกปลุกว่าผีดิบจะกลับมา รัฐประหารก็ปราบผีไม่ได้ จากที่ทำเป็นไม่สนใจการเมือง รัฐบาลทำถูกทำผิดไม่ใช่เรื่องของเรา ตอนนี้ก็กลับมาเกลียดนักการเมือง เพียงแต่ยังสงสัยว่าคนเหล่านี้จะเลือกใคร ระหว่างพรรคลุงกำนันกับพรรคพลังประชารัฐ
ฝากเลือกลุงกำนันหน่อยนะ จะได้จัดสปีชีส์ถูก เลือกพลังประชารัฐเดี๋ยวไปปนกับสามมิตรกับลูกกำนันเป๊าะลูกกำนันเซียะแยกแยะลำบาก
อีกกลุ่มก็ยังสงสัย คือมวลมหาคนกรุงคนใต้ที่เคยเลือก ปชป. จะเอาไงแน่ ในเมื่อว่าที่หัวหน้ามาร์คประกาศเป็นก๊กที่สาม ไม่ยืนข้างลุงตู่ ต้องเดาทางกันหน่อย แต่ถ้าเชื่อมั่นว่าในท้ายที่สุด ปชป.จะอ้างต่อต้านระบอบทักษิณ หนุนคสช.สืบทอดอำนาจ ก็เลือกประชาธิปัตย์เหมือนเดิม หล่อกว่า
โดยธรรมชาติคนชั้นกลางชาวกรุง ยังประเมินยากว่ามวลมหาประชาหายไปเท่าไหร่ คนที่เป็นแก่นแกนน่าจะยังอยู่ ขอเพียงคนที่ห่างออกมาหน่อย คนที่ถูกดูดเข้าไปด้วยกระแส รู้ตัว ถอยห่าง เปลี่ยนใจ เท่านั้นก็พอ อย่างน้อยก็จำเป็นบทเรียนชีวิต ว่าคาบนกหวีดแล้วได้อะไร
เผยแพร่ครั้งแรกใน: ข่าวหุ้นธุรกิจ www.kaohoon.com/content/259856 [1]
| ["'ใบตองแห้ง' ออนไลน์", 'การเมือง', 'ใบตองแห้ง', 'มวลมหาประชาชน', 'สุเทพ เทือกสุบรรณ', 'เดินคารวะแผ่นดิน'] |
https://prachatai.com/print/79409 | 2018-11-01 22:03 | 7 ปี กสทช. จุดเปลี่ยนการจัดสรรคลื่นความถี่และการสิ้นสุดยุคสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ | ในที่สุดกลุ่มบริษัทดีแทคก็ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ถือเป็นเอกชนรายสุดท้ายที่สิ้นสุดสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ แล้วเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ระบบใบอนุญาตอย่างเต็มตัวในอดีตประเทศไทยเริ่มให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้สัญญาร่วมการงานหรือเรียกกันว่าระบบสัมปทาน โดยมีทีโอทีถือครองคลื่น 900 MHz กสท โทรคมนาคมถือครองคลื่น 850 MHz และ 1800 MHz แล้วให้เอกชนคือ เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ เป็นคู่สัญญาสัมปทานตามลำดับ
ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ตามกฎหมาย ซึ่งมี กทช. เป็นคณะกรรมการชุดแรก และถูกเปลี่ยนสภาพเป็น กสทช. เมื่อปี 2554 ก็ไม่มีการให้สัมปทานคลื่นความถี่ใดๆ เพิ่มได้อีก เพราะคลื่นความถี่ถูกกำหนดให้เป็นสมบัติของประเทศเพื่อประโยชน์สาธารณะ และการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อการประกอบธุรกิจต้องดำเนินการโดยวิธีประมูล แต่คลื่นที่ได้รับอนุญาตตามระบบสัมปทานเดิมยังได้รับการคุ้มครองสิทธิจนกว่าจะสิ้นสุดสัมปทาน แล้วจึงนำมาจัดสรรใหม่ด้วยวิธีการประมูล
ผ่านมา 7 ปีนับแต่มี กสทช. สัมปทานของเอกชนทุกรายต่างทยอยสิ้นสุด จนสัมปทานของดีแทคสิ้นสุดเป็นรายสุดท้ายเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
ที่ผ่านมา เอกชนแต่ละรายต่างเข้าร่วมประมูลเพื่อช่วงชิงคลื่นความถี่เดิมที่เคยได้รับในระบบสัมปทานเพื่อให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง และพยายามช่วงชิงคลื่นความถี่ย่านที่ตนไม่เคยมีเพื่อขยายบริการเพิ่มขึ้นแข่งกับรายอื่น
การประมูลคลื่นความถี่ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2555 เป็นการเปิดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz อันเป็นคลื่นว่างที่ไม่เคยเปิดให้บริการมาก่อน รวม 90 MHz (2x45 MHz) ผลการจัดสรรคลื่นลงตัวพอดี คือเอกชนที่เข้าร่วมประมูล 3 รายได้คลื่นรายละ 30 MHz (2x15 MHz) ด้วยราคาชนะประมูลรวม 41,625 ล้านบาท การประมูลครั้งนั้นตกเป็นข่าวอื้อฉาว เนื่องจากไม่มีการแข่งขันในการประมูลและราคาที่ชนะต่ำกว่าราคาประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ตามผลการศึกษามากกว่าหมื่นล้านบาท แต่ก็ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ ประเทศไทยได้เข้าสู่ยุค 3G อย่างเต็มตัว การใช้งาน Mobile Broadband แพร่หลายอย่างรวดเร็ว ปริมาณการใช้งาน Data เฉลี่ยต่อคนต่อเดือนจากระดับเมกะไบต์พุ่งสู่ระดับกิกะไบต์ เพราะความเร็วในการดาวน์โหลดเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว
ต่อมาสัมปทานคลื่น 1800 MHz ของทรูมูฟและดีพีซี (หนึ่งในกลุ่มเอไอเอส) สิ้นสุดลงเป็นชุดแรกเมื่อปี พ.ศ. 2556 รวมปริมาณคลื่นที่สิ้นสัมปทาน 50.4 MHz (2x25.2 MHz) แต่ไม่มีการจัดประมูลอย่างทันการณ์ ทำให้มีการให้บริการต่อโดยเรียกกันว่า “การเข้าสู่มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการ” จนกระทั่งในเดือนพฤศจิกายน 2558 จึงมีการจัดประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 60 MHz (2x30 MHz) ซึ่งกลุ่มบริษัทที่เคยถือสัมปทานเดิมต่างชนะประมูลคลื่นเพื่อนำกลับไปให้บริการต่อ และแม้กลุ่มดีแทคจะไม่เคาะราคาแข่ง แต่ก็มีกลุ่มแจสเป็นหน้าใหม่ที่เข้ามาเคาะราคาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีผู้เข้าร่วมประมูลจริงมากกว่าจำนวนคลื่นที่เปิดประมูล ในครั้งนี้จึงได้ราคาชนะประมูลรวมถึง 80,778 ล้านบาท สูงกว่าราคาเฉลี่ยจากการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่
ตามมาด้วยการสิ้นสุดสัมปทานคลื่น 900 MHz ของเอไอเอสเมื่อปี พ.ศ. 2558 อีก 35 MHz (2x17.5 MHz) แม้ กสทช. จะพยายามเตรียมจัดประมูลล่วงหน้าก่อนสัมปทานจะสิ้นสุด แต่ในที่สุดมีการจัดประมูลคลื่น 900 MHz จำนวน 40 MHz (2x20 MHz) ในเดือนธันวาคม 2558 หลังจากการประมูลคลื่น 1800 MHz เพียง 1 เดือน ในครั้งนี้ กลุ่มเอไอเอส กลุ่มดีแทค กลุ่มทรูมูฟ และกลุ่มแจส ต่างเคาะราคาช่วงชิงคลื่นกันอย่างถึงพริกถึงขิง จนราคาทำลายสถิติโลก แม้ทรูมูฟและแจสจะเป็นผู้ชนะ แต่ต่อมาแจสไม่มาชำระเงิน จึงต้องจัดประมูลอีกครั้งด้วย ม. 44 จนกลุ่มเอไอเอสพลิกกลับมาชนะประมูล ทำให้ราคาชนะประมูลรวมสูงถึง 151,952 ล้านบาท
การประมูลคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz เมื่อปลายปี 2558 ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนสำคัญ การเข้าร่วมของกลุ่มแจสได้เพิ่มสภาพการแข่งขันในตลาดหลังการประมูลอย่างชัดเจน ทำให้ผู้บริโภคไทยคาดหวังที่จะเห็นผู้ให้บริการหน้าใหม่ นอกจากนั้นยังทำให้ต้นทุนคลื่นความถี่ของอุตสาหกรรมพุ่งสูงขึ้นอย่างมหาศาล ในทางกลับกันก็สร้างรายได้มหาศาลให้แก่รัฐ จนปัจจุบันรัฐคาดหวังรายได้จากคลื่นความถี่เป็นรายได้ก้อนสำคัญที่จะมาเสริมงบประมาณรายรับของประเทศอย่างจริงจัง และจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดก็คือ ทำให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุค 4G อย่างเต็มตัว ปริมาณการใช้ Mobile Broadband พุ่งขึ้นอย่างมากตามการใช้งานวิดีโอสตรีมมิ่งผ่าน Social Network หรือผ่านบริการวิดีโอต่างๆ จนปริมาณการใช้งาน Data เฉลี่ยต่อคนต่อเดือนจากระดับ 2 กิกะไบต์ในยุค 3G พุ่งสู่ระดับ 6 กิกะไบต์ จนทำให้ผู้บริโภคเริ่มรู้สึกว่า 4G ในปัจจุบันช้าลง เพราะปริมาณการใช้งานที่คับคั่งนั่นเอง
ล่าสุดสัมปทานคลื่น 850 MHz จำนวน 20 MHz (2x10 MHz) และสัมปทานคลื่น 1800 MHz จำนวน 100 MHz (2x50 MHz) ของดีแทคก็สิ้นสุดลงเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา และ กสทช. ได้จัดประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 90 MHz (2x45 MHz) แต่มีผู้สนใจประมูลเพียง 20 MHz (2x10 MHz) ทำให้มีคลื่น 1800 MHz คงค้างกับ กสทช. ถึง 70 MHz (2x 35 MHz) สาเหตุอาจเป็นเพราะ กสทช. ยืนราคาเริ่มต้นประมูลไว้สูงมากตามราคาชนะประมูลเมื่อปี 2558 ทำให้ไม่คุ้มค่าที่เอกชนจะมาแย่งคลื่นไปทำกำไร อย่างไรก็ตาม ราคาชนะประมูลรวมในครั้งนี้ก็สูงถึง 25,022 ล้านบาท
ในส่วนคลื่น 850 MHz กสทช. ได้ Reband มาจัดสรรเป็นคลื่น 900 MHz เพื่อลดปัญหาการรบกวนกันระหว่างย่าน 850 MHz และย่าน 900 MH แต่เนื่องจากได้จัดสรรคลื่นนี้ครึ่งหนึ่งให้กับระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟความเร็วสูง จึงมีคลื่นส่วนที่เหลือออกประมูลจำนวน 10 MHz (2x5 MHz) โดยกลุ่มดีแทคชนะประมูลไปด้วยราคา 38,064 ล้านบาทเมื่อวันที่ 28 ตุลาคมนี้ ทำให้ไม่เหลือคลื่นย่านนี้ที่จะนำมาประมูลได้อีก และนับเป็นการสิ้นสุดยุคสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างเต็มตัว โดยการประมูลครั้งนี้คงจะเป็นการประมูลครั้งท้ายๆ ก่อนเข้าสู่ยุค 5G ซึ่งจะพลิกโฉมบริการ Mobile Broadband อย่างขนานใหญ่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า การประมูลในปีนี้จึงคงไม่ใช่จุดเปลี่ยนของบริการในตลาด Mobile Broadband เหมือนการประมูลเมื่อปี 2555 และปี 2558
อย่างไรก็ดี การประมูลในปีนี้ทำให้เกิดความชัดเจนว่า อย่างน้อยผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหลักทั้งสามราย คือ กลุ่มเอไอเอส กลุ่มดีแทค และกลุ่มทรู ยังคงปักหลักให้บริการในประเทศไทยต่อไปครบทั้งสามราย ในระยะ 7 ปีที่ผ่านมา แม้ กสทช. ยังไม่สามารถเพิ่มจำนวนผู้ให้บริการมือถือ แต่อย่างน้อยก็ไม่ทำให้ผู้เล่นหลักลดน้อยไปกว่าเดิม ซึ่งดีต่อการก้าวสู่ยุค 5G ในทางกลับกัน หากประเทศไทยเหลือผู้ให้บริการหลักเพียง 2 ราย การผูกขาดตลาดในยุค 5G จะกระทบภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ต้องให้บริการยุคดิจิทัลผ่านโครงข่าย 5G ทำให้เศรษฐกิจดิจิทัลในภาพรวมเติบโตช้าและขาดประสิทธิภาพได้
นอกจากการจัดประมูลคลื่นความถี่แล้ว กสทช. ยังได้เพิ่มปริมาณคลื่นโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้าสู่ตลาด โดยยอมให้ทีโอทีใช้คลื่น 2300 MHz ซึ่งเดิมใช้กับบริการโทรศัพท์ทางไกลสาธารณะชนบทมาให้บริการ 4G ได้อีกจำนวน 60 MHz ซึ่งทีโอทีได้จับมือเป็นพันธมิตรกับกลุ่มดีแทคเพื่อเสริมบริการ 4G ให้กับประเทศ
เท่ากับว่า 7 ปีของ กสทช. แม้สัมปทานคลื่นความถี่จะสิ้นสุดลงรวม 205.4 MHz และมีการประมูลกลับไปใช้งานเพียง 130 MHz แต่ กสทช. ก็ได้จัดสรรคลื่น 2100 MHz เข้าสู่ตลาด 90 MHz และได้อนุญาตให้ใช้คลื่น 2300 MHz บริการ 4G อีก 60 MHz รวมคลื่นที่ กสทช. ป้อนเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ในทุกวิธีการได้ 280 MHz ไม่รวมคลื่นความถี่ซึ่งทีโอที และ กสท โทรคมนาคมยังถือครองจนถึงปี 2568 อีก 60 MHz (2x30 MHz) และหากเกิดความคับคั่งในการใช้งาน 4G กสทช. ก็ยังมีคลื่น 1800 MHz ที่จะเสริมเข้าสู่ตลาดได้อีก 70 MHz (2x35 MHz) ก่อนที่ไทยจะเข้าสู่ยุค 5G ที่จะให้บริการบนคลื่นย่าน 700 MHz ย่าน C Band และย่าน Millimeter waves
ในแง่รายได้ นอกจากเงินจากการประมูลคลื่นความถี่รวมกว่า 337,000 ล้านบาท ยังมีรายได้จากการให้บริการในช่วงมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการอีกกว่า 11,000 ล้านบาท แต่เอกชนยังไม่ยินยอมจ่ายและนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของศาลปกครอง
สรุปแล้ว นับแต่นี้ไป บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยได้สิ้นสุดยุคสัมปทานแล้วโดยสมบูรณ์ ในส่วนบริการที่ถูกครหาว่าเป็นสัมปทานจำแลงนั้น ก็เป็นหน้าที่ขององค์กรตรวจสอบที่ต้องเร่งดำเนินการตามกฎหมาย แต่ไม่ว่าจะเป็นสัมปทานจำแลงจริงหรือไม่ก็ตาม ในที่สุดอายุดำเนินการก็จะไม่เกินปี 2568 ตามสิทธิการถือครองคลื่นของรัฐวิสาหกิจที่ทำสัญญาอยู่ดี
เกี่ยวกับผู้เขียน: ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา เป็นคณะกรรมการ กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ
| ['บทความ', 'เศรษฐกิจ', 'สังคม', 'กสทช.', 'การจัดสรรคลื่นความถี่', 'การสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่', 'ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา'] |
https://prachatai.com/print/79410 | 2018-11-01 22:06 | เริ่มแล้ว งานสร้างสุขที่ปลายทาง ปี 2 บูรณาการทุกภาคส่วนขับเคลื่อนนโยบายตายดี | คณะทำงานสร้างสุขที่ปลายทางพร้อมนำทุกภาคส่วนขับเคลื่อนนโยบายตายดีและพัฒนาระบบดูแลแบบประคับประคอง วงเสวนาชี้การถอดเครื่องพยุงชีวิตต่างๆ ในช่วงวาระสุดท้าย คือ การทำบุญครั้งสุดท้ายให้ผู้ป่วยได้จากไปอย่างสงบ
เวทีเสวนาเรื่อง "การรับมือกับความตายในสังคมยุค 4.0"
1 พ.ย.2561 กลุ่มงานสื่อสารสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) รายนงานว่า เวที “สร้างสุขที่ปลายทาง ปีที่ 2” จัดโดยคณะทำงานสร้างสุขที่ปลายทาง เป็นความร่วมมือขององค์กรด้านสุขภาพ 11 แห่ง ได้แก่ สช. ร่วมกับ ศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มูลนิธิเครือข่ายพุทธิกา, กลุ่ม Peaceful Death, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), กระทรวงสาธารณสุข, สภาการพยาบาล, หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) และสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย และภาคีเครือข่าย โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงแรมเซ็นทารา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซนเตอร์ แจ้งวัฒนะ มีเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง เพื่อเรียนรู้ความตายอย่างแท้จริง
วันนี้ (1 พ.ย.61) ซึ่งเป็นวันแรกของการจัดงาน นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “สร้างสุขที่ปลายทาง ภารกิจร่วมของทุกภาคส่วน” ระบุว่า กว่า 60 ปีมาแล้วที่มีการนำเรื่องเทคโนโลยี และระบบบริการที่ดีมาใช้ในการยื้อชีวิต โดยเฉพาะในสังคมสูงวัยใน ทำให้การใช้เงินเพื่อดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายสูงมาก จากตัวเลขของสำนักงานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) พบว่าค่าใช้จ่ายของการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในเดือนสุดท้ายของชีวิตในโรงพยาบาลประมาณ 45,000-340,000 บาทต่อคน เปรียบเทียบกับการดูแลผู้ป่วยที่ที่บ้านอยู่ที่ประมาณ 27,000 บาท
พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 12 จึงเข้ามารองรับเพื่อแก้ปัญหา โดยระบุถึง “สิทธิบุคคลในการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อการยื้อชีวิตในระยะสุดท้าย” ซึ่งมีกฎกระทรวงรองรับแล้ว หรืออาจเรียกว่า “พินัยกรรมชีวิต” ถือเป็นการปรับกระบวนทัศน์ต่อการจัดการชีวิต จัดระบบการดูแลอย่างองค์รวมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมและปัญญา โดยหมายรวมถึงการบำบัดรักษา และช่วยบรรเทาความเจ็บปวดทรมาน ซึ่งเป็นคำตอบของการตายแบบมีคุณภาพชีวิต ทำให้ผู้ป่วยมีความสุข สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อยู่ท่ามกลางคนที่เรารัก และไม่เจ็บป่วยทุกข์ทรมานเกินไป
โดยในรอบปีที่ผ่านมา ได้มีการขยายเครือข่ายการทำงานไปยังบุคลากรของโรงพยาบาลในภูมิภาคต่างๆ พบกระแสความสนใจและตื่นตัวในเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มาให้ความสำคัญกับการมีหน่วยดูแลประคับประคองมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาระบบบของโรงพยาบาล รวมทั้งพัฒนาความพร้อมของบุคลากร
ในวันเดียวกัน ยังมีการจัดเสวนาเรื่อง "การรับมือกับความตายในสังคมยุค 4.0" โดย ศ.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศรัณย์ ไมตรีเวช หรือ ดังตฤณ นักเขียนอิสระ และนที เอกวิจิตร หรือ อุ๋ย บุดด้าเบลส ศิลปินนักร้อง
ศ.นพ.อิศรางค์ กล่าวว่า การตายในยุคนี้ไม่น่ากลัวอีกต่อไป แม้จะเป็นโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งในระยะลุกลาม เพราะมียาที่ช่วยบำบัดความปวดได้ ทำให้คนไข้อยู่กับมะเร็งอย่างสันติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงสุดท้ายของชีวิต แต่สิ่งสำคัญคือ เมื่อวาระนั้นมาถึงต้องมีการสื่อสารกับคนไข้และคนในครอบครัว เพื่อให้รู้ว่าช่วงสุดท้ายของชีวิตต้องการทำอะไร และเติมเต็มชีวิตให้กันอย่างไร
“ทางที่ดีที่สุดคือผู้ป่วยต้องทำหนังสือแสดงเจตนา (Living Will) เพื่อบอกอย่างชัดเจนว่าต้องการให้ดูแลรักษาในระยะสุดท้ายอย่างไร ซึ่งแพทย์พยาบาลส่วนใหญ่เคารพการตัดสินใจของผู้ป่วย” ศ.นพ.อิศรางค์ กล่าว
ขณะที่ ผศ.ดร.ภาวิกา กล่าวว่า อุปสรรคหลายประการในสังคมไทยที่ทำให้เราไม่สามารถตายอย่างสงบได้ นั่นก็คือ การถูกแทรกแซงการตัดสินใจจากญาติ ไม่เคารพการตัดสินในของผู้ป่วย และสังคมไทยไม่มีพื้นที่แลกเปลี่ยนเรื่องความตายอย่างเพียงพอ
ขณะที่ ศรัณย์ หรือ ดังตฤณ แนะนำว่า ทุกคนต้องซ้อมตายบ่อยๆ ให้นึกนาทีสุดท้ายของชีวิตในทุกๆ วัน เพื่อให้วันนั้นมาถึงจริงๆ จะเป็นการตายอย่างสงบ นึกถึงสิ่งที่เป็นบวก ต้องใจสว่าง มีจิตผ่องใส และจะไปสู่สุขคติ
“ต้องปรับความคิดว่า การถอดเครื่องพยุงชีวิตต่างๆ ในช่วงวาระสุดท้าย ให้พ่อแม่จากไปอย่างสงบ คือ การทำบุญครั้งสุดท้ายให้พ่อแม่” ดังตฤณ กล่าว
นที หรือ อุ๋ย บุดด้าเบลส กล่าวว่า ในระยะสุดท้ายของชีวิต ต้องเคารพความต้องการของผู้ป่วย และนึกถึงผู้ป่วยไว้เสมอว่า จริงแล้วเขาต้องการอะไร คนรอบข้างต้องปรับความคิดใหม่ ไม่ไปยุ่งกับชีวิตของผู้ป่วยมากเกินพอดีจนไปตัดสินใจแทนผู้ป่วย ทั้งที่เขาอาจไม่ต้องการแบบนั้นก็ได้
| ['ข่าว', 'คุณภาพชีวิต', 'พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550', 'นโยบายตายดี', 'สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ'] |
https://prachatai.com/print/79412 | 2018-11-01 23:15 | มองและฟัง ‘ประเทศกูมี’ ผ่านมานุษยวิทยา |
เกริ่นนำเมื่อได้ฟังมิวสิกวิดีโอ (Music video) ประเทศกูมีครั้งแรก ผมคิดในใจว่าเพลงนี้นี่แหละ ที่กำลังพูดและทำในสิ่งที่หลายคนอึดอัดและอยากทำแต่ไม่มีโอกาสหรือความกล้าพอที่จะทำ โดยเฉพาะเนื้อหาของเพลงที่ระบุถึงปัญหาร่วมสมัยทางการเมืองของไทยเอาไว้ ผ่านชั้นเชิงการเสียดสีและประชดประชัน เพลงนี้จึงมีลักษณะของการเป็นวาล์วระบายปะทุทางการเมือง ขณะเดียวกันมันยังช่วยเปิดพื้นที่ความกล้าหาญในการยืนยันสิทธิทางการเมือง ทว่า นี่เป็นผลจากการฟังครั้งแรกเท่านั้น
หลังจากได้ฟังรอบที่สองและสาม ผมกับพบว่าความคิดในครั้งแรกมันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสียทั้งหมด เอาเข้าจริงเพลงนี้มิได้มีความแรงโดยตัวของมันเอง ซ้ำยังเริ่มเรื่องด้วยเรื่อง “เสือดำ” ซึ่งค่อนข้างจะมีความชอบธรรมในการวิจารณ์ในระดับหนึ่ง แม้ว่าเนื้อหาต่อมาจะมุ่งเน้นการ “หงายกะลา” ให้ความจริงทางการเมืองปรากฏ ประเทศไทยอาจคุ้นเคยกับเพลงแร็ปว่าด้วยความรักและความขำขันมากกว่า ขณะที่แร็ปการเมืองนั้นเป็นสิ่งที่ดำเนินมาโดยตลอดในสายธารของการก่อเกิด เนื้อหาที่กระแทกกระทั้น, การตัดเสียงจังหวะหรือ beat คือองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้แร็ปมีการพลังในการผลักคนให้ก้าวไปข้างหน้ามากกว่าการหยุดครุ่นคะนึงกับที่ การแร็ปโดยตัวมันเองจึงไม่ใช่แค่การสื่อสารผ่านเนื้อหาในตัวบทของเพลง แต่คือการผลักให้ตัวบทกลายเป็นเสียงประเภทหนึ่ง ที่ทำงานร่วมกับเครื่องดนตรีกำหนดจังหวะอีกหลายชนิด เพลงแร็ปจึงเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในยามที่เรานึกถึงเพลงในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการนิพนธ์เรื่องราวผ่านเสียงหรือ Sound ethnography ดังนั้น การพิจารณา “ประเทศกูมี” ผ่านการวิเคราะห์ตัวบทเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอและขัดต่อการแร็ปไปสักนิด และเราอาจไม่เข้าใจเลยก็ได้ว่าทำไมการร้องเพลงการเมืองยามนี้ต้องเป็นแร็ปและต้องเป็นแร็ปที่ทำผ่านมิวสิกวิดิโอ เพื่อให้ผู้ชมฟังผ่านโลกออนไลน์
การฟังครั้งที่สี่ของผมเกิดขึ้นในตลาดสดแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ค้าขายผักลวกกับสารพัดน้ำพริก จำพวก น้ำพริกฮ้า, น้ำพริกหนุ่ม, น้ำพริกข่า, และน้ำพริกน้ำปู๋ เธอกับเพื่อนร่วมแผงวางลำโพงเล็กๆ ตัวหนึ่งติดกับกะละมังน้ำพริก แล้วเปิดประเทศกูจากมือถือผ่านบูลทูธ เสียงแร็ปดังลั่นไปครึ่งตลาด เธอสองคนขายน้ำพริกไปด้วยโยกตัวไปด้วย ครั้นถามว่าทำไมจึงเปิด พวกเธอก็ตอบว่า เปิดให้คนในตลาดฟัง จากนั้นไม่นาน แผงขายไส้อั่วกับสารพัดของย่างก็เปิดประเทศกูมีตาม เช้าวันนั้น ประเทศกูมี ไม่ได้ดังขึ้นหรือเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันแต่ในโลกออนไลน์ หรือจำกัดวงเฉพาะกลุ่มเพียงอย่างเดียว ทว่า มันเป็นการสื่อสารที่เชื่อมโยงกันระหว่างโลกออนไลน์กับออฟไลน์ โลกในพื้นที่ซึ่งมองไม่เห็นกับโลกทางกายภาพล้วนเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะในประเด็นสำนึกทางการเมืองและวัฒนธรรม
กลับถึงบ้านผมจึงย้อนกลับไปฟังประเทศกูมีซ้ำอีกหลายรอบ เพื่อนึกถึงสิ่งที่อาจตกหล่นไปจากการคิดในครั้งเบื้องต้น ครั้งนี้ผมได้หยิบประเด็นทางมานุษยวิทยาติดเพิ่มมาด้วยเพื่อตอบคำถามที่ว่าทำไมประเทศกูมีจึงกลายเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประเด็นดังกล่าวสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้
เทคโนโลยี, เสียง และปริมณฑลสาธารณะแห่งชาติงานศึกษาด้านเทคโนโลยีทางสังคมศาสตร์ซึ่งผูกโยงกับประเด็นการสร้างพื้นที่สาธารณะจำนวนไม่น้อยให้ความสำคัญกับบทบาทของ “สื่อและเทคโนโลยี” ซึ่งถูกผลิตขึ้นในฐานะการช่วยสร้างปริมณฑลสาธารณะแห่งชาติ (National public sphere) ตลอดจนระบอบแห่งความเป็นพลเมือง (Regimes of citizenship) ขึ้นมา งานศึกษาอันเป็นหมุดหมายและเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ ชุมชนจินตนากรรม (Imagined communities) ของ แอนเดอร์สัน (Anderson 1983) งานชิ้นนี้มุ่งเน้นไปที่สื่อสิ่งพิมพ์ (Print media) และเทคโนโลยีการพิมพ์ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ดวงตารับรู้เอาชุดจินตนากรรมต่างๆ เข้ามาในความคิด โดยมิได้พิจารณารูปแบบของสื่อและเทคโนโลยีประเภทอื่น นักวิชาการซึ่งได้รับอิทธิพลในความคิดเช่นนี้อย่าง มร์าเซก (Mrázek 2002) และ ฮาดโลว์ (Hadlow 2004) ได้เป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกงานศึกษาอย่างจริงจังในภายหลัง โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับสื่อในประเภทของเสียงและบทบาทของสถานีวิทยุหรือคลื่นความถี่ต่างๆ กับการสร้างจินตนาการแห่งชาติ
ทำไมเสียงและเทคโนโลยีเกี่ยวกับเสียงจึงสำคัญต่อการสร้างชุมชนชาติ? หนังสือเรื่อง Radio fields: Anthropology and Wireless Sound in the 21st Century (2012) อธิบายไว้อย่างน่าสนใจว่า วิทยุและการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุนั้น เป็นสื่อกลางอิเล็กทรอนิกส์ที่กว้างไกลและแพร่หลายที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ไม่แพง ทั้งยังตัดข้ามผ่านข้อจำกัดในแง่ของสถานที่, ความอัตคัดขัดสน, และการเมืองซึ่งจำกัดผ่านเทคโนโลยีด้านสื่ออื่นที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะสื่อทางด้านภาพอย่างโทรทัศน์, ภาพยนตร์, และการรับชมทางอินเตอร์เน็ต การกระจายเสียงวิทยุนั้น สามารถทำได้ผ่านการส่งสัญญาณจากสถานที่หนึ่งสู่เครื่องรับในอีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นในรถยนต์, ในห้องเรียน , และสถานที่อื่นทั่วไป รวมไปถึงมือถือทั้งในรูปแบบธรรมดาและสมาร์ทโฟน หนังสือเล่มนี้ เปิดประเด็นซึ่งออกจะขัดกับความเข้าใจส่วนใหญ่ของคนจำนวนมากซึ่งเชื่อว่าบทบาทของวิทยุนั้นเริ่มน้อยลง ทว่า รายละเอียดการศึกษากลับค้นพบว่าวิทยุมีบทบาทสูงมากกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของชนพื้นถิ่นและชนส่วนน้อยที่ต้องการสร้างตัวตนของตนเองไปพร้อมกับการต่อต้านอำนาจ
สิ่งชวนคิดจากหนังสือเล่มนี้คือ การให้ความสำคัญกับการกระจายเสียงในฐานะปฏิบัติการทางอุดมการณ์ของมวลชน เทคนิคการกระจายเสียงได้กลายเป็นสิ่งที่แปรผันรูปแบบของเทคโนโลยีและสัมพันธ์กับการทำงานทางอุดมการณ์ในพื้นที่สาธารณะเสมอ ในช่วงทศวรรษที่ 1920 โดยประมาณนับเป็นช่วงเวลาแห่งการ “ตื่นวิทยุ” กันเป็นอย่างกว้างขวาง และในปี 1926 การกระจายเสียงวิทยุได้กลายเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของชีวิตสาธารณะในยุโรปและอเมริกา (p.5) การทำงานของวอลเตอร์ เบนยามิน (Walter Benjamin) ในฐานะผู้ผลิตและกระจายเสียงให้กับวิทยุในแฟรงค์เฟิร์ตและเบอร์ลิน ช่วงปลายทศวรรษ 1920 ถึง ต้นทศวรรษ 1930 ถือเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ดีถึงบทบาทของการกระจายเสียงในปริมณฑลสาธารณะซึ่งเขามีความเชื่อว่า เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกฝนการพินิจตัดสินเชิงวิพากษ์ (the training of critical judgment) (Benjamin 1999, 585)
อย่างไรก็ตาม การกระจายเสียงสู่สาธารณะมิได้เป็นปฏิบัติการเชิงบวกเพียงอย่างเดียว หากยังเป็นเสมือนการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับรัฐอีกด้วย ตัวอย่างที่ชัดเจนเห็นจะเป็นในสมัยนาซี วิทยุเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ทั้งยังได้รับการอุดหนุนช่วยเหลือจากรัฐเพื่อให้ประชาชนมีไว้ในครอบครอง ซึ่งเรียกในภาษาเยอรมันว่า Volksempfanger หรือ เครื่องรับสารของประชา (the people’s receivers) ในระหว่างปี 1933 ถึง 1939 มีรายงานว่ามีเครื่องรับสารนี้ถูกผลิตมากกว่าเจ็ดล้านเครื่อง ทั้งยังประทับตราด้วยเครื่องหมายสวัสติกะและนกอินทรี (Aylett 2011)
การกระจายเสียงและการพัฒนาด้านเทคโนโลยี จึงมิได้สะท้อนความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว ทว่า เป็นสิ่งซึ่งทำให้เกิดการฝังตัวทางอุดมการณ์ผ่านผัสสะด้านการได้ยิน เสียงเป็นยิ่งกว่าการสื่อสารหากเป็นการขัดเกลาและบ่มเพาะสร้างกรงขังทางจินตนาการว่าด้วยชุมชน, ชาติ, ความรู้สึกเป็นพวกพ้อง, และการสร้างความเป็นอื่นให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นธรรมชาติ
สื่อใหม่อันดาษดื่นการกระจายเสียงมิได้เกิดขึ้นแต่เพียงวิทยุเท่านั้น การแปรผ่านทางเทคโนโลยีได้ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ซึ่งสามารถกระจายเสียงโดยมิต้องพึ่งพาคลื่นวิทยุเพียงอย่างเดียว ในโลกดิจิทัล เสียงได้ถูกส่งออกมาผ่านสัญญาณแบบไร้สายในลักษณะของช่องวิทยุดิจิทัล, ช่องยูทิว์บ, และช่องทางอื่นบนโลกออนไลน์ เครื่องรับสาร (หากเราจะใช้คำนี้) ก็มีความหลากหลายของราคา ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างมือถือได้กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีในการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อกันติดต่อกันเป็นชุมชนอย่างมิอาจปฏิเสธได้ เฟย์ กินส์บูรก์ (Faye Ginsburg) นักมานุษยวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อเรียกลักษณะการเช่นนี้ว่าการชุมนุมในเชิงเทคโนโลยี (technological assemblages) (Ginsburg 2012 ,273) เนื่องจากมนุษย์ได้ติดต่อและสร้างชุมชนขึ้นมาผ่านอุปกรณ์การสื่อสาร ทั้งยังเป็นรับรู้ความเป็นจริงของโลกผ่านเทคโนโลยี
สื่อใหม่หรือ new media คือสัญลักษณ์ของการใช้สื่อในโลกดิจิทัล ทว่า ความใหม่ของมันมิได้มีลักษณะเฉพาะที่จำกัดเพียงบางกลุ่มหรือบางชนชั้นอีกต่อไป เทคโนโลยีที่มุ่งเน้นสื่อประเภทนี้ได้กลายเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่อย่างดาษดื่นและกลายเป็นความสัมพันธ์ชุดใหม่ในสังคมของเรา นอกจากนี้ เทคโนโลยีเหล่านี้ยังได้กลายเป็น เครือข่ายผู้กระทำการ (actor network) (Latour 2005) ซึ่งส่งผ่านอุดมการณ์และสร้างชุมชนจินตนากรรมทางการเมืองให้ขยายกว้างไกลออกไปผ่านองคาพยพอันไม่ตายตัวและความหลากหลายของเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น มือถือ,คอมพิวเตอร์, แท็บเล็ต, หน้าจอทีวีที่บ้าน, รวมไปถึงในรถยนต์ สิ่งสำคัญที่สุดคือ เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นเสมือนดั่งการสื่อสารซึ่งซ่อนระดับความหลากหลายไว้อย่างมากมาย มิได้มีสถานะของเครื่องรับสารเพียงอย่างเดียว
เทคโนโลยีในฐานะเครือข่ายผู้กระทำการนี้อยู่ในสถานะไหนในปริมณฑลสาธารณะแห่งชาติ โดยเฉพาะในบริบทของรัฐไทยหลังจากการรัฐประหารครั้งล่าสุด?
แน่นอน มันคือเวทีของการประลองอำนาจและฉวยใช้เพื่อสร้างจินตนากรรมชาติ การผุดขึ้นมาของบทเพลงและมิวสิกวีดิโอจากภาครัฐเกิดขึ้นมาอย่างมากมาย ทว่า นั่นก็มีลักษณะที่เป็นโฆษณาชวนเชื่อเพื่อความมั่นคงของรัฐ และมีลักษณะของการมุ่งเน้นสื่อสารทางเดียว ไม่ว่าจะเป็นคืนความสุขให้ประเทศไทยและเพลงอื่นซึ่งถูกแต่งขึ้น ในแง่นี้ ยิ่งไม่ต่างจากการกระจายเสียงของรัฐเผด็จการซึ่งเน้นการกระจายอำนาจให้แผ่คลุมอย่างทั่วถึง รัฐเผด็จการในลักษณะนี้จึงใช้เทคโนโลยีเป็นเสมือนสื่อกลางในการถ่ายทอดความคิดและคำสั่ง แม้ว่าจะอยู่ในโลกดิจิทัลก็ตาม รวมไปถึงลักษณะการสอดส่องแบบดิจิทัล (digital surveillance) ซึ่งมักตรวจสอบควบคุมการใช้และเข้าถึงข้อมูลในโลกออนไลน์แบบทางเดียว
ตรงข้ามกับประเทศกูมีหรือเพลงอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เพลงเหล่านี้ หากไม่พิจารณาที่เนื้อหา เรากลับพบว่าบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลนี้มีส่วนสำคัญในการปลุกชีพ (animate) ให้กับการเมืองและอารมณ์ความรู้สึกผ่านประสบการณ์ของผู้คนที่มีชีวิตอยู่ในระบอบเผด็จการ ทั้งยังมีส่วนในการเชื่อมต่อให้การเมืองและความรู้สึกของผู้คนเคลื่อนผ่านไหลเวียนไปมาระหว่างโลกออนไลน์และออฟไลน์ ชีพที่ถูกปลุกขึ้นมานี้เกิดขึ้นบนพื้นฐานของสภาวะที่เรียกว่า อวัตถุสภาพทางดิจิทัล (digital im-materiality) ในรูปของไฟล์ข้อมูลภาพและเสียงซึ่งถูกบีบอัดและสามารถส่งต่อได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว เทคโนโลยีจึงกลายเป็นวัตถุสภาพที่มีความลื่นไหล เนื่องจากเป็นสิ่งที่มีอวัตถุสภาพทางดิจิทัลไหลเวียนอยู่ เป็นผลให้เกิดการนำไปสู่การดัดแปลง, ตัดต่อ, และทำซ้ำไปได้อย่างต่อเนื่อง
ภาวการณ์มีชีวิต (animation) ของอวัตถุสภาพทางดิจิทัลนี่เอง คือสิ่งที่ยืนยันของการต่อสู้ทางการเมืองในสังคมซึ่งวัตถุสภาพอันเป็นสัญลักษณ์สำคัญทางการเมืองถูกควบคุมและมิอาจเข้าถึงได้ ตลอดจนการชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่กายภาพกลายเป็นสิ่งต้องห้ามและนำมาซึ่งอันตรายต่อความมั่นคงในชีวิต การชุมนุมในเชิงเทคโนโลยีจึงกลายเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างพลังความเปลี่ยนแปลงและเปิดที่ทางความเป็นไปได้ในโลกทางกายภาพ ในแง่นี้ คุณลักษณะของอวัตถุสภาพทางดิจิทัลของประเทศกูมีจึงมีความสำคัญในการเริ่มต้นเขย่าบางสิ่งในหัวของเรา จนต้องส่งเปิดดูซ้ำไปซ้ำมา, เก็บมานั่งคิด และส่งต่อ กระทั่งเกิดความแพร่หลายอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาไม่กี่วันหลังจากมีการเผยแพร่
ในทางการเมือง นี่คือการตอบโต้กลับของวัตถุสิ่งของ (politics of the object strike back) จากที่เคยถูกเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ไร้ชีวิต ทว่า โดยตัวมันเองกลับสามารถเปล่งเสียงและมีพลังในการขับเคลื่อนการเมืองจนมิอาจมองข้ามไปได้ เทคโนโลยีดิจิทัลจึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญและกลายเป็นปริมณฑลสาธารณะซึ่งมีส่วนในการสร้างจินตนากรรมชาติที่แตกต่างออกไปได้
ตัวบทปลายเปิดและวิกฤตการณ์ของมัน อวัตถุสภาพทางดิจิทัลมีลักษณะคล้ายเป็นตัวบทปลายเปิดแบบหนึ่ง ซึ่งสามาถกลายสภาพเป็นสิ่งอื่นที่มิใช่ตนเองได้ การกระจายไฟล์ภาพและเสียงบนโลกออนไลน์คือส่วนหนึ่งของการทำให้เกิดการทำซ้ำ, ดัดแปลง จนเกิดเป็นไฟล์หรือตัวตน (entity) ใหม่ สภาวการณ์ลักษณะนี้นับว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างพบเห็นได้ทั่วไป ฮิโตะ สเตอยาร์ล (Hito Steyarl) ให้ความเห็นว่าลักษณาการนี้ ด้านหนึ่งในแง่ของคุณภาพไฟล์จะถูกทำให้แย่ลงไปเรื่อยๆ ทั้งยังมีปัญหาแน่นอนในประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวและการละเมิดลิขสิทธิ์ ทว่า การนำไฟล์เหล่านี้กลับมาใช้และหมุนเวียนอยู่ในโลกออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของการอธิบายภาพทางการเมืองของสังคมนั้นเองว่าเป็นเช่นไร โดยเฉพาะการเมืองในแถบโลกหลังสังคมนิยมหรือในประเทศโลกที่สามซึ่งมีความขับเคี่ยวทางการเมืองสูงภายใต้โลกแบบเสรีนิยมใหม่ บทบาทของของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการผลิตสื่อจึงมีความสำคัญไม่ใช่เพียงแค่การส่งสารเท่านั้น ทว่ายังเป็นการสร้างคลังจดหมายเหตุออนไลน์ไปพร้อมกัน (ดังจะเห็นได้จากการพื้นที่ในหน่วยความทรงของเทคโนโลยีแต่ละชนิดซึ่งมีการแยกประเภทของไฟล์และการใช้งาน) สิ่งที่สเตอยาร์ลให้ความสนใจในประเด็นนี้ก็คือ ปฏิบัติทั้งหมดนี้นำไปสู่เป้าหมายทางการเมืองอย่างไร เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างเรากับโลกถูกยึดโยงและฝังตรึงผ่านการมองเห็น (visual bond) (Steyarl 2009)
ประเทศกูมี มีลักษณะที่ชวนคิดหากพิจารณาผ่านข้อสังเกตของสเตอยาร์ล ทว่าในแง่ของกระบวนการถ่ายทำ ประเทศกูมีกลับเพิ่มความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีมิวสิควิดิโอคือการทำงานร่วมกันระหว่างภาพกับเสียง ในขณะที่หูของเรากำลังรับรู้จังหวะของเพลงและเนื้อหาของเพลง สายตาของเรากลับชมภาพที่ปรากฏออกมาอย่างแตกต่างออกไป
การฝังตรึงทางการมองเห็นของผู้ชมในประเทศกูมีเริ่มต้นจากการจำลองเหตุการณ์ความรุนแรงและโหดร้ายทารุณซึ่งเป็นการกระทำโดยรัฐที่มีต่อนักศึกษา ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ภาพเคลื่อนไหวนี้มีที่มาจากภาพนิ่งขาวดำอันเป็นประจักษ์พยานที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน หน้าที่ของภาพที่จำลองใหม่คือการเป็นฉากหลังเพื่อให้นักร้องแต่ละคนเดินเวียนขึ้นมาเพื่อสลับกันแร็ป วนรอบต้นไม้ต้นหนึ่งซึ่งเป็นจุดที่มีศพถูกแขวนคอและถูกกระหน่ำตีด้วยเก้าอี้ ทว่าสิ่งที่น่าสะพรึงกลัวยิ่งกว่าคือรอยยิ้มของความสะใจและอากัปกริยาอันยุยงของคนไทยโดยรอบ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก, ผู้ใหญ่, หญิง, และชาย ภาพเหล่านี้ปรากฏขึ้นเป็นฉากหลังหลักของนักร้องทุกคน ประกอบกับการเคลื่อนย้ายมุมภาพในลักษณะที่ขดเป็นวงเวียนนั้น ส่งผลให้ภาษาภาพที่ปรากฏมีลักษณะที่แม้ไม่ซ้ำรอยทางประวัติศาสตร์ แต่ก็เวียนมาสู่จุดเดิม และไม่มีทางที่จะหลุดออกไปจากวงโคจรนี้ได้
นักวิจารณ์ทางดนตรีบางท่านอาจไม่เห็นด้วยกับการใช้ภาพความรุนแรงแรงทางประวัติศาสตร์ซึ่งอยู่คนละบริบทกับเนื้อหาของเพลงที่สะท้อนถึงปัญหาทางการเมืองที่แตกต่างออกไป ขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐก็เล็งเห็นถึงความเปราะบางทางความมั่นคงและอันตรายของการใช้ภาพดังกล่าว ทว่า โดยสาระแล้ว กระบวนการผลิตภาพเคลื่อนไหวดังกล่าว คือส่วนหนึ่งของการพาสายตาของผู้ชมทำงานร่วมกับหูซึ่งกำลังฟังเพลงอย่างแยบยล ฉากหลังที่แม้จะมีที่มาจากภาพนิ่งที่มีบริบทเฉพาะอยู่ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ทว่า เมื่อเกิดเป็นภาพเคลื่อนไหว ความหมายที่ปรากฏกลับหลุดออกจากเงื่อนไขเฉพาะทางประวัติศาสตร์สู่ประสบการณ์และสำนึกร่วมที่ผู้คนจำนวนมากมีร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นสภาวะของความอัดอั้นที่ไร้เสรีภาพทางการแสดงออกทางความคิด ตลอดจนความกลัวเมื่อต้องเผชิญหน้ากับอำนาจ อำนาจดังกล่าวมิได้ปรากฏร่างผ่านน้ำหนักของเก้าอี้ที่ฟากลงไปยังร่างกายของผู้บริสุทธิ์และมีเจตจำนงค์ในเสรีภาพ ทว่า มันเผยโฉมในลักษณะที่มิอาจบรรยายได้ (sublime) ผ่านรอยยิ้มสยามอันปีติดีใจที่เห็นความเป็นอื่นกำลังถูกประหัตประหาร ความเป็นอื่นในแง่นี้ คือ สิ่งที่รัฐเผด็จการพยายามปกปิดผลของการกระทำที่มิอาจตรวจสอบได้ของตัวรัฐเอง
การกระจายสัญญาณด้านภาพและเสียงของประเทศกูมีจึงเป็นเสมือนการพยายามผลักหรือขยายขีดจำกัดในการเล่าเรื่องทางการเมืองที่มิอาจเล่าได้ในปริมณฑลสาธารณะ ผ่านการแปลงวัตถุสภาพหรือประจักษ์พยานที่มีอยู่ในสื่อและปรากฏการณ์ทางสังคม เพื่อให้เป็นอวัตถุสภาพทางดิจิทัลที่พร้อมเคลื่อนไหวผ่านสัญญาณไร้สายและเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีขั้นพื้นที่ทุกคนมีอยู่ในชีวิตประจำวัน
ในแง่นี้ ปรากฏการณ์ประเทศกูมีในไทยจึงมีคุณูปการทางแนวคิดไม่น้อย เพราะการเคลื่อนไหวมิได้มีลักษณะของการฝังตรึงทางการมองเห็น (visual bond) อย่างที่สเตอยาร์ล ตั้งคำถามเอาไว้เมื่อปี 2009 ทว่า มันได้ขยายพรมแดนไปสู่การฝังตรึงทางการมองเห็นและได้ยิน (audio-visual bond) ซึ่งเปิดกว้างและสอดรับกับการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี
สถานะตัวบทปลายเปิดของอวัตถุสภาพทางดิจิทัล ด้านหนึ่งคือการเร่งเร้าให้เกิดการแต่งเติมและกระจายตัวอย่างรวดเร็วของประเภทไฟล์นั้น ดังจะเห็นได้จาก ผลิตตัวบทอื่นๆ โดยมีที่มาจากประเทศกูมี ทั้งในลักษณะต่อยอดเพื่อการวิพากษ์วิจารณ์อำนาจ บางไฟลได้แยกเสียงออกไปเพื่อใช้กับภาพประกอบแบบอื่น บางไฟล์ปรับจังหวะให้ช้าลงหรือเพิ่มเสียงบางเสียงบางจังหวะเข้าไปเพิ่ม หลายไฟล์ได้เกิดการแต่งเนื้อหาขึ้นมาใหม่โดยอาศัยจังหวะและเสียงแบบเดิม ขณะที่มีบ้างซึ่งอาศัยแรงบันดาลใจจากประเทศกูมีแต่งเนื้อหาและสร้างจังหวะขึ้นมาใหม่ ทว่า ยังคงกลิ่นไอการวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาสังคมและการเมืองเอาไว้ ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิของการไหลเวียนของอวัตถุสภาพทางดิจิทัลที่เชื่อมโยงสู่ปัญหาในชีวิตทางสังคม ปริมณฑลสาธารณะที่เกิดขึ้นมิได้มีเพียงหนึ่งเดียวและมิอาจเรียกได้ว่าเป็นปริมณฑลสาธารณะแห่งชาติได้อีกต่อไป หากมีลักษณะของการแตกตัวและแผ่กระจายเพิ่มขึ้นตามการทำงานของเทคโนโลยีในฐานะเครือข่ายผู้กระทำการ จินตนากรรมชาติจึงมิอาจเกิดขึ้นจากฝั่งรัฐเพียงอย่างเดียว แต่เกิดขึ้นจากเครือข่ายผู้กระทำการเหล่านี้ แม้ประเทศกูมีจะไม่ได้สร้างฉันทามติว่าด้วยจินตนากรรมแห่งชาติ แต่ก็เป็นส่วนสำคัญในการทุบรื้อจินตนาการชาติที่ไร้ประชาชนให้มีพื้นที่ว่างมากขึ้นสำคัญคำถามและจินตนาการใหม่
ทว่า ในอีกแง่มุมนึง วิกฤตการณ์ตัวบทปลายเปิดนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอท่ามกลางความเชื่ออย่างคลาดเคลื่อนในเรื่องเสรีภาพในการดัดแปลงหรือผลิตใหม่ทางอวัตถุสภาพทางดิจิทัลโดยปราศจากเงื่อนไข ไฟล์จำนวนมากที่ไหลเวียนอยู่ในโลกไร้สายได้เกิดขึ้นจากการดัดแปลงประเทศกูมี โดยแอบอิงอิทธิพลทางสังคมและความแพร่หลายไปสู่เนื้อหาอื่น กระทั่งการใช้เนื้อหาเดิมแต่เปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอโดยปราศจากเงื่อนไขและเป้าหมายทางการเมือง กิจกรรมเหล่านี้ก็ล้วนมีส่วนทำให้การปลุกชีพทางการเมืองและอารมณ์ความรู้สึกจากประสบการณ์ร่วมทางการเมืองดำเนินไปสู่ความว่างเปล่าและกลายเป็นกิจกรรมบนโลกเครือข่ายทางสังคมเท่านั้น การทำซ้ำ, ดัดแปลง, และแต่งเติมอวัตถุสภาพทางดิจิทัลให้มีพลังทางการเมืองจำเป็นต้องมีเงื่อนไขและวาระที่ต้องการจะผลักข้อจำกัดบางอย่างในสังคม กรณีประเทศกูมี คือ เสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดและการกระทำภาพใต้รัฐเผด็จการ
หากปราศจากการเงื่อนไขและวาระแล้ว เทคโนโลยีดิจิทัลก็คือเครื่องมือประเภทหนึ่งในการทำลายความเป็นการเมืองประเภทหนึ่งหรือกล่าวอีกนัยคือ เป็นเครื่องมือทางการเมืองซึ่งทำลายการเมืองของความเห็นต่างให้สยบราบคาบภายใต้ความเชื่อผิดๆ ว่าด้วยเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เนื่องจาก อวัตถุสภาพทางดิจิทัลมิได้เป็นตัวบทที่จะมีพลังในลักษณะของตัวบทที่ล่องลอย (floating signifier) แต่เป็นตัวบทซึ่งไหลเวียนผ่านเงื่อนไขทางการเมืองมากมาย การไม่ตระหนักถึงเงื่อนไขเหล่านี้ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการทำคลิปและดัดแปลงเพื่อล้อเลียนผู้นำทางการเมือง ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความชอบธรรมให้อำนาจดำรงอยู่อย่างไม่ทันรู้ตัว
ส่งท้ายเจตนาหนึ่งเดียวของผมในการเขียนบทความขนาดสั้นนี้คือ เปิดพื้นที่ความเป็นไปได้รูปแบบอื่นต่อการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวทางการเมืองในโลกดิจิทัลซึ่งกรณีนี้คือมิวสิกวิดิโอประเทศกูมี อย่างที่บอกไว้ในตอนต้นแล้วว่า ผมตั้งใจที่จะไม่วิเคราะห์ตัวบทหรือเนื้อหาของเพลง ทว่า มองมันในฐานะส่วนหนึ่งที่ถูกผลิตขึ้น, ถูกถ่ายโอน, และไหลเวียนไปมาด้วยดิจิทัลเทคโนโลยีเป็นสำคัญ สถานะของประเทศกูมีจึงมีมากกว่าเป็นบทเพลงทางการเมือง แต่มันคือการปลุกชีพทางการเมืองให้ขึ้นมาด้วยพลังของเทคโนโลยีเป็นสำคัญ
เสรีภาพในการเคลื่อนไหวทางการเมืองผ่านดิจิทัลเทคโนโลยีด้านหนึ่งคือการเปิดพื้นที่ใหม่ให้กับองค์ประกอบใหม่ทางการเมืองซึ่งนั่นก็คือ อวัตถุสภาพทางดิจิทัล สิ่งที่ไร้รูปทรงหรือองคาพยพที่แน่นอนนี้กลับเป็นพื้นฐานสำคัญในการส่งสารและแปลสารเพื่อสร้างจินตนาการทางการเมืองขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการกระจายเสียง, ภาพ, หรือทั้งเสียงและภาพ ทั้งหมดนี้ล้วนมีส่วนทำให้ทั้งหูและตาของเรารับรู้ความจริงของโลกในรูปแบบที่เปลี่ยนไป
แน่นอน ในขณะที่อีกด้าน การเมืองในโลกดิจิทัลเทคโนโลยีก็ไม่ต่างไปจากการเมืองในโลกทางสังคมบนพื้นที่กายภาพทั่วไป เงื่อนไขของพลังทางการเมืองมิใช่อยู่ที่การไหลเวียนหรือสิทธิในการส่งต่อ, เข้าถึง, และดัดแปลง ทว่า เกิดขึ้นบนพื้นฐานของจินตนาการที่มีต่อเสรีภาพ ทั้งในความหมายของเสรีภาพจากพันธนาการ (freedom from) และเสรีภาพสู่จินตนาการ (freedom to)
อ้างอิง Anderson, Benedict. 1983. Imagined Communities. New York: Verso.Aylett, Glenn. 2011. Hitler’s Radio. Posted on Transdiffusion. www.transdiffusion.orgBenjamin, Walter. 1999. Theater and Radio: The Mutual Control of Their Educational Program. In Michael Jennings, Howard Eilad, and Gary Smith, eds. Walter Benjamin Selected writings, Vol. 2, 1927-1932, 583-586. Cambridge: Harward University Press.Bessire, Lucas and Danial Fisher (eds) 2012. Radio Fields: Anthropology and Wireless Sound in the 21st Century. New York and London. New York University Press.Ginsburg, Faye. 2012. Afterword. In Lucas Bessire and Danial Fisher (eds) 2012. Radio Fields: Anthropology and Wireless Sound in the 21st Century. New York and London. New York University Press.Hadlow, Martin. 2004. The Mosquito Network: American Military Radio in the Solomon Islands during World War II. Journal of Radio and Audio Media 11 (1): 73-86Latour, Bruno. 2005. Reassembling the Social: An Introduction to Actor-Network Theory. Oxford: Oxford University Press.Mrázek, Rudolf. 2002. Engineers of Happy Land: Technology and Nationalism in a Colony. Princeton: Princeton University Press.Steyarl, Hito. 2009. In Defense of the Poor Image. Journal #10 – November. www.e-flux. com
เผยแพร่ครั้งแรกใน: https://anthropologyyyyy.xyz [1]
| ['บทความ', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'การศึกษา', 'ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ', 'ประเทศกูมี', 'ดิจิทัล ประเทศกูมี ปริมณฑลสาธารณะ', 'อวัตถุสภาพทางดิจิทัล', 'เทคโนโลยี', 'เพลงแร็ป'] |
https://prachatai.com/print/79411 | 2018-11-01 23:02 | ทำอย่างไร (How)? ให้หลักสูตรและการผลิตครูมีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 | แนวคิดการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการผลิตครูปริญญาตรี 5 ปี ที่เริ่มใช้ เมื่อปี พ.ศ.2547 ถึงปัจจุบัน พ.ศ.2561 รวม 14 ปี ได้ถูกนำเสนอเพื่อทบทวนมาโดยลำดับ เนื่องจาก ในอดีตประเทศไทย มีหลักสูตรผลิตครูเฉพาะปริญญาตรี 4 ปี มาตั้งแต่ พ.ศ.2497 ถึง พ.ศ.2546 รวม 49 ปี ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาแนวทางใหม่ในการผลิตครูคุณภาพในศตวรรษ ที่ 21
มีความหลากหลายแนวคิด ของการผลิตครูคุณภาพเป็นต้นแบบ อาทิ หลักสูตรครูปริญญาตรี 3 ปี ของกลุ่มประเทศยุโรป ที่กำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (EQF: European Qualification Framework) และจำนวนหน่วยกิต ECTS ของหลักสูตรแต่ละระดับปริญญา ประเทศสิงคโปร์ ที่มีหลักสูตรการผลิตครู 4 ปี โดยสามารถใช้เวลาเรียนน้อยกว่าที่หลักสูตรกำหนด คือ 3 1|2 ปี และมีระบบหลักสูตรเร่งรัด (fast tract ) ปริญญาตรีควบโท 5 ปี ด้วย ส่วนประเทศฟินแลนด์มีหลักสูตรครูปริญญาโท 5 ปี สำหรับครูที่สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (class teacher )และหลักสูตรครูปริญญาตรี 3 ปี สำหรับครูระดับอนุบาล รวมทั้งหลักสูตรครูปริญญาโท 2 ปี สำหรับครูผู้สอนประจำวิชา (subject teacher) ประเทศดังกล่าวข้างต้นล้วนมีคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับสูงของโลกทั้งสิ้น โดยสรุปคือประเทศในโลกมีหลักสูตรการผลิตครูทั้งหลักสูตรครูปริญญาตรี 3 ปี หลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี หลักสูตรครูปริญญาตรีควบโท 5 ปี และหลักสูตรครูปริญญาโท 5 ปี มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่มีหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี
คำถามคือถ้าจะเปลี่ยนแปลงต้องทำอย่างไร (How)?
คำตอบ คือ การจัดทำหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี ต้องมีการดำเนินการด้านกฎหมาย เนื่องจากมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตครูอยู่ในความรับผิดชอบของ 2 หน่วยงาน ได้แก่
1. คุรุสภาที่มีอำนาจและหน้าที่ในการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย 3 ฉบับ ดังนี้
1.1 พระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ที่กำหนด ส่วนที่ 5 การประกอบวิชาชีพควบคุม
มาตรา 44 ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (ก) คุณสมบัติ (1) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ (2) มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง (3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
1.2 ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่กำหนดว่า
“มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ” หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับความรู้และ ประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา ซึ่งผู้ต้องการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีเพียงพอที่สามารถนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพได้
หมวด 1 มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพครู ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้(ก) มาตรฐานความรู้ ประกอบด้วยความรู้ ดังต่อไปนี้ ๑) ความเป็นครู 2) ปรัชญาการศึกษ 3) ภาษาและวัฒนธรรม 4) จิตวิทยาสําหรับครู 5) หลักสูตร 6) การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน 7) การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 8) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 9) การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ 10) การประกันคุณภาพการศึกษา 11) คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ(ข) มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากําหนด ดังต่อไปนี้ 1) การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน 2) การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
1.3 ประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2557
“การปฏิบัติการสอน” หมายความว่า การสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะหรือวิชาเอก ตามหลักสูตรปริญญาหรือประกาศนียบัตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า หนึ่งปีการศึกษาในสถานศึกษาที่มี คุณสมบัติตามที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อ 6 ผู้สําเร็จการศึกษาที่ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรที่คุรุสภาให้การรับรอง ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์การรับรองในข้อ ๓ ต้องผ่านการทดสอบ เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่คุรุสภากําหนด
ส่วนที่ 1 มาตรฐานและเกณฑ์การรับรอง
ก. วิชาชีพครู 1. โครงสร้างของหลักสูตร
1.1 ปริญญาตรี (5 ปี)
(1) จำนวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 160 หน่วยกิต
(2) มีข้อกำหนดการปฏิบัติการสอน จะต้องแบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษา มีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่ามาตรฐาน และมีชั่วโมงสอนใน วิชาเอกไม่น้อยกว่า สัปดาห์ละ 8 ชั่วโมงเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์รวมไม่น้อยกว่า 120 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษา มีเวลาเตรียมสอน ตรวจงาน และ การปฏิบัติงานอื่นท่ีได้รับมอบหมาย ไม่น้อยกว่า ภาคการศึกษาละ 120 ชั่วโมง
จะเห็นว่าข้อบังคับข้อ 1.2 และประกาศข้อ 1.3 กำหนดการปฏิบัติไว้เกินกว่าที่พระราชบัญญัติข้อ 1.1 กำหนด ดังนี้
พระราชบัญญัติฯ (3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีข้อบังคับฯ กำหนดมาตรฐานความรู้ ประกอบด้วยความรู้ ดังต่อไปนี้ ๑) ความเป็นครู 2) ปรัชญาการศึกษ 3) ภาษาและวัฒนธรรม 4) จิตวิทยาสําหรับครู 5) หลักสูตร 6) การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน 7) การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 8) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 9) การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ 10) การประกันคุณภาพการศึกษา 11) คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ(ข) มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีมาตรฐานและเกณฑ์การรับรอง การขอรับการรับรองและการติดตามผลการรับรอง ปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษา
รายละเอียดแนบท้ายประกาศคุรุสภาเรื่องการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษา เพื่อ การประกอบวิชาชีพพ.ศ.2557
(3) มีข้อกำหนดการปฏิบัติการสอน จะต้องแบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษา
สรุป
1. การปฏิบัติการสอนไม่น้อยกว่าหนึ่งปีการศึกษาตามพระราชบัญญัติข้อ 1.1 และตามข้อบังคับข้อ 1.2 ไม่สามารถแยกปฏิบัติการสอนทุกปีการศึกษาได้ เนื่องจากขัดกับเกณฑ์การรับรองปริญญาที่กำหนดให้การปฏิบัติการสอน จะต้องแบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษา เป็นการออกกฎหมายที่ขัดกันในหลักปฏิบัติ
2. การจัดทำหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี ไม่สามารถทำได้ เพราะประกาศคุรุสภาข้อ 1.3 กำหนดโครงสร้างหลักสูตรไว้เฉพาะปริญญาตรี 5 ปี เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถจัดทำหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีได้ เพราะไม่มีเกณฑ์การรับรองหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
3. ข้อบังคับคุรุสภาข้อ 1.2 ข้อ 6 กำหนดมาตรฐานความรู้ไว้ 11 สาระความรู้ ทำให้เป็นข้อจำกัดในการพัฒนาตามความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงด้านวิชาการ จึงเป็นคำถามว่าจำเป็นหรือไม่และเป็นการก้าวก่ายหรือไม่ที่คุรุสภาจะกำหนดสาระความรู้ ซึ่งสิ่งที่คุรุสภาควรจะกำหนดคือสมรรถนะซึ่งเป็นมาตรฐานบัณฑิตครู
จึงเป็นความจำเป็นที่คุรุสภาจะต้องแก้ไขปัญหากฎหมายที่เกี่ยวข้องข้างต้น และกฎหมายอื่นหากมีการกำหนดการบังคับใช้ที่ขัดกัน
อนึ่ง เนื่องจากการสร้างหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี อาจส่งผลกระทบต่อผู้เรียนหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปีในปัจจุบัน จึงเห็นสมควรดำเนินการเชิงนโยบาย กล่าวคือให้.ผู้เรียนหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี (รหัส 57, 58 และ 59) ต้องเข้าทดสอบข้อสอบตามประกาศคุรุสภา เพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ตามข้อ 1.3 ข้อ 6 และเห็นควรให้การเข้าทดสอบข้างต้นเป็นการดำเนินการเพื่อใช้คะแนนเฉลี่ยประเมินคุณภาพการผลิตของสถาบันฝ่ายผลิตในการจัดสรรทุนครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเท่านั้น และให้ถือว่าผู้เข้าทดสอบเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูโดยอัตโนมัติเช่นเดียวกับนิสิตนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว
2. การกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ โดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ดำเนินการ ดังนี้
2.1 จัดทำ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) หลักสูตรครูปริญญาโทสาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสองปี) และหลักสูตรครูปริญญาเอกสาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสามปี) (โดยไม่มีการกำหนดโครงสร้างหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู)
2.2 ให้คงประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี) ไว้ตามเดิม สำหรับให้สถาบันฝ่ายผลิตที่มีความประสงค์จะจัดทำหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี
แนวคิดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี ความมีการกำหนดกรอบมาตรฐานดังต่อไปนี้
1. ระดับคุณวุฒิ (degree level) มีการกำหนดกรอบคุณวุฒิให้ครอบคลุมทั้ง หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี (bachelor degree) หลักสูตรปริญญาโท 2 ปี (master degree) และหลักสูตรปริญญาเอก 3 ปี (doctoral degree)
2. ผลลัพธ์การเรียนรู้ (learning outcomes) ควรมีเป้าหมายที่ สมรรถนะ(competency) ทักษะ(skill) และอุปนิสัย (character) ของผลผลิตและผลลัพธ์ คือคุณภาพบัณฑิต ที่สอดคล้องกับทักษะคนในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
1) สมรรถนะ (competency) ที่สามารถถ่ายทอดทักษะ (skill)ในแต่ละด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ (1) ด้านความรู้ในเนื้อหา (2) ด้านการจัดการเรียนรู้ (3) ด้านคุณลักษณะความเป็นครู และ (4) ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
2) ทักษะ (skill) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ และ (2) ทักษะการจัดการ ได้แก่ (1) ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ การรู้จักแก้ปัญหา “9 C" ได้แก่ 1) มีวิจารณญาณ (“C”ritical Thinking), 2) คิดอย่างริเริ่มสร้างสรรค์ (“C”reativity), 3) เข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม (“C”ross-cultural Understanding), 4) ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (“C”ollaboration), 5) แก้ปัญหาความขัดแย้ง ("C"onflick solving) 6) รู้จักสื่อสารและใช้สื่อเป็นอย่างรู้เท่าทัน(“C”ommunications-Media Literacy), 7) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็น (“C”omputing and ICT Literacy) ทักษะทางวิชาชีพ (“C”areer Skills) 9) วัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ("C" ulture of life-long learning)
(2) ทักษะการจัดการ " 5 “S" ได้แก่ 1) ทักษะการบริหารจัดการบุคคล (Personnel Management "S") 2) ทักษะการมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ (Emotional Maturity "S"kill) 3) ทักษะการตัดสินใจ (Decision Making "S"kill) และ 4) ทักษะการเจรจาต่อรอง (Negotiation "S"kill).5) ทักษะการยืดหยุ่นทางความคิด (Thinking Elasticity “S”kill)
3. มาตรฐานหน่วยกิต (unit standard) และความรู้ (knowledge) ได้แก่ หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร (curriculum unit) ซึ่งสามารถศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรฐานหน่วยกิตรวมของหลักสูตรครูปริญญาตรีของกลุ่มประเทศในยุโรป ได้แก่
หลักสูตรครูปริญญาตรีของประเทศฟินแลนด์ กำหนดให้เรียนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต (ECTS) จากจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรปริญญาโท ของหลักสูตรครูประจำชั้นและครูประจำวิชา (300 ECTS) และหลักสูตรปริญญาตรีครูอนุบาล (180 ECTS) ทั้งนี้การฝึกปฏิบัติวิชาครูสำหรับหลักสูตรครูประจำชั้น และครูประจำวิชา จะเป็นการฝึกสอนจำนวน 20 ECTS และ 25 ECTS สำหรับหลักสูตรครูอนุบาล
กลุ่มวิชาชีพครู 60 ECTS มีสัดส่วนเป็น 1/5 ของจำนวนหน่วยกิตรวม 300 หน่วยกิต และการฝึกปฏิบัติ 20 ECTS มีสัดส่วนเป็น 1/3 ของกลุ่มวิชาชีพครู 60 ECTS
จากการคำนวณเทียบเคียงหน่วยกิตของไทย TCTS (Thai Credit Transfer System) กับ ECTS ตามเกณฑ์การเทียบเคียง 7.25 ECTS = 5.25 TCTS โดยหลักสูตร Bachelor Degree 180 ECTS เทียบได้กับ 130.345 TCTS ผู้เขียนจึงเสนอให้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี มีหน่วยยกิตรวมไม่น้อยกว่า 131 หน่วยกิตของไทย TCTS (Thai Credit Transfer System) ซึ่งเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร สกอ. และเกณฑ์คุรุสภา (โดยเทียบเคียงจากหน่วยกิตรวมหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี)
ดังนั้น จึงสามารถกำหนดสัดส่วนหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี โดยเทียบเคียงสัดส่วนกับหลักสูตรปริญญาตรีของกลุ่มยุโรป ได้ คือ วิชาชีพครู 1/5 ของ 131 TCTS เท่ากับ 26.2 TCTS และการฝึกปฏิบัติวิชาชีพครู 1/3 ของ 26.2 TCTS เท่ากับ 8.34 TCTS
โครงสร้างหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี ควรกำหนดหน่วยกิตรวม ตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 138 หน่วยกิต (หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีของ สกอ. และ เทียบได้เกินกว่าเกณฑ์หลักสูตรปริญญาตรีของกลุ่มประเทศในยุโรป) ดังนี้
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ/วิชาเอก ไม่น้อยกว่า 69 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาชีพครู ไม่น้อยกว่า 33 หน่วยกิต
4) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
4. ความรู้หมวดวิชาชีพครู (professional knowledge) และหมวดวิชาเอก (major subjects)
4.1 หมวดวิชาชีพครู 33 หน่วยกิต จำแนก ดังนี้
1. ความเป็นครูและนวัตกรรมเทคโนโลยี (Pedagogy &Innovation Teachnology) 12 หน่วยกิต 4 รายวิชา (จิตวิญญาณและคุณค่าความเป็นครู)
2. ศาสตร์การสอน (Didactics) 6 หน่วยกิต 2 รายวิชา (ความชำนาญศาสตร์การสอนวิชาเอก และการสอนในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
3. วิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา (Research & Educational Quality Assurance) 3 หน่วยกิต 1 รายวิชา (แสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อการประกันคุณภาพ)
4. การปฏิบัติการวิชาชีพครู (Professional Practice) 12 หน่วยกิต 4 รายวิชา รวม 30 สัปดาห์ (ฝึกประสบการณ์เพื่อทักษะและสมรรถนะวิชาชีพ) ดังนี้
ปีที่ 1 ฝึกประสบการณ์ในโรงเรียน (School Experience) 2 หน่วยกิต 4 สัปดาห์
ปีที่ 2 ฝึกเป็นผู้ช่วยสอน (Teaching Assistance) 2 หน่วยกิต 4 สัปดาห์
ปีที่ 3 ฝึกปฏิบัติการสอน 1 (Practicum 1) 2 หน่วยกิต 4 สัปดาห์
ปีที่ 4 ฝึกปฏิบัติการสอน 2 (Practicum 2) 6 หน่วยกิต 18 สัปดาห์
4.2 หมวดวิชาเฉพาะ/วิชาเอก 69 นก เรียน 23 รายวิชา(ความรู้นำไปสู่การพัฒนาวิชาชีพ)
5. กิจกรรมเสริมความเป็นครู (student activities)
การสร้างทักษะ (skill) สู่การมีสมรรถนะ (competency) ควรมีกิจกรรม 5 ด้าน ตลอดระยะเวลาการศึกษาทุกปี โดยไม่กำหนดจำนวนครั้ง โดยจัดทำหลักฐานเป็น แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ที่มีผู้รับรองการทำกิจกรรมโดยอาจดำเนินการ ดังนี้
ปีที่ 1 การพัฒนาตนสู่ความเป็นครู (กิจกรรม มุ่งพัฒนาตน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านบุคลิกภาพ และด้านสุนทรียภาพ)
ปีที่ 2 ความเป็นผู้นำเศรษฐกิจพอเพียง (กิจกรรม ศึกษาข้อมูล กระตุ้นตนเองลงมือทำ นำชุมชนด้านเศรษฐกิจพอเพียง)
ปีที่ 3 การมีภูมิคุ้มกัน (กิจกรรม ไม่ข้องเกี่ยวข้องอบายมุข มีความสุขด้วยคุณธรรม จริยธรรม น้อมนำจิตด้วยหลักศาสนา)
ปีที่ 4 การสร้างสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรม (กิจกรรม รู้เท่าทันเทคโนโลยี มีความติดริเริ่มสร้างสรรค์ สร้างสื่อการเรียนรู้และสื่อเทคโนโลยี)
ปีที่ 1-4 การมีจิตสาธารณะเพื่อสังคม (กิจกรรม ใส่ใจต่อสังคม อุดมด้วยจิตสาธารณะ เสียสละโดยไม่เห็นแก่ตัว)
6. การรู้เรื่องภาษาอังกฤษ (English Literacy)
กำหนดเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา(exit exam) โดยการทดสอบการรู้เรื่องภาษาอังกฤษ (English Literacy) ตามเกณฑ์ ดังนี้
TOEIC TOEFL (Paper) TOEFL (CBT) TOEFL (IBT) IELTS CEFRปริญญาตรี 505 477 153 53 4.5 B1
ปริญญาโท 600 510 180 64 5.0 B2 ปริญญาเอก (ตามเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาของแต่ละสถาบัน)
นิสิตนักศึกษาที่เรียนหลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรภาษาอังกฤษ และวิชาเอกภาษาอังกฤษ ต้องผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษระดับปริญญาโท
ข้อเสนอเชิงนโยบายการกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี ควรกำหนดบทเฉพาะกาลให้ในปีการศึกษา 2562 นิสิตนักศึกษาที่เรียนหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี ที่เข้าเรียนปีการศึกษา 2560 (รหัส 60) และ ปีการศึกษา 2561 (รหัส 61) สามารถเทียบโอนหน่วยกิต เพื่อเข้าศึกษาหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี ได้
ข้อเสนอการดำเนินการ (ภาคผนวก)
1. การปฏิบัติการวิชาชีพครู (Professional Practice) 12 หน่วยกิต 4 รายวิชา รวม 30 สัปดาห์ (ฝึกประสบการณ์เพื่อทักษะและสมรรถนะวิชาชีพ) ดังนี้
ปีที่ 1 ฝึกประสบการณ์ในโรงเรียน (School Experience) 2 หน่วยกิต 4 สัปดาห์
ปีที่ 2 ฝึกเป็นผู้ช่วยสอน ( Teaching Assistance) 2 หน่วยกิต 4 สัปดาห์
ปีที่ 3 ฝึกปฏิบัติการสอน 1 (Practicum 1) 2 หน่วยกิต 4 สัปดาห์
ปีที่ 4 ฝึกปฏิบัติการสอน 2( Practicum 2) 6 หน่วยกิต 18 สัปดาห์
การดำเนินการตามพระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ที่กำหนด ส่วนที่ 5 การประกอบวิชาชีพควบคุมมาตรา 44 (3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
การดำเนินการตามพระราชบัญญัติฯ การปฏิบัติการสอนไม่น้อยกว่าหนึ่งปี สามารถเทียบเคียงระยะเวลาหนึ่งปีได้กับ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558 ข้อ 6 ระบบการจัดการศึกษา ใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ดังนั้น การปฏิบัติการสอนหนึ่งปีจึงต้องไม่น้อยกว่า 30 สัปดาห์
แนวคิดการปฏิบัติการวิชาชีพครู (Professional Practice) ทุกปี เป็นการดำเนินการตามแนวทางของหลักสูตรการผลิตครูปริญญาตรีของประเทศสิงคโปร์ ที่ฝึกปฏิบัติการวิชาชีพ ปีที่ 1 จำนวน 2 สัปดาห์ ปีที่ 2 จำนวน 5 สัปดาห์ ปีที่ 3 จำนวน 5 สัปดาห์ และปีที่ 4 จำนวน 10 สัปดาห์ รวมตลอดหลักสูตร 22 สัปดาห์ ส่วนหลักสูตรครูปริญญาของประเทศไทย ต้องดำเนินการตามกฎหมายจึงกำหนด 30 สัปดาห์
แนวทางการบริหารจัดการการเรียนการสอนที่ต้องไม่ส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน และต้องมีประสิทธิภาพด้วย จึงสามารถบริหารจัดการได้ ดังนี้
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคปลาย เรียนรายวิชาตามแผนการเรียน 15 สัปดาห์ สอบปลายภาค 1 สัปดาห์ ฝึกประสบการณ์ในโรงเรียน (School Exerience) 4 สัปดาห์ รวมเรียน 20 สัปดาห์ต่อภาคการศึกษา (สอดคล้องกับการเปิดภาคเรียนของโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคปลาย เรียนรายวิชาตามแผนการเรียน 15 สัปดาห์ สอบปลายภาค 1 สัปดาห์ ฝึกประสบการณ์การช่วยสอน (Teaching Assistantship) 4 สัปดาห์ รวมเรียน 20 สัปดาห์ต่อภาคการศึกษา (สอดคล้องกับการเปิดภาคเรียนของโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
ปีการศึกษาที่ 3 ภาคปลาย เรียนรายวิชา 15 สัปดาห์ สอบปลายภาค 1 สัปดาห์ ฝึกประสบการณ์การปฏิบัติการสอน 1 (Teaching Practice 1) 4 สัปดาห์ รวมเรียน 20 สัปดาห์ ต่อภาคการศึกษา (สอดคล้องกับการเปิดภาคเรียนของโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
ปีการศึกษาที่ 4 ภาคต้นหรือภาคปลาย ฝึกประสบการณ์การปฏิบัติการสอน 2 (Teaching Practice 2) หนึ่งภาคการศึกษา รวมเรียนไม่น้อยกว่า 18 สัปดาห์ (สอดคล้องกับการเปิดภาคเรียนของโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
2. กิจกรรมเสริมความเป็นครู (student activities) เพื่อเสริมสร้างทักษะ (skill) สู่การมีสมรรถนะ (competency) ควรมีกิจกรรม 5 ด้าน โดยกำหนดเป็นกิจกรรมแต่ละปีและสามารถทำทุกกิจกรรมได้ ทุกปี โดยปีที่ 1 การพัฒนาตนสู่ความเป็นครู ปีที่ 2 ความเป็นผู้นำเศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 3 การมีภูมิคุ้มกัน ปีที่ 4 การสร้างสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปีที่ 1-4 การมีจิตสาธารณะเพื่อสังคมการกำหนดกิจกรรม เสริมความเป็นครู (student activities) ไว้ในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิเป็นการปรับประยุกต์ในแนวทางเดียวกับที่หลักสูตรครูปริญญาตรีของสิงคโปร์กำหนดไว้ในหลักสูตร ดังต่อไปนี้
สิงคโปร์ผลิตและพัฒนาครูอย่างไร (ดร.ประวิต เอราวรรณ์) หลักสูตรผลิตครูของสิงคโปร์ยังกําหนดให้นักศึกษาต้องศึกษาเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะเชิงวิชาชีพใน อีก 5 กิจกรรม ดังนี้
(1) โครงการกลุ่มการเรียนรู้เชิงบริการ (Group Endeavours in Service Learning: GESL) โดย นักศึกษาจะต้องรวมกลุ่มประมาณ 20 คน แล้วคิดโครงการบริการชุมชนเพื่อออกไปสัมผัสและเกิดการเรียนรู้จาก ชุมชนรอบตัว เพื่อฝึกทักษะการจัดการ การทํางานเป็นทีม การวิเคราะห์ความต้องการจําเป็น การตัดสินใจ การเข้าใจ ผู้อื่น
(2) ประกาศนียบัตรภาษาอังกฤษ (Certificate in English Language Studies: CELS) นักศึกษา ยังต้องเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ปีที่ 1 โดยให้ได้ใบประกาศนียบัตรภาษาอังกฤษ ในชั้น ปีที่ 2 หรือ 3 ซึ่งออกแบบ หลักสูตรมาเพื่อให้นักศึกษามีความมั่นใจในวิธีการสอนด้วยภาษาอังกฤษ และสร้างทักษะการสื่อสารทั้งด้านการพูด และการเขียนภาษาอังกฤษ
(3) โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพครู หรือเรียกว่า The Meranti Project โครงการนี้ถูกออกแบบให้ นักศึกษาเป็นรายบุคคลได้พัฒนาตนเองและสมรรถนะทางสังคมของครู โดยแลกเปลี่ยนกับครูที่มีประสบการณ์สอน รวมถึงนักเรียนในชั้นเรียน ซึ่งโครงการนี้จะสร้างมุมมอง เชิงประสบการณ์การเป็นครูตั้งแต่แรกให้กับนักศึกษาครู และ ทําให้นักศึกษาเข้าใจวิธีการสําหรับการจัดการศึกษาของประเทศ และคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในท้ายที่สุด
(4) การเข้าร่วมการเสวนา สัมมนา ประชุมปฏิบัติการ และกิจกรรมอื่นๆ ที่จัดขึ้นสําหรับนักศึกษา ตามหลักสูตรในระหว่างเรียนทั้ง 4 ปี
(5) การปลูกฝังความซื่อสัตย์ทางวิชาการ (Academic Integrity) ทางสถาบันจะเข้มงวดกับเรื่อง ความซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษา โดยหนังสือ เอกสารการสอน อุปกรณ์การเรียนต่างๆ ของสถาบันที่ใช้ในการ เรียนการสอนจะต้องจัดซื้ออย่างถูกต้องตามลิขสิทธิ์เพื่อเป็นตัวอย่างแก่นักศึกษา และฝึกนักศึกษาให้มีความซื่อสัตย์ เช่น การเขียนเอกสารต่างๆ ต้องมีการอ้างอิงเสมอ เป็นต้น รวมทั้งมีการจัดให้เรียนรายวิชาความซื่อสัตย์ทางวิชาการ (academic integrity course) ให้นักศึกษาเรียนอีกด้วย
3. การรู้เรื่องภาษาอังกฤษ (English Literacy) กำหนดเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา (exit exam) เช่นเดียวกับที่หลักสูตรปริญญาตรีสิงคโปร์กำหนดไว้ข้างต้นใน (2) คือ ประกาศนียบัตรภาษาอังกฤษ (Certificate in English Language Studies: CELS) ส่วนเกณฑ์ที่นำเสนอเป็นเกณฑ์ทั่วไปที่ยึด ปริญญาตรี IELTS 4.5 และปริญญาโท IELTS 5.0 และการเทียบเคียงกับคะแนนการทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานอื่น
เกี่ยวกับผู้เขียน: รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก เป็นคณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
| ['บทความ', 'การศึกษา', 'การผลิตครู', 'หลักสูตรครู', 'สมบัติ นพรัก'] |
https://prachatai.com/print/79413 | 2018-11-01 23:28 | ‘Whitney’ สูงสุดถึงต่ำสุดทุกแง่มุมในชีวิตของซุปเปอร์สตาร์ขวัญใจคนทั่วโลก |
“มีหลายครั้งที่ปีศาจพยายามจะเอาตัวฉันไป แต่ทำไม่สำเร็จ และฉันยังอยู่ตรงนี้...”
เสียงของวิทนีย์ ฮูสตันที่เผยความรู้สึกลึกๆ ของเธอในการสัมภาษณ์ครั้งหนึ่งซึ่งภาพยนตร์สารคดี ‘Whitney’ (2018) เลือกนำมาใส่ในตอนต้นเรื่อง เพื่อนำเราเข้าสู่เบื้องลึกชีวิตทั้งจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดที่คาบเกี่ยวกับเรื่องอัตลักษณ์ สีผิว เพศสภาวะ และการเป็นซุปเปอร์สตาร์ในอุตสาหกรรมความบันเทิงของ ‘วิทนีย์ ฮูสตัน’ นักร้องหญิงผิวดำอเมริกันเจ้าของรางวัลแกรมมี่ผู้โด่งดังไปทั่วโลกในบทเพลงอย่าง ‘I will always love you’ ‘I have nothing’ หรือ ‘I wanna dance with somebody’
ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ใช้วิธีการเล่าโดยนำฟุตเทจและรูปภาพเก่าในช่วงเวลาที่วิทนีย์ยังมีชีวิตมาร้อยเรียง ประกอบกับคำสัมภาษณ์ของคนใกล้ชิดทั้งแม่ พี่ชาย ญาติ เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน จุดเด่นอยู่ที่บางฟุตเทจก็มีความเป็นส่วนตัวมากๆ ในแบบที่เราอาจไม่เคยเห็นมุมนี้ของเธอในที่สาธารณะ พร้อมกับการลำดับภาพและเสียงสัมภาษณ์ที่สอดรับกับเรื่องราวอย่างลงตัว
วิทนีย์เกิดวันที่ 9 สิงหาคม 1963 ที่เมืองนวร์ก รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา ในครอบครัวชนชั้นกลางค่อนข้างเคร่งศาสนาที่พยายามอย่างหนักในการขยับสถานะขึ้นไปให้สะดวกสบายกว่าที่เป็นอยู่ ผลก็คือในวัยเด็กวิทนีย์และพี่น้องต้องระหกระเหินไปอยู่บ้านญาติๆ แม่ของเธอเริ่มจากการเป็นนักร้องคอรัสตระเวนไปแสดงตามที่ต่างๆ และไต่สู่การออกอัลบั้มเดี่ยว แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
ชีวิตวัยเด็กของวิทนีย์ไม่ได้สวยงามนัก ในปี 1967 ย่านที่เธออยู่เกิดจลาจลที่เรียกว่า ‘จราจลนวร์ก’ (Newark riots) ซึ่งเกิดขึ้นจากแรงกดดันของคนผิวดำต่อการถูกเลือกปฏิบัติในด้านต่างๆ เช่น การจ้างงาน การเช่าบ้าน และชนวนจราจลเกิดจากเหตุการณ์ตำรวจผิวขาวสองนายทุบตี จอห์น สมิธ คนขับแท็กซี่ผิวดำ วิทนีย์ยังจำช่วงเวลานั้นได้ดีและเล่าว่าเธอหวาดกลัวเพียงไร
หลังจลาจลไม่นานครอบครัวของเธอก็ย้ายไปสู่ย่านชนชั้นกลางที่ดีกว่าเดิม วิทนีย์ซึ่งเกิดมาพร้อมพรสวรรค์ด้านการร้องเพลงและการถูกฝึกซ้อมอย่างเข้มงวดจากผู้เป็นแม่ได้กลายเป็นความหวังเพียงหนึ่งเดียวที่จะทำให้ความฝันของแม่เป็นจริง และเธอก็ทำสำเร็จด้วยการออกซิงเกิลเดี่ยวในวัย 21 ปี
ด้วยเสียงร้องมีเอกลักษณ์ที่สะดุดหูเหล่าโปรดิวเซอร์ของค่ายเพลงมากมายจนมีการแย่งชิงตัว แต่เธอตัดสินใจเซ็นสัญญากับอริสต้า เรคคอร์ด และ ‘Hold me’ คือซิงเกิลแรกที่ทำให้เพลงของเธอติด 5 อันดับแรกของชาร์ตเพลงอาร์แอนด์บี หลังจากนั้นด้วยความสามารถ เสียงร้อง และเสน่ห์เฉพาะตัว ก็ทำให้เธอกลายเป็นขวัญใจคนอเมริกาอย่างรวดเร็ว
ต่อมาในปี 1991 ชื่อของวิทนีย์ก็ถูกกล่าวขานอย่างถล่มทลายหลังการร้องเพลงชาติอเมริกาอย่างเพลง ‘The Star-Spangled Banner’ ในเวอร์ชั่นที่แปลกและแตกต่างที่งานระดับชาติอย่างงานแข่งขันซูเปอร์โบวล์ โดยเวอร์ชั่นนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเวอร์ชั่นที่น่าจดจำที่สุดตลอดกาล นั้นเพราะเพลงชาตินี้มีนัยของการกดขี่ข่มเหงและทำให้คนผิวดำในอเมริกันไม่รู้สึกมีอารมณ์ร่วมมากนัก แต่วิทนีย์เปลี่ยนอารมณ์ของเพลงที่พูดเรื่องความเข้มแข็ง การคุกคาม ให้มีท่วงทำนองของเสรีภาพและการอยู่ร่วมกัน และในบริบทของการเมืองตอนนั้น สหรัฐอเมริกากำลังร้อนระอุจากการทำสงครามอ่าวเปอร์เซีย ความเป็นชาตินิยมในอเมริกาจึงฮึกเหิมมากเป็นพิเศษ ทั้งคนผิวดำผิวขาวต่างรักและประทับใจเธอจากเพลงนี้
ชื่อเสียงของเธอโด่งดังเพิ่มขึ้นไปอีกจากการเล่นหนังเรื่อง ‘The Bodyguard’ ในปี 1992 หนังเมโลดราม่าที่เล่าถึงความรักต่างสีผิวเรื่องแรกๆ ที่ฮิตไปทั่วโลก แม้นักวิจารณ์จากหลายที่จะเบะปากให้กับการแสดงของเธอก็ตาม และเพลงที่เป็นที่จดจำตลอดกาล ‘I will always love you’ ขึ้นอันดับหนึ่งแทบทุกชาร์ตเพลงเป็นเวลายาวนานหลายเดือน ด้านครอบครัวเธอแต่งงานกับ ‘บ็อบบี้ บราวน์’ นักร้องอาร์แอนด์บีที่โด่งดังพอตัวในยุคนั้น และในปี 1993 ‘คริสติน่า บราวน์’ หรือ ‘คริสซี่’ ลูกสาวของทั้งคู่ก็เกิดมา
ชีวิตเธอเหมือนจะไปได้สวย แต่ปมปัญหาต่างๆ ในชีวิตที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก ก็ค่อยๆ ทยอยผุดขึ้นมาตามหลอกหลอน สร้างความปั่นป่วนวุ่นวายใจ ด้วยความดังอย่างถึงขีดสุดของเธอที่กลบรัศมีสามีจนมิด ความอิจฉาก่อขึ้นในตัวบ็อบบี้โดยที่เขาเองก็ไม่รู้ตัว วิทนีย์รู้และพยายามทำทุกอย่างเพื่อกอบกู้ความสัมพันธ์ ยอมแม้กระทั่งไล่ ‘รอบิ้น โครว์ฟอร์ด’ เพื่อนสาวคนสนิทหลายสิบปีที่เป็นผู้ดูแลจัดการบริหารงานทุกอย่างออก เพื่อให้บ็อบบี้รู้สึกว่าเธอเลือกเขา หลังจากที่บ็อบบี้กับรอบิ้นนั้นทะเลาะกันมาตลอด
ถึงกระนั้นก็ไม่สามารถทำให้บ็อบบี้รู้สึกดีขึ้น เขาเริ่มก่อเรื่องมากมาย ลวนลามพนักงาน นอกใจ หรือกระทั่งพูดจาไม่ดีและตบตีเธอ และสุดท้ายแม้กระทั่งพ่อแท้ๆ ของเธอซึ่งกลายเป็นผู้บริหารจัดงานเงินในบริษัทของเธอก็ได้ยักยอกเงินจำนวนมากไปเป็นของตัวเองกับเพื่อน เกิดคดีความฟ้องร้อง ที่เธอไม่ได้อะไรกลับมานอกหัวใจที่แหลกสลาย คนที่สนิทรอบตัวเธอเล่าว่าเธอกลายเป็นคนปิดกั้นตัวเองและไม่ยอมไว้ใจใครอีก
หลังจากนั้นกราฟชีวิตของเธอก็เหมือนตกลงอย่างต่อเนื่อง เธอติดยาและเริ่มไม่ยอมทำงาน แม้บริษัทจะลงทุนไปหลายล้านเหรียญเพื่อดันให้เธอออกอัลบั้มใหม่ที่คนทั่วโลกรอคอย แต่เธอก็ปล่อยให้เวลาล่วงผ่านไป ลึกๆ แล้วการเป็นคนดังที่มีคนทั่วโลกให้ความรักความสนใจท่วมท้นคงเหมือนคลื่นยักษ์ที่โหมกระหน่ำใส่เธอระลอกแล้วระลอกเล่า ภาพลักษณ์ของเธอที่ถูกสร้างโดยบริษัทกับตัวตนที่แท้จริงของเธอนั้นจึงอาจปฏิเสธซึ่งกันและกันเอง แม้เธอจะพูดมาตลอดว่าเธอจะร้องเพลงออกมาจากหัวใจและจิตวิญญาณ แต่ความสับสนนี้ก็บั่นทอนความมั่นใจในการร้องเพลงของเธอลงไปเรื่อยๆ และในท้ายสุดลูกสาวเพียงคนเดียวของเธอ ‘คริสซี่’ ก็ติดยา และพยายามฆ่าตัวตาย วิทนีย์ใจสลายอีกครั้งเมื่อรู้ข่าว คนสนิทของวิทนีย์เล่าให้ฟังในสารคดีว่าคริสซี่เกลียดแม่ของเธอถึงขนาดพูดว่าเธออยากฆ่าแม่ให้ตาย
วิทนีย์พยายามกอบกู้ตัวเองอีกครั้ง เธอหย่ากับบ็อบบี้ เข้าสถานบำบัดยา ออกอัลบั้มใหม่ และทัวร์คอนเสิร์ตอีกครั้งแม้หลายคนจะห้ามเธอ แต่เนื่องจากเหตุผลทางการเงินที่ร่อแร่เต็มทีเธอจึงตัดสินใจทำ คอนเสิร์ตที่ยุโรปครั้งหนึ่งขณะที่เธอกำลังร้องเพลง คนดูหลายสิบคนเดินออกจากฮอลล์คอนเสิร์ตกะทันหันเนื่องจากทนฟังเสียงร้องที่ไม่เหมือนเดิมของเธอไม่ได้ หนังใส่ฟุตเทจเสียงอันแหบพร่าเพี้ยนบิดเบี้ยวของเธอเข้ามาให้ฟัง อันเป็นฉากที่น่าสะเทือนใจไม่น้อย
ปลายปี 2011 วิทนีย์ตัดสินใจเล่นหนังอีกครั้งเรื่อง ‘Sparkle’ หนังรีเมคหนึ่งในเรื่องโปรดของเธอ เธอตั้งใจเล่นอย่างเต็มที่ และมีความสุขมากในกองถ่าย รับรู้ได้ถึงความรักที่คนในกองมอบให้เธอ และทำให้เธอรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับอะไรบางอย่างอีกครั้ง หลังถ่ายหนังเสร็จ ขณะที่เธอกำลังนอนแช่น้ำในอ่างอาบน้ำของโรงแรม เธอบอกผู้ดูแลของเธอว่าอยากกินคัพเค้ก ผู้ดูแลออกไปซื้อให้ เมื่อกลับมาถึง ผู้ดูแลพบน้ำไหลเจิ่งนองทั่วห้อง และที่ห้องน้ำร่างหมดสติของวิทนีย์นอนคว่ำหน้าในอ่างอาบน้ำ วิทนีย์เสียชีวิตในวันนั้นเอง และในปี 2015 ‘คริสซี่’ ลูกสาวคนเดียวของเธอถูกพบว่าเสียชีวิตหลังหมดสติด้วยสภาพคว่ำหน้าในอ่างอาบน้ำ จากการตรวจพบแอลกอฮอล์และยาในร่างกาย
หนังจบด้วยเพลง ‘I have nothing’ ที่เราอาจเคยฟังผ่านหูกันมาหลายร้อยครั้ง แต่ครั้งนี้อาจเป็นครั้งที่เศร้าสร้อยที่สุดครั้งหนึ่งหลังจากเราได้รับรู้เรื่องราวทั้งชีวิตของเธอมา บางทีชื่อเสียงอาจใช่สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเธออีกต่อไป หลังผ่านจุดสูงสุดและต่ำสุดในชีวิตมา บางทีเธอร้องเพลงนี้ก็เพราะหวังว่าคนรอบตัวเธอสักคนจะไม่ปล่อยเธอไว้เพียงลำพังกับชื่อเสียงที่มีแต่จะกัดกินเธอลงไปเรื่อยๆ จนเธอไม่อาจเปิดใจให้ใครได้อีก และสุดท้ายก็เป็นไปได้ว่าอ้อมกอดของความตายอาจเป็นสิ่งที่เหลืออยู่เพียงอย่างเดียวสำหรับเธอ
“Don't make me close one more doorI don't want to hurt anymoreStay in my arms if you dareOr must I imagine you thereDon't walk away from meI have nothing, nothing, nothingIf I don't have you, you, you, you, you”
ฉายแล้ววันนี้!
"WHITNEY" เจาะลึกเบื้องหลัง นับจากก้าวแรกเข้าสู่วงการเพลงจนถึงวันสุดท้ายที่เธอทำให้โลกต้องร่ำไห้ ของ "วิทนีย์ ฮุสตัน" เจ้าของเสียงร้องสุดตราตรึงและตำนานความสำเร็จที่ไม่มีใครเทียบ!
An intimate, unflinching portrait of Whitney Houston and her family that probes beyond familiar tabloid headlines and sheds new light on the spellbinding trajectory of her life.
(*2000 ที่นั่งแรกรับเข็มกลัดที่นั่งละ 1 ชิ้น เรียกรับจากบ็อกซ์ออฟฟิศของทุกโรง)
รอบ+โรงฉายสัปดาห์ที่ 1 (พฤหัส 1 - พุธ 7 พ.ย. 2561)- SFW Central World (14:00 / 19:30)- SF Terminal 21 (20:00) - SF Rama 9 (18:00)- SF Central Ladprao (18:00)- SF The Crystal Ekamai-Ramintra (19:00)- SF The Mall Bangkapi (19:35)- SF Raychapruek (18:30)- Bangkok Screening Room (https://bkksr.com/movies/whitney)
- SFX Maya Chiangmai (20:00)- SF Central Salaya (18:00)- SF Central Khonkaen (18:30)- SF Terminal 21 Korat (19:00)- SF Terminal 21 Pattaya (18:30)- SF Bangsaen (18:50)- SF Central Nakhon Si Thammarat (18:20)- SF Central Phuket (19:20)
> 8 พ.ย.เพิ่มที่ House RCA
*SF ซื้อบัตรล่วงหน้าได้ที่ app: SF Cinema และ https://www.sfcinemacity.com/movie/HO00000310 (รอบของสาขาต่างๆ กำลังทยอยขึ้นในระบบ)
| ['บทความ', 'วัฒนธรรม', 'Whitney Houston', 'ภาพยนตร์สารคดี', 'นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์'] |
https://prachatai.com/print/79414 | 2018-11-02 01:51 | ศาลอินเดียจำคุกตลอดชีวิต-อดีตตำรวจสังหารหมู่ชาวมุสลิม 42 รายเมื่อ 31 ปีก่อน | จากเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ตำรวจอินเดียสังหารหมู่ชาวมุสลิม 42 รายในหมู่บ้านฮาชิมปุระ รัฐอุตตรประเทศของอินเดียเมื่อปี 2530 นั้น ในที่สุดเจ้าหน้าที่ซึ่งมีส่วนก่อเหตุฆ่าคนโยนทิ้งน้ำ ก็ถูกศาลสูงสุดตัดสินจำคุกตลอดชีวิตจากหลายข้อหารวมทั้งข้อหาฆาตกรรมและทำลายหลักฐาน ทว่าผู้ที่สั่งการยังคงไม่ถูกดำเนินคดี "ในที่สุดแล้วความจริงก็เป็นฝ่ายชนะ และคนบางคนก็จะต้องชดใช้ที่ฆาตกรรมผู้บริสุทธิ์" ซีชาน ญาติของผู้เสียชีวิตกล่าว
เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวชาวมุสลิม ก่อนเกิดเหตุเหตุการณ์สังหารหมู่เมื่อปี 2530 ที่หมู่บ้านฮาชิมปุระ รัฐอุตตรประเทศของอินเดีย (ที่มา: Praveen Jain/Indianexpress [1])
เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมา ศาลในอินเดียตัดสินลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเจ้าหน้าที่ตำรวจเกษียณอายุ 16 นาย จากกองกำลังตำรวจภูธรรัฐอุตตรประเทศ (PAC) ในข้อหาสังหารหมู่ชาวมุสลิม 42 รายในหมู่บ้านฮาชิมปุระ รัฐอุตตรประเทศ เหตุการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2530
ผู้พิพากษา เอส มุราลิธา และ วิโนด โกเอล แห่งศาลสูงเดลีตัดสินกลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่เคยตัดสินให้จำเลยพ้นโทษในกรณีนี้ โดยผู้พิพากษาของศาลสูงกล่าวว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฮาชิมปุระเป็นการ "สังหารอย่างมีเป้าหมาย" ต่อประชาชนชาวมุสลิมที่ปราศจากอาวุธและไม่สามารถป้องกันตัวได้ ในคำตัดสินของศาลล่าสุดระบุว่าคดีนี้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างอุกฉกรรจ์ที่มีการสังหารโดยวางเป้าหมายเป็นบุคคลในชนกลุ่มน้อยในแบบที่ระบบกฎหมายก่อนหน้านี้ไม่สามารถเอาผิดผู้ก่อเหตุได้
เหตุการณ์สังหารหมู่ดังกล่าวเกิดขึ้นในคืนวันที่ 22 พ.ค. 2530 มีเจ้าหน้าที่ตำรวจติดอาวุธกวาดต้อนชาวมุสลิมหลายสิบคนในเมืองมีรัตที่มีเหตุจลาจลในยุคนั้น เจ้าหน้าที่ทางการยิงชาวมุสลิมที่พวกเขากวาดต้อนมาเสียชีวิต มีการพบซากศพส่วนใหญ่อยู่ริมลำคลองใกล้ที่เกิดเหตุในเวลาต่อมา
ศาลตัดสินลงโทษอดีตเจ้าหน้าที่กองกำลังตำรวจติดอาวุธประจำจังหวัด 16 นาย ในข้อหาฆาตกรรม, ลักพาตัว, ร่วมก่ออาชญากรรม และทำลายหลักฐาน จากคำตัดสินล่าสุดนี้ทำให้ครอบครัวของเหยื่อและนักสิทธิมนุษยชนที่รอคอยความยุติธรรมมาเป็นเวลากว่า 31 ปีบอกว่าในที่สุดพวกเขาก็ได้รับความเป็นธรรมแล้ว
โมฮัมเหม็ด ซีชาน เป็นหนึ่งในญาติของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้น เขาบอกว่ามีหลังจากการตัดสินคดีลงโทษเจ้าหน้าที่ผู้ก่อเหตุก็มีการเฉลิมฉลองในย่านของพวกเขาด้วยการแจกจ่ายขนมหวานและทุกคนต่างพากันแสดงความยินดี ปู่ของซีชานชื่อโมฮัมเหม็ด ยาซิน เป็นหนึ่งในเหยื่อรายแรกที่ถูกยิงสังหาร พ่อของซีชานก็ถูกจับกุมและทารุณกรรมโดยตำรวจก่อนมีการปล่อยตัว ซีชานบอกว่ามันเป็นการรอคอยความยุติธรรมอย่างเจ็บปวดยาวนาน ย่าของเขาเสียชีวิตไปก่อนขณะรอคอยความเป็นธรรมให้กับสามีที่เสียชีวิตไป ข่าวการตัดสินล่าสุดจึงนำพาความยินดีมาสู่ทุกคน "ในที่สุดแล้วความจริงก็เป็นฝ่ายชนะ และคนบางคนก็จะต้องชดใช้ที่ฆาตกรรมผู้บริสุทธิ์" ซีชานกล่าว
นักสิทธิมนุษยชนชื่อ ฮาช แมนเดอร์ บอกว่าการต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมในเรื่องนี้เป็น "การต่อสู้ครั้งใหญ่เพื่อความยุติธรรม" จากการที่ก่อนหน้านี้มีการพยายามอำพรางหลักฐานและมีอคติเอียงข้างจากรัฐบาลในคดีนี้ แต่ผู้รอดชีวิตและครอบครัวก็ยืนหยัดต่อสู้จนกระทั่งทำให้เกิดผลลัพธ์เป็นคำตัดสินในครั้งล่าสุดนี้ได้ แมนเดอร์บอกอีกว่าการต่อสู้ในครั้งนี้ยังถือเป็นการต่อสู้เดิมพันของกลุ่มชนชั้นแรงงานที่ยากจนด้วย อย่างไรก็ตามถึงแมนเดอร์ย้ำเตือนว่ากลุ่มคนระดับสูงที่เป็นผู้สั่งการในเรื่องนี้และคนที่มีส่วนรู้เห็นในการอำพรางหลักฐานก็ยังคงไม่ถูกดำเนินคดี
ถึงแม้ว่าศาลชั้นต้นเคยพิพากษาไม่เอาผิดกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของอินเดียและผู้รอดชีวิตจากการสังหารหมู่ก็อุทธรณ์ต่อศาลสูงให้พิจารณาคดีนี้อีกครั้ง หนึ่งในผู้รอดชีวิตเล่าว่าเขาถูกยิงที่โดนแขนในช่วงที่มีการสังหารหมู่ เขาและร่างอื่นๆ ถูกนำไปโยนทิ้งคลองหลังจากนั้น แต่ด้วยความมืดทำให้พวกเขาไม่เห็นว่ายังมีผู้รอดชีวิต เขาซุ่มหลบอยู๋ที่พุ่มไม้และหนีตายได้สำเร็จหลังจากรถตำรวจออกไปแล้ว
วรินดา โกรเวอร์ ทนายความตัวแทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอินเดียกล่าวว่าสิ่งที่ท้าทายที่สุดในคดีนี้คือการที่ผู้ทำการสืบสวนสอบสวนเป็นฝ่ายรัฐบาลเอง ทำให้มีแนวโน้มว่าจะปกป้องผู้ต้องหาแทนที่จะทำให้เหยื่อได้รับความเป็นธรรม และหลักฐานชิ้นสำคัญก็ถูกปิดกั้น
ชับนัม อัชมี ผู้ก่อตั้งกลุ่มสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ANHAD กล่าวว่า อีกความท้าทายหนึ่งคือการที่คดีนี้มีการตัดสินในช่วงที่สังคมถูกกดดันอย่างหนักให้ยอมตามวาระของกลุ่มฝ่ายขวานิยมฮินดูซึ่งในอินเดียมีประชากรชาวฮินดูมากกว่าร้อยละ 80 ของประเทศ และมีประชากรชาวมุสลิมราวร้อยละ 14 ของประเทศ อัชมีบอกอีกว่าการสังหารหมู่ที่เกิดขึ้นรัฐมีส่วนร่วมในการก่อเหตุด้วย รวมถึงชาวมุสลิมในเหตุการณ์นั้นถูกสังหารโดยมีการวางแผนไตร่ตรองไว้ก่อนอย่างเป็นระบบ
เรียบเรียงจากIndia: Ex-policemen get life term for 1987 massacre of Muslims, Aljazeera [2], 01-11-2018
| ['ข่าว', 'สิทธิมนุษยชน', 'ต่างประเทศ', 'มุสลิม', 'รัฐอุตตรประเทศ', 'ฮาชิมปุระ', 'อินเดีย', 'การสังหารหมู่', 'กระบวนการยุติธรรม'] |
https://prachatai.com/print/79416 | 2018-11-02 15:55 | กิจกรรมดาว-เดือน สามคำถามจากมุมมองนิสิตสมองว่าง | ที่มาภาพ: แฟนเพจ สโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ [1]
เรามาเริ่มต้นบทความนี้ด้วยการปล่อยสมองให้ว่าง คลายจุดยืนตัวเองลง และนึกเพียงว่าตนเองเป็นคนไทยธรรมดาคนหนึ่ง แล้วลองตอบคำถาม 3 ข้อต่อไปนี้
1) ดาว - เดือน ในมหาวิทยาลัยไทยเป็นคนแบบไหน
2) ดาว - เดือน ต่างกันอย่างไร และ
3) ถ้าคุณต้องเสนอชื่อเพื่อนในรุ่นสักคนให้เป็นดาว - เดือน คุณจะเสนอชื่อใคร เพราะเหตุใด
เมื่อเราลองตอบคำถามดังกล่าวกับตัวเองทีละข้อ คำตอบทั้งสามข้อมักจะเป็นไปในทิศทางคล้ายๆ กัน เพราะสังคมไทยมีความรับรู้ (Perception) กับคำว่าดาว – เดือนคล้ายๆ กัน คือ ดาว – เดือนน่าจะเป็นคนที่หน้าตาดี เป็นหน้าเป็นตาให้กับคณะหรือมหาวิทยาลัย มีความโดดเด่นบางอย่างที่สามารถนำไปโชว์กับที่อื่นได้ และจะเป็นดาว - เดือนที่สมบูรณ์แบบมากขึ้นถ้าคนๆ นั้นเป็นคนที่เพียบพร้อมไปด้วยหน้าตา รูปร่าง การศึกษา ความสามารถพิเศษ บุคลิกภาพ และทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นสิ่งที่ดีตามค่านิยมของสังคมและสามารถ “ใช้เป็นต้นแบบหรือแบบอย่าง” ให้กับ “คนที่เหลือ” ในสังคมนั้นๆ ได้
เมื่อพิจารณาความรับรู้ของเราที่มีต่อดาว - เดือนอย่างถี่ถ้วนอีกครั้ง จะพบว่า “ความรับรู้แรก” ของเราที่มีต่อคนที่เป็นดาว – เดือนคือ “หน้าตา” ต่อมาเราจึงค่อยพิจารณาว่าคนที่เป็นดาว - เดือน นอกจากหน้าตาดีแล้วก็ควรจะมี “อะไรสักอย่างสองอย่าง” ที่เป็นสิ่งที่ดีตามค่านิยมหรือเป็นแบบอย่าง เพื่อนำอย่างสองอย่างนั้นมาใช้ “โชว์ประกอบ” กับหน้าตาที่ดีอยู่แล้ว เพื่อให้คณะอื่นหรือมหาวิทยาลัยอื่นเห็นว่าตัวแทนของเราไม่ได้มีดีแค่หน้าตาแต่มีความสามารถด้วย จะเห็นได้ว่า ชุดความคิดเหล่านี้เริ่มต้นจากการใช้เกณฑ์หน้าตาเริ่มต้นก่อนเสมอ แต่เมื่อผ่านเกณฑ์หน้าตาแล้ว เกณฑ์อื่นๆ เช่น ความสามารถ การศึกษา และบุคลิกภาพจึงจะถูกนำมาเป็นเกณฑ์เพื่อ “ประกอบความชอบธรรมในการตัดสิน” เสมือนการสำเร็จความใคร่ทางศีลธรรมของคณะกรรมการประกวดดาว - เดือน ส่วนดาว – เดือนนั้นก็จะได้รับการ “ติดฉลาก” ว่าเป็นผู้เพียบพร้อมไปในทุกๆ ด้าน และเป็นแบบอย่างให้กับคนอื่นๆ ในคณะ
เมื่อสำรวจความคิดตนเองไปสักระยะหนึ่ง จะพบว่า เรากำลังตอบคำถาม 3 ข้อข้างต้นโดยมองว่าดาว – เดือนต้องเป็นคนที่มีอะไรบางอย่างที่ “เหนือกว่า ดีกว่า เพียบพร้อมกว่า หรือโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ” ที่เหลือ โดยเราอาจตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจที่จะคิดอย่างนั้น แต่เมื่อเราต้องเลือกคนที่เป็นดาว – เดือน และมีได้เพียงไม่กี่คนจากคนทั้งคณะหรือมหาวิทยาลัย จึงเป็นเรื่องยากมากหรือแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะมองดาว – เดือนว่าเป็นคนๆ หนึ่งที่เป็นเพียงตัวแทนของเราและไม่แตกต่างจากคนอื่นๆ ที่เหลือ ถ้าเราคิดว่าดาว – เดือนไม่มีอะไรแตกต่างหรือโดดเด่นไปจากเรา แล้วเราคิดว่าตนเองและคนทุกคนในสังคมมีโอกาสที่จะได้รับตำแหน่งดาว – เดือนเท่ากันหรือไม่ ถ้าเรานั้นลังเล ไม่แน่ใจ หรือไม่คิดว่าตนเองจะได้เป็นดาว - เดือน ก็ควรลองย้อนกลับมาถามตนเองว่าเพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น เป็นเพราะเราคิดว่าเรามีความสามารถน้อยกว่า มีบุคลิกภาพแย่กว่า มีการศึกษาต่ำกว่า หรือเพียงแค่เราไม่มั่นใจในหน้าตา รูปร่าง รูปลักษณ์ภายนอกต่างๆ ของตนเอง หรือไม่เชื่อว่าตนเองจะสามารถเป็นตัวแทนที่ต้องออกงานเป็นหน้าเป็นตาให้กับคณะหรือมหาวิทยาลัยตนเองได้
แล้วดาว - เดือนต่างกันอย่างไร สำหรับดาวนั้น ภาพแรกๆ ที่ผุดขึ้นมาในสมองของเราก็คงจะเป็นผู้หญิง ส่วนเดือนนั้นก็คงจะเป็นผู้ชาย แต่หลังจากได้ปล่อยเวลาให้ผ่านไปสักครู่หนึ่ง สมองของคนบางคนอาจพยายามทำให้ภาพในสมองดังกล่าวเหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน หรือพยายามใช้ความเสรีนิยมทางเพศของตนเองเปลี่ยนภาพในสมองนั้นให้เป็นว่า ดาวคือผู้หญิงหรือใครก็ได้ที่มีลักษณะเป็นหญิงหรือมีความเป็นหญิง (Feminine) ส่วนเดือนก็คือผู้ชายหรือใครก็ได้ที่มีลักษณะเป็นชายหรือมีความเป็นชาย (Masculine) เมื่อพิจารณาภาพในสมองดังกล่าวของเราดังกล่าวอีกครั้งจะพบว่า “ภาพแรก” ในสมองของเราที่มีต่อดาว - เดือนนั้นเป็นผู้หญิง – ผู้ชายตามชีววิทยา และ “ภาพถัดมา” หลังจากได้ใช้ความเชื่อหรืออุดมการณ์ทางเพศของตนเองก็ยังคงเป็น “ความเป็นหญิง – ความเป็นชายตามค่านิยมทางเพศ” ของสังคมไทยอยู่ดี ทั้งเราและกรรมการประกวดดาว – เดือนนั้นไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า คำว่าดาว - เดือนนั้นมีกรอบค่านิยมทางเพศฝังตัวอยู่ในคำทั้งสองคำนี้ ไม่ว่าจะอนุรักษ์นิยมหรือเสรีนิยมทางเพศแค่ไหน การมองภาพดาว – เดือนก็คงแตกต่างแค่ว่าเป็น “ภาพแรก” หรือ “ภาพถัดมา” ในสมองเท่านั้นเอง และถ้าหากคุณจะเห็นแย้งไปจากนี้ คุณสามารถตอบตนเองได้หรือไม่ว่า ดาว - เดือนต่างกันตรงไหน และเพราะเหตุใดต้องแยกเป็นสองตำแหน่งและเป็นตำแหน่งคู่กันระหว่างดาวกับเดือน
การประกวดดาว – เดือนที่กำลังเป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่ตอนนี้คือการจัดการประกวดดาว – เดือนของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิธีการคัดเลือกดาว – เดือนของคณะนี้ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ การเสนอชื่อเพื่อนจากนิสิตชั้นปีที่หนึ่ง และการประกวดที่มีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตัดสิน เรามาเริ่มพิจารณาที่ขั้นตอนแรก เหมือนเดิมคือให้เราลองปล่อยสมองให้ว่าง และนึกเพียงว่าเราเป็นนิสิตชั้นปีที่หนึ่งที่เพิ่งเข้ามหาวิทยาลัยได้ไม่กี่เดือน มีอยู่วันหนึ่งมีรุ่นพี่เข้ามาประกาศว่าคณะจะมีการประกวดดาว – เดือนและขอให้คุณเขียนชื่อเพื่อนเพื่อเสนอให้เขาเป็นดาว – เดือนของคณะ คุณที่เป็นนิสิตชั้นปีที่หนึ่งและเพิ่งเข้ามหาวิทยาลัยได้ไม่กี่เดือนจะเขียนชื่อใครในคณะ แน่นอนว่าอันดับแรก เรามีโอกาสเขียนแค่ชื่อเพื่อน “เฉพาะที่เรารู้จัก” หรือเขียนชื่อคนในคณะที่ “มีชื่อเสียงหรือเป็นที่โด่งดัง” อยู่แล้ว และอันดับต่อมา เราจะเลือกเขียนชื่อใครจากรายชื่อเพื่อนที่เรารู้จักหรือมีชื่อเสียงข้างต้น เนื่องจากรุ่นพี่ไม่เคยชี้แจงหรือให้เอกสารโครงการประกวดดาว – เดือน เราที่กำลังต้องเขียนเสนอชื่อผู้เหมาะสมจะเป็นดาว – เดือนกลับไม่มีข้อมูลว่าดาว – เดือนของคณะต้องเป็นคนแบบไหน ต้องมีคุณลักษณะอย่างไร จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ “เรา” ซึ่งเป็นนิสิตชั้นปีที่หนึ่งจำนวนสองร้อยกว่าคนใช้ “เกณฑ์การตัดสินส่วนบุคคล” บางคนอาจเลือกเพื่อนที่หน้าตาดีในมุมมองของคนนั้น หรือบางคนอาจเลือกเพื่อนที่มีชื่อเสียง หรือบางคนอาจแค่เลือกเพราะรู้จักเพื่อนในคณะไม่มากพอ ดังนั้น คนที่ผ่านการเสนอชื่อดังกล่าวจึงมักจะเป็นคนที่ “ไม่ได้มีความสามารถสูงสุด” หรือ “ไม่ได้มีความเหมาะสมเป็นตัวแทนกิจกรรมมากที่สุด” ซึ่งทั้งสองอย่างดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผู้จัดการประกวดดาว – เดือนใช้อ้างเสมอว่าเป็นจุดประสงค์สำคัญที่ทำให้มีการจัดประกวดในปัจจุบัน
ต่อไป เรามาพิจารณาที่ขั้นตอนที่สองของการคัดเลือกซึ่งเป็นขั้นตอนการคัดเลือกดาว – เดือนจากคนที่ผ่านการเสนอชื่อในขั้นตอนแรก การประกวดดาว – เดือนคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จะใช้คณะกรรมการเป็นผู้ตัดสิน ด้วยเกณฑ์การตัดสิน เช่น การนั่ง การยืน การเดิน และความตรงต่อเวลา เราลองปล่อยสมองให้ว่างอีกครั้ง และนึกว่าเราเป็นคนหนึ่งที่มีจิตใจมุ่งมั่นอยากทำงานให้คณะหรืออยากเป็นตัวแทนกิจกรรมให้กับเพื่อนในคณะมากๆ เราจะทำอย่างไร หลังจากที่เราทราบเกณฑ์การตัดสินแล้ว สิ่งแรกที่เราจะทำถ้าเราต้องการจะเป็นดาว – เดือนทำงานให้คณะคือ พยายามเดินทางมาประกวดให้ตรงเวลา และฝึกท่าทางการนั่ง การยืน และการเดินให้สง่างามตาม “ค่านิยมของสังคม” หรือตาม “คุณค่าบางอย่างที่สังคมนั้นต้องการ” เพื่อให้คณะกรรมการให้คะแนนสูงที่สุดและได้รับเลือกเข้าทำงานเป็นตัวแทนกิจกรรมของคณะ สิ่งที่เราควรตั้งคำถามกลับไปก็คือ เหมาะสมหรือไม่กับการคัดเลือกคนที่มีจิตใจอยากทำงานเป็นตัวแทนกิจกรรมให้คณะด้วยการให้คะแนนการนั่ง การยืน และการเดิน เกณฑ์การตัดสินเหล่านี้เป็นการ “ผลิตซ้ำคุณค่าบางอย่างของสังคม” ว่าคนที่เป็นหน้าเป็นตาหรือเป็นตัวแทนของสังคมนั้นๆ ต้องมี “บุคลิกภาพตามที่คณะกรรมการต้องการ” ใช่หรือไม่ คณะกรรมการตัดสินมีเพียงไม่กี่คนจะสามารถตัดสินความเป็นดาว – เดือนของผู้เข้าประกวดได้อย่างไร ผู้เข้าประกวดรวมถึงนิสิตในคณะอาจมองความเป็นดาว – เดือนแตกต่างกันไป แต่ละคนอาจให้คุณค่ากับคนในสิ่งที่แตกต่างกัน แล้วคณะกรรมการเพียงไม่กี่คนและเกณฑ์การตัดสินที่เขียนขึ้นมาโดยคนไม่กี่คน จะมี “ความชอบธรรม” เพียงพอที่จะนำมาใช้ตัดสินตัวแทนกิจกรรมของนิสิตทั้งคณะได้หรือไม่ เกณฑ์เหล่านี้ไม่สามารถตัดสินได้ว่าใครมีความเหมาะสมหรือมีจิตใจมุ่งมั่นอยากทำงานเป็นตัวแทนกิจกรรมให้คณะมากกว่ากัน ตัวแทนกิจกรรมในหลายๆ กิจกรรมไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะทางบุคลิกภาพมากนัก คนที่มีบุคลิกภาพไม่ดีหรือไม่ตรงตามสิ่งที่คณะกรรมการต้องการแต่อยากทำงานให้คณะมากๆ กลับถูกเกณฑ์การตัดสินและคณะกรรมการตัดสินให้เขาเป็นผู้ที่ไม่เหมาะสมกับการเป็นตัวแทนนิสิตของคณะ สรุปแล้วผู้จัดการประกวดดาว – เดือนต้องการตัวแทนที่มีลักษณะอย่างไรกันแน่ และเพราะเหตุใดจึงออกแบบวิธีการการคัดเลือกที่ไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์ของกิจกรรม
นอกจากการพิจารณาดาว - เดือนด้วยคำถาม 3 ข้อข้างต้นแล้ว การเลือกคนๆ หนึ่งให้เป็นตัวแทนของเราทั้งรุ่นก็ควรจะให้ “เราทั้งรุ่น” มีส่วนร่วมในการคัดเลือกและการออกแบบวิธีการคัดเลือก ซึ่งปัจจุบันแม้แต่ตัวโครงการดาว - เดือนเราก็ยังไม่มีโอกาสได้เห็น ตัวคณะกรรมการเราก็ไม่มีสิทธิเลือกว่าใครควรจะมาเป็นผู้ตัดสินแทนเรา และผลการตัดสินก็มาจากคณะกรรมการเพียงไม่กี่คน เรามีส่วนร่วมเพียงแค่เสนอชื่อเพื่อนแบบลมๆ แล้งๆ โดยไม่รู้รายละเอียดอะไร และไม่มีส่วนร่วมใดๆ อีกเลยในกระบวนการทั้งหมดหลังจากนั้น หากดาว – เดือนคือคนที่เป็นตัวแทนกิจกรรมให้กับรุ่นของเราจริง เราทุกคนควรมีสิทธิเป็นตัวแทนได้ทุกคน มีจำนวนหลายคนมากกว่านี้ และควรมาจากการเลือกตั้งของเราทั้งรุ่น
อีกเหตุผลหนึ่งที่ผู้จัดกิจกรรมมักใช้อ้างถึงความจำเป็นที่ต้องจัดประกวดดาว – เดือนคือ กิจกรรมทั้งในคณะและส่วนกลางมีจำนวนเยอะมากจึงต้องคัดเลือกดาว – เดือนเพื่อให้เป็นผู้ทำกิจกรรมเหล่านี้ เราลองนึกถึงกิจกรรมที่มีในคณะและมหาวิทยาลัยของเรา จะพบว่ากิจกรรมมีความหลากหลายมาก คนที่เป็นดาว – เดือนไม่น่าจะเป็นผู้มีความสามารถครบทุกด้านหรือเหมาะเป็นตัวแทนให้กับคณะในทุกๆ กิจกรรม จะดีกว่าหรือไม่ถ้าเราใช้วิธีอื่นในการคัดเลือกคนที่เหมาะสมที่จะเป็นตัวแทน “ในแต่ละกิจกรรม” ซึ่งแต่ละกิจกรรมย่อมต้องการคนที่มีความสามารถแตกต่างกันไป เป็นผลดีต่อทั้งการได้ตัวแทนที่เหมาะกับกิจกรรมหนึ่งๆ และยังส่งผลดีต่อสภาพการมีส่วนร่วมของนิสิตในคณะอีกด้วย
นอกจากนั้น ค่าใช้จ่ายด้าน “การจัดการประกวด” ทั้งค่าจัดกิจกรรมดนตรี กิจกรรมการแสดง และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์เวทีและเครื่องเสียง และค่าใช้จ่ายด้าน “การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)” และ “การพัฒนาศักยภาพ” ของดาว – เดือนทั้งระหว่างการประกวดและหลังจากที่ได้รับตำแหน่งล้วนเป็นงบประมาณของสโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ งบประมาณจำนวนนี้ถูกนำไปใช้เพื่อพัฒนานิสิตเพียงไม่กี่คน เพราะเหตุใดดาว – เดือนเพียงไม่กี่คนและไม่ได้มาจากการเลือกตั้งนี้จึงมี “โอกาสการพัฒนาตนเอง” มากกว่านิสิตคนอื่นในรุ่น สิ่งที่เราควรจะตั้งคำถามกับการจัดกิจกรรมนี้คือ เพราะเหตุใดจึงไม่นำงบประมาณจำนวนนี้ไปใช้จัด “กิจกรรมพัฒนาศักยภาพของนิสิตทั้งคณะ” สโมสรนิสิตควรตระหนักเสมอว่า “ทุกคนในรุ่น” ต้องมีโอกาสได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างเท่าเทียมกัน
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ถ้าเริ่มมองด้วยมุมมองที่ไม่มีจุดยืนเริ่มต้น จินตนาการว่าตนเองเป็นนิสิตนักศึกษาธรรมดาคนหนึ่ง และมองไปที่จุดประสงค์ของกิจกรรมกับวิธีการคัดเลือกที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จะพบว่าการจัดการประกวดดาว – เดือนนั้นมีปัญหามากมายทั้งประเด็นเชิงเนื้อหาและประเด็นเชิงกระบวนการ ความรับรู้ต่อดาว – เดือนของนิสิตชั้นปีที่หนึ่ง การให้ความหมายและความแตกต่างของดาวกับเดือน ข้อจำกัดและผลเสียของการใช้วิธีการเสนอชื่อ การผลิตซ้ำคุณค่าและความไม่สอดคล้องของเกณฑ์การตัดสิน ความขาดความชอบธรรมของคณะกรรมการการตัดสิน การใช้งบประมาณไปกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และการขาดการมีส่วนร่วมในการคัดเลือกตัวแทน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัญหาที่ถึงแม้ผู้จัดการประกวดอาจมีเจตนาดีหรือมีความจำเป็นที่จะต้องคัดเลือกคนเข้ามาทำงาน แต่ปัญหาเหล่านี้จะทำให้คนที่ผ่านการคัดเลือกอาจเป็นคนที่ไม่ได้มีความเหมาะสมที่สุดหรือมีความเป็นตัวแทนของนิสิตทั้งคณะ และปัญหาเหล่านี้จะทำให้การจัดการประกวดไม่เป็นไปตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ จะดีกว่าหรือไม่ถ้าจะมีการปรับเปลี่ยนวิธีการได้มาซึ่งตัวแทนกิจกรรม โดยเน้นให้ “ทุกคนในรุ่น” มีส่วนร่วมในกระบวนการคัดเลือกและ “ทุกคนในรุ่น” สามารถเป็นตัวแทนกิจกรรมในกิจกรรมที่ตนเองมีจิตใจมุ่งมั่นอยากจะทำ มีความสามารถ และมีความเหมาะสม “ในแต่ละกิจกรรม” ที่แตกต่างกันไป
| ['บทความ', 'สังคม', 'วัฒนธรรม', 'การศึกษา', 'ทุเรียนสามพู', 'ดาว-เดือน', 'กิจกรรมนักศึกษา', 'การประกวดดาวเดือน'] |
https://prachatai.com/print/79417 | 2018-11-02 15:59 | งานดนตรีพังก์ 'BNK44' เลื่อนอีก มธ.แจ้ง 'ผิดวัตถุประสงค์ทางวิชาการ' | ผู้จัดงานดนตรีพังก์ 'BNK44' ระบุ ธรรมศาสตร์ แจงงานดนตรีครั้งนี้ผิดวัตถุประสงค์ทางวิชาการ ทำให้กิจกรรมครั้งนี้ต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด จากเดิมจะแสดงในวันที่ 3 พ.ย.นี้ ณ ลานประติมานุสรณ์ 6 ตุลา 19
2 พ.ย.2561 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน [1] รายงานว่า ศูนย์ทนายความฯ ได้ติดต่อสอบถามกับผู้จัดงานดนตรีพังก์ “BNK44” และได้รับแจ้งว่าต้องเลื่อนการจัดงานออกไปก่อนอย่างไม่มีกำหนดเนื่องจากทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพิ่งแจ้งเมื่อ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา ว่า งานดนตรีครั้งนี้ผิดวัตถุประสงค์ทางวิชาการ ทำให้กิจกรรมครั้งนี้ต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด จากเดิมที่มีกำหนดการจะแสดงในวันที่ 3 พ.ย.2561 ณ ลานประติมานุสรณ์ 6 ตุลาคม 2519
ทั้งนี้ทางผู้จัดได้ชี้แจงว่าพวกตนได้ดำเนินการขออนุญาตใช้สถานที่กับทางมหาวิทยาลัยและ สน.ชนะสงครามก่อนแล้ว ทางมหาวิทยาลัยให้ใช้ลาน นอกจากนั้นทางตำรวจยังได้มีหนังสือตอบกลับแล้วว่าทางกลุ่มสามารถจัดงานดนตรีนี้ได้
จากเหตุขัดข้องดังกล่าวทำให้ผู้จัดต้องโทรศัพท์แจ้งยกเลิกกับวงต่างๆ ที่เชิญมาร่วมงานไว้แล้ว และต้องรอประสานกับทางมหาวิทยาลัยอีกครั้งเพื่อขอเข้าชี้แจง
ศูนย์ทนายความฯ ยังรายงานด้วยว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 21 ก.ย.2561 ทางกลุ่มเคยต้องยุติการจัดงานดนตรีพังก์ “BNK44 ..สี่ปีได้แ-กแต่คุกกี้เสี่ยงทาย” เนื่องจากตำรวจเข้ากดดันโฮสเทลแห่งหนึ่งที่ใช้เป็นสถานที่จัดงาน โดยแจ้งกับผู้จัดงานว่างานดังกล่าวอาจมีเนื้อหาที่จะกระทบความมั่นคง การถูกยกเลิกโดยทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครั้งนี้จึงเป็นครั้งที่สองที่ทางกลุ่มไม่สามารถจัดงานนี้ได้
‘จะ4ปีแล้วนะไอ้สัตว์’ งานดนตรีเด็กพังก์หัวขบถ เมื่อเราต่างเป็นผลิตผลของการเมือง [2]
ขณะที่เมื่อ 14.30 น.ที่ผ่านมา เพจ 4ปีแล้วนะไอ้สัตว์ ออกแถลงการณ์ ยืนยันแล้วว่า งานวันเสาร์นี้เลื่อนแน่นอนครับ ส่วนสาเหตุนั้น อย่างที่เราได้เรียนให้ทราบว่า ทางผู้ใหญ่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความไม่สบายใจที่งาน “ผิดวัตถุประสงค์ทางวิชาการ” ซึ่งหลังจากนี้ ทางทีมงานของเพจ ผู้ประสานงานฝ่ายสถานที่ และทางมหาวิทยาลัย จะหารือเรื่องนี้เพื่อหาทางออกให้กับทุกฝ่าย ในวันที่ 6 พ.ย. แน่นอนว่า เราในฐานะผู้จัด รู้สึกเสียใจที่เพื่อนๆหลายๆคนเตรียมพร้อมที่จะมา หลายคนจองตั๋วเครื่องบิน รถไฟ รถทัวร์ และเตรียมพลังมาสำแดงเดชในงาน เราต้องขอโทษต่อหัวใจอันมุ่งมั่นและพั๊งค์อย่างแท้จริงของมิตรสหายทุกคน
"แต่อย่างที่เรียนให้ทราบ นี่คือประกาศการเลื่อน ย้ำ นี่คือการเลื่อนวันเฉยๆ ไม่ใช่ยกเลิกงาน ขอให้อ่านให้เข้าใจด้วย ไม่มีใครกดดันใดๆทั้งสิ้น งานคอนเสิร์ตครั้งนี้จะต้องจัดให้ได้ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เรา เพจ “4ปีแล้วนะไอ้สัตว์” ไม่ว่าจะเผชิญกับอะไรก็ตาม เราขอสัญญาว่าจะไม่ทำให้ทุกคนผิดหวัง" เพจ 4ปีแล้วนะไอ้สัตว์ แถลง
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'การศึกษา', 'สิทธิมนุษยชน', 'ผิดวัตถุประสงค์ทางวิชาการ', 'ดนตรีพังก์ “BNK44”', 'มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์'] |
https://prachatai.com/print/79418 | 2018-11-02 18:16 | รอเกือบ 4 ปี ‘อัญชัญ’ ผู้ต้องหา 112 ได้ประกันตัวแล้ว หลักทรัพย์ 5 แสน | หลังถูกคุมขังมาเกือบ 4 ปี ‘อัญชัญ’ ผู้ต้องหา 112 ความผิด 29 กรรม จากกรณีปล่อยคลิปเสียง ‘บรรพต’ ซึ่งมีเนื้อหาหมิ่นพระมหากษัตริย์องค์ก่อนได้รับการประกันตัวแล้ว หลักทรัพย์ 5 แสนบาท ปล่อยตัวช่วงค่ำที่ทัณฑสถานหญิงกลาง ศาลชี้แม้โจทก์คัดค้านแต่เชื่อว่าจำเลยจะไม่หลบหนีหรือยุ่งกับพยานหลักฐาน
2 พ.ย.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (2 พ.ย.) ‘อัญชัญ’ หญิงวัย 60 ปี อดีตข้าราชการของกรมสรรพากร ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ได้รับการประกันตัวแล้วโดยญาติวางหลักทรัพย์เป็นสลากออมสินและพันธบัตรรัฐบาลจำนวนรวม 500,000 บาทจาก
ศาลให้เหตุผลว่า พิจารณาแล้ว แม้โจทก์จะคัดค้าน แต่เมื่อพิจารณาหลักประกันแล้วน่าเชื่อถือ และเชื่อว่าจำเลยจะไม่หลบหนี หรือไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐาน หรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นจึงอนุญาตให้ปล่อยตัวจำเลยชั่วคราว
อัญชันได้รับการปล่อยตัวในช่วงค่ำวันเดียวกันนี้ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง
เส้นทางสู้คดี ‘อัญชัญ’ ข้อหาหมิ่น 29 กรรม เริ่มสืบพยานปากแรกหลังติดคุก 1 ปีเศษ [1]
สมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 (ซ้าย) เข้าแสดงความยินดีกับอัญชัญ (ขวา)ที่มาภาพ เฟสบุ๊ค มะขิ่น คนดอย [2]
อนึ่งอัญชัญถูกจับกุมเมื่อวันที่ 25 ม.ค.2558 โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้อัพโหลดและเผยแพร่คลิปเสียงของ "บรรพต" ซึ่งมีเนื้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์องค์ก่อน เธอถูกคุมตัวในค่ายทหาร 5 วันโดยไม่มีใครทราบชะตากรรม ก่อนตำรวจจะแถลงข่าวการจับกุมเธอและคนอื่นๆ ที่ถูกทยอยจับกุม ทั้งหมดถูกกล่าวหาว่าเป็น “เครือข่ายบรรพต” อัญชัญถูกตั้งในความผิดมาตรา 112 รวม 29 กรรม
ศาลทหารจำคุก ‘เครือข่ายบรรพต’ 10 ปีและ 6 ปี ฟันคนแชร์เท่าคนทำคลิป [3]
‘ศูนย์ทนายสิทธิฯ’ เปิด(อย่างน้อย)อีก 9 ผู้ต้องขังคดี ม.112 ที่ยังสู้คดีและไม่ได้ประกันตัว [4]
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน [4] รายงานไว้ว่า อัญชัญถูกฝากขังและจองจำในเรือนจำมาตั้งแต่วันที่ 30 ม.ค.2558 ญาติเคยยื่นขอประกันแต่ศาลทหารไม่อนุญาต ครั้งล่าสุดที่มีการยื่นขอประกันตัวคือ เมื่อเดือนเมษายน 2560 ด้วยหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดินมูลค่า 1,000,000 บาท แต่ศาลทหารก็ไม่อนุญาต โดยอ้างเหตุผลว่าคดีมีอัตราโทษสูง เกรงว่าจะหลบหนี ทำให้เธอยังคงถูกคุมขังเรื่อยมา
ขณะที่การดำเนินคดีในศาลทหารกรุงเทพก็ดำเนินไปอย่างล่าช้า เนื่องจากอัญชัญตัดสินใจต่อสู้คดีในขณะที่จำเลยส่วนใหญ่ในคดี "เครือข่ายบรรพต" ให้การรับสารภาพ นับตั้งแต่อัยการทหารสั่งฟ้องคดีอัญชัญเมื่อวันที่ 23 เม.ย.2558 ถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 3 ปีครึ่ง มีการสืบพยานโจทก์ไปได้ 7 ปากจากพยานโจทก์ทั้งหมด 11 ปาก และยังมีพยานจำเลยที่ยังไม่ได้สืบอีก 2 ปาก
ที่น่าสังเกตคือ ขณะที่ “บรรพต” ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้จัดทำคลิปเสียงจำนวนหลายร้อยคลิปถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 จำนวน 1 กรรม แต่อัญชัญซึ่งตำรวจระบุว่าเป็นหนึ่งใน “ขบวนการของบรรพตที่จัดการด้านการเงิน” ถูกกล่าวหาว่าแชร์คลิปบรรพตในเฟสบุ๊คและอัพคลิปขึ้นยูทูปโดนตั้งข้อหาความผิดถึง 29 กรรมจากการเผยแพร่ในช่องทางต่างๆ ดังกล่าว
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'อัญชัญ', 'คดี 112', 'ประกันตัว', 'เครือข่ายบรรพต'] |
https://prachatai.com/print/79419 | 2018-11-02 19:16 | กกต. ขีดเส้นพรรคการเมืองขายของระดมทุนได้ ยังห้ามจัดงานรวมตัว หวั่นกระทบความสงบ | กกต. วางมาตรฐานการระดมทุนพรรคการเมือง ระบุสามารถขายสินค้าได้ แต่ต้องขออนุญาตก่อน ส่วนการจัดงานระดมทุนรูปแบบอื่นๆ เช่น ทอล์กโชว์ ขายโต๊ะจัดงานเลี้ยง ทำไม่ได้ เหตุอาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อย และขัดคำสั่งหัวหน้า คสช.
2 พ.ย. 2561 วันนี้ ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้มีการประชุมชี้แจงการดำเนินการกิจกรรมทางการเมืองให้แก่พรรคการเมือง โดยมีพรรคการเมืองเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงในครั้งนี้ อาทิ พรรคไทยธรรม พรรคเพื่อคนไทย พรรคพลังปวงชนไทย พรรคพลังรวมประชาชาติไทย(รปช.) โดยแสวง บุญมี รองเลขาธิการกกต. กล่าวเตือนเรื่องการหาสมาชิกพรรคว่า ต้องให้ประชาชนมีความต้องการที่จะสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนั้น ๆ เอง ไม่ใช่ใช้วิธีให้ประโยชน์เพื่อจูงใจ เพราะเวลานี้มีรายงานเข้ามาเกือบทุกที่ ว่าพบการแจกเสื้อ แจกข้าวสาร ซึ่งอาจคิดว่ากฎหมายเลือกตั้งยังไม่ผลบังคับใช้ แต่อย่าลืมว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมืองบังคับใช้แล้ว
“แม้จะยังไม่เป็นพรรคการเมือง แต่ถ้าให้ประโยชน์จูงใจเพื่อเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือมีโทษถึงยุบพรรคเลย ดังนั้น ถ้าใครจะหาสมาชิกไม่ถูกต้องก็ลองดู” รองเลขาธิการกกต. กล่าว
แสวง กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งแรกนี้หากพรรคยังตั้งสาขาไม่ทัน เพราะมีความยุ่งยากและต้องหาสมาชิกให้ได้ไม่น้อยกว่า 500 คนสามารถใช้วิธีตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด ซึ่งจะต้องหาสมาชิกที่มีภูมิลำเนาในเขตเลือกตั้งจังหวัดละไม่น้อยกว่า 101 คนขึ้นไป ซึ่งจะสามารถให้ความเห็นในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ทุกเขตเลือกตั้งของจังหวัดนั้น แต่ควรหาเผื่อไว้ให้มาก เพราะเวลานี้ทุกพรรคแข่งกันหาสมาชิก ซึ่งอาจเกิดปัญหาการเป็นสมาชิกซ้ำซ้อน หากตรวจสอบพบจะทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ได้
“ถ้าพรรคจะส่งผู้สมัคร 350 เขตต้องหาสมาชิกพรรคที่มีภูมิลำเนาในเขตเลือกตั้งจังหวัดละ 101 คนเพื่อตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดใน 77 จังหวัด รวมแล้วควรมีสมาชิกเบื้องต้นไม่น้อยกว่า 8,000 คน” แสวง กล่าว.
กกต. บอกพรรคการเมือง ถ้าจะระดมทุน-รับบริจาค ต้องไปขออนุญาต คสช. ก่อน [1]
แสวงกล่าวด้วยว่า เวลานี้ คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 13/2561 ยังมีผลบังคับใช้ ก่อนที่พรรคจะดำเนินการใดๆ ต้องแจง กกต. ก่อนดำเนินกิจกรรม 5 วัน ในส่วนการรับบริจาค กฏหมายกําหนดห้ามบริจาคเกิน 10 ล้านบาทต่อรายต่อปี ขณะนี้รับบริจาคได้เฉพาะกรรมการบริหารพรรคเท่านั้น เงินของพรรคการเมืองก่อนการปลดล็อกจะมาจากทุนประเดิม กองทุนพัฒนาพรรคการเมืองหรือค่าสมาชิกเท่านั้น หากต้องการรับบริจาคจากบุคคลภายนอก สามารถใช้คําสั่ง คสช.ที่ 53 ข้อ 4 ขออนุญาตได้ เช่น ขายสินค้าที่ระลึกระดมทุน ส่วนการระดมทุนในรูปแบบ จัดทอล์กโชว์ ขายโต๊ะ ยังทําไม่ได้เพราะอาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยซึ่งจะขัดคําสั่ง คสช. อีก
เรียบเรียงจาก : สำนักข่าวไทย [2] , มติชน [3] ,
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'กกค.', 'พรรคการเมือง', 'จับตาการเลือกตั้ง', 'การระดมทุนพรรคการเมือง', 'คำสั้งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 13/2561'] |
https://prachatai.com/print/79420 | 2018-11-02 19:40 | องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ เสนอ 'ประยุทธ์' ใช้ 'ข้อตกลงคุณธรรม' ประมูลดิวตี้ฟรีรอบใหม่ | องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ทำหนังสือถึง ประยุทธ์ เสนอให้นำ “ข้อตกลงคุณธรรม” ใช้ในการประมูลร้านค้าปลอดภาษีและอากรหรือดิวตี้ฟรีรอบใหม่ เพื่อสร้างความโปร่งใส
2 พ.ย.2561 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า วันนี้ ( 2 พ.ย.61) องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้ส่งหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช. และ ประธานคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) เพื่อขอให้ใช้ “ข้อตกลงคุณธรรม” ในการประมูลโครงการร้านค้าปลอดภาษีและอากร หรือ ดิวตี้ฟรีครั้งใหม่ ซึ่งสัมปทานเดิมที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. กับ เอกชน กำลังจะสิ้นสุดเดือนกันยายน พ.ศ.2563 นี้
โดยในหนังสือระบุว่า
“ตามที่จะมีการประมูลหาผู้ร่วมลงทุนกับรัฐในโครงการร้านค้าปลอดภาษีและอากร (Duty Free Shop) ครั้งใหม่ ที่ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการในหลายสนามบินสำคัญของประเทศ ทำให้โครงการนี้อยู่ในความสนใจของประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับชื่อเสียงของประเทศและเป็นแหล่งสร้างรายได้เข้ารัฐที่สำคัญ
ปัจจุบัน “ข้อตกลงคุณธรรม” เป็นมาตรการสร้างความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่รัฐบาลของท่านนายกรัฐมนตรีได้ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การจัดซื้อจัดจ้างในโครงการต่างๆ ที่ใช้มาตรการนี้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยรักษาผลประโยชน์ของประเทศได้อย่างมหาศาล
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการหาผู้ร่วมทุนในโครงการร้านค้าปลอดภาษีและอากร เป็นไปอย่างโปร่งใสตามนโยบายของรัฐบาล องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ใคร่ขอกราบเรียนเสนอท่านนายกรัฐมนตรีโปรดพิจารณานำ “ข้อตกลงคุณธรรม” มาใช้ในโครงการดังกล่าว”
ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า เนื่องจากปัจจุบัน ความเห็น ความต้องการ ข้อเสนอแนะ มุมมองของผู้คนในสังคมเกี่ยวกับสนามบินมีหลายหลายทั้งบวกและลบ จนอาจทำให้เกิดการคาดเดาไปในทางที่เสียหายได้ ดังนั้นการศึกษา กำหนดแนวทาง การบริหารจัดการ การกำกับดูแลเกี่ยวกับการประมูลโครงการร้านค้าปลอดภาษีและอากร
ครั้งนี้ จึงต้องการความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม เพื่อให้มั่นใจว่ ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ด้วยเงื่อนไขที่ดีที่สุด
ดังนั้นทางองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) จึงเห็นควรที่จะต้องสร้างความโปร่งใส สร้างการมีส่วนร่วมด้วย“ข้อตกลงคุณธรรม” ที่เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายของรัฐบาล (ตามที่ปรากฎในหนังสือ) เพราะ “ข้อตกลงคุณธรรม” เป็นมาตรการสร้างความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่นายกรัฐมนตรีได้ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การจัดซื้อจัดจ้างในโครงการต่างๆ ที่ใช้มาตรการนี้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยรักษาผลประโยชน์ของประเทศได้
สำหรับ ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) คือ หนึ่งในเครื่องมือที่ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 นำมาใช้บริหารงานการมีส่วนร่วมภาคประชาชน เพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างขนาดใหญ่ของภาครัฐ ซึ่งจัดทำเป็นข้อตกลงร่วมกันที่ลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรณ์ 3 ฝ่าย ได้แก่ 1.ฝ่ายหน่วยงานภาครัฐ 2.ฝ่ายผู้ประกอบการภาคเอกชน และ3.ผู้สังเกตการณ์อิสระตัวแทนภาคประชาชน โดยหน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบการฯ ต้องตกลงกันว่าจะไม่กระทำการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง และเปิดเผยข้อมูลให้แก่ผู้สังเกตการณ์อิสระ รวมทั้งยินยอมให้ผู้สังเกตการณ์อิสระที่มีความเป็นกลาง ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน มีความรู้และประสบการณ์ เข้าร่วมสังเกตการณ์การทำงานจัดซื้อจัดจ้างทุกขั้นตอนตั้งแต่การจัดทำร่างขอบเขตงาน ไปจนส่งมอบงานสิ้นสุดโครงการ
ทั้งนี้กรณีที่ผู้สังเกตการณ์อิสระเห็นว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ในข้อตกลงคุณธรรม จะรายงานข้อสังเกตให้หน่วยงานภาครัฐฯ ทราบ และหากไม่มีการแก้ไขจนเกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่โครงการ ผู้สังเกตการณ์อิสระจะรายงานให้คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตทราบ เพื่อรายงานข้อมูลต่อสาธารณะ และอาจแจ้งหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐต่อไป
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'เศรษฐกิจ', 'ข้อตกลงคุณธรรม', 'การประมูลโครงการร้านค้าปลอดภาษีและอากร', 'Duty Free Shop', 'องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)'] |
https://prachatai.com/print/79421 | 2018-11-02 21:18 | 'จ๋า-ผู้หญิงยิงฮ.' เสียชีวิตแล้ว ส่งนิติเวช รพ.ตำรวจชันสูตร |
2 พ.ย.2561 นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช.ยืนยันกับผู้สื่อข่าวว่า กรณีที่มีการโพสต์ข้อความในโซเชียลเน็ตเวิร์คเมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมาว่า นางสาวนฤมล วรุณรุ่งโรจน์ หรือที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ จ๋า ผู้หญิงยิง ฮ.เสียชีวิตลงแล้วเป็นเรื่องจริง โดยเธอได้เสียชีวิตในวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมาภายในห้องเช่าหลังห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว โดยไม่ทราบเวลาและสาเหตุการเสียชีวิตที่ชัดเจน
แกนนำ นปช.ให้ข้อมูลว่า ตอนนี้ศพของนฤมลอยู่ที่แผนกนิติเวช รพ.ตำรวจเพื่อทำการชันสูตรหาสาเหตุการเสียชีวิต ก่อนที่ทางนปช.จะรับศพมาประกอบพิธีทางศาสนาในวันที่ 5 พ.ย.ที่ ศาลา 2 วัดเทวสุนทร (สุนทริการาม) แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
นพ.เหวงกล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้นฤมลมีอาการผอมซูบลง ดูไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง ทางนปช.จึงให้ไปทำการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล แต่ยังไม่ทันมีผลตรวจออกมานฤมลก็เสียชีวิตลงเสียก่อน
นฤมล วรุณรุ่งโรจน์ หรือ จ๋า วัย 57 ปี มีอาชีพค้าขาย ถูกกล่าวหาว่า ในเหตุการณ์การชุมนมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553 เธอใช้ปืนยิงไปที่เฮลิคอปเตอร์ของทหารขณะที่กำลังโปรยใบปลิวและทิ้งแก็สน้ำตาลงมาใส่ผู้ชุมนุม จนทำให้ พ.อ.มานะ ปริญญาศิริ ได้รับบาดเจ็บ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553 ต่อมาเธอและจำเลยอีก 2 คนถูกสั่งฟ้องในข้อหา ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ ปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการปลอม โดยมีหลักฐานเป็นปืน AK47 จำนวน 5 กระบอก, ปืนกล M16 จำนวน 1 กระบอก, ระเบิดหลายชนิดเกือบ 20 ลูก, กระสุนปืนแบบต่างๆ เกือบพันลูก ไม่นับตะไล ปืนคาร์ไบน์ ระเบิดเพลิง แต่จากการสืบพยานไม่พบลายนิ้วมือแฝงบนอาวุธ
รายงาน: เปิดปม ก่อนพิพากษาคดี “ผู้หญิง ยิง ฮ. (10 เมษา)” [1]
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษายกประโยชน์แห่งความสงสัยแก่จำเลยทั้ง 3 คน พิพากษายกฟ้อง แต่ให้ขังจำเลยไว้ระหว่างอุทธรณ์ ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นยกฟ้องจำเลย และศาลฎีกาไม่รับฎีกาของอัยการโจทก์ในคดีนี้เป็นผลให้คดีนี้ถึงที่สุด
นฤมลถูกจับเมื่อวันที่ 3 พ.ค.2553 โดยถูกคุมขังมาจนถึงวันที่ 5 ก.ย.2554 รวมเป็นเวลา 1 ปี 4 เดือน ศาลจึงมีคำสั่งให้ประกันตัว และถึงแม้ว่าศาลจะยกฟ้องในที่สุดแต่นฤมลก็ไม่สามารถเรียกร้องเงินชดเชยได้ เนื่องจากกฎหมายระบุว่าศาลต้องพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ มิใช่การยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
ศาลไม่รับฎีกาอัยการคดียิงฮ.ทหาร 10 เมษา-‘จ๋า นฤมล’เริ่มต้นชีวิตนวดแผนโบราณ [2]
ต่อมาเธอยังถูกฟ้องคดีทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ทหารด้วย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 25 ก.พ.52 ในที่ชุมนุมของนปช.โดยศาลชั้นต้นพิพากษาให้นฤมลมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 สั่งจำคุก 1 ปี จากข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังทำร้ายร่างกายนายทหารนอกเครื่องแบบ
จำคุก ‘ผู้หญิงยิง ฮ.’ 1 ปี-การ์ด นปช.3 ปี คดีจับทหารในที่ชุมนุมปี 52 [3]
หลังพ้นโทษออกจากเรือนจำ เธอใช้ชีวิตระหกระเหินอยู่นานกว่าจะตั้งหลักด้วยการประกอบอาชีพรับจ้างนวดแผนโบราณในเวลากลางวันและทำขนมหวาน ชาสมุนไพรฝากขายและวางขายตามที่ชุมนุมของกลุ่มผู้รักประชาธิปไตย
ขณะที่ยังมีชีวิตนฤมลเคยระบายความรู้สึกอึดอัดใจถึงสภาพที่เธอต้องเผชิญ อาทิ
“ ออกจากเรือนจำ หาที่ซุกหัวนอนยังไม่ได้ ซมซานไม่รู้เขาจะอายัดตัวไหม ออกมาเช่าโรงแรมม่านรูดถูกๆ นอนเป็นเดือน มันหลอนเรา เพราะตั้งแต่ออกประตูคุกมาก็มีคนตาม โชคดีได้พี่น้องช่วยเหลือบ้าง แล้วเราก็เริ่มทำสละลอยแก้วขาย มีม็อบตรงไหนก็เอาไปขาย จนติดคุกอีกรอบพวกหม้อเม่อก็หายหมด”
“สิ่งที่สร้างมาด้วยหยาดเหงื่อแทบไม่มีเหลือ ตอนที่ไปจับก็รื้อค้นเหมือนรื้อกองขยะ รูปถ่ายก็ทิ้งหมด ตอนนี้ไม่เหลือรูปถ่ายซักใบ แม้กระทั่งใบเกิด เอกสารต่างๆ ไปหมด เสื้อผ้าก็รื้อทิ้งเป็นขยะเลย ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่หมด พวกโทรศัพท์ ที่อยู่คนต่างๆ ก็ถูกยึดไปราบ 11 หมด”
“ติดคุกแล้วก็ไม่เหลืออะไรเลย เหลือแต่รอยแค้น รอวันที่ประชาชนเอาคืน เพราะคุณรังแกประชาชนไม่มีทางสู้ ประชาชนลืมไม่ลงหรอก รสชาตินี้”
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'ผู้หญิงยิง ฮ.', 'นฤมล วรุณรุ่งโรจน์', 'เหวง โตจิราการ', 'นปช.', 'คนเสื้อแดง'] |
https://prachatai.com/print/79422 | 2018-11-02 21:26 | ‘เนติวิทย์’ ชี้ผลประชามติล้มประกวดดาวเดือนฯ รัฐศาสตร์ สะท้อนหน้าตาไม่ใช่สิ่งเดียวที่ตอบโจทย์ | หลังผลประชามตินิสิตปี 1 คณะรัฐศาสตร์โหวตยกเลิกการประกวดดาว-เดือน และดาวเทียม เนติวิทย์ชี้ ปรากฎการณ์นี้สะท้อนว่า หน้าตาไม่ใช่สิ่งเดียวที่ตอบโจทย์ เผยก่อนหน้านี้มีการล่ารายชื่อยกเลิกจนมีความขัดแย้งในคณะ สุดท้ายหาทางออกกับสโมสรฯ จัดการความขัดแย้งด้วยการฟังเสียงนิสิตโดยตรง
ภาพจาก เพจสโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
2 พ.ย. 2561 ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการลงประชามติในประเด็น “เห็นด้วยหรือยกเลิกจัดประกวด ดาว-เดือน และดาวเทียมของคณะรัฐศาสตร์” โดยมีผู้ลงคะแนนเสียงเป็นนิสิตคณะรัฐศาสตร์ชั้นปีที่ 1 มีผู้มาใช้สิทธิจำนวน 260 คน จากจำนวนนิสิตทั้งหมด 288 คน คิดเป็นร้อยละ 90.28
สำหรับผลการออกเสียงประชาติ มีผู้เห็นด้วยให้มีการยกเลิกทั้งหมด 142 เสียง ร้อยละ 54.62 ไม่ให้ด้วยให้มีการยกเลิก 113 เสียง หรือ ร้อยละ 43.46 และมีบัตรเสีย 5 ใบ ร้อยละ 1.92 มีผลให้การประกวดดาว-เดือน และดาวเทียมของคณะรัฐศาสตร์ประจำปี 2561 มีผลยกเลิกไป
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตปี 3 คณะรัฐศาสตร์และอดีตประธานสภานิสิตจุฬาฯ ให้ข้อมูลว่า การจัดออกเสียงประชามติครั้งนี้ เป็นผลจากการที่กลุ่มของตนเปิดให้มีการล่ารายชื่อนิสิตในคณะรัฐศาสตร์ เพื่อ ให้ยื่นเสนอให้มีการพิจารณายกเลิกการประกวดดาวเดือน-ดาวเทียม เนื่องจากเห็นว่ากิจกรรมการดังกล่าว เป็นการกระทำที่ผลิตซ้ำการให้คุณค่ากับหน้าตา และสนับสนุนมายาคติเรื่องเพศและภาพลักษณ์ ซึ่งมีการจัดกิจกรรมกันมายาวนาน ในขณะที่ฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการจัดประกวดเห็นว่า กิจกรรมดังกล่าวเป็นการคัดเลือกทูตกิจกรรมให้แก่คณะ แต่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการประกวดเห็นว่ากิจกรรมนี้ไม่ได้ตอบโจทย์ว่าจะนำเสนอความเป็นรัฐศาสตร์ได้อย่างแท้จริง ที่สุดแล้วการล่ารายชื่อนี้ทำให้เกิดความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันในคณะ ทางฝ่ายสโมสรนิสิต และฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการจัดกิจกรรมประกวดดาว-เดือน และดาวเทียม จึงหาทางออกร่วมกันโดยการลงประชามติ
ภาพจาก เพจสโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
เนติวิทย์ ระบุด้วยว่า สาเหตุที่ผลประชามติออกมาในลักษณะนี้เป็นเพราะ นิสิตปีที่ 1 ต่างก็เข้าใจดีว่าการจัดกิจกรรมเป็นเพียงการให้ความสำคัญกับเรื่องหน้าตาเท่านั้น ขณะที่การประกวดดาวเทียมถูกมองว่า มีลักษณะของการสร้างภาพประทับตราให้กับกลุ่ม นิสิต LGBT ว่ามีลักษณะเป็นคนทะลึ่ง หื่นกาม
เขาให้ข้อมูลต่อว่า สาเหตุที่ทำให้นิสิตออกมาใช้สิทธิถึงร้อยละ 90.28 อาจมีผลจากการตื่นตัวจากการเรียนวิชาตรรกะ เพราะในการเรียนการสอนได้ใช้ประเด็นการประกวดดาว-เดือน และดาวเทียมในการให้นิสิตได้ฝึกออกความคิดเห็นกัน นิสิตจึงตื่นตัวมาก อย่างไรก็ตามเขาเห็นว่าการใช่ประชามติในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเป็นเพียงวิธีหนึ่งในการจัดการกับความขัดแย้งเท่านั้น ซึ่งมีอีกหลายปัญหาที่ไม่สามารถทำได้ด้วยการออกเสียงในลักษณะนี้ หรือกระทั่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการพูดคุย
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'คุณภาพชีวิต', 'การประกวดดาวเดือน', 'คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย', 'เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล'] |
https://prachatai.com/print/79423 | 2018-11-02 22:09 | ส่องรีแอคชั่นจากยูทูบเบอร์ ไทย-เทศ ต่อ ‘ประเทศกูมี’ | เปิดรีแอคชั่นจากยูทูบเบอร์ ไทย-เทศ เพลงแร็ปยอดวิวกว่า 26 ล้าน อย่าง ‘ประเทศกูมี’ ที่บางรีแอคฯ ยอดเกิน 1 ล้านวิวแล้ว พร้อมส่งความห่วงใยในสวัสดิภาพของศิลปิน
ปฏิเสธไม่ได้ว่า(หนึ่งใน)เพลงที่กำลังมาแรงและเป็นที่นิยมฟังกันอย่างแพร่หลายในสังคมไทยตอนนี้ ด้วย 1 สัปดาห์หลังการเผยแพร่ทางยูทูบยอดวิวทะลุ 26 ล้านครั้ง ยอดถูกใจที่ 902,000 ราย และยอดไม่ถูกใจที่ 23,000 ราย คือเพลง “ประเทศกูมี” เพลงแร็ปสายดุดันที่เป็นเสียงหนึ่งในการสะท้อนปัญหาที่หมักหมมในสังคมไทยมาเป็นเวลานานแต่กลับไม่ค่อยจะมีใครพูดถึงปัญหาเหล่านี้กันเท่าไหร่นัก แทบไม่ต้องเอ่ยถึงเรื่องที่จะมีการสะสางให้คลี่คลายไป กลุ่มศิลปิน Rap Against Dictatorship จึงยกประเด็นนี้ขึ้นมา ชูให้เห็นว่า “มันมี” ผ่านรูปแบบของสื่อบันเทิงอย่างเพลงแร็ป
ไม่เพียงยอดวิวทางยูทูบเท่านั้น กระแสวิจารณ์ในโลกออฟไลน์ก็มีทั้งสนับสนุนและต่อต้าน โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐที่ออกมาข่มขู่ถึงขั้นบอกว่าจะดำเนินคดีในช่วงแรกๆ อย่างไรก็ตามในโลกของ ‘ยูทูบเบอร์’ ก็มีวัฒนธรรมของการแสดงปฏิกิริยาหรือในที่นี้จะเรียกว่ารีแอคชั่น (Reaction) ซึ่งเป็นอีกข้อสังเกตที่น่าสนใจ เพราะเหล่าผู้สรรค์สร้างสื่อกลุ่มนี้มีผู้ติดตามอยู่มาก จุดยืนด้านความคิดเห็นของเขาก็ย่อมเกี่ยวพันกับเหล่าผู้ที่ติดตาม
เริ่มจากยูทูบเบอร์ชาวไทย ยูทูบเบอร์รายนี้ใช้ชื่อช่องว่า Sean Buranahiran-ฌอน บูรณะหิรัญ โดยคลิปรีแอคชั่นที่เขาเผยแพร่นั้นมียอดวิวอยู่ที่ 1,400,266 ครั้ง ยอดถูกใจที่ 32,000 ราย และยอดไม่ถูกใจที่ 734 ราย โดยเป็นตัวเลขที่ตรวจสอบเมื่อราว 4 ทุ่มของคืนวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา
สำหรับช่องของฌอนเป็นช่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ชีวิต จิตวิทยา และกำลังใจ สาเหตุที่ทำให้เขาสนใจที่จะทำคลิปรีแอคชั่นเพลงประเทศกูมีเพราะเขาสนใจการใช้วัฒนธรรมฮิปฮอปในสังคมไทยและเห็นว่ามันเป็นกระแสที่กำลังมาแรง โดยทัศนะส่วนตัวของฌอน เขาเข้าใจสไตล์ของเพลงแนวนี้อยู่แล้ว เขารู้ว่ามันเป็นเพลงที่เปิดช่องทางให้ผู้คนได้ระบายความไม่พอใจ ในขณะที่กำลังดูคลิป ฌอนทึ่งกับเนื้อร้องและฉากต่างๆ คิ้วเลิกขึ้นสูง ตาหรี่เล็กน้อย ปากอมยิ้ม แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ประมาณว่า “พวกนายทำไปได้ยังไงกัน” ช่วงที่เขาตะลึงที่สุดคือฉากที่ตุ๊กตาซึ่งถูกแขวนบนต้นไม้ถูกฟาดด้วยเก้าอี้
ภายหลังจากดูคลิปจบ ฌอนได้แสดงความคิดเห็นว่า เขาจะไม่ตัดสินว่าคลิปนี้ดีหรือไม่ดีอย่างไร เขาเพียงแค่ชื่นชมในความกล้าของกลุ่มศิลปิน เขาชื่นชมที่ศิลปินไทยกลุ่มนี้ใช้วัฒนธรรมฮิปฮอปเพื่อที่สะท้อนปัญหาในสังคมซึ่งเขาเห็นว่ามันดีกว่าการใช้วัฒนธรรมแนวนี้เพียงเพื่อแค่จะอวดฐานะ พร้อมกันนั้นฌอนก็ได้อธิบายซ้ำอีกครั้งถึงการบ่นก่นด่าในเพลงว่าเป็นสไตล์ของเพลงแนวนี้ และในตอนท้ายเขาก็ได้อวยพรให้กลุ่มศิลปินที่ขับร้องเพลงนี้ปลอดภัย
มาในกรณีของยูทูบเบอร์ต่างประเทศกันบ้าง แชนแนลที่มีชื่อ Mat Salleh ที่ปกติจะทำเนื้อหาเกี่ยวกับเพลงในประเทศต่างๆ รวมถึงรีวิวการท่องเที่ยว ก็ได้เผยแพร่คลิปรีแอคชั่นต่อเพลงประเทศกูมีเช่นกัน โดยจากการตรวจสอบในช่วง 3 ทุ่มของคืนวันที่ 1 พ.ย. 2561 พบว่าเป็นคลิปรีแอคชั่นที่มียอดวิวสูงสุดคือ 2,022,220 ครั้ง ยอดกดถูกใจ 64,000 ราย และยอดไม่ถูกใจ 834 ราย โดยเขาออกตัวก่อนดูคลิปว่า เขารักเมืองไทย เขาเคยเที่ยวไปในหลายๆ ที่ของไทย และรักคนไทยมาก
เมื่อได้ชมคลิปเพลงประเทศกูมีแล้ว เขาอึ้งกับเนื้อหาและภาพเช่นกัน Mat บอกว่านี่เป็นเพลงที่สุดยอด เป็นเพลงที่จริงจังมาก เขาชมเหล่าศิลปินว่ากล้าหาญ เขาโยกตัวไปตามจังหวะของเพลง ใบหน้าของเขาทั้งตะลึง ปากของยิ้ม และฉากที่เขาอึ้งมากที่สุดคือ ฉากที่ตุ๊กตาถูกฟาดด้วยเก้าอี้อีกเช่นกัน เขาบอกว่าการทำเพลงนี้เป็นสิ่งที่บ้ามาก บ้ามากที่ต่อต้านรัฐบาล ต่อต้านทหาร อย่างไรก็ตามเขาก็ชื่นชมในการต่อสู้ของเหล่าศิลปินและอวยพรให้อยู่อย่างปลอดภัย
มาแล้ว! MV 'ประเทศกูมี' แร็ปสะท้อนสังคมการเมือง กับฉากหลัง 6 ตุลา 19 [1]
มองและฟัง ‘ประเทศกูมี’ ผ่านมานุษยวิทยา [2]
ประยุทธ์' บอกไม่สน 'ประเทศกูมี' แต่ไป ครม. สัญจรกลับพูดถึงเพลงนี้ถึง 3 ครั้ง [3]
สำหรับยูทูบเบอร์ชาวต่างชาติอีกรายที่ใช้ชื่อแชนแนลว่า Junosuede ก็ตะลึงกับเนื้อหาของบทเพลงในหลายๆ ส่วนเช่นกัน คลิปรีแอคชั่นของเขามียอดวิวที่ 457,567 ครั้ง ยอดถูกใจที่ 13,000 ราย ยอดไม่ถูกใจที่ 161 ราย โดยยูทูบเบอร์รายนี้เดิมทีไม่ต้องการจะทำคลิปเกี่ยวกับเพลงแนวนี้เพราะเขาเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่อ่อนไหว แต่ก็มีคนจำนวนมากขอร้องให้เขารีแอคต่อเพลงนี้ เขาได้เข้าไปสำรวจการกดถูกใจและพบว่ามียอดกดถูกใจเพลงนี้สูงมากเมื่อเทียบกับการกดไม่ถูกใจ เขาจึงตัดสินใจทำคลิปรีแอคชั่นเพลงนี้
เมื่อได้ฟังเพลง เขารู้สึกงุนงงต่อเนื้อหาบางส่วนมาก เขามองว่ามันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้อย่างไรกัน เขาช็อกกับกรณีบ้านพักอัยการในอุทยาน ไม่เข้าใจว่าทำไมทหารถึงเลือกนายกรัฐมนตรีได้ และเก็ยังช็อกกับฉากฟาดเก้าอี้ใส่ตุ๊กตาที่ถูกแขวนไว้กับต้นไม้เหมือนกับยูทูบเบอร์สองคนแรก หลังจากฟังจบ เขาก็ชื่นชมต่อการแสดงออกของเหล่าศิลปิน และสนับสนุนให้คนไทยรวมถึงคนอื่นๆ แสวงหาหนทางที่จะแสดงออกแต่อย่าให้ถึงขนาดถูกจับกุม
นอกจาก 3 แชนแนลที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว ก็ยังมีหลายแชนแนลที่ทำคลิปรีแอคชั่นต่อเพลงประเทศกูมีอย่างเช่น คลิป “เกาหลีดูประเทศกูมี Korean Reaction-Rap Against Dictatorship” ของแชนแนล KorBong บง บง ซึ่มียอดวิวที่ 557,238 ยอดกดถูกใจที่ 13,000 และยอดไม่ถูกใจที่ 180 คลิป “ตีลังกา REACTION-RAP AGAINST DICTATORSHIP-ประเทศกูมี” ของแชนแนลที่ใช้ชื่อว่า ตีลังกาดูหนัง โดยมียอดวิวที่ 277,764 ยอดกดถูกใจที่ 8,800 และยอดไม่ถูกใจที่ 340 นอกจากนี้ยังมีอีกไม่ต่ำกว่า 7 แชนแนลที่ทำคลิปรีแอคชั่นต่อเพลงประเทศกูมี
สำหรับ กาญจนพงค์ รินสินธุ์ ปัจจุบันเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งฝึกงานกับประชาไท จากหลักสูตรอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'ไอซีที', 'ยูทูบเบอร์', 'ยูทูบ', 'รีแอคชั่น', 'ประเทศกูมี'] |
https://prachatai.com/print/79424 | 2018-11-03 10:33 | กวีประชาไท: ขบถไม่มีวันตาย |
ที่มาภาพ: Facebook Banrasdr Photo [1]
ข้อยถือพร้าเดินตีนเปล่าโค่นเจ้านายแต่ล้มตายศพลืมตาใต้ฟ้าค่ำกี่ปืนใหญ่กระสุนฆ่าคนป่าดำกี่ขื่อคาเข้าจองจำย่ำย่อยยับ
เช็ดน้ำตาเถิดดวงตาแห่งราตรีล่วงคืนนี้จะลำกลอนกล่อมนอนหลับแคนเศร้าสร้อยจะขับกล่อมกระท่อมทับเพลงผีบุญร่วมขานขับรับอรุณ
จึงภูตผีลุกเดินมุ่งข้ามทุ่งศพเก้าสมทบไปทุกแห่งท่ามแสงอุ่นเล่าตำนานผ่านฝนพรมลมละมุนหนุนความตายผีหมายเหตุประเทศไทย
ตามหลอกหลอนตามกบฏการกดขี่ณ ถิ่นที่ทุกข์เผาผลาญกาลสมัยตราบธงธรรมไม่สะบัดโบกกวัดไกวผีบ้าใบ้จะตื่นฟื้นคืนกลับมา...
| ['บทความ', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'นฤมล วรุณรุ่งโรจน์', 'จ๋า ผู้หญิงยิง ฮ.', 'มาโนช พรหมสิงห์', 'กวีประชาไท'] |
https://prachatai.com/print/79425 | 2018-11-03 11:09 | ประชาชนบราซิลเตรียมรับมือต่อต้าน จาอีร์ บอลซานาโร ผู้นำฝ่ายขวาจอมปิดกั้นเสรีภาพคนล่าสุด | หลังจากจาอีร์ บอลซานาโร ได้เป็นประธานาธิบดีคนล่าสุดของบราซิล ผู้คนจำนวนมากก็พากันเตรียมรับมือผู้นำขวาจัดที่มีส่วนพัวพันกับเผด็จการทหารผู้นี้ รวมถึงยังเป็นคนที่ชอบใช้โวหารทำลายคนเห็นต่าง ปิดกั้นเสรีภาพและยุยงให้เกิดความรุนแรงจนมีคนถูกยิงเสียชีวิตเพราะวาจากระตุ้นความเกลียดชังของอดีตทหารที่ผันตัวมาเป็นนักการเมืองผู้กุมบังเหียนขั้วการเมืองฝ่ายขวา
จาอีร์ บอลซานาโร ประธานาธิบดีคนล่าสุดของบราซิล ที่มาภาพ: wikimedia.org [1]
ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดของบราซิลผู้สมัครฝ่ายขวาจัดจากพรรคอีเอสแอล จาอีร์ บอลโซนาโร ได้รับชัยชนะด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 55.13 ขณะที่พรรคฝ่ายซ้ายพ่ายไปด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 44.87 ท่ามกลางการเฉลิมฉลองและส่งเสียงเชียร์จากกลุ่มชนชั้นสูงในย่านที่พักอาศัยที่มีรั้วกั้นจากโลกภายนอก (gated community) และการเดินขบวนแสดงความยินดีของทหาร ยังมีผู้คนอีกจำนวนมากบราซิลที่แสดงความผิดหวัง แต่พวกเขาก็บอกว่าจะไม่หยุดต่อสู้กับประธานาธิบดีฟาสซิสต์ผู้นี้
พวกเขาเหล่านี้มีเหตุผลที่จะกลัวบอลซานาโร เพราะชายคนนี้เป็นอดีตเจ้าหน้าที่ทหารในยศร้อยเอก เขาเป็นคนที่ให้ว่าจะล้มกิจกรรมของฝ่ายซ้ายและกวาดล้างศัตรูทางการเมืองของตัวเองด้วยการไล่ออกนอกประเทศหรือส่งเข้าคุก นอกจากนี้เขายังเคยพูดจาในแบบคนเหยียดเชื้อชาติ คนเหยียดเพศและผู้มีความหลากหลายทางเพศ รวมถึงยังมีทัศนคติแบบให้คนเอาปืนไปยิงกันและโต้ตอบกับอาชญากรรมด้วยวิธีแบบเผด็จการ
นอกจากนี้บอลซานาโรยังเคยกล่าวชื่นชมอดีตจอมเผด็จการทหารออกุสโต ปิโนเชต์ ผู้ทารุณกรรมและสังหารผู้คนอย่างโหดเหี้ยมในช่วงปี 2507-2528 ขณะที่รองประธานาธิบดีภายใต้บอลซานาโรก็เป็นอดีตทหารยศนายพล และบอลซานาโรยังมีแผนการแต่งตั้งอดีตเจ้าหน้าที่ทหารในตำแหน่งสำคัญอื่นๆ อีก ลูกของเขาที่ชื่อเอ็ดดูอาร์โดก็เคยบอกว่าจะปิดปากศาลสูงสุดด้วยทหาร
หนึ่งในกลุ่มชนชั้นสูงที่เป็นผู้จัดการธุรกิจที่อยู่ในย่านเดียวกับบอลซานาโรบอกว่าเธอต้องการให้บอลซานาโรเข้ามาปราบปราม "การทุจริตคอร์รัปชัน" นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนที่เดินขบวนตะโกนต่อต้านฝ่ายซ้ายและพรรคแรงงานซึ่งพวกเขาอ้างว่าเป็นผู้สร้างปัญหาหลายอย่างให้กับบราซิล และพวกเขาชื่นชมผู้นำที่มีแนวคิดฟาสซิสม์แบบบอลซานาโรที่จะมาอุดช่องว่างความรู้สึกไม่มั่นคงของพวกเขา
อย่างไรก็ตามมีประชาชนคนอื่นๆ ที่ไม่หลงไปกับเรื่องนี้และไม่ลืมความน่ากลัวของประวัติศาสตร์เผด็จการในอดีต หนึ่งในนั้นคือผู้กำกับคนรุ่นใหม่ที่ชื่อ โบลิวาร์ ชาลฟัน เขาบอกว่าบอลซานาโรเป็นฟาสซิสต์ ตัวเขาเองก็มีสติกเกอร์ติดอยู่ที่หน้าอกเขียนไว้ว่า "เผด็จการเหรอ ไม่เอาอีกแล้ว!" เขาหิ้วหนังสือ "รักชวนหัว" ของมิลาน คุนเดอรา ติดมือมาด้วย เขาเป็นหนึ่งในหลายพันคนที่พบหนังสือติดมือไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งด้วย
ในช่วงวันเลือกตั้งรอบตัดสินเมื่อวันที่ 28 ต.ค. ที่ผ่านมาฝ่ายผู้สนับสนุน เฟอร์นันโด ฮัดดัด ผูัสมัครจากพรรคแรงงานบราซิลหรือพีที (PT) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายซ้ายพากันเดินทางไปเข้าคูหาเลือกตั้งพร้อมกับพกหนังสือไปด้วยเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนความหวังและการศึกษา เป็นการแสดงออกต่อต้านที่ผู้สนับสนุนบอลซานาโรพากันพกปืนไปลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งรอบแรกเมื่อวันที่ 7 ต.ค. นอกจากนี้ยังมีการแสดงการต้อนรับฮัดดัดด้วยหนังสือ ดอกไม้ และร่ม รวมถึงร้องเพลงที่สื่อถึงความเคารพและความเท่าเทียม
หนึ่งในนักศึกษาด้านสิทธิมนุษยชนในมหาวิทยาลัยริโอเดอจาเนโรคาทอลิก ลิฟ มากิโน ถือหนังสือที่ชื่อ "Places of Memory" เกี่ยวกับการต่อต้านระบอบเผด็จการทหารในริโอเดอจาเนโร เธอบอกว่าหนังสือเล่มนี้เป็นประวัติศาสตร์ที่ย้ำเตือนไม่ให้เราลืมสิ่งที่เคยเกิดขึ้น และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาประชาชนบราซิลจำนวนมากเริ่มมีสิทธิมีเสียงมากขึ้นได้แต่ในตอนนี้พวกเขากลับพยายามจะกลบเสียงเหล่านั้น
นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าเป็นห่วงก่อนหน้าการเลือกตั้งที่ผ่านมาซึ่งชวนให้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความชอบธรรมในการลงคะแนนครั้งนี้ เพราะมีการใช้กำลังตำรวจบุกค้นมหาวิทยาลัยหลายสิบแห่ง มีการสั่งปลดป้ายแสดงการต่อต้านเผด็จการฟาสซิสต์โดยอ้างว่าเป็นการเคลื่อนไหวของฝ่ายสนับสนุนฮัดดัด
นั่นทำให้นักศึกษาและกลุ่มครูอาจารย์กังวลว่าจะมีบรรยากาศการเซนเซอร์มากขึ้นและปิดกั้นการประท้วงภายใต้รัฐบาลบอลซานาโร กลุ่มนักศึกษาและครูอาจารย์เหล่านี้จึงโต้ตอบด้วยการเดินขบวนประท้วงในบราซิเลีย พวกเขาร้องเพลง เบลา เชา ซึ่งเป็นเพลงโฟล์คของอิตาลีที่เอามาแปลงเป็นเพลงประจำในการต่อต้านฟาสซิสต์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกลุ่มนักศึกษาต่อต้านแข็งขืนต่อคำสั่งจองศาลสูงสุดที่ห้ามไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายวัตถุใดๆ โดยบอกว่าการเคลื่อนไหวของพวกเขาสายเกินกว่าที่จะส่งผลอะไรต่อการเลือกตั้ง
นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่าบอลซานาโรมีลักษณะการใช้โวหารแบบที่กระตุ้นให้เกิดความรุนแรงแบบเดียวกับที่โดนัลด์ ทรัมป์ ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการจุดเชื้อไฟให้เกิดการเหยียดเชื้อชาติ การเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกันอย่างไม่มีเหตุผล และการแบ่งแยกทางการเมือง และมีเหตุรุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้นจริงเมื่อผู้สนับสนุนบอลซานาโรยิงชายคนดำผู้สนับสนุนฮัดดัดเสียชีวิตขณะเขาและแม่กำลังร่วมขบวนคาราวานสนับสนุนฮัดดัด มีวิดีโอแม่ของชายผู้นี้ร้องไห้คร่ำครวญเมื่อหมอประกาศว่าลูกเธอเสียชีวิตแล้ว นอกจากนี้คนร้ายยังยิงคนอื่นเสียชีวิตอีก 5 รายพร้อมตะโนกชื่อบอลซานาโรหลังก่อเหตุ นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิต 120 รายจากเหตุอาชญากรรมที่มีแรงจูงใจทางการเมืองซึ่งส่วนใหญ่มาจากผู้สนับสนุนบอลซานาโร ผู้ที่ทำการหาเสียงด้วยความเกลียดชังความเห็นต่างปละกระตุ้นให้คนใช้ความรุนแรง
ทั้งนี้บอลซานาโรยังใช้โซเชียลมีเดียในทางใส่ร้ายป้ายสีผ่านแอพพลิเคชั่นอย่างวอทแอพพ์ รวมถึงสร้างข่าวเทียมขึ้นมาสนับสนุนตัวเองด้วยเงินทุนหลายล้าน ซึ่งในบราซิลมีผู้ใช้วอทแอพพ์อยู่ร้อยละ 60 ของประชากรทั้งหมด เรื่องการบิดเบือนเหล่านี้ทำให้เส้นแบ่งของความจริงและความเท็จพร่าเลือนสับสน ฮัดดัดเองก็พยายามร้องเรียนว่ามีการเล่นตุกติกในการเลือกตั้งครั้งนี้ซึ่งศาลสูงก็บอกว่าจะทำการสืบสวนในกรณีที่บอลซานาโรมีส่วนเกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นในบราซิลทำให้ฝ่ายซ้ายในบราซิลเริ่มรู้สึกแบบเดียวกับฝ่ายซ้ายในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม นักศึกษา กลุ่มผู้หญิง และชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศ พวกเขามีความรู้สึกร่วมกันว่าจะต้องไม่ยอมอ่อนข้อให้กับรัฐบาลแบบนี้
มาริอานา มิติก นักศึกษาวิจิตรศิลป์จากมหาวิทยาลัยริโอเดอจาเนโรกล่าวว่าพวกเขาจะไม่ยอมรับรัฐบาลจำพวกนี้ ผู้หญิงจะไม่ยอมกลับไปเป็นแค่คนใช้ และคนรักเพศเดียวกันจะไม่กลับไปซ่อนตัวอีก พวกเขาจะไม่ยอมอ่อนข้ออ่อนน้อมต่อรัฐบาลแบบนี้ พวกเขาจะสู้
เรียบเรียงจาก
“We Will Fight”: Brazilians Pledge to Resist Fascist President-Elect Bolsonaro, Toward Freedom, 29-10-2018https://towardfreedom.org/archives/americas/we-will-fight-brazilians-pledge-to-resist-fascist-president-elect-bolsonaro/ [2]
ข้อมูลเพิ่มเติมจากhttps://en.wikipedia.org/wiki/Brazilian_general_election,_2018 [3]
| ['ข่าว', 'ต่างประเทศ', 'จาอีร์ บอลซานาโร', 'ฝ่ายขวา', 'อำนาจนิยม', 'เสรีภาพในการชุมนุม', 'เฮทสปีช', 'การเลือกตั้ง', 'ความรุนแรงทางการเมือง', 'บราซิล'] |
https://prachatai.com/print/79426 | 2018-11-03 11:26 | ใบตองแห้ง: 5 ปีคนกรุงหายโง่? | สื่อบางค่ายพาดหัว “คนกรุงเอือมลุงกำนัน” ไม่รู้ฟันธงเร็วไปหรือเปล่า เพราะดูตามข่าว คนที่มาดักต่อว่า ก็คือคนรักประชาธิปไตย Respect My Vote ส่วนที่อ้างเป็นอดีต กปปส. ลุงกำนันก็ว่าไม่ใช่ เพราะจำหน้าไม่ได้ สรุปคือใครออกมาไล่ ล้วนรับจ้างอำนาจเก่า คนที่อยากด่าด้วยความคับแค้นใจไม่มีอยู่จริง
แหม่ พูดงี้น่าจะลองวัดเรตติ้ง กั้นคอกเก็บตังค์ให้คนเข้าไปชมหรือด่า หยอดเหรียญนาทีละสิบบาท หาเงินบำรุงพรรค อาจเข้าคิวมืดฟ้ามัวดิน ไม่ได้รับจ้างใครมา ลงทุนซื้อเวลาด้วยซ้ำ คงได้เงินล้นหลามกว่าเดินขอวันละบาท
บังเอิญเสียจริง วันที่หกของการเดินคารวะแผ่นดิน เป็นวันครบรอบ 5 ปี กำเนิดม็อบนกหวีด ซึ่งชุมนุมยืดเยื้อ 204 วัน จากต้าน กม.นิรโทษ ถึงชัตดาวน์กรุงเทพฯ ขัดขวางเลือกตั้ง กระทั่งเกิดรัฐประหาร
5 ปีผ่านไป ยังบอกไม่ได้ว่าเอือม ว่ามวลมหาประชาชนหายวับ เพราะยังมีคนมาต้อนรับ เพียงแต่คนส่วนใหญ่ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น ไม่มีตัวตนเดินผ่าน บรรยากาศต่างกันลิบลับ กับ 5 ปีก่อน ไปทางไหนมีแต่คนขอเซลฟี ลงเฟซบุ๊ก โพสต์ IG อย่างภาคภูมิใจ แต่วันนี้ เซลฟีกับลุงกำนัน กลัวเพื่อนล้อกลัวคนโห่แล้วหรือไง
ดาราเซเลบส์ก็หายหมด ไม่มาให้กำลังใจกันบ้างเลย ทั้งที่เคยขึ้นเวทีสะใจมือปืนป๊อปคอร์น
ถามจริง กปปส. “ตาสว่าง” แล้วหรือ จากที่เคยเพ้อฝัน “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” “ปฏิวัติประชาชน” แต่วันนี้ไม่มีอะไรซักอย่าง นอกจากรัฐบาลทหาร
ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน คนโง่แบบนั้นมีจริงด้วยหรือ ไหนว่าเป็นคนชั้นกลางมีการศึกษา ที่ย่ำเท้าตามอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เชื่อจริงๆ หรือว่าจะเกิดสภาประชาชน รัฐบาลประชาชน เลือกตั้งผู้ว่า ฯลฯ เพราะเห็นรถถังออกมา ก็ไชโยโห่ร้องกันลั่น
ลุงกำนันไม่ได้หลอกใคร คนไปม็อบก็รู้แก่ใจ รัฐบาลยุบสภาแล้วยังไม่เลิก ยังร่วมชัตดาวน์ ขัดขวางเลือกตั้ง ยึดสถานที่ราชการ ประเทศฉิบหายอย่างไรก็ช่างมัน เป็นเพราะความเกลียดชัง “ระบอบทักษิณ” กลัวมีเลือกตั้งอีกก็แพ้อีก เท่านั้นเอง
ถ้าจะเถียงว่าไม่จริง ถ้าใครเชื่อจริงๆจังๆ ว่าวันนั้นจะนำไปสู่การปฏิรูป จะไม่เกิดรัฐประหาร ยกมือขึ้น จะได้พาไปหาหมอ (แต่แย่หน่อย หมอก็เป็นเยอะเหมือนกัน)
กปปส.เป็นแค่พลังแห่งความเกลียดเท่านั้นเอง ไม่ใช่พลังสร้างสรรค์ ไม่ใช่พลังที่จะหวนมาเลือกลุงกำนันเป็นรัฐบาล อ้าว ก็ขัดขวางเลือกตั้งอยู่หลัดๆ จะกลับมาบอกให้เลือกผม ขำตาย
คนกรุงทั้งหลาย คนดีเด่นดัง อธิการบดี นักวิชาการ ที่ชูสุเทพเป็นผู้นำ แค่ต้องการใครซักคน ที่มุทะลุดุดัน พร้อมเสี่ยงคุกเสี่ยงตะราง แบบไม่มีอะไรจะเสีย แถมมีฐาน ส.ส. ฐานมวลชน ขนคนใต้ขึ้นมาปิดกรุงจนเมืองแทบร้าง
พอเสร็จงานก็ใช้แล้วทิ้ง ไม่ต่างอะไรกับสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งหลังยึดสนามบิน ยุบพรรคพลังประชาชน ตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร พันธมิตรก็หมดความหมาย สนธิเกือบตายเพราะถูกลอบยิง
ถามว่ามวลมหาประชาชนวันนี้เข็ดหลาบ สำนึกบาปแล้วใช่ไหม ที่ร่วมทำลายประชาธิปไตย จนอยู่ใต้เผด็จการ ก็อาจมีบ้างเหมือนกัน เช่นพวกคนใต้ ที่ถูกไล่ไปขายยางดาวอังคาร พวกพ่อค้าแม่ค้า ถูกจัดระเบียบที่ทำกิน พวก NGO ที่เจอทุนสามานย์หนักกว่าเก่า หรือคนใหม่ๆ ที่เข้าร่วมด้วยสำนึกผิวเผิน “ต้านโกง” “นิรโทษตัวเอง”
แต่คนชั้นกลางระดับบน คนมั่งมี กลุ่มก้อนใหญ่ที่ฝังชิพมาตั้งแต่ยุคพันธมิตร ยุคหลากสี เห็นประเทศกูมีแต่สิ่งดีๆ หลังรัฐประหาร ไม่ได้เปลี่ยนไป คนเหล่านี้เพียงแต่ใช้ลุงกำนันแล้วทิ้ง โผไปหาลุงคนใหม่ เรื่องอะไรจะผูกตัวเองกับหม้อก้นดำ ชัตดาวน์ประเทศสร้างความวอดวาย ต้องโน่นเลย มองไปข้างหน้ากับประชารัฐ ลดความเหลื่อมล้ำ 4.0 นวัตกรรม ฯลฯ เนียนๆ ไป
นี่คือวิสัยคนดีไง ปัดโธ่ คนดีเด่นดังที่ไหนจะเอาตัวไปผูกกับลุงกำนัน ขุนพล กปปส.ยังโผไปซบรัฐบาล ได้ตำแหน่งแต่งตั้ง
คนชั้นกลางอนุรักษ์นิยมไม่ได้หายไปไหนหรอก ยังปลุกความเกลียดชังประชาธิปไตย พึงพอใจกับการใช้อำนาจ โดยไม่คำนึงถึงเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน ตราบใดที่ตนมีสิทธิเสียงเหนือใคร พากันแห่แหน ปกป้อง ลุงขวัญใจคนใหม่
แต่ลุงคนใหม่ต้องสำนึกไว้เหมือนกัน เมื่อไหร่พลาดพลั้ง ก็โดนเท เผลอๆ จะสาหัสกว่าลุงกำนัน หัวคะมำเมื่อไหร่ คนดีชี้หน้าประณามทันที
เผยแพร่ครั้งแรกใน: ข่าวสดออนไลน์ www.khaosod.co.th/hot-topics/news_1767788 [1]
| ["'ใบตองแห้ง' ออนไลน์", 'การเมือง', 'ใบตองแห้ง'] |
https://prachatai.com/print/79427 | 2018-11-03 11:28 | จี้รัฐบาลจริงใจเร่งแก้ กม.พลังงานนิวเคลียร์ หลังล่าช้า หวั่น รพ.ชุมชนอาจต้องปิดห้องเอกซเรย์ | ทันตแพทยสภา ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ และชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน จี้รัฐบาลแสดงความจริงใจเร่งแก้ไขกฎหมายพลังงานนิวเคลียร์ด่วน หลังล่าช้ากว่า 5 เดือน หวั่นไม่ทันการพิจารณาของ สนช. ระบุหากไม่รีบแก้จะกระทบการรักษาผู้ป่วย โรงพยาบาลชุมชนอาจต้องปิดให้บริการเอกซเรย์
3 พ.ย. 2561 ทพ.ไพศาล กังวลกิจ นายกทันตแพทยสภา กล่าวว่า ภายหลังจากที่ภาคีวิชาชีพด้านการแพทย์ทั้งแพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม สภาเทคนิคการแพทย์ สภากายภาพบำบัด และสัตวแพทยสภา รวมทั้งชมรมโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข ชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน และเครือข่ายทันตแพทย์ได้ออกมาคัดค้านกฎหมายพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติที่กระทบการใช้เครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยทางการแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง และเรียกร้องให้มีการแก้ไข
นายกทันตแพทยสภา กล่าวต่อว่า ต่อมาเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2561 นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัตแห่งชาติ (สนช.) ได้ร่วมกับ สนช.อีก 41 ท่านเสนอร่างแก้ไขกฎหมายพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติต่อ สนช. ซึ่งที่ประชุม สนช.ได้รับร่างนี้ไว้พิจารณา และได้ส่งให้รัฐบาลพิจารณา ทำให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องแก้ไขกฎหมายฉบับนี้และได้เสนอต่อที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 ที่ประชุม ครม.ได้มีมติอนุมัติหลักการในร่างแก้ไขตามที่เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องเร่งด่วน โดยให้นำร่างของ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์กับคณะไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วเสนอส่งให้คณะกรรมการประสานงาน สนช.พิจารณาก่อนส่ง สนช.
“แต่จนบัดนี้เป็นระยะเวลากว่า 5 เดือนแล้วร่างแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ ก็ยังไม่ได้ข้อยุติว่าจะส่งให้ สนช.พิจารณาเมื่อใด ทันตแพทยสภาเคยสอบถามถึงความคืบหน้ามาแล้วก็ยังไม่ได้คำตอบ ขณะนี้เวลาก็ล่วงเลยมามากแล้วจึงไม่แน่ใจว่ารัฐบาลมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหานี้หรือไม่ หากกฎหมายฉบับนี้ไม่ทันการพิจารณาของ สนช.ชุดนี้ ต้องรอเข้าพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรในรัฐบาลหน้า ก็จะเกิดปัญหาในการปฏิบัติงานอย่างแน่นอน ทำให้โรงพยาบาลชุมชนโรงพยาบาลทั่วไปและคลินิกทันตกรรมอาจต้องปิดให้บริการเอกซเรย์ ซึ่งจะส่งผลกระทบประชาชนในวงกว้างอย่างแน่นอนและผู้ปฏิบัติงานเหล่านี้จะออกมาเคลื่อนไหวให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาลเอง”
ทพ.ไพศาล กล่าวว่า ด้วยเหตุนี้ทันแพทยสภาและภาคีเครือข่ายทางด้านการแพทย์จึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ปัญหานี้ยุติโดยเร็ว ทางเครือข่ายวิชาชีพด้านการแพทย์จะรอคำตอบจากรัฐบาลหากยังไม่มีความชัดเจนก็จะออกมาเคลื่อนไหวอย่างแน่นอน
ด้าน นพ.สรลักษณ์ มิ่งไทยสงค์ ประธานชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กฎหมายพลังงานนิวเคลียร์กระทบกับการใช้เครื่องเอกซเรย์ในโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ หากไม่มีการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้โรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศอาจต้องหยุดให้บริการการใช้เครื่องเอกซเรย์ซึ่งจะทำให้ประชาชนเดือดร้อนอย่างแน่นอน จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขกฎหมายฉบับนี้โดยเร็ว และต้องรีบแก้ให้เสร็จในรัฐบาลชุดนี้ เนื่องจากปัญหาได้ยืดเยื้อมาเป็นเวลานานแล้ว ยิ่งปล่อยให้ยืดเยื้อไปจะยิ่งเกิดความเสียหายต่อประชาชน
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สังคม', 'คุณภาพชีวิต', 'นิวเคลียร์', 'สุขภาพ', 'เอกซเรย์', 'ห้องเอกซเรย์', 'โรงพยาบาลชุมชน'] |
https://prachatai.com/print/79429 | 2018-11-03 12:50 | สนช.เห็นชอบให้ประกาศใช้ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา | สนช.เห็นชอบให้ประกาศใช้ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 162 เสียง ให้สืบพยาน-ตัดสินคดีลับหลังจำเลยหนีศาลได้
เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2561 ที่ผ่านมา ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ก่อนมีมติเห็นชอบให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายด้วยเสียง 167 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง โดยไม่มีผู้ไม่เห็นด้วย จากจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 172 คน
สำหรับร่างกฎหมายดังกล่าวมีจำนวน 9 มาตรา มีความสำคัญเป็นการแก้ไขกฎหมายเดิมเกี่ยวกับการไต่สวนมูลฟ้องที่ยังไม่เอื้อต่อการคุ้มครองสิทธิของจำเลย เนื่องจากจำเลยที่อาจไม่มีทนายและไม่สามารถแถลงให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ศาลควรสั่งว่าคดีไม่มีมูล รวมถึงในชั้นพิจารณาคดี หากจำเลยไม่มาศาล ศาลไม่สามารถสืบพยานต่อไปได้ หรือจนกว่าจำเลยจะมา ทำให้คดีล่าช้า ส่งผลกระทบต่อหลักการอำนวยความยุติธรรมที่รวดเร็วและเป็นธรรม จึงมีการเพิ่มข้อกำหนดต่างๆ เพิ่มเติม อาทิ กรณีที่ศาลมีอำนาจพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลยได้ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ดำเนินกระบวนการพิจารณากรณีจำเลยหลบหนีหรือไม่มารับฟังโดยไม่มีเหตุอันควร และครอบคลุมไปถึงกรณีจำเลยที่เป็นนิติบุคคลที่ถูกออกหมายจับแต่ยังจับตัวไม่ได้ รวมทั้งกำหนดเรื่องการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการส่งสำเนาฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยด้วยจำนวนไม่สูงเกินสมควร
ทั้งนี้ร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมประมลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
อ่านเพิ่มเติม: ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (หลักเกณฑ์การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลย และค่าธรรมเนียม) [1]
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สังคม', 'คุณภาพชีวิต', 'ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา', 'สนช.', 'กระบวนการยุติธรรม'] |
https://prachatai.com/print/79428 | 2018-11-03 11:58 | ผลตรวจสอบส่งมอบงานโครงการเน็ตชายขอบ พบ 3 สัญญาเข้าพื้นที่ติดตั้งไม่ได้ | สำนักงาน กสทช. ตรวจสอบผลการส่งมอบงานโครงการเน็ตชายขอบทั้งหมด ในวันครบกำหนดส่งมอบงานติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมด (วันที่ 28 ก.ย. 2561) พบ 7 จาก 10 สัญญาส่งมอบงานครบถ้วน 100% ส่วนอีก 3 สัญญา พบอุปสรรคไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ติดตั้งได้
3 พ.ย. 2561 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการตรวจรับการจ้างโครงการเน็ตชายขอบของสำนักงาน กสทช. (USO NET) ทั้งในส่วนของสัญญาการจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet Service) 5 สัญญา และสัญญาการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Service) 5 สัญญา ได้รวบรวมตรวจสอบผลการส่งมอบงานของบริษัทคู่สัญญาที่ได้ดำเนินการส่งมอบงานแล้วทั้ง 10 สัญญา ในวันครบกำหนดส่งมอบงานติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมด พบ 7 จาก 10 สัญญาส่งมอบงานครบถ้วน 100% ทั้งนี้ ไม่นับรวมพื้นที่ที่มีข้อจำกัดได้รับผลกระทบจากปัจจัย ภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาทิ ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม มีพายุ ถนนขาด เกิดความไม่สงบในพื้นที่ พื้นที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตป่าสงวน เขตอนุรักษ์ ฯลฯ ทำให้บริษัทผู้รับจ้างไม่สามารถเข้าพื้นที่ไปติดตั้งอุปกรณ์ได้
สำหรับโครงการเน็ตชายขอบของสำนักงาน กสทช. แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet Service) และส่วนที่ 2 การจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Service)
นายฐากร กล่าวว่าโครงการส่วนที่ 1 การจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet Service) แบ่งเป็น 5 สัญญาตามพื้นที่ที่จะให้บริการ ได้แก่
1. สัญญาเลขที่ 0001/2560 กลุ่มที่ 1 พื้นที่ภาคเหนือ 1 ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน มีบริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นคู่สัญญา ผู้ให้บริการ ได้ส่งมอบงานติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดครบถ้วน ผลงานคิดเป็น 100%
2. สัญญาเลขที่ 0002/2560 กลุ่มที่ 2 พื้นที่ภาคเหนือ 2 ได้แก่ กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี มีบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นคู่สัญญา ผู้ให้บริการ ได้ส่งมอบติดตั้งอุปกรณ์เสร็จสิ้น ผลงานคิดเป็น 12%
3. สัญญาเลขที่ 0003/2560 กลุ่มที่ 3 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุดรธานี และอุบลราชธานี มีบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นคู่สัญญา ผู้ให้บริการ ได้ส่งมอบติดตั้งอุปกรณ์เสร็จสิ้น ผลงานคิดเป็น 9%
4. สัญญาเลขที่ 0004/2560 กลุ่มที่ 4 พื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุดรธานี และอุบลราชธานี มีบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) เป็นคู่สัญญา ผู้ให้บริการ ได้ส่งมอบงานติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดครบถ้วน ผลงานคิดเป็น 100%
5. สัญญาเลขที่ 0005/2560 กลุ่มที่ 5 พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวม 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา (ในพื้นที่อำเภอจะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย) บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) เป็นคู่สัญญา ผู้ให้บริการ ได้ส่งมอบงานติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดครบถ้วน ผลงานคิดเป็น 100%
เลขาธิการ กสทช. ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า สำหรับ โครงการส่วนที่ 2 การจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Service) แบ่งเป็นอีก 5 สัญญาตามพื้นที่ที่จะให้บริการ ได้แก่
1. สัญญาเลขที่ 0006/2560 กลุ่มที่ 1 พื้นที่ภาคเหนือ 1 ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน มีบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นคู่สัญญา ผู้ให้บริการ ไม่ได้มีการส่งมอบงานในสัญญานี้
2. สัญญาเลขที่ 0007/2560 กลุ่มที่ 2 พื้นที่ภาคเหนือ 2 ได้แก่ กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี มีบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เป็นคู่สัญญา ผู้ให้บริการ ได้ส่งมอบงานติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดครบถ้วน ผลงานคิดเป็น 100%
3. สัญญาเลขที่ 0008/2560 กลุ่มที่ 3 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุดรธานี และอุบลราชธานี มีบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เป็นคู่สัญญา ผู้ให้บริการ ได้ส่งมอบงานติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดครบถ้วน ผลงานคิดเป็น 100%
4. สัญญาเลขที่ 0009/2560 กลุ่มที่ 4 พื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุดรธานี และอุบลราชธานี มีบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้ส่งมอบงานติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดครบถ้วน ผลงานคิดเป็น 100%
5. สัญญาเลขที่ 0010/2560 กลุ่มที่ 5 พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวม 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา (ในพื้นที่อำเภอจะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย) มีบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้ส่งมอบงานติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดครบถ้วน ผลงานคิดเป็น 100%
ทั้งนี้ ตัวเลขผลงานคิดเปอร์เซ็นต์ข้างต้นไม่นับรวมรวมพื้นที่ที่มีข้อจำกัดได้รับผลกระทบจากปัจจัย ภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งทำให้ผู้ให้บริการไม่สามารถเข้าพื้นที่ไปติดตั้งอุปกรณ์ได้
เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า คณะกรรมการตรวจรับการจ้างฯ รวบรวมตรวจสอบผลการส่งมอบงานของบริษัทคู่สัญญาที่ได้ดำเนินการส่งมอบงานติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมด พบว่า โครงการฯ ส่วนที่ 1 การจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet Service) ปัญหาอุปสรรคอันดับแรกเกิดจากปัญหาด้านสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ หรือความไม่สงบในพื้นที่ทำให้เข้าไปในพื้นที่เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ไม่ได้ รองลงมาเป็นปัญหาที่ต้องเปลี่ยนจุดติตั้งบริการ หรือต้องเปลี่ยนประเภทบริการให้เหมาะสมกับพื้นที่ และสุดท้ายพื้นที่ติดตั้งจุดบริการต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สำหรับโครงการฯ ส่วนที่ 2 การจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Service) ปัญหาอุปสรรคอันดับแรกเกิดจากพื้นที่ติดตั้งจุดบริการต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รองลงมาคือปัญหาด้านสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ หรือความไม่สงบในพื้นที่ทำให้เข้าไปในพื้นที่เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ไม่ได้ และสุดท้ายเกิดจากปัญหาที่ต้องเปลี่ยนจุดติตั้งบริการ หรือต้องเปลี่ยนประเภทบริการให้เหมาะสมกับพื้นที่ ในส่วนของพื้นที่ที่มีข้อจำกัดได้รับผลกระทบจากปัจจัย ภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาทิ ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม มีพายุ ถนนขาด เกิดความไม่สงบในพื้นที่ พื้นที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตป่าสงวน เขตอนุรักษ์ ฯลฯ ทำให้บริษัทผู้รับจ้างไม่สามารถเข้าพื้นที่ไปติดตั้งอุปกรณ์ได้ อย่าง กรณีพื้นที่ประสบอุทกภัยทางขาด เมื่อน้ำลด สามารถเดินทางเข้าไปยังพื้นที่ให้บริการ สำนักงาน กสทช. ก็จะเร่งให้ผู้ให้บริการดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ให้ครบถ้วนเพื่อพร้อมสำหรับเปิดให้บริการแก่ประชาชน
จากนั้นเมื่อสำนักงาน กสทช. ตรวจรับมอบงานติดตั้งอุปกรณ์ครบถ้วน ก็จะให้ผู้บริการเปิดให้บริการจุดกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รวมถึงจุดกระจายสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ และบริการอื่นที่เกี่ยวของ อาทิ บริการ WiFi ฟรีในโรงเรียน โรงพยายาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ (ศูนย์บริการ USO NET) ในพื้นที่เป้าหมายของโครงการ โดยจะให้บริการอย่างต่อเนื่องพร้อมการบำรุงรักษา ฟรี 5 ปี
“เมื่อโครงการเน็ตชายขอบ เปิดให้บริการ ประชาชนประมาณ 607,966 ครัวเรือน ที่มีจำนวนประชากรอยู่ประมาณ 1,823,898 คน สามารถใช้บริการดังกล่าวได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยจะมีบริการแพ็คเกจอินเทอร์เน็ตความเร็ว 30/10 Mbps ให้บริการในราคาไม่เกิน 200 บาทต่อเดือน และเมื่อเปิดบริการแล้วสำนักงาน กสทช. จะมีการสำรวจประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ดำเนินโครงการที่มีรายได้น้อยตามคำนิยามของกระทรวงการคลัง ซึ่งสำนักงาน กสทช. กำลังดำเนินการประสานเพื่อขอฐานข้อมูลดังกล่าวจากสำนักเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เพื่อให้ประชาชนในกลุ่มนี้สามารถเข้ามาใช้บริการโดย กสทช. จะเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายตามมติ กสทช. กสทช. เป็นระยะเวลา 3 ปี (36 เดือน) ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 4,683.73 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยใช้จ่ายจากวงเงินเหลือจ่ายภายใต้แผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (พ.ศ. 2555-2559) อันจะทำให้ประชาชนกลุ่มนี้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง สามารถนำไปใช้ในการต่อยอดการประกอบอาชีพ การดำเนินธุรกิจ รวมทั้งยังเป็นการลดความเลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมระหว่างคนเมืองกับคนในพื้นที่ชายขอบ อีกทั้งยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน เช่น การรักษาแพทย์ทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การสร้างองค์ความรู้ในด้านต่างๆ รวมถึงเกิดการสร้างงาน สร้างสรรค์ธุรกิจ-บริการใหม่ๆ เกิด START UP ซึ่งการดำเนินงานโครงการเน็ตชายขอบของสำนักงาน กสทช. เป็นโครงการที่สนับสนุนการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของของประเทศไทยให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านในประเทศไทยตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน” นายฐากร กล่าว
| ['ข่าว', 'สังคม', 'คุณภาพชีวิต', 'ไอซีที', 'USO NET', 'อินเตอร์เน็ต', 'กสทช.'] |
https://prachatai.com/print/79430 | 2018-11-03 13:50 | ลมหายใจที่ไม่แพ้: ทศวรรษแห่งการต่อสู้ของพี่จ๋า กองหน้าเสื้อแดง |
พี่จ๋าเป็นหนึ่งในคนเสื้อแดงที่ผู้เขียนพบเจอและขอสัมภาษณ์ในระหว่างที่กำลังทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ผู้เขียนเริ่มพบปะ พูดคุย ขอสัมภาษณ์ผู้ชุมนุมที่เรียกตัวเองว่าคนเสื้อแดงมาตั้งแต่ปี 2557 แต่กว่าผู้เขียนจะเจอพี่จ๋าก็ต้องรอจนปี 2558 ทั้งนี้ก็เพราะพี่จ๋าถูกจองจำอิสรภาพเพราะโดนข้อหาทำร้ายเจ้าหน้าที่ทหาร อย่างไรก็ตาม ในหมู่คนเสื้อแดงที่ผู้เขียนได้รู้จัก พี่จ๋าถือได้ว่าเป็น “คนดัง” คนหนึ่ง จากคำบอกเล่าของหลายๆ คน พี่จ๋าคือนักสู้ตั้งแต่ยุคต้านรัฐประหารแรกๆ เป็น “ขาลุย” อีกทั้งยังมีคำชมว่าแกชอบทำขนมมาแจกคนในที่ชุมนุมอีกด้วย
พี่จ๋าเสียชีวิตเพียงลำพังในห้องเช่าในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561
พี่จ๋าเป็นผู้หญิงใส่แว่น ผมซอยสั้น แกชอบใส่เสื้อยืดหลวมๆ พร้อมกางเกงขาสั้น หลังจากที่พี่จ๋าถูกปล่อยตัวออกมา ผู้เขียนพบปะพี่จ๋าเป็นครั้งคราวในที่ชุมนุม ในที่รวมตัวของคนเสื้อแดง แถมยังเห็นแกไปร่วมร้องเพลงกับน้องๆ นักศึกษา ในเดือนมีนาคม 2558 ประมาณหนึ่งเดือนหลังจากที่พี่จ๋าได้รับอิสรภาพ ผู้เขียนจึงตัดสินใจขอสัมภาษณ์เพื่อให้พี่จ๋าเล่าเรื่องราวการต่อสู้ของตัวเอง อนึ่งเรื่องราวด้านล่างนี้มาจากความทรงจำ การรับรู้ การตีความของพี่จ๋า ในบางครั้งก็ผสมกับการตีความของผู้เขียน ดังนั้นมันอาจจะไม่ได้สอดคล้องกับความเป็นจริง หรือการรับรู้ของคนอื่นๆ หากกระทบกับกลุ่มหรือบุคคลใด ผู้เขียนขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
จาก “จ๋า จตุจักร” สู่ “จ๋า คนวันเสาร์” : หอบหมาไปหน้าบ้านสี่เสาฯ
พี่จ๋าหันมาสนใจการเมืองเมื่อปี 2548-49 ก่อนหน้านั้นพี่จ๋าตอบอย่างมั่นใจว่าตัวเองไม่เคยสนใจการเมืองเลย ส่วนอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร พี่จ๋าบอกสั้นๆ เพียงว่า ตอนนั้นก็คิดว่าเขาบริหารประเทศดี มาช่วยปลดหนี้IMF พี่จ๋าเล่าต่อไปว่าตนเองไม่พอใจกับการชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เหตุผลก็เพราะสื่อทุกสื่อรายงานแต่ข่าวพันธมิตรฯ ทำให้พี่จ๋ารู้สึกว่าเธอโดยเบียดเบียนสิทธิในการบริโภคข้อมูล:
“มันจะมีช่องเล็กๆ ในทีวี (ถ่ายทอดสดการชุมนุมพันธมิตร) ที่เราดูละคร ถามว่า มึงต้องมาเบียดเบียนกูทำไม ในเมื่อกูจะดูละคร มันจะเบียดไปเกือบครึ่งช่อง ตอนนั้นที่มันมีถ่ายทอดพันธมิตร เกือบทุกช่อง สาม ห้า เจ็ด เก้า”
เอาเข้าจริงๆ ผู้เขียนไม่คิดว่าพี่จ๋าเป็นคนไม่สนใจการเมืองอย่างที่แกออกตัว เพราะไม่มีคนไม่สนใจการเมืองคนไหนที่จะออกจากบ้านไปร่วมขบวนคาราวานคนจน (กลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวสนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ) ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2549 ช่วงเวลานี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ทางการเมืองของผู้หญิงธรรมดาๆ อย่างพี่จ๋า โดยเริ่มจากการไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนสนับสนุนรัฐบาลที่สวนจตุจักร พี่จ๋าเล่าว่าตัวเองไปบ่อยจนได้ฉายาว่า “จ๋า จตุจักร”
ก่อนหน้านี้พี่จ๋าไม่เคยเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองใดมาก่อนเลย พี่จ๋ามีความทรงจำสั้นๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ แต่ก็น่าสนใจว่าหลังจากที่พูดถึงพฤษภาทมิฬแล้ว พี่จ๋าก็เสริมต่อด้วย “คำด่า” ไปยังบรรดา “ชนชั้นกลางมีการศึกษา” อีกด้วย:
“ไม่รู้ว่าเค้าไปทำอะไรกัน [ในเหตุการณ์พฤษภา35] ไม่รู้เรื่องการเมือง ไม่รู้อะไรเลย เราเด็กบ้านนอก พี่ความรู้น้อย เด็กโรงเรียนเทศบาล [พี่จ๋าเป็นคนราชบุรีแต่ย้ายมาอยู่กรุงเทพฯนานหลายสิบปีแล้ว – เพิ่มเติมโดยผู้เขียน] แค่นั้นเอง ถามว่าความรู้น้อยไม่ได้บอกให้เราโง่นิ ความคิดความอ่านเราอาจจะดีกว่าพวกระดับปริญญา เพราะว่า พวกปริญญาบางคน พวกชนชั้นกลาง พวกผู้ดีทั้งหลาย จะมองว่า ตัวเองดีตัวเองเก่ง ตัวเองเด่น แล้วเหยียบหัวชาวบ้าน แล้วมึงรู้มั้ยว่าชาวบ้านที่มึงเหยียบ อีโก้เค้าสูงกว่ามึงอีก ไอเดียเค้าสูงกว่ามึงอีก ไม่ใช่ว่าประเภทไอเดียสูงอีคิวต่ำ เค้ามีทั้งไอคิว อีคิว”
ผู้เขียนเองก็อยากให้พี่จ๋าด่าทอชนชั้นกลางหลายปริญญาต่อ แต่ในขณะเดียวกันก็อยากให้แกกลับไปเล่าเรื่องราวการต่อสู้ของแก ดังนั้นจึงขัดจังหวะและขอให้แกย้อนความทรงจำเกี่ยวกับพันธมิตรฯ พี่จ๋าจึงเล่าต่อ “ไม่พอใจพันธมิตรว่ามีอำนาจบาทใหญ่ในจอทีวี มาเดือนมิถุนา ครองราชย์หกสิบปี อันนี้ มันจะถึงงานอยู่แล้ว แล้วเวทีพันธมิตรตรงนั้นมันเป็นทางผ่าน”
ในช่วงนั้น กกต.ถูกโจมตีอย่างหนัก พี่จ๋าก็เป็นหนึ่งในพรรคพวกที่ไปให้กำลังใจและปกป้อง กกต. โดยเฉพาะคุณวาสนา เพิ่มลาภ จะเห็นได้ว่าพี่จ๋าเริ่มที่จะเป็น “ขาลุย” ตั้งแต่สมัยก่อนรัฐประหารเสียด้วยซ้ำ โดยพี่จ๋าเน้นย้ำว่า ตัวเองชอบทำอะไรคนเดียว และไม่อายที่จะบอกว่าตัวเองไม่ใช่สันติอหิงสา “พี่ตีพันธมิตรประจำ เราไม่ใช่อันธพาล แต่เราก็ไม่ให้ใครมารังแกเรา ไม่ใช่มึงตีกูได้ฝ่ายเดียวนะ มึงตีกูกูก็ตีมึง” นี่คือจุดยืนของพี่จ๋า
“สู้ไปสู้มา ทำไมมันถึงหลุดเข้าไปในวงอำมาตย์ ไม่ใช่ละ พี่นึกว่าเป็นแค่อีสุกอีไส ไม่ใช่เอดส์ นี่แม่งเรื้อรังมันกลายเป็นเอดส์ เอดส์อำมาตย์” นี่คืออุปมาอุปไมยที่พี่จ๋าใช้เพื่อบรรยายอาการป่วยทางการเมืองไทยที่ผู้เขียนคิดว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
แน่นอนว่าหลังวันที่ 19 กันยายน 2549 พี่จ๋าไม่อยู่บ้านดูละครเฉยๆ อย่างแน่นอน “พี่ก็เริ่มออกสนามหลวง ไปรวมกับคนวันเสาร์ [ไม่เอาเผด็จการ]” เป็นที่เข้าใจกันในหมู่คนเสื้อแดง (อย่างน้อยก็คนเสื้อแดงกรุงเทพฯ) ว่าถ้าเริ่มสู้มาตั้งแต่ “รุ่นสนามหลวง” และ “เป็นคนวันเสาร์” นั่นหมายความว่าเป็นรุ่นบุกเบิก สู้มานาน พี่จ๋าเองก็เป็นหนึ่งในนั้น แกเล่าบรรยากาศต้านรัฐประหารที่สนามหลวงว่า:
“แต่ละคน เอาโทรโข่งเอาเก้าอี้ไป ตอนหลังมีเอาเครื่องปั่นไฟไป แต่มันยังอยู่ในเคอฟิวอยู่ พี่ออกเกือบทุกวัน .... ไปดูทหารมัน เอาดอกไม้จันไปให้รถถัง ไม่ใช่กิจกรรมกลุ่มนะ เป็นกิจกรรมตัวเอง เพราะมันมีเอาดอกกุหลาบอะไรไปให้ พี่ออกไปป่วน ไปด่าทหาร ไม่พอใจ”
ด้วยน้ำเสียงภูมิใจ พี่จ๋าบอกว่าฉายาตัวเองเปลี่ยนจาก “จ๋าจตุจักร” กลายมาเป็น “จ๋าคนวันเสาร์” ที่สำคัญ พี่จ๋ายังจำวีรกรรมของตัวเองในงานศพคุณลุงนวมทอง ไพรวัลย์อย่างแม่นยำ พี่จ๋าเล่าอย่างละเอียดว่า ตนจะไปชิงศพลุงนวมทองเพื่อจะนำมาตั้งที่สนามหลวง ด้วยเหตุนี้ แกจึงไปกระทบกระทั่งกับคนในครอบครัวลุงนวมทอง หลังจากนั้น ในงานศพลุงนวมทอง พี่จ๋าเล่าว่า เมื่อตนทราบว่า พันเอก อัคร ทิพโรจน์ รองโฆษก คปค.จะมาเคารพศพ ตนจึงไปยืนด่า “ด่า ด่าจนกระทั่งมัน ถอดเชือกรองเท้าได้ข้างเดียว แล้วมันใส่รองเท้าขึ้นไปนั่งบนศาลาเลย ด่าตลอดงาน” แกเล่าต่อ “ยืนด่าจนผู้การภาคหนึ่ง นายตำรวจบอก จ๋าไปกินข้าวกับพี่ พี่บอก ไม่แดก เดี๋ยวเสียนาทีทอง กูปวดเยี่ยวยังไม่ไปเยี่ยวเลย ด่าตั้งแต่เย็นจนสวดศพเลิก ป่วนทั้งงาน” นี่คือความทรงจำของแก
เมื่อถามพี่จ๋าว่าคิดอย่างไรกับคุณลุงนวมทอง พี่จ๋าตอบว่า “โมโห นึกด่าด้วยว่าทำไมแกโง่ไปฆ่าตัวตาย ทำไมไม่ออกมาร่วมกันตรงนี้ จะตายทั้งทีน่าจะมีผลมากกว่านี้ อย่างพี่ถ้าพี่จะต้องตายเนี่ย พี่จะต้องมีตัวแลก ถ้าจะพลีชีพทั้งทีก็เอาให้คุ้ม”
ไม่กี่เดือนหลังรัฐประหาร พี่จ๋าก็ผันตัวมาเป็นผู้ชุมนุมต้านรัฐประหารขาประจำ พี่จ๋าบอกว่าตนเองไม่ใช่นักปราศรัย ไม่เคยขึ้นเวทีไปพูดปลุกระดม ถ้าจะให้นิยามก็คงเป็น “มวลชน” แต่พอผู้เขียนเสริมว่าเป็น “มวลชนแนวหน้า” พี่จ๋าก็ไม่เถียง ดูเหมือนว่าบทบาทของพี่จ๋าในขบวนคือ อยู่แถวหน้าแนวปะทะกับเจ้าหน้าที่รัฐ คอยรับกระบองเป็นกลุ่มแรกๆ โดยพี่จ๋ามองว่าตนมีหน้าที่ปกป้องพี่น้องที่อยู่ด้านหลัง
แม้จะมีบุคลิก บู๊ ห้าว และลุย แต่พี่จ๋าเป็นคนรักหมามาก ก่อนวิกฤตการเมือง พี่จ๋าเลี้ยงหมาหลายตัว แน่นอนว่าหลังจากผันตัวมาเป็นผู้ชุมนุมทางการเมือง พี่จ๋ามักพาเพื่อนตัวน้อยไปร่วมกิจกรรมการเมืองด้วย พี่จ๋าเล่าเหตุการณ์บุกบ้านสี่เสาเทเวศน์ (22 กรกฎาคม 2550) ไว้ว่า:
“แก๊สน้ำตา ........ โหว ครั้งแรกในชีวิต ปวดแสบปวดร้อน ทรมานชิบหาย เอาหมาไปด้วย เอาหมากลับบ้านไปล้าง (เอาหมาไปนี่นะ - ผู้เขียน) ใช่ สามตัว เอาหมาไปเก็บบ้าน แล้วออกมาลุยแม่ง”
พอย่างเข้าปี 2551 การเมืองบนท้องถนนร้อนระอุ พี่จ๋าก็เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดงทุกวัน แกบอกว่าเป็น “ยาอายุวัฒนะ” “วันไหนไม่ออกนอนไม่ได้กินไม่ได้” เราถามพี่จ๋าว่ารู้สึกอย่างไรเวลาออกไปชุมนุม พี่จ๋าตอบว่า: “มันอบอุ่นน่ะ มันไปเจอพี่น้อง ไปเจอมวลชนที่ออกมาแลกเปลี่ยนความคิดความอ่าน อยู่บ้านด่าให้หมูให้หมาฟัง”
เมษา 52 ถึง พฤษภา 53: “มึงฆ่าประชาชน.....นี่เป็นอะไรที่กูลืมมึงไม่ลง”
“คิดอย่างไรเมื่ออภิสิทธิ์ขึ้นมาเป็นนายกฯ?”
“เหี้ยสุดๆ ” พี่จ๋าตอบทันที
“แล้วท้อไหมคะ ตอนนั้น”
“ไม่ท้อ กูต้องลุย……”
พี่จ๋าเชื่อว่ามีคนจากฝั่งเสื้อแดงถูกฆ่าตายในเหตุการณ์เดือนเมษาปี 52 แต่ศพถูกนำไปซ่อน นี่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์เมษา 52 ที่ผู้เขียนเคยได้ยินมาจากคนเสื้อแดงคนอื่นๆ ด้วย พอล่วงเข้าปี 53 พี่จ๋าก็ทำหน้าที่เป็น “มวลชนแนวหน้า” ตามที่ตนถนัด “ไปตรวจตราตรงผ่านฟ้า เพราะตรงนั้นมันเป็นแหล่งพันธมิตร” พอผู้เขียนถามว่า “ไปเป็นการ์ดหรือ?” พี่จ๋าก็ยังยืนกรานว่า “ไม่ได้เป็น” แต่ “ไปร่วมกับการ์ดเอง ไม่ได้ขึ้นกับใคร”
“สิบ เมษา ห้าสาม มึงฆ่าประชาชน.....นี่เป็นอะไรที่กูลืมมึงไม่ลง”
เมื่อความรุนแรงบานปลายมากขึ้น ในที่สุด พี่จ๋าก็ถูกจับวันที่ 3 พฤษภาคม 53 และโดนข้อหายิง ฮ. ผู้เขียนไม่ได้ถามรายละเอียดเกี่ยวกับคดียิง ฮ.นี้ในระหว่างการสัมภาษณ์ ด้านล่างนี้คือความเห็นโดยรวมของพี่จ๋าที่มีต่อแนวทางการต่อสู้ของตัวเองแบบ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน
“แล้วมึงมาตีกูทำไมอะ เอ้อ มึงมาทำพวกกูทำไม ไม่ใช่พระอิฐพระปูนนะโว้ย กูก็เจ็บเป็น ตายเป็นนะมึง”
จะเห็นได้ว่าพี่จ๋ามองว่า ตนโดนกระทำก่อน และไม่เห็นด้วยที่จะยอมถูกกระทำโดยไม่ตอบโต้ “ไม่มีใครหรอกจะยอมให้ตบหัวเล่นๆ ข้างเดียว .....มึงก็สองมือสองตีน กูก็สองมือสองตีน อยู่ที่ว่ากูจะตัวใหญ่หรือมึงตัวใหญ่ มึงก็มีเลือดมีเนื้อ กูก็มีเลือดมีเนื้อ”
แน่นอนว่านี่ไม่ใช่แนวทางที่ทุกคนเห็นด้วย พี่จ๋าเองก็ทราบดี พร้อมอธิบายต่อไปว่า “ไม่มีใครมาสั่งพี่ได้ กูจะเดิน ไปไหน ใครไม่ต้องมายุ่ง พี่เป็นคนที่ห้ามไม่ได้ สั่งไม่ได้ และพี่เชื่อว่าเค้าไม่กล้ามาสั่งพี่ด้วย เพราะ เค้าก็รู้ว่าพี่อีโก้แรง”
หลังสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง 53 พี่จ๋าบอกว่า พวกเรา “เริ่มรู้ว่าใครคือตัวตน ใครคือตัวบงการที่แท้จริง” พร้อมกับเสริมว่า “อย่าลืมนะตอนนี้โลกโซเซียลมันไวทั้งนั้นเลย มันไม่เหมือนเมื่อยี่สิบปีที่แล้วที่กูไม่รู้ว่า มึงทำอะไร”
ออกจากคุกปี 54
หลังได้รับอิสรภาพในปี54 ช่วงนั้นการชุมนุมของคนเสื้อแดงบนท้องถนนไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก ทั้งนี้ก็เพราะพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งและยิ่งลักษณ์ ชินวัตรขึ้นมารับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลานั้นถือได้ว่า มีการจัดงานเสวนาวิชาการตามมหาวิทยาลัยอบู่บ่อยครั้ง ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นคนเสื้อแดง พี่จ๋าเองก็เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาวิชาการตามมหาวิทยาลัยอยู่บ่อยครั้ง แกบอกว่าแกรู้จักนักวิชาการฝ่ายประชาธิปไตยเกือบหมด “แต่ไม่เคยฟัง” ที่เขาพูดเลย อาจารย์เหล่านี้มักเดินมาหาพี่จ๋าแล้วถามไถ่ด้วยความเป็นห่วงเป็นใย เช่น อาจาย์ “ยิ้ม” อาจารย์วรเจตน์ และ อาจารย์ “เจียมศักดิ์” พี่จ๋าเล่าต่อว่า “อาจารย์เจียมศักดิ์จะห่วงเรื่องหมาพี่มาก” ผู้เขียนรอให้พี่จ๋าพูดจบจึงแก้ว่า “อาจารย์สมศักดิ์” พี่จ๋าตอบว่า “เออ”
พี่จ๋าเล่าว่าตนไม่รู้จักว่าอาจาย์สมศักดิ์หน้าตาเป็นอย่างไร จนกระทั่งอาจารย์มาทักพี่จ๋าก่อน พี่จ๋าเล่าติดตลกว่า ที่งานศพอากง อาจารย์สมศักดิ์เข้ามาถามว่า “เด็กๆ เป็นไงมั่ง ไม่ได้ถามว่าเราเป็นไงนะ ถามว่า เด็กๆ เป็นไงมั่ง (หัวเราะ)” (“เด็กๆ ”ในที่นี้คือสุนัข) พี่จ๋าบอกว่าตัวเองเป็นห่วงอาจารย์สมศักดิ์ แต่ “คิดว่าคงไม่นาน คงกลับเข้ามาได้.......เมื่อถึงวันนั้น”
จากนั้นพี่จ๋าก็ถามไถ่ผู้เขียนว่า หมาอาจารย์สมศักดิ์ตอนนี้ใครดูแล และมีกี่ตัว ผู้เขียนเองก็ตอบไปแบบกึ่งเดาว่า คงอยู่บ้านของอาจารย์ที่ไทย พี่จ๋ารำพึงออกมาว่า “น่าสงสารนะ พี่ก็ยังเอาหมาเข้ามาไม่ได้ แล้วตอนนี้พี่ก็ยังไม่ได้คิดว่า จะอยู่เป็นบ้านหลังหรืออย่างไร” พอพูดมาถึงตรงนี้ ผู้เขียนจึงฉุกคิดได้ว่า ในช่วงเวลาเพียงไม่ถึงสิบปี ชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งต้องเปลี่ยนแปลงไปมากเพียงใด จากคนที่มีสัตว์เลี้ยง ใช้ชีวิตปกติ ดูละครโทรทัศน์อยู่กับบ้าน มาเป็นผู้ชุมนุมที่หิ้วหมาไปอาบแก๊สน้ำตาด้วยกัน จนกระทั่งกลายเป็นผู้ต้องหาคดีทางการเมือง ติดคุก สิ้นเนื้อประดาตัว พลัดพรากกับสัตว์เลี้ยงคู่ใจ
การเมืองปัจจุบัน : “ประชาธิปไตยไม่ได้ใส่กางเกงใน” และ “ความหวังต่อนิสิตนักศึกษา”
ตามประสานักวิจัยทั่วไป ผู้เขียนจำเป็นต้องถามพี่จ๋าว่า ประชาธิปไตยคืออะไร? “ประชาธิปไตยที่ยังไม่ได้ใส่กางเกงใน” คือคำตอบของพี่จ๋า ผู้เขียนต้องให้พี่จ๋าอธิบายขยายความต่อ ได้ความว่ามันคือประชาธิปไตยที่ “เอามาหลอกเค้า” พี่จ๋าบอกว่าตอนนี้เมืองไทยไม่มีประชาธิปไตย “มีแต่เผด็จการ” พร้อมบรรยายต่อว่า:
“เอาทหารมาเดินถือปืน [กลางเมือง] เดินหาโคตรพ่อโคตรแม่มึงหรอ มันใช่สถานที่ที่มึงมาเดินหรอ มึงต้องอยู่ชายแดนกัน ไม่ใช่มาอยู่ในป่าคอนกรีต ฝึกรบ ยิง จับประชาชน เอาไปกระทืบไปฆ่าทิ้ง ส้นตีน ประชาธิปไตยโคตรพ่อโคตรแม่มึง”
“ทหารต้องไม่เข้ามายุ่งการเมือง ต้องไม่รุกราน สส. เพราะ สส.ประชาชนเค้าเลือกมาให้เป็นตัวแทนเค้า ไม่ใช่ให้มึงมาครองอำนาจบาทใหญ่มารังแก”
หลังจากเป็นคนถูกถามมาสักพัก พี่จ๋าก็ถามผู้เขียนบ้างว่า ที่ผ่านมาไปร่วมชุมนุมอะไรกับเขาบ้างหรือไม่ ผู้เขียนไม่ได้มีประวัติการต่อสู้โชกโชนแบบพี่จ๋า จึงตอบกึ่งละอายไปว่า ได้ไปร่วมกิจกรรม “กินลาบ” ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมา และล่าสุดวันวาเลนไทน์ก็ได้ไปร่วมกิจกรรม “เลือกตั้งที่ลัก” เมื่อทราบพี่จ๋าจึงฝากให้ผู้เขียนไปบอกเหล่านักกิจกรรมรุ่นใหม่ว่า “เป็นความหวัง”
“เจอเค้าบอกว่า ผู้หญิงยิงฮอ ฝากให้กำลังใจ ฝากให้นักศึกษาออกมา แล้วเราจะยืนเคียงข้างกัน ไม่ต้องกลัวนักศึกษาออกพี่ออกแน่นอน”
อย่างไรก็ตาม พี่จ๋าเสริมภายหลังว่าตนเองอาจจะทำให้น้องๆ เดือดร้อน “ถ้าออกไปร่วม เรามีคดีอะไรงี้ มันทำให้เค้าเดือดร้อนมากขึ้น เพราะพวกเหี้ยนี่ หมาลอบกัด งับแล้วงับอีก”
นอกจากจะไม่ชอบทหารแล้วพี่จ๋ายังต่อว่า “อีพวกผู้ดี ชนชั้นกลางที่เสียผลประโยชน์” ว่าเป็นอุปสรรคขัดขวางประชาธิปไตยอีกด้วย ผู้เขียนจึงขอให้พี่จ๋าขยายความว่าคนกลุ่มนี้คือใคร แล้วพี่จ๋าถือว่าตัวเองเป็นชนชั้นกลางหรือไม่? พี่จ๋าตอบผู้เขียนดังนี้:
“พวกชนชั้นกลาง เค้าจะยกตัวว่าเค้าเป็นผู้ดี แต่พวกเรามันไม่ใช่น่ะ เข้าได้ทุกสถานที่ ติดดิน อย่างไอเหี้ยเสรี วงมณฑาน่ะ กปปส.ทั้งหลาย ม๊อบผู้ดีทั้งหลาย .........อย่างพวกมึง ผู้ดี จุดจบของกูและมึงคือเชิงตะกอนทั้งนั้น ยังไงก็ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน”
“ลมหายใจที่ไม่แพ้” “นักสู้ธุลีดิน”
พี่จ๋าบอกผู้เขียนว่า สโลแกนเสื้อแดงที่ตัวเองชื่นชอบมากที่สุดคือ “ลมหายใจที่ไม่แพ้” ผู้เขียนเชื่อว่า พี่จ๋าไม่คิดว่าตัวเองแพ้แม้กระทั่งลมหายใจสุดท้ายของพี่จ๋า และถ้าหากจะมีเพลงเสื้อแดงไหนที่พี่จ๋าจดจำได้อย่างตรึงใจ พี่จ๋าชอบเพลงของ “พี่จิ้นกรรมาชน” “คนนั้นถ้าเค้าจะแต่งกลอนหรือแต่งเพลง มันจะโดนใจเรา” ไม่ว่าจะเป็นเพลง “เพื่อมวลชน [1]” และ “นักสู้ธุลีดิน [2]” พี่จ๋ารำพึงให้ผู้เขียนฟังว่า “คนเสื้อแดงนี่แม่งนักสู้ธุลีดินจริงๆ ”
สำหรับผู้เขียน พี่จ๋าคือพิราบขาว คือนักสู้นิรนามที่มีไม่สิ้น พี่จ๋าพลีชีวิตในช่วงสิบปีสุดท้ายให้กับสิ่งที่ตัวเองเชื่อ มันเป็นการ “พลีชีพ” ที่ “คุ้ม” แล้ว ผู้เขียนขอชื่นชมและละอายใจยิ่งนักที่ทำได้แค่มอบงานเขียนสั้นๆ นี้เป็นของขวัญส่งพี่จ๋า
เกี่ยวกับผู้เขียน: ดร.กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ เป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม งานศึกษาวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของ กรพินธุ์ ศึกษาเรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง การต่อสู้ในชีวิตประจำวัน ทางสัญลักษณ์และภาษาของคนเสื้อแดง
| ['บทความ', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'สิทธิมนุษยชน', 'คนเสื้อแดง', 'นฤมล วรุณรุ่งโรจน์', 'จ๋า ผู้หญิงยิง ฮ.', 'กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์'] |
https://prachatai.com/print/79431 | 2018-11-03 13:52 | ผบ.ทบ. สั่งห้ามทำร้ายทหารใหม่ ให้ดูแลเหมือนน้องชาย | พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. กล่าวถึงนโยบายการดูแลพลทหารใหม่ที่เข้ารายงานตัว 1-3 พ.ย. 2561 เน้นสร้างทหารต้นแบบ ให้ความสำคัญกับพลทหาร ถือเป็นน้องชายคนเล็กหรือน้องชายคนสุดท้องของหน่วยทหาร การจะดูแลให้หน่วยฝึกทหารใหม่ดีได้ กำลังพลก็ต้องอยู่ดี กินดี 'ไอติม' เสนอปรับระบบเกณฑ์ทหารด้วยความสมัคร เพิ่มรายได้-สวัสดิการ ลดความรุนแรงในการฝึกทหาร พิจารณาภารกิจไม่ใช่แค่พลทหารรับใช้
ภาพประกอบ: แฟ้มภาพเพจ army pr center [1]
3 พ.ย. 2561 เว็บไซต์ข่าวสด [2] รายงานว่าพล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. กล่าวถึงนโยบายการดูแลพลทหารใหม่ที่เข้ารายงานตัวประจำการระหว่างวันที่ 1-3 พ.ย. 2561 ว่าตนมีนโยบายสร้างทหารต้นแบบ จึงให้ความสำคัญกับพลทหาร ซึ่งถือเป็นน้องชายคนเล็กหรือน้องชายคนสุดท้องของหน่วยทหาร การจะดูแลให้หน่วยฝึกทหารใหม่ดีได้ กำลังพลก็ต้องอยู่ดี กินดี
ดังนั้นพลทหาร ไม่ว่าจะเป็นทหารเกณฑ์หรือทหารที่สมัครเข้ามาประจำการ กองทัพต้องดูแลให้ดีที่สุด จึงได้ออกระเบียบใหม่ ดูแลเรื่องอาหาร และความเป็นอยู่ที่ต้องถูกสุขลักษณะ และที่อยู่อาศัยต้องพอเพียง ไม่แออัด
นอกจากนี้ สิ่งที่พยายามเน้นมากคือความเสียสละของผู้บังคับหน่วยฝึก ที่ต้องเสียสละ ดูแลรายละเอียดอื่นๆ บางเรื่องต้องแก้ปัญหาและดำเนินการไปก่อน เพราะหากรองบประมาณประจำปีอาจจะล่าช้า
ผบ.ทบ. กล่าวว่า กองทัพได้จัดกิจกรรมต้อนรับครอบครัวและญาติทหารใหม่ เปิดให้ครอบครัวของทหารใหม่ได้เข้ามาดูหน่วยฝึก โรงนอน ตั้งแต่วันแรกที่รายงานตัว เพื่อแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของกองทัพบกที่จะให้การดูแลสมาชิกใหม่ในทุกด้านอย่างดีที่สุด ที่สำคัญคือเรื่องสิทธิประโยชน์ ครอบครัวของพลทหารต้องรับทราบว่า ลูกหลานจะได้รับอะไร เบี้ยเลี้ยงเท่าไร และหลังฝึกแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
“สิ่งที่พ่อแม่ของทหารใหม่เป็นห่วงมากคือยาเสพติดอยากให้กองทัพช่วยลูกหลานที่อาจเคยติดยา เลิกยาให้ได้ เรื่องนี้เป็นปัญหาสังคม ซึ่งนโยบายของกองทัพ ชัดเจนในเรื่องปราบปรามยาเสพติดที่ต้องเดินหน้าเต็มที่ ผมให้นโยบายไปแล้วว่า ต้องหยุดยาเสพติดตามแนวชายแดนโดยใช้กฎอัยการศึกอย่างเต็มที่ ใครที่ติดยาเข้ามาในกองทัพ เราจะบำบัดและดูแล ไม่ใช่แบบคนป่วย แต่คือคนที่หลงผิด
สิ่งหนึ่งที่จะเห็นชัดหลังปลดประจำการคือทุกคนมีระเบียบวินัยกลับไป การให้พลทหารทำงานต่างๆ นั้น ไม่ใช่การใช้งานกำลังพล แต่เป็นการปลูกจิตสำนึกให้รู้จักหน้าที่ของตนเอง ซึ่งการฝึกทหารยุคต้นแบบ ต้องมีลักษณะท่าทาง สมาร์ท ผึ่งผาย มีระเบียบวินัย เพื่อเป็นตัวอย่างให้หน่วยงานอื่นๆ เมื่อทหารมีวินัย กองทัพเข็งแกร่ง ประเทศชาติก็เข้มแข็ง” พล.อ.อภิรัชต์ กล่าว
'ไอติม' เสนอปรับระบบเกณฑ์ทหารด้วยความสมัคร เพิ่มรายได้-สวัสดิการ ลดความรุนแรงในการฝึกทหาร พิจารณาภารกิจไม่ใช่แค่พลทหารรับใช้
ด้าน ThaiPBS [3] รายงานว่านายพริษฐ์ วัชรสินธุ หรือไอติม หลานชายของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แคนดิเดทหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์กับไทยพีบีเอสออนไลน์หลังปลดประจำการทหาร ว่า โครงการที่จะเดินหน้าจากนี้ คือ การจัดทำนโยบายพรรค หลังจากพยายามหาความรู้ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา ทั้งการฝึกงานกับเอกชนและบริษัทโซเชียลเอ็นเตอร์ไพรซ์ โดยเฉพาะการศึกษาเกี่ยวกับคอร์รัปชัน ที่จะนำมาแก้ไขปัญหาของบ้านเมือง
นอกจากนี้ การเปิดตัวคนรุ่นใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อมีการเลือกตั้งหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคเสร็จ จะเป็นตัวคนรุ่นใหม่อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะต้องมีบทบาทกับพรรคชัดเจน ไม่ใช่แค่การชูภาพเป็นคนอายุน้อยของพรรค โดยจะขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ เช่น ความเท่าเทียมทางเพศ เพศเดียวกันแต่งงานกันได้
ทั้งนี้ เตรียมเสนอให้ปรับระบบเกณฑ์ทหาร เบื้องต้นเสนอให้การคัดเลือกทหารเป็นระบบสมัครใจ โดยมี 2 ปัจจัยที่ต้องพิจารณา ได้แก่ 1.เปิดสมัครทหารอย่างไร ให้กองทัพได้ทหารเพียงพอต่อภารกิจของกองทัพ หรือภารกิจที่กองทัพควรจะทำ และ 2.การรับทหารด้วยความสมัครใจ ไม่ได้มีผลดีเฉพาะประชาชนอย่างเดียว แต่ดีต่อการบริหารกองทัพด้วย อย่างไรก็ตามย่อมมีคนคัดค้าน หรือไม่เห็นด้วย เพราะยังไม่ชัดเจนเรื่องจำนวนทหารที่ควรจะมีหรือรายละเอียดอื่นๆ รวมถึงการนำประเด็นการเมืองและการรัฐประหารมาร่วมวิจารณ์ จึงอยากให้คำนึงถึงความต้องการประชาชน ตอบโจทย์ประชาชน และพูดถึงความเป็นทหารอาชีพมากกว่า
“เริ่มแรกคือการประเมินใหม่ อย่างทหารเกณฑ์ 1 แสนนายต่อปี เหมือนปีที่ผ่านมา มีอะไรที่ไม่จำเป็นต่อความมั่นคงหรือไม่ โจทย์คือทำอย่างไรให้กองทัพจิ๋วแต่แจ๋ว ประเมินเรื่องสายงานมากกว่าพลทหารรับใช้”
ส่วนโจทย์ในการดำเนินการ คือ จะทำอย่างไรให้คนที่อยากเป็นทหาร มีรายได้และสวัสดิการ การรักษาพยาบาล ที่สำคัญคือการประกันได้ชัดเจนว่าไม่มีการหักค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น รวมถึงกำจัดความรุนแรงออกจากการฝึกทหาร โดยเปิดให้คนภายนอกสังเกตการณ์หรือร้องเรียนในประเด็นความรุนแรงได้
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สังคม', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'พลทหาร', 'ทหารเกณฑ์', 'กองทัพบก', 'อภิรัชต์ คงสมพงษ์', 'พริษฐ์ วัชรสินธุ'] |
https://prachatai.com/print/79433 | 2018-11-03 15:43 | โวย สธ.-สปสช.เมิน 'คืนสิทธิบัตรทองแม่' ตามมติ ครม.คืนสิทธิสาธารณสุขผู้มีปัญหาสถานะ | โวย สธ.-สปสช.เมิน 'คืนสิทธิบัตรทองแม่' ตามมติ ครม.ปี 2558 ไม่ตรวจสอบหลักฐานต่างด้าวย้อนหลัง โบ้ยซื้อประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ทั้งที่อาศัยอยู่ประเทศไทยกว่า 70 ปี แถมมีบัตรขึ้นต้นเลข 3 เข้าตามเกณฑ์ให้สิทธิพื้นฐานสาธารณสุขกับผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ ทำแม่ไร้สิทธิรักษาพยาบาล รอลุ้น 'กรมการปกครอง' ออกเอกสารรับรองสถานะขอคืนสิทธิ หากไม่เป็นผลเตรียมร้องศาลปกครองต่อ เพราะเป็นสิทธิประชาชนพึงได้รับ
3 พ.ย. 2561 จากมติ ครม.ครั้งที่ 5/2558 เมื่อวันที่ 16 เม.ย. 2558 ได้เห็นชอบหลักการคืนสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิเพิ่มเติม โดยเป็นบุคคลมีเลขประจำตัว 13 หลัก ที่มีชื่ออยู่ในระบบทะเบียนราษฎรของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (มท.) จำนวน 208,631 คน ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอนั้น
นางสาวพรทิพย์ หวังหิรัญโชติ อายุ 45 ปี เปิดเผยว่า ตามมติ ครม.ดังกล่าว มารดาของตน นางบ๊วยตา แซ่บ่าง ปัจจุบันอายุ 85 ปี ต้องอยู่ในกลุ่มบุคคลที่ต้องได้รับการคืนสิทธิพื้นฐานด้านบริการสาธารณสุข ในสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) แต่ที่ผ่านมากลับไม่ได้รับการคืนสิทธิดังกล่าว แม้ว่าจะมีการทำเรื่องเพื่อขอคืนสิทธิไปก่อนหน้านี้
ทั้งนี้แต่เดิมแม่เคยได้รับสิทธิบัตรทองและเข้ารับบริการที่ รพ.ไทรน้อย หน่วยบริการประจำ โดยปกติแม่จะเป็นคนสุขภาพดี ไม่ค่อยเจ็บป่วย แต่ในช่วงปี 2557 ซึ่งดวงตาข้างที่ 2 เริ่มมีอาการตาต้อกระจกจึงเข้ารับการรักษา แต่ปรากฏว่าได้รับแจ้งจาก รพ.ว่า แม่ไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ เพราะเป็นบุคคลมีปัญหาทางสถานะและสิทธิ ต่อมาจึงได้โทรไปยังสายด่วน สปสช. 1330 ได้บอกให้ไปติดต่อที่กลุ่มงานประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข โดยได้รับคำอธิบายว่า แม่มีสถานะเป็นคนต่างด้าวทำให้เป็นบุคคลไร้สิทธิ จึงไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ พร้อมแนะนำให้ซื้อประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวแทน
นางสาวพรทิพย์ กล่าวว่าขณะนั้นแม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เพื่อตัดปัญหาและเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า จึงยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อประกันสุขภาพแรงงานต่างแทน เพราะทาง รพ.เองได้แนะนำให้ทำการซื้อประกันแรงงานต่างด้าวเช่นกัน เพราะหากเราต้องจ่ายค่ารักษาเองทั้งหมดคงไม่ไหว แม้ว่าการยื่นขอทำประกันแรงงานต่างด้าวจะทำให้แม่ที่อายุ 80 ปีกว่าแล้ว ต้องตกอยู่ในฐานะลูกจ้าง และตนซึ่งเป็นลูกต้องเซ็นรับรองในฐานะนายจ้างก็ตาม ตอนนั้นเราได้จ่ายเป็นเงินค่าประกันจำนวน 2,700 บาท ค่าตรวจร่างกาย 500 บาท และยังมีค่าดำเนินการอีก 2,200 บาท ในการรักษาได้เข้ารับบริการที่ รพ.พระนั่งเกล้า และ รพ.ได้แจ้งว่าผู้ป่วยต้องมีการจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกประมาณ 20,000 บาท โดยทางครอบครัวได้จ่ายเงินซื้อประกันกับกองทุนไปแล้วประมาณ 2,700 บาท
สำหรับประกันแรงงานต่างด้าวจะให้สิทธิครอบคลุมเพียง 1 ปี หลังจากที่ได้ซื้อประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวให้แม่ต่อเนื่อง 2 ปี ได้รับแจ้งจากกลุ่มงานประกันของ รพ.ไทรน้อย ว่าจะทำการแจ้งชื่อคุณแม่ซึ่งเป็นบุคคลที่เข้าตามหลักเกณฑ์ตามมติ ครม.ข้างต้น ให้ได้รับสิทธิบัตรทองเช่นเดิมตามนโยบายของรัฐบาล และจะติดต่อกลับมา
“จากวันนั้นถึงวันนี้ไม่มีการติดต่อใดๆ กลับมาเลย และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาแม่เกิดอาการขาบวมตั้งแต่ต้นขาลงไปถึงน่อง จึงได้ลองเข้าไปตรวจสอบสิทธิที่เว็บไซต์สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปรากฏว่าแม่ยังคงเป็นบุคคลผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ ทำให้ไม่มีสิทธิบัตรทองเช่นเดิม จึงได้โทรสอบถามไปยัง สปสช. ซึ่งแนะนำให้ไปติดต่อกลุ่มงานประกัน กระทรวงสาธารณสุขเช่นเดิม และจากที่ได้โทรศัพท์ไปยังกลุ่มงานประกัน ได้ส่งต่อให้คุยกับฝ่ายซื้อประกันแรงงานต่างด้าวเลย บอกแต่เพียงว่าไม่ใช่คนไทย ยังเป็นบุคคลผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ ไม่มีสิทธิบัตรทอง”
นางสาวพรทิพย์ กล่าวว่าจากวันนั้นจึงได้ทำการค้นหาข้อมูล โดยดูมติ ครม.ย้อนหลัง และเอกสารแนวทางการดำเนินงานการให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2559 พบว่าข้อความเงื่อนไขที่ระบุว่า หากเป็นบุคคลที่มีบัตรขึ้นต้นด้วยเลข 3 และ 4 สามารถขึ้นทะเบียนสิทธิได้ โดยแม่มีบัตรที่ขึ้นต้นด้วยเลข 3 เช่นเดียวกับตนเอง ทั้งแม่ยังมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ทร.14) ตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2524 ขณะที่เอกสารหนังสือประจำตัวคนต่างด้าวของแม่ยังออกโดย สน.นางเลิ้งตั้งแต่ปี 2490 เป็นหลักฐานชี้ชัดว่าแม่ได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2490 เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ระบุคืนสิทธิให้ผู้ที่เป็นต่างด้าวเข้ามาอยู่ในประเทศไทยก่อน 31 พฤษภาคม 2527
“ปัญหาที่เกิดขึ้นคือกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้ดูเอกสารหลักฐานของแม่ย้อนหลัง รวมถึงใบต่างด้าว ดูแค่ทะเบียนบ้านที่แม่ได้ย้ายเข้ามาอยู่ที่บ้านที่อยู่ปัจจุบัน ใน จ.นนทบุรี คือในปี 2547 ทำให้ไม่ตรงกับเงื่อนไขหลักเกณฑ์ได้รับคืนสิทธิ และยังไม่มีการสอบถามใดๆ ทั้งที่ใบแสดงบุคคลต่างด้าวมีข้อมูลชัดเจนว่า แม่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 70 ปีที่แล้ว ซึ่งปัจจุบันแม่อายุ 85 ปีแล้ว แต่ที่ผ่านมากลับมีการผลักไสและโยนกันไปมาระหว่างสองหน่วยงาน พูดจาเหมือนแม่ไม่ใช่คนไทย ไม่ใช่บุคคลที่พึ่งได้รับสิทธิ ซึ่งประเด็นนี้ไม่ขอเถียง แต่เมื่อรัฐบาลมีนโยบายในการคืนสิทธิ และแม่เป็นบุคคลที่อยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับสิทธินั้นควรดำเนินการให้ ไม่ใช่เพิกเฉยทั้งที่มีการร้องเรียนพร้อมเอกสารหลักฐานแล้ว”
นางสาวพรทิพย์ กล่าวว่า จากการปรึกษากับผู้รู้กฎหมายท่านหนึ่งได้แนะนำให้ไปฟ้องที่ศาลปกครองเพราะเป็นสิทธิที่ประชาชนพึงได้รับ เรื่องนี้เมื่อเล่าให้ใครฟังต่างลงความเห็นว่า แม่ควรได้รับสิทธิตรงนี้แล้ว อย่างไรก็ตามจากก่อนหน้านี้ที่ได้โทรไปปรึกษากับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและหลักฐานต่างๆ ที่ยืนยัน เจ้าหน้าที่กรมการปกครองที่รับเรื่องได้ระบุว่าให้นำเอกสารหลักฐานต่างๆ ของแม่มาตรวจสอบ หากเป็นไปตามนั้นกรมการปกครองจะออกเอกสารรับรองเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันเพื่อนำไปยื่นขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรทอง และจากที่ได้ประสานกับ สปสช.ในส่วนที่ทำงานด้านชุมชนระบุว่า หากได้เอกสารหลักฐานมาแล้วขอให้ยื่นมาแล้วจะดำเนินการให้
“แม่ตอนนี้ขาบวมมาก อยากให้มีสิทธิบัตรทองในการรักษาเพราะบ้านเราไม่ได้ร่ำรวยมาก และเป็นสิทธิที่แม่ควรได้รับ อย่างไรก็ตามเบื้องต้นขณะนี้ยังพอมีความหวัง คงต้องรอเอกสารรับรองจากกรมการปกครองก่อน แต่กรณีของแม่สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการทำงานของหน่วยงานราชการและความไม่ใส่ใจในทุกข์สุขของประชาชน ทั้งที่รัฐบาลได้มีนโยบายเพื่อคืนสิทธิพื้นฐานด้านสาธารณสุขให้แล้ว และเชื่อว่าน่าจะมีผู้ที่ประสบปัญหานี้เป็นจำนวนมากช่นเดียวกัน” นางสาวพรทิพย์ กล่าว
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สังคม', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'สุขภาพ', 'สปสช.', 'คนไทยไร้สิทธิ'] |
https://prachatai.com/print/79432 | 2018-11-03 14:17 | ครม.ญี่ปุ่น รับรองร่าง กม.เปิดรับแรงงานต่างชาติมากขึ้น เตรียมให้สภาอนุมัติก่อนปิดสมัยประชุม | ที่มาภาพประกอบ: Motivist Japan [1]
เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2561 คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้รับรองและเตรียมเสนอร่างกฎหมายควบคุมการตรวจคนเข้าเมืองฉบับแก้ไข เข้าที่ประชุมรัฐสภาในต้นเดือน พ.ย. 2561 นี้ก่อนปิดสมัยประชุม เพื่อเปิดทางให้แรงงานชาวต่างชาติมาทำงานที่ญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้นตั้งแต่เดือน เม.ย. 2562 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ร่างกฎหมายนี้ถือเป็นสัญญาณการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในนโยบายแรงงานต่างชาติของญี่ปุ่น โดยได้กำหนดสถานะผู้อยู่อาศัยใหม่ 2 ประเภทสำหรับชาวต่างชาติ เพื่อทดแทนการขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรงในญี่ปุ่น โดยจะมีการมอบสถานะผู้อยู่อาศัยประเภทแรก ซึ่งมีระยะเวลานานสูงสุด 5 ปี ให้แก่ชาวต่างชาติที่มีทักษะทางวิชาชีพในสาขาเฉพาะทางต่าง ๆ ซึ่งคนกลุ่มนี้จะไม่ได้รับอนุญาตให้นำสมาชิกครอบครัวมาอยู่อาศัยด้วย ส่วนสถานะผู้อยู่อาศัยประเภทที่ 2 จะมอบให้กับชาวต่างชาติที่มีทักษะสูงกว่า ซึ่งจะไม่มีกำหนดระยะเวลาในการพำนักอาศัย และกลุ่มนี้จะได้รับอนุญาตให้พาครอบครัวมาอยู่ด้วยได้
ภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นต้องการแรงงานต่างชาติทักษะสูงเพิ่ม-ให้อยู่ในประเทศนานขึ้น [2]ญี่ปุ่นเตรียมแก้กฎหมายตรวจคนเข้าเมือง หวังชาวต่างชาติมาทำงานมากขึ้น [3]ประชากรญี่ปุ่นลดลงเป็นปีที่ 7 เตรียมจัดระบบวีซ่าแรงงานต่างชาติใหม่ [4]
รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาที่จะรับแรงงานต่างชาติใน 14 สาขา ซึ่งรวมถึงภาคการเกษตรกรรมและการพยาบาลดูแล อย่างไรก็ตามร่างกฎหมายดังกล่าวยังไม่ได้กำหนดรายละเอียด และรัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนที่จะจัดทำโครงร่างของรายละเอียดต่าง ๆ ต่อไป
รัฐบาลญี่ปุ่นและพรรคร่วมรัฐบาลต้องการเริ่มพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวในวันพฤหัสบดีที่ 8 พ.ย. 2561 โดยมีเป้าหมายที่จะผ่านร่างกฎหมายนี้ก่อนการปิดสมัยประชุมรัฐสภา ส่วนนายอากิระ นากาสึมา จากพรรคประชาธิปไตยรัฐธรรมนูญ (CDP) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านระบุว่าร่างกฎหมายนี้ยังขาดรายละเอียดและไม่ควรเร่งรีบผลักดันร่างกฎหมายผ่านรัฐสภา
ที่มาเรียบเรียงจากJapanese government submits foreign laborers bill (NHK WORLD-JAPAN, 2/11/2018) [5]
| ['ข่าว', 'แรงงาน', 'ต่างประเทศ', 'ญี่ปุ่น', 'แรงงานต่างชาติ', 'แรงงานข้ามชาติ'] |
https://prachatai.com/print/79435 | 2018-11-03 18:55 | Thailand Unsettled EP.3 | จตุพร-สุริยะใส : ผีทักษิณหรือรัฐธรรมนูญ คสช. ที่ขวางปรองดอง? | ตอนจบของบทสัมภาษณ์จตุพร พรหมพันธุ์ และสุริยะใส กตะศิลา ทั้ง 2 เห็นพ้องกันหลังเลือกตั้งปัญหายังไม่จบ แต่เห็นต่างเรื่องอุปสรรคปรองดองสำหรับสุริยะใส คือ "ทักษิณ" ส่วนจตุพรเห็นว่า "รัฐธรรมนูญปี 2560" คืออุปสรรค ด้านสุริยะใสเสนอแนวทางปรองดองจัดวาระและลำดับความสำคัญของการปรองดอง ปฏิรูป และเลือกตั้งให้เกื้อหนุนกัน ส่วนจตุพรเสนอทุกฝ่ายตั้งโต๊ะคุยและเคารพการตัดสินใจของประชาชนหลังการเลือกตั้ง
ซีรีส์บทสัมภาษณ์ชุดนี้คือการทำงานร่วมกันระหว่างประชาไทและเว็บไซต์ New Mandala ซึ่งเป็นโครงการที่จัดโดยวิทยาลัยเอเชียและแปซิฟิก Coral Bell มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย เพื่อวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ทางการเมืองและสังคมไทยหลังการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2560
ทั้งจตุพรและสุริยะใสเชื่อว่าหลังเลือกตั้งปัญหายังไม่จบ
อุปสรรคการปรองดองที่แตกต่างกัน สำหรับสุริยะใสคือทักษิณ ส่วนจตุพรคือรัฐธรรมนูญปี 2560
สุริยะใสเสนอแนวทางปรองดองจัดวาระและลำดับความสำคัญของการปรองดอง ปฏิรูป และเลือกตั้งให้เกื้อหนุนกัน
จตุพรเสนอทุกฝ่ายตั้งโต๊ะคุยและเคารพการตัดสินใจของประชาชนหลังการเลือกตั้ง
เมื่อพูดเรื่องความปรองดองและการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างทางความคิดน้ำเสียงของทั้งจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และสุริยะใส กตะศิลา อดีตผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) อดีตกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) และผู้ร่วมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย ค่อนข้างสอดคล้องไปในทางเดียวกันว่ายังมีหนทางอยู่ร่วมกันได้ สังคมไทยยังไม่ถึงทางตันขนาดนั้น
เมื่อพูดเรื่องความยุติธรรม แม้จะเป็นแกนกลางที่พวกเขาให้ความสนใจ แต่เราจะเห็นความต่างอยู่บ้างมองโลกในแง่ดี ยังมีเสาหลักร่วมที่สองฝ่ายยึดเกาะกันได้ แต่เมื่อคำถามล่วงเลยไปถึงอุปสรรคและอนาคตหลังการเลือกตั้งต่อการปรองดอง ทัศนะของทั้งสองเริ่มแตกต่างกันอย่างชัดเจน
Thailand Unsettled EP.3 | จตุพร-สุริยะใส : ผีทักษิณหรือรัฐธรรมนูญ คสช. ที่ขวางปรองดอง?
หลังเลือกตั้งยังเป็นเรื่องเอาหรือไม่เอาทักษิณ | Thailand Unsettled EP.3-1
รัฐธรรมนูญ 60 ถูกออกแบบไว้เพื่อรอให้เกิดปัญหา | Thailand Unsettled EP.3-2
ผีทักษิณหรือรัฐธรรมนูญฉบับ คสช.?
ในทัศนะของสุริยะใส กตะศิลา ประเด็นหลักที่จะเป็นอุปสรรคต่อการปรองดองยังคงเป็นเรื่องการเอาหรือไม่เอาทักษิณ ชินวัตร เขาเห็นว่าทักษิณยังมีอิทธิพลในทางการเมืองอย่างปฏิเสธไม่ได้ พรรคเพื่อไทยยังเป็นพรรคของทักษิณ ฉะนั้น เมื่อทักษิณวางตำแหน่งแห่งที่ของตนแบบนี้ ย่อมต้องมีทั้งคนรักและคนเกลียด หนีไม่พ้นการแบ่งขั้วทางการเมือง
“บางคนบอกว่าคุณถูกผีทักษิณหลอน ไม่จริงครับ ทักษิณไม่ใช่ผี ยังเป็นพลังทางการเมืองที่มีพลังมหาศาลและยังสามารถเขย่าการเมืองไทยได้ตลอดเวลา ณัฐวุฒิเองก็บอกว่าเพื่อไทยไม่มีทักษิณ พัง ผมคิดว่าเวลาวิเคราะห์การเมือง มันไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก มันยังคงเป็นการเมืองของฝ่ายเอากับไม่เอาทักษิณอยู่ จะหลังเลือกตั้งหรือการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ตาม ผมรู้สึกอย่างนั้น แม้คุณจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม แต่คุณหนีไม่ออกจากเกมกระดานนี้
เพราะนี่เป็นเกมที่คุณทักษิณออกแบบและตราตรึงไว้ตลอดเวลา อยู่ในเกมนี้มาสิบปี วันนี้หลายพรรคพยายามพูดเรื่องปฏิรูปประเทศไทย เรื่องปรองดอง เรื่องยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งผมเห็นด้วยนะ กับการพยายามออกจากเกมพวกนี้ แต่มันยังออกไม่ได้ มันยังออกไม่ได้ มันดูเหมือนมีคนไม่อยากให้ออกจากกระดานนี้ เหมือนมีคนจงใจ ตั้งใจจะให้การเมืองจมอยู่กับกระดานนี้ต่อไป จนจะแตกหักกันไปข้างหนึ่งหรือเปล่าผมไม่แน่ใจนะ แต่ผมรู้สึกอย่างนั้น ซึ่งผมไม่ได้ชอบเลยนะกับกระดานแบบนี้นะ ผมเหนื่อยด้วยและบางทีผมก็เบื่อ การเมืองแบบนี้บางทีก็ไม่ตอบโจทย์ปัญหาชาติบ้านเมืองอย่างแท้จริง แต่มันหนีไม่พ้น"
แสดงว่าการปรองดองจะเกิดขึ้นได้ต้องไม่มีคนชื่อทักษิณ ชินวัตร?
“มันไม่ถึงขนาดนั้น ปรองดองไม่ได้หมายความว่าต้องเอาคุณทักษิณออกจากกระดานหรือต้องไม่มีทักษิณ คำถามคือคุณทักษิณสรุปบทเรียนจากการเมืองในช่วงที่ผ่านมา 10 ปีอย่างไร การเมืองแบบที่แกเล่น แก้แค้น แต่ไม่แก้ไข ทำให้เกิดความขัดแย้งไม่รู้จบ คุณทักษิณก็ได้รับผลกระทบด้วย ไม่ใช่แค่ฝ่ายตรงข้าม ดังนั้น ถ้าคุณทักษิณไม่สรุปบทเรียน หลังเลือกตั้งก็ขัดแย้งต่อ"
“ผมไม่แน่ใจว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ สุดท้ายมันจะเป็นการเอาการเมืองกลับเข้าไปอยู่ในระบบเดิม ความขัดแย้งของสองขั้วเหมือนเดิมที่เราพยายามหนี ปัญหาไม่ใช่แค่ต้องวิจารณ์ทักษิณ ฝ่ายที่พยายามเป็นกลาง ที่พยายามเสนอทางออกก็ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะนักวิชาการที่บอกว่าเป็นฝ่ายก้าวหน้า ผมก็เห็นล้มเหลวทุกเรื่อง ผมไม่เห็นเรื่องไหนที่ชูแล้วให้คนกลางๆ วิ่งตามเขา พอหาทางที่ 3 ไม่ได้ มันก็เหลือ 2 ทาง ต่อให้ผมเบื่อ ผมเซ็งกับมันยังไง ผมก็ต้องอยู่กับมัน มันหนีไม่ออก"
“ต้องยอมรับว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คนที่พยายามหาทางออก ทางที่ 3 ล้มเหลวหมด มีพยายามพูด แต่ไม่มีพลัง ไปๆ มาๆ คนที่พูดทางเลือกที่ 3 กลายเป็นแฝงตัวมาหรือมีวาระซ่อนเร้น โดนฉีกหน้ากาก โดนเปิดโปง เสียผู้เสียคนกันไปก็เยอะ การเมืองช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้แค่ขัดแย้งแตกแยกกัน แต่มันได้ทำลายพลังที่ 3 ราบเป็นหน้ากลอง”
เมื่อสุริยะใสมองว่าทักษิณยังเป็นโจทย์ใหญ่ที่ดึงประเทศให้ตกในวังวน แล้วจะมีวิธีใดที่ทำให้ทักษิณไม่เป็นโจทย์ใหญ่อีกต่อไป เขาคิดว่าประเด็นนี้เป็นโจทย์ที่พรรคเพื่อไทยต้องแก้ให้ตก เพราะหากยังเป็นเช่นทุกวันนี้ วาระของทักษิณจะบดบังวาระของพรรคเพื่อไทยและประเทศจนมิด
“ผมคิดว่าคุณทักษิณมีส่วนสำคัญว่าจะมองบทเรียนอย่างไร ถ้าแกยังมองว่าถ้าไม่ได้นิรโทษ ไม่ได้กลับประเทศ ก็ไม่ต้องอยู่อย่างมีความสุขเลยเหมือนที่เคยพูดไว้ พรรคเพื่อไทยก็จะอยู่ในสภาพล้อมคอกแบบนี้แล้วประเทศไปไม่ได้ ผมไม่รู้ว่าเขามีความสุขได้ยังไง ชนะเลือกตั้งแต่ตั้งรัฐบาลไม่ได้ หรือเป็นรัฐบาลแต่ปกครองประเทศไม่ได้ หรือเป็นรัฐบาลแต่ก็ลงไม่สวย ทั้งที่เขามีโอกาสตั้งแต่สมัยสมัคร สุนทรเวชแล้ว ตอนคุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขึ้นมา แต่ไม่เปลี่ยน ยังจะพยายามแก้รัฐธรรมนูญ นิรโทษกรรม"
“คุณยิ่งลักษณ์มา ช่วง 2 ปีแรกมีปัญหาไหม ไม่มีปัญหาเลย ไม่มีม็อบเลย จะครบวาระอยู่แล้ว ดันมาเสนอสุดซอย ซึ่งเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้จากต่างแดน ถ้าคุณทักษิณรอหน่อย มันจบนะครับ มันไม่มี กปปส. เพื่อไทยต้องสรุปบทเรียน คุณทักษิณต้องสรุปบทเรียนว่าคุณกำลังทำให้ประเทศเดินไปไม่ได้ เพื่อไทยก็จมอยู่อย่างนี้ ทั้งที่พรรคเพื่อไทย ถ้าออกจากทักษิณได้ ตั้งเรื่องปฏิรูป พูดเรื่องคนยากคนจนที่เป็นรูปธรรมบ้าง ผมว่าการเมืองจะเปลี่ยน เพราะเขาเป็นพรรคใหญ่และมีฐานคนจนเยอะกว่าพรรคอื่น”
สำหรับจตุพร พรหมพันธุ์ เขามองต่างออกจากสุริยะใสโดยสิ้นเชิง ทักษิณไม่ใช่อุปสรรคต่อการปรองดองในอนาคต แต่คือรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ต่างหากที่เป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ที่รอวันปะทุ
“ลองอธิบายซิว่าได้นายกฯ คนนอก นายกฯ คนนอกจะอยู่ยังไง ต้องไม่ลืมคิดว่าเพิ่งเลือกตั้งเสร็จ การหักดิบอารมณ์คนแบบกระทันหัน มันจะเป็นอีกอารมณ์หนึ่งซึ่งเป็นคนละเรื่องกับสถานการณ์นี้ รวมกระทั่งไม่มีไม้เท้าวิเศษ มาตรา 44 กลายเป็นคนธรรมดา แล้วจะป้องกันตนยังไง หรือการทานทนในสภาผู้แทนราษฎร จอมพลถนอมว่าเป็นนายกฯ ที่ใจเย็นที่สุดแล้วที่มาจากกระบอกปืน ยังทนลูกพรรคสหประชาไทยของท่านไม่ได้เลย ทหารสั่งซ้ายหันก็ซ้ายหัน แต่นักการเมืองสั่งซ้าย มันไปขวา สั่งขวา มันไปหน้า วันไหนไม่พอใจ มันเล่นบนหัวหัวหน้าพรรค นี่คือโลกความเป็นจริง ท้ายที่สุดท่านก็ต้องยึดอำนาจของตัวเอง อันพัฒนาไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม"
“สถานการณ์ปัจจุบัน มองพฤษภา 35 เป็นพฤษภา 35/1 ได้เลย มันอาจจะมีตัวละครหรือโจทย์เปลี่ยน แต่ผลลัพธ์มันเห็นว่าเราจะไปเจออะไร นี่ไม่นับนายกฯ คนใน ซึ่งก็จะได้อยู่ 3 เดือน 6 เดือน แล้วก็มีอันเป็นไป ได้นายกฯ คนในเพื่อรอให้นายกฯ คนนอก ได้นายกฯ คนนอกเพื่อรอให้เกิดเรื่องเพื่อมาถึงจุดปัจจุบัน"
“นักการเมืองอาจจะคิดว่าต้องการแค่การเลือกตั้ง แต่เมื่อเราอยู่ในเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความตาย เราต้องคิดต่อว่าเมื่อเลือกตั้งจบแล้ว มันจะเกิดอะไรขึ้น เพราะฉะนั้นอะไรที่มันจะเกิด เรามีเวลาร่วมหาทางออกกันได้ไหม ซึ่งความจริงก็เป็นเรื่องยากสำหรับสังคมไทย สังคมไทยต้องตายกันก่อนถึงจะแก้ไขปัญหาได้ เพราะเราไม่เคยคิดจะแก้ปัญหากันก่อนตาย ทั้งที่เป็นเรื่องเดิม ถ้าพวกผมใช้ภาษาว่าเหมือนไปสะดุดหินก้อนเดิมหกล้มถึง 2 ครั้ง 3 ครั้ง ดังนั้น เราก็ควรมีบทเรียนว่าอย่าไปสะดุดหินก้อนนั้นอีกได้ไหม แล้วก็ร่วมหาทางออกกัน”
ดังนั้น... “อย่าถามว่าจะแก้หรือไม่แก้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นปัญหาของชาติทั้งระยะสั้นและระยะยาว และก็จะเห็นผลกันในอีกไม่นานนี้”
ขณะที่สุริยะใสเห็นต่างจากจตุพรในเรื่องรัฐธรรมนูญ เขาแสดงความเห็นส่วนตัวว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับล้วนมีปัญหา แม้กระทั่งรัฐธรรมนูญปี 2540 ฉบับปี 2560 ก็มีปัญหาหลายประการเช่นกัน
“แต่ยังไม่ได้บังคับใช้เลยแล้วแก้ ผมว่าก็ไม่แฟร์ แล้วแก้ตามใครล่ะ แก้ตามพรรคการเมืองบางพรรค แก้ตามนักวิชาการบางคนเหรอ มันเป็นเรื่องใหญ่มาก ผมยังเห็นว่าต่อให้มีปัญหาก็ตาม แต่ควรทดลองใช้ไปสักระยะหนึ่ง แล้วแก้กันอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ไม่ใช่แก้ตามใจนักการเมือง มีการประชาพิจารณ์ มีการรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง มีคล้ายสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2534 ขึ้นมา แบบนี้ผมรับได้นะ ไม่ใช่แก้ตามใจนักการเมืองที่พยายามแก้อย่างที่ผ่านมา คนที่พูดว่ารัฐธรรมนูญมีปัญหา นักการเมืองทั้งนั้นแหละ เพราะเล่นการเมืองยากขึ้นพูดตรงๆ”
Thailand Unsettled EP.1 | พวงทอง ภวัครพันธุ์: ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า ‘ประชาธิปไตย’ หลังเลือกตั้ง [1], 4 ก.ย. 2561
Thailand Unsettled EP.2 | จตุพร-สุริยะใส : ต่างขั้ว ต่างคิด แต่การปรองดองยังเป็นไปได้ [2], 9 ต.ค. 2561
หนทางปรองดอง-ร้อยเรียง 3 วาระหรือแค่ฟังเสียงประชาชน?
ประเด็นที่ทั้งสองคนเห็นพ้องกันชัดเจนคือหลังเลือกตั้งปัญหาไม่จบ การปรองดองยังเกิดขึ้นได้ยาก สุริยะใสเชื่อว่าความวุ่นวายยังคงอยู่ เพราะหากเป้าหมายของ กปปส. คือการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง สำหรับเขาถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีการปฏิรูปใดๆ เลย
“ผมเป็นห่วงการเลือกตั้งครั้งนี้ ผมก็คิดไม่ต่างจากคุณจตุพรหรอกที่ให้สัมภาษณ์ในแทบลอยด์ เขาพูดว่าโจทย์ไม่ใช่เรื่องการเลือกตั้ง โจทย์ของประเทศมันเรื่องใหญ่ เรื่องปรองดอง เรื่องปฏิรูป ผมดีใจที่มีคนเอาเรื่องปรองดองกลับมาพูดอีกครั้ง ทั้งที่เรื่องนี้ถูกเขี่ยออกไปจากกระดานการเมือง เพราะผมรู้สึกว่าถ้าเมื่อไหร่สังคมไม่มีความปรองดอง ไม่มีเอกภาพ มันปฏิรูปไม่ได้"
“แค่ความหมายก็ต่างกันแล้ว ปฏิรูปในความหมายของคนเพื่อไทย เสื้อแดง นกหวีด เสื้อเหลือง ต่างกัน มีโจทย์ทักษิณเข้ามาอีก มีโจทย์สืบทอดอำนาจหรือไม่สืบทอดอำนาจ โจทย์รัฐประหารหรือไม่รัฐประหารเข้ามาอีก จบเลย เรื่องปฏิรูปไม่ต้องพูด ผมคิดว่าถึงเวลาต้องลำดับความสำคัญใหม่ว่าเราจะทำเรื่องปรองดองก่อนปฏิรูปหรือปฏิรูปก่อนปรองดอง ไม่ใช่เรื่องปฏิรูปก่อนเลือกตั้งหรือปรองดองก่อนเลือกตั้ง โจทย์มันไขว้กันอยู่ ปรองดอง ปฏิรูป และเลือกตั้ง เราจะจัดลำดับความสำคัญอย่างไร ผมค่อนข้างเห็นด้วยว่าถ้าเราไม่คิดเรื่องปรองดอง ปฏิรูป เลือกตั้ง ไม่มีอนาคตอย่างที่หลายฝ่ายคาดหวัง”
เพราะหากมีการเลือกตั้งต้นปีหน้าจริง ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ สุริยะใสเห็นว่าการปรองดองและการปฏิรูปแทบเป็นไปได้
“พอพูดว่าเป็นไปไม่ได้ก็จะมีคำถามกลับว่า แล้วยังไง ไม่เลือกตั้งใช่หรือไม่ ให้ คสช. ปฏิรูปต่อใช่หรือไม่ ไปไม่เป็น มันเหมือนเราสร้างเงื่อนไขที่จะถีบเข้าไปอยู่ในรูรูเดียว เป็นความล้มเหลวของอำนาจนำ อำนาจอยู่ในมือแต่คุณไม่สามารถขยายรูหายใจและทำให้สังคมรู้สึกว่ามีความหวังได้มากกว่านั้น พอสุดท้ายก็บีบคนไปสู่การเลือกตั้ง แต่เลือกตั้งแล้วยังไงมันก็มีคำถาม ผมคิดว่ามันถึงเวลาที่เราต้องจัดวางโจทย์ 3 โจทย์ให้มันร้อยเรียงอย่างมีนัยสำคัญ ปฏิรูป ปรองดอง แล้วก็เลือกตั้ง ไม่อยู่ในวิสัยที่ยากเกินไปที่จะทำให้ 3 เรื่องนี้เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ถ้าเราพูดแต่เลือกตั้ง แต่ไม่พูดเรื่องปฏิรูปกับปรองดอง ผมเป็นห่วงว่าจะขัดแย้งอีก
“แต่ถ้าเราพูดเรื่องปรองดอง แต่ไม่พูดเรื่องเลือกตั้ง ความระแวงมันก็สูง เพราะฉะนั้นเงื่อนไขพวกนี้ต้องเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจมองเกมทั้งกระดานหรือเปล่า หรือเขาปล่อยไป ปรองดองไม่ต้องมีหรอก แกนนำก็ติดคุกไป ผลัดกันไป คดีทุกสีก็ขมวดเข้ามาแล้ว เขาอาจคิดแบบนี้ก็ได้ ผมเห็นท่านนายกฯ ก็พูดหลายครั้งทำนองนี้ ซึ่งผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับวิธีคิดแบบนี้"
“ส่วนตัวผมก็ยังคิดไม่ทะลุนะ แต่ผู้มีอำนาจต้องเอาโจทย์พวกนี้มาวางบนกระดาน คนที่มีอำนาจจะทำได้ แต่คนมีอำนาจไม่ขยับ แล้วเขามองโจทย์ไม่เหมือนเรา กระดานที่เขามองเป็นอีกกระดานหนึ่ง เช่นเขามองว่าปฏิรูปก็ได้แค่นี้แหละ รีบเลือกตั้งซะ หลังเลือกตั้งมีปัญหาก็ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ เขาอาจจะคิดแค่นี้ แต่ประเทศมันไปไม่ได้ ความขัดแย้งก็ไม่ได้หายไป ดังนั้น ทั้งปรองดอง ปฏิรูป เลือกตั้ง มันควรจะอยู่ในกระเช้าเดียวกัน แต่คุณจะเอาอะไรออกหน้า คุณไม่สามารถพูดปฏิรูปลอยๆ เลือกตั้งลอยๆ แล้วหลังเลือกตั้งทุกอย่างจะดี คุณประกันได้ยังไงว่ารัฐบาลหน้าจะไม่ถูกไล่อีก” สุริยะใสกล่าว
ขณะที่จตุพรก็หวั่นว่ากว่าปัญหาจะจบอาจต้องข้ามศพอีกหลายศพเช่นที่เป็นมา สิ่งที่เขาเสนอนั้นค่อนข้างเรียบง่ายคือ ก่อนเลือกตั้งเกิดขึ้น ทุกๆ ฝ่ายควรล้อมวงพูดคุย เจรจาตกลงกันก่อน แล้ว...
“ถ้าประชาชนตัดสินมาอย่างไร ต้องเคารพการตัดสินใจของประชาชน”
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'ความปรองดอง', 'สุริยะใส กตะศิลา', 'ทักษิณ ชินวัตร', 'ระบอบทักษิณ', 'คนเสื้อแดง', 'นวมณฑล', 'New Mandala', 'นปช.', 'เสื้อเหลือง', 'พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย', 'พรรครวมพลังประชาชาติไทย', 'มัลติมีเดีย', 'รัฐธรรมนูญ 2560', 'Thailand Unsettled', 'จตุพร พรหมพันธุ์'] |
https://prachatai.com/print/79434 | 2018-11-03 16:18 | 'พลังท้องถิ่นไท' โหวต 'ชัช เตาปูน' หัวหน้าพรรค ลั่นพร้อมเป็นนายก | บล็อกเชนสำเร็จพรรคแรก 'พลังท้องถิ่นไท' โหวตกรรมการพรรค 'ชัชวาลย์ คงอุดม' นั่งหัวหน้า ลั่นพร้อมเป็นนายกไม่เอาคนนอก 'พลังธรรมใหม่' จัดประชุมว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.150 คนแรก 'อภิสิทธิ์' แนะสมาชิก 'ประชาธิปัตย์' ลงคะแนนหยั่งเสียงใหม่ 9 พ.ย. หลังรอบแรกล่ม
'ชัชวาลย์ คงอุดม' ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคพลังท้องถิ่นไท ส่วนดารา 'รัฐภูมิ โตคงทรัพย์' เป็นรองโฆษกพรรค ที่มาภาพ: พรรคพลังท้องถิ่นไท [1]
3 พ.ย. 2561 พรรคพลังท้องถิ่นไทจัดประชุมใหญ่วิสามัญครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ภายในงานมีสมาชิกพรรคจากทุกภาคเข้าร่วมประชุมอย่างคึกคัก พร้อมเปิดโต๊ะรับสมัครสมาชิกพรรค นอกจากนี้ยังเปิดตัวคณะกรรมการบริหารพรรค นำโดยนายชัชวาลย์ คงอุดม หัวหน้าพลังท้องถิ่นไท รองหัวหน้าพรรคในแต่ละภาค นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ เลขาธิการพรรค นายชื่นชอบ คงอุดม โฆษกพรรค นายรัฐภูมิ โตคงทรัพย์ รองโฆษกพรรค ขณะที่ นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ อดีตนายกเทศมนตรีเมืองบ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.จ.ขอนแก่น พรรคพลังท้องถิ่นไท เข้าร่วม
นายชัชวาลย์ กล่าวว่าพรรคพลังท้องถิ่นไทจะชูนโยบายกวาดล้างยาเสพติดที่จะต้องหมดไปจากประเทศไทย เยาวชนต้องพูดได้หลายภาษา น้ำต้องมีทำนา และยางพาราต้องราคาดี ที่ผ่านมาได้เก็บข้อมูลจากท้องถิ่น แล้วนำมาต่อยอดเป็นนโยบาย เพราะคนในพื้นที่มีความเข้าใจและรู้ปัญหาในแต่ละด้าน โดยที่รัฐบาลจะต้องรับข้อเสนอมาและนำงบประมาณไปช่วยแก้ไข
“ผมตั้งเป้าว่าจะส่งผู้สมัคร ส.ส. ลงครบทุกเขตทั่วประเทศ เชื่อมั่นว่าจะได้ ส.ส.อย่างน้อย 20 ที่นั่ง และยืนยันจะเสนอชื่อผมและบุคคลในพรรคเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่เสนอชื่อคนนอก” นายชัชวาลย์ กล่าว
ส่วนจะร่วมมือกับพรรคพลังประชารัฐ หรือพรรคที่สนับสนุน คสช. หรือไม่ นายชัชวาลย์ กล่าวว่าต้องรอดูนโยบายและแนวคิดว่าจะตรงกันหรือไม่และทุกอย่างต้องเป็นไปตามกติกาของประชาธิปไตย เชื่อว่าสถานการณ์การเมืองและการเลือกตั้งจะไม่วุ่นวาย และจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในวันที่ 24 ก.พ. 2562 แน่นอน
นอกจากนี้ นายชัชวาลย์ กล่าวว่าจะจัดงานวันคล้ายวันเกิดปีที่ 75 ในวันที่ 17 พ.ย. นี้ ที่โรงเรียนนายช่างอากาศ ย่านดอนเมือง และจะแจกข้าวสารจากนาที่ทำเองที่ จ.พระนครศรีอยุธยา และว่าการจัดงานวันคล้ายวันเกิด ได้ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2552 และงานครั้งนี้จัดในนามส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับพรรค
ด้านนายชื่นชอบเปิดเผยว่าเมื่อวานนี้ (2 พ.ย.) พรรคได้นำระบบบล็อกเชนมาใช้ในการเลือกกรรมการบริหารพรรค เป็นระบบคอมพิวเตอร์ในการสแกนบาร์โค้ด เพื่อบันทึกข้อมูลในการลงคะแนนเสียง เป็นระบบเดียวกันกับการหยั่งเสียงเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบบนี้คนรุ่นใหม่ของพรรคนำมาใช้ และประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี จากนี้จะนำข้อมูลและนโยบายพรรคลงในโซเชียลมีเดีย เพื่อประชาสัมพันธ์ให้คนได้รับทราบ และว่าพร้อมเสนอชื่อตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี
'พลังธรรมใหม่' จัดประชุมว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.150 คนแรก
ด้านพรรคพลังธรรมใหม่ได้จัดการประชุมเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.150 เขตทั่วประเทศของพรรค โดย นพ.ระวี มาศฉมาดล หัวพน้าพรรคพลังธรรมใหม่ กล่าวว่า พรรคพลังธรรมใหม่พร้อมแล้ว สำหรับการเลือกตั้ง วันที่ 24 ก.พ. 2562 การประชุมวันนี้ เป็นการพูดคุยของว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กลุ่มแรก และวันที่ 20 พ.ย.นี้ พรรคจะทำการปฐมนิเทศว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เขต 350 คน และ ส.ส.สัดส่วน 150 คน และมีสมาชิกพรรคครบ 80,000 คน ก่อนการเลือกตั้ง
“จะเป็นการพิสูจน์ให้ประชาชนทั่วประเทศเห็นว่า พรรคพลังธรรมใหม่ คือ พรรคที่ประชาชนเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง เราเป็นพรรคที่ประชาชนมาร่วมกันเสียสละเวลา เงินทอง เพื่อที่จะสร้างพรรคของปรระชาชนจริง ๆ เราไม่ได้มีเงินทองมากมายที่จะไปสู้กับพรรคอื่น แต่เราจะใช้อุดมการณ์ ความมุ่งมั่น พยายาม ของสมาชิกทั่วทั้งประเทศ ทำการสู้ศึกเลือกตั้งในครั้งนี้ มีเป้าหมายหลักคือ เราต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ให้เป็นดินแดนที่ปราศจากคอร์รัปชั่น และต้องการปฏิรูปพลังงานไทย ให้ทรัพยากรของคนไทย กลับมาเป็นของคนไทยอีกครั้งหนึ่ง” นพ.ระวี กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ท่าทีหลังการเลือกตั้งของพรรคพลังธรรมใหม่จะเป็นอย่างไร นพ.ระวี กล่าวว่าหากหลังเลือกตั้ง พรรคพลังธรรมใหม่ได้ ส.ส. 25 คน เราจะเสนอคนของพรรคเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้เตรียม 3 รายชื่อแคนดิเดตไว้แล้ว 1 ใน 3 เป็นชื่อหัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ แต่อีก 2 รายชื่อจะขอเปิดเผยในช่วงเดือน ธ.ค.นี้
“หากเราไม่ประสบความสำเร็จ เราจะให้สมาชิกในพรรคทั่วประเทศ ลงประชามติเลือกรายชื่อนายกรัฐมนตรีของพรรคอื่นๆ ที่พวกเราเห็นว่า มีความเหมาะสมมากที่สุดในขณะนั้น เพื่อที่จะให้บ้านเมืองเดินได้ และมีความสงบเรียบร้อย พลังธรรมใหม่ไม่ได้เป็นศัตรูหรือมิตรกับใครอย่างแท้จริง และเราไม่ได้เป็นนอมินีของใครอย่างแน่นอน” นพ.ระวี กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีพรรคการเมืองพรรคอื่นๆ ทาบทามพลังธรรมใหม่มาร่วมงานหรือไม่ น.พ.ระวี กล่าวว่า การทำงานของพรรคการเมือง ก็มีการพูดคุยกันเป็นเรื่องปกติ แต่พรรคเรามีจุดยืนที่ชัดเจน คนที่จะเข้ามาร่วมงานกับเรา ก็ต้องมีอุดมการณ์ที่ไปในทางเดียวกัน หากไม่ใช่คนที่คิดแบบเดียวกัน พรรคพลังธรรมใหม่สามารถเเป็นฝ่ายค้านได้เช่นกัน
'อภิสิทธิ์' แนะสมาชิก 'ประชาธิปัตย์' ลงคะแนนหยั่งเสียงใหม่ 9 พ.ย.
เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2561 ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรค กล่าวถึงปัญหาการลงคะแนนหยั่งเสียงเลือกหัวหน้าพรรคผ่านระบบลาสเบอรรี่ไพที่ใช้งานไม่ได้เมื่อวันที่ 1 พ.ย. ว่าไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้น เข้าใจว่าเป็นเรื่องใหม่ จึงอยากขอให้ผู้ที่ใช้สิทธิ์ ไม่ได้วานนี้มาใช้สิทธิ์ในวันที่ 9 พ.ย. 2561 แทน ซึ่งแม้ว่าในวันดังกล่าวจะใกล้กับวันประชุมใหญ่ของพรรคในวันที่ 11 พ.ย. 2561
“เชื่อว่าไม่มีปัญหาและยังไม่มีแนวคิดจะเลื่อนวันออกไป ผมไม่กังวลกรณีที่มีความขัดแย้งระหว่างกองเชียร์ของผู้สมัครเข้ารับการหยั่งเสียง ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดการกระทบกระทั่งกันบ้าง เพราะเป็นการแข่งขันของอย่างจริงจัง แต่เชื่อว่ายังไม่มีอะไรที่จะทำให้ถึงขั้นร้าวฉานจนกลับมาทำงานร่วมกันไม่ได้ ส่วนตัวผมไม่เคยพาดพิงใคร” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ส่วนกรณีอดีต ส.ส.บางคนถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐเตือนกรณีรณรงค์หยั่งเสียงเลือกหัวหน้าพรรค นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าพรรคได้แจ้งต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แล้วถึงความจำเป็นที่ต้องดำเนินการ ซึ่งเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับพรรคที่กำหนดให้ต้องหยั่งเสียงเลือกหัวหน้าพรรค
“ผมเคยให้ความเห็นไปนานแล้วว่าการไม่ปลดล็อกทางการเมืองจะทำให้เกิดการโต้แย้งกันตลอดเวลา เพราะขณะนี้แต่ละพรรคการเมืองมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามกฎมหาย โดยเฉพาะการทำกิจกรรมหาสมาชิกพรรคและเตรียมหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ทั้งที่เกือบจะทุกเรื่องที่พรรคการเมืองดำเนินการ แทบจะไม่มีอะไรกระทบกับความมั่นคงเลย” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงการเลื่อนสอบ GAT/PAT เพื่อไม่ให้กระทบกับการใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 24 ก.พ. 2562 ว่ากระทรวงศึกษาธิการคงมองเห็นถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ต้องการให้ชนกับวันเลือกตั้ง ซึ่งหากมีความชัดเจนเร็วขึ้นก็เป็นเรื่องดี หวังว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามกำหนดการเดิม ซึ่งมีสัญญาณที่ดีขึ้นที่เปิดให้พรรคการเมืองหารือกับกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
ที่มาเรียบเรียงจากสำนักข่าวไทย [1] [2] [2] [3] [3] [4]
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'พรรคพลังท้องถิ่นไท', 'พรรคพลังธรรมใหม่', 'พรรคประชาธิปัตย์', 'ชัชวาลย์ คงอุดม', 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ', 'การเลือกตั้ง'] |
https://prachatai.com/print/79436 | 2018-11-03 19:31 | นศ.ปี 1 มช. แจ้งความถูกอาจารย์พิเศษแอบถ่ายใต้กระโปรง | นศ.ปี 1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าแจ้งความถูกอาจารย์พิเศษแอบถ่ายใต้กระโปรงหลายครั้งจนกระทั่งวางแผนจับได้ ล่าสุดทางผู้บริหารออกโรงแจงแล้วยอมรับมีหลักฐานชัดยินดีให้ความร่วมมือกับทางตำรวจ เจ้าตัวลาออกแล้ว
ที่มาภาพ: ผู้จัดการออนไลน์ [1]
3 พ.ย. 2561 ผู้จัดการออนไลน์ [2] รายงานความคืบหน้ากรณีที่นางสาวพลอย (นามสมมติ) อายุ 19 ปี, นางสาวเพชร (นามสมมติ) อายุ 19 ปี และนางสาวผึ้ง (นามสมมติ) อายุ 18 ปี ซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยรัฐชื่อดังแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกันเปิดเผยพฤติกรรมของอาจารย์หนุ่มที่สอนวิชาภาษาไทยของคณะมนุษยศาสตร์ ตั้งกล้องแท็บเล็ตแอบถ่ายใต้กระโปรงของบรรดานักศึกษาสาวในชั้นเรียน โดยทำทีเป็นวางไว้กับพื้นใกล้โต๊ะที่อาจารย์นั่งสอนในชั้นเรียนแล้วให้นักศึกษามาเขียนลงชื่อเข้าเรียน ซึ่งนักศึกษาสงสัยในพฤติกรรมมาตั้งแต่เริ่มเข้าชั้นเรียนเมื่อเดือน ส.ค. 2561 จนกระทั่งมีการพูดคุยหารือกันและวางแผนจับผิดจนได้หลักฐาน เป็นแท็บเล็ตของอาจารย์คนดังกล่าวที่ต้องกล้องบันทึกวิดีโอความยาวประมาณ 12 นาที มอบให้กับทางผู้บริหารคณะเพื่อดำเนินการลงโทษตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย และส่วนนักศึกษาสาวทั้ง 3 คน ที่เป็นผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดี ที่สถานีตำรวจภูธร ภูพิงคราชนิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ล่าสุดหลังจากที่เข้าแจ้งความกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและตกเป็นข่าว ทางด้านมหาวิทยาลัยชียงใหม่ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุ เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2561 ทางคณะบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเพิ่งได้รับเรื่องดังกล่าวจากคณะบดีคณะมนุษย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ประชุมหารือในส่วนของผู้ที่เกี่ยวข้อง และรองศาสตราจารย์โรม จิรานุกรมรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เปิดเผยกับสื่อมวลชนในเรื่องดังกล่าวว่าพบหลักฐานและพยานยืนยันเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นจริง พร้อมให้ความร่วมมือกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดำเนินคดีตามที่ผู้เสียหาย ซึ่งนักศึกษาได้เข้าแจ้งความแล้วนั้น ในส่วนของมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องดังกล่าวก็ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว หากพบว่ามีการกระทำความผิดจริงก็จะมีการดำเนินการทางกฎหมายด้วย ส่วนอาจารย์ผู้ที่ก่อเหตุ ซึ่งเป็นอาจารย์พิเศษ ที่ทำสัญญาจ้างเป็นปีต่อปี ก็ได้มีการยื่นใบลาออกไปแล้วในวันที่ 2 พ.ย. 2561 หลังจากเกิดเรื่อง ส่วนเรื่องคดีความก็เป็นเรื่องของทางเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตามที่ผู้เสียหาย และผู้ปกครองได้เข้าแจ้งความดำเนินคดี ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็เสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยินดีให้ความร่วมมือกับทางตำรวจ
| ['ข่าว', 'สังคม', 'การศึกษา', 'สิทธิมนุษยชน', 'การล่วงละเมิดทางเพศ', 'มหาวิทยาลัยชียงใหม่'] |
https://prachatai.com/print/79437 | 2018-11-03 22:39 | 'พรรคเกียน' ประชุมเลือก กก.บห. 'บก.ลายจุด' เป็นหัวหน้าพรรค | สมาชิก 'พรรคเกียน' คอสเพลย์นักรบในฝันร่วมการประชุมใหญ่ แต่องค์ประชุมไม่ครบ 250 คน จึงปรับมาเป็นการประชุมเลือกกรรมการบริหารพรรคแทน 'บก.ลายจุด' เป็นหัวหน้าพรรคชั่วคราว ก่อนจะนัดประชุมใหญ่อีกครั้งในช่วงเดือน ธ.ค. 2561
ที่มาภาพประกอบ: แฟ้มภาพพรรคเกรียน [1]
3 พ.ย. 2561 Voice TV [2] รายงานว่าพรรคเกียน จัดการประชุมพรรค เพื่อเลือกหัวหน้าพรรครองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค ก่อนเข้าสู่การประชุมสมาชิกพรรคทยอยเดินทางเข้าร่วม ส่วนใหญ่เลือกสวมชุดคอสเพลย์ หรือบางคนเลือกสวมชุดแฟนซี ตามการนัดหมายของนายสมบัติ บุญงามอนงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค บรรยากาศจึงเป็นไปอย่างสนุกสนาน สมาชิกร่วมถ่ายรูปกับนายสมบัติ ก่อนเข้าสู่การประชุม
เมื่อเริ่มการประชุม นายสมบัติ บุญงามอนงค์ และนายเดชรัต สุขกำเนิด เป็นผู้นำการอภิปราย โดยนำเสนอนโยบายที่จะนำไปสู่การปฏิบัติของพรรค หรือที่เรียกว่า 'Think Tank' เช่น ด้านสังคม ด้านการศึกษา รวมถึงการออกแบบนโยบาย ที่มาจากภาคประชาสังคมเป็นผู้คิด
เมื่อเริ่มการประชุม นายสมบัติ บุญงามอนงค์ และนายเดชรัต สุขกำเนิด เป็นผู้นำการอภิปราย โดยนำเสนอนโยบายที่จะนำไปสู่การปฏิบัติของพรรค หรือที่เรียกว่า 'Think Tank' เช่น ด้านสังคม ด้านการศึกษา รวมถึงการออกแบบนโยบาย ที่มาจากภาคประชาสังคมเป็นผู้คิด
จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการ เลือกกรรมการบริหารพรรค ที่ประชุม มีมติเลือกนายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก. ลายจุด เป็นหัวหน้าพรรค, นายสมจิตร์ แบร์จีเยส์ เป็นรองหัวหน้าพรรค, นายศักดิ์ดา ต้นประทุมวงษ์ เป็นรองหัวหน้าพรรค, นายทิรัตน์ ผลินกูล เป็นเลขาธิการพรรค, นายพิสิทธิ์ เอี้ยวรัตนวดี เป็นนายทะเบียนพรรค, นายฏายิน เพชรรัตน์ เป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์พรรค
นายสมบัติ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากกระบวนการทั้งหมดเสร็จสิ้นไม่ทันก่อนการเลือกตั้ง จะไม่ส่งผู้สมัครลงแต่จะเปิดเวทีเพื่อสะท้อนนโยบายคู่ขนานไปกับเวทีปราศรัยต่างๆ โดยไม่ปิดกั้นพรรคการเมือง ที่จะหยิบนโยบายของเกียนไปต่อยอด เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
ขณะเดียวกันเห็นว่าการเลือกตั้งต้องเสรีและเป็นธรรมผู้มีอำนาจต้องเปิดโอกาสให้ทุกพรรคการเมืองสามารถนำเสนอนโยบายได้อย่างเท่าเทียม รวมถึง หากมีองค์กรต่างๆประสงค์จะเข้ามาสังเกตการเลือกตั้งผู้ถืออำนาจรัฐไม่ควรปิดการ เพราะจะทำให้การเลือกตั้งได้รับความเชื่อมั่นมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามการประชุมในครั้งนี้ องค์ประชุมไม่ครบตามกฎหมายลูกว่าด้วยพรรคการเมืองกำหนดให้การประชุมใหญ่ของพรรคต้องมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมอย่างน้อย 250 คน ที่ประชุม จึงปรับให้การประชุมวันนี้เป็นการประชุมเพื่อเลือกหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารชุดชั่วคราว ก่อนจะนัดประชุมใหญ่อีกครั้งในช่วงเดือน ธ.ค.
สำหรับภาคเกียน ได้กำหนดนโยบายพรรคไว้ในข้อบังคับพรรคโดยระบุว่าเน้นการเปิดโอกาสเพื่อให้เกิดการถกเถียงในวงกว้างเพื่อให้เห็นปัญหาในส่วนที่เป็นรากของปัญหา เพื่อสร้างแนวทางการแก้ไขหรือแนวทางในการพัฒนาโดยรวบรวมไว้ในถังความคิดเพื่อนำไปใช้หรือเสนอสู่สังคม
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'พรรคเกียน', 'สมบัติ บุญงามอนงค์'] |
https://prachatai.com/print/79440 | 2018-11-04 02:53 | ราชกิจจานุเบกษาประกาศ 'พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561' |
เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2561 ราชกิจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 [1] ระบุว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นปีที่ 3 ในรัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561”
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์” หมายความว่า ทรัพย์สินในพระองค์และทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์
“ทรัพย์สินในพระองค์” หมายความว่า ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใดอันเป็นการส่วนพระองค์ ทั้งนี้ รวมถึงดอกผลที่เกิดจากบรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้นด้วย
“ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์” หมายความว่า ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์นอกจากทรัพย์สินในพระองค์
มาตรา 5 การใดที่มีผลทำให้สิ้นสุดการเป็นทรัพย์สินพระมหากษัตริย์จะกระทำมิได้เว้นแต่จะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว
ในกรณีที่มีปัญหาว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณีให้เป็นไปตามพระบรมราชวินิจฉัย
มาตรา 6 การจัดการ การดูแลรักษา การจัดหาผลประโยชน์ และการดำเนินการอื่นใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพื่อการนี้ พระมหากษัตริย์จะทรงมอบหมายให้สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ บุคคลใด หรือหน่วยงานใดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ สำหรับทรัพย์สินใดภายใต้เงื่อนไขอย่างใดก็ได้
เมื่อได้ทรงมอบหมายให้สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ บุคคลใด หรือหน่วยงานใดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์สำหรับทรัพย์สินใดแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในกรณีทั้งปวงเกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ห้ามมิให้ระบุพระปรมาภิไธยหรือข้อความใดอันแสดงหรืออนุมานได้ว่าพระมหากษัตริย์เป็นคู่กรณีหรือคู่ความ ให้ระบุเพียงชื่อผู้ได้รับการมอบหมายดังกล่าวแล้ว และในกรณีที่ทรงมอบหมายให้บุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดที่มิใช่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เป็นผู้จัดการ ให้ต่อท้ายด้วยคำว่า “ผู้จัดการทรัพย์สินในพระองค์” หรือ “ผู้จัดการทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์” แล้วแต่กรณี สำหรับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มีหน้าที่เป็นผู้จัดการ ให้สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์เป็นคู่กรณีหรือคู่ความ
มาตรา 7 ให้มีสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นหน่วยงานในพระมหากษัตริย์ มีหน้าที่จัดการ ดูแลรักษา จัดหาผลประโยชน์ และดำเนินการอื่นใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ตามที่จะทรงมอบหมายทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้ทรงมอบหมายให้บุคคลใดหรือหน่วยงานใดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์นั้น ให้สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มีหน้าที่ดำเนินการตามวรรคหนึ่งเว้นแต่จะมีพระบรมราชวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น
มาตรา 8 ในสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์” ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการอื่น ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย และในจำนวนนี้จะได้ทรงแต่งตั้งกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์คนหนึ่งเป็นผู้อำนวยการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ
การพ้นจากตำแหน่งกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และผู้อำนวยการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
คณะกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มีอำนาจหน้าที่ดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ในการนี้ ให้มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารกิจการและการบริหารงานบุคคลของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์
ผู้อำนวยการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มีอำนาจหน้าที่บริหารกิจการสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปตามระเบียบของคณะกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์และที่คณะกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์กำหนด และเป็นผู้แทนของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก รายได้จากทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ให้สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์นำไปจ่ายหรือลงทุนได้ ทั้งนี้ ตามที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ส่วนที่เหลือจะจำหน่ายหรือใช้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย
มาตรา 9 ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์จะต้องเสียภาษีอากร หรือได้รับยกเว้นภาษีอากรย่อมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา 10 ให้ทรัพย์สินส่วนพระองค์ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นทรัพย์สินในพระองค์ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้บุคคล หน่วยงาน หรือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ใดตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงมีอำนาจจัดการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์นั้นตามที่ได้ทรงมอบหมายต่อไป จนกว่าจะมีพระบรมราชวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น
มาตรา 11 ให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 เป็นสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นคณะกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์และผู้อำนวยการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ แล้วแต่กรณีตามพระราชบัญญัตินี้
ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความผูกพัน และพนักงานและลูกจ้างของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 ที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาเป็นของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 12 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระราชโองการพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ให้เหมาะสมแก่การบริหารจัดการยิ่งขึ้น โดยถวายเป็นพระราชอำนาจในการจัดการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพื่อให้การใช้ประโยชน์ทรัพย์สินนั้นเป็นไปโดยเหมาะสมตามที่จะทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยตามโบราณราชประเพณี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561'] |
https://prachatai.com/print/79439 | 2018-11-04 02:33 | สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 29 ต.ค.-4 พ.ย. 2561 | กรมอุทยานฯ เตรียมให้ จนท.พิทักษ์ป่า 20,000 คนทั่วประเทศ เบิกโอทีวันละ 200 บาท/เล็งตั้งศูนย์วิจัยแรงงานแห่งชาติ บริหารจัดการข้อมูลครบวงจร/เตือนผีน้อย คิดเสี่ยงทำงานเมืองจีน ตม.จับเข้าเรือนจำ แก้ผ้าค้น อยู่รวมนักโทษ/พนง.เดนโซ เฮเลิกประท้วง บริษัทยอมจ่ายโบนัส 5.5 เดือน บวกเงินเพิ่มพิเศษอีก 6 พัน/ผลสำรวจคาดโบนัสปี 2561/62 เฉลี่ย 4 เดือน 'กลุ่มรถยนต์-โลจิสติกส์' สูงสุด 6-7 เดือน
กรมอุทยานฯ เตรียมให้ จนท.พิทักษ์ป่า 20,000 คนทั่วประเทศ เบิกโอทีวันละ 200 บาท
นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่าขณะนี้กรมอุทยานฯอยู่ระหว่างการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 และ พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 วัตถุประสงค์หลักคือ ต้องการให้เนื้อหาในกฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวทันสมัย เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องคนอยู่กับป่า รวมไปถึงเรื่องการให้สิทธิทำกินแก่ประชาชนที่ไม่ใช่กลุ่มนายทุน รวมไปถึงเรื่องระเบียบการเอาเงินรายได้อุทยานฯมาใช้เพื่อดูแลสวัสดิการของเจ้าหน้าที่เอง ซึ่งขณะนี้ พ.ร.บ.อุทยานฯผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกา รอรัฐบาลเสนอเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ส่วน พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ป่านั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
นายธัญญากล่าวว่า แต่ระหว่างที่รอกระบวนการขั้นตอนทางการพิจารณากฎหมายนั้น เวลานี้กรมอุทยานฯได้ใช้งบประมาณเพื่อการลาดตระเวน ของโครงการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ(smart patrol) สำหรับจัดสวัสดิการให้พนักงานพิทักษ์ป่าที่ทำหน้าที่ออกลาดตระเวนป่า ทั้งในส่วนของอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งเดิมทีเจ้าหน้าที่เหล่านี้จะได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 9,000 บาท ก็จะได้รับเป็นเงินล่วงเวลาเพิ่มขึ้นอีกชั่วโมงละ 50 บาท หรือวันละไม่เกิน 200 บาท โดยเวลานี้กรมอุทยานฯมีเจ้าหน้าที่ที่ออกปฏิบัติการลาดตระเวนป่า ทั้งส่วนอุทยานฯและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าประมาณ 20,000 คนทั่วประเทศ ซึ่งการจ่ายเงินค่าล่วงเวลาดังกล่าว แม้จะไม่ใช่เงินที่มากนัก แต่จะเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ที่เสียสละทำงานดูแลป่าด้วย
"อย่างเช่น หากใครมีหน้าที่ออกลาดตระเวนในป่าเป็นเวลา 3 วัน ก็จะได้รับเงินเพิ่มอีก 600 บาท เป็นต้น ซึ่งก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่กลุ่มนี้ไม่เคยได้รับเงินล่วงเวลามาก่อนเลย ครั้งนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรี ทส. โดยงบประมาณดังกล่าวนั้นก็มาจากเงินรายได้อุทยานฯที่เป็นไปตามการใช้เงินรายได้ในมาตรา 23 ที่สามารถนำเงินรายได้มาใช้สำหรับการลาดตระเวนป่า เพื่อคุ้มครองพื้นที่ป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าได้" อธิบดีกรมอุทยานฯ กล่าว
ที่มา: มติชนออนไลน์, 3/11/2561 [1]
เล็งตั้งศูนย์วิจัยแรงงานแห่งชาติ บริหารจัดการข้อมูลครบวงจร
นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากการนำผู้บริหารกระทรวงแรงงาน หารือกับ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณาจารย์ของจุฬาฯ เมื่อวันที่ 30 ต.ค. ที่ผ่านมา ในเรื่องความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์วิจัยแรงงานแห่งชาติ (National Labour Information Center : NLRC) และพัฒนาระบบ Big data ด้านแรงงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด (Disruptive technology) และปัญญาประดิษฐ์ (AI ) ที่ส่งผลต่อตลาดแรงงานในระบบนอกระบบ และผู้ประกอบการ
ทั้งนี้ ก.แรงงาน และ จุฬาฯ จะร่วมกันจัดตั้งคณะทำงานและกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์การดำเนินงาน อันนำไปสู่ศูนย์ที่สามารถบูรณาการและบริหารจัดการฐานข้อมูลด้านแรงงานของประเทศได้อย่างครบวงจร รวมถึงเป็นศูนย์กลางในการศึกษาวิจัยประเด็นด้านแรงงาน ยกระดับการพัฒนาฐานข้อมูลและใช้ประโยชน์จากงานวิจัยประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย รวมถึงเป็นฐานข้อมูลที่ทุกภาคส่วนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ สามารถวางแผนอนาคตในการพัฒนาแรงงานให้ก้าวทันและรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุค 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, 2/11/2561 [2]
เตือนผีน้อย คิดเสี่ยงทำงานเมืองจีน ตม.จับเข้าเรือนจำ แก้ผ้าค้น อยู่รวมนักโทษ
เรื่องราวเกี่ยวกับแรงงานไทยที่เดินทางไปแสวงหาโอกาส และหวังจะได้ทำงานในต่างแดน มีอยู่จำนวนมาก โดยระยะหลัง มีศัพท์เรียกคนกลุ่มนี้ว่า “ผีน้อย” มักมีข่าวคราวของกลุ่มผีน้อยที่เดินทางไปทำงานที่ประเทศเกาหลีใต้อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งระยะหลังหลายประเทศเข้มงวดการเดินทางเข้าประเทศของคนไทยเพิ่มขึ้นเนื่องจากการลักลอบเข้าไปทำงานด้วย
ล่าสุด พบว่า สมาชิกเฟซบุ๊ก Jiang Chuan ซึ่งได้ทำหน้าที่ล่ามให้กับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ของประเทศจีน ได้เล่าประสบการณ์หลังจากเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวคนไทย ที่เดินทางไปลักลอบทำงานในประเทศจีน แต่โดนจับกุม และต้องถูกส่งตัวเข้าเรือนจำ ซึ่งไม่ใช่ประสบการณ์ที่ดีอย่างแน่นอน
โดยโพสต์ดังกล่าวระบุว่า “วันนี้จะมาเล่าประสบการณ์ไปเป็นล่ามเมื่อวาน และฝากถึงคนที่จะไปเป็นผีน้อยหนีวีซ่าที่ประเทศจีนนครับ……เริ่มจากเมื่อวานช่วงบ่ายสองโมงกว่าๆ อยู่ก็มีเบอร์โทรศัพท์จากสถานีตำรวจโทรมาขอล่ามสองคนไปช่วยแปลให้ นี่ก็เลยช่วยน้องกิ๊กน้องคนไทยที่เรียนที่นี้ไปด้วยกัน
พอไปถึงเค้าก็มารับไปที่ห้องสอบสวน ก็เจอพี่ผู้หญิงคนไทยคนหนึ่งที่นั่งอยู่ในห้องกำลังรอการแปลจากเราอยู่ ซึ่งเรามีก็ได้สัมภาษณ์พี่ผู้หญิงคนไทยไปสามคนที่มาพร้อมๆกันในช่วงเดือนตุลาที่ผ่านมา ส่วนกิ๊กได้สัมภาษณ์พี่ผู้หญิงคนไทยสองคนซึ่งมาอยู่ที่นี่ก่อนหน้านั้นแล้วเดือนกว่าๆ
ตำรวจเริ่มจากการสอบถามว่า มาทำงานที่ฉางชุนได้ยังไง ใครเป็นคนติดต่อให้ ผ่านช่องทางไหน ซึ่งส่วนมากก็บอกว่าผ่านทางคนรู้จักที่เคยทำมาแล้วและแนะนำมาอีกที แต่ก็มีบางคนที่ติดต่อผ่านคนกลางและเสียค่านายหน้า ซึ่งทั้งหมดมีการติดต่อผ่านทางเฟสบุ๊คกันหมด และไม่มีใครเคยเห็นหน้าชื่อเสียงเรียงนามของคนที่เป็นคนติดต่อหางานให้เลยสักคน
ส่วนค่าจ้างแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน จะประมาณคนละ 5,000-7,000 หยวนต่อเดือนวันนึ่งทำงาน 10:00-19.00น บางคนก็มาแค่เดือนเดียวพอวีซ่าท่องเที่ยวหมดก็จะกลับ แต่บ้างคนมาสองเดือนพอวีซ่าหมดก็ออกไปปั๊มที่รัสเซียแล้วค่อยกลับมาใหม่
ส่วนการทำงานที่ร้านจะมีผู้จัดการเป็นคนอำนวยความสะดวกให้ทั้งที่อยู่อาหารการกินรวมทั้งเงินเดือน แต่ไม่มีใครเคยเห็นเจ้าของร้านเลย ตอนโดนจับก็เป็นผู้จัดการร้านที่โดนพาตัวมาด้วย
หลังจากสัมภาษณ์เสร็จทั้งห้าคนก็จะถูกขังไว้ที่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆคนละห้องประมาณตู้คาราโอเกะบ้านเรา สัมภาษณ์ตั้งแต่บ่ายสามโมงจนถึงสี่ทุ่มกว่า ทุกคนต่างกังวลจะโดนส่งกลับในวันนี้หรือป่าวและจะให้กลับไปเก็บของที่ห้องก่อนหรือป่าว ซึ่งตำรวจก็ยังไม่สามารถบอกได้เพราะเจ้าของร้านนวดยังไม่ปรากฏตัว
สุดท้ายประมาณห้าทุ่มเจ้าของร้านไม่มาเลยต้องพาทั้งห้าคนไปสถานที่สถานที่หนึ่ง ซึ่งมารู้ทีหลังหลังจากไปถึงแล้วว่ามันคือเรือนจำหญิงนั้นเอง ซึ่งเรือนจำนี่อยู่ห่างออกไปจากตัวเมืองพอสมควร ตอนแรกเราคิดว่าน่าจะเป็นประมาณคุกในโรงพักธรรมดาเหมือนบ้านเรา แต่พอไปถึงก็ต้องให้ทั้งห้าคนกรอกข้อมูลการส่งตัวต่างๆ
เสร็จแล้วก็ขึ้นไปบนเรือนจำ และมีการถอดเสื้อผ้าทั้งหมดตรวจร่างกาย และให้เปลี่ยนเสือผ้าเป็นชุดนักโทษ และให้ถือป้ายชื่อถ่ายรูปเหมือนที่เราเห็นในละคร หลังจากนั้นก็เป็นการแปลก่อนที่เราจะกลับ เกี่ยวกับการเป็นอยู่การใช้ชีวิตที่นี่ และทุกคนยังคิดมาตลอดว่าทุกคนจะคงอยู่ที่นี่ไม่นาน แต่สิ่งที่พอได้ยินจากปากตำรวจแล้ว ขนาดเราเป็นคนแปลเราก็ไม่อยากพูดประโยคนั้นออกไปเลย
คือ “พวกคุณจะต้องอยู่ที่เรือนจำนี้อย่างน้อย 30 แต่คุณก็ต้องทำใจเพราะมันอาจจะมากกว่านั้นได้ และคุณจะกลับบ้านได้ก็ต่อเมือมีคนซื้อตั๋วให้คุณกลับไทยเท่านั้น” คือถ้าเป็นเราก็คงช็อกและร้องไห้ไปแล้ว เพราะบ้างคนอีกไม่กี่วันก็จะได้กลับบ้านไปหาครอบครัว หาคนที่เรารักแล้ว แต่ต้องมาอยู่ที่นี่อีก 30 วัน แล้วเราไม่สามารถติดต่อและบอกกับที่บ้านได้เลย
และส่วนความเป็นอยู่ในเรือนจำนั้น คุณจะต้องเดินในเซ็นสีแดงที่เค้าขีดไว้ให้เท่านั้น ไฟจะเปิดตลอดเวลา แต่ห้ามเอาผ้าหรือสิ่งของมาปิดหน้าหรือปิดตาได้ ข้าวของเครื่องใช้ต้องเป็นญาติของผู้ต้องหาถึงจะซื้อให้ใช้ได้ แต่ทั้งห้าคนไม่มีคนรู้จักที่นี่เลย ต้องรอความหวังกับเจ้าของร้านเพียงอย่างเดียวซึ่งบ้างคนมีประจำเดือนก็ต้องรอ และสุดท้ายเจ้าหน้าที่เรือนจำก็ให้ทุกคนฝากข้อความถึงครอบครัว แต่ทุกคนจำเบอร์ที่บ้านไม่ได้ เราก็ไม่สามารถช่วยโทรบอกคนที่บ้านให้ได้
สุดท้ายทุกคนก็ต้องนอนที่เรือนจำนั้น โดยไม่รู้ว่าชะตากรรมข้างหน้าจะเป็นยังไง และไม่รู้ว่าจะได้กลับบ้านวันไหน หลังแปลจากเสร็จก็ต้องลาพวกพี่ๆทั้งห้าคนกลับ ทุกคนจากหน้ายิ้มแย้มต้อนสัมภาษณ์ตามสไตล์คนไทย กลับมีแต่หน้าเศร้า น้ำตาคลอ ซึ่งเราเป็นคนไทยเหมือนกันอยากช่วยแต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้เลย เพราะพี่เค้าจำเบอร์คนที่ไทยไม่ได้เลย พี่เค้าชื่ออะไรบ้างไอ้เราก็จำไม่ได้
ถ้าเพื่อนๆ คนไหนรู้จักหรือมีญาติที่มาทำงานนวดที่ฉางชุนฝากบอกด้วยนะครับว่าพี่เค้าทั้งห้าคนอยู่ในเรือนจำที่ฉางชุน ไม่รู้จะได้ออกเมื่อไหร่ (ซึ่งเราไปแอบถามตำรวจคนที่จับมาทีหลังว่าพวกพี่ๆเค้าอาจจะได้ออกเร็วกว่านั้นถ้าเจ้าของร้านนวดมาเสียค่าปรับและซื้อตัวให้กลับไทย) สิ่งที่จะพอให้ข้อมูลได้คือมีคนที่มาจากบุรีรัมย์ เลย เชียงใหม่
สิ่งที่อยากจะบอกทุกคนคืออย่าทำแบบนี้เลย มันไม่คุ่มหรอก ได้ไม่เท่าเสีย การโดนจับติดคุกที่เมืองนอกมันไม่โอเคเลย ภาษาไม่ได้ เวลาป่วยไข้หรือต้องการอะไรก็สื่อสารไม่ได้ ได้แต่ต่อความหวังจากคนที่แม้แต่เราก็ยังไม่เคยเห็นหน้าเลย ไม่รู้ว่าเป็นใคร ติดต่อใครไม่ได้ ไม่มีญาติหรือเพื่อนที่ช่วยเราได้เลย มันไม่โอเคเลยจริงๆ ฝากทุกคนไว้ด้วยนะครับ มาแบบถูกกฎหมายเถอะ ข้อร้อง”
ที่มา: ข่าวสด, 2/11/2561 [3]
พนง.เดนโซ เฮเลิกประท้วง บริษัทยอมจ่ายโบนัส 5.5 เดือน บวกเงินเพิ่มพิเศษอีก 6 พัน
วันที่ 31 ต.ค. 2561 จากกรณี พนักงานบริษัท ไทย โตโย เดนโซ จำกัด เลขที่ 232 หมู่ 1 ต.ลาดตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี กว่า 300 คน ผละงานรวมตัวประท้วงเรียกร้องขอเพิ่มเงินโบนัส หลังวันที่ 30 ต.ค.ที่ผ่านมา บริษัทประกาศจ่ายโบนัสประจำปี 2561 จำนวน 5.5 เดือน ทำให้กลุ่มลูกจ้างเกิดความไม่พอใจ เนื่องจากต้องการให้บริษัทจ่ายเงินบวกเพิ่มพิเศษอีก 6,000 บาท
ความคืบหน้าล่าสุด นายวัลลภ ประวัติวงศ์ นายอำเภอกบินทร์บุรี เปิดเผยผลการเจรจาระหว่างตัวแทนพนักงานกับฝ่ายบริษัท ว่า หลังจากลูกจ้างได้ส่งตัวแทนเข้าเจรจาต่อรองกับฝ่ายบริหารของบริษัท ผลการเจรจาได้ข้อยุติเป็นที่พอใจทั้ง 2 ฝ่าย ดังนี้ บริษัทยอมจ่ายโบนัส ประจำปี 2561 เป็นจำนวนเงิน 5.5 เท่าของค่าจ้างต่อเดือน บวกเงินเพิ่มพิเศษอีก 6,000 บาทตามที่พนักงานร้องขอ บริษัทจะไม่ลงโทษผู้ชุมนุมประท้วง ผู้มาทำงานวันนี้ที่ชุมนุมไม่ได้ทำงาน บริษัทจะพิจารณาเป็นวันทำงาน ขณะนี้พนักงานเลิกชุมนุมแยกย้ายกลับที่พักตามปกติแล้ว
ที่มา: ข่าวสด, 31/10/2561 [4]
ผลสำรวจคาดโบนัสปี 2561/62 เฉลี่ย 4 เดือน 'กลุ่มรถยนต์-โลจิสติกส์' สูงสุด 6-7 เดือน
เผยผลสำรวจค่าตอบแทนปี 2561/62 สูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น แนวโน้มการปรับขึ้นเงินเดือนเฉลี่ย 5.5-5.8% ลูกค้าในกลุ่มธุรกิจทรัพยากรและพาณิชยกรรม-บริการมีแนวโน้มปรับขึ้นมากสุด “กลุ่มรถยนต์-โลจิสติกส์” ครองแชมป์โบนัสตอบแทนมากสุด เผยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6 เดือน สมาคมพีแมทพบข้อมูลสะท้อนความล้มเหลวของภาคการศึกษาในการผลิตคนคุณภาพ แนะนายจ้างต้องให้ความสำคัญในการเพิ่มทักษะคนมากกว่าหาจ้างคนใหม่
สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) เผยผลสำรวจแนวโน้มการปรับค่าตอบแทนในการบริหารทรัพยากรบุคคลในประเทศไทย ปี 2561/2562 จากการสุ่มสำรวจเก็บข้อมูล 182 บริษัทในกลุ่มธุรกิจที่หลากหลาย ประกอบด้วย เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค การเงินและการลงทุน สินค้าอุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ทรัพยากร พาณิชยกรรมและบริการ เทคโนโลยี ยานยนต์ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ เพื่อให้องค์กรมีข้อมูลตลาดที่จะช่วยให้การบริหารค่าตอบแทนเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ
นายบวรนันท์ ทองกัลยา นายกสมาคม PMAT เปิดเผยว่าปัจจัยจากภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นซึ่งพิจารณาจากอัตราการเติบโตของจีดีพีในปี 2561 ต่อเนื่องไปถึงการคาดการณ์ในปี 2562 ที่มีอัตราสูงขึ้น อีกทั้งอัตราการว่างงานมีความคงที่ ส่งผลให้แนวโน้มการแข่งขันในการว่าจ้างพนักงานสูงขึ้น และอัตราค่าจ้างจะสูงขึ้นเร็วกว่าที่ผ่านมา ปัจจัยนี้ยังส่งผลให้แนวโน้มการขึ้นเงินเดือนสูงขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจด้วย โดยเฉลี่ยจะประมาณ 5.5-5.8 % โดยกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มในการขึ้นเงินเดือนมากที่สุดคือ กลุ่มทรัพยากรและกลุ่มพาณิชยกรรม-บริการ โดยมีแนวโน้มการขึ้นเงินเดือนในปี 2562 อยู่ที่ 6% และ 5.5% ตามลำดับ
ทั้งยังพบว่าแนวโน้มที่ผู้บริหารจะให้ผลตอบแทนในรูปแบบเงินโบนัสระยะสั้นจะเพิ่มขึ้นด้วย คาดการณ์อัตราการจ่ายโบนัสเฉลี่ยของทุกกลุ่มธุรกิจอยู่ที่ 4.01 เดือน โดยปี 2562 โบนัสกลุ่มธุรกิจยานยนต์สูงสุด 6.04 เดือน ตามมาด้วยกลุ่มทรัพยากร 5.06 เดือน กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 4.11 เดือนและกลุ่มอสังหาฯ โบนัสเฉลี่ย 3.76 เดือน ผลสำรวจดังกล่าวต่างจากปี 2560 กลุ่มธุรกิจที่ปรับขึ้นเงินเดือนสูงสุดคือ กลุ่มอสังหาฯ 5.91% กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค 5.85% ส่วนกลุ่มธุรกิจที่ได้โบนัสรวมสูงสุดยังคงเป็นกลุ่มรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์เฉลี่ย 7 เดือน แม้แนวโน้มปี 2562 จะลดลงเหลือประมาณ 6 เดือนแต่ก็ถือว่าใกล้เคียง สะท้อนสภาพเศรษฐกิจและการลงทุนที่ปีนี้ด้านอสังหาฯ ค่อนข้างทรงตัว
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, 30/10/2561 [5]
บุกจับ 23 แรงงานต่างด้าวคาไซต์งานบนเกาะสมุย พบปลอมแปลงเอกสาร-หลบหนีเข้าเมือง
28 ต.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจาก พ.ต.อ.วัชนะ บวรบุญ ผกก.ตม.จว.สุราษฎร์ธานี โดยได้รับรายงานจาก ร.ต.อ.เทอดศักดิ์ ธวัชร์วรกุล รอง สว.ตม.จว.สุราษฎร์ธานี ว่า ได้สนธิกำลังร่วมกับ พ.ต.อ.ธงชนะ หาญกิตติกาญจนา ผกก.สภ.กะปาง ภ.จว.นครศรีธรรมราช รรท.ผกก.สภ.บ่อผุด อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี พ.ต.ต.ปริญญา รักษาแก้ว สวป.สภ.บ่อผุด ร.ท.อดุลย์ พรหมบุตร หน.ชป.กกล.รส.มทบ.45 พื้นที่เกาะสมุย ได้ร่วมกันนำกำลังเจ้าหน้าที่เข้าทำการควบคุมไซต์งานก่อสร้างที่กำลังก่อสร้างโรงแรมหรูแห่งหนึ่งในพื้นที่หมู่ 4 ต.บ่อผุด อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
โดยพบว่ามีแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ทั้งหญิงและชาย จำนวน 23 คน สวมใส่เสื้อสีแดง และสีน้ำเงินกำลังทำงานก่อสร้าง โดยมี นายสันติ ผาชัน อายุ 37 ปี ภูมิลำเนา จ.สกลนคร เป็นหัวหน้าควบคุมคนงาน เจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหารได้กระจายกำลังเข้าทำการตรวจสอบเอกสารของแรงงานต่างด้าว พบว่า แรงงานทั้งหมดมีการปลอมแปลงเอกสารในการทำงาน และในแรงงาน จำนวน 7 คน ลักลอบหลบหนีเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต
จากการสอบถาม นายสันติ ผาชัน หัวหน้าควบคุมคนงานให้การรับสารภาพว่า เป็นผู้ควบคุมดูแลคนงานทั้งหมด ทางเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมจึงได้แจ้งข้อกล่าวหา นายสันติ ในข้อกล่าวหาให้ที่พักพิงปิดบังซ่อนเร้นแก่บุคคลต่างด้าว ซึ่งรู้ว่าเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายให้รอดพ้นจากการจับกุม และแจ้งข้อกล่าวหา 23 แรงงานต่างด้าว ลักลอบทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต นำตัวส่งพนักงานสอบสวน สภ.บ่อผุด ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจับกุมในครั้งนี้เป็นการบูรณาการร่วม ตามนโยบายของ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. และ พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล รรท.สตม. ตามนโยบายมาตรการการปฏิบัติการ x ray out law foriegner
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, 28/10/2561 [6]
| ['ข่าว', 'เศรษฐกิจ', 'สังคม', 'แรงงาน', 'คุณภาพชีวิต', 'สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์'] |
https://prachatai.com/print/79441 | 2018-11-04 13:08 | ภาคประชาชนขอให้ยุติการดำเนินคดีชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน | องค์กรภาคประชาชน ออกแถลงการณ์ร่วมขอให้ยุติการดำเนินคดีชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน ทั้งทางแพ่งทางอาญา หลังศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและให้รัฐจ่ายเงินชดเชย กรณีเจ้าหน้าที่เผาบ้านปู่คออี้และชุมชนกะเหรี่ยง
4 พ.ย. 2561 องค์กรภาคประชาชน 16 องค์กร นำโดยเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) ออกแถลงการณ์ร่วมขอให้ยุติการดำเนินคดีชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน ทั้งทางแพ่งทางอาญา หลังศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและให้รัฐจ่ายเงินชดเชย กรณีเจ้าหน้าที่เผาบ้านปู่คออี้และชุมชนกะเหรี่ยง
แถลงการณ์ระบุว่าเมื่อวันที่ 25-31 ต.ค. 2561 มีสื่อมวลชนบางสำนักได้เผยแพร่ข่าวอย่างต่อเนื่องในทำนองว่า อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจฯ กรมอุทธยานฯ เข้าพบพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรแก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้สืบสวน สอบสวน ดำเนินคดีกับชาวกะเหรี่ยง คือทายาทของนายโคอิ มีมิ หรือปู่คออี้กับพวกรวม 6 คน ในข้อหายึดถือหรือครอบครองที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ คือบริเวณบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน ซึ่งถูกประกาศทับโดยเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
เรื่องนี้นี้สืบเนื่องมาจากกรณีที่ในปี 2555 ปู่คออี้ และชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน รวม 6 คน ในฐานะผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ส. 58/2555 ซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม สิทธิชุมชนและสิทธิของชนพื้นเมืองที่ ได้รับความสนใจจากสาธารณะชนในช่วงเกือบ 10 ปีมานี้ โดยผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 คน กล่าวหาว่า เมื่อปี 2554 ในการปฏิบัติการยุทธการตะนาวศรี เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานกลุ่มหนึ่ง ได้ใช้กำลังบังคับให้พวกตนต้องโยกย้ายออกจากที่ดินและชุมชนบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน อันเป็นถิ่นกำเนิด ที่ทำกินและอยู่อาศัยมาหลายชั่วอายุคน ทั้งได้เผาทำลายบ้านเรือน ยุ้งฉาง เรือกสวนไร่นาของพวกตนและประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงคนอื่นๆอีกหลายสิบคนจนเสียหาย โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าบ้านเรือน เรือกสวนไร่นา ดังกล่าวตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ในท้ายที่สุดหลังจากต่อสู้คดีมาเกือบ 10 ปี ศาลปกครองสูงสุดก็ได้มีคำพิพากษาอันเป็นที่สุด เป็นคดีหมายเลขแดงที่ อส. 4/2561 เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2561 ว่า บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน แม้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานก็ถือเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธ์กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่โดยการรื้อถอน เผาทำลายสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินของชาวกะเหรี่ยง และไม่ปฏิบัติตาม มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2553 เรื่องแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ในส่วนการจัดการทรัพยากรที่ให้ยุติการจับกุมและให้ความคุ้มครองกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดทางปกครอง จึงต้องเยียวยาปู่คออี้และผู้ฟ้องคดีอีก 5 คน เป็นเงินเฉลี่ยแล้วคนละประมาณ 50,000 บาท (อ่านคำพิพากษาฉบับเต็มได้ที่นี่ https://bit.ly/2BVT01U [1]) [1] อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ครั้งนั้น มีบ้านที่ถูกเผาทำลายเกือบ 100 หลังที่ชาวกะเหรี่ยงเจ้าของบ้านยังไม่ได้ฟ้องหน่วยราชการเป็นคดีต่อศาลปกครองเพื่อให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชอบ
หลังจากมีคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด แทนที่หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ จะดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูเยียวยาและให้ความคุ้มครองแก่ชาวกะเหรียงบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งการฟื้นฟูเยียวยานั้น ควรรวมถึงการให้ชาวกะเหรี่ยงกลุ่มดังกล่าวได้รับสิทธิคืนมา โดยสามารถกลับเข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินได้ดังเดิม เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตตามขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นและวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยง ตามหลักสิทธิชุมชนและสิทธิมนุษยชน แต่กลับปรากฎว่ามีเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ บางคนได้อ้างคำสั่งอธิบดีฯ เพื่อแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สภ. แก่งกระจาน ให้สืบสวนสอบสวน ว่าปู่คออี้และผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 นั้น ได้กระทำผิดฐานบุกรุกครอบครองพื้นที่ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่เจ้าหน้าที่จะบังคับโยกย้ายปู่คออี้และชาวกะเหรี่ยงออกจากพื้นที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน และเผาทำลายเผาบ้านเรือนของพวกเขาในปี 2554
การที่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่ากลุ่มชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน เป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม นั่นก็หมายความว่าชุมชนจะได้รับความคุ้มครองว่ามีสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ และยังได้รับความคุ้มครองตามมติครม.เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2553 ว่าด้วยการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงฯ และยังพิพากษาว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่ได้เผาทำลายบ้านเรือน ยุ้งฉาง เรือกสวน ไร่นาของชาวกะเหรี่ยงในโครงการขยายผลการอพยพผลักดันหรือจับกุมชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานตามแนวชายแดนไทย – สหภาพเมียนมาร์ บริเวณพื้นที่บ้านบางกลอยและใจแผ่นดิน ในปี 2554 ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย นั่นแสดงว่า การอยู่และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินโดยปู่โคอี้และลูกหลานชาวกะเหรี่ยงเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญและเป็นไปตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2553 จึงไม่ได้เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ จะนำมาฟ้องคดีทั้งในทางแพ่งและอาญาต่อปู่คออี้และชาวกะเหรี่ยงได้ เพราะชาวกะเหรี่ยงอยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวโดยชอบธรรมตามสิทธิที่ได้รับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญ
เรื่องราวของชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้นอีก เมื่อนายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ ซึ่งมีฐานะเป็นหลานของปู่คออี้ และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบ้านบางกลอย-ใจแผ่นดิน ได้หายตัวไปเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2557 หลังถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2NoXyjd [2])[2]
ความพยายามของเจ้าหน้าที่บางคนของกรมอุทยานแห่งชาติฯ ที่พยายามผลักดันให้กรมอุทยานฯ แจ้งความดำเนินคดีปู่คออี้และชาวกะเหรี่ยงผู้ฟ้องคดีศาลปกครองอีก 5 คน ข้างต้น โดยอ้างเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสิบปีก่อนมากล่าวหาอีกนั้น องค์กรสิทธิมนุษยชนเห็นว่า นอกจากแสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าว ไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดแล้ว ยังอาจมีลักษณะเป็นการกลั่นแกล้ง ข่มขู่ คุกคาม ไม่ให้ชาวกะเหรี่ยงอีกหลายสิบคนที่บ้านเรือนของตนถูกเผาทำลายโดยเจ้าหน้าที่ในคราวเดียวกันนั้น ออกมาเรียกร้องสิทธิและขอความเป็นธรรมเช่นเดียวกับปู่คออี้ ซึ่งถือว่าเป็นการขัดขวางการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชนอีกด้วย
องค์กรสิทธิมนุษยชน จึงขอตั้งคำถามถึงความสุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าว เนื่องจากชุมชนกะเหรี่ยงดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญของไทย และตามหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ที่ให้ความสำคัญเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยมาแต่ดั้งเดิมในพื้นที่ป่าและได้เรียกร้องให้รัฐไทยทบทวนกฎหมายป่าไม้ที่เกี่ยวข้องเพื่อประกันให้มีการเคารพต่อสิทธิในวิถีชีวิต การดำรงชีพ และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ [3]
จากกรณีและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น องค์กรสิทธิมนุษยชน จึงข้อเรียกร้องรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1. ขอให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดอย่างเคร่งครัด 2. ขอให้ทางราชการยุติความพยายามในการดำเนินคดีต่อปู่คออี้และชาวกะเหรี่ยงผู้ฟ้องคดีศาลปกครองอีก 5 คน และชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินคนอื่นๆ ทั้งทางแพ่งและทางอาญาโดยทันที 3. ขอให้กรมอุทยานฯ ชดใช้ค่าเสียหายแก่ชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินที่บ้านเรือนยุ้งฉาง เรือกสวน ไร่นา ถูกเผาทำลายในยุทธการตะนาวศรีเมื่อสิบปีก่อน ตามแนวของคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในคดีปกครองหมายเลขแดงที่ อส. 4/2561 ดังกล่าวข้างต้นด้วย
4. ขอให้รัฐบาลและกรมอุทยานฯ ให้ความคุ้มครองและฟื้นฟูเยียวยาชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน ด้วยการคืนสิทธิชุมชน ให้พวกเขาสามารถกลับเข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน เพื่อใช้ชีวิตตามวิถีของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมได้ดังเดิมต่อไป โดยปฏิบัติตาม มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 เรื่องแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงฯ โดยเคร่งครัด และ 5. ขอให้กรมอุทยานฯ เจ้าหน้าที่รัฐ และรัฐบาล ยกเลิกกฎ ระเบียบ มาตการ และการกระทำอันเป็นการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติต่อชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน และกลุ่มชาติพันธุ์ชนพื้นเมืองอื่นๆ ตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบและหลักการสิทธิมนุษยชนโดยเคร่งครัด
โดยรายชื่อองค์กรในแถลงการณ์ดีดังนี้ 1. เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) 2. ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3. ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4. กลุ่มรักษ์บ้านเกิด ตำบลน้ำปลีก อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ 5. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน 6. กปอพช ศูนย์เผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา 7. ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง (ศปส.) 8. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม 9. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน 10. สมาพันธุ์เพื่อช่วยเหลือชาวมอญ 11. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน 12. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม 13. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (ศพช.) 14. มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา 15. เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี 16. สมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน
และรายชื่อบุคคล 1. งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 2. มาลี สิทธิเกรียงไกร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 4. ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์
______[1] ข้อมูลจากสมาคมนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน[2] ข้อมูลจากสมาคมนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน[3] ข้อ 16 ในเอกสาร CERD/C/THA/CO/1-3 ข้อสังเกตเชิงสรุปของคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ เผยแพร่วันที่ 31 ส.ค. 2555
| ['ข่าว', 'สังคม', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'ชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน', 'เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย', 'แก่งกระจาน'] |
https://prachatai.com/print/79447 | 2018-11-04 16:03 | หมายเหตุประเพทไทย #234 ความโป๊ในการ์ตูนจากมังหงะถึงแบทแมน |
เริ่มจากความโป๊ในการ์ตูนมังหงะในประเภทเฮนไต ภาพวาด The Dream of the Fisherman's Wife ผลงานในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ของ Katsushika Hokusai ไปจนถึงประเด็นในโลกการ์ตูน DC Comics อย่าง Batman: Damned ที่มีฉากหนึ่งเปิดเผยร่างเงาของอวัยวะเพศแบทแมน ทำให้เกิดคำถามว่าทำไมการมองเห็นอวัยวะหรือรูปร่างทางเพศในการ์ตูนจึงถูกทำให้เป็นปัญหา แล้วการพยายามเซ็นเซอร์เกินไป จะนำไปสู่วิธีการสร้างภาพความโป๊ใหม่ๆ ในการ์ตูนอย่างไร ทั้งหมดนี้ติตตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย 'ความโป๊ในการ์ตูนจากมังหงะถึงแบทแมน' ชานันท์ ยอดหงษ์ พูดคุยกับกฤดิกร วงศ์สว่างพานิช
ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่เฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/maihetpraphetthai [1]YouTube เพลยลิสต์ หมายเหตุประเพทไทย [2]หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai [3]
| ['ข่าว', 'สังคม', 'วัฒนธรรม', 'มังหงะ', 'DC Comics', 'การ์ตูน', 'Batman: Damned', 'หมายเหตุประเพทไทย', 'กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช', 'ชานันท์ ยอดหงษ์', 'มัลติมีเดีย', 'Katsushika Hokusai', 'การเซ็นเซอร์'] |
https://prachatai.com/print/79442 | 2018-11-04 13:20 | เตือนประชาชนอย่าก๊งเหล้าแก้หนาว ไม่ได้ทำให้อบอุ่นแต่อาจถึงขั้นเสียชีวิต | สพฉ.เตือนประชาชนอย่าก๊งเหล้าแก้หนาว ระบุไม่ได้ทำให้ร่างกายอบอุ่นแต่จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ แนะประชาชนที่มีโรคประจำตัวอาทิ โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง และโรมอัมพฤกษ์อัมพาต เตรียมยาให้พร้อม ดูแลสุขภาพและรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่ตลอดเวลา
4 พ.ย. 2561 สืบเนื่องจากหลายพื้นที่ในประเทศไทยเริ่มเข้าสู่อากาศหนาวอย่างเป็นทางการแล้ว สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จึงได้ออกวิธีปฏิบัติตนสำหรับประชาชนในการรับมือกับอากาศหนาว โดยเรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าวว่าประชาชนที่ต้องดูแลตนเองเป็นพิเศษคือประชาชนที่อยู่ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคอัมพฤกษ์อัมพาตซึ่งอากาศที่หนาวเย็นมากๆ จะทำให้ผู้ป่วยด้วย 3 โรคดังกล่าวได้รับผลกระทบ เพราะความหนาวเย็นจะส่งผลให้ประสาทส่วนกลางทำงานผิดปรกติ และทำให้อัตราการเต้นของหัวใจผิดปรกติด้วย เมื่ออากาศหนาวเย็นมากๆ ร่างกายจะต้องการออกซิเจนมากขึ้นจนส่งผลต่อความดันโลหิตของผู้ป่วยในกลุ่มโรคอาการดังกล่าว ดังนั้นผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องเตรียมยาประจำตัวให้พร้อม และดูแลสุขภาพตนเอง รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่ตลอดเวลา
เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินกล่าวว่านอกจากนี้ยังมีโรคที่มักจะเกิดขึ้นในหน้าหนาวบ่อยมากที่สุดคือโรคปอดบวมโดยกลุ่มประชาชนที่ต้องดูแลตนเองเป็นพิเศษไม่ให้ป่วยเป็นโรคดังกล่าวเพราะจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายคือกลุ่ม ผู้สูงอายุ กลุ่มเด็กอายุ 6 เดือนจนถึง 2 ขวบ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังอาทิโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ป่วยไตวาย ผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังให้เคมีบำบัด หากผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวนี้มีอาการไข้ไอเจ็บคอมีน้ำมูกและมีอาการหอบเหนื่อยให้รีบพบแพทย์ทันทีเพราะอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ามีอาการปอดบวมที่จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้
เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะกล่าวเพิ่มเติมว่า ยังมีประเด็นที่เราเตือนกันทุกๆปีเมื่อเข้าสู่หน้าหนาวคือห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อแก้ความหนาวเย็นเด็ดขาด เพราะมีประชาชนจำนวนมากที่ยังมีความเชื่อว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นจะทำให้ร่างกายอบอุ่นและแก้อากาศหนาวเย็นได้ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดอย่างมาก เพราะในความเป็นจริงแล้วการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นจะเป็นตัวเร่งให้ร่างกายสูญเสียความร้อน ที่สำคัญแอลกอฮอล์จะทำให้หลอดเลือดฝอยที่อยู่ใต้ผิวหนังเกิดการขยายตัว ผู้ดื่มจะรู้สึกว่าตัวร้อนขึ้นทำให้เข้าใจผิดว่าร่างกายของตัวเองอบอุ่นแต่ในความเป็นจริงคือ เส้นเลือดฝอยกำลังขยายตัวอย่างหนักนั่นเองและจะเป็นช่องทางให้ความร้อนในร่างกายถูกระบายออกได้ง่ายขึ้น เมื่อเราดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้นเท่าไหร่ความร้อนก็จะถูกระบายออกจากร่างกายมากขึ้นไปด้วย และจะทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำลงกว่าปกติ เมื่อเราหลับและร่างกายสัมผัสอากาศเย็นเป็นเวลานานจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้
“และสำหรับขั้นตอนการดูแลตนเองของประชาชนในช่วงที่อากาศหนาวเย็นนี้ ประชาชนควรดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง เตรียมเสื้อกันหนาวมาสวมใส่เพื่อให้ความอบอุ่นกับร่างกาย ทั้งนี้หากเป็นหวัด ถ้าจะออกนอกบ้านให้สวมผ้าปิดปากป้องกันการติดเชื้อสู่คนรอบข้าง และหากร่างกายเปียกน้ำให้รีบเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า เพื่อป้องกันภาวะปอดบวมด้วย” เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินกล่าว
| ['ข่าว', 'สังคม', 'คุณภาพชีวิต', 'สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ', 'สพฉ.', 'สุขภาพ'] |
https://prachatai.com/print/79444 | 2018-11-04 14:17 | ยาต้านไวรัสเอดส์องค์การเภสัชกรรม ได้รับรองมาตรฐานจาก WHO รายแรกของไทยและอาเซียน | ยาต้านไวรัสเอดส์ Efavirenz Tablets 600 mg ขององค์การเภสัชกรรมไทย ถูกบรรจุในบัญชีรายชื่อขององค์การอนามัยโลก (WHO) แล้ว เป็นรายการแรกของไทยและอาเซียน ส่งผลให้ผู้ป่วยเอดส์ได้เข้าถึงยาคุณภาพระดับสากลและเตรียมขยายการตลาดในต่างประเทศ
ที่มาภาพ: ผู้จัดการออนไลน์ [1]
เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2561 ที่ผ่านมา เว็บไซต์องค์การเภสัชกรรม [2] รายงานว่าที่โรงงานผลิตยารังสิต 1 คลองสิบ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี นายแพทย์โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่าผลิตภัณฑ์ยาต้านไวรัสเอดส์ ที่ได้รับการรับรอง เป็น ยา Efavirenz Tablets 600 mg ขององค์การเภสัชกรรม ซึ่งผลิตที่โรงงานผลิตยารังสิต 1 คลอง 10 อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ยาดังกล่าวนับเป็นยารายการแรกของประเทศไทย และเป็นประเทศเดียวในกลุ่มประเทศสมาชิกเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่ได้รับรองมาตรฐานสากล WHO Prequalification Program (WHO PQ) จากองค์การอนามัยโลก (WHO) กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดย WHO ได้ขึ้นบัญชีรายการยา Efavirenz Tablets 600 mg ขององค์การเภสัชกรรม ไว้ใน WHO Prequalified List ซึ่งแสดงอยู่บนเวบไซต์ของ WHO เพื่อให้หน่วยงานหรือองค์กรสาธารณสุขนานาชาติ จัดซื้อยาจากผู้ผลิตที่ได้ผ่านกระบวนการตรวจรับรองที่เข้มงวดนี้แล้วเท่านั้น อาทิ กองทุนโลก (Global Fund) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ที่ทาหน้าที่ในการจัดซื้อจัดหายาให้กับประเทศสมาชิกที่ต้องการยา หรือประเทศที่ด้อยโอกาสต่อการเข้าถึงยา ซึ่งการได้รับการรับรองครั้งนี้ เป็นการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาและมาตรฐานการผลิตเป็นระดับสากลที่ทั่วโลกยอมรับ เป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นในคุณภาพ ประสิทธิผล และความปลอดภัยต่อผลิตภัณฑ์ยาของ องค์การฯ ให้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น ทั้งตลาดยาภายในประเทศและต่างประเทศ
ประธานกรรมการองค์การฯ กล่าวต่อไปว่า ยาต้านไวรัสเอดส์ Efavirenz Tablets 600 mg เป็นยาที่ผู้ป่วยเอดส์มีความจาเป็นต้องใช้ เนื่องจากเป็นยาต้านไวรัสที่แนะนาให้เป็นสูตรแรก (first line regimen) ตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อที่ใช้ยานี้ประมาณ 80,000 ราย ยาต้านไวรัสเอดส์ Efavirenz จะช่วยลดปริมาณเชื้อเอชไอวีในร่างกายและทาให้ระบบภูมิคุ้มกันทางานได้ดีขึ้น รวมทั้งลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวี เช่น การติดเชื้อของโรคฉวยโอกาสซึ่งเสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรค การติดเชื้อที่นาไปสู่การเป็นมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีให้ดีขึ้น นอกจากจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยในประเทศไทยให้เข้าถึงยาคุณภาพได้แล้ว ยังเป็นการเพิ่มโอกาสการช่วยเหลือผู้ป่วยในภูมิภาคอาเซียน หรือประเทศอื่นๆอีกกว่า 20 ประเทศทั่วโลกที่เข้าร่วมโครงการ WHO Collaborative Registration Procedure ซึ่งเป็นความร่วมมือของ WHO กับ หน่วยงานกากับดูแลผลิตภัณฑ์ยาแต่ละประเทศ ส่งผลให้องค์การฯ สามารถขึ้นทะเบียนตารับยา Efavirenz ไปยังประเทศเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนตารับยาไปยังประเทศฟิลิปปินส์ คาดว่าจะมีมูลค่าการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นราว 50 ล้านบาท
ด้าน ดร.ภญ.มุกดาวรรณ ประกอบไวทยกิจ รองผู้อานวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่าหลังจากโรงงานผลิตรังสิต 1 ได้เริ่มเปิดสายการผลิตในปี 2558 และได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP PIC/s จากสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) องค์การฯได้เดินหน้าตามแผนการขอรับรอง WHO PQ WHO PQWHO PQ โดยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) Technology Transfer) Technology Transfer) Technology Transfer) Technology Transfer) Technology Transfer) Technology Transfer) และองค์ความรู้ในการผลิตยา Efavirenz จากบริษัท Mylan Laboratories Limited ประเทศอินเดีย ผู้ผลิตยาชั้นนาของโลก และนาผลิตภัณฑ์ยาของ องค์การฯไปศึกษาชีวสมมูลเปรียบเทียบกับยาต้นแบบชื่อ SUSTIVA® ของบริษัท Bristol Myers Squibb ประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วเข้าสู่กระบวนการจัดเตรียมเอกสารทะเบียนตารับตามข้อกาหนดของ WHO องค์การฯได้ผ่านกระบวนการตรวจรับรองอย่างเข้มงวด ทั้งด้านข้อมูลทะเบียนตารับยาและการตรวจประเมินสถานที่ผลิตยา ณ โรงงานผลิตยารังสิต 1 จากเจ้าหน้าที่ WHO มีการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของอย่างต่อเนื่อง ในที่สุด องค์การฯก็ได้รับการขึ้นบัญชีรายการยาต้านไวรัสเอดส์ Efavirenz Tablets 600 mg จาก WHO Prequalification Program (WHO PQ) เมื่อเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา นับเป็นความสาเร็จอีกก้าวหนึ่งที่สาคัญขององค์การฯ ตามนโยบายการสร้างหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานบริการด้านยาในระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศ และตามแผนพัฒนาศักยภาพที่ยั่งยืนในประเทศไทยเรื่อง WHO Pre-qualification Scheme ของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อได้การรับรองแล้ว องค์การฯจะรักษามาตรฐานนี้ต่อไป ซึ่ง WHO จะมีการตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การรับรองนี้คงอยู่ในรายการยาของ WHO และเพื่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง องค์การฯยินดีให้หน่วยงาน บริษัทผู้ผลิตยา และสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ใช้เป็นแหล่งศึกษาดูงานเพื่อเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตยาของไทยและประเทศต่างๆด้วย
เนื่องจากการเข้าร่วมโครงการ WHO Prequalification Program (WHO PQ) เป็นการดาเนินงานให้สอดคล้องกับมาตรฐาน WHO PQ จึงส่งผลให้กระบวนการผลิต การวิเคราะห์ การประกันคุณภาพ ของโรงงานผลิตยารังสิต 1 อีกกว่า 23 รายการ เป็นการผลิตยาตามมาตรฐานทั้ง WHO PQ และ GMP PIC/s ภายหลังจากนี้ องค์การฯยังมีแผนดาเนินการเพื่อประเมินและคัดเลือกรายการยาเพิ่มเติม สาหรับยื่นขอการรับรอง WHO PQ ในกลุ่มยาต้านไวรัสเอดส์ ยารักษาวัณโรค หรือ ยารักษามาลาเรีย ที่ WHO กาหนดต่อไป
“องค์การเภสัชกรรมจะไม่หยุดยั้งในการคิดค้น วิจัย และพัฒนา ตัวยาใหม่ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงยาคุณภาพได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม และจะเป็นหนึ่งในกาลังสาคัญที่จะช่วยดูแลผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น และสามารถพึ่งพาตัวเองได้”
รองประธานเอฟทีเอ ว็อทช์ ระบุบทเรียน 4 เรื่อง
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล รองประธานเอฟทีเอ ว็อทช์ ได้ระบุใน เฟสบุ๊คส่วนตัว [3] เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2561 ระบุว่าต่อกรณีนี้ได้บทเรียน 4 เรื่องคือ 1. ประเทศจะพึ่งตัวเองได้ด้านยาจำเป็นต้องมีศักยภาพการผลิตยาในประเทศได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในระดับโลกมาอย่างยาวนานว่า เมื่ออินเดียมีศักยภาพการผลิตจนเป็นร้านยาของโลก เหตุใดแต่ละประเทศโดยเฉพาะประเทศที่ไม่ใหญ่มากไม่มี economy of scale เหตุใดจึงยังจำเป็นต้องผลิตยาแทนที่จะไปซื้อยาเอาจากอินเดียซึ่งง่ายกว่า อย่างไรก็ตาม หลังจากที่อินเดียแก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตรให้เป็นไปตามองค์การการค้าโลก (ซึ่งช้ากว่าประเทศไทยถึง 13 ปี อินเดียได้ใช้ช่วงเวลาดังกล่าวในการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญ จนสามารถผลิตยาชื่อสามัญใหม่ๆและมีศักยภาพในการผลิตวัตถุทางยา) ปัจจุบันนี้ บริษัทยายักษ์ใหญ่มักจะไปทำความตกลงกับบริษัทยาอินเดียเพื่อให้ผลิตยาบางรายการ แล้วเลือกที่จะขายให้บางประเทศและไม่ขายให้กับบางประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีศักยภาพการผลิตและมีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง เพื่อบังคับให้ซื้อยาดังกล่าวในราคาที่แพง ทั้งที่บางครั้งยาเหล่านี้ อาจไม่สมควรได้รับสิทธิบัตรหรือสิทธิ์ผูกขาด ทำให้การถกเถียงในเรื่องการพึ่งตัวเองได้ด้านยา จึงกลับมาที่การส่งเสริมให้แต่ละประเทศสามารถผลิตยาชื่อสามัญเองได้
2.การได้มาตรฐานองค์การอนามัยโลกหรือ WHO Pre-qualification ครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จและเป็นตัวอย่างของการถ่ายทอดเทคโนโลยี จากบริษัทยาสู่ประเทศกำลังพัฒนา กรณีแรกๆของโลก ทั้งๆ ที่การถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) เป็นหัวใจสำคัญหนึ่งของการสร้างระบบทรัพย์สินทางปัญญา แต่จะพบว่า นับตั้งแต่มีระบบทรัพย์สินทางปัญญาเกิดขึ้น การถ่ายทอดเทคโนโลยีเกิดขึ้นไม่มากนัก และยิ่งในช่วงหลัง เมื่อบริษัทยายักษ์ใหญ่พยายามที่จะผลักดันระบบทรัพย์สินทางปัญญาให้คุ้มครองอย่างเข้มงวดมากขึ้น ผูกขาดยาวนานเกินเลยกว่านวัตกรรม ก็ยิ่งทำให้การถ่ายทอดเทคโนโลยีแทบไม่เกิดขึ้นเลย แต่จากการที่ประเทศไทยยืนยันใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ์เพื่อผลิตยาหรือนำเข้ายาชื่อสามัญ หรือที่เรียกว่า CL (Compulsory Licensing) ซึ่งมาตรการดังกล่าวถูกต้องทั้งกฎหมายไทย และเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ จึงทำให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัท Mylan ของอินเดียมายังองค์การเภสัชกรรม ซึ่งต้องชื่นชมผู้บริหารและบอร์ดขององค์การเภสัชกรรม รวมทั้งผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขทุกยุค ที่ยืนยันให้มีการผลิตเองแทนที่จะซื้อยาตลอดไป (จากประเด็นนี้ ต่อเนื่องไปประเด็นที่ 3)
3. การพึ่งตัวเองได้ด้านยา ถือว่าสอดคล้องกับนโยบายการสร้างนวัตกรรมไทยแลนด์ 4.0 งานวิจัยของคณะเศรษฐศาสตร์ มธ.ที่สนับสนุนโดย สกว. พบว่าอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญของไทยมีศักยภาพและอนาคตเพียงพอที่จะเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทยได้ เพราะว่าประเทศไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตยาและส่งออกยาอย่างไรก็ตามความสามารถนี้อาจจะถูกทำลายและทำให้อ่อนด้อยลงเช่นครั้ง ที่ประเทศไทยแก้ไขพรบ.สิทธิบัตร ก่อนหน้าความตกลงขององค์การการค้าโลก ทั้งที่อินเดียใช้ช่วงเวลาดังกล่าวถึง 13 ปีในการพัฒนา ขณะนี้เรากำลังเผชิญปัญหาการที่รัฐบาลต้องการกระตุ้นส่งออกและผลประโยชน์ทางการค้าเฉพาะหน้าในระยะสั้นๆ จึงอยากเร่งทำ FTA อาทิ CPTPP RCEP และอีกหลายฉบับที่มีหน้าตาคล้ายๆ กัน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อศักยภาพในการผลิตยา การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่จะเพิ่มความคุ้มครองอย่างเกินเลย เกินกว่านวัตกรรม ซึ่งจะสร้างผลกระทบให้เกิดแก่อุตสาหกรรมยาชื่อสามัญและการเข้าถึงยา หากไม่มีการพิจารณาอย่างรอบคอบหรือพิจารณาแต่เพียงผลประโยชน์ระยะสั้นๆเท่านั้น เรื่องนี้จำเป็นต้อง ระมัดระวัง และเฝ้าระวังอย่างยิ่ง
4. ประสิทธิผลของยาต้านไวรัสเอชไอวี/เอดส์และการเข้าถึงการรักษาอย่างครอบคลุมในประเทศไทย เป็นเครื่องยืนยันว่า ผู้ติดเชื้อที่เข้าถึงการรักษาจะมีศักยภาพในการร่วมสร้างสังคมและร่วมสร้างเศรษฐกิจ ของประเทศเต็มความสามารถของพวกเขา ดังนั้นอยากให้สื่อมวลชนและสาธารณชนร่วมสร้างความเข้าใจ เพื่อเลิกการตีตราการตั้งแง่รังเกียจ ถึงติดเชื้อฯ เราก็อยู่ร่วมกันได้ เรียนร่วมกันได้ ใช้ชีวิตร่วมกันได้
| ['ข่าว', 'สังคม', 'คุณภาพชีวิต', 'สุขภาพ', 'องค์การเภสัชกรรม', 'ยาต้านไวรัสเอดส์', 'องค์การอนามัยโลก', 'WHO', 'กรรณิการ์ กิจติเวชกุล'] |
https://prachatai.com/print/79445 | 2018-11-04 15:17 | เฟสบุ๊คถอนเพจแก๊งฝ่ายขวาหัวรุนแรง 'พราวด์บอยส์' ออกจากเว็บ พร้อมจับตากลุ่มสร้างความเกลียดชัง | 'เฟสบุ๊ค' และ 'ทวิตเตอร์' เริ่มทำการถอนเพจและบัญชีผู้ใช้ของกลุ่มอันธพาลฝ่ายขวาที่ชื่อ 'พราวด์บอยส์' (Proud Boys) ออกจากเว็บไซต์ของพวกเขา เนื่องจากกลุ่มเหล่านี้ใช้โซเชียลมีเดียเป็นที่เกณฑ์สมาชิกใหม่และมีกลุ่มสมาชิกก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ต่างๆ ของสหรัฐฯ
ที่มาภาพประกอบ: thesun.co.uk [1]
สื่อ Vice รายงานว่าเฟสบุ๊คเริ่มถอดถอนเพจที่เกี่ยวข้องกับแก๊งฟาสซิสต์ข้างถนนที่ชื่อ 'พราวด์บอยส์' (Proud Boys) ออกจากเว็บไซต์ โดยที่แก๊งอันธพาลฟาสซิสต์นี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงทางการเมืองหลายเหตุการณ์ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
กลุ่มพราวด์บอยส์มีเพจอยู่หลายเพจในเว็บไซต์เฟสบุ๊คซึ่งระบุถึงสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Proud Boys UK หรือ Proud Boys Utah โดยที่เฟสบุ๊คทำการถอนเพจเหล่านี้ออกจากเว็บไซต์ของตัวเองตั้งแต่ช่วงวันที่ 30-31 ต.ค. ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามหลายเพจที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มๆ นี้ก็ยังคงมีอยู่ เช่นเพจของ กาวิน แมคอินเนส ผู้ก่อตั้งกลุ่มพราวด์บอยส์ที่เขาใช้ไว้จัดทอล์กโชว์ออนไลน์ "Get Off My Lawn," ("ออกไปจากสนามหญ้าบ้านผม") เพจนี้ยังคงมีผู้ติดตามอยู่เกือบ 19,000 ราย
เฟสบุ๊คแถลงว่าทีมงานของพวกเขาได้ศึกษาเทรนด์การจัดวางแผนการให้เกิดความเกลียดชังและวาจาในเชิงสร้างความเกลียดชังหรือเฮทสปีช รวมถึงพยายามทำความเข้าใจองค์กรสร้างความเกลียดชังเหล่านี้ในขณะที่กลุ่มกำลังเปลี่ยนโฉมไปเรื่อยๆ เฟสบุ๊คบอกว่าพวกเขา "แบนทั้งองค์กรและบุคคล" ที่มีส่วนสร้างความเกลียดชังเหล่านี้ออกจากพื้นที่โซเชียลมีเดียของพวกเขา รวมถึงจัดการกับเนื้อหาที่ส่งเสริมในเรื่องเหล่านี้ถ้าพวกเขามองเห็นมัน
ถ้อยแถลงของเฟสบุ๊คระบุว่า "พวกเราจะคอยสอดส่องดูแลเนื้อหา เพจ และผู้คนที่ละเมิดนโยยายของพวกเราต่อไปและจะดำเนินการกับเฮทสปีชและองค์กรสร้างความเกลียดชังเพื่อช่วยให้ชุมชนของพวกเราปลอดภัย"
องค์กรด้านสิทธิพลเมืองศูนย์เซาธ์เทิร์นโพเวอตีลอว์ (SPLC) ค้นพบกลุ่มพราวด์บอยส์เมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมาและจัดให้เป็นกลุ่มสร้างความเกลียดชังหรือเฮทกรุ๊ป กลุ่มพราวด์บอยส์ใช้พื้นที่เฟสบุ๊คเป็นเครื่องมือในการเกณฑ์สมาชิกใหม่ พวกเขาเรียกตัวเองว่าเป็น "พวกคลั่งชาติตะวันตก" พวกเขารับแต่สมาชิกผู้ชาย พวกเขาเคยก่อเหตุรุนแรงขึ้นที่พอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน หลังเหตุรุนแรงในครั้งนั้นพวกเขาก็เกณฑ์คนเพิ่มได้มากกว่าเดิมร้อยละ 70 คิดเป็นจำนวนสมาชิก 823 ราย
กลุ่มพราวด์บอยส์ยังกลายมาเป็นที่สนใจในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาหลังจากแมคอินเนสตัดสินใจปรากฏตัวในการปราศรัยต่อผู้คนเป็นครั้งแรกที่เมโทรโปลิแทนรีพับลิกันคลับในนิวยอร์กซิตีและทำให้งานในวันนั้นกลายเป็นเหตุรุนแรง หลังจากการจัดงานกลุ่มพราวด์บอยส์พากันสวมหมวกคำขวัญของโดนัลด์ ทรัมป์ ออกไปไล่ทุบตีผู้ประท้วงและตะโกนคำเหยียดคนรักเพศเดียวกัน ตำรวจนิวยอร์กจับกุมคนร้ายได้อย่างน้อย 6 รายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพราวด์บอยส์และกำลังติดตามตัวผู้ต้องสงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวอีก 3 ราย
SPLC จัดให้กลุ่มพราวด์บอยส์อยู่ในสายกลุ่มขวาจัดที่ส่วนหนึ่งก็เป็นกลุ่มคนที่สนับสนุนทรัมป์และเดินกระทบไหล่กับผู้สนับสนุนรีพับลิกันกระแสหลัก ในอีกส่วนหนึ่งก็เป็นพวกสายชาตินิยมคนขาวสุดโต่งที่ไปร่วมขบวนของกลุ่มสกินเฮด
นอกจากเฟสบุ๊คแล้วก่อนหน้านี้โซเชียลมีเดียอีกรายคือทวิตเตอร์ก็เคยสั่งปลดบัญชีผู้ใช้ของกลุ่มนี้ออกไปโดยระบุว่าพวกเขาละเมิดนโยบายในข้อที่เกี่ยวกับการเป็นกลุ่มหัวรุนแรง
อย่างไรก็ตามคนจากกลุ่มนี้จำนวนมากก็หันไปหาเว็บไซต์ที่สุดโต่งกว่าโซเชียลมีเดียทั่วไปเช่นเว็บไซต์ Gab ที่เป็นโซเชียลมีเดียที่ซ่องสุมของพวกกลุ่มสุดโต่ง แต่เมื่อไม่นานนี้ Gab ก็ถูกผู้ให้บริการเว็บโฮสติงยกเลิกให้บริการเนื่องจากเกิดกรณีคนร้ายกราดยิงสุเหร่าชาวยิวใช้ Gab เป็นที่โพสต์ข้อความแสดงความเกลียดชังทางเชื้อชาติต่อชาวยิว อย่างไรก็ตามเว็บไซต์ Gab บอกว่าพวกเขาจะกลับมาเปิดบริการอีกครั้งหลังหาเว็บโฮสติงบริการใหม่ได้
เรียบเรียงจาก
Facebook has started kicking Proud Boys off the site, Vice News, 01-11-2018https://news.vice.com/en_us/article/3kmxn9/facebook-has-started-kicking-proud-boys-off-the-site [2]
Facebook shut down the Proud Boys’ recruiting tool: Facebook, Quartz, 01-11-2018https://qz.com/1446284/facebook-shut-down-the-proud-boys-recruiting-tool-facebook/ [3]
| ['ข่าว', 'วัฒนธรรม', 'สิทธิมนุษยชน', 'ต่างประเทศ', 'เฮทสปีช', 'วาจาสร้างความเกลียดชัง', 'พราวด์บอยส์', 'ขวาจัด', 'ฟาสซิสต์', 'คลั่งชาติ', 'ความรุนแรง', 'เฟสบุ๊ค', 'สหรัฐอเมริกา'] |
https://prachatai.com/print/79443 | 2018-11-04 13:50 | นักเศรษฐศาสตร์หนุนกัญชาทางการแพทย์ แต่เพื่อสันทนาการควรพิจารณาให้รอบคอบ | คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต สนับสนุนกัญชาถูกกฎหมายเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ควรเร่งรัดให้เกิดขึ้น ส่วนกัญชาเพื่อสันทนาการและวัตถุประสงค์อื่นๆ แม้นมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจแต่ต้องพิจารณาให้รอบคอบเพราะหากควบคุมไม่ดีอาจเกิดกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจและสังคมได้
ที่มาภาพประกอบ: Thomas Hawk (CC BY-NC 2.0) [1]
4 พ.ย. 2561 ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้กล่าวถึงการนำกัญชามาวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ว่าเป็นเรื่องที่ภาครัฐควรให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เนื่องจากมีศักยภาพสูงในการพัฒนาเป็นยารักษาโรค มีงานวิจัยทางการแพทย์ยืนยันถึงประโยชน์ของกัญชาแต่ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันให้หนักแน่นมากยิ่งขึ้นเพราะกัญชามีสารที่มีผลต่อจิตประสาทอันเป็นคุณสมบัติของสารเสพติดที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้หากบริโภคหรือเสพเกินขนาด หลายประเทศทั่วโลกผ่อนปรนกฎหมายอนุญาตให้ประชาชนใช้กัญชาทางการแพทย์หรือเพื่อสันทนาการได้อย่างถูกต้อง แต่กัญชายังถือเป็นสิ่งเสพติดให้โทษประเภท 5 ในไทย ซึ่งผู้เสพต้องระวางโทษปรับ และ/หรือ จำคุก
ทั้งนี้รัฐบาลเพิ่งเริ่มหาทางแก้กฎหมายเปิดช่องให้ศึกษาวิจัยพืชเสพติดได้อย่างถูกต้อง แม้ผู้ป่วยไทยบางส่วนลักลอบใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคมะเร็งโดยไม่ต้องพึ่งพาเคมีบำบัดหรือฉายแสงเท่านั้นซึ่งมีผลกระทบข้างเคียงต่อร่างกายมาก ในเบื้องต้นจึงควรมีการแก้ไขกฎหมายให้สามารถนำสารสกัดจากกัญชามาใช้เป็นยารักษาโรคได้อย่างเต็มที่ สามารถครอบครองกัญชาเพื่อใช้ประโยชน์ในการวิจัยทางการแพทย์ รัฐบาลสามารถออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้สารสกัดจากกัญชาไม่ถือเป็นยาเสพติดและควบคุมให้มีการใช้เฉพาะทางการแพทย์ และพิจารณาแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษเพื่อปลดล็อคให้มีการใช้สารสกัดจากกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และสุขภาพได้ มีรายงานทางการแพทย์ระบุว่า สารสกัดจากกัญชาสามารถรักษาอาการได้อย่างน้อย 5 กลุ่มโรคดังนี้ รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ให้เคมีบำบัด โรคลมชักในเด็ก อาการเจ็บปวดรุนแรง อาการทางจิตประสาทเพื่อให้คลายเครียดและสงบ ปลอกประสาทอักเสบ
ส่วนในระยะยาวควรออกกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับกัญชาโดยระบุให้เป็นพืชที่ใช้ทำเป็นยาและสามารถเป็นพืชเศรษฐกิจรวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าตลาดกัญชาเพื่อการแพทย์ทั่วโลกอาจมีมูลค่าสูงถึง 55,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.9 ล้านล้านบาท) ภายในปี ค.ศ. 2025 (พ.ศ. 2568) ขณะนี้มูลค่าผลิตภัณฑ์กัญชาทั่วโลกอยู่ที่ 4.6 ล้านล้านบาท กระแสการเคลื่อนไหวให้กัญชาเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายว่าเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรช่วยกำหนดแนวทางที่เหมาะสมว่า อะไรคือประโยชน์สูงสุดต่อสังคม คุณภาพชีวิตของผู้คน และเศรษฐกิจ
ผศ.ดร.อนุสรณ์ ได้พูดถึงผลทางเศรษฐกิจจากกัญชาถูกกฎหมายและมีการใช้เพื่อสันทนาการหรือความบันเทิงว่าหลังรัฐแคลิฟอร์เนียอนุญาตเสพกัญชาเพื่อความบันเทิงหรือสันทนาการ มีการคาดการณ์ว่าจะมีเงินสะพัดในอุตสาหกรรมกัญชาในสหรัฐมากถึง 5,100 ล้านดอลลาร์ ในปี ค.ศ. 2018 และจะให้ให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตถึง 3 เท่าในช่วง 10 ปีข้างหน้า นอกจากนี้อุตสาหกรรมกัญชาถูกกฎหมายจะสร้างรายได้ กว่า 40,000 ล้านดอลลาร์ และสร้างงานกว่า 400,000 ตำแหน่งในสหรัฐภายในปี ค.ศ. 2021 อีกทั้งรัฐบาลจะเก็บภาษีได้ 4,000 ล้านดอลลาร์ ภายใน 3 ปี อุตสาหกรรมกัญชาเป็นธุรกิจใหญ่ที่นำรายได้มหาศาลเข้าสู่แคนาดามานับทศวรรษ หลังมีการอนุญาตให้นำกัญชามาใช้รักษาโรคได้ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ในแคนาดามีบริษัทผลิตและจำหน่ายกัญชารายใหญ่สองบริษัท คือ บริษัท คานาปี โกร์ธคอร์ป และ บริษัท ออโรร่า แคนนาบิส โดยที่บริษัท ออโรร่า แคนนาบิสได้มีการ สร้างโรงเรือนใหม่ใหญ่ถึง 800,000 ตารางฟุต ที่จะมีกำลังผลิตกว่า 100 ตันต่อปี นับว่าเป็นพื้นที่ปลูกกัญชาเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกรองรับการเปิดกว้างมากขึ้นในการใช้กัญชา
ทั้งนี้สถิติจากสำนักงบประมาณรัฐสภาแคนาดา ระบุว่าปัจจุบันราคาจำหน่ายกัญชาแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่นในเมืองควิเบค ราคากรัมละ 7.31 ดอลลาร์แคนาดา ขณะที่ในเมืองอื่นๆ ทางตอนเหนือของประเทศ ราคาจำหน่ายกรัมละ 13.17 ดอลลาร์แคนาดา มีการคาดการณ์ว่า เมื่อ พ.ร.บ.กัญชา มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ รัฐบาลแคนาดาจะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีกัญชาเพิ่มขึ้น สูงสุดถึงปีละ 5,000 ล้านดอลลาร์แคนาดา แต่บางสำนักก็คาดว่าอาจเก็บได้เพียงราว 600 ล้านดอลลาร์เท่านั้น
ประเทศสเปนอนุญาตให้ประชาชนสามารถใช้และปลูกเองภายในบ้านได้ตามจำนวนที่กำหนด แต่ห้ามนำออกมาขายและซื้อ พร้อมสามารถพกติดตัวได้สูงสุด 40 กรัม ขณะที่กรุงปรากของสาธารณรัฐเช็ค ก็เป็นอีกเมืองที่สามารถปลูกกัญชาในครอบครองได้ 5 ต้น การเสพกัญชาอย่างถูกกฎหมายอาจช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวได้ อย่างเช่นในประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่มีชื่อเสียงด้านการเสพกัญชาถูกกฎหมาย นำมาสู่การดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ต้องการเสพกัญชา ช่วยผลักดันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศให้เติบโต ขณะที่ประชาชนมีความคิดเห็นที่ดีต่อกัญชาโดยมองว่ามีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่และสุรา นักท่องเที่ยวที่มาเยือนกรุงอัมสเตอร์ดัมส์ ต้องการใช้บริการร้านกาแฟ ที่อนุญาตให้บุคคลที่อายุมากกว่า 18 ปีสูบกัญชาได้อย่างถูกกฎหมาย อีกทั้งยังสามารถซื้อกัญชาได้สูงสุด 5 กรัม โดยร้านกาแฟประเภทนี้ มี 200 กว่าร้านในกรุงอัมสเตอร์ดัมส์
ผศ.ดร.อนุสรณ์ ชี้ว่าอย่างไรก็ตามหากมีการเสพกัญชาเพื่อสันทนาการได้อย่างถูกกฎหมายและไม่สามารถกำกับให้ดีพอ มีการแพร่ระบาดจนไม่สามารถควบคุมได้ มีการเสพเกินขนาดแล้วเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพ ย่อมมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและครอบครัวของผู้เสพ และแน่นอนย่อมส่งผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยให้รอบคอบก่อนจะเปิดให้กัญชาเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดให้มีการเสพกัญชาเพื่อสันทนาการ ในกรณีของประเทศไทยหากจะมีการเปิดเสรีเรื่องกัญชาเช่นในบางประเทศต้องคิดให้รอบคอบเนื่องจากประเทศเรามีปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย หากการบังคับใช้กฎหมายไม่ดี การกำกับควบคุมไม่ดี อาจนำมาสู่ผลเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่าผลดี ขณะเดียวกันการไม่เปิดเสรีแต่มีความต้องการในการใช้กัญชาไม่ว่าด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ที่ไม่เป็นอันตรายย่อมทำให้เกิดการลับลอบการใช้และช่องทางทุจริตคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายได้
| ['ข่าว', 'เศรษฐกิจ', 'สังคม', 'คุณภาพชีวิต', 'อนุสรณ์ ธรรมใจ', 'กัญชา', 'สุขภาพ', 'การใช้กัญชาทางการแพทย์'] |
https://prachatai.com/print/79446 | 2018-11-04 15:21 | เชียงใหม่ : 'เส้นทางสายโพธิ์' กับข้อเสนอโมเดลย่านวัฒนธรรม-เศรษฐกิจแห่งใหม่ | เปิดข้อเสนอ 'เส้นทางสายโพธิ์' ผ่าน 3 นักวิชาการด้านล้านนาศึกษาและวิศวกรรม กับการออกแบบเพื่อเป็นย่านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจแห่งใหม่ของเชียงใหม่
สืบเนื่องจากการจัดทำโครงการขยายถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ - ถนนห้วยแก้ว แยกรินคำ จ.เชียงใหม่ ของแขวงทางหลวงนั้นทำให้กรณีการโต้เถียง เรื่อง การตัดต้นโพธิ์ที่มีอายุเก่าแก่ โดยฝ่ายเห็นด้วยกับการตัดเนื่องจากจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ แต่ในทางกลับกันอีกฝ่ายหนึ่งก็มองว่าต้นไม้ต้นนี้มีประวัติศาสตร์ มีคุณค่าทางจิตใจกับคนส่วนหนึ่งในเชียงใหม่ จนกระทั่งการทำถนนบริเวณนั้นสำเร็จแต่ปรากฏว่ามีต้นโพธิ์ดังกล่าวอยู่กลางถนนทำให้มีการใช้แบริเออร์มากั้นมาระยะหนึ่งแล้ว และขณะนี้แขวงทางหลวงมีการจะขยายถนนตรงบริเวณลานน้ำพุห้างเมญ่าซึ่งแน่นอนว่าต้นโพธิ์ต้นนี้อาจจะถูกตัด ซึ่งมีข้อวิจารณ์ด้วยว่าการขยายถนนนั้นไม่ได้เป็นการแก้ปัญหารถติดได้อย่างตรงจุด และหากการขยายถนนในครั้งนี้สำเร็จจะมีการส่งผลกระทบต่อโครงการอื่นๆ ในอนาคต
จึงนำมาสู่ข้อเสนอ 'เส้นทางสายโพธิ์' ที่เป็นการออกแบบเพื่อเป็นย่านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจแห่งใหม่ของเชียงใหม่ โดยนักวิชาการทั้ง 3 คน คือ รศ.สมโชติ อ๋องสกุล จากศูนย์ล้านนาศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ภักดีกุล รัตนา และ รศ.ชูโชค อายุพงศ์ คณะวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงการจัดทำโมเดลเส้นทางสายโพธิ์ไว้อย่างหน้าสนใจ ซึ่ง Kowit Boondham [1] สรุปการจากวงประชุมเกี่ยวกับแก้ปัญหาต้นโพธิ์ ที่ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ฯ ดังกล่าวไว้ดังนี้
สำหรับเหตุที่คนเชียงใหม่บางส่วนถึงคัดค้านย้ายต้นโพธิ์ต้นนี้ รศ.สมโชติ เล่าไว้อย่างน่าสนใจโดยเล่าย้อนไปต้นโพธิ์ต้นแรกแถบนี้ คือ ต้นมหาโพธิ์ต้นแรก ที่พระเจ้าติโลกราชปลูก ต้นโพธิ์ที่อยู่กลางถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ คือต้นที่เชื่อมโยงกับวัดเจ็ดยอดที่อยู่ใกล้กันและสัตตมหาสถาน 7 อย่าง วัดที่ใช้ การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลกเมื่อ พ.ศ.2020 และถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ถูกขยายเมื่อปี 2535 ปรากฎกระทบวัดเจ็ดยอด กรมศิลปากรขุดแต่งโบราณสถาน พบร่องรอยโบราณสถานวัดกู่แก้วจำนวนมาก..ซึ่งเชื่อมโยง สัตตมหาสถาน จำลอง 7 แห่ง นี่เป็นครั้งแรกที่คุยกับทางหลวง สามารถขยับจาก 4 เมตร เป็นเป็น 17 เมตร นี่คือที่มาทำไมต้นโพธิ์ ต้นนี้ทำไมคัดค้านการย้าย
เมื่อย้าย ต้นโพธิ์ไม่ได้ และยังมีแนวคิดการขยายถนนซุปเปอร์ไฮเวย์บริเวณแยกรินคำ บริเวณลานน้ำพุ หน้าห้างห้างเมญ่า เพิ่มช่องทางจราจรก็เกิดกระคัดค้านตามมา นักวิชาการด้านวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองว่าการขยายถนนดังกล่าวอาจไม่ช่วยแก้ปัญหาจราจร และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เพราะการขยายถนนไม่ได้สอดรับกับถนนอีกฝั่งและอาจทำลายย่านเศรษฐกิจได้
ภักดีกุล พูดถึงกรณีย้ายต้นโพธิ์อย่างน่าสนใจและเสนอทางออกการทั้งการย้ายต้นโพธิ์ และรื้อลานน้ำพุห้างเมญ่า เสนอเป็น เส้นทางสายโพธิ์ : เส้นทางแห่งชีวิตและความมั่นคง ปัจจุบันย่านแยกรินคำ ถนนนิมมานเหมินทร์ และห้วยแก้ว เป็นย่านเศรษฐกิจ ท่องเที่ยวสำคัญของเชียงใหม่ การประชุมกลไกออกแบบเมืองอัจริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้เมื่อ 4 ก.ย.ที่ผ่านมา เลือกถนนห้วยแก้ว และนิมมานฯเป็นนวัตกรรมสมาร์ทซิตี้..แนวคิดการออกแบบเส้นทางสายโพธิ์ จะสร้างแลนด์มาร์คแห่งใหม่ เป็นจุดเริ่มต้นแรงบันดาลใจแห่งใหม่ที่เริ่มจาก "ต้นโพธิ์"
ถนนเส้นทางสายโพธิ์ คือ การออกแบบย่านที่ชาญฉลาดเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจ (Smart Growth) ห้องรับแขกของจังหวัดเชียงใหม่ที่ดีที่สุดและมีคุณภาพ (Smart City) และสถานที่ที่ต้องไปเยือนของเมืองเชียงใหม่จากแรงบันดาลใจแห่งต้นมหาโพธิ์ (Landmark)ดังนั้นเส้นทางสายโพธิ์
เส้นทางการท่องเที่ยวและการค้าเชื่อมต่อจากย่านการค้านิมมานเหมินท์ และห้างเมญ่าจนถึงวัดเจ็ดยอด
สร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น
มีทางเดินที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ โดยเชื่อมต่อระหว่างที่อยู่อาศัยไปยังร้านค้า ร้านบริการ แหล่งข้อมูลวัฒนธรรม เช่น วัดเจ็ดยอด เป็นการสร้างเส้นทางเดินดึงดูดนักท่องเที่ยวเพื่อการค้าและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้คนในละแวกนั้น
สามารถสร้างสีสันชุมชนคนเดินเท้า
สร้างภูมิทัศน์ของย่านนี้ให้มีความสวยงาม เป็นระเบียบ มีทางเท้าที่สามารถเดินได้อย่างสะดวก และมี CCTV เพื่อให้เป็นย่านที่มีความปลอดภัย
และที่สำคัญ"เส้นทางสายโพธิ์ "จะมีการคมนาคมขนส่งหลากหลายทางเลือก
ทางเดินเท้า
ทางจักรยาน
ทางรถยนต์
ภักดีกุล กล่าว กล่าวด้วยว่า ทำให้คนที่มีตัวเลือกในการเดิน ขี่จักรยาน และการใช้รถยนต์ รวมถึงการบริการขนส่งสาธารณะ มีทางเลือกหลายทางเพื่อสนับสนุนย่านการค้า และช่วยปกป้องสภาพแวดล้อมและกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางกายภาพมากขึ้น และสุดท้าย เส้นทางการออกแบบสร้างสรรค์ให้ชุมชนและละแวกใกล้เคียงมีเอกลักษณ์เฉพาะ สร้างความภาคภูมิใจในชุมชน เป็นห้องเรียนห้องใหญ่สำหรับทุกคน เส้นทางพิทักษ์รักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ที่สุดของการออกแบบ คือความสมดุลของธรรมชาติ และการพัฒนาระบบการรักษาธรรมชาติทำให้เส้นทางนี้เป็นเส้นทางสีเขียวร่มรื่นเหมาะแก่การเป็นเส้นทางท่องเที่ยวและการค้าที่เชื่อมต่อจากย่านนิมมานเหมินท์
ขณะที่ประเด็นการขยายถนนบริเวณแยกรินคำและรื้อลานน้ำพุนั้น รศ.ชูโชค ระบุว่าพื้นที่จะรื้อลานน้ำพุเป็นของกรมทางหลวง หลายคนอาจมองว่าห้างเมญ่าได้รับผลประโยชน์มากเกินไป ซึ่งเป็นเรื่องของกรมทางหลวงจัดการสัญญาเช่า และการใช้ประโยชน์ การแก้ปัญหาโดยการรื้อและขยายถนน ซึ่งมองว่าไม่ถูกต้องตามหลักการพัฒนาเมืองเพราะตอนนี้บริเวณแยกรินคำ คือข่วงเมือง เป็นลานกิจกรรมของคนเมือง..เมื่อมีการพัฒนาพื้นที่เมืองขึ้นมาแล้ว ถนนบริเวณจุดที่จะขยายเป็นขาออก ซึ่งไม่ปรากฎว่ามีปัญหาจราจรจร มองว่าการขยายถนน รถที่มาจากนิมมานฯมีเพียง 4 ช่องทางจราจรซึ่งบีบช่องทางจราจรหากขยายอาจกระทบกับปัญหาอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เพราะถนนไม่สอดรับกัน ดังนั้นจึ่งต้องรักษาห้องรับแขกของเมืองและพูดคุยกับกรมทางหลวงเพราะแต่ละวันย่านนี้มีผู้คนเดินทางเกี่ยวข้องวันละนับแสนคน มีมูลค่านับหมื่นล้าน
ทั้งนี้จึงมีการนำเสนอโมเดลพื้นที่แห่งอนาคตในการอนุรักษ์วัฒนธรรม รักษาความเป็นประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของล้านนา รักษาสิ่งแวดล้อมและในขณะเดียวกันเป็นการสร้างเศรษฐกิจให้กับเมืองเชียงใหม่และพัฒนาไปสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City)และเมืองเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) มั่งคั่ง ยั่งยืน และเท่าทันโลกในปัจจุบัน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าในเว็บไซต์ change.org มีผู้ตั้งแคมเปญล่ารายชื่อเพื่อสนับสนุนโมเดลนี้ด้วย https://www.change.org/p/กรมทางหลวง-จากต้นโพธิ์-ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์-สู่ถนนเส้นทางสายโพธิ์-จ-เชียงใหม่ [2]
| ['ข่าว', 'เศรษฐกิจ', 'วัฒนธรรม', 'คุณภาพชีวิต', 'เมืองอัจฉริยะ', 'สมโชติ อ๋องสกุล', 'ล้านนาศึกษา', 'เส้นทางสายโพธิ์', 'ภักดีกุล รัตนา', 'ชูโชค อายุพงศ์', 'เชียงใหม่'] |
https://prachatai.com/print/79448 | 2018-11-04 23:48 | เมื่อ 'ฟุตบอล' และ 'โซจู' ใช้กระชับมิตรลดความตึงเครียดเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ | ชเวมุนซุน ผู้ว่าราชการจังหวัดคังวอนของเกาหลีใต้ อาศัยการพูดคุยผ่าน "โซจู" กับสต๊าฟท์ทีมฟุตบอลเยาวชนเกาหลีเหนือ ระหว่างทัวร์นาเมนต์หนึ่งในจีน และกลายเป็นช่องทางติดต่อจนเกาหลีเหนือส่งตัวแทนเข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาวที่เกาหลีใต้ สะท้อนภาวะผ่อนคลายความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี เหตุการณ์ในวันนั้นยังทำให้เกิดฟุตบอลกระชับมิตรที่จังหวัดคังวอนชายแดนเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ขึ้นได้อีกครั้ง
ธงรวมชาติเกาหลี (ที่มา: วิกิพีเดีย)
ชเวมุนซุน ผู้ว่าราชการจังหวัดคังวอน เกาหลีใต้ (ที่มา: 최광모/Wikipedia)
อะไรที่ทำให้สองประเทศคาบสมุทรเกาหลีหยุดยั้งการเกิดสงครามเอาไว้ได้ สื่อบีบีซีให้คำตอบไว้ว่ามันคือ ฟุตบอล และ เหล้าโซจู
ในช่วงตั้งแต่ปลายปีที่แล้วหลังจากมีเหตุการณ์เกาหลีเหนือพยายามท้าทายประเทศสหรัฐฯ จนเกิดเป็นความตึงเครียดต่อคาบสมุทรเกาหลีอีกครั้ง ผู้ว่าราชการจังหวัดคังวอน ชเวมุนซุน ก็หวังว่าจะใช้กีฬาเป็นเครื่องมือทางการทูตในการทำให้เหตุการณ์เย็นลงได้
จังหวัดคังวอนเป็นจังหวัดเกาหลีใต้ที่มีชายแดนติดกับเกาหลีเหนือ ชเวมุนซุน เรียกจังหวัดของตัวเองว่าเป็นจังหวัดที่มีการแบ่งแยกแหล่งสุดท้ายของโลก เขาพร้อมจะยินดีต้อนรับประเทศต่างๆ ให้เข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาวที่พย็องชังเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา แต่ในตอนนั้นยังขาดสมาชิกสำคัญคือประเทศเกาหลีเหนือเอง ทำให้ชเวมุนซุนเดินทางไปเข้าร่วมงานฟุตบอลยุวชนอารีสปอร์ตคัพซึ่งจัดที่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน โดยหวังว่าจะรื้อฟื้นงานฟุตบอลนี้ได้เพราะเห็นว่าเป็นช่องทางการทูตเล็กๆ ที่ยังเหลืออยู่ หลังจากที่งานปุตบอลนี้ถูกยกเลิกไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมาเพราะการทดลองขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ
ชเวมุนซุนกล่าวว่าถึงแม้ในช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ย่ำแย่ถึงขีดสุดมีวิธีการสื่อสารแลกเปลี่ยนกันเหลืออยู่หนทางเดียวคือการทำให้เกาหลีเหนือมาเข้าร่วมกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่พย็องชังให้ได้
นั่นทำให้ชเวมุนซุนเข้าหามุนอัง เจ้าหน้าที่ระดับรองผู้อำนวยการของคณะกรรมการกีฬาของเกาหลีเหนือ พวกเขาพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการพร้อมดื่มเหล้าโซจูร่วมกัน โดยที่เหล้าโซจูนั้นเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอลที่นิยมกันทั้งในเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้
ชเวมุนซุนหวังว่าจะมีการเทียบเชิญให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงเกาหลีเหนือเข้าร่วมโอลิมปิคฤดูหนาวได้มากขึ้น และพวกเขาก็สามารถส่งบัตรเชิญไปถึงในระดับสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพราะทำให้คิมจองอึนเองเป็นผู้ออกมาประกาศในสุนทรพจน์ปีใหม่ว่าเขาคาดหวังว่าจะส่งตัวแทนจำนวนมากไปร่วมงานกีฬา
ชเวมุนซุนเล่าว่าเขารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เห็นทีมของสองเกาหลีร่วมกันในพิธีเปิดโอลิมปิกและโบกธงรวมชาติร่วมกัน บรรยากาศของสันติภาพในช่วงนั้นทำให้เกิดสิ่งนี้และเขาหวังว่าจะจัดงานเล็กๆ แต่มีความหมายอื่นๆ ระหว่างสองชาติได้อีก
ความพยายามหลังฉากของเหล่านักการทูต กว่าจะทำให้เกาหลีเหนือเข้าร่วม 'โอลิมปิกฤดูหนาว' [1], 22 ก.พ. 2561
ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านี้ผู้ว่าราชการคังวอนพยายามจัดงานแข่งขันฟุตบอลเล็กๆ ในจังหวัดตัวเอง โดยที่คราวนี้เขาบินไปพบปะกับคิมจองอึนเอง และก็สามารถทำให้เขากับมุนอังมายืนดูฟุตบอลร่วมกันได้ในการลงสนามของระหว่างสองประเทศ หลังจากการแข่งขันที่เกาหลีเหนือสามารถเอาชนะได้ด้วยคะแนน 3-1 ชาวเกาหลีเหนือรีอิลซองก็ได้กล่าวว่ามันเป็นครั้งแรกที่เขาได้มาเยือนเกาหลีใต้ มันไม่ได้เป็นประเทศที่อยู่ไกลกันเลย และหวังว่าในอนาคตเขาจะได้มากระชับมิตรกับเกาหลีใต้บ่อยขึ้น
หลังการแข่งขันนักกีฬาของทั้งสองประเทศยังแสดงออกต่อกันอย่างเป็นมิตรมีนักเตะชาวเกาหลีเหนือคนหนึ่งพูดกับนักเตะชาวเกาหลีใต้ว่า "เจอกันเร็วๆ นี้ที่เปียงยาง"
บีบีซีระบุว่าถึงแม้คนจำนวนมากจะกลัวว่าการปลดอาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือจะเป็นไปไม่ได้เพราะมีความคืบหน้าน้อยมากหลังจากที่สหรัฐฯ และเกาหลีเหนือประชุมกันที่สิงคโปร์เมื่อกลางปีที่ผ่านมา แต่ทว่าการที่ชาวเกาหลีเหนือเข้าไปแข่งขันกีฬาและได้รับเสียงปรบมือในสนามของเกาหลีใต้ได้ดูจะเป็นความคืบหน้าได้บางส่วนจากเดิมที่ดูเหมือนการร่วมมือกันแบบนี้จะเป็นไปไม่ได้เลยเมื่อปีที่แล้ว ทั้งนี้ในการแข่งขันครั้งถัดไปที่วอนซานของเกาหลีเหนือผู้จัดงานหวังว่าจะได้สหรัฐฯ มามีส่วนร่วมด้วย
บีบีซีระบุอีกว่าการแสดงออกในเชิงการทูตสัมพันธไมตรีผ่านกีฬาอาจจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อยถ้ามัวแต่เน้นให้ความสำคัญกับเรื่องการปลดอาวุธนิวเคลียร์เป็นหลัก แต่มิตรภาพระหว่างนักกีฬาเยาวชนระหว่างสองประเทศก็ช่วยลดความตึงเครียดและสร้างความเข้าใจกันมากขึ้นระหว่างคนสองรุ่นได้
เรียบเรียงจาก
North and South Korea: The football game that kicked off peace, BBC [2], 30-10-2018
| ['ข่าว', 'ต่างประเทศ', 'กีฬา', 'ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ', 'คาบสมุทรเกาหลี', 'สงครามเกาหลี', 'เกาหลีเหนือ', 'เกาหลีใต้', 'โซจู', 'ฟุตบอล', 'ชเวมุนซุน', 'คังวอน'] |
https://prachatai.com/print/79450 | 2018-11-05 06:52 | สุรพศ ทวีศักดิ์: มนุษย์กับการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ |
ฌอง ฌากส์ รุสโซเขียนไว้ในหนังสือ “สัญญาประชาคม” ว่า “มนุษย์เกิดมาเสรี แต่เขาถูกพันธนาการอยู่ทั่วทุกแห่งหน” สะท้อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์ว่า คือประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ปลดปล่อยตนเองจากพันธนาการต่างๆ แต่ผลของการต่อสู้ทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากพันธนาการต่างๆ ได้มากน้อยเพียงใด หรือนำไปสู่การสร้างพันธนาการใหม่ๆ ที่ซับซ้อนแตกต่างกันไปตามยุคสมัยอย่างไรบ้าง นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
แต่ดูเหมือนรุสโซเชื่อว่า เมื่ออยู่ในภาวะที่ถูกอำนาจเผด็จการบังคับให้สยบยอม มนุษย์เราอาจจำเป็นต้องสยบยอม หรือทำเสมือนว่ายอมเชื่อฟังเผด็จการ แต่เมื่อเผด็จการอ่อนแอลง หรือมีเงื่อนไข สถานการณ์ โอกาสให้โค่นล้มเผด็จการได้ พวกเขาก็จะโค่นล้มเพื่อปลดปล่อยตนเองให้มีเสรีภาพ
หนังสือ “ประวัติศาสตร์อเมริกา” (American History) ของ Paul S. Boyer แปลโดยธเนศ อาภรณ์สุวรรณ สะท้อนประวัติศาสตร์การต่อสู้ของมนุษย์เพื่อปลดปล่อยตนเองให้มีเสรีภาพ เรื่องราวการต่อสู้เพื่อสร้างชาติของชาวอเมริกันให้เป็นชาติที่มี “เสรีประชาธิปไตย” (liberal democracy) เต็มไปด้วยความย้อนแย้ง ดังคำปราศรัยของบารัก โอบามา หลังจากที่เขาได้ชัยชนะจากการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีที่เป็นคนผิวสีคนแรก เขาพูดว่า “คนรุ่นพ่อของเขายังถูกภัตตาคารที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในนิวยอร์กปฏิเสธที่จะให้บริการอยู่เลย” การมีประธานาธิบดีเป็นคนผิวสีคนแรก จึงเป็นการประกาศความก้าวหน้าอีกก้าวหนึ่งแห่งการเดินทางที่ยาวนานของเสรีภาพและความเท่าเทียม อันเป็นอุดมคติสืบทอดจากยุคแรกเริ่มในคำประกาศอิสรภาพที่มีขึ้นในช่วงปี 1763-1789 ที่เป็นจุดเริ่มต้นการปฏิวัติ สร้างรัฐธรรมนูญ และชาติใหม่
เมื่อย้อนไปดูคำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกาที่ถือเป็นการปัก “เสาหลักแห่งเสรีภาพ” ก็จะพบความย้อนแย้งหลายอย่าง คำประกาศนั้นยืนยันอุดมคติสูงสุดว่า “เราทุกคนถูกสร้างมาเท่าเทียมกัน และพระผู้สร้างได้ประทานสิทธิอันไม่อาจพรากไปได้แก่เราทุกคน นั่นคือสิทธิในชีวิต ทรัพย์สิน อิสรภาพและการแสวงหาความสุข” นี่คือการนำแนวคิด “สิทธิตามธรรมชาติ” (natural rights) ของจอห์น ล็อคมาใช้โดยผสานกับความเชื่อเรื่องพระเจ้าผู้สร้างโลกและมนุษย์ของชาวคริสต์เตียนที่เป็นชาวอเมริกันส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม โธมัส เจฟเฟอร์สัน ผู้เป็นมันสองในการร่างคำประกาศดังกล่าวกลับเป็นเจ้าที่ดินที่มีทาสในปกครองจำนวนมาก
ทาสชาวแอฟริกันบางคนแสดงความเห็นว่า เขารู้สึกดีใจที่ได้ยินคำว่า “เสรีภาพ” แม้ว่าเขาจะไม่มีส่วนใดๆ ในความหมายของคำดังกล่าว ขณะที่ทาสหลายคนอาสาร่วมรบในสงครามปฏิวัติโดยหวังว่าเมื่อได้ชัยชนะพวกเขาจะได้รับอิสรภาพ บรรดาผู้หญิงที่ทำหน้าที่บริหารฟาร์มแทนสามี หาเงินส่งเสบียงให้สามีที่ออกรบบอกกับสามีว่า “เราทุกคนเท่าเทียมกันต้องหมายถูกผู้หญิงทุกคนด้วย” และว่า “เมื่อมีรัฐบาลใหม่หวังว่าจะไม่ลืมผู้หญิง” แต่หลังจากชัยชนะในสงครามปฏิวัติ ต้องใช้เวลาอีกหลายทศวรรษกว่าที่จะเลิกทาส เมื่อเลิกระบบทาสแล้วยังมีการแบ่งแยกสีผิว ต้องต่อสู้กันอีกยาวนานกว่าที่จะมีประธานาธิบดีเป็นคนผิวสีคนแรก ส่วนผู้หญิงก็อีกหลายทศวรรษจึงมีสิทธิเลือกตั้ง หลังจากที่ผู้หญิงอังกฤษต่อสู้จนต้องสละอิสรภาพและชีวิตตนเองจนได้สิทธิเลือกตั้งแล้ว ผู้หญิงอเมริกันและที่อื่นๆ จึงพลอยได้สิทธิดังกล่าวตามไปด้วย
แปลว่า อิสรภาพ สิทธิ เสรีภาพ ความเท่าเทียมเกิดขึ้นจากประวัติศาสตร์การต่อสู้ที่ซับซ้อน มันมีทั้งการเสนอแนวคิดทางปรัชญาที่ยืนยันอิสรภาพ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีของมนุษย์ ซึ่งมีเนื้อหาทั้งสอดคล้องและแตกต่างหรือขัดแย้งกัน ตัวนักปรัชญาเองที่เสนอแนวคิดดังกล่าวก็มักจะถูกเล่นงานโดยอำนาจเผด็จการของระบบกษัตริย์และศาสนจักร แต่แล้วแนวคิดดังกล่าวก็ถูกนำมาใช้อ้างอิงในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบกษัตริย์ที่อิงหลักความเชื่อทางศาสนามาสู่ระบอบประชาธิปไตยที่อิงหลักการโลกวิสัย (secularism) และหลังปฏิวัติก็เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมืองเรียกร้องอิสรภาพ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบรรดาผู้ถูกกดขี่ เช่นทาส คนผิวสี สตรี คนยากจน คนหลากหลายทางเพศ และกลุ่มคนชายขอบอื่นๆ
นอกจากนั้น อุดมคติในคำประกาศอิสรภาพอเมริกา ยังเป็นการ “ปักหมุด” ว่า ศาสนากับอิสรภาพ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคควรไปด้วยกันได้ โชคดีที่สหรัฐฯมีศาสนาหลากหลายนิกาย และไม่มีศาสนจักรของนิกายใดถูกสถาปนาให้มีอำนาจรัฐหรือเป็นศาสนาประจำชาติ ในบางรัฐมีศาสนนิกของบางนิกายเป็นคนส่วนใหญ่ แต่ศาสนิกของนิกายนั้นก็เป็นคนส่วนน้อยในรัฐอื่นที่มีศาสนิกของนิกายคู่แข่งเป็นคนส่วนใหญ่ จึงไม่มีศาสนาใดหรือนิกายใดผูกขาดอำนาจได้อย่างแท้จริง ประกอบกับอุดมคติเสรีนิยม (liberalism) ที่ถือว่ารัฐกับศาสนจักรต้องแยกจากกัน จึงทำให้ “เสรีภาพทางศาสนา” ได้รับการคุ้มครอง หลังปฏิวัติอมริกา ศาสนาเป็นทั้งพลังในการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความเท่าเทียม แต่ขณะเดียวกันก็มักถูกนำมาอ้างในการแบ่งแยกและกีดกันด้วย เช่นมีการอ้างความเชื่อทางศาสนาในการรณรงค์คัดค้านการออกกฎหมายให้สิทธิในการทำแท้ง คัดค้านสิทธิเท่าเทียมของเกย์ หรือคัดค้านการออกกฎหมายให้สิทธิการแต่งงานแก่คนรักเพศเดียวกันเป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เสรีภาพ ความเท่าเทียม และศักดิ์ศรีของมนุษย์คืออุดมการณ์หลักในการสร้างชาติของชาวอเมริกัน ในนิวยอร์กมีพิพิธภัณฑ์หอจดหมายเหตุแห่งชาติให้คนอเมริกันและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเข้าชมร่าง “คำประกาศอิสรภาพ” และเรื่องราวประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อเสรีภาพที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างฝ่ายกดขี่กับฝ่ายที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพ ผ่านสงครามกลางเมือง การเข่นฆ่า ความรุนแรงนับครั้งไม่ถ้วน และความยากลำบากในการต่อรองประนีประนอมของบรรพบุรุษรุ่นต่างๆ กว่าที่จะกลายมาเป็นประเทศที่มีเสรีภาพอย่างที่เห็นในปัจจุบัน และยังต้องสู้กับปัญหาการกดขี่ในมิติอื่นๆ อีกต่อไป
ต่างกันอย่างลิบลับกับสยาม-ไทย ที่ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อเสรีภาพของสามัญชนถูกทำให้ลดความสำคัญลง ด้วยการเน้นความสำคัญของประวัติศาสตร์เชิดชูวีรกรรมและสร้างสำนึกในบุญคุณของชนชั้นปกครองขึ้นมาแทน คนไทยรุ่นใหม่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า “ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1” มีเนื้อหาสำคัญที่เป็นการปักหมุดอุดมการณ์แห่งสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีของมนุษย์ไว้อย่างไรบ้าง ในแบบเรียนตามหลักสูตรการศึกษาของรัฐไม่มีให้เรียนเต็มๆ ไม่ได้เน้นความสำคัญของคณะราษฎรในฐานะวีรบุรุษผู้วางรากฐานของระบอบประชาธิปไตย แต่กลับเน้นว่ากษัตริย์เป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญและสละอำนาจแก่ราษฎรชาวสยาม-ไทย
นอกจากนี้ประวัติศาสตร์ 14 ตุลา, 6 ตุลา, พฤษภา 35, พฤษภา 53 และประวัติศาสตร์การลุกขึ้นสู้เพื่อเสรีภาพของสามัญชนในรูปแบบต่างๆ นอกจากจะไม่ถูกเน้นความสำคัญโดยรัฐไทย ยังมีความพยามทำให้ประวัติศาสตร์เหล่านั้นถูกลืมเลือน และพยายาม “ตีตรา” ว่าเป็น “ประวัติศาสตร์สร้างความขัดแย้ง” ของคนในชาติ ดังที่เผด็จการทหารยุคปัจจุบันพยายามจะตรวจสอบ “ฉากเก้าอี้ฟาดศพ” ในเพลง “ประเทศกูมี” ว่ามีเจตนาแอบแฝงหรือไม่ ต้องการนำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์บาดแผลขึ้นมาใช้สร้างความขัดแย้งหรือไม่
แท้จริงแล้ว ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อเสรีภาพของมนุษย์ในสังคมไหนๆ ในโลกนี้ (และโลกอื่นๆ ถ้ามี) มันก็คือ “ประวัติศาสตร์ความขัดแย้ง” ระหว่างอำนาจเผด็จการที่กดขี่ ปิดกั้นเสรีภาพ กับประชาชนฝ่ายที่ถูกกดขี่ ถูกปิดกั้นเสรีภาพที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อปลดปล่อยตนเองจากอำนาจเผด็จการในสังคมนั้นๆ ในยุคสมัยนั้นๆ ที่มีความซับซ้อนแตกต่างกันไป ความขัดแย้งมันจึงไม่มีวันสิ้นสุด ตราบที่ยังมีชนชั้นผู้กดขี่กับชนชั้นผู้ถูกกดขี่
อำนาจเผด็จการจึงไม่ใช่อำนาจที่สร้างความสามัคคีปรองดอง หรือเป็นอำนาจที่สลายความขัดแย้งดังที่พวกเขาพยายามหลอกลวง แต่เป็นอำนาจที่เป็นปฏิปักษ์โดยตรงหรือเป็นอำนาจที่เป็น “คู่ขัดแย้งโดยตรง” กับประชาชนส่วนใหญ่ที่ต้องการเสรีภาพและประชาธิปไตย ความขัดแย้งและความรุนแรงจะลดลงหรือสามารถเข้าสู่กระบวนการต่อสู้ ต่อรองโดยสันติวิธีได้จริง ก็ต่อเมื่อสังคมเราสามารถเดินตามหลักเสรีภาพและประชาธิปไตยได้จริงเท่านั้น ซึ่งแปลว่าอำนาจเผด็จการใดๆ ถูกขจัดออกไปได้จริง ดังสังคมเมริกาและสังคมอื่นๆ ที่เขาต่อสู้เพื่อเสรีภาพและสร้างประชาธิปไตยได้สำเร็จให้เห็นมาก่อน
ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อเสรีภาพของสามัญชนในสยาม-ไทย จึงไม่ได้ต่างจากประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อเสรีภาพของสังคมอื่นๆ ในแง่ที่ต้องผ่านห้วงเวลาและสถานการณ์ของความสับสนอลหม่าน หรือสภาวะจลาจลทางความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ ความขัดแย้งและความรุนแรงหลากรูปแบบดังที่เราเผชิญมา
คำถามสำคัญอยู่ที่ว่า ทำไมจนป่านนี้แล้วเรายังไม่สามารถนำประวัติศาสตร์บาดแผลในอดีตมาเรียนรู้ร่วมกันเพื่อเป็นบทเรียนให้ถนนต่อสู้เพื่อเสรีภาพที่ยังทอดยาวไกลของเราไม่ต้องเกิดความรุนแรงและการสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อของประชาชนซ้ำแล้วซ้ำอีก
คำตอบก็เพราะเผด็จการพยายามกีดกันความรับรู้ ความทรงจำ สำนึกของประชาชนออกจาก “ประวัติศาสตร์สามัญชน” และประวัติศาสตร์ของ “ชาติ” ที่พวกเขาสอนให้ประชาชนรู้จักและปลูกฝังให้รัก ก็ไม่ใช่ชาติที่คณะราษฎรได้ปักหมุดสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ศักดิ์ศรีของมนุษย์และอำนาจของประชาชนในการปฏิวัติสยาม 2475 หากเป็นชาติในความหมายที่มองการต่อสู้เพื่อเสรีภาพของประชาชนเป็นภัยหรือเป็นการสร้างความขัดแย้ง
แต่คนไทยก็มีความเป็น “มนุษย์” ที่ปรารถนาเสรีภาพไม่ต่างจากมนุษย์ที่ไหนๆ ในโลก เมื่อรับรู้ความหมายของ “เสรีภาพ” เสียแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีใครลุกขึ้นสู้เพื่อปลดปล่อยตนเองให้มีเสรีภาพ ดังนั้น แม้จะเกิดรัฐประหารซ้ำซากก็ไม่มีวันขจัดประชาชนที่ลุกขึ้นสู้เพื่อเสรีภาพให้หมดไปได้ ยิ่งเผด็จการลุแก่อำนาจละเมิดเสรีภาพของประชาชนตามอำเภอใจมากเท่าใด จุดจบของพวกเขาก็ยิ่งจะมาถึงในเร็ววันมากเท่านั้น เพราะประวัติศาสตร์บอกเราว่าไม่มีเผด็จการยุคไหนอยู่ค้ำฟ้า
| ['บทความ', 'การเมือง', 'การศึกษา', 'สุรพศ ทวีศักดิ์', 'เสรีภาพ', 'อเมริกา', 'ศาสนา'] |
https://prachatai.com/print/79451 | 2018-11-05 07:09 | สัมภาษณ์ คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง: ฮินดู...อีกมุมที่คนไทยไม่รู้จัก | หลังจากพุทธกาลเป็นต้นมา พุทธศาสนาก็ได้แผ่ขยายอิทธิพลความเชื่อและความศรัทธาเข้าสู่ดินแดนอุษาคเนย์จนสามารถปักหลักมั่นคงอย่างถาวรมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนศาสนาพราหมณ์เองก็ยังคงมีบทบาทเด่นและแฝงตัวอยู่ในสังคมไทยเรื่อยมาเช่นกัน ผู้คนในแถบนี้มักถือตนเป็นพุทธแท้ที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง ยึดถือพระธรรมสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใด แต่ในขณะเดียวกันก็หลงลืมรากเหง้าทางจิตวิญญาณที่แท้จริงและเก่าแก่กว่า นั่นคือ การนับถือผีบรรพชน ซึ่งเป็นวิถีชีวิตและความเชื่อที่มีมาก่อนที่ศาสนาอื่นจะเข้ามา อย่างไรก็ตาม ความหลากหลายทางประเพณี วัฒนธรรม และลัทธิความเชื่อทางศาสนานี้ได้ถูกผสมผสานปนเปมานานนับพันปี ท้ายที่สุดแล้วก็ยังไม่มีข้อสรุปว่า จริงๆ แล้ว คนไทยนับถือศาสนาอะไรกันแน่ จึงเป็นคำถามที่ไม่ค่อยมีใครอยากใคร่รู้มากนัก
คนไทยจะมองศาสนาฮินดูผ่านแว่นตาและกรอบแนวคิดเชิงพุทธศาสนาเสมอ ด้วยคติความเชื่อและค่านิยมแบบไทย ทำให้บางครั้งเกิดการตีความที่คลาดเคลื่อนและเบี่ยงเบนออกไปจากที่ควรจะเป็น อ.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นหนึ่งในผู้รอบรู้และแตกฉานในหลักปรัชญาอินเดียและศาสนาฮินดู ได้ให้มุมมองที่รอบด้าน แตกต่าง และหลากหลายมิติมากขึ้น โดยเน้นย้ำให้เปิดใจและเปิดกว้างทางความคิด พร้อมทั้งปรับทัศนคติให้มองฮินดูในแบบที่อินเดียเป็น แล้วคนไทยจะรับรู้และเข้าใจถึงแก่นแท้ที่ไม่ใช่ศาสนาลูกผสมเหมือนเช่นทุกวันนี้
1. คนไทยรู้จักศาสนาฮินดูมานานแค่ไหน และรู้จักในแบบใดบ้างเมื่อพูดถึงศาสนาฮินดู คนไทยรู้จักมาตั้งแต่โบราณแล้ว แต่เรารู้จักเป็น 3 ศาสนาด้วยกัน คือ 1) ศาสนาพุทธ 2) ศาสนาผี ซึ่งเป็นศาสนาพื้นเมือง และ 3) พราหมณ์ฮินดู ซึ่งเราอาจจะเรียกว่าศาสนาพราหมณ์ แต่ที่จริงในสมัยโบราณเรียกว่า ศาสนาไสยะ คำว่าไสยะ แปลว่า ศาสนาพราหมณ์ ไม่ได้แปลว่าไสยศาสตร์แต่อย่างใด เดิมทีเวลาเรียกศาสนาไสยะ ก็หมายถึง ศาสนาพราหมณ์ นั่นเอง เริ่มมาเรียกศาสนาพราหมณ์ สันนิษฐานว่าประมาณสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ก่อนหน้านั้นไม่มีศาสนาพราหมณ์ มีแต่ศาสนาพุทธ ศาสนาผี และศาสนาไสยะ คนไทยรู้จักมาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 1000 แล้ว แสดงว่าศาสนาเหล่านี้อยู่ในสังคมมาตั้ง 1,000 กว่าปี แต่ทำไมเรายังรู้จักศาสนาหล่านี้น้อย ก็เพราะว่า ศาสนาที่มาจากอินเดียทั้งพุทธและพราหมณ์ เมื่อเข้ามาในอุษาคเนย์หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะถูกความเป็นพื้นเมืองเข้ามาเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง หรืออาจเรียกว่า ถูกศาสนาผีครอบงำก็ได้ เมื่อก่อนเคยเชื่อว่า ศาสนาพุทธหรือพราหมณ์มีความสำคัญมากกว่าศาสนาผี แต่แนวคิดของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ บอกว่า ศาสนาผีต่างหากที่สามารถครอบงำพุทธและพราหมณ์ที่มาจากอินเดียได้ คนไทยปฏิบัติต่อพระพุทธรูปที่สำคัญเช่นเดียวกับการปฏิบัติต่อผี เช่น การบนบานศาลกล่าว หรือการถวายของชอบให้พระพุทธรูป หรือเทพเจ้าฮินดูก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีพื้นเมือง
แต่ถ้าจะถามว่า คนไทยรู้จักศาสนาฮินดูจริงๆ หรือไม่ ผมไม่แน่ใจ จนกระทั่งหลังสมัยรัชกาลที่ 6 เราถึงจะเริ่มรู้จักฮินดูในแบบที่อินเดียเป็น รัชกาลที่ 6 เป็นเจ้าฟ้ารุ่นแรกที่ไปเรียนในโลกตะวันตก ประจวบกับสมัยนั้นโลกตะวันตกกำลังสนใจภารตวิทยา เกิดสถาบันบูรพาทิศคดีศึกษา เกิดความสนใจในวรรณกรรมและนิพนธ์ของฮินดู ผมเข้าใจว่า รัชกาลที่ 6 ศึกษาเรื่องเหล่านี้มาจากโลกตะวันตก เมื่อกลับมาก็มีพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับอินเดียจำนวนมาก ซึ่งแตกต่างจากตำนานที่เรารู้จัก พระราชนิพนธ์เรื่องบ่อเกิดรามเกียรติ์ เห็นได้ชัดเลยว่า ท่านศึกษาตำราจากฝ่ายตะวันตก เพราะฉะนั้นฮินดูในแบบที่อินเดียเป็น จึงเริ่มปรากฏในวรรณพิภพหรือหนังสือในสมัยรัชกาลที่ 6 นั่นแสดงว่า ก่อนหน้านั้นเรามีขนบที่สืบทอดกันมาในรูปแบบของเราเอง
2. รูปเคารพของพระคเณศ คนไทยนำแบบมาจากที่ไหนรูปเคารพที่นิยมในปัจจุบันนั้น เรานำแบบมาจากเทวรูปของชวาในสมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 6 เรื่อยมา ก่อนหน้านั้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง พระคเณศในสังคมไทยจะมีบทบาทในฐานะเทพเจ้าคชกรรม และไม่เคยมีบทบาทอย่างอื่นเลย นั่นคือ ไม่มีบทบาทเหมือนอย่างในสังคมอินเดีย คนไทยนับถือในฐานะครูหมอช้างเท่านั้น เมื่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์พูดถึงบทบาทพระคเณศในแบบที่อินเดียเป็น คือ เป็นเทพแห่งอุปสรรค และรัชกาลที่ 6 ก็ทำให้พระคเณศมีบทบาทในเชิงศิลปะเพิ่มเติมด้วย และบทบาทนี้ถูกตอกย้ำมากขึ้นเมื่อพระคเณศกลายไปเป็นตราของวรรณคดีสโมสร กลายมาเป็นตราของกรมศิลปากร และกลายมาเป็นตราของวิทยาลัยนาฏศิลป์และมหาวิทยาลัยศิลปากร ยิ่งไปตอกย้ำบทบาทเทพเจ้าทางศิลปะ ซึ่งบทบาทนี้ไม่มีในอินเดีย และทำให้คนไทยมีขนบเกี่ยวกับพระคเณศที่ไม่เหมือนในอินเดีย มันจึงกลายเป็นขนบแบบไทยเอง
พราหมณ์ที่มาจากอินเดียก็มีบันทึกในสมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 จากจารึกวัดโพธิ์จะพูดถึงพราหมณ์ฮินดูว่า นุ่งขาวห่มขาว ฉาบไล้โคมัยไป่เสพมังสะ แต่พราหมณ์ราชสำนักเป็นพราหมณ์แบบรามราช มี 2 สาย คือ สายที่ 1 จะมาจากอินเดียตอนใต้ ส่วนหนึ่งจะมาเป็นพราหมณ์ในราชสำนัก ส่วนสายที่ 2 จะเป็นพราหมณ์ที่มาจากอินเดียภาคเหนือ พวกนี้อาจเรียกว่าฮินดู มีลักษณะแตกต่างกันบ้าง พราหมณ์จากอินเดียใต้สืบเชื้อสายมาเป็นพราหมณ์หลวง ซึ่งเป็นพราหมณ์ที่อยู่ในกรอบวัฒนธรรมไทยมาโดยตลอด
เทวสถานของชาวอินเดียอย่างโบสถ์พราหมณ์มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ส่วนวัดแขกสีลมซึ่งแต่เดิมอยู่ที่หัวลำโพงเริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะคนอินเดียอพยพมาเป็นผู้ใช้แรงงาน และก็มีวัดวิษณุ วัดเทพมณเฑียร ซึ่งเกิดใกล้เคียงกันในสมัยรัชกาลที่ 5 เดิมทีให้บริการเฉพาะคนอินเดีย คนไทยไม่ได้รับรู้อะไรมากมายนัก เมื่อไม่กี่สิบปีนี้ต่างหากที่เริ่มเปิดให้คนไทยเรียนรู้ ดังนั้นจึงเป็นศาสนาที่เรามีข้อมูลใหม่มาก นอกเหนือจากปัจจัยด้านวัฒนธรรมแล้ว คนไทยยังไม่รู้จักพราหมณ์ฮินดูจริงๆ ด้วยอีกเหตุผลนึง ก็คือ เรารู้จักพราหมณ์ฮินดูผ่านวรรณกรรมและกรอบแบบพุทธศาสนา หมายถึง อะไรก็ตามที่เกี่ยวกับพราหมณ์ฮินดู เดิมความรู้นั้นจะผ่านมาทางคัมภีร์ของพุทธศาสนา เช่น ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงพราหมณ์ ระบบวรรณะ วัฒนธรรมอินเดีย เป็นต้น เราจึงไม่ได้ศึกษาโดยตรง ดังนั้นความเป็นวัฒนธรรมไทยและศาสนาพื้นเมืองทำให้เกิดมุมมองที่มีต่อพราหมณ์ฮินดูในแบบที่เรามอง จึงทำให้รู้จักพราหมณ์ฮินดูแบบจริงๆ น้อย
3. เทพเจ้าฮินดูเริ่มแพร่หลายในสังคมไทยมาตั้งแต่เมื่อไหร่เดิมเทวสถานของคนอินเดียก็จำกัดวงแต่เฉพาะคนอินเดีย ชาวบ้านที่นับถือเทพเจ้าฮินดูก็มีบ้างแต่น้อย ยังไม่ได้นิยมแพร่หลายมากนัก พราหมณ์ราชสำนักสยามรับใช้อยู่แต่ในราชสำนัก แต่เพิ่งได้รับอนุญาตทำพิธีให้กับคนธรรมดาในสมัยรัชกาลที่ 9 ก่อนหน้านั้นพราหมณ์หลวงไม่เคยทำพิธีให้คนทั่วไปเลย เพราะฉะนั้นชาวบ้านจึงรู้จักแต่หมอพราหมณ์ ก็คือ ชาวบ้านที่พอมีความรู้เกี่ยวกับพระภูมิเจ้าที่และทำพิธีบวงสรวงได้ แต่ไม่ได้รู้จักพิธีกรรมแบบพราหมณ์จริงๆ เลย ซึ่งการนำเทพเจ้าฮินดูมาเป็นส่วนหนึ่งของระบบเทวพาณิชย์ ระบบเครื่องรางของขลัง เพิ่งมีได้ไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา อาจเป็นเพราะว่ากลไกของวงการพระเครื่องมีการเปลี่ยนแปลง คือ ต้องเลือกวัตถุมงคลใหม่ๆ เข้ามาสู่ตลาดเสมอ เมื่อก่อนวงการพระเครื่องจะจำกัดอยู่ในวงพระเกจิอาจารย์ พระพุทธรูป เครื่องรางของขลัง ต่อมาตลาดแบบฮินดูเริ่มเปิดกว้างขึ้น เทพเจ้าจึงถูกเลือกมาใช้ ซึ่งพระคเณศได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ในหมู่เทพเจ้าทั้งหลาย
4. ทำไมพระคเณศจึงได้รับความนิยมบูชาจากคนไทยจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเทพเจ้าองค์อื่น1) ในแง่รูปลักษณ์ พระคเณศมีความน่าสนใจ มีความสะดุดตากว่าเทพเจ้าองค์อื่น 2) พระคเณศถูกนำมาเกี่ยวพันกับสถาบันการศึกษา ช่วยให้คนรับรู้เกี่ยวกับเทพเจ้าองค์นี้มากขึ้น 3) พระคเณศเป็นที่นิยมในวงการบันเทิง สิ่งที่น่าแปลกคือ วงการนาฏศิลป์แต่โบราณไม่ได้พูดถึงพระคเณศ ก่อนสมัยรัชกาลที่ 6 ไม่มีหัวโขนพระคเณศตั้งอยู่ในพิธี แต่เพิ่งมีในสมัยรัชกาลที่ 6 แสดงว่า ก่อนหน้านั้นพระคเณศไม่ได้ถูกนับเป็นเทพเจ้าในทางศิลปะเลย แต่หลังสมัยรัชกาลที่ 6 คนที่อยู่ในวงการบันเทิง นาฏศิลป์ ดนตรี ก็รู้สึกว่าตนเองเกี่ยวพันกับพระคเณศด้วย กลายเป็นว่า พระคเณศอยู่ในหลากหลายพื้นที่มากกว่าเทพเจ้าฮินดูองค์อื่น เป็นเทพเจ้าที่คนไทยรู้จักและรับรู้มากที่สุดเพราะอยู่ในวัฒนธรรมไทยมาโดยตลอด
การบูชาเทพเจ้าทั้งหลายนั้น พระคเณศได้รับพรว่า จะต้องบูชาพระคเณศก่อนเสมอ จึงทำให้มีความสำคัญลำดับแรก สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องมาทีหลังเมื่อคนไทยเริ่มรับรู้ฮินดูในแบบที่อินเดียเป็นแล้ว แต่ก่อนหน้านั้นมีบันทึกของพระยาอนุมานราชธนว่า คนไทยรู้จักพระคเณศแค่ว่า ไหว้แล้วเป็นสิริมงคล แต่ไม่รู้อะไรมากกว่านั้น ท่านเขียนเรื่องนี้ในปลายสมัยรัชกาลที่ 6 ตอนนั้นคนไทยยังไม่รู้จักพระคเณศเลย รู้แค่ว่าโบสถ์พราหมณ์มีฉลองตอนตรียัมปวาย รู้ว่าไหว้องค์นี้แล้วเป็นสวัสดิมงคล ดังนั้นการแพร่หลายของการนับถือเทพเจ้าฮินดูถือเป็นปรากฏการณ์ที่ใหม่
5. ทำไมวัดบางแห่งจึงมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือรูปเคารพในแบบบุฟเฟ่ต์ทั้งแบบพุทธ จีน ฮินดู อยู่ภายในวัดเดียวกัน ตอบสนองความต้องการของคนไทยแบบ One Stop Service อาจารย์มองปรากฏการณ์นี้อย่างไรบ้างอ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เคยบอกว่า เวลาบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะมีอยู่ 2 หน้าที่ คือ 1) เป็นเรื่องทางโลกุตระ เช่น ขอให้จิตใจสงบ และ 2) เป็นเรื่องทางโลก เช่น ขอให้ถูกหวยหรือให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น แต่เดิม 2 หน้าที่แบ่งกันโดยพุทธกับศาสนาผี ซึ่งพุทธจะมาทำหน้าที่ทางโลกุตระ ส่วนศาสนาผีก็ยังทำหน้าที่ทางโลกอยู่ แต่ศาสนาผีต้องไปอยู่หลังพุทธ ทำให้มีอิทธิพลน้อยลง ดังนั้นพื้นที่ของพราหมณ์จึงมีมากขึ้น พราหมณ์จึงมาอยู่ในหน้าที่เดียวกันกับศาสนาผี พุทธพยายามตัดหน้าที่ทางโลกออกหลังจากการปฏิรูปพุทธศาสนาในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 ดังนั้นเมื่อพูดถึงพุทธ ต้องพูดในทางโลกุตระเท่านั้น ส่วนหน้าที่ทางโลกจึงถูกผลักดันให้มาเป็นหน้าที่ของพราหมณ์แทน
นอกจากเป็นพื้นที่ทางโลกแล้ว ก็ยังเป็นเรื่องของการตลาดด้วย หน้าที่ของวัดในสังคมไทยทำอะไรได้น้อยลงโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ขณะที่ในชนบทวัดยังเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชน แต่วัดในเมืองใหญ่ไม่ได้มีกิจกรรมชุมชนมากนัก และบางวัดไม่ได้ถูกอบรมมาให้ทำกิจกรรมธรรมะสักเท่าไหร่ จึงทำให้คนเข้าวัดน้อยลงด้วย ดังนั้นวัดจึงต้องหาสิ่งมาดึงดูดคนให้เข้าวัดมากขึ้น กิจกรรมที่จะไปดึงดูดคนได้ก็ต้องเป็นเรื่องทางโลก ถ้าใช้พระพุทธรูปอาจจะธรรมดาเกินไปและไม่กว้างพอ แต่เทพเจ้าฮินดูจะดูเร้าใจและน่าสนใจมากกว่า อีกนัยหนึ่ง วัดถูกทำให้เป็นกึ่งสวนสนุก ได้เห็นสิ่งแปลกๆ มีจุดให้ทำบุญที่สอดคล้องกับความต้องการในแต่ละด้านของคนไทย เช่น มีจุดทำบุญโลงศพ จุดไหว้พระคเณศ จุดไหว้ไท้ส่วยเอี๊ย เป็นต้น
6. ทำอย่างไรจึงจะให้คนไทยเข้าใจและเรียนรู้ศาสนาฮินดูในแบบที่อินเดียเป็น ไม่ใช่ลูกผสมแบบไทยๆหลักการง่ายที่สุด คือ ต้องเรียนรู้จากอินเดียโดยตรงโดยไม่ผ่านคนกลาง แต่ทุกวันนี้คนไทยเรียนรู้ฮินดูในแบบมือสอง เช่น 1) เรียนรู้จากกรอบพุทธศาสนา ทุกครั้งที่พูดถึงพราหมณ์ก็ยังอ้างอิงมาจากคัมภีร์พุทธศาสนา 2) เวลาคนไทยมองศาสนาอื่น ก็ยังมองแบบมีลำดับชั้น โดยมองว่า พุทธศาสนาต้องอยู่สูงสุด แต่ถ้าเปิดใจให้กว้างและเรียนรู้ศาสนาอื่นในแบบที่เป็น ก็ต้องมองและศึกษาอย่างที่เขาเป็นเช่นกัน และให้ความเคารพอย่างเท่าเทียมกัน แต่ถ้าการเรียนรู้แบบมีอคติจะมองว่า ศาสนาอื่นอยู่ต่ำกว่าพุทธโดยมองผ่านกรอบที่ตั้งเอาไว้ สุดท้ายแล้วจะไม่ได้อะไรเลย ทำให้มองไม่เห็นความเป็นฮินดูอย่างที่อินเดียเป็น
7. เทพเจ้าฮินดูในมุมมองของคนไทยกับคนอินเดีย มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรหากมองเทพเจ้าฮินดูผ่านพุทธศาสนาจากกรอบจักรวาลวิทยาแล้ว จะพบว่า 1) พระพุทธเจ้าจะต้องอยู่สูงสุดและไล่ลำดับลงมาเป็นเทพ แต่ฮินดูจะมองว่า เทพก็คือพระเจ้า พระเจ้าก็คือเทพ ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่ไปกว่าพระเจ้าอีกแล้ว นี่จึงเป็นจักรวาลวิทยาที่แตกต่างกัน 2) มองแบบแนวคิดพุทธศาสนา ทุกอย่างจะถูกมองเป็นเรื่องผลกรรม เช่น พระศิวะ คือ คนที่ทำดีแล้วไปเกิดเป็นพระศิวะ เทพเจ้าทุกองค์ต้องผ่านระบบนี้มาหมด แต่ฮินดูจะมองอีกแบบหนึ่ง คือ เทพเจ้าเกิดขึ้นเอง เรียกว่า สวยัมภู ไม่มีใครสร้างพระองค์ และพระองค์ก็ไม่เคยเกิดเป็นมนุษย์ นี่เป็นระบบคิดเกี่ยวกับเทพเจ้าที่ต่างกัน ในอีกแง่หนึ่ง พุทธศาสนาทำให้เทพเจ้ามีหน้าที่บางอย่างในการสนับสนุนส่งเสริมพุทธศาสนาอีกด้วย เช่น ถ้าไปอ่านในไตรภูมิโลกยวินิจฉัยในสมัยรัชกาลที่ 1 จะพบว่า พระศิวะเป็นพวกมิจฉาทิฐิ แต่สุดท้ายถูกพระพุทธเจ้ากำราบ แล้วจึงยอมเปลี่ยนมานับถือพุทธเพื่อจะได้บังเกิดเป็นพระพุทธเจ้าอีกองค์ในอนาคต นี่เป็นวิธีจับเอาคติความเชื่ออื่นๆ มารวมอยู่ในพุทธ สิ่งเหล่านี้พุทธศาสนาเป็นเหมือนกันเกือบหมดทุกประเทศ แต่เป็นในระดับที่มากน้อยต่างกัน เช่น ถ้าไปศรีลังกา เทพเจ้าฮินดูจะเป็นผู้ดูแลพุทธสถานอยู่ในวัด ถ้าไปฝ่ายมหายาน เทพเจ้าฮินดูจะเป็นพระธรรมบาล เป็นผู้ปกป้องพระธรรม นั่นหมายความว่า เทพเจ้าทั้งหลายต้องยอมรับพุทธศาสนาก่อน นี่เป็นเรื่องธรรมดาเมื่อจะนำศาสนาอื่นเข้ามาก็ต้องเกิดการกดข่มกัน มีการจัดลำดับชั้นกันใหม่
8. ทุกวันนี้มีตำหนักทรงเจ้าเกิดขึ้นมากมาย ส่วนใหญ่มีการนำเทพเจ้าฮินดูมาเข้าทรงด้วย ในอินเดียมีการเข้าทรงในลักษณะนี้หรือไม่ ในอินเดียก็มีการเข้าทรงเทพเจ้าเหมือนกัน แต่เป็นประเพณีของท้องถิ่น นั่นแปลว่า เทพเจ้าที่เข้าทรงจะเป็นเทพในท้องถิ่นหรือเหมือนกันกับ ผี ในอุษาคเนย์ ซึ่งอินเดียก็นับถือผีมาก่อนที่ศาสนาแบบอารยันจะเข้ามาครอบงำไปทั่วทั้งอินเดีย อย่างเช่น การนับถือเจ้าพ่อเจ้าแม่ในท้องที่ต่างๆ ในรัฐเกราละก็นับถือนาค ในแคว้นมหาราษฎร์จะมีการนับถือไภรวะอยู่องค์หนึ่ง ชื่อ คันโทพา เดิมเป็นวีรกษัตริย์ สุดท้ายก็กลายมาเป็นบรรพบุรุษ เป็นเทพผู้ชายที่เป็นผีบรรพชน ซึ่งคนในท้องถิ่นจะนับถือมาก ต่อมาก็ถูกผนวกเป็นฮินดูและกลายเป็นส่วนหนึ่งของพระไภรวะหรือไภรพ ในอินเดียบางที่ผีก็เป็นผู้ชาย บางที่ผีก็เป็นผู้หญิง แต่ผู้หญิงมีเยอะกว่าผู้ชาย อย่างในภาคใต้ของไทย ก็มีทั้งผีพ่อตาและผีแม่ยาย
เทพเจ้าที่อยู่ในระบบอารยัน เช่น พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ พระคเณศ จะไม่เข้าทรง แต่วัดแขกสีลมสามารถเข้าทรงเจ้าแม่ได้เพราะเป็นผีพื้นเมือง เนื่องจากองค์ประธานเป็นเจ้าแม่พื้นเมือง คือ พระแม่มาริอัมมัน แต่ถ้าพูดถึงเทพเจ้าฮินดูที่อยู่ในสารบบพระเวทแล้วจะไม่มีการเข้าทรง ซึ่งเป็นคนละแบบความเชื่อกับคนไทย คนไทยนับถือผีเหมือนกับอินเดีย แต่เดิมก็เข้าทรงผีอยู่แล้ว เช่น เจ้าพ่อเจ้าแม่ต่างๆ ต่อมาการเข้าทรงมีการเปลี่ยนพื้นที่ เดิมทีเป็นเรื่องของชุมชน ต่อมาเป็นเรื่องของปัจเจกที่แต่ละคนจะมีตำหนักของตัวเองที่ไม่เกี่ยวข้องกับชุมชน องค์ความรู้ในการเข้าทรงแบบเดิมจะถูกตัดขาดไป แต่ก็ยังมีการเข้าทรงอยู่ จึงเปลี่ยนมาเป็นเข้าทรงเทพเจ้าฮินดูแทน หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ การเปลี่ยนรูปลักษณ์ ตำนาน พิธีกรรมเท่าที่รับรู้มาจากอินเดียให้มาอยู่ในระบบเข้าทรงของผี กลายเป็นว่าเทพเจ้าฮินดูไม่ว่าจะองค์ใหญ่หรือองค์เล็กแค่ไหน ก็เข้าทรงได้ในเมืองไทย เคยมีคนทำวิจัยว่า เทพเจ้าฮินดูอยู่ในลำดับต้นๆ ของการเข้าทรงเทพเจ้า เพราะมีความยิ่งใหญ่อลังการมากกว่าผีไทยและดูอินเตอร์กว่าด้วย
9. การบูชาเทพเจ้าฮินดูจะนิยมบูชาด้วยผลไม้ ของหวาน และไม่มีเนื้อสัตว์ แต่คนไทยนนิยมบูชาทั้งของคาวและของหวานอินเดียก็มีเทพเจ้าอยู่ 2 ประเภท คือ เทพเจ้าที่กินเนื้อสัตว์ และเทพเจ้าที่ไม่กินเนื้อสัตว์ ในสมัยพระเวท เทพเจ้าองค์หลักก็กินเนื้อวัวด้วย ในคัมภีร์คฤหยสูตรพูดถึงเรื่องการปรุงอาหารเนื้อถวาย ต่อมาเมื่อเกิดพุทธศาสนาขึ้นมา พราหมณ์ก็พยายามปรับตัวเป็นมังสวิรัติ เทพเจ้าจึงถูกเกณฑ์ให้เป็นมังสวิรัติด้วย เทพเจ้าระดับใหญ่จึงกลายมาเป็นมังสวิรัติ ส่วนเทพระดับชาวบ้าน ซึ่งอิทธิพลของพราหมณ์ระดับทางการยังไปไม่ถึง ก็ยังมีการไหว้ด้วยเนื้อสัตว์หรือเหล้าอยู่
ไทยนับถือผี คนไทยคิดว่า เนื้อสัตว์ทั้งหลายที่ผีโปรดจะเป็นของดี ของวิเศษ แต่เมื่อเทพเจ้าจากอินเดียเข้ามา ในระบบการบวงสรวงของไทยจะใช้วิธีเรียกรวม ถ้าเป็นเทพเจ้าที่ไม่กินเนื้อก็มีกระยาบวชให้กิน เช่น กล้วย อ้อย ถ้าเป็นเทพเจ้าที่กินเนื้อก็มีให้กินด้วย นั่นคือ ใช้ระบบผีผสมพราหมณ์ในการบวงสรวง แต่แกนหลักจะเป็นผีเพราะมีเนื้อสัตว์
แต่ต่อมาก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเริ่มรู้ว่าฮินดูจริงๆ เป็นอย่างไร มีการจัดโต๊ะสังเวยที่ไม่มีเนื้อสัตว์เกิดขึ้นซึ่งนำโดยโบสถ์พราหมณ์ พระมหาราชครูท่านก็พยายามสร้างระบบที่เป็นฮินดูมากขึ้น ดังนั้นเวลาไปบวงสรวงที่ไหน อาหารที่ถวายในพิธีจะไม่มีเนื้อสัตว์
10. พระคเณศในคัมภีร์พระเวทยุคแรกนั้นไม่มีการระบุว่ามีรูปลักษณ์เป็นอย่างไร เคยมีคนเสนอว่า พระคเณศที่มีรูปลักษณ์เช่นในปัจจุบันน่าจะได้รับอิทธิพลจากการส่งช้างจากอุษาคเนย์ไปค้าขายในอินเดียคนที่นำเสนอแนวคิดนี้เป็นคนแรก ก็คือ ไมเคิล ไรท์ ผมมีความเห็นว่า มีความเป็นไปได้ เนื่องจากพระคเณศเป็นเทพเจ้านอกพระเวท เพราะมีบทสวดบทหนึ่งชื่อ คณปติ และพูดถึงเทพเจ้าชื่อ คณปติ แต่พูดแค่นั้น และไม่ได้บอกว่ามีรูปลักษณ์อย่างไร เพราะฉะนั้นในวรรณกรรมพระเวท ไม่มีการพูดถึงเทพเจ้าที่มีหัวเป็นช้างเลย จนกระทั่งวรรณกรรมยุคหลัง เช่น ยัชญาวัลกยสมฤติ ก็พูดถึงเทพเจ้าองค์หนึ่งชื่อ ทันติน ที่มีหัวเป็นช้าง แต่นักวิชาการแย้งว่า น่าจะเป็นการเพิ่มเติมเข้าไปภายหลัง ดังนั้นสรุปได้ว่า ไม่มีการพูดถึงเทพเจ้าที่มีหัวเป็นช้างในคัมภีร์พระเวท แสดงว่า อารยันไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้เลย นั่นแสดงว่าพระคเณศที่มีหัวเป็นช้างเพิ่งมีมาภายหลัง
มีหลักฐานที่น่าสนใจว่า 1) คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความรู้เรื่องช้างมานานแล้ว ในอินเดียก่อนที่อารยันจะเข้ามา จะมีชนเผ่าพื้นเมืองที่เรียกว่า มุนฑะ เป็นคนพูดภาษาตระกูลมอญเขมร และมีหลักฐานเพิ่มเติมในทางมานุษยวิทยาว่า จุดกำเนิดของเผ่ามุนฑะอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากนั้นจึงอพยพไปอยู่อินเดีย และเผ่ามุนฑะเป็นตระกูลที่มีความรู้ในการเลี้ยงช้าง จึงอาจเป็นไปได้ว่า เป็นกลุ่มคนที่ถูกส่งไปอินเดียพร้อมกับการค้าช้างในสมัยก่อน หรืออาจจะอพยพไปก่อนหน้านั้นก็เป็นได้ 2) หลักฐานการค้าช้างมีลายลักษณ์อักษรในสมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ อ.ศิริพจน์ มานะเจริญ บอกว่า มีหลักฐานที่เก่าแก่กว่านั้น เช่น มีจารึกในมอญเรื่องการส่งช้างก่อนสมัยอยุธยา 3) ช้างในอินเดียเป็นช้างที่ฝึกไม่ได้ ช้างในโลกนี้มี 2 สายพันธุ์ คือ ช้างเอเชียและช้างอัฟริกา แต่ช้างอัฟริกานั้นฝึกไม่ได้ ช้างในตระกูลเอเชียมี 2 สายพันธุ์ คือ ช้างอินเดียกับช้างไทย ไมเคิล ไรท์ บอกว่า ช้างอินเดียฝึกไม่ได้ ส่วนช้างอินเดียปัจจุบันที่ฝึกได้เพราะมีการผสมพันธุ์กับช้างไทยมาแล้วตั้งแต่สมัยก่อน 4) คัมภีร์คชศาสตร์อินเดีย ไม่ค่อยเก่า เราคิดว่ารับคชศาสตร์มาจากอินเดีย แต่เมื่อไปอ่านเนื้อหาแล้วมีรายละเอียดไม่เหมือนกันและไม่ได้เก่ามาก คัมภีร์เหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในอินเดียภาคใต้ 5) พระเทวกรรมของไทย เป็นผีพื้นเมือง มีรูปลักษณ์เป็นพระคเณศ ประเทศไทยมีพระคเณศที่อินเดียไม่มี เช่น พระเทวกรรม ที่มีหน้าตาเหมือนพระคเณศทุกอย่าง มีหัวเป็นช้าง แต่ไม่ใช่พระคเณศ และในพิธีสำคัญก็ต้องเชิญพระเทวกรรมด้วย ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ไม่ทราบมาก่อนเพราะเป็นเรื่องของราชสำนัก
พระเทวกรรมเป็นเทพที่เกี่ยวพันกับคชศาสตร์ มีหลายลักษณะ เช่น มีรูปลักษณ์เป็นคน หรือเป็นรูปพระคเณศที่ถือบ่วงบาศก์ ถือคฑา เหตุผลหนึ่งที่ไม่มีการเผยแพร่จากราชสำนัก เนื่องจากวิชาเลี้ยงช้างเป็นวิชาของราชสำนัก จึงไม่จำเป็นสำหรับคนทั่วไป และอีกเหตุหนึ่งที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักพระเทวกรรม เนื่องจากปัจจุบันไม่มีการจับช้างเกิดขึ้นแล้ว จึงไม่มีโอกาสเผยแพร่เรื่องเหล่านี้ออกไป คชกรรมครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 9
11. ศาสนาฮินดูในภาคเหนือและภาคใต้ของอินเดีย มีความแตกต่างกันอย่างไรไทยรับศาสนาพราหมณ์ฮินดูมาจากอินเดียใต้เป็นหลัก ภาคใต้มีประเพณีหลายอย่างที่ไม่เหมือนภาคเหนือ ระบบพราหมณ์และพิธีกรรมสำคัญจะใช้คัมภีร์พระเวทเหมือนกัน แต่อาจแตกต่างกันในรายละเอียด สิ่งที่ห่อหุ้มไม่เหมือนกัน นั่นคือ วัฒนธรรม ซึ่งวัฒนธรรมพื้นเมืองภาคเหนือมีอิทธิพลน้อยกว่าภาคใต้ วัฒนธรรมประเพณีภาคใต้จะมีมากกว่า เช่น เวลาที่พราหมณ์ทำพิธี จะทำพิธีในแบบพื้นเมืองและพิธีในแบบพระเวท ส่วนภาคเหนือก็มีอิทธิพลบางอย่างกับไทยเหมือนกัน เพียงแต่ภาคใต้จะใกล้ชิดกับอุษาคเนย์มาเก่ากว่า จากเหตุผล 1) คนภาคใต้เป็นพวกแรกที่เดินทางมาอุษาคเนย์ เพราะอยู่ติดทะเล เดินทางสะดวก และมีการติดต่อค้าขายกันตลอด 2) พราหมณ์ในสยามส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากภาคใต้ ดังนั้นประเพณีภาคใต้จึงกลายเป็นประเพณีของราชสำนัก เช่น พิธีตรียัมปวาย เป็นพิธีพื้นบ้านที่กลายมาเป็นพิธีหลวง ซึ่งพิธีนี้ไม่มีในอินเดียภาคเหนือ
12. ทำไมพระพรหมในบ้านเราจึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและสถิตอยู่ทุกแห่ง มีการตั้งศาลพระพรหมกันอย่างแพร่หลายทั้งสถานที่ราชการและบริษัทห้างร้านเอกชนเทพเจ้าฮินดูมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บางองค์อาจจะถูกลืม บางองค์แปลงไปเป็นอีกองค์หนึ่ง เช่น พระวิษณุ แต่เดิมนั้นในคัมภีร์พระเวทเป็นเทพในกลุ่มพระอาทิตย์กลุ่มหนึ่ง ต่อมากลายเป็นพระวิษณุอย่างที่รู้จัก ส่วนพระพรหมก็เคยมีบทบาทสำคัญมาก่อน ภายหลังถูกแทนที่ด้วยบทบาทของมหาเทพอีก 2 องค์ ก็คือ พระวิษณุกับพระศิวะ ที่เกิดขึ้นในยุคหลังพุทธกาลเล็กน้อย เรียกว่า ยุคมหาเทพ ที่มีคัมภีร์ปุราณะเกิดขึ้นและก็ได้สร้างบทบาทเด่นของมหาเทพบางองค์ขึ้นมา เช่น พระวิษณุกับพระศิวะ พระพรหมถูกลดบทบาทลง อาจเป็นเพราะว่าเก่าแล้ว และไปเกี่ยวพันกับพุทธศาสนาเยอะ ชาวอินเดียจึงมีเทวตำนานที่ทำให้พระพรหมหายไป แต่บ้านเราเมื่อได้รับพุทธศาสนาในยุคต้นที่เป็นเถรวาท พระพรหมก็ยังมีบทบาทอยู่ในวรรณกรรมพุทธศาสนาคู่กับพระอินทร์ ส่วนพระอินทร์ก็ถูกลดบทบาทจากการแต่งเทวตำนานเหมือนกัน แต่ 2 องค์นี้ยังมีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา เพราะฉะนั้นการที่มีศาลพระพรหมเป็นจำนวนมากก็เป็นอิทธิพลของวรรณกรรมพุทธศาสนา
ศาลพระพรหมในยุคแรกน่าจะมาจากโบสถ์พราหมณ์ ซึ่งโบสถ์พราหมณ์สร้างศาลพระพรหมที่ยังมีรูปลักษณ์กึ่งอินเดียอยู่ เช่น พระพรหมถือช้อน หลังจากนั้นก็เผยแพร่ไปสู่ภายนอก เช่น พระพรหมเอราวัณที่มีรูปลักษณ์เป็นไทยประยุกต์และมีคติแบบพุทธด้วย ผู้สร้างพระพรหมที่เอราวัณนั้นไม่ได้สร้างพระพรหมที่สร้างโลก แต่สร้างพระพรหมในคติแบบพรหมโลก แบบเทวโลก คนละความหมายกับพระพรหมในอินเดียแต่ใช้รูปลักษณ์เดียวกัน ต่อมาเมื่อภาคเอกชนมีการสร้างเทวาลัยพระพรหม จึงมีการเลียนแบบโดยการสร้างศาลพระพรหมมากขึ้น บริษัทห้างร้านคิดว่า การมีศาลพระภูมิเจ้าที่ยังไม่เพียงพอกับกิจการขนาดใหญ่ จึงได้ตั้งศาลพระพรหมขึ้นมาด้วย
เทพเจ้าฮินดูในสังคมร่วมสมัยได้ถูกนำมาใช้แทนหน้าที่ของผีหรือพระภูมิเจ้าที่ เอามาอยู่ในหน้าที่เดียวกันกับพระภูมิเจ้าที่ ซึ่งไม่ใช่พระภูมิเจ้าที่ แต่เป็นพระพรหม เมื่อไปห้างเซ็นทรัลเวิร์ล จะมีพระคเณศซึ่งตั้งอยู่ในตำแหน่งพระภูมิเจ้าที่ ถัดไปก็จะมีพระศิวะปัญจมุกขีซึ่งมาทำหน้าที่แทนพระพรหม ดังนั้นจะสังเกตว่า เทพเจ้าองค์ใหญ่ในฮินดูจะเฝ้าแต่ห้าง โรงแรม หรือพื้นที่ของตัวเอง นี่คือการทำหน้าที่แทนพระภูมิเจ้าที่ เพราะ 1) พระภูมิเจ้าที่จะดูเป็นเทพพื้นเมืองมากไป 2) พระภูมิเจ้าที่ไม่ใหญ่พอที่จะดูแลกิจการได้ ดังนั้นคนไทยคิดว่า เทพเจ้าฮินดูควรจะมาทำหน้าที่เป็นเทพารักษ์แทนพระภูมิเจ้าที่
ความเชื่อเรื่องผียังมีอำนาจมาก อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ให้ความเห็นว่า ผีครอบทั้งพราหมณ์และพุทธยังไม่พอ แต่อาจมีอิทธิพลมากกว่าสมัยโบราณด้วยซ้ำไป สังคมไทยเป็นพุทธจริงหรือไม่ ก็ยังไม่แน่ใจ เป็นพราหมณ์หรือไม่ ก็ยังไม่แน่ใจ และความรู้เรื่องพราหมณ์ฮินดูที่มาจากอินเดียก็ยังใหม่มากในสังคมไทยอีกด้วย ผีซึ่งอยู่มานานในสังคมไทย จึงยังอยู่ในมโนสำนึกของคนไทย หากคนไทยไม่สามารถออกไปจากอคติที่เกี่ยวข้องกับการจัดลำดับชั้นความสำคัญของพุทธศาสนาแล้ว ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับพราหมณ์ฮินดูและศาสนาอื่นๆ ก็จะยังคงมีต่อไปเรื่อยๆ ดังนั้นการทำความเข้าใจก็ต้องเข้าใจในแบบที่อินเดียเป็น
13. คนไทยที่นับถือพุทธ ถ้านับถือหรือบูชาเทพเจ้าฮินดูด้วย จะผิดหลักทางศาสนาหรือไม่ต้องถามตัวเองก่อนว่า 1) คนไทยอยากเป็นพุทธแท้ พุทธบริสุทธิ์หรือไม่ ถ้าอยากเป็นพุทธแท้ก็ไม่ต้องบูชาเทพเจ้าฮินดู 2) ถ้าคนไทยรู้สึกดีกับการเป็นศาสนาผสมทั้ง ผี พราหมณ์ พุทธ ก็สามารถบูชาเทพเจ้าในแบบที่คนไทยคุ้นเคยได้ ไม่ได้ผิดอะไร 3) ถ้าคนไทยอยากจะนับถือพราหมณ์ฮินดูในแบบที่ถูกต้อง เรื่องนี้ต้องศึกษาหาความรู้และต้องบูชาในแบบที่อินเดียเป็น สุดท้ายแล้วถ้าแต่ละคนตอบคำถามตัวเองได้ ก็ทำแบบนั้น ถ้าอยากรู้จักพราหมณ์ฮินดูมากขึ้นก็ต้องศึกษาคัมภีร์สำคัญ เช่น อุปนิษัท แต่ปัญหาอย่างหนึ่งของคัมภีร์ คือ ถูกแปลเป็นภาษาไทยจำนวนน้อย รวมทั้งผู้รู้จริงยังมีน้อย ทำให้เกิดการสร้างความรู้บางอย่างที่ผิดแผกบิดเบี้ยวขึ้นมา ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของผลประโยชน์และการตลาด ดังนั้นคนที่สนใจจริงก็ต้องกลั่นกรองข้อมูล แต่ปัจจุบันมีความรู้มากมายในโลกออนไลน์ แต่ก็ต้องกรองและเลือกข้อมูลที่ถูกต้องและมีประโยชน์ด้วย
14. ศาสนาฮินดูควรจะมีองค์กรกลางมากำกับดูแลเหมือนมหาเถรสมาคมหรือไม่ เพื่อให้เป็นแบบอย่างและมีมาตรฐานเดียวกันในอินเดียไม่มีองค์กรส่วนกลางของศาสนาฮินดูเหมือนมหาเถรสมาคม นั่นแปลว่า ทุกกิจกรรมของศาสนาเป็นเรื่องของเอกชน ไม่มีแบบแผนเป็นมาตรฐาน แต่ก็มีการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ เช่น มีอาจารยสภา บรรดานักบวชสำคัญในนิกายต่างๆ จะมาประชุมแลกเปลี่ยนความเห็นซึ่งกันและกัน แต่ไม่ได้มีอำนาจตามกฎหมาย เช่น ไม่สามารถไปจับกุมนักบวชปลอมได้ เป็นต้น และเกิดคำถามตามมาว่า จะไม่มีความวุ่นวายจริงหรือ แต่อินเดียก็มีกฎหมายอื่นที่จะมาดูแลจัดการ เช่น ถ้ามีการหลอกลวงประชาชนหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพก็จะมีกฎหมายอื่นมาจัดการแทน นั่นเป็นแนวทางแบบอินเดียที่ไม่มีองค์กรส่วนกลางมาปกครอง แต่ละนิกายจะไม่ยุ่งเกี่ยวกันแต่ต้องทำตามกฎหมาย ปัญหาก็คือ 1) เมื่อมีองค์กรกลางที่มีอำนาจตามกฎหมายในการบังคับบัญชาแล้ว ก็จะมีโอกาสในการฉ้อฉลอำนาจเหล่านี้ได้ 2) ถ้าจะยึดถือหลักปฏิบัติของศาสนาฮินดูที่ถูกต้อง ก็ต้องถามว่า ถูกต้องของใคร เพราะมีหลากหลายนิกายมากกว่าพุทธศาสนาเสียอีก
ในกรณีการเข้าทรง ผมคิดว่า ไม่ควรมีองค์กรส่วนกลาง เพียงแต่ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เช่น ถ้ามีการหลอกลวง ฉ้อโกง เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือร่างกาย หรือละเมิดสิทธิในแง่ใดแง่หนึ่ง ก็ต้องดำเนินการไปตามกฎหมายนั้นๆ แต่ไม่ควรมีกฎหมายศาสนา เพราะสุดท้ายแล้วใครจะเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายนั้น
องค์กรศาสนาฮินดูในบ้านเรามี 3 องค์กร คือ 1) โบสถ์พราหมณ์ 2) ฮินดูสมาช 3) ฮินดูธรรมสภา รวมกันเรียกว่า องค์กรศาสนาพราหมณ์ฮินดูแห่งประเทศไทย องค์กรเหล่านี้มีการรวมกันอย่างหลวมๆ และต่างก็ดูแลศาสนิกของตัวเอง สั่งสอนในแนวทางของตัวเอง แต่ถ้ามีสิ่งที่ผิดหลักทางศาสนาก็จะมีผู้รู้ออกมาพูดบอกกล่าว เช่น พระมหาราชครูแห่งโบสถ์พราหมณ์ก็จะออกมาพูดเรื่องการเข้าทรงว่าผิดหลักศาสนา แต่ละวัดก็จะห้ามการเข้าทรงในวัด แต่ก็ไม่มีหลักที่จะไปบังคับทางกฎหมาย
หน้าที่สำคัญขององค์กรศาสนา ก็คือ ให้ความรู้ ส่วนศาสนิกจะเลือกเชื่ออะไร และถ้าไม่ได้ไปละเมิดผู้อื่น ก็ให้เป็นวิจารญาณของศาสนิกแต่ละคน
| ['บทความ', 'สังคม', 'วัฒนธรรม', 'พสิษฐ์ ไชยวัฒน์', 'คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง', 'ศาสนา', 'ฮินดู'] |
https://prachatai.com/print/79452 | 2018-11-05 14:36 | คาดเห็นร่าง พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ ใหม่ ธ.ค.นี้ ‘ประวิตร’ ชี้เป็นเครื่องมือที่ดีของรัฐบาล | ‘ปณิธาน’ กก.เตรียมการความมั่นคงไซเบอร์ฯ แจงได้สรุปข้อกังวลต่อร่าง พ.ร.บ. คือบทบาทของหน่วยงานยึดโยงกันค่อนข้างซับซ้อนเกินไป เผยเตรียมแยกแยะ-กำหนดให้ชัด เพื่อนำข้อเสนอใหม่ไปคุยกับภาคประชาสังคม ภาคราชการ และเอกชน อีกครั้งเดือน พ.ย. คาดต้น ธ.ค.นี้ จะได้ร่างใหม่ ‘ประวิตร’ ยันต้องไม่กระทบสิทธิ
5 พ.ย.2561 มติชนออนไลน์ [1] รายงานว่า วันนี้ เมื่อเวลา 11.45 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ปณิธาน วัฒนายากร ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม) ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวถึงความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. ... ว่า ขณะนี้ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ได้สรุปความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และภาคเอกชน ที่ได้ไประดมความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวในรอบแรกว่ามีอะไรที่น่ากังวลบ้างมาแล้ว โดยเป็นเรื่องภาระหน้าที่ และบทบาทของหน่วยงานที่จะต้องเข้ามาดูแล ซึ่งยึดโยงกันค่อนข้างซับซ้อนเกินไป โดยจะมีการแยกแยะและกำหนดให้ชัดในแต่ละเรื่อง เพื่อจะนำข้อเสนอใหม่ไปคุยกับภาคประชาสังคม ภาคราชการ และเอกชน อีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนนี้ จะได้มาดูว่ามีอะไรที่ต้องปรับหรือแก้บ้าง ประมาณต้นเดือนธันวาคมนี้จะได้เห็นรูปร่างหน้าตาที่สมดุลขึ้น
พล.อ.ประวิตร เห็นว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้จะเป็นเครื่องมือที่ดีของรัฐบาลที่จะมาถึงในอนาคต แต่ต้องทำให้สมดุล ประชาชนไม่เป็นกังวลว่าจะกระทบกับสิทธิ ซึ่งจะมีร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลออกมาด้วย พ.ศ. … ออกมาด้วย จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น
รู้จักร่าง (เดิม) พ.ร.บ. ไซเบอร์ฯ
ซึ่งประชาไท โดย เยี่ยมยุทธ สุทธิฉายา ได้ประมวลไว้เมื่อ 12 ต.ค.ที่ผ่านมา 'รู้จัก ร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงไซเบอร์ เมื่อความปลอดภัยกับละเมิดสิทธิห่างแค่เส้นเบลอๆ [2]' ดังนี้
ใคร: ตั้งคณะกรรมการ 14 คน ตั้งสำนักงานสนับสนุน รัฐให้เงิน แต่หาเงินเองได้ ไม่ใช่ส่วนราชการ เลขาธิการอำนาจล้นมือ
พ.ร.บ. นี้จะให้มี ‘คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กปช.)’ ประกอบด้วยสมาชิก 14 คน ได้แก่นายกรัฐมนตรี (ประธาน) รัฐมนตรีว่าการ (รมว.) กระทรวงกลาโหม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กฎหมาย หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องอันเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และจะแต่งตั้งเลขาธิการจากใน 14 คนนี้
กปช. ทำหน้าที่รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเสนอนโยบาย แผนดำเนินการ ทำแผนปฏิบัติการเพื่อเป็นแผนแม่บทในสถานการณ์ปกติและในเวลาที่อาจจะเกิดหรือเกิดภัยคุกคามไซเบอร์ กำหนดแนวทาง กรอบมาตรฐานขั้นต่ำให้หน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง กำหนดมาตรการตอบสนอง รับมือภัยคุกคามไซเบอร์ กำหนดแนวทางสร้างทักษะและความเชี่ยวชาญ ติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย เสนอความเห็น และข้อคิดเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการ และทำเรื่องอื่นๆ ตามที่บัญญัติใน พ.ร.บ. หรือที่ ครม.มอบหมาย
นอกจากตัวคณะกรรมการฯ ยังจะมีการจัดตั้งสำนักงาน กปช. ขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานของ กปช. เป็นศูนย์กลางข้อมูลและประสานงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เฝ้าระวัง แจ้งเตือน สนับสนุน ช่วยเหลือในการป้องกันรับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์ เผยแพร่ความรู้ ศึกษา วิจัย และพัฒนา
ทั้งนี้ สถานะของสำนักงาน เป็นนิติบุคคล ไม่ใช่ส่วนราชการ ได้รับงบอุดหนุนจากรัฐเป็นรายปี แต่หากมีรายได้จากการดำเนินงานหรือทรัพย์สินของสำนักงาน ก็ไม่ต้องส่งกลับคลังเพื่อเป็นรายได้ของรัฐ ในมาตรา 17 ได้ให้อำนาจสำนักงานในการเป็นหุ้นส่วน ถือหุ้น หรือร่วมทุนกับนิติบุคคลอื่นที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสำนักงาน กู้ยืมเงินเพื่อวัตถุประสงค์ของสำนักงานได้ และยังเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทนหรือค่าบริการในการดำเนินงานได้ด้วย
ทำอะไร: มุ่งป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ที่จะโจมตีโครงสร้างสำคัญของประเทศ
ตัว พ.ร.บ. นี้มีหลักการกว้างๆ ว่า ต้องมีกฎหมายมาป้องกัน รับมือ ลดความเสี่ยงจาก ‘ภัยคุกคามทางไซเบอร์’ หรือคือการใช้วิธีการทางคอมพิวเตอร์ หรืออิเล็กทรอนิกส์สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินสารสนเทศหรือทำให้ทำงานไม่ได้ ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงในด้านต่างๆ ผ่านคณะกรรมการและหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยจะมีแผนปฏิบัติการและมาตรการด้านรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างมีเอกภาพและต่อเนื่อง ในวันที่ประเทศไทยมีบริการประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคมที่สามารถถูกโจมตีและสร้างความเสียหายได้
ยกตัวอย่าง: โรงพยาบาล(หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐาน)ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (โครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ) เชื่อมต่อกันเพื่อเก็บบันทึกข้อมูลผู้ป่วย สถิติ และการทำงานทำผ่านคอมพิวเตอร์ (ทรัพย์สินสารสนเทศ) ภัยคุกคามจึงอาจเป็นวิธีการทางคอมพิวเตอร์เพื่อทำให้การทำงานเสียหายหรือทำงานต่อไม่ได้ เช่น ไวรัส การส่งชุดข้อมูลไม่พึงประสงค์จำนวนมากเพื่อทำให้ระบบประมวลผลช้าลง (ดีดอส) การแฮ็ค เป็นต้น
อย่างไร: แนวทางจัดการภัยไซเบอร์กว้างขวาง ค้นบ้าน-ยึดคอมฯ ได้ไม่ต้องมีหมายศาล
พ.ร.บ. นี้ให้อำนาจ หน้าที่องค์กรที่ตั้งใหม่อย่างน่ากังวล เพราะอำนาจหน้าที่นั้นอิงอยู่กับการป้องกัน ‘ภัยคุกคามทางไซเบอร์’ แต่แค่ตัวนิยามของภัยคุกคามทางไซเบอร์เองก็กำกวมแล้ว การมีอำนาจในการจัดการต่อสิ่งที่กำกวมยิ่งทำให้เกิดข้อเคลือบแคลงต่อหลายภาคส่วน
พ.ร.บ. ยังกำหนดให้หน่วยงานรัฐ หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศจะต้องแจ้งรายชื่อเจ้าหน้าที่ระดับบริหารและปฏิบัติการเพื่อประสานงานด้านรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์กับทางสำนักงาน ซึ่งเป็นช่องทางที่ใช้ติดต่อกันเมื่อมีเหตุภัยคุกคามไซเบอร์เพื่อรับมือกับเหตุ
ในส่วนของการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นสิ่งที่มีความคลุมเครือและให้อำนาจอย่างกว้างกับทางสำนักงานและ กปช. เริ่มจากมาตรา 51 ที่เขียนว่า ในกรณีที่เกิดหรือคาดว่าจะเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อระบบสารสนเทศซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐหรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ให้หน่วยงานนั้นตรวจสอบทรัพย์สินสารสนเทศและพฤติการณ์แวดล้อมเพื่อประเมินภัยคุกคามไซเบอร์ ถ้ามีภัยก็ให้รับมือตามแผนที่มี และแจ้งไปยังสำนักงานโดยเร็ว
หรือถ้าสำนักงานเห็นว่าเกิด หรือคาดว่าจะเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ ก็ให้มีการรวมข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ ประเมินผลกระทบ แจ้งเตือนภัย อำนวยความสะดวกในการประสานงาน และเข้าช่วยเหลือ โดยการรวบรวมข้อมูลนั้น กฎหมายให้อำนาจสำนักงานในการ
เรียกคนที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล หรือให้ข้อมูลเป็นหนังสือเกี่ยวกับภัยคุกคาม
ขอข้อมูล เอกสาร สำเนาข้อมูลหรือเอกสารในความครอบครองของผู้อื่น
สอบถามคนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามไซเบอร์
เข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ หรือสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องหรือคาดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ของบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยได้รับความยินยอมจากผู้ครอบครองสถานที่นั้น
ในส่วนการดูแลข้อมูลนั้น กฎหมายกำหนดเพียงว่าสำนักงานต้องดูแลไม่ให้มีการใช้ข้อมูลที่ได้มาในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย
ในร่างฯ ยังไม่ระบุ หรือมีตัวอย่างว่าการทำอะไรที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จึงยังไม่สามารถพูดได้ว่าการส่งข้อมูลในอีเมล์ โพสท์เฟสบุ๊ก หรือเนื้อหาวิดีโอต่างๆ หรือพูดง่ายๆ คือสิ่งที่เป็น ‘เนื้อหา’ ไม่ใช่ภัยคุกคามทางไซเบอร์
มาตรา 58 ให้อำนาจเลขาธิการดำเนินการป้องกัน รับมือ ลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์ที่หนักมือ โดยให้อำนาจเข้าถึงคนหรือวัตถุในทางกายภาพแบบไม่ต้องขอศาลก่อน โดยมีอำนาจดังนี้
ตรวจสอบสถานที่ โดยมีหนังสือแจ้งเหตุไปยังเจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่
เข้าถึงทรัพย์สินสารสนเทศ ทำสำเนา สกัดคัดกรองข้อมูลสารสนเทศ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าเกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจากภัยคุกคาม
ทดสอบการทำงานของคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเกี่ยวข้อง หรือได้รับผลกระทบจากภัยคุกคาม
ยึดคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใดๆ ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์เพื่อตรวจสอบหรือวิเคราะห์ไม่เกิน 30 วัน หากจำเป็นต้องยึดไว้เกินกำหนด ให้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งเพื่อขยายเวลาได้ไม่เกิน 90 วัน
ในกรณีฉุกเฉินนั้น เลขาธิการมีอำนาจขอข้อมูลเวลาจริง (Real time data) จากผู้เกี่ยวข้อง หมายถึงข้อมูล ณ เวลานั้นๆ
กำหนดโทษคนอื่นหนัก แต่ความรับผิดชอบตัวเองยังไม่ค่อยพูดถึง
ในบทกำหนดโทษระบุว่า ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกของพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่ส่งข้อมูลให้เจ้าพนักงาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 61) ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเลขาธิการตามมาตรา 57 ว่าด้วยการรับมือภัยไซเบอร์ร้ายแรง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 300,000 บาท ปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทนับแต่วันที่ครบกำหนดระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ออกคำสั่งให้ปฏิบัติจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ผู้ฝ่าฝืนคำสั่งเลขาธิการตามมาตรา 57 (3) (4) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน 150,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เช่นเดียวกันกับการขัดขวางคำสั่งเลขาธิการในมาตรา 58
เนื่องจากตัวองค์กรไม่ใช่หน่วยงานราชการ แต่เป็นนิติบุคคลและเป็นหน่วยงานของรัฐ คำถามที่ยังไม่มีคำตอบคือ หากปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบจะสามารถฟ้องเอาผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 157 ได้หรือไม่
นอกจากนั้น การเอาข้อมูลสำคัญของทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจรวมถึงเอกชนไปไว้กับหน่วยงานๆ เดียว แม้จะมีกฎหมายระบุว่าไม่สามารถนำไปใช้ในทางที่ผิดได้ แต่การเป็นศูนย์กลางของข้อมูลทั้งหลายย่อมเป็นเป้าหมายตัวโตของการโจมตีทางไซเบอร์ คำถามจึงอยู่ที่ประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลให้เป็นความลับและความสามารถในการป้องกันการคุกคามไซเบอร์ของตัวสำนักงานเอง และคำถามที่ยังไม่มีคำตอบคือ ตัวสำนักงานเองถือเป็น CII ใช่หรือไม่ ข้อมูลที่เก็บไปจะเก็บถึงไหน ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนจะเป็นเป้าหมายหรือไม่ หลายคนยังคงจำข้อมูลส่วนบุคคลที่หลุดไปจากคลังข้อมูลของ TRUE ได้ ถ้าหากข้อมูลมีการส่งต่อมากขึ้น ความปลอดภัยของข้อมูลย่อมได้รับผลกระทบไม่ว่าจะมากหรือน้อย
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สังคม', 'สิทธิมนุษยชน', 'ความมั่นคง', 'ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. ...', 'ประวิตร วงษ์สุวรรณ'] |
https://prachatai.com/print/79453 | 2018-11-05 14:43 | ศึกษาศาสตร์ มช. ถกศึกษาเชิงวิพากษ์ 'ครูนักปฏิบัติการสร้างศิษย์ขบถ' | นักวิชาการพื้นฐานการศึกษา ชี้กระบวนการสอนของสังคมไทยมีเพียงเสียง 2 เสียง คือ เสียงของครูที่คอยสอน และ เสียงของผู้เรียนที่ถูกเก็บไว้ภายในใจ ย้ำห้องเรียนควรจะมี 3 เสียง นั่นคือ เสียงของครู เสียงของเพื่อน และเสียงของตัวเองในฐานะที่เป็นปัจเจกบุคคล ชี้สร้างการศึกษาเชิงวิพากษ์ครูผู้สอนต้องปฏิเสธการสอนระบบฝากธนาคาร
5 พ.ย.2561 เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดกิจกรรมการเสวนา ศึกษาศาสตร์เสวนา : Show & Share 50 เรื่องราวดีๆ ที่มอบให้ ในหัวข้อ 'ครูนักปฏิบัติการสร้างศิษย์ขบถ' ที่ห้องประชุม 45 ปี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รศ.ดร.นงเยาว์ เนาวรัตน์ อาจารย์จากสาขาวิชาสังคมศาสตร์และพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ เป็นวิทยากรร่วมเสวนาในประเด็นการสร้างให้ศิษย์เป็นขบถทางความคิดและอธิบายถึงความจำเป็นว่าเหตุใดครูจึงมีความจำเป็นต้องสอนให้ศิษย์ต้องขบถ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า การเสวนาดังกล่าวให้ความสำคัญกับการพูดคุยแลกเปลี่ยนประเด็นทางการศึกษาเชิงวิพากษ์ระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมเสวนา ทำให้เกิดบรรยากาศทางวิชาการที่มีความเป็นกันเองและเสริมพลังอำนาจทางความคิดไปพร้อมๆ กัน
การเสวนาโดยสรุปแล้วเน้นการวิพากษ์วิจารณ์ทฤษฎีการศึกษากระแสหลักในสังคมไทย โดย วิทยากร กล่าวถึง กระบวนการเรียนการสอนหรือวิธีการสอนในห้องเรียนของสังคมไทยในปัจจุบันจะมีเพียงเสียง 2 เสียง ได้แก่ 1) เสียงของครูที่คอยสอน และ 2) เสียงของผู้เรียนที่ถูกเก็บไว้ภายในใจ ซึ่งในความเป็นจริงเสียงในห้องเรียนนั้นควรจะมี 3 เสียง นั่นคือ เสียงของครู เสียงของเพื่อน และเสียงของตัวเองในฐานะที่เป็นปัจเจกบุคคล เพื่อที่จะสร้างพื้นที่ทางการศึกษาและการเรียนรู้ร่วมกันอย่างแท้จริง ไม่ใช่การเรียนการสอนที่ไม่มีเสียงตอบรับจากผู้เรียน หรือผู้เรียนถูกทำให้กลายเป็นผู้ไร้เสียง ซึ่งหากบริบทในการเรียนการสอนเป็นเช่นนี้แล้วการเรียนรู้ที่จะช่วยสร้างผู้เรียนให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และมีความเป็นตัวของตัวเองจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
ในสังคมไทย นักเรียนหรือนักศึกษามักจะกลัวคำว่า “วิพากษ์” เพราะคำนี้แสดงถึงความแปลกแยก นำไปสู่ความขัดแย้งและไม่ลงรอยกันทางความคิดระหว่างบุคคล การที่นักเรียนหรือนักศึกษาไม่กล้าวิพากษ์ หรือตั้งคำถามกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันที่ตนเองเห็นว่า ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือกดทับไม่ให้แสดงความต้องการที่แท้จริงของตนเองออกมา ได้นำไปสู่สภาวะยอมจำนนต่อชะตากรรม ไม่ตั้งคำถามต่อความรู้ที่มาพร้อมกับอำนาจเพราะถูกปลูกฝังให้เชื่อในสิ่งที่เรียนหรือหากไม่เชื่อในสิ่งที่เรียนแต่เมื่อจำเป็นต้องตอบคำถามจากครูหรือข้อสอบก็ต้องเชื่ออยู่ดี อาจเป็นเพราะครูก็เชื่อในตำราเรียนจึงเกิดระบบอำนาจครอบงำแบบนี้ขึ้นมา จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ตีกรอบโลกทัศน์และชุดความคิดของเด็กและเยาวชน คือ อำนาจของภาษาที่ถูกตีความจากผู้มีอำนาจและชนชั้นนำของสังคม โดยคำเหล่านั้นถูกหล่อหลอมให้ไม่สามารถพูดออกไปได้ จนไม่มีใครกล้าใช้คำเหล่านั้นเพราะอาจถูกสังคมหรือผู้มีอำนาจเหนือกว่ากดทับให้เป็นผู้ไร้เสียง แม้แต่กระทั่งจะพูดคำว่า “วิพากษ์” ที่เป็นชุดของคำในทฤษฎีการศึกษาเชิงวิพากษ์
อนึ่ง ทฤษฎีการศึกษาเชิงวิพากษ์จึงเป็นเครื่องมือของครูและนักการศึกษาเชิงวิพากษ์ให้สามารถปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากครูและนักการศึกษาที่ผลิตซ้ำการสอนระบบฝากธนาคาร (Banking education approach) ไปสู่การสอนโดยใช้ประเด็นปัญหาเป็นฐาน หน้าที่ของครูผู้สอน คือ การปลดปล่อยผู้เรียนให้หลุดพ้นจากกรอบครอบงำเหล่านี้ทั้งในแง่ของภาษาที่ถูกหล่อหลอมมาให้ตีความคำว่าวิพากษ์ในเชิงลบ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปลดผนึกความรู้จากคำเหล่านั้นทั้งจากภาษาและระบบสัญญะ ทั้งยังสร้างตัวเองขึ้นมาจากความรู้ที่ไม่ได้ถูกกีดกันจนสามารถพัฒนาตนเองให้เป็นปัญญาชนได้ในท้ายที่สุด ซึ่งการจะทำแบบนั้นได้ รศ.ดร.นงเยาว์ เสนอว่า ครูผู้สอนในฐานะนักปฏิบัติการทางวัฒนธรรมจำเป็นต้องปฏิเสธการสอนระบบฝากธนาคารที่เปรียบเสมือนการนำความรู้ไปฝากไว้ให้แก่ผู้เรียน และครูผู้สอนต้องตรวจสอบ(ด้วยการทำข้อสอบ)ว่าผู้เรียนมีความรู้ที่ครูผู้สอนได้ฝากไว้อยู่หรือไม่ ทำให้เป็นการถ่ายทอดและผลิตซ้ำเพียงแต่ความรู้แต่ไม่ใช่วิธีคิดที่ผ่านการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์บนฐานทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ การเรียนการสอน และการทดสอบแบบนี้จะทำให้ผู้เรียนไม่เกิดกระบวนการรื้อถอนหรือตั้งคำถามต่อความรู้ จนไม่สามารถสร้างความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมาเองได้ มีเพียงแต่ความรู้ที่ครูผู้สอนได้ฝากไว้ผ่านระบบธนาคารนี้เท่านั้น
ดังนั้น การจะสร้างนักเรียนหรือนักศึกษาให้กลายเป็นปัญญาชนนั้น ทฤษฎีการศึกษาเชิงวิพากษ์ (Critical Pedagogy) จึงมีความจำเป็นอย่างมากทั้งในแง่ของการปฏิรูปศึกษาและการแก้ปัญหาสังคม โดยสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาคือ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้แก่ผู้พูด (ผู้เรียน) เมื่อผู้พูดสามารถพูดได้โดยไม่มีการแบ่งแยก กดทับ ครอบงำ หรือเบียดขับทั้งในเรื่องของภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ เพศสภาพ และภูมิหลังทางชนชั้น เสียงของผู้พูดก็จะสามารถส่งเสียงไปถึงบุคคลรอบข้างได้และเมื่อนั้นจะเกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่ช่วยเสริมพลังให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาให้กลายเป็นปัญญาชนของสังคมไทยได้อย่างแท้จริง
ช่วงท้าย วิทยากรและผู้เข้าร่วมเสวนา ร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนบทบาทของครูผู้ถ่ายทอดความรู้ไปสู่ครูในฐานะผู้ทำงานทางวัฒนธรรม (Teacher as a Cultural Worker) และศาสตร์การสอนเชิงวิพากษ์ ในมุมมองของผู้เขียนมองว่า คำว่า “ศิษย์ขบถ” ที่วิทยากรต้องการสื่อสารไปให้ผู้เข้าร่วมเสวนาเกิดความเข้าใจร่วมกันนั้นหมายถึง ศิษย์ผู้เป็นปัญญาชนที่สามารถวิพากษ์วาทกรรมความรู้ชุดเดิมๆที่อาจจะถูกติดตั้งและได้รับการส่งต่อมาจากครูผู้สอนหรือบุคคลอื่นๆ ที่มีอำนาจครอบงำเหนือกว่าศิษย์ขบถจะมีกระบวนการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ สามารถเจรจาต่อรอง มีจุดยืนทางความรู้ความคิด และสามารถช่วงชิงนิยามความรู้ และผลิตสร้างชุดความรู้อื่นๆ มาปฏิสัมพันธ์ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดในพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของตนเองและเพื่อนมนุษย์
| ['ข่าว', 'การศึกษา', 'คุณภาพชีวิต', 'ครู', 'คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่', 'นงเยาว์ เนาวรัตน์', 'การเรียนการสอน'] |
https://prachatai.com/print/79458 | 2018-11-05 18:51 | สปสช. อนุมัติเพิ่ม '2 ยากดฮอร์โมน' เพิ่มคุณภาพรักษาเด็ก 'ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัยอันควร' | บอร์ด สปสช.อนุมัติเพิ่ม “ยากดฮอร์โมน 2 รายการ” บรรจุสิทธิประโยชน์บัตรทอง เริ่มปี 2562 ช่วยเพิ่มคุณภาพการรักษาผู้ป่วยเด็ก “ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัยอันควร” ระบุประหยัดงบประมาณกว่า 11 ล้านบาท
5 พ.ย. 2561 ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมี ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม ได้เห็นชอบการเพิ่มสิทธิประโยชน์ยา จ.(2) จำนวน 2 รายการ คือ ยาลูโปรเรลิน (Leuprorelin) 11.25 mg inj. และยาทริปโทเรลิน (Triptorelin) 11.25 mg inj. เป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 เป็นต้นไป ในการรักษาภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัยอันควร (Central precocious puberty; CPP)
นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การเข้าถึงยาจำเป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์ภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาเพื่อให้เกิดการเข้าถึงยาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐาน ประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยเป็นไปตามบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยในการประชุมบอร์ด สปสช.วันนี้ ได้เห็นชอบเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์ยาลูโปรเรลิน 11.25 mg inj. และยาทริปโทเรลิน 11.25 mg inj.ซึ่งเป็นยาในบัญชี จ.(2) อีก 2 รายการ ตามที่คณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนเสนอ
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ยาลูโปรเรลิน และยาทริปโทเรลินเป็นยารักษาภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย ในรายที่พัฒนาการของโรคเร็ว หากไม่รักษาจะเติบโตเร็ว ทำให้มีผลต่อร่างกายคือ โตเร็วและหยุดเติบโตก่อนวัย ทำให้ความสูงสุดท้ายน้อยกว่าที่ควรจะเป็นประมาณ 5-10 เซนติเมตร ส่วนผลต่อจิตใจคือ เด็กมีร่างกายเป็นสาวแต่จิตใจเป็นเด็ก จึงอาจมีโอกาสถูกล่วงละเมิดทางเพศและถูกข่มขืนกระทำชำเราหรือตั้งครรภ์ตั้งแต่วัยเด็ก
ปัจจุบันบัญชียาหลักแห่งชาติมียารักษาคือ ยาลูโปรเรลิน 3.75 mg ที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติได้พิจารณารายการยาเพื่อใช้รักษาเพิ่มเติม คือ ยาลูโปรเรลิน 11.25 mg inj. และยาทริปโทเรลิน 11.25 mg inj. โดยยาทั้ง 2 รายการ มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยไม่แตกต่างกัน เป็นยาฉีดให้กับผู้ป่วยทุก 3 เดือน/เข็ม และผลจากการต่อรองราคา ได้ราคาต่ำสุดที่ 7,383 บาท/เข็ม เมื่อเปรียบเทียบกับยาลูโปรเรลิน 3.75 mg ราคาอยู่ที่ 4,889 บาท/เข็ม แต่ผู้ป่วยต้องได้รับการฉีดทุกเดือน รวม 3 เดือน เป็นราคาเกือบ 15,000 บาท เป็นค่ารักษาที่สูงกว่าเมื่อเปรียเทียบกับยาใหม่ โดยยา 2 รายการตามสิทธิประโยชน์ใหม่นี้ จะใช้กับผู้ป่วยกรณีที่เป็นเด็กหญิงอายุไม่เกิน 11 ปี และเด็กชายไม่เกิน 12 ปี และให้หยุดยาเมื่อกระดูกอายุเด็กหญิงอายุน้อยกว่า 13 ปี และเด็กชายอายุกระดูกน้อยกว่า 14 ปี
ทั้งนี้สถานการณ์ผู้ป่วยภาวะหนุ่มสาวก่อนวันอันควร มีประมาณ 435 ราย เป็นผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง 400 ราย และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ 35 ราย โดยมูลค่าการใช้ยาในสิทธิบัตรทอง กรณียาลูโปรเรลินและยาทริปโทเรลิน เมื่อคิดเป็นมูลค่าจะอยู่ที่ 29,532 บาท/คน/ปี หรือเป็นมูลค่ารวม 11,812,800 บาท ขณะที่ยาเดิมโดยมูลค่าการใช้ยาอยู่ที่ 58,668 บาท/คน/ปี หรือ 23,467,200 บาท ที่เป็นมูลค่าที่สูงกว่ามาก
“สิทธิประโยชน์ยาลูโปรเรลิน 11.25 mg inj. และยาทริปโทเรลิน 11.25 mg inj. จะลดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยภาวะหนุ่มสาวก่อนวันอันควรจากเดิมมาก ทำให้ประหยัดงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ถึง 11,654,400 บาท โดยสิทธิประโยชน์ยาใหม่นี้จะเริ่มปีงบประมาณ 2562 เป็นต้นไป ถือเป็นเรื่องที่ดีต่อระบบและประชาชน” นพ.จเด็จ กล่าว
นพ.จเด็จ กล่าวต่อว่า ส่วนข้อเสนอที่ให้ยกเลิกยาลูโปรเรลิน 3.75 mg ออกจากบัญชียาหลักแห่งชาตินั้น ที่ประชุมมอบให้ สปสช.ประสานคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติให้ทบทวน เพื่อให้มีทางเลือกในการรักษาเพิ่มจากกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทนผลข้างเคียงจากยาใหม่ได้
| ['ข่าว', 'คุณภาพชีวิต', 'คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ', 'ยากดฮอร์โมน', 'บัตรทอง', 'ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัยอันควร'] |
https://prachatai.com/print/79456 | 2018-11-05 18:37 | กลุ่มค้านโรงไฟฟ้าฯ โต้ ชาวไร่อ้อยอำนาจเจริญ-ยโสธรเดือดร้อนเพราะนายทุน |
กว่าสองปีมาแล้ว หลังจากที่ประชาชนได้รับรู้ว่าจะมีการก่อสร้างโรงงานน้ำตาล ของ บริษัท น้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ จำกัด และโรงไฟฟ้าชีวมวล ขนาด 61 เมกะวัตต์ ของบริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ (อำนาจเจริญ) จำกัด ในพื้นที่ตำบลน้ำปลีก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ เหตุเพราะบริษัทที่ปรึกษาที่รับจ้างทำ EIA ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ครั้งที่ 1 (ค.1) เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2559
วันนั้นประชาชนกว่า 1 พันคนจาก 2 จังหวัด ประกอบด้วย ต.น้ำปลีก ต.นายม ต.นาหมอม้า ต.โนนโพธิ์ เขต อ.เมืองอำนาจเจริญ และจาก ต.เชียงเพ็ง ต.ป่าติ้ว อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ได้ร่วมกันออกมาชุมนุมคัดค้านโดยเกรงว่าจะได้รับผลกระทบเพราะสถานที่ตั้งโรงงานอยู่ใกล้ลำเซบายซึ่งเป็นลำห้วยที่ประชาชนสองจังหวัด คือ ยโสธร กับ อำนาจเจริญใช้น้ำธรรมชาติร่วมกันมานานกว่า 500 ปี
จากนั้นเป็นต้นมาการคัดค้านของประชาชนมีการเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่อง โดยการเวทีรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 (ค.2) มีการกีดกันไม่ให้ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงในพื้นที่เข้าร่วมในเวทีดังกล่าว จนท้ายที่สุดวันที่ 20 มี.ค. 2561 สผ. ได้ผ่านความเห็นชอบ EIA โครงการโรงงานผลิตน้ำตาลทราย และต่อมาได้เห็นชอบ EIA โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล ในวันที่ 9 พ.ค. 2561 และในวันที่ 18 พ.ค. 2561 กระทรวงอุสาหกรรมได้อนุมัติใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) ให้กับบริษัท
กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายจึงเดินทางเข้ายื่นหนังสื่อถึงนายกรัฐมนตรีที่หน้าทำเนียบ ขอให้พิจารณาทวนยกเลิกใบอนุญาตโรงงานของโครงการโรงงานน้ำตาลทราย ของ บริษัท น้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ จำกัด และเรียกร้องต่อ ผู้ว่าจังหวัดยโสธร ให้ตั้ง คณะทำงานศึกษาข้อเท็จจริงการมีส่วนร่วม ทรัพยากร และสุขภาพ กรณีการคัดค้านโรงไฟฟ้าชีวมวลที่อยู่ในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตร รวมทั้งได้ยื่นหนังสือถึง สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จ.อุบลราชธานี เพื่อให้ส่งหนังสือต่อไปยังคณะกรรมการ กกพ. ที่กรุงเทพฯ ให้ระงับการพิจารณาออกใบอนุญาตก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล จ.อำนาจเจริญ ในวันที่ 17 ต.ค. 2561 เนื่องจากการจัดทำรายงานอีไอเอขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ทำให้ กกพ. เลื่อนการพิจารณาออกใบอนุญาตฯ และนำมาสู่การประชุมด่วนของคณะทำงานศึกษาข้อเท็จจริงการมีส่วนร่วม ทรัพยากร และสุขภาพฯ เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2561 ที่ศาลกลางจังหวัดยโสธร เพื่อหาแนวทางในการดำเนินการเรื่องการคัดค้านโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรนั่งเป็นประธาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัด และนายประเทศ ศรีชมภู ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เข้าร่วมประชุม
สิริศักดิ์ สะดวก หนึ่งในคณะทำงานศึกษาข้อเท็จจริงฯ กล่าวว่า เป็นเรื่องดีที่จังหวัดให้ความสนใจในประเด็นปัญหาข้อกังวลของชาวบ้านที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการจะมีโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 61 เมกะวัตต์ เพื่อจะได้หาแนวทางในการดำเนินงานของคณะทำงาน เนื่องจากชาวบ้านรอฟังคำตอบอยู่ว่าคณะทำงานศึกษาข้อเท็จจริงฯ จะดำเนินงานไปทิศทางใด และได้ยื่นข้อเสนอต่อที่ประชุม 3 ประเด็นหลัก คือ
ประเด็นแรก ต้องมีการกำหนดกรอบประเด็นการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ จากมุมมองของประชาชนเนื่องจากประชาชนอยู่ในพื้นที่มาโดยตลอดและใช้ทรัพยากรในพื้นที่เพื่อการดำรงชีพอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นประชาชนย่อมเข้าใจและรู้ว่าประเด็นการศึกษาควรต้องครอบคลุมอะไรและแต่ละประเด็นมีความสำคัญอย่างไร หากละเลยประเด็นต่างๆ ที่ประชาชนกำหนดย่อมจะนำมาซึ่งผลกระทบด้านลบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและระบบนิเวศ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ควรครอบคลุมทุกๆ ด้าน อาทิ ทรัพยากรทุกชนิดที่ประชาชนใช้ประโยชน์ จุดประสงค์การใช้ประโยชน์ อาชีพ รายได้ วิถีวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับระบบนิเวศ พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนใช้ร่วมกัน สุขภาพของคนในชุมชน และ การเสียโอกาสในอนาคตหากต้องสูญเสียทรัพยากร เป็นต้น
ประเด็นที่สอง ประชาชนควรมีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ ในฐานะผู้ร่วมวิจัย เช่นการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการตรวจสอบข้อมูล เป็นต้น
ประเด็นสุดท้าย ควรมีการรายงานผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อสาธารณะทุกระยะเพื่อให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนทราบข้อมูลความก้าวหน้า
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีข้อสรุปให้คณะทำงานศึกษาข้อเท็จจริงการมีส่วนร่วม ทรัพยากร และสุขภาพ ของจังหวัดยโสธร เร่งรัดศึกษาเพื่อจะได้นำเอาข้อมูลไปประกอบพิจารณาในกระบวนการออกใบอนุญาตโรงไฟฟ้าฯ เร็วๆ นี้
ในวันเดียวกันที่หน้าศาลากลางจังหวัดอำนาจเจริญ มีชาวไร่อ้อยกว่า 300 คนชุมนุมเพื่อยื่นหนังสือสนับสนุนให้มีการก่อสร้างโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ตำบลน้ำปลีก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ โดยนายอุทิศ สันตะวงศ์ ประธานสหกรณ์อ้อยอำนาจเจริญ ให้สัมภาษณ์ในสำนักข่าวทีนิวส์ จ.ยโสธรว่า ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดยโสธรได้มีเกษตรกรลงทุนปลูกอ้อยในพื้นที่กว่า 3 แสนไร่ และปลูกมาแล้วเป็นเวลา 3 ปี และขณะนี้อ้อยก็พร้อมที่จะส่งโรงงานแล้ว แต่โรงงานน้ำตาลในพื้นที่ที่กำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จและไม่พร้อมที่เปิดดำเนินการได้ เนื่องจากติดปัญหาการต่อต้านของกลุ่มที่คิดต่างจึงทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยได้รับผลกระทบจะต้องขนส่งอ้อยในพื้นที่ไปยังโรงงานน้ำตาลในจังหวัดที่ไกลออกไปอีก ทั้งนี้หากโรงงานฯ ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้จะส่งผลให้ชาวไร่อ้อยใน 2 จังหวัด จะต้องเสียค่าขนส่งอ้อย โดยคำนวณจากกำลังผลิต 1,400,000 ตันของโรงงานฯ โดยจะมีค่าขนส่งที่ 200 ล้านบาท ซึ่งเป็นการซ้ำเติมเกษตรกรชาวไร่อ้อยจากราคาอ้อยที่ตกต่ำอยู่แล้วในปีนี้
รายงานข่าวของ onbnews.com [1] ระบุว่าโรงงานน้ำตาลมิตรผลกาฬสินธุ์ จังหวัดอำนาจเจริญ ได้นำโครงการอ้อยประชารัฐ เข้ามาส่งเสริมให้พื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดยโสธร ซึ่งในขณะนี้มีผู้ปลูกอ้อยในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญและยโสธรแล้ว 150,000 ไร่ และ นายณัฐพงษ์ สวงวนจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ ได้ให้สัมภาษณ์ว่าเห็นด้วยต่อการมีโรงงานในจังหวัดเพื่อให้เกษตรกรที่ปลูกอ้อยไม่ต้องเสียค่าขนส่งอ้อยไปจำหน่ายยังจังหวัดใกล้เคียงและเป็นทางเลือกในการปลูกอ้อยในพื้นที่นาดอนที่ปลูกอ้อยได้ดีกว่าทำนาข้าว
ส่วน สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอำนาจเจริญ รายงานเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2561 ระบุว่า ในขณะนี้มีประชาชนในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ เข้าร่วมโครงการเป็นชาวไร่อ้อยกับบริษัทน้ำตาลมิตรอำนาจเจริญ 8,866 ราย และมีพื้นที่แจ้งความประสงค์ปลูกอ้อยทั้งสิ้น 138,000 ไร่ สำหรับในฤดูหีบ 2561/62
สิริศักดิ์ กล่าวว่า ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ระบุว่า ในช่วง 2550/51 มีพื้นที่ปลูกอ้อยในจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดยโสธร รวม 42,249 ไร่ ปี 2558/59 พื้นที่ปลูกอ้อยในจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดยโสธรเพิ่มขึ้นเป็น 115,184 ไร่ หมายความว่าจำนวนไร่อ้อยที่ปลูกเพิ่มขึ้นจาก 1 แสนไร่เศษ จนเป็น 3 แสนไร่ในปัจจุบันตามข่าว เป็นการส่งเสริมของผู้ประกอบการหลังจากที่ สนอ. อนุญาตให้ผู้ประกอบการตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่ได้ในระยะห่างจากโรงงานน้ำตาลเดิม 50 กิโลเมตร เพื่อป้องกันการแย่งอ้อยระหว่างโรงงานและให้เกษตรกรไม่ต้องเสียค่าขนส่งสูง
แต่หลังจาก สอน. อนุญาตให้มีการตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องขออนุญาตจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอน รวมถึงต้องทำรายงานอีไอเอเพื่อศึกษาถึงความเหมาะสมและผลกระทบในการตั้งโรงงาน แต่ขณะที่ขั้นตอนในการอนุญาตต่างๆ ยังไม่แล้วเสร็จผู้ประกอบการกลับทำการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอ้อยมาแล้วเป็นเวลา 3 ปี โดยไม่ได้คำนึงว่าระยะทางจากอำเภอน้ำปลีก หรืออำเภอเมืองยโสธร ไปโรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ มีระยะทางมากกว่า 100 กิโลเมตร ทำให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเกษตรกรชาวไร่อ้อยรายเดิม และเกษตรกรชาวไร่อ้อยรายใหม่ที่เพิ่งปลูกอ้อยมาได้ 3 ปีได้รับความเดือดร้อนในการแบกรับต้นทุนค่าขนส่งอ้อยสูงในขณะที่ราคาอ้อยตกต่ำลงเรื่อยๆ แผนการส่งเสริมการปลูกอ้อยให้กับเกษตรกรก่อนที่ขั้นตอนการอนุญาตจะเสร็จสิ้นและการก่อสร้างแล้วเสร็จจึงเป็นการบีบคั้นให้เกษตรได้รับความเดือดร้อนซึ่งอาจหมายถึงการขายอ้อยขาดทุนและเข้าสู่วงจรหนี้สินจนไม่สามารถถอนตัว
“ความผิดพลาดในการดำเนินการของผู้ประกอบการที่ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยเดือดร้อนเกิดขึ้นก่อนหน้าที่จะมีการขอนุญาติก่อสร้างโรงงานมาแล้วหลายปีแล้ว หรือไม่ก็เป็นการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกอ้อยโดยให้ความหวังว่าถ้าโรงงานก่อสร้างได้ในพื้นที่ก็ไม่ต้องเสียค่าขนส่งไกลเหมือนเดิม โดยยังไม่ทันได้มีการศึกษาผลกระทบที่รอบคอบจากทุกฝ่ายและประชาชนส่วนใหญ่ในสองจังหวัดยังไม่มีใครรู้เรื่องและไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
“หากมองเรื่องนี้จะเห็นได้ว่าแม้โรงงานน้ำตาลยังก่อสร้างไม่เสร็จ โรงไฟฟ้าชีวมวลยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง เกษตรกรทั้งสองจังหวัดก็ได้รับความเดือดร้อนและเกิดความขัดแย้งขึ้นในชุมชนแล้ว ซึ่งหากโรงงานทั้งสองโรงงานในพื้นที่เกิดขึ้นได้จริง ผลกระทบและความขัดแย้งในชุมชนจะยิ่งรุนแรงขึ้น” นายสิริศักดิ์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชาวไร่อ้อยกว่า 300 คน รวมตัวยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯ เพื่อขอบคุณ-สนับสนุน โครงการอ้อยประชารัฐ จ.อำนาจเจริญ [1]
ยโสธรชาวไร่อ้อยยื่นหนังสือสนับสนุนให้ก่อสร้างโรงงานน้ำตาล http://www.talknewsonline.com/71892/ [2]
จังหวัดอำนาจเจริญ โดย บริษัทน้ำตาลมิตรอำนาจเจริญ จัดประชุมเตรียมความพร้อมนำอ้อยเข้าหีบ ปีการผลิต 2561 ปี 62 และนโยบายการส่งเสริม [3]
| ['ข่าว', 'สังคม', 'คุณภาพชีวิต', 'สิ่งแวดล้อม', 'อุทิศ สันตะวงษ์', 'โรงไฟฟ้าชีวมวล', 'สิริศักดิ์ สะดวก', 'กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย', 'โรงน้ำตาลมิตรผล'] |
https://prachatai.com/print/79454 | 2018-11-05 15:35 | มาแล้ว แร็พ Thailand 4.0 คนชอบเป็นพัน คนชังเป็นหมื่น | “ไม่มีคำบรรยายใดใดซักคำให้ลึกซึ้ง” คือ รีแอคชั่นของ 'คาราโอเกะชั้นใต้ดิน' เมื่อเห็นยอดคนชอบเป็นพัน คนชังเป็นหมื่น กับแร็พ Thailand 4.0 ที่ออกมาสนับสนุนรัฐบาลทหาร ขณะที่ยูทูบเบอร์ถามนี่มัน 4.0 หรือ 0.4 ระบุฟังแล้วคล้ายเพลงฮิปฮอปยุค 90 หรือเพลงมาร์ชโรงเรียน
5 พ.ย.2561 หลังจากที่เป็นกระแสถกเถียงกันในสังคมถึงความเหมาะสมของเพลงแร๊พ “ประเทศกูมี” ซึ่งมีเนื้อหาพูดถึงปัญหาในสังคมไทยที่ยังคงค้างคาไม่ได้รับการสะสางให้กระจ่าง เสียงส่วนหนึ่งในสังคมก็เห็นด้วยกับสิ่งที่ประเทศกูมีนำเสนอให้สังคมได้รับรู้ ในขณะที่เสียงอีกส่วนหนึ่งก็เห็นว่าวิธีการสะท้อนสังคมของบทเพลงดังกล่าวไม่เหมาะสม เพราะควรจะนำเสนอสิ่งดีๆ ของประเทศหรือสนับสนุนให้คนในประเทศทำสิ่งที่ดีจะดีกว่า
ล่าสุด สังคมไทยก็มีเพลงแร๊พใหม่ใส่ใจสังคมเพิ่มขึ้นมาอีกเพลง บทเพลงใหม่นี้มีชื่อว่า “แร็พ Thailand 4.0 คนไทยสู้ได้” ซึ่งในช่วงแรก เพลงนี้ถูกเผยแพร่ในรูปแบบคลิปวิดีโอทางช่องของ Youtube ที่ชื่อว่า naewna โดยมีการกล่าวถึงต้นทางว่าเป็นคลิปของ “NIA : National Innovation Agency, Thailand” และต่อมา ในวันที่ 3 พ.ย. 61 ทาง NIA Channel ซึ่งเป็นผู้จัดทำเพลงนี้ก็ได้เผยแพร่คลิปดังกล่าวอีกครั้ง ก่อเกิดเป็นกระแสความสนใจในสังคมอีกครั้งต่อเพลงแร๊พตัวใหม่นี้
วันที่ 5 พ.ย. 61 เพลงแร๊พ Thailand 4.0 คนไทยสู้ได้ มียอดการเข้าชมพุ่งถึง 1,450,125 ครั้ง ยอดกดชอบอยู่ที่ 1,200 ส่วนยอดกดไม่ชอบทะยานถึง 25,000 (ตรวจสอบเมื่อ 13.14 น.) โดยคลิปดังกล่าวมีคำบรรยายจากทางช่องว่า “รวมพลังร่วมกำหนดอนาคตประเทศไทย มั่นใจฝีมือและสมองคนไทย สร้างนวัตกรรมใหม่ในทุกสาขาอาชีพมั่นใจไทยสู้ได้”
ในส่วนของกระแสการตอบรับต่อคลิปวิดีโอไทยสู้ได้ เมื่อดูจากสัดส่วนการชอบและไม่ชอบจะเห็นได้ว่ามีผู้กดไม่ชอบมากกว่าผู้กดชอบอยู่หลายเท่า ในขณะที่วันนี้ยังไม่มีใครทำคลิปวีดีโอแสดงปฏิกิริยาหรือที่เรียกว่ารีแอคชั่น (Reaction) นอกจากช่องใน Youtube ที่มีชื่อว่า Youthai Drama โดยเป็นคลิปที่วิพากษ์วิจารณ์เพลง ไม่เน้นวิจารณ์ตัวบุคคล พร้อมสำรวจความคิดเห็นที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตแสดงกันในคลิปต้นทาง มียอดการเข้าชมอยู่ที่ 31,008 ครั้ง ยอดการกดชอบที่ 778 และยอดการกดชอบที่ 123 (ตรวจสอบราวๆ 13.40 น.)
ส่องรีแอคชั่นจากยูทูบเบอร์ ไทย-เทศ ต่อ ‘ประเทศกูมี’ [1]
Youthai Drama [2] วิจารณ์ว่า จังหวะของเพลงไทยสู้ได้นั้นล้าหลังเกินไป ฟังแล้วคล้ายเพลงฮิปฮอปยุค 90 หรือเพลงมาร์ชโรงเรียน เขาพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาของบทเพลง แต่ก็ยังรู้สึกว่ามันขัดกับคำว่าฮิปฮอป พร้อมทั้งยังแสดงความเป็นห่วงต่อคลิปวิดีโอนี้ที่มียอดกดชอบน้อยกว่าไม่ชอบมากจนเข้าขั้นอันตราย เขายังบ่นต่อว่าช่องนี้จ้างใครมาเป็นแอดมิน เพราะมีข้อผิดพลาดในการจัดหมวดหมู่ของคลิปวิดีโอ ในตอนท้ายของคลิปวิดีโอ เขาก็ฝากถึงผู้แต่งว่าหวังว่าจะเข้าใจอะไรมากขึ้นหลังจากที่เจอความเห็นของสังคม พร้อมทั้งเสนอว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด
5 พ.ย. 61 ใเพจคาราโอเกะชั้นใต้ดิน ซึ่งเป็นแฟนเพจบนเฟสบุ๊กที่มักจะหยิบยกประเด็นทางสังคมมาเสียดสีด้วยตัวอักษรในเพลงคาราโอเกะ ก็หยิบประเด็นเพลงไทยสู้ได้มาเล่น โดยมียอดกดชอบ กด และหัวเราะอยู่ที่ราว 19,000 และแชร์ถึง 2,187 ครั้ง (ตรวจสอบเมื่อ 14.54 น.) ด้วยการนำภาพยอดกดชอบที่น้อยกว่ายอดกดไม่ชอบพร้อมคำบรรยายคาราโอแกะว่า “ไม่มีคำบรรยายใดใดซักคำให้ลึกซึ้ง”
สำหรับ กาญจนพงค์ รินสินธุ์ ปัจจุบันเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งฝึกงานกับประชาไท จากหลักสูตรอาเซียนศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'ไอซีที', 'แร็พ\xa0Thailand 4.0', 'คาราโอเกะชั้นใต้ดิน', 'แร๊พ'] |
https://prachatai.com/print/79455 | 2018-11-05 16:37 | ใบตองแห้ง: ประเทศกูมีสุข? | “ตู่ดิจิตัล” มียอดฟอลโลว์เท่าไหร่แล้ว ขออภัย ไม่ทันสนใจ เพราะกระแส “ประเทศกูมี” กลบหมด ยอดวิวพุ่งจาก 8 แสนเป็น 23 ล้าน จนผู้กำกับ MV ขอบคุณ “ป๋าดัน” ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ที่เพิ่งกลับลำ บอกยังไม่พบหลักฐานเอาผิด เพราะไม่รู้เสือดำตัวไหน ประชาชนยังฟัง ร้อง และแชร์ได้ แม้บอกว่ายังสอบต่อไป ไม่ได้ถอยซักหน่อย
ถอยจริงถอยหลอกก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่ดูท่าทีท่านผู้นำ แม้ออกอาการไม่พอใจ ก็ยอมรับกลายๆ “ใช้กฎหมายมีปัญหา” จึงบอกว่าไม่สนใจ เรื่องไร้สาระ พูดจาหยาบคาย ใครชื่นชมก็รับผิดชอบเอง ถ้าเกิดความเสื่อมเสียกับประเทศไทย
รัฐบาลตระหนักแล้วไง “พลาดไป” ข่าวเอาผิด Rap Against Dictatorship ปั่นยอดวิวพุ่งปรี๊ด 20 ล้านใน 3 วัน ถ้าขืนให้ พ.อ.บุรินทร์แจ้งตำรวจ ออกหมายเรียกฐานขัดคำสั่ง คสช. ก็คงจะโกโซบิ๊ก ทั้งที่ใกล้เลือกตั้ง จะจุดชนวนความไม่พอใจ จะถูกพรรคการเมืองรุมยำ ชั่งน้ำหนักแล้วเสียมากกว่าได้
ก็เลยโชว์สปิริต ไม่คิดควบคุมใคร ด่าโครมๆ ก็ไม่แตะต้อง อยากแสดงอะไรก็แสดงกันไป จะได้ไม่ถูกกล่าวหาว่าปิดกั้น ทั้งๆ ที่ ครม.สัญจร เชียงราย พะเยา มีตำรวจบุกร้านช่างตัดแว่น บุกบ้าน นศ. ขอให้งดวิจารณ์รัฐบาล “เผด็จการขนาดนั้นเลยหรือ”
แล้วก็เหมือนทุกครั้ง ที่ถูกรุมกระหน่ำ รัฐหันมาปลุกวาทกรรม “ทำร้ายประเทศตัวเอง” ลูกหลานจะอยู่อย่างไร ซึ่งก็จะมีกองหนุนดาหน้า ปกป้องสุดจิตสุดใจ ด่ารัฐบาลเลือกตั้งเสียๆหายๆไม่เป็นไร ว่ารัฐบาลทหารเมื่อไหร่ ทำร้ายประเทศไทย
คลิปจำพวก “ประเทศไทยมีความสุขที่สุดในโลก” ก็เลยส่งต่อกันรัวๆ อย่างน่าหัวเราะความเบาปัญญา เพราะ Misery Index ที่ว่าคนไทยสุขที่สุดในโลก สุขกว่าสิงคโปร์ สวิส ญี่ปุ่น เอามาจากดัชนีเงินเฟ้อกับอัตราว่างงาน ซึ่งวิธีคิดของบ้านนี้เมืองนี้พิลึกพิกล เพราะคนถูกออกจากงานกลับไปอยู่บ้าน ไปช่วยพ่อทำไร่หนึ่งชั่วโมงต่อสัปดาห์ ก็ถือว่าไม่ใช่คนตกงาน
บ้างก็พยายามโปรโมทสังคมไทย รู้รักสามัคคี มีกรุณาปรานี ซาบซึ้ง ดีต่อใจ ทำราวกับภาพแบบนี้มีแต่เมืองไทย บ้านอื่นเมืองอื่นไม่มีมนุษยธรรม
บางคนอย่าง ผบ.ตร.ก็ย้อนว่าถ้าไม่มีอคติ ให้มาแร็ปเรื่องดีๆ เช่นโปรโมทการท่องเที่ยวบ้าง พูดเหมือนให้มองสองด้าน แต่ถามว่าด้านลบล่ะยอมรับไหม หรือชอบให้พูดแต่เรื่องดีๆ กลบเรื่องเสียหาย แบบตำรวจไทย ใครเชื่อว่าแหม่มอังกฤษถูกข่มขืนที่เกาะเต่ามีความผิด ทำให้ประเทศเสียหาย รักชาติต้องเชื่อตำรวจว่าไม่จริง
หรือรักชาติก็ต้องเชื่อว่าเรือล่มทัวร์จีนตายเกลื่อน เพราะเป็นนอมินีจีน คนจีนทำกันเอง
พูดอย่างนี้ ไม่เคยภาคภูมิใจในประเทศไทยเลยเรอะ เคยสิ ปัดโธ่ คนไทยยืดอกยกไหล่มาตั้งนาน เพราะชาวโลกยกนิ้วให้ เมืองไทยเป็นประชาธิปไตยที่สุดย่านนี้ ไล่เผด็จการก่อนใครเพื่อน ฟิลิปปินส์ อินโด เกาหลี ยังมาทีหลัง จาก 14 ตุลาถึงพฤษภา 35 ต่างชาติชื่นชมเป็นแบบอย่าง
ที่ไหนได้ ใครจะคิดว่าเมืองไทยถอยหลัง 12 ปีมีรัฐประหาร 2 ครั้ง แถมยังชูความเป็นไทยไม่เอาประชาธิปไตยฝรั่ง
เช่นกัน เราเคยภูมิใจ “สยามเมืองยิ้ม” ใครไปใครมาก็ต้อนรับ จู่ๆ กลับเห็นคนไทยยิ้มแสยะ ควงอาวุธยึดสนามบิน ฝรั่งจีนแขกแตกกระเจิง เศรษฐกิจฉิบหายหลายแสนล้าน ถัดมาก็เสื้อแดงยึดใจกลางเมือง โดนกระสุนจริงตายเกลื่อน ม็อบนกหวีดชัตดาวน์ขัดขวางเลือกตั้ง ประเทศพังพินาศ กลายเป็นคนป่วยแห่งอาเซียน
มันเกิดอะไรกับความเป็นคนไทย ที่ดูมีอัธยาศัย น้ำใจไมตรี เป็นภาพลวงตา หรือมีอีกด้านซ่อนอยู่ข้างใน คนดีมีน้ำใจพอเชื่อว่าตัวเองเป็นฝ่ายถูก เป็นผู้มีศีลธรรม ใครเห็นต่างก็เกลียดชัง ห้ำหั่นโดยไม่เลือกวิธีการ ไม่แยแสว่าสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น
ย้อนดูประวัติศาสตร์ คนไทยก็เข่นฆ่ากันไม่รู้กี่ครั้ง ทุ่งสังหาร “เก้าอี้ฟาด” แขวนคอ 6 ตุลา คนไทยยืนดูอย่างสะใจ แต่กลบเกลื่อนให้เลือนหายไป แล้วก็ขายภาพสังคมดีมีศีลธรรม ความจริงป่วยอยู่ภายใน จนอาการกำเริบครั้งใหญ่
ความรักชาติของคนไทย จำพวกที่ใครวิพากษ์วิจารณ์ ถือเป็นพวกชังชาติ ไล่ออกนอกประเทศ เอาเข้าจริงก็ไม่รู้ว่ารักชาติหรือรักหน้า กลบปัญหาไว้ เกลียดฝรั่งวิจารณ์ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ก็อยากให้ฝรั่งชม ประเทศไทยสวย น่าอยู่ ยิ้มแก้มปริ ฟูมฟาย
ไม่รู้เป็นปมเด่นหรือปมด้อยกันแน่ ที่อยากแต่ให้คนชม โดยไม่ยอมรับความจริง
เผยแพร่ครั้งแรกใน: ข่าวสดออนไลน์ www.khaosod.co.th/hot-topics/news_1767106 [1]
| ["'ใบตองแห้ง' ออนไลน์", 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'ใบตองแห้ง', 'ประเทศกูมี', 'Rap Against Dictatorship'] |
https://prachatai.com/print/79459 | 2018-11-05 19:34 | ‘สิรภพ’ คดีม.112 ศาลไม่ให้ประกันตัวครั้งที่ 7 ติดคุกรวม 4 ปีกว่า สืบพยานโจทก์เพียง 3 ปาก | ‘สิรภพ’ คดีม.112 และ พ.ร.บ.คอมฯ ศาลเลื่อนสืบพยานเหตุพยานป่วย ครอบครัวยื่นขอประกันตัวครั้งที่ 7 หลักทรัพย์ 500,000 ศาลไม่อนุญาต ไร้อิสรภาพมาแล้ว 4 ปี 4 เดือน สืบพยานโจทก์ไปเพียง 3 ปาก จากพยานโจทก์ 10 ปาก และพยานจำเลย 3 ปาก ศาลสั่งพิจารณาคดีลับตลอดมาเหตุเกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์
5 พ.ย. 2561 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน [1] รายงานว่า วันนี้ที่ศาลทหารกรุงเทพฯ เลื่อนสืบพยานโจทก์ในคดีของสิรภพ (สงวนนามสกุล) หรือ ‘รุ่งศิลา’ นักเขียนและกวีการเมือง ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3) จากการเขียนบทกลอนและเผยแพร่ข้อความในเว็บไซต์จำนวน 3 ข้อความ เนื่องจากพยานป่วยเป็นไข้หวัด ไม่สามารถมาศาลได้ ศาลทหารจึงนัดสืบพยานโจทก์อีกครั้งในวันที่ 26 ก.พ. 2562 เวลา 9.00 น.
ในวันนี้ครอบครัวของนายสิรภพยังได้ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยต่อศาลทหาร โดยยื่นหลักทรัพย์เป็นเงิน 500,000 บาท แม้การยื่นขอประกันตัวครั้งนี้เป็นครั้งที่ 7 แต่ศาลทหารไม่อนุญาตให้ประกันตัวเช่นเดิม ปัจจุบันคดีของสิรภพสืบพยานโจทก์ไปได้เพียง 3 ปาก แม้สิรภพถูกควบคุมตัวในเรือนจำมาเป็นเวลา 4 ปี 4 เดือนแล้ว
ไอลอว์ [2]ระบุว่า การยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวก่อนหน้านี้ของสิรภพนั้นศาลไม่อนุญาต ในส่วนของคดี ม.112 โดยให้เหตุผลว่า คดีนี้เป็นกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และมีอัตราโทษสูง หากปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาอาจจะหลบหนี ในชั้นนี้ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว
คดีนี้จำเลยถูกกล่าวหาว่าได้เขียนบทกลอนและข้อความที่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 112 โดยใช้นามแฝงว่า “รุ่งศิลา” จำนวน 3 ข้อความ ข้อความหนึ่งเผยแพร่ลงในเว็บบอร์ดประชาไทในปี 2552 และอีกสองข้อความเผยแพร่ในเว็บบล็อกและเฟซบุ๊กส่วนตัวในปี 2556 และ 2557
สิรภพ ปัจจุบันอายุ 55 ปี เป็นนักกิจกรรมเสื้อแดง ใช้นามปากกา ‘รุ่งศิลา’ ในการเขียนบทความและกวีการเมืองในโลกออนไลน์ หลังรัฐประหาร เขาถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ทหารขณะขับรถไปยังจังหวัดอุดรธานี ก่อนถูกนำตัวไปควบคุมตัวในค่ายทหารที่ขอนแก่นและกรุงเทพฯ จนครบ 7 วัน หลังจากนั้นเขาถูกแจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งไม่ไปรายงานตัวต่อ คสช. และถูกเจ้าหน้าที่จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) แจ้งข้อหาตามมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ก่อนถูกส่งตัวไปฝากขังเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2557 ทำให้เขาถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตั้งแต่นั้นมา
อัยการทหารได้มีการสั่งฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2557 และศาลทหารนัดถามคำให้การตั้งแต่วันที่ 13 พ.ย. 2557 โดยจำเลยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาสามปีครึ่งแล้ว คดีสืบพยานโจทก์ไปได้ทั้งหมดเพียง 2 ปาก โดยฝ่ายโจทก์มีการระบุพยานที่จะสืบจำนวนทั้งหมด 10 ปาก ส่วนฝ่ายจำเลยจะสืบทั้งหมด 3 ปาก
ในคดีนี้ อัยการทหารยังแถลงขอให้ศาลพิจารณาเป็นการลับ เนื่องจากเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งอาจกระทบต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักร ซึ่งศาลทหารก็ได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับโดยตลอด ผู้สังเกตการณ์คดีโดยทั่วไปไม่สามารถเข้าฟังการพิจารณาได้
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'ความมั่นคง', 'สิรภพ', 'รุ่งศิลา', 'มาตรา 112', '112', 'ศาลทหาร'] |
https://prachatai.com/print/79462 | 2018-11-05 21:04 | ตร. 'สั่งไม่ฟ้อง' สุรพศ คดี 112 - กสม. ชี้ไม่ละเมิดสิทธิในเสรีภาพทางวิชาการ | ตร. 'สั่งไม่ฟ้อง' สุรพศ ทวีศักดิ์ หรือ 'นักปรัชญาชายขอบ' หลังถูกแจ้งความคดี ม.112 กรณีที่แสดงความคิดเห็นท้ายบทความ 'ประชาไท' แล้ว ขณะที่ กสม. ระบุ เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจตามขอบเขตของกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดสิทธิในเสรีภาพทางวิชาการ
5 พ.ย.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ สุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการ เจ้าของนามปากกา “นักปรัชญาชายขอบ” โพสต์หนังสือสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ลงวันที่ 30 ต.ค. ที่ผ่านมา แจ้งผลการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนที่เขาถูกแจ้งความดำเนินคดีกรณีที่แสดงความคิดเห็นท้ายบทความในเว็บไซต์ประชาไทแล้วถูกแจ้งความดำเนินคดี ม.112 ว่าการแจ้งความดังกล่าวเป็นการละเมิดเสรีภาพทางวิชาการและเสรีภาพทางความคิดเห็นหรือไม่ ซึ่งร้องไปตั้งแต่ 23 ม.ค.2555 หรือกว่า 6 ปีที่แล้วนั้น
สำหรับหนังสือของ กสม. แจ้งมาว่ามีมติให้ยุติเรื่องร้องเรียนดังกล่าวแล้ว เนื่องจากเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจตามขอบเขตของกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดสิทธิในเสรีภาพทางวิชาการ ประกอบกับ พนักงานสอบสวนและอัยการต่างมีความเห็นพ้องกัน "สั่งไม่ฟ้องผู้ร้องแล้ว" จึงเห็นควรให้ยุติเรื่องดังกล่าว
รายงานพิเศษ: สถิติที่น่าสนใจของการใช้มาตรา 112 โดย 'I Pad' และ สภ.ร้อยเอ็ด [1]
สุรพศ ทวีศักดิ์เข้ารับฟังข้อกล่าวหา 112 พรบ.คอมพ์ ที่ร้อยเอ็ด [2]
"ผมขอถือโอกาสนี้ขอบคุณ กก.สิทธิฯที่กรุณาดำเนินการตรวจสอบและแจ้งเรื่องนี้ให้ผมทราบ ที่นำมาโพสต์ ณ ที่นี้ เนื่องจากมีสื่อบางสื่อได้เสนอข่าวเมื่อเร็วๆนี้ โดยโยงไปถึงเรื่องที่ผมเคยถูกดำเนินคดี 112 (ดู https://www.thaipost.net/main/detail/19152 [3]) จึงถือโอกาสนี้แจ้งให้ทราบว่าคดียุติแล้ว" สุรพศ โพสต์
"ผมไม่คิดว่าใครก็ตามที่ถูกดำเนินคดีหรือติดคุกกรณี 112 เป็น "ตราบาป" สำหรับเขา เพราะไม่มีใครควรถูกดำเนินคดีหรือติดคุกเพียงเพราะแสงความคิดเห็นในเรื่องใดๆ รัฐบาลในสังคมสมัยใหม่มี "หน้าที่" ปกป้องเสรีภาพของพลเมือง และเสรีภาพทางความคิดเห็น เสรีภาพทางวิชาการก็ถูกรับรองไว้ชัดเจนในหลักสิทธิมนุษยชนสากล" สุรพศ โพสต์ทิ้งท้าย
ลำดับเวลากรณีนี้ก่อนยุติคดีที่ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ [4] โดย ไอลอว์ รวบรวมไว้
10 ส.ค. 2554 สุรพศโพสต์ความเห็นต่อท้ายบทความของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลในเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท เรื่อง “จะจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของสถาบันกษัตริย์ในสังคม-การเมืองไทยอย่างไร?”
6 ต.ค. 2554 เจ้าพนักงานตำรวจเดินทางมายังมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาหัวหิน เพื่อสอบถามข้อมูลส่วนตัวของสุรพศ โดยสุรพศได้ร่างหนังสือตอบกลับไปในเวลาต่อมา
2 ธ.ค. 2554 สถานีตำรวจภูธรเมือง ร้อยเอ็ดออกหมายเรียกสุรพศเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในคดีอาญามาตรา 112
17 ก.พ. 2555 สุรพศพร้อมทนายความ เข้ารับทราบข้อกล่าวหากระทำความผิดกฏหมายตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ สภ.เมือง ร้อยเอ็ด ตามที่ วิพุธ สุขประเสริฐ แกนนำกลุ่มพันธมิตรร้อยเอ็ด เจ้าของนามแฝง IPAD ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีไว้ โดยตกลงกันว่าวันที่ 15 มีนาคม 2555 ทนายความจะยื่นหนังสือชี้แจงเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหา และรายชื่อของผู้ที่จะร่วมให้ข้อมูลในประเด็นต่างๆ
15 มี.ค. 2555 สุรพศพร้อมทนายความเดินทางไปที่ สภ.เมือง ร้อยเอ็ดอีกครั้ง เพื่อยื่นคำให้การแก้ข้อกล่าวหาเป็นเอกสาร อธิบายความและเจตนาในการโพสต์ข้อความ เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหา และนำส่งรายชื่อของพยานเอกสารและพยานบุคคล ที่ผู้ถูกกล่าวหาพร้อมจะนำเข้าพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'การศึกษา', 'สิทธิมนุษยชน', 'สิทธิในเสรีภาพทางวิชาการ', 'ม.112', 'สุรพศ ทวีศักดิ์', 'นักปรัชญาชายขอบ', 'วิพุธ สุขประเสริฐ', 'คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ'] |
https://prachatai.com/print/79461 | 2018-11-05 20:47 | นิธิ เอียวศรีวงศ์: ยึดรัฐ ยึดสังคม |
กว่า 21 ล้านวิวแล้ว สำหรับแร็พ"ประเทศกูมี" ตอนที่เขียนบทความนี้
RAP AGAINST DICTATORSHIP - ประเทศกูมี [1]
ผมรู้สึกยินดีมาก ไม่ใช่เพราะสะใจ เนื่องจากกว่า 4 ปีที่ผ่านมา มีแต่เรื่องให้สะใจตลอดมาอยู่แล้ว แต่ยินดีเพราะ 21 ล้านวิวเป็นประจักษ์พยานอย่างชัดเจนว่า มี"สังคม"ในเมืองไทย ซึ่งแยกและแตกต่างจาก"รัฐ"อย่างแน่นอน
ไม่ว่าจะให้หารด้วย 4 หรือ 3 หรือ 2 เพราะถูกชมซ้ำหรือชมเพื่อเร้าความโกรธต่อคณะแร็พของตนเอง ที่เหลืออยู่ก็ยังเป็นสถิติที่สูงมากสำหรับคนไทย ซึ่งมีความคิดเห็นและความใฝ่ฝันทางการเมืองที่แตกต่างจาก"รัฐ"อย่างสุดขั้ว
รัฐและสังคมเป็นสองสิ่งที่นักวิชาการตะวันตกเห็นว่า มีปฏิสัมพันธ์กันตลอดมา นักรัฐศาสตร์ไทยบางท่านพูดว่าในโลกเสรีประชาธิปไตยตะวันตก สังคม"ล้อม"รัฐ (กำกับควบคุม) แต่ในสังคมไทย รัฐกลับเป็นผู้"ล้อม"สังคมไว้ จนกระทั่งเจตน์จำนงใดๆ ของสังคมไม่สะท้อนออกมาในรัฐเอาเลย
อย่างไรก็ตาม ยังมีนักวิชาการตะวันตกในรุ่นหลังอีกไม่น้อยที่เห็นว่า ในเอเชีย รัฐและสังคมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะแยกออกจากกันไม่ได้ โดยรัฐ (ขอนิยามว่าคือกลุ่มบุคคลที่แย่งและถืออำนาจระดับต่างๆ ในนามของรัฐ) เป็นปัจจัยหลักในการกำหนดความเป็นไปของสังคม หรือ"ล้อม"รัฐไว้เสมอ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐและสังคมจึงค่อนข้างเป็นไปในทางเดียว นั่นคือรัฐเป็นฝ่ายบอกให้สังคมทำอะไรหรือไม่ทำอะไร
ประเทศที่ถูกยกเป็นตัวอย่างอยู่เสมอคือสิงคโปร์ นับตั้งแต่เป็นเอกราชมาจนถึงทุกวันนี้ รัฐกำกับสังคมไปทุกด้าน จนถึงรายละเอียดการใช้ชีวิตของผู้คน นับตั้งแต่หมากฝรั่ง ที่ฉี่อันเหมาะสม เพลงที่ควรฟัง หนังสือที่ควรอ่าน ไปจนถึงควรพูดกันด้วยภาษาอะไร ความสำเร็จทางเศรษฐกิจและการเมืองของรัฐ ซึ่งโดดเด่นเป็นอย่างยิ่ง ก็ไม่ทำให้รัฐเลิก"ล้อม"สังคมไว้อย่างรัดกุมมิดชิดเหมือนเดิม
เช่นเดียวกับจีน ซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลกไปแล้ว ก็ยังใช้เงินและความรู้ทางเทคโนโลยีของตนในการอุดรูรั่วซึ่งโลกดิจิเติลเจาะเอาไว้ จนเกือบไม่เหลืออยู่เลย "ล้อม"สังคมไว้ภายใต้การกำกับควบคุมของรัฐอย่างทั่วถึง แม้จะปล่อยเสรีทางด้านชีวิตส่วนตัวมากขึ้น แต่ปฏิบัติการของบุคคลจะเป็นปฏิบัติการทางสังคมไม่ได้เป็นอันขาด จนกว่ารัฐจะบอกว่า "เห่า" (ทำได้)
อย่างไรก็ตาม ผม"รู้สึก"ว่า (คือไม่กล้าใช้คำว่า"คิด") สังคมเอเชียโตขึ้น และเริ่มมีอำนาจต่อรองกับรัฐมากขึ้น แม้ยังไม่สามารถ"ล้อม"รัฐได้ก็ตาม
ไม่ว่าเราซึ่งเป็นคนนอกจะผิดหวังกับอองซานซูจีอย่างไร ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อพม่ามีเสรีภาพมากขึ้น คนพม่ามีสิทธิในการเคลื่อนไหวทางสังคมมากขึ้นโดยไม่ต้องกลัวการสังหารหมู่ จะเต้นแร็พเต้นร็อคก็ทำได้โดยรัฐไม่ห้าม แม้แต่ที่สามารถฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงยาได้ ก็(ว่ากันว่า)รัฐ โดยเฉพาะกองทัพ ได้รณรงค์ในหมู่ชาวพม่าให้เกลียดชังมุสลิมโรฮิงยามาก่อน เท่ากับว่ารัฐเอาสังคมเป็นพันธมิตร ไม่ใช่เป็นเบี้ยล้อมขุนเพียงอย่างเดียว
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงเกาหลีใต้, มาเลเซีย, ตุรกี, อินเดีย, หรือแม้แต่จีน ที่บางกลุ่มในสังคมลุกขึ้นมาแสดงทัศนคติทางการเมืองซึ่งไม่สอดคล้องกับรัฐ แม้เป็นกลุ่มเล็กๆ แต่กลับได้รับความสนใจในสังคมอย่างกว้างขวาง ทั้งๆ ที่ถูกปิดกั้นข่าวสารข้อมูลมาก
สิงคโปร์ซึ่งถูกยกเป็นตัวอย่างว่ารัฐและสังคมไม่แยกจากกันอาจเป็นข้อยกเว้น เพราะรัฐประสบความสำเร็จในหลายด้านเสียจนผู้คนไม่อยากรู้สึกแปลกแยกจากรัฐ
ไม่ต่างจากประเทศเอเชียอื่นๆ สังคมของประเทศไทยก็โตขึ้นในรัฐเหมือนกัน
เมื่อจอมพลป.พิบูลสงครามขึ้นเป็นนายกฯ ครั้งแรก รัฐไทยสั่งให้สังคมแต่งตัวอย่างไร, พึงมีความสัมพันธ์ระหว่างหญิง-ชายในครอบครัวอย่างไร, ควรเคี้ยวหมากหรือไม่, ใช้สรรพนามภาษาไทยอย่างไร และสะกดคำในภาษาไทยอย่างไร ฯลฯ จนดูเหมือนไม่มีสังคมอยู่ในประเทศไทยขณะนั้นเลย
สถานการณ์เช่นนั้นดำรงสืบมาจนถึงสมัยสฤษฎิ์-ถนอม แม้ไม่ลงรายละเอียดเท่า แต่รัฐก็กำกับสังคมอย่างใกล้ชิด นับตั้งแต่อย่านั่งกินกาแฟแล้วล้อมวงคุยกันนานเกินไป ห้ามเผยแพร่ข่าวที่เกี่ยวกับไทยบางเรื่องจากสำนักข่าวต่างประเทศ ห้ามชายหนุ่มไว้ผมยาว ฯลฯ
แต่สังคมไทยก็โตขึ้นมาเรื่อยๆ โดยรัฐไม่ทันรู้สึกตัว เผด็จการที่จะครองอำนาจได้หลัง 14 ตุลา ต้องแสวงหาการยอมรับจากสังคมด้วย หรืออย่างน้อยก็ไม่สร้างความเป็นอริกับสังคมจนเกินไป แม้ว่าผู้มีอำนาจทางการเมืองหลายกลุ่มได้ตกลงจัดวางอำนาจกันมาอย่างลงตัวแล้วก็ตาม
เผด็จการพลเรือนธานินทร์ กรัยวิเชียรอาจเป็นเผด็จการชุดแรกหลัง 14 ตุลา ที่คิดว่าจะสามารถย้อนกลับไปสู่ช่วงที่รัฐยังสามารถคุมสังคมได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด การบังคับกำกับสังคมอย่างเคร่งครัด ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและสังคมกลายเป็นความเครียด บางฝ่ายในชนชั้นนำเองรู้สึกเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชนชั้นนำ จึงก่อรัฐประหารเพื่อเปลี่ยนนโยบาย ผ่อนปรนให้สังคมได้ขยับเขยื้อนอย่างอิสระจากรัฐมากขึ้น
รัฐบาลกึ่งเผด็จการที่ต้องอาศัยกองทัพหนุนหลัง เริ่มเรียนรู้ที่จะ"บริหาร"สังคมควบคู่กันไปกับรัฐ เช่นการเผยแพร่"ชุดพระราชทาน"ในสมัยรัฐบาลเปรม ติณสูลานนท์ ไม่ได้อาศัยคำสั่งของรัฐ แต่อาศัยทีวีและการแต่งกายของคนเด่นคนดัง โน้มนำให้เครื่องแต่งกายชุดดังกล่าวเป็นที่นิยมของผู้ชายในเขตเมือง
รัฐประหารของกองทัพใน 2534 และ 2549 ก็เช่นเดียวกัน แม้เข้ายึดรัฐได้อย่างเด็ดขาดแล้ว คณะรัฐประหารก็รู้ดีว่าจำเป็นต้องแสวงหาการยอมรับของสังคมควบคู่ไปด้วย
แต่การยึดรัฐของ คสช.ในพ.ศ.2557 คิดทวนกระแส โดยอาศัยความแตกแยกที่ร้าวลึกของสังคม คสช.คิดจะยึดสังคมไว้พร้อมกัน แม้ว่าสังคมที่แตกแยกอาจต่อรองกับรัฐได้น้อยลงก็จริง แต่ก็ไม่ได้เพิ่มอำนาจรัฐในการกำกับควบคุมสังคมสักกี่มากน้อย
แม้ว่ากลุ่มนกหวีดสนับสนุนการรัฐประหารมาแต่ต้น และพร้อมจะสนับสนุนคสช.ตั้งแต่วันแรกที่ยึดอำนาจ แต่นี่คือกลุ่มที่มีความคาดหวังกับ คสช.สูง ดังนั้นจึงเป็นกลุ่มที่ผิดหวังกับ คสช.เร็วและมากกว่ากลุ่มตรงข้าม ซึ่งไม่มีความหวังอะไรกับ คสช.อยู่แล้ว อันที่จริงกลุ่มนกหวีดไม่ได้หวังว่า จะปล่อยให้รัฐ คสช.กำกับควบคุมและนำตนไปสู่ความคาดหวังแต่เพียงลำพัง ยังหวังว่าตนจะเป็นพลังหลักฝ่ายสังคม ที่คอยกำกับและเสนอแนะรัฐ คสช.ให้ก้าวเดินไปในทิศทางที่ตนใฝ่ฝันด้วย โดยเฉพาะกลุ่มที่เคยเป็นผู้นำนกหวีด
ในบรรดาคนที่"นกหวีดติดคอ"ทั้งหมด คงไม่มีใครที่ติดคออย่างแรงเท่ากับ คสช. เพราะ คสช.ไม่เคยมีจินตนาการถึงการแบ่งอำนาจระหว่างรัฐและสังคมเอาเลย คิดแต่รัฐในฐานะผู้นำที่เด็ดขาดฝ่ายเดียว ฉะนั้นแม้แต่ฝ่ายสนับสนุนตนก็มีหน้าที่เพียงส่งเสียงเชียร์เท่านั้น ไม่พึงเข้ามามีส่วนร่วมในรัฐที่ถูกยึดไปแล้วมากไปกว่าที่ คสช.จัดให้
แต่จินตนาการเช่นนี้ไม่สอดคล้องกับสังคมที่โตแล้ว แม้ว่าเป็นสังคมที่แบ่งฝักแบ่งฝ่ายระหว่างผู้สนับสนุนหรือผู้คัดค้านการยึดรัฐ ก็ล้วนเป็นสังคมที่"โตแล้ว"ทั้งนั้น จึงไม่พร้อมจะปล่อยให้รัฐเป็นฝ่ายนำอย่างมืดบอดดังสมัยที่สังคมยังเยาว์หรือยังไม่เกิด
แม้แต่การยึดรัฐใน 2549 และ 2557 ทำได้สำเร็จ ก็ไม่ใช่เพราะกำลังทหารอย่างเดียว ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวของสังคมเป็นแรงหนุนอยู่นานพอสมควร ก่อนจะเคลื่อนกำลังออกมายึดรัฐได้
สมัยหนึ่ง การยึดรัฐเป็นเรื่องที่ชนชั้นนำตัดสินใจกันเอง เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกัน นั่นคือเป็นเรื่องที่จำกัดอยู่แต่เฉพาะรัฐเท่านั้น แต่หลัง 14 ตุลาเป็นต้นมา สังคมเริ่มมีบทบาท"ยินยอม"หรือไม่มากขึ้น หลังรัฐธรรมนูญ 2540 การยึดรัฐกลายเป็นเรื่องที่สังคมต้องเข้ามามีบทบาทตั้งแต่ต้น
มีแล้วจะให้ถอยกลับไปแค่ยินยอมเฉยๆ ไม่ได้อีกแล้ว รถไฟความเร็วปานกลาง, รางคู่, เขตเศรษฐกิจพิเศษ, ทวงคืนผืนป่า,เรือดำน้ำ, นาฬิกาหรู, ฯลฯ ล้วนแล่นไม่ค่อยไป เพราะติดหล่มสังคมทั้งกลุ่มนกหวีดและกลุ่มตรงข้าม จนทำให้รัฐ คสช.ต้องยอมให้เพลงแร็พ"ประเทศกูมี" โด่งดังยิ่งกว่าทุกเพลงที่ คสช.สู้แต่งทำนองเนื้อร้องมาเปล่งผ่าน"ปาก"ของรัฐ
การยึดรัฐด้วยวิธีรัฐประหารอาจทำได้ยากขึ้น ไม่ใช่เพราะอุปสรรคด้านการทหาร แต่เพราะสังคมกลายมาเป็น"ผู้เล่น"ในเกมส์ด้วย ทำให้การรัฐประหารทำได้ยากขึ้น อีกทั้งอาจไม่ตอบโจทย์ของชนชั้นนำได้อย่างหมดจดอีกแล้ว ผู้นำการรัฐประหารจึงไม่ใช่ผู้บัญชาการกองทัพ แต่ต้องเป็นคนที่ยึดสังคมได้ก่อน จึงอาจยึดรัฐได้ คนที่เก่งและชาญฉลาดขนาดนี้ ทั้งต้องอยู่ในฐานะที่อาจใช้คุณสมบัติข้อนี้ของตน ไม่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในทุกประเทศ ด้วยเหตุดังนั้น ในอนาคตการยึดรัฐด้วยรัฐประหารจึงทำได้ยากขึ้น ถึงยึดได้ ก็ยากที่จะรักษาอำนาจไว้ได้นานนัก
| ['บทความ', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'สิทธิมนุษยชน', 'นิธิ เอียวศรีวงศ์', 'Rap Against Dictatorship', 'ประเทศกูมี'] |
https://prachatai.com/print/79464 | 2018-11-05 23:16 | อาเซียนภาคประชาชนหงอย สิงคโปร์ไม่ให้งบ-ปัดพบผู้นำ ไทยรับธงจัดต่อปีหน้า | ตัวแทนประเทศไทยรับธงจัดเวทีอาเซียนภาคประชาชน/ประชาสังคมต่อจากสิงคโปร์ เจ้าภาพเผยครั้งล่าสุดเผยความท้าทายรอบด้าน รัฐบาลไม่ให้งบ ไม่ให้พบผู้นำ กังวลเรื่องความปลอดภัย ด้านผู้ร่วมงานจากไทยพ้อง กระบวนการจัดการมีปัญหา ทำการประชุม-แถลงการณ์ด้อยกว่าที่ควรจะเป็น
ผู้ร่วมประชุมจากไทยร่วมกันแสดงออกทางสัญลักษณ์หลังรับธง
4 พ.ย. 2561 ที่การประชุมอาเซียนภาคประชาชน หรือเวทีอาเซียนภาคประชาชน (ASEAN Civil Society Conference/ASEAN People Forum - ACSC/APF) ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้มีพิธีส่งผ่านเจ้าภาพเวทีให้กับตัวแทนประเทศไทย หลังจากประชุมมาตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. โดยประชาสังคมจากประเทศไทยได้ใช้โอกาสดังกล่าวในการแสดงออกทางสัญลักษณ์
ในการประชุมระหว่างวันที่ 2-4 พ.ย. มีการพูดคุยกันระหว่างองค์กรประชาสังคมที่ทำงานหลากหลายประเด็นจากทั่วอาเซียน รวมถึงติมอร์ เลสเตที่เป็นประเทศสมาชิกของ APF/ACSC ด้วย ในงานมีการจัดให้พบปะ อภิปรายกับสภาฝ่ายก้าวหน้าจากสหภาพยุโรปเพื่อพูดคุยถึงแนวทางนโยบาย และจัดเวิร์คชอปเพื่อระบุปัญหาและจัดทำข้อเสนอแนะใน 6 ประเด็นได้แก่ประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นธรรม การเคลื่อนย้ายที่ปลอดภัยของผู้ย้ายถิ่น สันติภาพและความมั่นคงแห่งมนุษย์ สิทธิมนุษยชนและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม/ความยุติธรรม ชีวิตที่มีศักดิ์ศรี และการขจัดการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ จากนั้นได้มีการร่วมกันร่างแถลงการณ์จากข้อเสนอแนะดังกล่าว
ผู้เข้าร่วมจากไทยแสดงคลิปเพลง "ประเทศกูมี"
โซ มินทาน สมาชิกคณะเตรียมการประชุมจากประเทศสิงคโปร์ หนึ่งในคณะจัดงานระบุว่า ร่างแถลงการณ์จะถูกส่งผ่านคณะกรรมการตามกลไกถึงเวทีประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ทั้งนี้ การให้มีการพบปะระหว่างผู้นำประเทศสมาชิกและตัวแทนประชาสังคมแต่ละประเทศนั้นยังไม่ได้รับการยืนยัน ทางคณะผู้จัดทำจะพยายามผลักดันเรื่องการเข้าพบต่อไป และยังเล่าว่าการจัดประชุมมีความท้าทายหลายประการ
“สิงคโปร์มีความท้าทายในแบบของสิงคโปร์ ในทีมผู้จัดตัดสินใจว่าคุยกับทางกระทรวงการต่างประเทศก่อนว่ามีความเห็นอย่างไรกับการมีประชุมภาคประชาสังคม ซึ่งก็ได้เรื่องมาว่า ภาคประชาชนตัดสินใจอะไรก็เป็นเรื่องของประชาสังคม ทางกระทรวงต่างประเทศจะไม่ยุ่งเกี่ยว หมายความว่าไม่มีงบสนับสนุนจากรัฐบาลสิงคโปร์ ทางหนึ่งก็ผิดหวังเพราะไม่สามารถร่วมงานกันได้ แต่อีกมุมหนึ่งก็คือมีอิสระมากขึ้นเพราะไม่มีข้อบังคับจากผู้ให้ทุน”
ผู้ร่วมประชุมที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์จากพม่าและไทยถ่ายรูปร่วมกัน
“คิดว่ามีข้อกังวลเรื่องความปลอดภัยด้วยว่าเราจะไม่สามารถพูดบางเรื่องได้ มีหลายเรื่องที่ไม่เห็นบนเว็บหรือเฟสบุ๊ค แต่มีการพูดคุยภายในทีมจัดงานและกลุ่มที่เราคุยด้วย ว่าจะมีเรื่องที่น่ากังวลในการประชุมครั้งนี้หรือไม่ เพราะว่าการประชุมนี้ก็เป็นที่รับรู้เรื่องการพูดุคยในสิ่งที่รัฐบาลอาจจะอึดอัดใจ”
“ความคาดหวังหลังจากนี้ ด้านหนึ่งก็คิดว่าเราหวังว่าเราน่าจะทำได้มากกว่านี้ แต่ด้วยทรัพยากร กำลังคน และเวลาที่มีก็คิดว่าเราพยายามเน้นไปที่การทำให้เกิดการร่วมงานกันต่อจากสิ่งที่เราทำให้การเวิร์คชอป ว่าจะมีการรณรงค์ใดๆ ตามมาอีกหรือไม่ในหมู่ภาคประชาสังคมในลักษณะของการร่วมมือกัน และการเข้าหากลไกอาเซียนอย่างเต็มตัว” โซมินทาน กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การร่วมจัดทำแถลงการณ์ถูกคั่นด้วยการฉายภาพยนตร์ความยาวหนึ่งชั่วโมงกว่า เมื่อภาพยนตร์จบ ผู้เข้าร่วมได้หายไปจำนวนกว่าครึ่งจากจำนวนเต็มราว 200 คน จากนั้นการจัดทำแถลงการณ์ก็ดำเนินไปมีการอภิปรายเล็กน้อย
ผู้ร่วมประชุมไทยเผย กระบวนการจัดงานมีปัญหา ทำประชุม-แถลงการณ์ ด้อยกว่าที่ควร
ชลิดา ทาเจริญศักดิ์ จากมูลนิธิเสริมศักยภาพชุมชน สมาชิกกลุ่มอาเซียนรากหญ้าของประเทศไทยระบุว่า รอบนี้กลุ่มอาเซียนรากหญ้าเดินทางมา 23 คน โดยกลุ่มที่มานั้นทำงานในหลายประเด็น ซึ่งการมาครั้งนี้ก็ได้ประโยชน์ เครือข่ายได้รับรู้ว่าการประชุมอาเซียนภาคประชาชนคืออะไร และได้มามีส่วนร่วมในการนำเรื่องราวที่พวกเขาทำงานมานำเสนอ เชื่อมเครือข่ายระหว่างไทยกับประเทศอื่นๆ และได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ มีวัฒนธรรม เศรษฐกิจอย่างไร เข้าใจบริบทประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นแล้วมาเปรียบเทียบ
ประชาสังคมตั้งกรรมการรากหญ้าอาเซียน มุ่งให้ความรู้สังคม-ล็อบบี้รัฐบาล [1]
สำหรับปีหน้าที่ไทยจะได้เป็นประธานอาเซียน รวมถึงเป็นเจ้าภาพเวทีประชาชนอาเซียนด้วยนั้น ชลิดาระบุว่า ไทยเป็นประเทศแรกที่รัฐให้งบประมาณในการจัดงานอาเซียนภาคประชาชนและกลายเป็นโมเดลต่อมา ยกเว้นสิงคโปร์ที่ไม่ได้เพราะสิงคโปร์ไม่สนใจประชาสังคม โดยปีหน้านั้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จัดงบมาแล้วจำนวน 9.8 ล้านบาทเพื่อใช้จ่ายกับค่าใช้จ่ายในประเทศ ส่วนค่าเดินทางระหว่างประเทศนั้นต้องหาเอง และรัฐยังหวังเป้าหมายให้มีคนเข้าร่วมจำนวนมากกว่าสิงคโปร์
ชลิดากล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ค่อนข้างขลุกขลักทั้งด้านการจัดงานที่ไม่เป็นระบบและเรื่องของเนื้อหา ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่มีจากการไม่ได้รับการสนับสนุน หลายองค์กรที่ชำนาญในประเด็นต่างๆ ก็ไม่สามารถมาได้ เพราะจำกัดโควตาที่ประเทศละ 20 คน ทำให้แถลงการณ์ที่จะส่งให้เวทีสุดยอดผู้นำนั้นไม่แข็งแรงและมีประเด็นตกหล่นเยอะ นอกจากนั้น รัฐบาลสิงคโปร์ก็ไม่ได้สนใจภาคประชาชน ไม่ได้สนับสนุน แค่ให้จัดพื้นที่และอนุญาตให้จัด แต่ไม่สนับสนุนเงิน ไม่มีส่วนร่วมในพิธีเปิด ไม่ให้ตัวแทนภาคประชาสังคมเข้าพบเจ้าภาพด้วยซ้ำ
ศิริศักดิ์ ไชยเทศ นักกิจกรรมรณรงค์อิสระด้านความหลากหลายทางเพศและพนักงานบริการทางเพศจากประเทศไทยกล่าวว่า การมาครั้งนี้ถือว่าเรียนรู้ว่าแต่ละองค์กรในอาเซียนทำอะไรกันบ้าง แต่คิดว่าจะได้พูดคุยกันเรื่องประเด็นปัญหาในอาเซียนมากกว่านี้ ทั้งนี้ ในอาเซียนมักไม่พูดถึงความหลากหลายทางเพศและพนักงานบริการเท่าไหร่ เหมือนไม่ให้ความสำคัญ เวลาพูดกันก็มักพูดเรื่องเศรษฐกิจ แต่เรื่องสังคม วัฒนธรรมซึ่งเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของประชาคมอาเซียนกลับไม่ค่อยเป็นที่พูดถึง แม้พูดกันก็ไม่พูดเรื่องความหลากหลายทางเพศ แต่สำหรับในปีหน้าที่ไทยจะได้เป็นเจ้าภาพก็คิดว่าจะมีการพูดคุยประเด็นนี้เข้มข้นไม่แพ้ประเด็นอื่น
ออมสิน บุญเลิศ จากเครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ทำงานรณรงค์ คุ้มครองสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ย้ายถิ่นในพม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา ไทย ยูนนานของจีนกล่าวว่า การมาครั้งนี้เห็นความพยายามของภาคประชาสังคมในการร่วมกันทำงานในระดับภูมิภาค แต่ผิดหวังที่มีการจำกัดจำนวนคนเข้าร่วม เพราะพื้นที่เวทีประชาชนอาเซียนควรเปิดกว้างที่สุด ให้เป็นพื้นที่ในการเรียนรู้และพูดคุยเรื่องต่างๆ ในลักษณะการส่งต่อ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งคนที่อายุงานสูงและคนที่มาใหม่
ชวีเหม็ง ภรรยาของสมบัด สมพอน นักกิจกรรมชาวลาวที่ถูกลักพาตัวไปกลางกรุงเวียงจันทน์เมื่อปี 2555 ก็เข้าร่วมในช่วงฉายภาพยนตร์เกี่ยวกับสมบัด
เวทีภาคประชาชน หรือเวทีภาคประชาสังคมอาเซียนได้รับการริเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อสุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพราะมีข้อครหาว่าเวทีความร่วมมืออาเซียนเป็นเวทีความร่วมมือของรัฐบาลเท่านั้น ในช่วงแรกเริ่มเป็นการประชุมกันระหว่างนักวิชาการและภาคประชาชน
ภาคประชาสังคมเดินขบวนคบเพลิง-ชุมนุมคู่ขนานการประชุมอาเซียนที่ฟิลิปปินส์ [2]
เปิดประชุมประชาสังคมอาเซียน-เรียกร้องรัฐสมาชิกตั้งกลไกการมีส่วนร่วม [3]
ต่อมาในปี 2548 ในปีที่มาเลเซียเป็นเลขาธิการอาเซียน จึงได้มีการจัดตั้งเวทีภาคประชาชนอาเซียนในลักษณะที่ภาคประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น โดยปรกติ ในการประชุมทุกปี แต่ละชาติจะส่งตัวแทนภาคประชาชนไปกล่าวแถลงการณ์กับผู้นำชาติสมาชิกอาเซียน แต่ในปีนี้จะไม่มี เพราะว่าเลยรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนรอบแรกมาแล้ว โดยในรอบต่อไปจะเป็นการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนร่วมกับชาติอื่น (อาเซียนพลัส)
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สังคม', 'ต่างประเทศ', 'เวทีอาเซียนภาคประชาชน', 'เวทีภาคประชาสังคมอาเซียน', 'ACSC/APF', 'สิงคโปร์', 'อาเซียน'] |
https://prachatai.com/print/79465 | 2018-11-06 00:01 | สสย. ชวนเครือข่ายถก 'เท่าทันสื่อ-ดิจิทัล' ติดอาวุธพลเมือง สร้างเมืองสำหรับทุกคน | สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ระดมเครือข่ายถกประเด็นการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อสร้างเมืองสำหรับทุกคน เครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง ปชต. ย้ำ 'รู้เท่าทันสื่อ' เป็นการติดอาวุธพลเมือง และเห็นช่องทางการใช้สื่อสร้างอำนาจการต่อรอง
5 พ.ย. 2561 ช่วงระหว่างวันที่ 3 – 4 พ.ย.ที่ผ่านมา สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายได้จัดโครงการสัปดาห์รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 2561 (MIDL Week 2018) ภายใต้แนวคิด MIDL for Inclusive Cities: สร้างเมืองของทุกคน ณ โรงภาพยนตร์ปรินซ์รามา บางรัก กรุงเทพมหานคร ภายในงาน มีกิจกรรมเดินเมืองเรียนรู้ชุมชนย่านบางรัก การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงการใช้สื่อเพื่อพัฒนาและออกแบบเมืองสำหรับทุกคน การฉายภาพยนตร์สารคดีที่เกี่ยวกับเมือง และเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อวางยุทธศาสตร์การสร้างเมืองสำหรับทุกคน และเวที Talk จุดประกาย ท้าทายความคิด โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 100 คน
เข็มพร วิรุณาพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน กล่าวว่า การขับเคลื่อนสัปดาห์รู้เท่าทันสื่อในปีนี้ สสย. ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายจากทั่วประเทศมากถึง 9 โครงการ ทั้งศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย (Thai Civic Education Center) Documentary Club ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UDDC) อาจารย์จากหลากหลายมหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และเครือข่ายภาคประชาสังคม ได้แก่ กลุ่มมานีมานะ กลุ่มปันรัก กลุ่ม Inskru กลุ่ม Saturday School กลุ่มยังธน และสมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา ซึ่งแต่ละภาคีได้มีการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ของตัวเองอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาจนถึงปลายปีนี้ โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การฉายภาพยนต์สารคดีเกี่ยวกับเมือง กิจกรรมเดินเมืองสำรวจชุมชน เวทีเสวนาสาธารณะ และการสร้างสื่อเพื่อนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเมืองและนำไปสู่การออกแบบเมืองโดยคำนึงถึงคนทุกกลุ่มในพื้นที่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการหลอมหลวมพลังชุดวิธีคิดและรูปแบบกระบวนการครั้งใหญ่ในประเด็นการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อสร้างเมืองสำหรับทุกคน
ช่วงเปิดเวทีแลกเปลี่ยนและร่วมกันวางยุทธศาสตร์การสร้างเมืองของทุกคนโดยมีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนทั้งที่เป็นคนทำงานเชิงพื้นที่ ภาคการศึกษา กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ตลอดจนตัวแทนจาก สสส. และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เข้าร่วมแลกเปลี่ยน เข็มพร ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญว่า “การสร้างให้เห็นเป็นตัวอย่าง เป็นสื่อที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลง หากเราเปิดมุมมองให้คนเกิดความรู้สึกร่วมและสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ ก็จะช่วยให้เขาสามารถลุกขึ้นมาเป็นตัวอย่างในการเปลี่ยนแปลงเมืองได้”
ในส่วนของ ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย (Thai Civic Education Center) กล่าวว่า “การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลเป็นการติดอาวุธพลเมืองที่รับผิดชอบต่อตนเอง ให้ลุกขึ้นมาทำงานร่วมกับคนอื่น และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม มองเห็นบทบาทของคนที่รับสื่อไปสู่คนสร้างสื่อที่หลากหลายเพื่อสื่อสารประเด็นและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม การมองเมืองใหม่ด้วยสายตาพลเมืองจึงเป็นการมองความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับเมือง มองเห็นช่องทางการใช้สื่อสร้างอำนาจการต่อรอง”
นอกจากนี้ พสุธา โกมลมาลย์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ผู้ขับเคลื่อนโครงการพลเมืองขยับ (นคร) สกล ยังได้สะท้อนประเด็นสำคัญที่ว่า “เวลาเราพูดถึงการพัฒนาเมือง เราพูดถึงแค่ ในเมือง ในขณะที่เราทิ้งคนที่อยู่นอกเมือง เมืองจะ inclusive (การนับรวม) ได้อย่างไรถ้าการพัฒนานั้นมีคนนอกเมืองที่ไม่ได้ถูกนับอยู่ด้วย เมืองใช้เงินภาษีของประเทศในการพัฒนามากกว่าที่อื่น ในขณะที่ชนบทต้องแบกรับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น”
โตมร อภิวัทนากร หนึ่งในผู้ขับเคลื่อนโครงการเมืองใจกว้าง ยังได้ร่วมสะท้อนมุมมองการวางยุทธศาสตร์สร้างเมืองของทุกคนไว้ว่า “เป็นเรื่องท้าทายของสังคมไทย การเปิดสายตามองเมืองใหม่ในฐานะพลเมือง การมองให้เห็นถึงชีวิตของผู้คนในเมืองทั้งในเชิงการใช้พื้นที่ และเรื่องราวของบุคคล ซึ่งเป็นฐานคิดสำคัญที่จะทำให้คนลุกขึ้นมาทำอะไร หรือไม่ทำอะไร เราต้องยอมรับวามีบางมุมเล็กๆในเมืองมีคนตัวเล็กอยู่ที่คนส่วนใหญ่ไม่ยอมมองเห็น นอกจากที่ว่าเราจะต้องมีตาเห็นสิ่งพวกนี้แล้ว เราต้องมีพื้นที่ปฏิบัติการให้คนมาแชร์กัน ร่วมกันหาวิธีปฏิบัติการในปัญหานั้น ๆ ร่วมกันส่งเสียงสื่อสารออกมในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งมองว่าเป็นนี่คือกระบวนการที่สำคัญในการเปลี่ยนวิธีคิดของสังคม ”
ทางด้าน ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. กล่าวว่า “พลังของ connectivity (การเชื่อมต่อ) เป็นสิ่งที่สำคัญ เชื่อว่าเทคโนโลยีเป็นช่องทางที่ทำให้เกิดการกระจายอำนาจ เราสามารถนำความรู้ ความคิดเห็นไปสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ ในสังคมประชาธิปไตยเทคโนโลยีคือช่องทางการสื่อสารที่สำคัญ ที่สำคัญคือเราต้องทำให้รัฐเห็นในสิ่งที่เราเชื่อ การปฏิบัติจึงจำเป็นต้องเกิดขึ้นโดยดึงเอาคนที่มีอำนาจตัดสินใจเข้ามามีส่วนร่วมด้วย”
การจัดงานในครั้งนี้จึงถือเป็นการส่งเสียงครั้งใหญ่จากคนหลากหลายภาคส่วนทั้งผู้ขับเคลื่อนงานในพื้นที่และระดับนโยบาย ทำให้เกิดข้อเสนอและมุมมองการพัฒนาเมืองที่เล็งเห็นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทั้งในเชิงการสร้างการมีส่วนร่วม การเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิด และการต่อรองและเรียกร้องต่ออำนาจรัฐเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบนฐานคิดของการออกแบบและพัฒนาเมืองให้เป็นพื้นที่ที่นับรวมทุกคนและไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'การศึกษา', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'การรู้เท่าทันสื่อ', 'สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน', 'พลเมือง'] |
https://prachatai.com/print/79466 | 2018-11-06 00:24 | ‘สามัญชน’ จ่อส่งผู้สมัครภาคละ 1 เขต ซัดระบบเลือกตั้งใบเดียวจำกัดสิทธิการเลือก | ‘สามัญชน’ เริ่มขยับ นัดรวมตัวเดินเท้าไปยื่นเอกสารจดจัดตั้งพรรคการเมือง 16 พ.ย.นี้ เผยสมาชิกจดจัดตั้งเกิน 500 ส่วนเงินประเดิมพรรคใกล้ครบล้านแล้ว ว่าที่เลขาฯ ลั่นสามัญชนจะเข้าไปยืนในที่ซึ่งคนมีเงินกับคนมีปืนผลัดกันครอบครอง ขณะที่ว่าที่หัวหน้าพรรค ประกาศเบื้องต้นสามัญชนจะส่งคนลงสมัครภาคละ 1 เขต ซัดบัตรเลือกตั้งเดียวจำกัดสิทธิในการเลือก
เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ว่าที่หัวหน้าพรรคสามัญชน ภาพจาก Banrasdr Photo
5 พ.ย. 2561 ผู้สื่อข่าวรายนงานว่า วันนี้ ที่ร้าน Mirro Atr ซอยแจ้งวัฒนะ ซอย 1 คณะกรรมการบริหารพรรคสามัญชนได้จัดงานเปิดบ้านสื่อมวลชน We Walk to We Walk พบปะสื่อมวลชนและสมาชิกพรรคในกรุงเทพมหานคร โดยมีเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ว่าที่หัวหน้าพรรค กิตติชัย งามชัยพิสิษฐ์ ว่าที่เลขาธิการพรรค ชุมาพร แต่งเกลี้ยง ว่าที่รองหัวหน้าพรรค จอน อึ๊งภากรณ์ นิมิต เทียนอุดมสมาชิกพรรค และว่าที่กรรมการบริหารพรรคตำแหน่งต่างๆ ร่วมพูดคุย พบปะกับสื่อมวลชนและสมาชิกพรรค
ศิววงศ์ สุขทวี ว่าที่นายทะเบียนพรรคฯ กล่าวถึงความคืบหน้าในการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคว่า ขณะรายชื่อสมาชิกจดจัดตั้งพรรคสามัญชนมีเกิน 500 คน และทุนจดทะเบียนพรรค ใกล้ครบ 1,000,000 บาท แล้ว โดยพรรคจะได้ยื่นเอกสารทั้งหมดต่อ กกต. ในวันที่ 16 พ.ย.
กิตติชัย งามชัยพิสิษฐ์ ว่าที่เลขาธิการพรรคฯ ได้กล่าวถึงแนวคิดพรรคสามัญชนว่า “เราคือเมล็ดพันธุ์ที่เคยถูกเหยียบย่ำจมดินบัดนี้เราแตกรากแทงยอดขึ้นสู่พื้น พร้อมจะเติบโตเป็นไม้ใหญ่ที่ยึดโยงกับผืนดิน เราจะยืนอยู่บนพื้นที่ใหม่ ในพื้นที่ที่เคยถูกมองว่ามีแต่คนมีเงินกับคนมีปืนผลัดกันเข้าครอบครอง เราจะร่วมกันเอาสามัญชนคนธรรมดาเข้าสภา เพื่อให้มุมมองจากเบื้องล่างได้มีโอกาสเปล่งเสียงและร่วมตัดสินใจ ด้วยหลักการประชาธิปไตยฐานราก สิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียมเป็นธรรม ดังนั้นเราจึงปฏิเสธการสืบทอดอำนาจคณะรัฐประหาร รวมทั้งรัฐธรรมนูญ คำสั่ง นโยบายที่ไม่ได้มาจากวิถีทางประชาธิปไตย เราต้องมีรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน มีนโยบายและกฏหมายที่เอื้ออำนวยต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
กิตติชัย กล่าวด้วยว่า ประชาธิปไตยจากฐานราก คืออำนาจจากเบื้องล่าง คืออำนาจของสามัญชนคนธรรมดา ผ่านอำนาจของชุมชน ?ท้องถิ่น ในการจัดการอนาคต จัดการทรัพยากรของตนเอง เราเป็นเพียงหนึ่งในขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชน เราเติบโตมาจากท้องถนน ท่ามกลางการต่อสู้ คัดค้าน เรียกร้อง สร้างทางเลือก เราจะผสานแนวทางประชาธิปไตยในรัฐสภาและร่วมมือกับขบวนการประชาชน ในแนวทางประชาธิปไตยทางตรง ภายใต้หลักการประชาธิปไตยจากฐานราก สิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียมเป็นธรรม เราคือที่รวมของคนที่เชื่อในหลักการสามข้อ ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ในเมืองหรือชนบท เป็นปัจเจกบุคคลหรือมีกลุ่ม เป็นลูกจ้างหรือผู้ประกอบการ เรายินดีต้อนรับทุกอัตลักษณ์ ศาสนา เพศ วัย
กิตติชัย กล่าวต่อว่า เราจะไม่ไปรับฟังปัญหาด้วยมุมมองจากเบื้องบน แต่เราจะไปรวบรวมความฝันต่อประเทศไทย ต่อชุมชนของเรา จากเบื้องล่าง เพื่อก่อร่างสร้างฝันร่วมของเหล่าสามัญชนที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน นโยบายของพรรคสามัญชนจะมาจากการสร้างฝันร่วมกัน ผ่านการพัฒนาร่วมกันจากหลายภาคส่วน และเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจอย่างมีส่วนร่วม
ท้ายสุด กิตติชัยย้ำว่า ในฐานะพรรคการเมืองที่ขอน้อมตนเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชน แม้จะทำหน้าที่ต่างกันในช่องทางรัฐสภา และภาคประชาสังคม แต่เราจะร่วมกันสร้างกระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองของสามัญชน เราจะเป็นโรงเรียนของเหล่าสามัญชนที่จะเรียนรู้ร่วมกัน ข้ามภาค ข้ามเครือข่าย ข้ามประเด็น ข้ามอัตลักษณ์ เพื่อถักทอเป็นขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น
ในช่วงท้ายมีการประกาศทิศทางการเมืองของสามัญชน โดยเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ว่าที่หัวหน้าพรรค ได้ประกาศการเดินรณรงค์การเลือกตั้งตามวิถีสามัญชน "สามัญชนเดินหน้า We walk to We vote" พร้อมประกาศนัดหมายสามัญชน เดินไปยื่นเอกสารต่อ กกต. วันที่ 16 พ.ย. 2561 โดยจะเดินจากสถานีรถไฟหลักสี่ไปยังสำนักงานกกต. อาคารศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ พร้อมทั้งชูเรื่องการปลดอาวุธ คสช. ด้วยการชักชวนร่วมลงชื่อผลักดัน ร่างพรบ.ยกเลิกคำสั่งคสช. 35 ฉบับ และผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560
คำกล่าวทิศทางการเมืองของสามัญชน โดยเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ว่าที่หัวหน้าพรรคสามัญชน
5 พฤศจิกายน 2561
1.สามัญชนคงไม่ได้เป็นพรรคที่นำเสนอโครงการพัฒนา แต่เราจะเป็นพรรคที่นำเสนอทางเลือก การพัฒนา เราเห็นว่าการพัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจด้วยตัวเลขจีดีพีนั้นไม่พอเพียงสำหรับ การอยู่ดีมีสุข ความเป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ทิศทางของพรรคคือร่วมคัดค้าน การพัฒนาที่คาดว่าจะก่อเกิดผลกระทบด้านลบด้านต่าง ๆ ขึ้น ดังนั้นถ้าจะหวังให้พรรคไปเสนอ โครงการพัฒนาขนาดใหญ่โน่นนี่ที่สนใจแต่ตัวเลขจีดีพีสูงขึ้นแต่เพียงอย่างเดียว เราคงไม่ทำ แต่ ถ้าจะให้พรรคเป็นตัวแทนของคุณไปเสนอทางเลือกการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสังคม สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ ชุมชน มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจบนฐานของสิทธิ เสรีภาพ สิทธิมนุษยชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนซึ่งเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตยโปรดเลือกเรา
2.โดยสรุปก็คือ การพัฒนาต้องตั้งอยู่บนฐานของคุณค่าและหลักการ 3 ข้อของพรรค คือ ประชาธิปไตยฐานราก สิทธิมนุษยชน เท่าเทียมเป็นธรรม ถ้าไม่ เราค้าน ดังนั้นพรรคเราจึงขอสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนทั้งหลายที่ลุกขึ้นมาคัดค้านโครงการพัฒนา ที่เอารัดเอาเปรียบไม่เป็นธรรมทั้งหลายแหล่
3.ในแง่นโยบาย พรรคสามัญชนกำลังก่อร่างสร้างความคิดใหม่ด้วยการเห็นว่านโยบายที่ดีต้อง มาจากความต้องการและความปรารถนาของประชาชนคนธรรมดาสามัญชน ไม่ใช่เป็นนโยบายที่ ผลิตออกมาจากรัฐศูนย์กลางของพวกเทคโนแครตที่มุ่งตอบสนองเศรษฐกิจของชนชั้นนำเท่านั้น ยังมีประชาชนอีกมากที่รายได้และคุณภาพชีวิตต่ำกว่าชนชั้นกลาง ในแง่นี้เรากำลังสร้าง “นโยบายสาธารณะ” ด้วยกระบวนการคาราวานสามัญชน ให้เป็นนโยบายสาธารณะเพื่อ ประโยชน์สาธารณะคนหมู่มากที่ดำรงชีวิตมีรายได้และคุณภาพชีวิตต่ำกว่าชนชั้นกลาง
คาราวานสามัญชนจะเป็น คอนเซ็ปต์ ของนโยบายสาธารณะที่แท้จริง เพราะนโยบาย สาธารณะในบ้านเมืองเรายังอยู่แต่ในแวดวงวิชาการและพวกเทคโนแครต พวกนี้แอบอ้างการ ผลิตนโยบายการพัฒนาประเทศว่าเป็นนโยบายสาธารณะทั้งๆ ที่ไม่ใช่
คาราวานสามัญชนคือกระบวนการและขบวนการนโยบายสาธารณะของประชาชน ที่ผ่านมาวิชาการด้าน “นโยบายสาธารณะ” มีการเรียนการสอนและผลักดันในวงแคบในพื้นที่ทางวิชาการเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่สามารถขับเคลื่อนประชาชนให้เกิดการมีส่วนร่วมได้
4.ในยุคสมัยของรัฐบาลเผด็จการทหาร คสช. ยิ่งฉายภาพการพัฒนาให้เห็นชัดมากตรงที่พวกเขา อยากทำให้ประชาคมโลกเห็นว่ารัฐบาลเผด็จทหารก็สามารถพัฒนาประเทศให้มีตัวเลขเศรษฐกิจ ที่เจริญเติบโตได้ ไม่ใช่แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่จะทำแบบนี้ได้ แต่มีอย่างหนึ่งที่สวนทาง กับตัวเลขเศรษฐกิจที่เจริญเติบโต นั่นคือ สิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่ถูกกดปราบ พรรคสามัญชนเห็นว่า “การพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่มาพร้อมกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่ถูกกดปราบ” ไม่ควรแลกกัน แต่สองสิ่งนี้ต้องไปด้วยกัน
พรรคสามัญชนไม่ต้องการแผนงานหรือนโยบายจากผู้เชี่ยวชาญที่รับใช้รัฐบาลเผด็จการทหาร คสช. หรือรัฐบาลใดก็ตามมาทำให้สามัญชนเป็นชนชั้นกลางที่ไร้สิทธิและเสรีภาพ
5.ทิศทางของเราคือ “พรรคกระแสล่าง” ที่ต้องการสร้าง “พรรคการเมือง” เพื่อเป็นกลไก สนับสนุนและตอบสนอง “ประชาธิปไตยทางตรง” ของพี่น้องชาวบ้านอีกจำนวนมากที่ เคลื่อนไหวอยู่นอกสภาให้เชื่อมต่อยึดโยงกับประชาธิปไตยตัวแทนในสภาอย่างมีพลัง นี่คือความ ฝันของเรา
6.ทิศทางและภารกิจของสามัญชน สิ่งที่พรรคสามัญชนจะทำคือ “ปลดอาวุธ คสช.” ด้วยมือ เปล่า ด้วยการรณรงค์เข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายเพื่อยกเลิกคำสั่ง คสช. อย่างน้อย 35 ฉบับ ที่ ลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เราจะเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
7.ยกเลิกกฎหมายชุมนุมสาธารณะที่ลิดรอนสิทธิและเสรีภาพการชุมนุมที่เป็นอาวุธของ ประชาชนผู้ถูกกดขี่จากความอยุติธรรมทั้งหลายโดยรัฐ
8.แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 โดยเฉพาะบทเฉพาะกาลที่รับรองให้คำสั่ง คสช. มีความชอบธรรม ทัดเทียมกฎหมาย
9.ลดบทบาทกองทัพและหน่วยงานความมั่นคงที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ให้กองทัพยุติการแทรกแซงทางการเมือง คืนทรัพยากรกองทัพให้กับพลเรือน คลื่นวิทยุ คลื่นโทรทัศน์ ที่ดิน
10.กระจายอำนาจสู่ชุมชนท้องถิ่น อย่างเข้มข้น
11.ในเบื้องต้นเราจะส่งคนลงสมัคร ส.ส. ในฤดูกาลเลือกตั้งที่จะถึงนี้อย่างแน่นอน อย่างน้อยภาคละ 1 เขต เนื่องจากความห่วยแตกของกฎหมายพรรคการเมืองและเลือกตั้งที่ปิดกั้น เสรีภาพทางการเมืองของสามัญชนไม่ให้มีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับที่ลึกกว่าการลงคะแนน เสียงเลือกตั้ง ด้วยการรวม ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์กับ ส.ส. เขต เป็นบัตรเลือกตั้งเดียวกัน หมายถึงว่า คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ขึ้นอยู่กับคะแนนของ ส.ส. เขต ทุกคะแนนเสียงของ ส.ส. เขต คือ คะแนนของ ปาร์ตี้ลิสต์ ถ้าลง ส.ส. เขตไม่ครบก็อย่าหวังได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ เราจึงไม่อาจหาคะแนนนิยม จากสามัญชนทั่วประเทศที่หวังจะลงคะแนนตามระบบปาร์ตี้ลิสต์
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'พรรคสามัญชน \xa0', 'เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์', 'กิตติชัย งามชัยพิสิษฐ์', '\xa0ใบเลือกตั้งใบเดียว', 'การแก้ไขรัฐธรรมนูญ'] |
https://prachatai.com/print/79467 | 2018-11-06 01:23 | งึดหลาย! ทหารตรวจสอบเสื้อแดงอุดร ถามเอาปฏิทิน 'ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์' มาจากไหน | เสื้อแดงอุดร เผยภาพทหารเข้าตรวจสอบถึงบ้าน ถามปฏิทิน 'ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์' เอามาจากไหน 'ไอลอว์' รายงานเพิ่มเติม ทหารเยี่ยมถึงสองครั้ง ก่อนมาอีกครั้ง ขอให้ลบรูปที่โพสต์ในเฟสบุ๊ก
5 พ.ย.2561 จากกรณีเมื่อวันที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมา วอยส์ออนไลน์ [1] รายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ให้สัมภาษณ์ขอความร่วมมือสื่อมวลชน งดนำเสนอภาพ ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2 อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี
ล่าสุดวันนี้ เมื่อเวลา 10.35 น. ผู้ใช้เฟสบุ๊ก 'Wassana Kenhla [2]' โพสต์ภาพทหารเข้าตรวจสอบปฏิทิน 2019 ที่มีรูปของทักษิณ และยิ่งลักษณ์ พร้อมข้อความว่า "มาหาแต่เช้าเลยมาถามเรื่องปฎิทิน เอามาจากไหน ใครให้มาก็เลยย้อนถามกลับไปแล้วมันผิดตรงไหน ก็แค่เอาไว้ดูวันหรือเดือนนี้หรือประเทศไทย ข่อยล่ะงึดหลาย"
ขณะที่ อานนท์ นำภา ทนายความจากศูนย์ทนายสิทธิมนุษยชน โพสต์ถึงกรณีดังกล่าวว่า เกิดเหตุที่ จ.อุดรธานี ทหารข้องใจปฏิทิน
ไอลอว์ [3] รายงานเพิ่มเติมด้วยว่า ล่าสุดช่วงเวลาประมาณ 17.30 น. ไอลอว์สอบถามและได้รับข้อมูลเพิ่มเติมว่าหลังเธอโพสต์ภาพและข้อความไปเจ้าหน้าที่ทหารชุดเดิมก็กลับมาที่บ้านเธออีกครั้งในเวลาประมาณ 15.30 น.และบอกให้เธอลบภาพและโพสต์ ดังกล่าวทิ้งเพราะมีภาพเจ้าหน้าที่ปรากฎอยู่ด้วยแต่เธอก็ยืนยันว่าจะไม่ลบภาพเพราะเห็นว่าไม่ได้เป็นการกระทำความผิดใดๆ
ผู้ใช้เฟสบุ๊กชื่อ Wassana Kenhla ยังเล่าถึงเหตุการณ์วันนี้อีกว่าเวลาประมาณ 9.30 น. มีเจ้าหน้าที่ทหาร 5 นายเข้ามาสอบถามเธอว่ามีปฏิทินภาพอดีตนายกทั้งสองใช่หรือไม่ ได้มาจากผู้ใด ใครเป็นคนจัดทำ เธอก็ตอบไปว่าได้มาตอนที่เข้ามากรุงเทพฯ มีคนเอามาให้ประมาณ 20 - 30 อันเธอก็เลยจะเอามาแจกเพื่อนๆด้วยแต่ไม่รู้ว่าใครเป็นคนจัดทำ
เจ้าหน้าที่ทหารขอปฏิทินจากเธอซึ่งเธอให้ไปหนึ่งอัน เธอยังถามเจ้าหน้าที่ทหารด้วยว่ามีปฏิทินดังกล่าวในครอบครองเป็นความผิดหรือไม่อย่างไรซึ่งก็ได้รับคำตอบว่าไม่ผิด
ระหว่างนั้นเจ้าหน้าที่ทหารใช้โทรศัพท์ถ่ายภาพการพูดคุย เธอจึงขอให้เจ้าหน้าที่ทหารใช้โทรศัพท์ของเธอถ่ายภาพการพูดคุยเก็บไว้ด้วย ก่อนจะนำไปโพสต์ในภายหลัง และเล่าย้อนไปในช่วงเช้าว่า เจ้าหน้าที่ทหารคุยกับเธอสั้นๆประมาณ 10 - 20 นาทีก็เดินทางกลับไป หลังจากเจ้าหน้าที่ทหารกลับออกไปแล้วเธอออกไปทำธุระนอกบ้าน ระหว่างนั้นก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจโทรมาถามว่าเขามาหาเธอที่บ้านแต่เธอไม่อยู่ เธอจึงตอบไปว่าเดี๋ยวเสร็จธุระแล้วจะกลับเข้าไปซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจก็บอกว่าจะรอ
ในเวลาประมาณ 15.30 น. เมื่อเธอกลับไปที่บ้านก็ไม่พบเจ้าหน้าที่ตำรวจคนที่นัดหมายไว้แต่พบเจ้าหน้าที่ทหารชุดที่มาตอนเช้าแทน เจ้าหน้าที่ทหารขอให้เธอลบภาพและข้อความบนเฟสบุ๊กที่เธอโพสต์ไปตอนเช้าออกโดยระบุทำนองว่าภาพดังกล่าวมีใบหน้าของพวกเขาปรากฎอยู่ทำให้พวกเขาเสียหาย และหากเธอไม่ยอมลบก็อาจจะมีความยุ่งยากตามมา อย่างไรก็ตามเธอก็ยืนยันว่าจะไม่ลบ
เธอชี้แจงกับทหารไปว่าก่อนหน้านี้เวลาทหารมาที่บ้านเธอก็โพสต์ภาพลงตามปกติก็ไม่มีปัญหาอะไรหรือตอนที่เธอจะเข้าไปตัดกล้วยในสวนแล้วเจ้าหน้าที่ทหารมาที่บ้านเธอก็วานให้เจ้าหน้าที่ช่วยตัดกล้วยและเธอก็โพสต์ภาพและข้อความในลักษณะขอบคุณซึ่งปรากฎว่าไม่มีปัญหาใดๆ
หลังเจ้าหน้าที่ทหารกลับไปแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประสานเธอไว้ตอนช่วงบ่ายก็กลับเข้ามาสอบถามเรื่องปฏิทินแต่ไม่ได้พูดเรื่องสเตตัสและภาพบนเฟสบุ๊กของเธอ เมื่อสอบถามเรื่องการมีปฏิทินดังกล่าวในครอบครองว่าผิดกฎหมายหรือไม่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาคุยกับเธอก็บอกว่าไม่ผิด
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'ปฏิทินทักษิณ-ยิ่งลักษณ์', 'เสื้อแดง', 'ทหาร', 'ทักษิณ ชินวัตร', 'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร', 'ไอลอว์'] |
https://prachatai.com/print/79469 | 2018-11-06 02:33 | มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเผยปีนี้พบการร้องเรียนเรื่องอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพมากอันดับ 1 | มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเปิดเผยสถานการณ์ผู้บริโภค ปี 61 พบการร้องเรียนเรื่องอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพมากเป็นอันดับหนึ่ง 1,335 ราย รองลงมาคือ บริการสาธารณะ และบริการสุขภาพและสาธารณสุข
5 พ.ย. 2561 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เปิดเผยสถิติเรื่องร้องเรียน ตั้งแต่เดือน มกราคม - กันยายน 2561 โดย มพบ. และเครือข่ายผู้บริโภค 7 ภาค ได้ให้คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียน จำนวน 3,245 เรื่อง
เรื่องที่มีผู้ร้องเรียนมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง คือ เรื่องอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีผู้ร้องเรียน 1,335 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.14 ของจำนวนผู้ร้องเรียนทั้งหมด รองลงมาคือ บริการสาธารณะ มีผู้ร้องเรียน 529 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.30 และอันดับที่สาม บริการสุขภาพและสาธารณสุข มีผู้ร้องเรียน 460 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.18
เมื่อแยกย่อยลงไปในแต่ละหมวดจะพบว่า ปัญหาสามอันดับแรกของหมวดอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ (1,335 ราย) คือ เรื่องเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ 258 ราย อาหารไม่บริสุทธิ์ 249 และการขายยาโดยไม่มีเภสัชกรปฏิบัติการ 177 ราย ตามลำดับ
ส่วนหมวดบริการสาธารณะ (529 ราย) ปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการขนส่งทางบก โดยประเภทของรถที่ได้รับการร้องเรียนค่อนข้างมากมี 4 ประเภท คือ รถทัวร์โดยสาร 199 ราย รถรับส่งนักเรียน 109 ราย รถตู้โดยสาร 77 ราย และรถเมล์/รถโดยสารระหว่างจังหวัด 69 รายตามลำดับ โดยกรณีของรถทัวร์และรถตู้โดยสาร เป็นเรื่อง การเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายจากอุบัติเหตุ ส่วนรถรับส่งนักเรียน จะได้รับร้องเรียนเรื่องการใช้รถผิดประเภท ขณะที่รถเมล์/รถโดยสารระหว่างจังหวัด เป็นปัญหาบรรทุกเกินที่นั่งสำหรับ หมวดบริการสุขภาพและสาธารณสุข (460 ราย) นั้น ปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นการปรึกษา เรื่องการย้าย/ สอบถามสิทธิ สิทธิประโยชน์ต่างๆ 396 ราย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังไม่รู้สิทธิต่างๆ ของตัวเองเท่าที่ควร และกลุ่มผู้บริโภคที่ประสบปัญหาด้านบริการสุขภาพและสาธารณสุข คือ ผู้ใช้สิทธิบัตรทอง เพราะนอกจากปัญหาการไม่รู้สิทธิแล้ว สิทธิบัตรทองยังเป็นกลุ่มที่มีการร้องเรียนในด้านต่างๆ เข้ามามากที่สุด เช่น ไม่ได้รับความสะดวกตามสมควร/ไม่ได้รับการปฏิบัติตามสิทธิ ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล และถูกเรียกเก็บเงินจากการใช้สิทธิกองทุนฉุกเฉิน เป็นต้น ดังนั้นภาครัฐจึงควรเข้าไปให้คำแนะนำและให้ความรู้แก่ผู้บริโภคอย่างทั่วถึง รวมทั้งให้บริการแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียม
| ['ข่าว', 'เศรษฐกิจ', 'คุณภาพชีวิต', 'มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค', 'เครือข่ายผู้บริโภค', 'ผู้บริโภค'] |
https://prachatai.com/print/79470 | 2018-11-05 22:42 | อัยการสั่งฟ้อง พ.ร.บ.คอมฯ 9 คนแชร์ 'กูต้องได้ 100 ล้านจากทักษิณฯ' 5 คนอดได้ประกัน | อัยการฟ้องคดีนำข้อมูลอันเป็นเท็จ ตาม พ.ร.บ.คอมฯ 9 คน แชร์โพสต์ปม 'ยาเสพติดระบาดหนัก' จากเฟสบุ๊กแฟนเพจ 'กูต้องได้ 100 ล้านจากทักษิณแน่ๆ' ขณะที่ศาลไม่ให้ประกันตัว 5 ราย
5 พ.ย.2561 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน [1] รายงานว่า วันนี้ เวลา 10.00 น. ที่สำนักงานอัยการสูงสุด กอง 9 ถนนรัชดา อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องจำเลย 9 คน ในคดีแชร์โพสต์เฟสบุ๊กจากแฟนเพจ “กูต้องได้ 100 ล้านจากทักษิณแน่ๆ” สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ระหว่างเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ได้ทยอยแจ้งข้อหาต่อผู้ต้องหาหลายราย โดยเป็นการระบุความผิดฐานนำข้อมูลอันเป็นเท็จที่กระทบความมั่นคงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ฯ ตามมาตรา 14 (5) ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560
ศูนย์ทนายฯ รายงานต่อว่า หลังจากอัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้อง จำเลยได้เดินทางมาที่ศาลอาญา ต่อมาเวลา 12.30 น. ศาลได้อ่านคำฟ้องต่อจำเลย และถามคำให้การจำเลย โดยมีจำเลยให้การรับสารภาพ 5 คน โดยญาติจำเลยได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว เป็นการวางหลักทรัพย์ประกันเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท 3 คน และมีคำสั่งให้ไปพบพนักงานคุมประพฤติในวันพรุ่งนี้ (6 พ.ย. 61) ส่วนจำเลยอีกหนึ่งคน วางหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดิน ประเมินราคา 100,000 บาท ซึ่งจำเลยทั้ง 5 คน ศาลได้มีคำสั่งให้มาฟังคำสั่งพิพากษาวันที่ 12 ธ.ค. 61 เวลา 9.00 น.
ขณะที่จำเลยอีกหนึ่งคนที่ให้การรับสารภาพ ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว โดยไม่วางหลักทรัพย์ตามที่ยื่นคำร้อง แต่มีคำสั่งให้เบิกตัวเลยมาสอบถาม ความยินยอมในการติดอุปกรณ์ติดตามตัว (มีลักษณะเป็นกำไลข้อเท้า EM ‘Electronic Monitoring Center’) และจะพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวในวันพรุ่งนี้ และมีคำสั่งให้ฝากขังจำเลยทั้ง 5 คน โดยแบ่งเป็นชาย 2 คน ถูกฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร และผู้หญิง 3 คน ถูกฝากขังไว้ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง
ในส่วนของจำเลยที่เหลือ 4 คน ซึ่งให้การปฏิเสธนั้น ได้ยื่นประกันตัวโดยไม่วางหลักทรัพย์ ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว โดยไม่วางหลักทรัพย์ตามที่ยื่นคำร้อง แต่มีคำสั่งให้เบิกตัวเลยมาสอบถาม ความยินยอมในการติดอุปกรณ์ติดตามตัว (มีลักษณะเป็นกำไลข้อเท้า EM ‘Electronic Monitoring Center’) และจะพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวในวันพรุ่งนี้ เวลา 9.00 น.
ตำรวจท่องเที่ยวจับ ผู้แชร์เพจ'กูต้องได้100ล้านจากทักษิณ' [2]
สำหรับคดีนี้ศูนย์ทนายฯ ระบุว่า เป็นคดีที่เกี่ยวกับการใช้เสรีภาพในการแสดงออก เพื่อวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล โดยจำเลยกดแชร์โพสต์เรื่องยาเสพติด โดยมีเนื้อหาการโพสต์ว่า
“ยาเสพติดระบาดหนักในหลายชุมชน จนท.ทหารหลายพื้นที่ ทำงานเป็นคนดูแลความสงบให้แก่พวกขายยา (กล่าวลอยๆ) โดยทำงานร่วมกับตำรวจท้องที่ ลองดูสิ เยอะจริงๆ ยกตัวอย่างแถวบ่อนไก่ก็ตำรวจ-ทหารเป็นหูเป็นตาให้ผู้ค้าเองด้วย ป.ป.ส.มาสืบเองก็คงมีข้อมูลแล้ว แต่ก็ไม่ทำอะไร ประชาชนในชุมชนอยู่กันอย่างหวาดระแวง ลักเล็กขโมยน้อยเกิดขึ้นประจำ นี่หรือคือยุคที่ คสช.อ้างว่าสงบสุข แต่ยาเสพติดกลับทะลักเข้ามาทำลายอนาคตของประเทศ
ทหารนอกแถวมีมากมาย แต่ควบคุมให้มีวินัยไม่ได้เพราะ คสช.เองก็มีอำนาจด้วยวิธีการที่ผิดๆ และขาดวินัย
น่าสงสัยต่ออีก ใครปล่อยให้ยาเสพติดทะลักเข้ามา ประโยชน์ไปตกที่ใคร เงินไปไหน อืม”
ในเอกสารคำฟ้องของฝ่ายโจทก์ระบุว่าข้อความข้างต้น
“ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าการแพร่ระบาดของยาเสพติดอย่างหนักในหลายชุมชนในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากการที่มีเจ้าหน้าที่ทหารที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาความสงบในพื้นที่ต่าง ๆ ร่วมกับตำรวจในท้องที่ ทำหน้าที่เป็นหูเป็นตาให้กับผู้ค้ายาเสพติดเสียเอง จึงทำให้ยาเสพติดกลับทะลักเข้ามาทำลายอนาคตของประเทศ
เหตุเพราะ คสช. เองก็มีอำนาจและวิธีการที่ผิด ๆ และขาดวินัย ซึ่งเป็นความเท็จเนื่องจากเจ้าหน้าที่ทหารมีหน้าที่รักษาความสงบในเขตพื้นที่และเจ้าหน้าที่ตำรวจในเขตท้องที่เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ปราบปรามการกระทำผิดและดูแลความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีทางเป็นไปได้ที่เจ้าหหน้าที่ทหารและตำรวจจะร่วมมือกันเป็นหูเป็นตาให้กับผู้ค้ายาเสพติดเสียเอง”
สำหรับพฤติการณ์การจับกุมจำเลย คนึงนิตย์ 1 ในจำเลย เปิดเผยว่า ได้รับหมายเรียกตำรวจท่องเที่ยวที่มาพบเธอที่บ้าน ในขณะนั้น ตำรวจแจ้งว่าเธอถูกเรียกในฐานะพยานเท่านั้นไม่ใช่ผู้ต้องหา ถ้าไป ปอท. จะกันเป็นพยาน พร้อมกับนำภาพข้อความในเพจของกูต้องได้ 100 ล้านฯ ให้เธอดู โพสต์ดังกล่าวถูกโพสต์เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 61 และระบุว่าเพจดังกล่าวนี้มี วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นแอดมินเพจ “กูต้องได้ 100 ล้านจากทักษิณแน่ ๆ”
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'ไอซีที', 'พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์', 'ประกันตัว', 'ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน', 'นำข้อมูลอันเป็นเท็จ', 'เฟสบุ๊กแฟนเพจ', 'กูต้องได้ 100 ล้านจากทักษิณแน่ๆ'] |
https://prachatai.com/print/79474 | 2018-11-06 13:33 | จากอุดรถึงอุบล ทหาร-ตร.-ฝ่ายปกครอง สนธิกำลัง บุกยึดปฎิทินรูปทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ | ทหาร-ตร.-ฝ่ายปกครอง สนธิกำลัง บุกยึดปฎิทินรูปทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ 'คนอยากเลือกตั้ง จ.อุบลฯ' ทนายอานนท์เผยคุมตัวลูกชายไป สน.วารินชำราบ ด้วย ขณะที่ 2 นักกิจกรรมโพสต์ภาพปฏิทินหน้า ก.กลาโหม ด้าน 'ศรีวราห์' เผยกำลังตรวจสอบ ยังไม่พบการกระทำความผิด
6 พ.ย.2561 จากกรณีที่นำเสนอข่าวไปวานนี้ ที่ จ.อุดรธานี เจ้าหน้าที่ทหารเข้าตรวจสอบปฏิทิน 2019 ที่มีรูปของทักษิณ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ของเสื้อแดง ผู้ใช้เฟสบุ๊กชื่อ 'Wassana Kenhla' นั้น
ล่าสุดวันนี้ อานนท์ นำภา ทนายความจากศูนย์ทนายสิทธิมนุษยชน โพสต์ภาพของผู้ใช้เฟสบุ๊ก 'รัตนา เสรีชน' ซึ่งเป็นภาพทหารสนธิกำลังกับฝ่ายปกครองเข้าตรวจค้นปฏิทินดังกล่าว โดย อานนท์ ระบุว่า วันนี้ เวลา 11.00 น. เจ้าหน้าทีทหารสนธิกำลังกับฝ่ายปกครองกว่า 50 นาย เข้าตรวจยึดปฏิทินรูปทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ จำนวนหนึ่ง พร้อมคุมตัวลูกชายของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งไปที่ สน.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ด้วย
โพสต์ดังกล่าว รัตนา ระบุว่า วันนี้ไม่อยู่บ้าน มีแขกมาเยี่ยม มาเอาของฝากไปหมดเลย ปฏิทินเป็นอาวุธร้ายแรง
งึดหลาย! ทหารตรวจสอบเสื้อแดงอุดร ถามเอาปฏิทิน 'ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์' มาจากไหน [1]
ธนวัฒน์ วงศ์ไชย และ พริษฐ์ ชิวารักษ์ สองนักกิจกรรมนักศึกษา โพสต์ภาพทั้งคู่ ถือปฏิทินดังกล่าวที่หน้ากระทรวงกลาโหม โดย ธนวัฒน์ เขียนข้อความประกอบโพสต์ด้วยว่า เห็นทางกองทัพส่งทหารไปตามขอปฏิทินทักษิณ-ยิ่งลักษณ์จากชาวบ้านในต่างจังหวัด พวกเราเห็นว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการคุกคามประชาชน และการเอาเวลาราชการมาไล่จับคนมีปฏิทินชิ้นนี้เป็นการสิ้นเปลืองเงินภาษีไปโดยเสียเปล่า
"วันนี้พวกเราเลยเอาปฏิทินดังกล่าวมามอบให้ถึงกระทรวงกลาโหมเลยครับ กองทัพจะได้ไม่ต้องไปตามคุกคามเพื่อเอาปฏิทินนี้จากประชาชนคนไหนอีก" ธนวัฒน์ โพสต์
'ศรีวราห์' เผยกำลังตรวจสอบ ยังไม่พบการกระทำความผิด
มติชนออนไลน์ [2] รายงานว่า ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ด้านความมั่นคงและกิจการพิเศษ กล่าวถึงกรณีมีการแจกปฏิทินปีใหม่ 2562 ซึ่งมีภาพของ ทักษิณ และ ยิ่งลักษณ์ ออกแจกจ่ายมากกว่า 2 ล้านชิ้น เพื่อแจกให้กับประชาชนที่กรุงเทพฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ว่าจากการตรวจสอบมีรูปของอดีตนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 ท่านจริง แต่ยังไม่พบหลักฐานว่าบุคคลใดเป็นคนทำแจก พบว่ามีการแจกที่ ม.ธรรมศาสตร์ ศาลรัฐธรรมนูญ จ.อุดรธานี และ จ.อุบลราชธานี ขณะนี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ตำรวจภูธรภาค 3 ภาค 4 และกองบัญชาการตำรวจสันติบาล กำลังติดตามตรวจสอบให้ชัดเจน ไม่น่าก่อให้เกิดความขัดแย้งเพราะมีการแจกกันมาแล้วก่อนหน้านี้ ตอนนี้ยังตรวจสอบยังไม่พบการกระทำความผิด แต่หากพบว่าทำผิดกฎหมายก็ต้องดำเนินการตามกฎหมายแน่นอน
รอง ผบ.ตร.กล่าวว่า ยืนยันว่าอดีตนายกทั้งสองยังอยู่นอกราชอาณาจักรคงไม่ใช่ผู้ทำแจกแน่นอน อย่างไรก็ตามช่วงนี้ใน กทม.ยังไม่มีกลุ่มใดเคลื่อนไหว ในมิติความมั่นคงการจับตาดู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ให้ขยายพื้นที่ก่อการ
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'ปฏิทินทักษิณ-ยิ่งลักษณ์', 'ทหาร', 'ทักษิณ ชินวัตร', 'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร', 'ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล', 'ธนวัฒน์ วงศ์ไชย'] |
https://prachatai.com/print/79471 | 2018-11-06 03:54 | นักวิชาการสถาบันพระปกเกล้าฯ ชวนเช็คข้อมูลก่อนคิดว่า New Voter คือเสียงหลักของการเปลี่ยนแปลง | สติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการผู้ชำนาญการจากสถาบันพระปกเกล้า ชี้ในการเลือกตั้งครั้งนี้จะมี New Voter มากถึง 8.3 ล้านคน สามารถกำหนดที่นั่ง ส.ส. ได้ร้อยกว่าเก้าอี้ แต่ข้อมูลการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ บอกว่าคนกลุ่มนี้ไม่ใช่กลุ่มหลักที่ออกไปใช้สิทธิ ขณะที่ปัจจุบันพวกเขายังยังขาดข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง และข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวกับการไปลงคะแนน
สติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า แฟ้มภาพประชาไท
6 พ.ย. 2561 เมื่อวันที่ 2 พ.ย. ที่ห้องประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กลุ่มเครือข่ายเยาวชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งเพื่อประชาธิปไตย(We Watch) ได้จัดงานเสวนาวิชาการในหัวข้อ ความพร้อมของนักศึกษาต่อการเลือกตั้ง โดยมี สติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า เป็นผู้นำเสนอในประเด็น “การเลือกตั้งคือ เส้นชัย หรือบันไดขั้นแรก”
ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาคนรุ่น Baby Boomer เป็นกลุ่มที่ออกไปใช้สิทธิมากสุด ไม่ใช่กลุ่ม New Voter
สติธร ธนานิธิโชติ ระบุว่า ก่อนที่จะมีการพูดถึงเรื่องว่าการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือน ก.พ. 2562 จะเป็นเส้นชัย หรือเป็นเพียงบันไดขั้นแรก สิ่งที่น่าสนใจคือ จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งเป็นกลุ่มผู้ที่จะได้ใช้สิทธิครั้งแรก (New Voter) กกต. ได้ประมาณจำนวน New Voter ไว้ว่ามีจำนวนทั้งหมด 8.3 ล้านคน และเมื่อมีการคำนวณว่า คะแนนเสียงประมาณ 7 หมื่นกว่าเสียง จะเท่ากับการได้ ส.ส. 1 ที่นั่ง ก็จะพบว่า New Voter จะสามารถเลือก ส.ส. รวมกันได้ 100 กว่าที่นั่ง หากคนกลุ่มนี้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยเปอร์เซ็นต์
สติธร กล่าวต่อไปว่าจาก สถิติการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งราว 70-75 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนผู้มีสิทธิทั้งหมด แต่ในจำนวนนี้ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ว่าผู้ที่ออกมาใช้สิทธิในครั้งที่ผ่านมาเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่โดยอายุมีจำนวนเท่าไร แต่จากการสังเกตจะพบว่าคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์ Baby Boomer หรือคนรุ่นอายุประมาณ 50 ปลายๆ ขึ้นไป เป็นคนกลุ่มที่มีพฤติกรรมในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าคนในรุ่นอื่นๆ ซึ่งจำนวนมากเป็นคนที่อยู่ในชุมชน คนรุ่นนี้มีพฤติกรรมในการออกมาใช้สิทธิอยู่ที่ 90-100 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อดูจากค่าเฉลี่ยรวมการใช้สิทธิของประชาชนทุกกลุ่มอายุ สามารถอนุมานได้ว่ากลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่าคนรุ่น Baby Boomer มีอัตราการมาใช้สิทธิน้อยกว่า
“เรายังคาดหวังได้ยากว่าคนรุ่นใหม่โดยอายุจะออกมาใช้สิทธิจำนวนมาก แม้เราคาดหวังว่าไทยจะเกิดแลนด์สไลด์เหมือนมาเลเชีย ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกมาตบหน้าผู้มีอำนาจที่ผูกขาดอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่มีประเมินตัวเลขกลุ่มคนรุ่นใหม่ในมาเลเชียที่ออกมารณรงค์การเลือกตั้งอย่างคึกคัก เอาเข้าจริงแล้วไปใช้สิทธิเพียงแค่ 30 เปอร์เซ็นต์ พลังที่ทำให้เกิดคนเปลี่ยนแปลงในมาเลเชียไม่ได้มาจากการที่คนรุ่นใหม่ออกมาใช้สิทธเลือกตั้ง แต่เขามีพลังในการไปดึงดูชักจูงคนรุ่นอื่นๆ ให้ลงคะแนนไม่ในทิศทางที่คนรุ่นใหม่ขับเคลื่อน” สติธร กล่าว
New Voter ยังขาดข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง และข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการไปใช้สิทธิ
เขากล่าวต่อไปว่า ได้มีโอกาสพูดคุยกับคนรุ่นใหม่ที่จะได้ใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นนิสิตนักศึกษา ซึ่งอยู่ในมหาวิทยาลัยที่เป็นเสาหลักตามภูมิภาคต่างๆ เขาพบว่า ความพร้อมของคนรุ่นใหม่ในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นขึ้นอยู่กับการมีข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอต่อการตัดสินใจ ซึ่งไม่ใช่เรื่องการให้ความรู้การให้การศึกษาอย่างเดียว แต่เป็นข้อมูลทั่วไปที่จำเป็น
สติธร อภิปรายต่อไปว่า การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นจะต้องมีหลักการสำคัญอย่างน้อย 2 หลักการคือ ความเป็นอิสระ(Free) และความยุติธรรม(Fair) ซึ่งสามารถอธิบาย 2 หลักการนี้สั้นๆ ได้ว่า การที่บุคคลหนึ่ง หากอยากจะเลือกอะไรก็ต้องได้เลือก ซึ่งนี่ไม่ใช่เพียงการออกไปใช้สิทธิในวันเลือกตั้งอย่างเดียวเท่านั้น แต่หมายรวมถึงเรื่องอื่นๆ เช่นการให้ข้อมูลเรื่องหน่วยเลือกตั้งว่า ผู้สิทธิเลือกตั้งจะต้องไปใช้สิทธิที่หน่วยไหน การเตรียมตัวก่อนไปใช้สิทธิต้องนำเอกสารอะไรไปบ้าง
นอกจากนี้ เขายังได้ทำแบบสอบถามให้ผู้ใช้สิทธิครั้งแรกตอบคำถาม ซึ่งเป็นคำถามง่ายๆ เช่น รัฐธรรมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้คือรัฐธรรมนูญฉบับ 2559 ใช่หรือไม่, รัฐสภาประกอบไปด้วยสมาชิกกี่คน สิ่งที่พบก็คือกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกยังไม่มีความรู้พื้นฐานที่เพียงพอ ซึ่งสะท้อนว่าข้อมูลข่าวสารที่เป็นเรื่องทั่วไปเหล่านี้มาไม่ถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือมีข้อมูลข่าวสารหลายชุดที่ขัดแย้งกันจนทำให้เกิดความสับสน
“การให้ข้อมูลว่ากระบวนการเลือกตั้งเป็นอย่างไร แต่ละพรรคการเมืองมีนโยบายอย่างไร การให้ข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วน ไม่บิดเบือนไม่มีอคติ สุดท้ายแล้วจะทำให้คนมีความรู้เพิ่มขึ้น และเมื่อเขาตัดสินใจไปลงคะแนนเลือกตั้ง ก็มั่นใจได้ว่าเสียงที่เขาจะลงให้มันได้สะท้อนเจตนาของเขาอย่างแท้จริง ผมไม่โลกสวยถึงขั้นจะไปพูดว่าการเลือกตั้งที่มีคุณภาพมันจะตั้งเป็นการเลือกด้วยเหตุผล เพราะการเลือกตั้งในโลกนี้ในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางระบอบประชาธิปไตยสูง คนเขาก็เลือกเพราะความชื่นชอบ ศรัทธา ไม่ได้เลือกด้วยเหตุผลชุดเดียวกัน เช่น เลือกคนดี เลือกคนมีการศึกษา เลือกคนเก่งหรือนักบริหาร หรือต้องเลือกพรรคการเมืองเชิงอดุมการณ์ หรือเลือกพรรคพลังดูด เรื่องพวกนี้มันแล้วแต่ผู้มีสิทธิแต่ละคน และเราก็ไม่ควรคาดหวังให้ทุกคนเลือกด้วยเหตุผลชุดเดียวกัน ขออย่างเดียวคือ เมื่อเขาอยากเลือกอะไร ขอให้เขาได้เลือก” สติธร กล่าว
อย่ามองข้ามเรื่องเล็กน้อย เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถบิดเบือนเจตจำนงค์อิสระในการเลือกตั้งได้
เขา กล่าวต่อไปว่า กระบวนการสู่การเลือกตั้งเวลานี้ทุกฝ่ายได้เตรียมตัวไว้แล้ว แต่รายละเอียดต่างๆ เหล่านี้จะต้องไม่ทำให้เกิดปัญหา หรืออุปสรรคต่อความต้องการเลือกของผู้มีสิทธิ อย่างไรก็ตามสิ่งที่เป็นปัญหาแล้วในเวลานี้ และไม่สามารถแก้ไขได้ คือระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ซึ่งมีโอกาสทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่สามารถเลือกได้ตามที่ต้องการ
เขา ยกตัวอย่างง่ายๆ โดยสมมติว่า มีคนอยากเลือกพรรคอนาคตใหม่ และต้องการให้ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ กำหนดให้พรรคการเมืองต้องส่งผู้สมัครลงไปในระบบเขตที่มีทั้งหมด 350 เขต เพราะใบเลือกตั้งที่เราจะได้มาในวันเลือกตั้งจะเป็นใบเลือกตั้งผู้สมัครแบบเขตไม่ใช่บัตรเลือกพรรค และหากพรรคอนาคตใหม่ไม่สามารถส่งผู้สมัครได้ครบทุกเขตไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ก็หมายความว่าในเขตที่ไม่มีผู้สมัครจากพรรคอนาคตใหม่ ประชาชนในเขตนั้นก็ไม่สามารถเลือกพรรคอนาคตใหม่ได้
สติธร กล่าวต่อไปว่า บัตรเลือกตั้งที่จะมีในการเลือกตั้งครั้งหน้าจะเป็นการใช้บัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียว และเป็นบัตรในระบบแบ่งเขต ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาบัตรเลือกตั้งในระบบเขตสิ่งที่ปรากฎอยู่ในบัตรเลือกตั้งจะมีเพียงอย่างเดียวคือเลขหมายของผู้สมัคร ไม่มีชื่อผู้สมัคร และไม่มีชื่อพรรคการเมืองปรากฎอยู่ หากการเลือกตั้งครั้งหน้าบัตรเลือกตั้งยังขณะแบบนี้อยู่ก็อาจจะเกิดปัญหาทำให้ประชาชนเกิดความสับสน เช่นบางคนจำได้แต่เพียงชื่อผู้สมัคร หรือจำได้แต่เพียงชื่อพรรคการเมืองที่ต้องการจะเลือก แต่เมื่อไปถึงหน่วยลงคะแนนกลับไม่สามารถเลือกได้อย่างถูกต้อง หรือเลือกได้ตรงกับความต้องการของตัวเองเพราะไม่รู้ว่าจะต้องเลือกเบอร์อะไร นี่คือเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่สามารถบิดเบือนเจตจำนงค์อิสระของผู้คนได้
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'จับการเลือกตั้ง', 'New Voter', 'เครือข่ายเยาวชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งเพื่อประชาธิปไตย (We Watch)', 'สติธร ธนานิธิโชติ'] |
https://prachatai.com/print/79473 | 2018-11-06 13:16 | นักการเมืองญี่ปุ่น เห็นต่างร่าง กม.เอื้อให้ต่างชาติเข้ามาทำงานมากขึ้น | พรรครัฐบาล-ฝ่ายค้าน เห็นต่างร่างกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองเพื่อเปิดทางให้แรงงานต่างชาติจำนวนมากขึ้น ฝ่ายค้านระบุอย่ารีบร้อนเกินไป ต้องหารืออย่างรอบด้านก่อน ‘นายกอาเบะ’ ชี้ไม่ให้อยู่ถาวรได้ง่ายเนื่องจากข้อกำหนดเงื่อนไขที่เข้มงวดของกฎหมายสำหรับการได้เป็นผู้พำนักอาศัยถาวร
ที่มาภาพประกอบ: Motivist Japan [1]
เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2561 ที่ผ่านมา สถานี NHK ของญี่ปุ่นได้เชิญ ส.ส.พรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านของญี่ปุ่นมาอภิปรายกันในประเด็นการแก้กฎหมายที่เอื้อให้แรงงานต่างชาติจำนวนมากขึ้นสามารถทำงานในญี่ปุ่นได้
ฟูมิโอะ คิชิดะ จากพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) พรรคแกนนำรัฐบาลญี่ปุ่น ระบุว่าการขาดแคลนแรงงานของญี่ปุ่นร้ายแรง และส่งผลต่อธุรกิจทุกประเภท ทั้งนี้แม้จะมีคนไม่เห็นด้วยที่จะใช้ระบบใหม่ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2562 ปีหน้า แต่เขาระบุว่ารัฐบาลจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรวดเร็วในการสร้างมาตรการเพื่อรับมือการขาดแคลนแรงงาน
ส่วนอากิระ นากาสึมา จากพรรคประชาธิปไตยรัฐธรรมนูญ (CDP) พรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุด ระบุว่ารัฐบาลพยายามจะเพิ่มจำนวนแรงงานต่างชาติ โดยไม่ได้คำถึงถึงประเด็นต่างๆ เช่น การสอนภาษาญี่ปุ่นให้แรงงานต่างชาติ ประเด็นที่พักอาศัยและสวัสดิการสังคม เขาระบุว่าจะต้องมีการหารืออย่างรอบด้านเสียก่อน ทั้งนี้พรรค CDP จะไม่เข้าร่วมการพิจารณาร่างกฎหมาย จนกว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะสัญญาว่าจะหารือร่างกฎหมายนี้ในการประชุมสมัยสามัญของรัฐสภาในปี 2562
ครม.ญี่ปุ่น รับรองร่าง กม.เปิดรับแรงงานต่างชาติมากขึ้น เตรียมให้สภาอนุมัติก่อนปิดสมัยประชุม [2]ภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นต้องการแรงงานต่างชาติทักษะสูงเพิ่ม-ให้อยู่ในประเทศนานขึ้น [3]ญี่ปุ่นเตรียมแก้กฎหมายตรวจคนเข้าเมือง หวังชาวต่างชาติมาทำงานมากขึ้น [4]ประชากรญี่ปุ่นลดลงเป็นปีที่ 7 เตรียมจัดระบบวีซ่าแรงงานต่างชาติใหม่ [5]
ต่อมาเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2562 นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ กล่าวต่อคณะกรรมาธิการของวุฒิสภา หลังรัฐบาลได้ยื่นร่างกฎหมายทบทวนกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองเพื่อเปิดทางให้แรงงานต่างชาติจำนวนมากขึ้นนี้ โดยพรรค CDP ซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายค้านได้ตั้งกระทู้ถามนายอาเบะว่าการแก้ไขกฎหมายที่เสนอนั้นจะเปิดโอกาสให้แรงงานต่างชาติได้รับสถานะผู้พำนักอาศัยถาวรหลังอาศัยและทำงานในญี่ปุ่น 10 ปีหรือไม่
อาเบะได้กระทูนี้ว่าแม้ชาวต่างชาติจะอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องแต่จะไม่ได้รับสถานะนี้โดยอัตโนมัติ เนื่องจากข้อกำหนดเงื่อนไขที่เข้มงวดของกฎหมายสำหรับการได้เป็นผู้พำนักอาศัยถาวร เช่น ต้องมีพฤติกรรมที่ดี มีสินทรัพย์เพียงพอ หรือมีทักษะที่จะอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นต่อไปได้ และพำนักในญี่ปุ่น 10 ปีหรือนานกว่านั้น
ทั้งนี้หน่วยงานต่างๆ ของญี่ปุ่นประเมินว่าจะมีการเปิดรับแรงงานต่างชาติราว 40,000 คนเข้ามาในญี่ปุ่นภายในปีงบประมาณ 2562 หากว่าระบบตรวจคนเข้าเมืองแบบใหม่นี้มีผลบังคับใช้ภายในเดือน เม.ย. 2562
โดยเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2561 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ยื่นร่างแก้ไขกฎหมายควบคุมการตรวจคนเข้าเมืองต่อรัฐสภา เพื่อเพิ่มจำนวนแรงงานชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานต่อเนื่องในญี่ปุ่น โดยพรรคร่วมรัฐบาลจะเริ่มเจรจากับพรรคฝ่ายค้านในสัปดาห์หน้า เพื่อที่จะได้เริ่มการอภิปรายในรัฐสภาได้ในวันที่ 8 พ.ย. 2561 นี้
ที่มาเรียบเรียงจากAbe: Permanent residency not immediately granted (NHK WORLD-JAPAN, 5/11/2018) [6]Lawmakers disagree over foreign workers bill (NHK WORLD-JAPAN, 4/11/2018) [7]Japan may accept 40,000 foreign laborers in FY2019 (NHK WORLD-JAPAN, 3/11/2018) [8]
| ['ข่าว', 'แรงงาน', 'ต่างประเทศ', 'แรงงานต่างชาติ', 'แรงงานข้ามชาติ', 'ญี่ปุ่น'] |
https://prachatai.com/print/79477 | 2018-11-06 18:22 | วิศวกรสหรัฐชี้เขื่อน 'เซเปียน-เซน้ำน้อย' สร้างบนพื้นที่ไม่เหมาะสมทางธรณีวิทยา | วิศวกรชาวสหรัฐฯ ซึ่งตรวจสอบกรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยถล่มในลาว ชี้ให้เห็นถึงสาเหตุสำคัญที่ทำให้เขื่อนถล่มก็คือการสร้างเขื่อนบนพื้นที่หลุมยุบใต้ดิน ซึ่งไม่สามารถรับน้ำหนักในฤดูที่มีฝนตกหนักได้ เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เขื่อนพังจนกลายเป็นโศกนาฏกรรม
แผนที่แสดงที่ตั้งเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ทางน้ำผ่าน และจุดติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (ที่มา: PNPC [1])
จากกรณีโศกนาฏกรรมภัยพิบัติในตอนใต้ของลาวที่เกิดจากเขื่อนแตกเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว วิศวกรชาวสหรัฐฯ ริชาร์ด มีฮาน กล่าวถึงสาเหตุว่าเกิดจากการสร้างเขื่อนในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมทางธรณีวิทยา
มีฮาน เป็นวิศวกรที่จบจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ และกำลังสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนด์ฟอร์ด เขาเป็นคนที่มีประสบการณ์ในการออกแบบและสร้างเขื่อนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมาก่อน มีฮานนำเสนอการวิเคราะห์ถึงกรณีการถล่มของสันเขื่อน "เซเปียน-เซน้ำน้อย" เมื่อไม่นานนี้
โดยกรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยถล่มเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองสะหนามไซ แขวงอัตตะปือ ทางตอนใต้ของลาว เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา การถล่มของสันเชื่อนส่งผลให้เกิดภัยพิบัติน้ำท่วมและโคลนไหลบ่าเข้าท่วมที่อยู่อาศัยของประชาชนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 800 ราย รวมถึงมีการตั้งข้อสงสัยว่ารัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ลาวอาจจะพยายามปกปิดตัวเลขผู้เสียชีวิตที่แท้จริงซึ่งน่าจะมีมากกว่านี้เพราะกลัวว่าจะถูกบีบให้ระงับแผนการสร้างเขื่อนอื่นๆ เพิ่มเติมจากการที่พรรคคอมมิวนิสต์ลาวมีความทะเยอทะยานอยากให้ลาวเป็นแหล่งผลิตพลังงานที่มีฉายาว่า "แบตเตอร์รีแห่งเอเชียอาคเนย์"
จากกรณีโศกนาฏกรรมจากเขื่อนในครั้งนั้น มีฮานเปิดเผยว่าเขาใช้เทคโนโลยีอวกาศและการตรวจสอบข้อมูลดินในพื้นที่เพื่อสืบหาสาเหตุว่าเขื่อนล้มเหลวเพราะอะไร เขาเผยแพร่ผลการตรวจสอบไว้ที่เว็บไซต์ศูนย์วิจัยวิศวกรรมแผ่นดินไหวบลูมแห่งสแตนฟอร์ด (Stanford’s Blume Earthquake Engineering Center)
มีฮานพิจารณาเรื่องนี้จากข้อมูลชั้นดินที่ได้จากภาพถ่ายผ่านดาวเทียมและประสบการณ์ของตัวเองในการออกแบบเขื่อนสำหรับพื้นดินเขตร้อนชื้น ทำให้ระบุได้ว่าส่วนสันเขื่อนทิศตะวันตกสร้างขึ้นบนหลุมยุบซึ่งหมายถึงพื้นดินที่ส่วนมีช่องโหว่อยู่ใต้ดิน ทำให้ดินไม่สามารถรับน้ำหนักสันเขื่อนได้ในช่วงฤดูที่ฝนตกหนักในเขตที่ราบสูงโบลาเวนของลาว
มีฮานบอกว่า เมื่อแรงดันน้ำเพิ่มสูงขึ้นภายใต้การทำงานตามสเปคของโครงการแบบเดิมนานๆ ไปจะทำให้เกิดการรั่วซึมภายในแนวสันเขาหินบะซอลต์ที่คอยอุ้มเขื่อนไว้ เมื่อระดับน้ำสูงขึ้นเรื่อยๆ และไม่มีอะไรอย่างอื่นรองรับ ชั้นดินที่เปราะพรุนเบื้องล่างเขื่อนก็เริ่มทลายลงทำให้ตัวสิ่งก่อสร้างทรุดตัวลงเกิดเป็นอุทกภัยของมวลน้ำจำนวนมหาศาลไหลท่วม้บานเรือนประชาชนในหมู่บ้านเล็กๆ
นอกจากนี้มีฮานยังชี้ให้เห็นว่าพื้นที่สร้างเขื่อนดังกล่าวมี "ปัจจัยเสี่ยงที่รับรู้ได้" จากภูมิศาสตร์ชั้นดินที่มีน้ำไหลอยู่ข้างใต้จำนวนมาก ลาวาที่มีโอกาสรั่วไหลสูง และช่องว่างกับส่วนแตกหัก รวมถึงดินในแบบพื้นที่ร้อนชื้น โดยคนสร้างเขื่อนจะรู้ดีว่าปัจจัยทั้งหมดนี้ทำให้เกิดความไม่มั่นคงของเขื่อน เพราะมันจะก่อการบ่อนเซาะจากในดินได้รวมถึงเปราะบางต่อแรงดันน้ำสูงๆ
มีฮานระบุว่าหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาเช่นนี้เพราะรัฐบาลลาวพยายามเร่งโครงการขยายเขื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำมากเกินไปทำให้ไม่มีการศึกษาผลกระทบจากการกักเก็บน้ำ นอกจากนี้ยังมีปัญหามาจากเรื่องที่ว่าการพิจารณาความเหมาะสมของการก่อสร้างในกลุ่มประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื่นกลับนำแนวทางวิศวกรรมของประเทศตะวันตกกมาใช้เป็นส่วนใหญ่
สันเขื่อนลาวแตก องค์กรแม่น้ำนานาชาติชี้เป็นบทเรียนเรื่องออกแบบเขื่อนและการเตือนภัย [2], 24 กรกฎาคม 2561
เมื่อสื่อเอเชียไทม์สอบถามมีฮานเกี่ยวกับประเด็นนี้ มีฮานแสดงความคิดเห็นตอบกลับว่าเขาไม่เข้าใจว่าทำไมทางการลาวถึงสร้างสันเขื่อนในพื้นที่ๆ ไม่เหมาะสมทางภูมิประเทศทั้งๆ ที่มีพื้นที่เหมาะสมกว่าอยู่ใกล้ๆ และจะทำให้มีประสิทธิภาพในการกักเก็บมากกว่าด้วย เขาเสนอว่าถ้าหากจะมีการฟื้นโครงการเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย อีกก็แนะนำให้ย้ายไปในที่ปลอดภัย แต่โดยส่วนตัวแล้วเขามองว่าโครงการทั้งหมดนี้ควรจะนำมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง
หลังเหตุโศกนาฏกรรมรัฐบาลลาวสั่งให้มีการตรวจสอบหาสาเหตุและพิจารณาด้านความปลอดภัยอีกครั้งรวมถึงระงับโครงการเขื่อนพลังงานน้ำอื่นๆ ในช่วงที่มีการตรวจสอบ แต่กว่าก็มีข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุที่เกิดขึ้นออกมาน้อยมากหลังจาก 3 เดือนผ่านไป
โครงการเขื่อนเซเปียนเซน้ำน้อยมีการดำเนินการร่วมกันระหว่างบริษัทจากเกาหลีใต้และจากไทยโดยมีการวางสัญญาว่าไฟฟ้า 410 เมกะวัตต์ ที่ผลิตจากโครงการนี้ส่วนใหญ่จะถูกส่งออกขายต่อให้ไทย โดยที่บริษัทก่อสร้างจากเกาหลีใต้ที่ชื่อเอสเคเอนจิเนียร์ริงแอนด์คอนสตรีคชันทำการตัดทุนสร้างเขื่อนนี้ทำให้ความสูงของเขื่อนถูกปรับลดลงประมาณ 6.5 เมตร เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการถล่มของสันเขื่อน ภัยพิบัติจากสันเขื่อนพังทลายก็ส่งผลให้เกิดอุทกภัยใน 19 หมู่บ้าน มีประชาชนอย่างน้อย 5,000 รายกลายเป็นคนไร้ที่อยู่อาศัยต้องพักอาศัยในเต็นท์ที่แขวงสนามไซ บริษัทพลังงานในไทยและบริษัทในเกาหลีที่มีส่วนเกี่ยวข้องบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้รัฐบาลลาวนำไปจัดการในกรณีนี้
เรียบเรียงจาก
Collapsed Lao dam ‘was built on a sinkhole’, Asia Times [3], 02-11-2018
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
https://prachatai.com/journal/2018/07/77976
Tags : ข่าว, ต่างประเทศ, สิ่งแวดล้อม, คุณภาพชีวิต, วิทยาศาสตร์, วิศวกรรม, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย, ภัยพิบัติ, น้ำท่วม, โรงไฟฟ้าเขื่อนพลังงานเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย, ราชบุรีโฮลดิ้ง, ไฟฟ้า, เขื่อนแตก
| ['ข่าว', 'ต่างประเทศ', 'สิ่งแวดล้อม', 'ลาว', 'เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย', 'อุทกภัย', 'ลุ่มแม่น้ำโขง', 'CLMV', 'เขื่อน', 'ทรัพยากร'] |
https://prachatai.com/print/79476 | 2018-11-06 18:14 | ประเทศกูมี : ขบถอำนาจรัฐด้วยศิลปะและดนตรีการเมืองร่วมสมัย | เสวนา ‘ศิลปะ อำนาจ และการขัดขืน’ นักวิชาการด้านศิลปะ-ดนตรี-การละคร-กฎหมายร่วมวิเคราะห์ปรากฎการณ์เพลงประเทศกูมี ระบุ ขบถอำนาจรัฐด้วยศิลปะและรสนิยมที่เป็นฐานของประชาชน รวมทั้งรูปแบบของศิลปะก็แสดงการต่อต้านขัดขืนโดยตัวมันเอง นักวิชาการด้านกฎหมายชี้ ศิลปะ ต่อต้านโดยไม่ใช้ความรุนแรง เป็นข้อเท็จจริง-ความคิดเห็น ไม่ผิด พ.ร.บ. คอมฯ
หลังจากเพลงประเทศกูมีได้สร้างปรากฏการณ์พิเศษที่ทำให้จำนวนยอดวิวและยอดแชร์พุ่งสูงและเป็นเทรนด์ติดกระแสในโลกโซเชียล ทั้งในยูทูบ ทวิตเตอร์ หรือเฟซบุ๊ค และทำให้คนจำนวนมากที่อาจมีความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างหลากหลายลุกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์แสดงความเห็นกันอย่างท่วมท้น
ปรากฎการณ์ดังกล่าวนำมาสู่การจัดงานเสวนา "ศิลปะ อำนาจ และการขัดขืน" โดยคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) และเครือข่ายศิลปินเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีนักวิชาการด้านศิลปะ ดนตรี การละคร รวมทั้งกฎหมายมาร่วมวิเคราะห์วิพากษ์ปรากฎการณ์ เชื่อมโยงสู่การตีความเพลงเพื่อชีวิตแบบใหม่ ศิลปะขบถ และกฎหมายที่ถูกนำมาตีความโดยไม่ชอบธรรม ‘ประชาไท’ ได้สรุปความ ดังนี้
สุชาติ แสงทอง: เพลงเพื่อชีวิตเปลี่ยนรูปแบบคือดนตรีการเมืองร่วมสมัย
สุชาติ แสงทอง
สุชาติ แสงทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กล่าวว่า ในฐานะนักดนตรี และผู้ที่ศึกษาดนตรีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองตั้งแต่อดีต เพลงนี้พอฟังแล้วเห็นเบื้องหลังว่าเกิดจากรากฐานความคิดที่สะท้อนวัฒนธรรมทางการเมืองที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย เพลงลักษณะนี้ที่เรียกว่า Political Music เกิดในสังคมไทยเป็นช่วงๆ ตลอดเวลา ความงดงามของการต่อสู้ด้วยดนตรีคือการต่อสู้ที่ไม่มีการเสียเลือดเสียเนื้อ และเพลง ‘ประเทศกูมี’ เป็นอีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์เพลงการเมืองไทย
“สิ่งที่เพลงนี้ทำได้คือการเอาความรู้สึกของพวกเขาไปกะเทาะความรู้สึกของผู้คนให้ได้มากที่สุด ใช้วัฒนธรรมร่วมสมัยเข้ามาผสมผสาน ทำให้เกิดจิตสำนึกร่วมหมู่บางอย่าง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม” สุชาติกล่าว
สุขาติกล่าวต่อว่า Political Music บางอย่าง ผู้รับเข้ามาอาจไม่รู้เลยว่ามันเป็นนัยสำคัญที่ทำให้เราตกเป็นเหยื่อของอำนาจการเมืองนั้นๆ เช่น สมัยร.4 อังกฤษเข้ามาอยู่ในสยาม นำวัฒนธรรม นำเพลงเข้ามา มีเพลง ‘God Save The King’ ที่ไทยเอามาแต่งเป็น เพลง ‘จอมราษฎร์จงเจริญ’ แต่ต่อมาในสมัย ร.5 ได้ทรงดำริว่าเราไม่ได้เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ จึงไม่จำเป็นต้องใช้เพลงนี้
ยุคจอมพลป. มีนัยการใช้บทเพลงปลุกใจให้รักชาติ ใช้เพลงตอกย้ำให้ประชาชนทำตามนโยบายของรัฐ หลังจากนั้นก็มีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใหม่เข้ามา มีการนำอุดมการณ์ประเทศจีนเข้ามา ก็จะมีเพลงทำนองแบบจีนเข้ามาด้วย หลังจากนั้นพอคนเริ่มเบื่อ ก็เปลี่ยนแนวดนตรีมาเป็นแบบกีตาร์ตัวเดียว เป็นเพลงเพื่อชีวิตในสมัยนั้น ดังนั้นเพลงก็สะท้อนการเมืองในสมัยนั้น โดยส่วนตัวเพลงนี้อาจเป็นเพลงปลุกใจลักษณะหนึ่ง แต่เป็นเพลงปลุกใจของภาคประชาชนที่เบื่อรัฐ
ดังนั้นเพลงเพื่อชีวิตมันยังไม่ปิดฉากเพียงแต่มันเปลี่ยนรูปไป เพลงเพื่อชีวิตยุคนี้ก็มีแนวร่วมอีกเยอะมาก ทำให้พื้นที่มันขยายวงกว้าง อาจจะเรียกว่ายุค Political contemporary music ด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองที่ต้องการจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ถนอม ชาภักดี: ขบถอำนาจรัฐด้วยศิลปะและรสนิยม ที่เป็นฐานของประชาชน
ถนอม ชาภักดี
ถนอม ชาภักดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า ถ้าเราพูดถึงคำว่าศิลปะ มองบ้านเรา เวลาพูดถึงเพลงขบถเราจะพูดถึงเพลงภาษาไทย แต่ลืมไปว่าหมอลำเคยเป็นเพลงขบถในสมัย ร. 3 คือกบฏผีบุญ และกบฏผีบุญคนสุดท้ายตายในสมัยจอมพลสฤษดิ์ที่ขอนแก่น แต่เราไม่เคยพูดถึงขบถเหล่านี้เลย ช่วงสงครามเย็นหมอลำถูกใช้เป็นเครื่องมือทั้งรัฐและพรรคคอมมิวนิสต์เพื่อต่อสู้ซึ่งกันและกัน ซีไอเอเคยพาหมอลำไปนั่งเฮลิคอปเตอร์เพื่อให้คนได้ฟัง กลอนรำจึงมีทั้งรัฐและคอมมิวนิสต์สู้กัน กลอนต่อกลอน และจริงๆ รากฐานของแร็พก็คือกลุ่มขบถที่ไม่มีพื้นที่นี่เอง มาพร้อมกับกราฟิตี้ มาพร้อมกับการไม่มีใครฟัง
ถ้าเราย้อนกลับไปจะพบว่าการต่อต้านอำนาจจากส่วนกลางนั้นมีมาตลอด แต่เราไม่เคยพูดถึงเสียงประชาชนเหล่านั้นว่าเป็นเสียงขบถ และปัจจุบันการขบถนั้นเราให้ความสำคัญกับการต่อสู้ของคนในเมืองมากกว่า ถ้าเราให้ความสำคัญกับเสียงที่เป็นขบถจริงๆ ที่เขาได้รับผลกระทบจากกลไกหรืออำนาจของรัฐให้มากกว่านี้ เราจะเห็นเสียงของขบถเยอะมากในแผ่นดินนี้ ดังนั้นลำพังเพลงประเทศกูมีอาจมาสะกิดต่อมของคนชนชั้นกลางในเมือง แต่ขณะเดียวกันหมอลำหรือเพลงในภูมิภาคอื่นๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญเหมือนกัน
“ผมไปจัดงานขอนแก่นเมนิเฟสโต้ (Manifesto) คอนเซ็ปต์คือสุนทรียศาสตร์แห่งการต่อต้าน เปิดงานวันที่ 6 ตุลาคม ไม่ได้เปิดในหอศิลป์ ไปเช่าตึกร้างริมถนนมิตรภาพ เป็นตึกของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ GF ซึ่งเคยดูดเงินของคนอีสานเป็นพันๆ ล้านในช่วงทศวรรษ 2530 จนกระทั่งฟองสบู่แตกช่วงปี 2540 ตึกก็ปล่อยร้าง จนมาเปิดอีกครั้งในปีนี้
ผมจงใจใช้คำว่าเมนิเฟสโต้ ไม่ใช่เพราะเป็นแถลงการณ์ของคาร์ล มาร์กซ์ แต่ผมอยากย้อนรอยว่าในช่วงนโยบายจอมพลสฤษดิ์ ชูคำขวัญ ‘น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก’ และประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ปี 2504 ซึ่งร่างกันที่บึงแก่นนคร ขอนแก่นกลายเป็นโมเดลสำคัญที่ทำให้ส่วนกลางเข้าไปทำลายโครงสร้าง วิถีที่เป็นสามัญของชาวบ้าน ถนนมิตรภาพจากสระบุรีเข้าโคราช จากโคราชไปหนองคาย เกิดจากจอมพลสฤษดิ์สมคบอเมริกา” ถนอมกล่าว
ถนอม สรุปว่า ฉะนั้นความเป็นขบถนั้นมีอยู่ในประชาชนทุกคน เพียงแต่ใครจะมาเปิดต่อมความขบถให้เกิดการรวมพลัง กระบวนการต่อสู้ทางซอฟพาวเวอร์ มีมาตลอด เพื่อต่อรอง แต่ปัญหาคือ ระยะเวลาที่ผ่านมา โครงสร้างเผด็จการทหารมีความแยบยลมากกว่า สามารถปลุกเร้า กล่อมเกลาให้กระบวนการทางศิลปะตกเป็นเครื่องมือเขา ได้มากกว่าที่พวกเราเอามาใช้ แน่นอนเพราะคนมีอำนาจควบคุมได้มากกว่าเรา แต่เราเองก็ไม่สามาถหากระบวนการต่อสู้ได้มาก
“สุนทรียศาสตร์การต่อต้านที่ประเทศกูมีใช้ น่าสนใจมาก น่าสนใจตรงที่คนกำลังกระหาย หิวโหย รอหาความเป็นตัวแทน รอให้มีคนพูดแทน แทนที่จะออกมาร่วมร้องเพลงด้วยกัน ไม่ทำ เพราะทุกคนห่วงสถานะ ทำไมผมถึงกล้าทำขอนแก่นเมนิเฟสโต้ เพราะผมเกษียณแล้ว ถูกจับช่างแม่ง แต่จริงๆ ก็ไม่ช่างแม่งหรอกครับ เราต้องยกเลิกงานบางงาน เช่นงานที่เกี่ยวกับไผ่ ดาวดิน หรือมาตรา 112
“เราทำงานกับความเสี่ยง แต่ถ้าไม่เสี่ยงเราก็ไม่สามารถขัดขืนได้ เราไม่ได้ฟังเพลงแบบนี้ในช่วงที่มีเสรีภาพแน่นอน เพลงแบบนี้จะเกิดขึ้นก็ตอนนี้แหละครับ เพียงแต่เราจะมาร่วมกันร้องเพลงแบบนี้ได้ยังไง โดยไม่ต้องรอหอศิลป์ ประเทศนี้มีพื้นที่การต่อต้านทุกย่อมหญ้า ไม่ใช่แค่กรุงเทพ การต่อสู้กับเผด็จการไม่มีรูปแบบ ศิลปะทุกแขนงสามารถหยิบยื่นความน่าระอาให้กับเผด็จการได้ นั่นคือสิ่งที่เราต้องการ งานศิลปะในความหมายนี้จึงเป็นงานที่สามารถปฏิสัมพันธ์กับคนได้
“นี่คือสัญญาณการต่อสู้ครั้งใหม่ภายใต้การใช้สุนทรียศาสตร์กับรสนิยมของประชาชน นี่คือการส่งสัญญาณว่าเราควรสร้างศิลปะและรสนิยมที่เป็นฐานของเราเอง เราขาดช่วงตั้งแต่ปี 16 เป็นต้นมา เราไม่เคยสร้างศิลปะด้วยกระบวนการของประชาชนเลย เราถูกกล่อมด้วยคำว่าเพื่อชีวิต ในปี 1930 ฮิตเลอร์เคยดูถูกงานศิลปะว่าเป็นศิลปะเสื่อมทรามทั้งที่เป็นศิลปะที่พูดถึงความยากจนข้นแค้นของชาวเยอรมัน เช่นกันในไทยนี่คือสิ่งที่เราต้องพูดออกมา นี่คือศิลปะ นี่คือรสนิยม นี่คือสิ่งที่เราต้องยกธงขึ้นมาทำในนามของประชาชนเอง เพื่อใช้เพลงนี้ปลุกปลอบและสะท้อนเรื่องราวของผู้คนที่ถูกทับถมอยู่ตลอดเวลา” ถนอมกล่าวทิ้งท้าย
ภาสกร อินทุมาร: รูปแบบของศิลปะก็แสดงการต่อต้านขัดขืนโดยตัวมันเอง
ภาสกร อินทุมาร
ภาสกร อินทุมาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ชอบเอ็มวีมาก มันตั้งคำถามกับสังคมว่าคุณยังรื่นรมย์กันได้อีกหรือเมื่อเห็นความรุนแรงอยู่ตรงหน้า การที่คุณสนุกสนานกับเหตุการณ์ตรงหน้า มันก็คือการที่คุณร่วมกระทำความรุนแรงด้วย
ละครที่ทำงานในเชิงประเด็นสังคมเองก็มีมาตลอด ขอยกตัวอย่างละคร ‘บางละเมิด’ ซึ่งระหว่างทำการแสดงก็ถูกคุกคามตลอด เช่น การขอดูบท หรือแต่ละรอบที่แสดงมีทหารมานั่งดูสองคนทุกรอบ ซึ่งการแสดงนี้เป็นการแสดงเดี่ยว มีการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ หากคนไม่ติดตามประเด็นการเมืองสังคมก็อาจดูแล้วไม่รู้เรื่อง การแสดงบางรอบทหารบางคนก็ถูกเอามาเล่นด้วย การที่ผู้มีอำนาจหันมาให้ความสนใจกับศิลปะ แสดงว่าศิลปะกำลังสำแดงฤทธิ์บางอย่าง
ในทางการละครมีรูปแบบละครที่เรียกว่า Realism คือการละครแบบสมจริง แต่ก็มีนักละครลุกขึ้นมาต่อต้านว่าละครแบบนี้ไม่ทำให้คนคิดหรือตั้งคำถาม จึงสร้างละครแบบ Anti-Realism เพราะบอกว่าความสมจริงนั้นไม่สามารถพูดถึงความจริงของมนุษย์และสังคมได้เท่ากับความไม่สมจริง เพราะความไม่สมจริงมีพื้นที่ให้กับการสร้างสรรค์และตีความอีกมากมาย และกรณีละครอย่างบางละเมิด หรือละครที่พูดเกี่ยวกับประเด็นสังคม โดยรูปแบบก็เป็นละครที่ไม่สมจริงทั้งสิ้น การต่อต้านขัดขืนจึงไม่ได้มีแค่ประเด็ฯแต่รูปแบบของศิลปะก็มีความต่อต้านขัดขืนอยู่ในตัวมันเอง
“นอกจากนี้รสนิยมศิลปะแบบมวลชนน่าจะต้องเป็นอย่างไร มันจำเป็นต้องซับซ้อนจริงไหม เพลงครางชื่ออ้ายแน มีคนวิจารณ์ว่ามันไม่มีชั้นเชิง ไม่มีรสนิยมที่ดีพอ แต่นี่คือเพลงพื้นบ้าน อย่างหมอลำที่ทะลึ่ง ตรงไปตรงมา ที่แหละคือศิลปะของชาวบ้าน” ภาสกร กล่าว
สาวตรี สุขศรี: ศิลปะ ต่อต้านโดยไม่ใช้ความรุนแรง เป็นข้อเท็จจริง-ความคิดเห็น ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมฯ
สาวตรี สุขศรี
สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ทำไมบรรดาผู้มีอำนาจของรัฐถึงอยากกดปราบปิดกั้นศิลปะ โดยเฉพาะศิลปะที่เข้าถึงง่ายอย่างเพลง ภาพยนตร์ ละคร ภาพวาด สาเหตุหนึ่งคือศิลปะเข้าถึงประชาชนได้มากกว่าในหลายครั้ง จากปรากฎการณ์ครั้งนี้เราจะเห็นว่าพอมีเพลงประเทศกูมีขึ้นมา เพื่อนที่ไม่เคยสนใจการเมืองเลยก็สนใจ แสดงว่าลักษณะศิลปะนั้นเข้าถึงคนได้มากกว่า เสพได้มากกว่า เพลงประเทศกูมีอาจเป็นเพลงที่มาปิดฉากเพลงเพื่อชีวิตสมัยก่อน แต่ด้วยฟังก์ชั่นเพลงนี้มีลักษณะเหมือนเพลงเพื่อชีวิตเลย เพลงเพื่อชีวิตในยุคหนึ่งมีลักษณะเสียดสีสังคม ตัวบุคคล นโยบาย
เพลงที่ต่อต้านอำนาจแบบนี้เคยถูกปิดกั้นรึเปล่า ในจอมพลป. อาจจะมีสักสองเพลง เสน่ห์ โกมารชุน เคยแต่งเพลงคัดค้านนโนบายจอมพลป.เกี่ยวกับห้ามสามล้อมาขี่ในพระนคร ชื่อเพลง ‘สามล้อแค้น’ กับ ‘ผู้แทนควาย’ เสียดสีสังคม และถูกแบน ห้ามเผยแพร่ในวิทยุกระจายเสียง เพราะอยู่ในยุคเผด็จการ การใช้กฎหมายบิดเบือนเป็นข้ออ้างว่าขัดต่อความมั่นคง กระทบต่อศีลธรรมอันดี การแบนแบบนี้ของผู้ใช้อำนาจสะท้อนว่าศิลปะเข้าถึงคนง่าย ผู้มีอำนาจที่ใจไม่กว้างพอจะรู้สึกว่าอำนาจถูกกระทบ
ศิลปะถูกใช้ในการประท้วงต่อต้านอำนาจรัฐอยู่แล้วในทุกประเทศ รัฐเองก็ใช้เป็นโฆษณาชวนเชื่อ ประชาชนเองก็ใช้ต่อต้านอำนาจรัฐ ยุคร่วมสมัยก็มีเพลงอย่าง ‘This is America’ของ Childish Gambino เกี่ยวกับการเหยียดผิว หรือ ‘What about us’ ของ Pink ก็มีคนบอกว่าเสียดสีนโยบายทรัมป์
การใช้ศิลปะบางทีจึงเนียนกว่าการอารยะขัดขืนด้วยซ้ำ เช่น คนที่ปฏิเสธการจ่ายภาษีเพื่อต่อต้านการที่รัฐเข้าร่วมสงคราม การอารยะขัดขืนจึงทำให้ผู้มีอำนาจลำบากใจได้ แต่การใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างสมูทแต่อาจมีอิมแพคระดับเดียวกัน คอนเซ็ปต์การใช้ศิลปะต่อต้านกับอารยะขัดขืนเป็นคอนเซ็ปต์เดียวกัน คือไม่เห็นด้วยไม่จำเป็นต้องต่อต้านโดนใช้ความรุนแรง
ปรากฎการณ์ที่ผู้มีอำนาจใส่เกียร์ถอยบอกร้อง ฟัง แชร์ได้ไม่ผิด เรายังสรุปไม่ได้ว่าเขายอมรับเสรีภาพ หรือจะใช้กฎหมายที่เป็นธรรมแล้ว ไม่ใช่ เป็นปรากฎการณ์พิเศษจากยอดไลก์ยอดแชร์ พวกเขาไม่ได้ตาสว่าง แต่พวกเขาเพิ่งฉลาด เพราะยิ่งปิดปากคนยิ่งอยากพูด ยิ่งปิดหูคนยิ่งอยากฟัง เขาจึงต้องถอย ปรากฎการณ์นี้เราดีใจไม่ได้ จึงเป็นที่มาว่าต้องมาดูกฎหมายที่เขาใช้ ว่ามันผิดพลาดอย่างไร
ประเด็นแรก พ.ร.บ.คอมฯ มาตรา 14 (2) นำเข้าข้อมูลเท็จ น่าจะเกิดความเสียหาย คำนิยามของการเป็นเท็จคือ ไม่จริง โป้ปด โกหก หลอกลวง ในเนื้อร้องไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จ หลายเรื่องเกิดขึ้นจริง บางเรื่องอาจจะยังไม่เกิดขึ้นจริง เช่น ล้มบัตร 30 บาท แต่ก็ไม่ได้ทำให้เสียหาย และหลายคนก็เข้าใจว่ามีคนพยายามจะทำให้การล้ม 30 บาท หรือคำที่อาจทำให้ข้อเท็จจริงดูรุนแรง เกินจริง เช่น ปัญหาสูงเกินหอไอเฟล นั้นเป็นลักษณะการเปรียบเปรย เพื่อให้ได้อรรถรส มันคือความคิดเห็น ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงมีจริงมีเท็จ แต่ความคิดเห็นไม่มีใครจะสรุปได้ว่าจริงหรือเท็จ และคนที่ออกมาบอกว่าจะฟ้องไม่มีใครบอกได้ว่าเนื้อเพลงประโยคไหนที่เป็นเท็จ หรือผิด หรือเสียหายยังไง
กฎหมายไม่ได้ห้ามประชาชนพูดความจริงแม้จะเป็นเรื่องไม่ดี คนต่างประเทศฟังเพลงนี้แล้วไม่ได้ไม่อยากมาประเทศไทยเพราะเพลงนี้ แต่จะไม่อยากมาเพราะประเทศไทยมีรัฐบาลที่มาจากการทำรัฐประหารที่ใช้อำนาจข่มขู่คนแต่งเพลง
เนื้อร้องหลายตอนวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ คสช. เจ้าหน้าที่รัฐ และศาล ไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ประเทศ ไม่ได้ทำให้ประเทศไม่มั่นคง แต่กลับกัน การกระตุ้นให้ประชาชนรับรู้ปัญหา เพื่อทำให้ปัญหาถูกแก้ไข นี่ต่างหากที่จะทำให้ประเทศมั่นคง
ส่วนประเด็นต่อมาคือประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ยุยงปลุกปั่น เนื้อเพลงก็ไม่ได้มีลักษณะแบบนั้น ไม่ได้เชิญชวนให้มีการใช้กำลัง
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สังคม', 'วัฒนธรรม', 'สิทธิมนุษยชน', 'ประเทศกูมี', 'เพลงแร็ป', 'เพลงเพื่อชีวิต. ดนตรีการเมืองร่วมสมัย', 'สุชาติ แสงทอง', 'ถนอม ชาภักดี', 'ภาสกร อินทุมาร', 'สาวตรี สุขศรี'] |
https://prachatai.com/print/79475 | 2018-11-06 17:16 | BioThai อัด 'พาณิชย์' เอาใจทุนใหญ่ ชงเข้า CPTPP ชี้ผลกระทบเกินเยียวยา | BioThai ฉะกระทรวงพาณิชย์ เอาใจทุนใหญ่ ชงเข้า CPTPP ชี้ผลกระทบเกินเยียวยา เอฟทีเอว็อทช์เตรียมส่งหนังสือถามจุดยืนการค้าทุกพรรคการเมือง รื้อใหญ่หลังยุค คสช. ด้าน พณ.เตือนให้ไทยเตรียมพร้อม หลัง CPTPP เริ่มใช้ 30 ธ.ค.61
6 พ.ย.2561 กรณีกระทรวงพาณิชย์ จะเสนอ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯให้ประเทศไทยเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค (CPTPP) โดย กระทรวงพาณิชย์ยอมรับว่าจากการรับฟังความคิดเห็นมีความห่วงกังวลเรื่องผลกระทบการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญา UPOV1991 ซึ่งมีข้อคัดค้านจากหลายฝ่ายว่าจะทำให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อย และความมั่นคงทางอาหารว่า แต่จะมีการหารือกับหน่วยงานที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น
วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (BioThai) ชี้ว่า เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ที่จะเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ เพราะจากการศึกษาการเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญา UPOV1991 หรือการแก้กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของไทยเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาฉบับดังกล่าว จะทำให้เกษตรกรต้องซื้อราคาเมล็ดพันธุ์มีราคาสูงขึ้นตั้งแต่ 2-6 เท่า ซึ่งเกิดจากการเพิ่มระยะเวลาการผูกขาดและการจำกัดสิทธิเกษตรกรในการเก็บรักษาและพัฒนาพันธุ์พืช ตลอดจนส่งผลกระทบต่อนักปรับปรุงพันธุ์รายย่อย
“จากการเปรียบเทียบกับประเทศที่มีการผูกขาดพันธุ์พืชโดยใช้กฎหมายสิทธิบัตรพันธุ์พืชหรือ UPOV1991 พบว่าราคาเมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรต้องจ่ายจะเพิ่มขึ้นจาก 28,500 ล้านบาท/ปี เป็น 80,700 ล้าน ถึง 142,900 ล้านบาท ซึ่งนี่เป็นตัวเลขงานวิจัยเมื่อปี 2559 ปัจจุบันตัวเลขผลกระทบจะยิ่งเพิ่มขึ้น ถามว่ารัฐบาลจะเอาเงินจากใครมาเยียวยาเกษตรกรที่จะได้รับผลกระทบเหล่านี้" วิฑูรย์ กล่าว
“ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการแก้กฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาดังกล่าวนอกจาก บริษัทซาคาตะ และตาคิอิของญี่ปุ่น ซึ่งเป็น 1 ใน 10 บริษัทเมล็ดพันธุ์ยักษ์ใหญ่ของโลกแล้ว บริษัทยักษ์ใหญ่เช่น มอนซานโต้/ไบเออร์ ซินเจนทา/เคมไชน่า รวมทั้งบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ด้านเมล็ดพันธุ์และการเกษตรซึ่งเป็นพันธมิตรกับทั้งมอนซานโต้/ไบเออร์ และกับตาคิอิจะได้ประโยชน์ไปพร้อมๆกันด้วย”
“ผลกระทบที่ไม่อาจประเมินค่าและไม่อาจเยียวยาได้คือผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและทรัพยากรชีวภาพของประเทศซึ่งนักวิชาการจากหลายสถาบันได้เตือนเอาไว้ก่อนหน้านี้” ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถีกล่าว
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล รองประธานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอว็อทช์) กล่าวว่า การเดินหน้าเข้าร่วม CPTPP มีความพยายามเอาเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาบังหน้า แต่ที่จริงแล้วจะเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการเกษตรซึ่งสนับสนุนรัฐบาลคสช.มากกว่าจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อเกษตรกรรายย่อย บริษัทเหล่านี้ได้ผลประโยชน์มหาศาลมากพอแล้วในช่วงรัฐบาลทหาร
“การเข้าร่วมใน CPTPP ทำให้ต้องแก้กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช จะเป็นการสืบทอดผลประโยชน์มหาศาลแก่กลุ่มบริษัทเมล็ดพันธุ์และยักษ์ใหญ่การเกษตรดังกล่าว ไม่ว่ารัฐบาลคสช.จะประสบผลสำเร็จในการสืบทอดอำนาจหลังการเลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม” กรรณิการ์ กล่าว
ทั้งนี้ เอฟทีเอ ว็อทช์จะทำหนังสือถึงพรรคการเมืองทุกพรรคเพื่อถามถึงจุดยืนที่มีผลกระทบต่อเกษตรกร ประชาชน สังคม จากการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และนโยบายการจัดการปัญหาการผูกขาดทางเศรษฐกิจ รวมทั้งจะจัดเวทีดีเบตพรรคการเมืองเพื่อเป็นแนวทางให้ประชาชนใช้ตัดสินใจในการเลือกตั้ง
"เรายังหวังว่า รัฐบาล คสช.จะไม่ลักไก่ใช้ช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านที่ประเทษไทยจะมีการเลือกตั้ง นำประเทศไทยไปผูกพันกับเรื่องที่มีผลกระทบผูกพันชั่วลูกชั่วหลานโดยที่ประชาชนทั้งประเทศไม่มีโอกาสร่วมตัดสินใจอย่างแท้จริง" รองประธานเอฟทีเอว็อทช์ กล่าว
พณ.เตือนให้ไทยเตรียมพร้อม หลัง CPTPP เริ่มใช้ 30 ธ.ค.61
วานนี้ (5 พ.ย.61) มติชนออนไลน์ [1] รายงานว่า สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมา ออสเตรเลียเป็นประเทศลำดับที่ 6 ที่ได้ให้สัตยาบันความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) และยื่นต่อนิวซีแลนด์ ในฐานะประเทศผู้เก็บรักษาสนธิสัญญาอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก CPTPP ที่ให้สัตยาบันความตกลงฯ แล้ว 6 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก ญี่ปุ่น สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ แคนาดา และออสเตรเลีย ซึ่งตามเงื่อนไขความตกลง CPTPP จะมีผลใช้บังคับ 60 วัน หลังมีสมาชิกอย่างน้อย 6 ประเทศ จาก 11 ประเทศ ให้สัตยาบัน ดังนั้น จึงทำให้ความตกลง CPTPP จะเริ่มมีผลใช้บังคับในวันที่ 30 ธ.ค. 2561
สนธิรัตน์กล่าวว่า สำหรับการเตรียมการของไทย กระทรวงพาณิชย์ได้จัดตั้งคณะทำงานเตรียมการพิจารณาเข้าร่วมความตกลง CPTPP ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินผลประโยชน์ และผลกระทบต่อการเข้าร่วมเป็นสมาชิก CPTPP ของไทย รวมถึงได้เดินสายจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในทั่วทุกภูมิภาคเกี่ยวกับความตกลง CPTPP โดยได้จัดสัมมนารับฟังความเห็นไปแล้ว 5 ครั้ง ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2561 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมทั้งหมดกว่า 1,400 คน ครอบคลุมผู้เข้าร่วมสัมมนาจาก 40 จังหวัดทั่วประเทศ ในภาพรวมภาคเอกชนสนับสนุนการเข้าร่วม CPTPP โดยเสนอให้เตรียมความพร้อมและศักยภาพผู้ประกอบการ บางภาคส่วน เช่น เกษตรกร ภาคประชาสังคม ยังมีความกังวลในบางประเด็น เช่น การเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญา UPOV1991 การเปิดตลาดการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และความสามารถในการแข่งขันของไทย เป็นต้น ซึ่งจำเป็นจะต้องหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อให้มั่นใจว่าหากไทยตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิก CPTPP ในอนาคต ก็จะต้องเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ และมีมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้าร่วมความตกลงการค้าเสรี
สนธิรัตน์กล่าวว่า ในเดือนพฤศจิกายนนี้ กระทรวงจะจัดประชุมคณะทำงานเตรียมการพิจารณาเข้าร่วมความตกลง CPTPP เพื่อให้หน่วยงานต่างๆได้นำเสนอความเห็นผลการวิเคราะห์ประโยชน์และผลกระทบการเข้าเป็นสมาชิกความตกลง CPTPP ของไทย เพื่อรวบรวมข้อมูลเสนอ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พิจารณาแนวทางดำเนินการของไทยในเรื่องนี้ต่อไป
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'เศรษฐกิจ', 'เอฟทีเอว็อทช์', 'BioThai', 'วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ', 'สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์', 'ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค', 'CPTPP', 'กรรณิการ์ กิจติเวชกุล'] |
https://prachatai.com/print/79480 | 2018-11-06 20:31 | กสม. ชี้ลงโทษซ้อมพลทหารถือเป็นการละเมิดสิทธิฯ แนะกองทัพบกวางระเบียบป้องกัน | กสม. ชี้การลงโทษโดยการซ้อมทรมานพลทหารจนได้รับบาดเจ็บ – เสียชีวิต ถือเป็นการละเมิดสิทธิฯ แนะกองทัพบกวางระเบียบการปฏิบัติต่อทหารตามหลักสิทธิมนุษยชนและให้ใช้บังคับทั่วประเทศ
ภาพซ้าย อังคณา ภาพเล็ก พลทหารยุทธกินันท์
6 พ.ย. 2561 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (สนง.กสม.) รายงานว่า อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยถึงรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) เร็ว ๆ นี้ เกี่ยวกับการซ้อมทรมานในค่ายทหาร 2 กรณี ได้แก่ 1) การลงโทษทหารศูนย์การทหารม้าโดยการใช้หวายตีที่หลังและถีบเข้าที่ร่างกาย เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2559 และ 2) การซ้อมทรมานพลทหารยุทธกินันท์ บุญเนียม ซึ่งถูกรุมทำร้ายจนเสียชีวิตระหว่างการคุมขังในเรือนจำมณฑลทหารบกที่ 45 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2560 ตามที่ปรากฏเป็นข่าว
อังคณา ระบุว่า จากการตรวจสอบกรณีดังกล่าว กสม.ได้มีมติหยิบยกขึ้นมาพิจารณา เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย กสม. มีมติว่า กรณีแรก การกระทำของครูฝึกที่ลงโทษตีบริเวณหลังของผู้เสียหายด้วยหวายและใช้เท้าถีบเข้าที่ร่างกายเพื่อให้เกิดความหลาบจำ เป็นการลงทัณฑ์ที่ไม่สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ถือเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของบุคคลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และเป็นการกระทำที่ขัดต่ออนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
ขณะที่กรณีที่สอง ซึ่งเป็นการซ้อมทรมานพลทหารยุทธกินันท์ บุญเนียม โดยกำลังพลซึ่งเป็นผู้ต้องขังพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ในเรือนจำมณฑลทหารบกที่ 45 จนพลทหารยุทธกินันท์ได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมานั้น ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 มาตรา 290 และมาตรา 291 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ประกอบกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ตลอดจนข้อกำหนดขั้นต่ำขององค์การสหประชาชาติในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง (Mandela Rules) ซึ่งเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
รวมความไม่ควรตายของทหารหนุ่มรอบ 11 ปี เมื่อทหารแก่ไม่เคยตาย [1]
เพื่อน พลฯยุทธกินันท์ ยันไม่มีบาดแผลก่อนถูกขัง ผบ.ทบ.ขอโทษสังคม [2]
ศพสุดท้ายอีกกี่ครั้ง?: รวมกรณีซ้อมทรมาน-ตายแปลกในค่าย คุก บ้านพักนายทหาร [3]
ต่อกรณีข้างต้น กสม. จึงเห็นสมควรเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปได้ดังนี้
1) ศูนย์การทหารม้า และมณฑลทหารบกที่ 45 ควรกำชับเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากการใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ คำนึงและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ควรบังคับข่มขู่คุกคามด้วยประการใด ๆ ทั้งปวง โดยเฉพาะการลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกาย กรณีเจ็บป่วย หรือ ได้รับบาดเจ็บ ต้องได้รับการรักษาพยาบาลและการดูแลด้านสุขภาพตามมาตรฐานโดยเร็ว และควรแจ้งให้ญาติของบุคคลดังกล่าวได้ทราบ
2) กองทัพบกควรกำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางการปฏิบัติต่อทหารที่กระทำผิด รวมทั้งกฎ ระเบียบ โดยคำนึงถึงการใช้อำนาจตามขอบเขตของกฎหมายตามหลักสิทธิมนุษยชน และควรออกระเบียบให้มีการช่วยเหลือและเยียวยาครอบครัวของผู้เสียหาย/ผู้เสียชีวิต และให้ความสำคัญต่อการฟื้นฟูสภาพจิตใจเป็นประการสำคัญ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐาน และให้เป็นแนวทางปฏิบัติและมาตรการป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้นอีก ใช้บังคับทั่วประเทศ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในเชิงป้องปราม
| ['ข่าว', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'ความมั่นคง', 'การซ้อมทรมาน', 'อังคณา นีละไพจิตร', 'ทหาร', 'คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ', 'ยุทธกินันท์ บุญเนียม'] |
https://prachatai.com/print/79481 | 2018-11-06 20:32 | ผลประเมินระบุ กรรมการสิทธิฯ อาเซียนเชื่องช้าต่อเหตุการณ์การละเมิด-ไม่โปร่งใส | องค์กรสิทธิมนุษยชน ‘ฟอรัม เอเชีย’ จัดทำรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนอาเซียนเผย ทำกิจกรรมเยอะแต่ไม่กระแทกปัญหาสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอย่างจริงจัง นิ่งเฉยกับประเด็นใหญ่ๆ อย่างสงครามยาเสพติด โรฮิงญา กระบวนการได้มาของผู้แทนประเทศไม่โปร่งใส หลายประเทศเข้าข้างรัฐชัด แนะ มุ่งปกป้องสิทธิฯ มากขึ้น ปรับปรุงด้านการจัดการ ความโปร่งใส ทำตัวให้ดึงดูดพื้นที่สื่อ
ภาพในเวทีการรายงานผลการดำเนินงาน
เมื่อ 3 พ.ย. 2561 ที่เวทีอาเซียนภาคประชาชน/ประชาสังคม (APF/ACSC) ที่ประเทศสิงคโปร์ มีการนำเสนอรายงานการประเมินผลการทำงานของคณะกรรมาธิระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights - AICHR) จัดทำโดยสภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย (FORUM-Asia) และเครือข่ายสมานฉันท์ของเอเชียเพื่อการรณรงค์ของประชาชน (SAPA)
AICHR เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และสนับสนุนให้มีการร่วมมือกันระหว่างชาติสมาชิกในด้านสิทธิมนุษยชนในหมู่ชาติสมาชิกอาเซียนที่มีขึ้นในปี 2552 หลังที่ประชุมระดับรัฐมนตรีของอาเซียนได้เห็นชอบกับหลักการอำนาจและหน้าที่องค์กร
รายงานระบุว่า ในปี 2560 AICHR ได้มีกิจกรรมหลายอย่างโดยเฉพาะการจัดอบรม จัดพื้นที่พูดคุยถกเถียง กิจกรรมส่วนมากเป็นเรื่องกิจกรรมด้านการศึกษาและการร่วมมือทางกฎหมายต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนในอาเซียน ในปี 2560 AICHR ทำกิจกรรมไปทั้งสิ้น 12 กิจกรรม นอกจากนั้นยังจัดการประชุมโต๊ะกลมระหว่าง AICHR และภาคประชาสังคมที่ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการจัดกิจกรรมในลักษณะที่ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
แม้กระนั้น AICHR ยังถูกตั้งคำถามเรื่องประสิทธิภาพของกิจกรรมที่ทำว่ามีแรงกระเพื่อมต่อขอบเขตงานที่หรือไม่ นอกจากนั้น กิจกรรมทั้งหลายที่ทำไปนั้น ไม่มีกิจกรรมใดเลยที่เป็นความพยายามแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างใหญ่หลวงในภูมิภาค ทั้งๆ ที่ประชาคมนานาชาติต่างวิพากษ์วิจารณ์กันไปก่อนแล้ว เช่น สงครามยาเสพติดในฟิลิปปินส์ การโต้ตอบ เอาคืนกับนักปกป้องสิทธิฯ และกลุ่มเปราะบางที่เกิดทั่วภูมิภาค และวิกฤติโรฮิงญาในพม่า ทาง AICHR ไม่มีแถลงการณ์ใดๆ ออกมาในประเด็นดังกล่าวเลย จนกระทั่งปี 2561 ที่สมาชิก AICHR จากมาเลเซียและอินโดนีเซียออกแถลงการณ์ร่วมในประเด็นโรฮิงญา ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ต้องมีการเดินหน้าต่อไปอีก
อาเซียนไม่ใช่ของเรา #1: รัฐแสดงนำ ภาคประชาชนที่ไม่มีส่วนร่วม และเอ็นจีโอปลอม [1]
อาเซียนไม่ใช่ของเรา#2: อธิปไตย กติกาภูมิภาคกับสิทธิมนุษยชนในฐานะเสือกระดาษหลับ [2]
ภาพชาวโรฮิงญา (ที่มา: Amnesty International)
ด้านเอ็ดมุนด์ บอน ไท ซูน ผู้แทนสมาชิก AICHR จากประเทศมาเลเซียกล่าวหลังจบการรายงานว่า ทีมมาเลเซียได้มีข้อเสนอกระบวนการร้องเรียนเมื่อปี 2560 ขณะนี้มีการเจรจาระหว่างกันในหน่วยงานแล้วแต่ยังไม่มีข้อสรุปใดๆ ข้อเสนอของกระบวนการร้องเรียนนั้นจะให้ผู้ร้องเรียน ไปร้องเรียนผ่านประชาสังคมในประเทศ จากนั้นประชาสังคมจะส่งต่อไปยังประธาน AICHR จากนั้นจะส่งต่อไปที่ผู้แทนแต่ละประเทศเพื่อพิจารณาว่าจะรับเรื่องหรือไม่ ถ้ารับเรื่องก็จะดำเนินการสืบสวน แต่ถ้าไม่รับก็หยุดตรงนั้น วิธีนี้มีความเสี่ยงว่าจะเป็นการเปิดเผยตัวต่อประชาสังคมและผู้แทนซึ่งอาจเป็นตัวแทน หรือได้รับการสนับสนุนจากรัฐ
ในส่วนข้อท้าทายของ AICHR นั้นมีอยู่สี่ประการ ดังนี้
หลักการของอาเซียนและ AICHR ที่ต้องตัดสินใจกันบนหลักฉันทามติ และหลักการไม่แทรกแซงกิจการในประเทศของสมาชิกอื่น ทำให้การแสดงท่าทีต่อเหตุการณ์ด้านสิทธิฯ ทำได้ลำบาก ในขณะที่ประเทศสมาชิกก็เลือกใช้หลักการข้างต้นเป็นเรื่องๆ ไม่มีปัญหากับการใช้นโยบายในประเทศหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แต่กลับใช้จำกัดการพูดถึงปัญหาสิทธิมนุษยชนหลักๆ ในพื้นที่
ขาดความโปร่งใสในกระบวนการเลือกตัวแทนประเทศไปเป็นสมาชิก AICHR ที่ผ่านมามีแค่ประเทศไทย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ (ปัจจุบันยกเลิก) ที่ใช้ระบบเลือกตั้งเข้าไป ต่อมามีมาเลเซีย ประชาสังคมเองก็มีส่วนร่วมน้อยในการเลือกคนเข้าไป จึงมีความเสี่ยงที่ตัวแทนประเทศที่เข้าไปจะเข้าข้างฝ่ายรัฐมากกว่าประชาชน ปัจจุบัน ตัวแทน AICHR ที่เข้าไปนั้นส่วนมากเป็นเจ้าหน้าที่รัรฐ หรือไม่ก็แต่งตั้งโดยรัฐ ตัวแทนจากกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนามหลีกเลี่ยงที่จะพูดเรื่องสิทธิมนุษยชน ทำให้ถูกมองว่าคนเหล่านี้ถูกแต่งตั้งมาเพื่อปกป้องรัฐบาลตนเองต่อการถูกวิจารณ์เรื่องสิทธิมนุษยชน และคัดค้านการปกป้องสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นหน้าที่ของ AICHR
แนวทางแบบอาเซียนทำให้การทำงานตามกรอบสิทธิมนุษยชนในระดับมาตรฐานสากลเป็นปัญหา อำนาจหน้าที่ของ AICHR มักถูกเน้นไปในด้านรณรงค์ ไม่ใช่ปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และไม่มีอำนาจในการบังคับใช้อำนาจตามขอบเขต รวมไปถึงการลงพื้นที่เพื่อสืบสวนค้นหาความจริง
จากการสัมภาษณ์ภาคประชาสังคมมาพบว่า AICHR ไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านมาตรฐานสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ได้เท่าที่ควร ไม่มีการอภิปรายการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง เมื่อประชาสังคมไปถามก็จะบอกว่า “เรามีการพูดคุยเรื่องนี้อย่างจริงจัง” แต่ที่จริงแล้ว การอภิปรายดังกล่าวไม่เป็นทางการ เป็นการพูดคุยแบบส่วนบุคคลหรือไม่ก็ระหว่างการพักผ่อนเท่านั้น
ทางผู้จัดทำรายงานเสนอว่า AICHR ควรกำหนดยุทธศาสตร์ ให้มีการร่วมงานกับกลไกอาเซียนอื่นๆ ในแบบข้ามภาคส่วนและข้ามเสามากขึ้น (เสาหลักอาเซียนเรื่องการเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม) และควรเพิ่มการปรากฏตัวบนพื้นที่สื่อให้มากขึ้นเพื่อใ้หข้อมูลกับสาธารณะ ทั้งนี้ การคู่ควรแก่การปรากฏบนหน้าสื่อนั้น ส่วนหนึ่งก็อยู่ที่การทำหน้าที่งานด้านการปกป้องสิทธิมนุษยชน
ข้อเสนอแนะของทีมผู้จัดทำมีดังนี้
ตอบสนองต่อสถานการณ์ปัญหาสิทธิมนุษยชนให้ทันท่วงทีและอย่างเพียงพอ
จัดการประชุมที่นำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาให้บ่อยขึ้น โดยไม่ต้องเป็นวาระพิเศษ
เปิดเผยกระบวนการ แผนการทำงาน งบประมาณและเรื่องสำคัญต่างๆ ต่อสาธารณชน
ตรวจสอบ สังเกตการณ์ ให้ข้อเสนอแนะและแนะนำการแก้ไขปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในอาเซียน
จัดตั้งกลไกการรับเรื่องร้องเรียนและกระบวนการตอบสนองอย่างการรับเรื่อง ขอข้อมูล ลงพื้นที่ทำการสืบสวนสอบสวน
จัดทำระบบสังเกตการณ์และการประเมินผลการทำงานของ AICHR
พิจารณาบทบาท การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมที่มีกับ AICHR ให้เกิดประสิทธิภาพและนับรวมทุกคน
ทำหน้าที่ตามขอบเขตอำนาจ หน้าที่เรื่องการปกป้องสิทธิมนุษยชน
ทำให้กระบวนการการคัดเลือกผู้แทน AICHR เปิดกว้างและโปร่งใส
สร้างองค์ความรู้เรื่องการจัดการ และให้กลไกอาเซียนรวมถึงประชาสังคมอื่นๆ เข้าถึงได้เพื่อทำให้องค์กรมีการจดจำแนวทางการทำงานที่ดี
สร้างยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกับกลไกสิทธิ และกลไกอื่นๆ ในอาเซียนให้มากไปกว่าการเชิญมาร่วมงานหรือร่วมประชุม
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'ต่างประเทศ', 'AICHR', 'คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน', 'ACSC/APF'] |
https://prachatai.com/print/79482 | 2018-11-06 21:05 | กวีประชาไท: คารวะนักสู้ธุลีดิน |
เธอคือคนเสื้อแดงแห่งถิ่นนี้ ติดคุกฟรีปีกว่าน่าสงสาร
ถูกกล่าวหาว่ายิง ฮอ ผู้ก่อการ สุดท้ายศาลตัดสินสิ้นเวรกรรม
หลักฐานไม่เพียงพอข้อกล่าวหา พิจารณาราคาคุก ทุกเช้าค่ำ
กี่ร้อยวันอันทนอยู่สู้ปรักปรำ ความเป็นธรรมคือทุกข์ที่มีให้เธอ
วันนี้ชีวิต "จ๋า" ลาลับแล้ว ลาห้องแถวที่เช่าเงาคอยเก้อ
1 พฤศจิกายนมีคนเจอ ไปพบเกลอ "จ๋า" เธอลาไป
เธอคือธุลีหนึ่งซึ่งต่อสู้ ฐอดสูอยู่ต่อหน้าพาป่วยไข้
ปืนกดหัวราษฎรน่าอ่อนใจ ไม่ทำให้ ธุลี หนึ่งนี้ยอม
เป็นธุลีที่ทายท้ามหาอำนาจ สู้กับบาตรโตใหญ่ในร่างผอม
แก๊สน้ำตากระสุนจริงสิ่งรายล้อม ไม่ประนีประนอมรอมชอมรัฐ
เป็นนักสู้ธุลีดินจนสิ้นชีพ คารวะหีบศพเธอเผลอกำหมัด
คารวะคนยากรากร้อยรัด ระบอบลอบกัดงัดกระเด็น
| ['บทความ', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'ธุลีดาวหาง', 'นฤมล วรุณรุ่งโรจน์', 'จ๋า ผู้หญิงยิง ฮ.'] |
https://prachatai.com/print/79483 | 2018-11-06 21:16 | กลับบ้านเถิดหนาท้องนายังคอย: เสียงร้องเรียกของ “ไอ้หนุ่มบ้านนา” ในเพลงลูกทุ่งไทยสมัยพัฒนา (พ.ศ. 2510 - 2530) | "โอ้..เจ้าช่อนกยูง แว่วเสียงเพลงมนต์รักลูกทุ่ง ซ้ำหอมน้ำปรุงที่แก้มนงคราญ”
หากผมร้องขับเพลงนี้จีบหญิงสาวสักคนในปัจจุบัน เชื่อเหลือเกินว่าเธอคงเห็นผมเป็นไอ้หนุ่มบ้านนาหลงยุค และหากเธอมีจิตเมตตาต่อความรักก็คงแนะนำให้ผมไปฝึกร้องเพลงแร็ป
แม้เพลงลูกทุ่งไทยจะไม่เคยถูกมองว่าเป็นภาพแทนความทันสมัยมาแต่ไหนแต่ไร แต่ใครหลายคนก็เชื่อว่า “เพลงลูกทุ่งไม่มีวันตาย” (แม้นักร้องดังอย่าง สายัณห์ สัญญา, ยอดรัก สลักใจ และพุ่มพวง ดวงจันทร์ จะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม) แน่นอน สำหรับไอ้หนุ่มบ้านนาอย่างผมแล้วก็เชื่อว่าเพลงลูกทุ่งไม่มีวันตาย หากแต่ไม่ใช่ในความหมายแห่งความดีงามหรือความเป็นไทยดังที่เป็นอยู่ แต่หมายถึง “เครื่องมือ” ในเชิงวัฒนธรรมศึกษา (cultural study) ที่ทำหน้าที่เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สังคมไทย โดยเฉพาะในช่วงยุคพัฒนาทศวรรษ 2510-2530
ในวงวิชาการของไทย เพลงลูกทุ่งถือได้ว่าเป็นประเด็นศึกษาที่มีผู้สนใจอยู่พอสมควร ทั้งด้านมานุษยวิทยา นิเทศศาสตร์ สังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ[1] อย่างไรก็ดี หัวใจสำคัญของงานศึกษาเพลงลูกทุ่งไทยที่คนนิยมกล่าวถึงเสมอคือ ประเด็นเรื่องความเป็นเมือง (อันหมายถึงกรุงเทพฯ หรือบางกอก) กับชนบท (หมายถึงพื้นที่ “ที่ไม่ใช่กรุงเทพฯ หรือบางกอก”)
ประเด็นของบทความนี้คือ นอกจากแนวการวิเคราะห์เพลงลูกทุ่งไทยในช่วงประมาณทศวรรษ 2510-2530 หรือยุคสมัยพัฒนาว่า เมืองเป็นผู้มีอำนาจควบคุม บงการข่าวสารและวัฒนธรรมเหนือชนบทแล้ว[2] ในขณะเดียวกัน หลายบทเพลงในยุคดังกล่าวงก็มีลักษณะเนื้อหา “ด่าเมือง” แม้ประเด็นการด่าเมืองจะน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับข่าวสารต่างๆ ที่เมืองส่งมาถึงชนบท แต่ก็แสดงให้เห็นว่าชนบทยังพอมีเสียงเรียกร้องหรือต่อรองอยู่บ้าง
ประเด็นสำคัญและอาจจะเป็นเพียงประเด็นเดียวที่พบในการ “ด่าเมือง” ของเพลงลูกทุ่งไทยสมัยพัฒนาคือ การถูกแย่งชิงทรัพยากรจากเมือง โดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ อันเป็นทรัพยากรหลักที่ถูกเมืองดูดเอาไปใช้งาน ในหลายๆ เพลงจึงมีการต่อว่าเมืองและพยายามดึงคนไว้ในชนบท โดยเฉพาะเพศหญิง ซึ่งชวนสังเกตว่า ครูเพลงและนักแต่งเพลงลูกทุ่งเกือบทั้งหมดเป็น “เพศชาย” ดังนั้น การต่อสู้หรือต่อรองของชนบทในเพลงลูกทุ่งจึงมักเป็นประเด็นเกี่ยวกับ “เพศหญิง”
ในเพลงดังอย่าง “สาวผักไห่” ของ ชาตรี ศรีชล ได้แสดงถึงภาพที่เพลงลูกทุ่ง เล่าถึงหนุ่มบางกอกในฐานะตัวแทนของเมืองที่เข้ามาจะดึงหญิงสาวในชนบทว่า “ พี่คนบางกอก ไม่เคยคิดหลอกดั่งคำใคร”
กระนั้น แม้เมืองจะถูกให้ภาพที่เลวร้าย แต่ในยุคสมัยพัฒนา เมืองคือศูนย์รวมความเจริญและก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจและการศึกษา ที่สามารถยกสถานะให้คนชนบทสูงขึ้น (ตามค่านิยมที่เมืองส่งมา) ในเพลง “พาร์ทเนอร์เบอร์ห้า” ของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ แม้กล่าวถึงความเจ็บช้ำทั้งกายและใจจากการเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ในเมืองกรุงแล้ว แต่หญิงสาวก็จะยังคงไม่กลับบ้านนอกจนกว่า “สักวันแม้เงินมีมา คืนบ้านนาหาทางสร้างตัว”
ขณะที่อีกด้าน เพลงที่กล่าวถึงคนชนบทที่เข้ามาศึกษาในเมืองกรุง ล้วนไม่ปฏิเสธความจำเป็นที่ต้องเข้ามา แต่ได้เรียกร้องให้เมื่อเรียนจบแล้วกลับคืนบ้านนา เช่นเพลงดังอีกเพลงของพุ่มพวงอย่าง “จดหมายจากบ้านนา” ที่กล่าวถึงเรื่องประเด็นนี้จนกลบเรื่องความรักของหนุ่มสาวอย่างชัดเจนใน ว่า “ โปรดกลับคืนมาถิ่นเก่า..เพราะความเป็นห่วงด้วยใจจริงยิ่งใหญ่ กลัวบัณฑิตรุ่นใหม่ ลืมบ้านไร่ไพรสนฑ์ เพื่อนเอยอย่าลืมบ้านนา ยังด้อยศึกษาซ้ำยังแสนจน เอาปริญญามาพัฒนาบ้านตน”
ในยุคพัฒนาช่วงแรก คนในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนมากยังไม่มีเงินบำนาญ และไม่มีเงินชดเชยเมื่อตกงาน (กฎหมายแรงงานเพิ่งมาเติบโตในยุคประชาธิปไตยเบ่งบานหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516) ดังนั้น คนชนบทส่วนใหญ่จึงยังไม่ทิ้งครอบครัวในชนบทไปอย่างสิ้นเชิง แต่จะเคลื่อนย้ายกลับไปตามฤดูกาลเพาะปลูกทางการเกษตร ซึ่งเป็นเสมือนหลักประกันอีกทางหนึ่ง แต่ในทศวรรษ 2520 อุตสาหกรรมใช้เทคโนโลยีได้เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญ (จากการลงทุนอุตสาหกรรมรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่น) ทำให้ต้องใช้คนงานมีทักษะสูงและเป็นคนงานถาวร ไม่ใช่คนงานอพยพไปๆมาๆ [3] การกลับบ้านนอกของคนชนบทในเมือง จึงมิได้มีเวลานานหลายเดือนตามฤดูกาลเช่นแต่ก่อน แต่เป็นการกลับตามเทศกาลวันหยุด ซึ่งเต็มที่ก็เป็นระยะเวลาเพียง 5-6 วันเท่านั้น
ภาพปรากฏการณ์หายไปของคนชนบทโดยเฉพาะหญิงสาว จึงปรากฏอยู่ในเพลงลูกทุ่ง ดังเช่นเพลงดังของ สายัณห์ สัญญา อย่างเพลง “จำปาลืมต้น” สายัณห์ถึงกับครวญหาว่า “คิดถึงจำปา หนีหน้าคนบางเดียวกัน เจ้าอยากเป็นสะใภ้นายพัน หันไปบางกอกไม่บอกสักคำ” ซึ่งก็สะท้อนให้เห็นถึงการขาดไปของทรัพยากรในชนบทว่า “ เจ้าจำปาทิ้งนาเคยทำ ทิ้งกำข้าวกล้า ไปหาห้องแอร์” ขณะที่ “คอยน้องสิบสองเดือน” ของ ยอดรัก สลักใจ แม้ทำนองเพลงจะสนุกสนานแต่กับเต็มไปด้วยความเศร้าเพราะ “ตั้งแต่ปีใหม่เดือนมกรา พี่คอยขวัญตาไม่มาบ้านเรา...น้องไปบางกอกน้องเคยบอกกับพี่ ว่าสิ้นปีนี้คนดีจะกลับเดือนมีนา...ยันพฤศจิกาคอยมาแรมปี...น้องพี่ไปหลง เจ้าคงไม่กลับคืนบ้านนา”
ทว่า นับปีที่รอคอยของจำปาลืมต้นกับคอยน้องสิบสองเดือนยังต้องพ่ายแพ้ให้กับ “ไอ้หนุ่มรถไถ” ที่รอถึง “ 5 ปีกว่า ตั้งตารอคอย หรือน้องกลอยไปเป็นเมียน้อยนายห้างขายยา ไปเรียนเสริมสวยทำไมตั้งนาน ป้าลุงทางบ้านเฝ้าห่วงคอยหา พี่นั่งคอยนับวันตั้งตา จนหญ้าคาสูงขึ้นมาท่วมหัวพี่เอง” ภาพการหายไปของหญิงสาวชนบทที่เข้าไปทำงาน ล้วนเป็นภาพสะท้อนของหญิงสาวชนบทที่ถูกเมืองดึงไปเป็นทรัพยากรการผลิต
ข้อสงสัยที่ว่าทำไมเพลงลูกทุ่งที่ “ด่าเมือง” ว่าแย่งทรัพยากรในชนบทไปจึงเป็นหญิงสาวส่วนใหญ่ ก็อาจพอมีคำตอบอยู่บ้างว่า ในหลายบริษัทและโรงงานอุตสาหกรรมพอใจจ้างคนงานหญิงมากกว่าชายเพราะทักษะความเชี่ยวชาญ จากสถิติพบว่า กลางทศวรรษ 2520 3 ใน 5 ของคนงานใหม่ในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้หญิง ครั้นถึง พ.ศ. 2538 ประมาณกึ่งหนึ่งของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดเป็นหญิง และ 7 ใน 10 อุตสาหกรรมส่งออกระดับนำของไทยจ้างคนงานหญิงสูงถึงร้อยละ 80[4] รวมไปถึงผลจากการขยายตัวของธุรกิจการท่องเที่ยวในยุคทหารอเมริกันครองเมืองช่วงทศวรรษ 2510 ที่กรุงเทพฯ เต็มไปด้วยบาร์ ไนต์คลับ ซ่อง และอาบอบนวด ประมาณการว่าในช่วงเวลาดังกล่าวจำนวนผู้หญิงหากินในกรุงเทพฯ มีมากถึง 300,000 คน
แม้ภายหลังทหารอเมริกันจะออกไป แต่ช่วงต้นทศวรรษ 2520 รัฐบาลก็เริ่มส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างหนักเพื่อเพิ่มรายได้จากต่างประเทศ ส่งผลให้ตลาดการท่องเที่ยวขยายตัวต่อไปอีก นักธุรกิจปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเพศพาณิชย์ที่เฟื่องฟูในยุคทหารอเมริกันครองเมืองให้สอดคล้องกับรสนิยมของนักเที่ยวกลุ่มใหม่ที่เพิ่มมากขึ้น[5] ซึ่งจะเห็นได้ว่า ผลของการพัฒนาธุรกิจเพศพาณิชย์ตั้งแต่ช่วงทศววรษ 2510-2520 ส่งผลต่อความต้องการทรัพยากรโดยเฉพาะหญิงสาวเป็นอย่างมาก
การไหลออกจากชนบทสู่เมืองของหญิงสาว ทำให้บางส่วนของเพลงลูกทุ่งต้องพยายามโน้มน้าวรักษาทรัพยากรของตนเอาไว้ ดังเห็นได้จากหลายบทเพลงได้สร้างมายาภาพถึงการเข้าไปในเมืองของหญิงสาวว่า มักกลับมาอย่างชอกช้ำและเลวร้ายกว่าที่เคยเป็นอยู่ในชนบท โดยนิยมกล่าวถึงการเสียพรหมจรรย์อันเป็นภาพแทนความบริสุทธิ์ของสาวชนบทให้กับคนในเมือง ดังเห็นได้จากเพลงดังอย่าง “ดาวเรืองดาวโรย” ที่ “สิ้นสดหมดสาวกลายเป็นข่าวกลับนา นามดาวเรืองโดนไอ้หนุ่มแซวมา เออ เอ่อ เอิง เอ่ย เรียกอีหม่า ดาวโรย” และ “ปูไข่ไก่หลง” ที่ทำเป็นเมินไอ้หนุ่มบ้านนาไปนั่งรถเบนซ์ว่า “แม่นายไก่หลง จากดงหวังจะส่องแสง ถูกกินจนสิ้นแรง แสงเลยน้อยนอนตามซอยโทรมโทรม”
นอกเหนือจากชนบทจะสร้างมายาภาพเพื่อรักษาหญิงสาวอันเป็นทรัพยากรของตนไว้ ยังต้องสร้างคติไม่ให้หญิงสาวเสียตัวให้กับคนเมืองที่มาอยู่ในชนบทด้วย
ในช่วงเวลาเดียวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ รัฐราชการภายใต้ยุคสมัยเผด็จการทหารได้ขยายตัวเป็นอย่างมาก อำนาจและกลไกรัฐเพิ่มมากขึ้นในแบบระบบราชการรวมศูนย์ โดยมีตัวแทนศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ (กระทรวงมหาดไทย)[6] และกรมกองรักษาความสงบเรียบร้อย (กระทรวงกลาโหม) สำนักงานของกรมกองใหม่ๆ ได้ผุดขึ้นตามต่างจังหวัด และมีการส่งข้าราชการส่วนกลางเข้าควบคุมเขตภูธรอย่างกว้างขวาง[7]
ข้าราชการของเมืองที่มาพร้อมกับอำนาจและกลไกของรัฐในระบบราชการนี้ นอกจากจะเป็นภาพแทนของอำนาจเมืองที่พยายามควบคุมชนบทแล้ว ยังนำเอาความทันสมัยและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของตนมาด้วย ดังนั้น หญิงสาวในชนจึงไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้าเมืองกรุงเพื่อแสวงหาความทันสมัยและยกสถานะตัวเองในทางเศรษฐกิจอีกต่อไป แต่สามารถสัมผัสแบบตัวเป็นๆ และเป็นเจ้าของความเป็นเมืองได้จากข้าราชการของรัฐเหล่านี้ ซึ่งอีกด้านหนึ่ง ก็เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงการกลืนกินคนและวัฒนธรรมในชนบทของเมืองผ่านการแต่งงาน โดยเพลงลูกทุ่งบางส่วนก็ได้สะท้อนภาพปรากฏการณ์เช่นนี้
สองเพลงดังของระพิน ภูไท อย่าง “คนจนเป็นไง” ถึงกับตัดพ้อว่า “รักพี่คงฟาล์ว ไม่มีดาวและมีบั้ง” และ “สองหูของแม่ คอยฟังแสียงแตรรถยนต์” ขณะที่เพลง “คิดถึงพี่หน่อย” ถึงกับแสดงให้เห็นว่าคนในชุมชนก็รับรู้ถึงสภาวะดังกล่าว เพราะ “เขามาทีหลังพี่ตั้งนานชาวบ้านก็รู้ แต่แล้วพี่สู้เขาไม่ได้อำนาจยศถาบรรดาศักดิ์ตัดรักแรมไกล ตั้งแต่นี้ไปเหมือนเส้นขนาน”
สภาวะเช่นนี้ทำให้มีเพลงลูกทุ่งบางเพลงได้พยายามที่จะย้ำเตือนมายาภาพของคนเมืองที่ถูกสร้างขึ้นว่า เป็นพวกโกหก หลอกลวง (ดังเพลงสาวผักไห่) ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนของความเป็นเมืองที่เข้ามาแย่งชิงทรัพยากร อย่างเช่นในเพลง “คุณนายลูกสาวกำนัน” ของ ยอดรัก สลักใจ ที่ร้องว่า “ เจ้าลืมคนรักคนจน แม่หน้ามนลูกสาวกำนัน ได้ข่าวว่าผู้กองเขามาจองเป็นคู่หมั้น ทุกเย็นสามดาวเยือนบ้าน พ่อกำนันหัวเราะชอบใจ...สักวันเถอะนะน้อง เจ้าจะร้องเมื่อเจอบ้านใหญ่ (ผู้กองมีเมียอยู่แล้ว-ผู้เขียน) ลูกกำนันก็จะเป็นม่าย กลับมาอายคนทั้งตำบล”
ความน่าสนใจอย่างหนึ่งของเพลงที่มีเนื้อหาต่อต้านความเป็นเมืองคือ มิได้นำเอาหลักศีลธรรมหรือความผิดบาปทางพระพุทธศาสนามาใช้ประโยชน์ หากแต่ใช้ “มาตรการทางสังคม” (Social Sanction) ในการสร้างความกลัว เช่น โดนไอ้หนุ่มแซวมา (เพลงดาวเรื่องดาวโรย) และ กลับมาอายคนทั้งตำบล (เพลงคุณนายลูกสาวกำนัน) เป็นต้น ซึ่งจะพบว่ากลยุทธ์นี้เป็นหนึ่งในกลไกของวัฒนธรรมแบบชุมชนที่พยายามให้สมาชิกรู้สึกร่วมกันถึงผลประโยชน์บางอย่างทั้งในระดับปัจเจกและส่วนรวม การทอดทิ้งบ้านนอกไปแล้วมิได้อะไรกลับมานอกจากความเจ็บช้ำและลูกในท้อง คือ ความเสี่ยงที่ชนบทได้ย้ำเตือนกับหญิงสาว เพื่อโน้มน้าวไม่ให้หญิงสาวที่เป็นทรัพยากรของชนบทต้องเสียไป และหากไปแล้วกลับมาเป็นอย่าง “ดาวเรือง” หรือ “ลูกสาวกำนัน” พวกเธอก็จะพบกับบทลงโทษทางวัฒนธรรมแบบชุมชน
ใคร่กล่าวปิดท้ายว่า แม้การวิเคราะห์นี้จะมิได้เป็นภาพของวัฒนธรรมปัจจุบัน และเพลงลูกทุ่งก็มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางไปอย่างหลากหลาย แต่กระนั้น เพลงลูกทุ่งไทยก็นับว่ายังมีอีกหลายเรื่องราวให้ศึกษาในฐานะหลักฐานแห่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของสังคมไทย ถึงแม้ว่าไอ้หนุ่มบ้านนาอย่างผมจะเริ่มหันไปฝึกร้องเพลงแร็ป แล้วก็ตาม.
เชิงอรรถ
[1] ดู พัฒนา กิติอาษา, คนพันธุ์ป๊อป: ตัวตนคนไทยในวัฒนธรรมสมัยนิยม, (กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2546) , 21. ไม่นานมานี้ ก็ยังมีนักศึกษาปริญญาโทของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ศึกษาเพลงลูกทุ่งในชื่อหัวข้อ “ปฏิภาณทางภาษาเชิง ‘สองแง่สองง่าม’ ในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทย.
[2] ดู นิธิ เอียวศรีวงศ์, เพลงลูกทุ่งในประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทย, ใน โขน คาราบาว น้ำเน่า และหนังไทย, (กรุงเทพฯ: มติชน, 2538), 19-61.
[3] คริส เบเกอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร, ประวัติไทยร่วมสมัย, พิมพ์ครั้งที่ 5, (กรุงเทพฯ:มติชน,2559), 292-293.
[4] คริส เบเกอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร,ประวัติไทยร่วมสมัย, 293.
[5] เพิ่งอ้าง, 210-211 และ 283.
[6] ดู ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์, อำนาจนำของ สิงห์ : การสร้างพื้นที่ในเขตเมืองของข้าราชการนักปกครองส่วนภูมิภาค จากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2, วารสารการบริหารท้องถิ่น ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2559, 18-40 .
[7] คริส เบเกอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร, ประวัติไทยร่วมสมัย, 239.
| ['บทความ', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'อิทธิเดช พระเพ็ชร'] |
https://prachatai.com/print/79484 | 2018-11-06 21:23 | ปล่อยตัว 6 จำเลยที่เรือนจำแล้ว หลังอัยการทหารฟ้องคดีปัดฝุ่นประชาธิปไตย | หลังอัยการทหารฟ้อง 6 นักศึกษา นักกิจกรรม คดีปัดฝุ่นประชาธิปไตย รำลึก 24 มิถุนา ฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. แม้ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว แต่ระหว่างรอคำสั่ง ต้องถูกควบคุมตัวที่เรือนจำ ซึ่งเพิ่งได้รับการปล่อยตัวเมื่อช่วงค่ำที่ผ่านมา
6 พ.ย.2561 ภายหลังจากวันนี้อัยการทหารฟ้อง 6 นักศึกษา นักกิจกรรม คดีปัดฝุ่นประชาธิปไตยในวันที่ 24 มิ.ย.2559 เพื่อรำลึกการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่อนุสาวรีย์ปราบกบฎ โดยทั้ง 6 ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 อนุญาตประกันโดยตั้งเงื่อนไขห้ามเข้าร่วมชุมนุมและห้ามยุยงปลุกปั่นบุคคลอื่นให้ร่วมชุมนุมทั้งทางตรงและทางอ้อม ล่าสุดเมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. ทั้ง 6 คน ถูกปล่อยตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครและทัณฑสถานหญิงกลางแล้ว
คดีดังกล่าววันนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน [1] รายงานว่า อัยการทหารกรุงเทพมีคำสั่งฟ้อง อรัญญิกา จังหวะ, เกษมชาติ ฉัตรนิรัติศัย, สุทธิดา วัฒนสิงห์, กานต์ สถิตศิวกุล, อุทัย ช่วยตั้ว, และคุณภัทร คะชะนา ข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ข้อ 12 ที่ห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
คำฟ้องระบุว่า เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2559 จำเลยทั้งหกคนกับ ชนกนันท์ รวมทรัพย์ ที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ได้ร่วมกันชุมนุมทางการเมืองบริเวณหน้าประตูทางเข้าเจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน เพื่อร่วมกิจกรรม “24 มิถุนาปัดฝุ่นประชาธิปไตย ณ อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” อันเป็นกิจกรรมทางการเมือง และร่วมกันแจกจ่ายเอกสารก้าวข้าม ฉบับพฤษภาคม 2559 ซึ่งปรากฏเนื้อหาทางการเมือง ซึ่งเป็นการมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558
หลังมีคำสั่งฟ้อง จำเลยยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลทหารกรุงเทพ ศาลมีคำสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวโดยใช้หลักทรัพย์ประกัน 10,000 บาท ทั้งกำหนดเงื่อนไขห้ามชุมนุมทางการเมือง และยุยงปลุกปั่นบุคคลอื่นใดเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง ไม่ว่าจะกระทำด้วยวิธีอื่นใดทั้งทางตรงและทางอ้อม แม้ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว แต่ระหว่างรอคำสั่ง จำเลยทั้งหกคนต้องถูกควบคุมตัวที่เรือนจำ โดยเพศชายจะถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ส่วนเพศหญิงจะถูกควบคุมตัวที่ทัณฑสถานหญิงกลาง
รวบ 7 นิสิต 'ปัดฝุ่นประชาธิปไตย' ขู่ฟ้องหมดสภาพนิสิต-ศาลไม่รับฝากขัง [2]
ผ่านไป 2 ปีเพิ่งส่งฟ้องคดี 7 นักศึกษารำลึกการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่อนุสาวรีย์ปราบกบฎ [3]
ศูนย์ทนายความฯ รายงานเพิ่มเติมด้วยว่า ที่ผ่านเคยเกิดกรณีละเมิดจากการตรวจภายในจำเลยในคดีการเมืองระหว่างรอการปล่อยชั่วคราวจากศาลทหาร เช่น กรณีนัชชชา กองอุดม หญิงข้ามเพศ ที่ถูกขังในเรือนจำชายจากคดีชุมนุมหน้าหอศิลปฯ กทม. และเรือนจำหญิงในกรณีของจิตรา คชเดช คดีฝ่าฝืนไม่รายงานตัวตามคำสั่ง คสช. , กรกนก คำตา คดีส่องโกงราชภักดิ์, และธีรวรรณ เจริญสุข คดีขันแดง ด้วย
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'การประกันตัว', 'ปัดฝุ่นประชาธิปไตย', '24 มิถุนายน 2475', 'ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558'] |
https://prachatai.com/print/79485 | 2018-11-06 21:32 | นักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ พบหลักฐานชัด คลื่นมือถือเป็นสาเหตุมะเร็งในหนูทดลอง | 6 พ.ย.2561 ข่าวจาก The Wall Street Journal เมื่อวันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา รายงานว่า นักวิจัยสหรัฐอเมริกาพบหลักฐานชัดเจนว่า คลื่นโทรศัพท์มือถือสามารถทำให้เกิดมะเร็งบริเวณหัวใจในหนูทดลอง อย่างไรก็ตาม ยังไม่อาจยืนยันได้ว่าผลการศึกษาด้านผลกระทบทางสุขภาพต่อสัตว์ทดลองที่ใช้เวลาศึกษาวิจัยกว่าสองทศวรรษชิ้นนี้ จะสามารถนำมาอ้างอิงถึงผลกระทบด้านสุขภาพต่อมนุษย์
ภาพจาก wikimedia.org
นักวิทยาศาสตร์ของโครงการพิษวิทยาแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยแสดงความมั่นใจมากขึ้นกว่ารายงานฉบับร่างที่เคยเผยแพร่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัสคลื่นมือถือกับการเกิดเนื้องอกบางชนิดในหนูทดลอง
ยกตัวอย่าง รายงานฉบับสมบูรณ์ฟันธงว่า “มีหลักฐานชัดเจน” ที่การสัมผัสคลื่นจากโทรศัพท์มือถือในระดับเข้มข้นนั้นทำให้เกิดเนื้องอกบริเวณหัวใจในหนู (Rats) ตัวผู้ จากที่ก่อนหน้านี้ ในรายงานฉบับร่างใช้คำในลักษณะที่ไม่ชี้ชัด โดยระบุเพียงว่า “มีหลักฐานบางส่วน” รวมทั้งการกล่าวว่ามีหลักฐานบางส่วนที่แสดงว่า การสัมผัสคลื่นจากโทรศัพท์มือถือยังทำให้เกิดโรคเนื้องอกในสมองและต่อมหมวกไตด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากที่กลุ่มนักวิทยาศาสตร์เจ้าของงานวิจัยได้ยอมรับคำแนะนำของคณะผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่ทบทวนตรวจสอบข้อค้นพบดังกล่าว
อย่างไรก็ดี ทีมวิจัยเปิดเผยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโรคมะเร็งกับการสัมผัสคลื่นจากโทรศัพท์มือถือในหนู (Rats) ตัวเมียและหนูตะเภา (Mice) นั้น มีความชัดเจนน้อยกว่ากรณีของหนู (Rats) ตัวผู้ ขณะเดียวกันก็มีข้อค้นพบที่น่าประหลาดใจคือ หนู (Rats) ตัวผู้ที่สัมผัสคลื่นกลับมีอายุยืนขึ้นและมีอัตราป่วยด้วยโรคไตน้อยลงอย่างเด่นชัด
จอห์น บุชเชอร์ นักวิทยาศาสตร์อาวุโสของโครงการพิษวิทยาแห่งชาติ อธิบายว่า การสัมผัสคลื่นของสัตว์ทดลองในการศึกษานี้ไม่สามารถเปรียบเทียบได้โดยตรงกับการสัมผัสคลื่นของมนุษย์จากการใช้โทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวัน
ทั้งนี้ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาคลื่นความถี่ที่เกี่ยวข้องกับการใช้โทรศัพท์ในระบบ 2G และ 3G รวมถึงสัตว์ทดลองก็ได้รับคลื่นในระดับที่สูงกว่าที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วไปได้รับ
บุชเชอร์กล่าวว่า โดยส่วนตัวเขาไม่มีความลังเลเลยที่จะรับสายและคุยโทรศัพท์มือถือในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ถ้าหากต้องคุยนาน เขาก็จะใช้หูฟัง หรือใช้วิธีการอื่นที่เพิ่มระยะห่างระหว่างร่างกายของเขากับเครื่องโทรศัพท์มือถือ
นอกจากนี้ บุชเชอร์เปิดเผยด้วยว่า วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาเรื่องนี้ให้กับองค์กรกำกับดูแลและสาธารณะ ไม่ใช่เพื่อประกาศเตือนผู้บริโภค โดยจุดเริ่มต้นเกิดจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สหรัฐอเมริกา ร้องขอมายังโครงการพิษวิทยาแห่งชาติในปี ค.ศ. 1999 เนื่องจากว่ามีการใช้งานโทรศัพท์มือถือกันอย่างแพร่หลาย แต่มีองค์ความรู้ในด้านผลกระทบของคลื่นมือถือน้อยมาก
เขากล่าวต่อว่า งานวิจัยในอนาคตจะมุ่งศึกษาไปที่ผลกระทบจากอุปกรณ์รุ่นใหม่ของเทคโนโลยีไร้สาย เช่น 4G, 5G และไว-ไฟซึ่งจากประสบการณ์เรียนรู้ที่ผ่านมาของทีมวิจัย จะช่วยให้การศึกษาวิจัยชิ้นใหม่ๆ ดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น
ที่มา : https://www.wsj.com/articles/scientists-find-clear-evidence-cellphones-can-cause-cancer-in-rats- [1]1541083400 [2]
| ['ข่าว', 'คุณภาพชีวิต', 'วิทยาศาสตร์', 'ไอซีที', 'คลื่นโทรศัพท์มือถือ', 'หนู', 'โรคมะเร็ง'] |
https://prachatai.com/print/79486 | 2018-11-06 21:37 | ใบตองแห้ง: สมคิดกับทฤษฎีสามานย์ | สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวกับ CEO บริษัทชั้นนำทั่วโลก ในงานสัมมนา Forbes Global CEO Conference ว่า หลังจาก The Lost Decade หรือทศวรรษแห่งการสูญเสียประเทศไทยใช้เวลา 3-4 ปี นำความสงบและเสถียรภาพทางการเมืองกลับคืนมา จากที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ป่วยแห่งอาเซียน จีดีพีต่ำกว่า 1% ผ่านไป 3 ปี จีดีพี 4.8% บังเอิญระฆังจะหมดยก จะมีเลือกตั้งต้นปีหน้า แต่อย่าวิตก แผนงานโครงการต่าง ๆ ที่รัฐบาลวางไว้จะไม่สะดุด เพราะมีลางสังหรณ์ว่านายกรัฐมนตรีคนต่อไปอาจจะหน้าตาคล้าย ๆ คนเดิม
ถอดความหมายคือ สมคิดบอกนักลงทุนต่างชาติให้เชื่อมั่น อย่ากังวลว่าการเลือกตั้งจะมีผลให้เปลี่ยนนโยบาย หรือเปลี่ยนรัฐบาล ยังไง ๆ ก็จะมีการสืบทอดอำนาจ พล.อ.ประยุทธ์จะกลับมา สมคิดจะกลับมา ทุกอย่างยังเดินหน้า EEC รถไฟความเร็วสูง ฯลฯ ไม่ชะงัก
ฟัง ๆ ดูก็สร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจดีนะ เพียงแต่เสียดาย สมคิดไม่พูดให้ชัดกว่านี้ เช่นอธิบายกับนักลงทุนต่างชาติว่า รัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตย เอื้อประโยชน์ต่อการสานต่อนโยบายเศรษฐกิจ เพราะจะมี 250 ส.ว.ที่ คสช.แต่งตั้ง เลือก พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ
ยิ่งกว่านั้น ยังมีพรรคพลังประชารัฐ ซึ่ง 4 รัฐมนตรีคนใกล้ตัวก่อตั้ง โดยสมคิดไม่รู้ไม่เห็น แต่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน เป็นหลักประกันว่าทีมเศรษฐกิจเดิมจะกลับมา เพราะมีฐานกลุ่มสามมิตร ที่สนิทกับสมคิดตั้งแต่ยุคไทยรักไทย ไล่ดูด ส.ส. ดูดลูกเจ้าพ่อมาร่วมพรรค แถมมีรองประธาน สนช.เอื้อเฟื้อ พาว่าที่ผู้สมัครร่วมกิจกรรมไทยนิยม
ในขณะเดียวกัน ยังจะเป็นการจัดเลือกตั้งใต้ ม.44 โดย กกต.ที่ตั้งจาก สนช.ชุดนี้ รัฐบาลยังมีอำนาจอนุมัติงบประมาณ โยกย้ายข้าราชการ ไม่เหมือนรัฐบาลปกติ แต่ไม่ต้องมีต่างชาติสังเกตการณ์ ตรวจความโปร่งใส เพราะ “ไม่เป็นมงคล”
สิ่งที่สมคิดพูด เป็นไปตามทฤษฎีที่เชื่อว่านักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ ไม่ได้สนใจความเป็นประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ ความเป็นธรรม ขอเพียงมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ ควบคุมสังคมให้สงบ เศรษฐกิจการค้าการลงทุนก็จะไปโลด
ที่จำเป็นต้องมีการเลือกตั้ง ก็เพราะต่างชาติ โดยเฉพาะอียู มีข้อบังคับว่าจะเจรจาการค้ากับรัฐบาลจากการเลือกตั้งเท่านั้น จึงต้องแปลงร่างจากรัฐบาลทหารเป็นรัฐบาลสืบทอดอำนาจ โดยอาศัยกลไกรัฐธรรมนูญที่ร่างไว้ให้ตัวเองได้เปรียบ
แน่นอนว่าทฤษฎีนี้จะนำมาโหมประโคม กับกลุ่มทุน ภาคธุรกิจ ตลอดจนคนรุ่นใหม่ที่อยากประสบความสำเร็จ เช่นที่ พล.อ.ประยุทธ์พูดในงาน “สตาร์ทอัพร่วมกำหนดอนาคตประเทศไทย” เราเดินมาถูกทางแล้ว มีแผนงาน มียุทธศาสตร์ชาติ ที่ต้องสานต่อให้เกิดความยั่งยืน
ดังนั้น อย่าไปฟังแร็ป “ประเทศกูมี” ต้องฟัง Thailand 4.0 ตามสุวิทย์ เมษินทรีย์
ฟิลิป คอตเลอร์ คงสอนมาดี จนสามารถใช้การตลาดค้ำจุนสืบทอดอำนาจที่ไม่ชอบธรรม ทศวรรษแห่งการสูญเสียเกิดเพราะรัฐประหาร เพราะการทำลายประชาธิปไตยไม่หยุดยั้ง ประเทศป่วย จีดีพีต่ำกว่า 1% ก็เพราะชัตดาวน์ขัดขวางเลือกตั้ง ปูทางยึดอำนาจ 5 ปี ใช้ปืนใช้คำสั่งบังคับสังคมสงบ เอาโครงการสาธารณูปโภครัฐบาลก่อน ๆ มาทำ แล้วก็บอกประชาชนอย่าวุ่นวาย อย่าต่อต้าน ยอมให้สืบทอดอำนาจอย่างด้าน ๆ เศรษฐกิจจะดีอย่างยั่งยืน
นี่คือทฤษฎีสามานย์ ที่บอกให้โยนทุกอย่างทิ้ง เสรีภาพ ประชาธิปไตย ความยุติธรรม ฯลฯ สยบยอมอำนาจไม่ชอบธรรม แล้วปากท้องจะดี
ภาคธุรกิจไทยคงยอมรับได้ เพราะส่วนใหญ่เติบโตมาในสังคมสามานย์อย่างนี้ แต่ประชาชนสิจะยอมรับได้ไหม แค่ฟังคนหน้าเดิมบ่นว่า คนจนเยอะ เพราะไม่คิดพัฒนาตัวเอง ก็ทุเรศใจ
เผยแพร่ครั้งแรกใน: ข่าวหุ้นธุรกิจ www.kaohoon.com/content/260579 [1]
| ["'ใบตองแห้ง' ออนไลน์", 'การเมือง', 'เศรษฐกิจ', 'ใบตองแห้ง', 'สมคิด จาตุศรีพิทักษ์'] |
https://prachatai.com/print/79487 | 2018-11-06 21:46 | นศ. ม.สารคาม จัดวงถก 'การเมืองภาค ปชช.ไทย ระหว่างอุดมคติกับความเป็นจริง' | นศ. มหา'ลัยมหาสารคาม เผย จนท.นอกเครื่องแบบมาสังเกตการณ์ ขณะจัดวงถก 'การเมืองภาคประชาชนในประเทศไทย : ระหว่างอุดมคติกับความเป็นจริง' วิทยากรชี้เหตุเสื้อเหลืองมีแต้มต่อจากการชูสัญลักษณ์ของสถาบัน เพราะอุดมการณ์หลักของชาติ
6 พ.ย.2561 เมื่อวันที่ 31 ต.ค.ที่ผ่านมา เวลา 13.00 - 16.00 น. ที่วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มเสรีมวลชนเพื่อสังคม จัดงานเสวนาทางวิชาการภายใต้หัวข้อ 'การเมืองภาคประชาชนในประเทศไทย : ระหว่างอุดมคติกับความเป็นจริง' โดยมีวิทยากร ประกอบด้วย ดร.กรพินธุ์ พัวพันธ์สวัสดิ์ ศราวุฒิ วิสาพรม อาจารย์จากวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ภายในงานมีนิสิตผู้ที่สนใจเข้าร่วมและมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบเข้ามาสังเกตการณ์ แต่บรรยายกาศในห้องเสวนาก็ดำเนินการต่อไปอย่างราบรื่น
สำหรับเนื้อหาในการบรรยายโดยสรุปนั้น ดร.กรพินธุ์ ได้กล่าวถึงการเมืองภาคประชาชนและสถานการณ์ทางการเมืองในห้วงระยะเวลาหลังรัฐประหารปี 2549 - หลังรัฐประหารปี 2557 รวมถึงอุดมคติในมุมมองที่หลากหลาย และ ศราวุฒิ ได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์ทางการเมืองและการเคลื่อนไหวภาคประชาชนตั้งแต่ปี 2535 รวมถึงการเมืองบนท้องถนน
ขณะที่ในช่วงบรรยากาศการแลกเปลี่ยนระหว่างนิสิตกับวิทยากรในงานเสวนา ได้แลกเปลี่ยนในประเด็นเรื่องพลังของนิสิต และคนรุ่นใหม่ต่อการเมืองภาคประชาชน
ต่อคำถามที่ว่า ทำไมคนเสื้อเหลืองชูสัญลักษณ์ของสถาบัน มีแต้มต่อในการต่อสู้หรือไม่อย่างไร นั้น ศราวุฒิ ตอบว่า “เป็นวัฒนธรรมที่ต้องการดึงสัญลักษณ์มาเป็นการต่อสู้ เนื่องจากสถาบันนั้นเป็นอุดมการณ์หลักเป็นสัญลักษณ์ในการทำเพื่อชาติเพื่อแผ่นดิน”
ในช่วงตอนหนึ่ง ดร.กรพินธุ์ กล่าวว่า “การต่อสู้ภาคประชาชนที่หลายๆ ท่านอาจยังไม่ทราบกัน อาจารย์ขอยกตัวอย่าง เช่น กรณีของคุณลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ที่ขับรถแท็กซี่พุ่งชนรถถังจนตัวเองได้รับบาดเจ็บ ซึ่งเป็นการต่อต้านเผด็จการทหาร และถือได้ว่าเป็นการเมืองภาคประชาชนเช่นกัน”
ส่วนคำถามที่ว่า พลังของนิสิตนักศึกษาต่อการเมืองภาคประชาชนในปัจจุบันและสถานการณ์การต่อสู้ภาคประชาชนของของนิสิตนักศึกษาตอนนี้เป็นอย่างไร นั้น ดร.กรพินธุ์ ตอบว่า “ในปัจจุบันการเมืองและสังคม บริบทสถานการณ์มันเปลี่ยนไปกระบวนการต่อสู้ของนิสิตนักศึกษาในปัจจุบันก็เปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม มีการเกิดกระบวนการต่อสู้แบบใหม่ๆ เป็นพลังของคนรุ่นใหม่เอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ทั้งนี้ทั้งนั่น อาจารย์เองยังมีความหวังกับพลังคนรุ่นใหม่พลังของนิสิตนักศึกษา ซึ่งจะสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้นแน่นอน”
จากการเสวนาแสดงให้เห็นถึงพลังของนิสิตนักศึกษาที่พยายามขับเคลื่อนในเรื่อง สิทธิ เสรีภาพในการแสดงออกทางความคิด ในยุคที่ประชาชนถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพ
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'การศึกษา', 'สิทธิมนุษยชน', 'กลุ่มเสรีมวลชนเพื่อสังคม', 'มหาวิทยาลัยมหาสารคาม', 'การเมืองภาคประชาชน', 'พลังคนรุ่นใหม่', 'พลังของนิสิตนักศึกษา'] |
https://prachatai.com/print/79488 | 2018-11-06 21:55 | ท่าน...รู้หรือไม่? การบังคับเกณฑ์ทหารเป็นเศษส่วนน้อยของโลกใบนี้ |
“ไม่มีประเทศไหนในโลกที่ไม่มีทหาร ประเทศที่ไม่มีทหาร คือประเทศที่อ่อนแอ ผู้ที่นำเสนอความคิดดังกล่าว ไปจับเอาความเห็นคนส่วนน้อยขึ้นมา บางทีเป็นเรื่องการเมืองไป แต่ให้เชื่อมั่นเถอะว่า ไม่มีประเทศใดไม่มีทหาร”
ประโยคข้างต้นคือ คำพูดของ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งกล่าวกับสื่อมวลชนที่ตั้งคำถามว่า ในอนาคตจะมีการยกเลิกการเกณฑ์ทหารหรือไม่ เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2561 ในวาระที่เปิดค่ายทหารรับทหารใหม่ผลัด 2/2561 เข้าประจำการ
คำกล่าวข้างต้นพูดถึงการมีอยู่ของทหารโดยครอบคลุมการมีอยู่ของการบังคับเกณฑ์ทหารเข้าไปด้วย อย่างไรก็ตามคำพูดของของ ผบ.ทบ. อาจจะละเลยข้อเท็จจริงไป เพราะข้อมูลจากเว็บไซต์ staista [1] รวบรวมข้อมูลเรื่องกองกำลังทหารจาก 170 ประเทศทั่วโลก พบว่าในปัจจุบันมี 5 ประเทศที่ไม่มีกองกำลังทหาร เช่น คอสตาริกา กรีนแลนด์ และไอซ์แลนด์
ส่วนประเทศที่ยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหารแล้วมีทั้งหมด 99 ประเทศ เช่น เยอรมนี อาร์เจนติน่า สหรัฐอเมริกา ญี่ปุน มี 5 ปะเทศที่กำลังวางแผนยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหาร ขณะที่ประเทศที่ยังมีการบังคับเกณฑ์ทหารมีอยู่เพียง 61 ประเทศ
สำหรับประเทศไทยในปี 2561 มีความตั้งการกำลังทหารเกณฑ์ทั้งสิ้น 104,734 นาย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนราว 2,000 นาย ขณะที่มียอดผู้สมัครใจเข้ารับราชการทหารโดยไม่ต้องจับฉลากทั้งหมด 44,797 นาย มีผู้ที่ไม่ได้สมัครใจแต่จับสลากได้ใบแดงทั้งหมด 59,937 นาย อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลเเปิดเผยต่อสาธารณะว่าความต้องการทหารเกณฑ์ที่เพิ่มในแต่ละปีนั้น กองทัพใช้วิธีการคิดคำนวณบนฐานความจำเป็นในรูปแบบใด
สถิติความต้องการทหารกองประจำการตั้งแต่ปี 2557 -2561
ปี
ความต้องการทหารกองประจำการทั้งหมด (นาย)
จำนวนผู้สมัครใจเข้ารับราชการทหาร (นาย)
จำนวนผู้ที่ไม่ได้สมัครใจรับราชการทหาร (นาย)
2557
100,865
33,644
67,221
2558
99,373
43,446
55,927
2559
101,307
47,172
54,135
2560
103,097
50,580
52,517
2561
104,734
44,797
59,937
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'ทหารเกณฑ์'] |
https://prachatai.com/print/79491 | 2018-11-07 02:36 | จาตุรนต์ เผยเหตุแกนนำเพื่อไทยเตรียมย้ายพรรค เกิดจากระบบเลือกตั้งที่แปลกประหลาด | 7 พ.ย. 2561 สืบเนื่องจากกระแสข่าวว่า แกนนำคนสำคัญชองพรรคเพื่อไทยเตรียมยื่นใบลาออกจากพรรคเพื่อไทย เพื่อมาสมัครสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ เช่น จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระกระทรวงพลังงาน วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และแกนนำคนอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีการคาดเดาว่า ไม่สามารถทำงานภายใต้การนำของ สุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยได้
ภาพโดย Bundit Uawattananukul (แฟ้มภาพ)
ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พ.ย. จาตุรนต์ ฉายแสง [1] ระบุถึงเรื่องดังกล่าวผ่านเฟซบุ๊กว่า ตามที่มีข่าวการตั้งพรรคการเมืองใหม่ และจะมีนักการเมืองจากพรรคเพื่อไทยย้ายไปร่วมด้วยนั้น เนื่องจากมีการกล่าวถึงตนอยู่ด้วย จึงขอชี้แจงว่าการที่นักการเมืองของพรรคเพื่อไทยไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ทั้งที่ตั้งไปแล้ว และที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกจะเกิดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ใดก็ตาม แต่เท่าที่ทราบ ไม่ได้เกิดจากความขัดแย้งภายในพรรคอย่างที่เป็นข่าว ความขัดแย้งแตกต่างในพรรคการเมืองทุกพรรคย่อมมีอยู่เป็นธรรมดาไม่เว้นพรรคเพื่อไทย แต่ความขัดแย้งแตกต่างทางความคิดไม่ได้เป็นสาเหตุถึงขั้นที่จะทำให้ถึงขั้นจะอยู่ร่วมพรรคกันไม่ได้และถ้ามีการหารือเคารพความเห็นที่แตกต่างกันตามสมควร ทำงานอย่างเป็นประชาธิปไตย ความขัดแย้งแตกต่างๆ ทางความคิดก็จะไม่เป็นปัญหาใหญ่โตอะไร
จาตุรนต์ กล่าวต่อว่า พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคการเมืองที่ถูกกระทำมากที่สุดจากระบบและกติกาภายใต้ยุทธศาสตร์ “การรัฐประหารครั้งนี้ต้องไม่เสียของ” และ “คสช.ต้องสืบทอดอำนาจยาวนาน” ยุทธศาสตร์เหล่านี้มุ่งขัดขวางสกัดกั้นไม่ให้พรรคเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาลและทำให้พรรคเพื่อไทยต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่ 2 ประการคือ
1.ความเสี่ยงที่จะถูกยุบพรรคเรื่องนี้พรรคเพื่อไทยทั้งที่จนถึงขณะนี้ไม่มีข้อเท็จจริงหรือปัญทางกฎหมายใดๆ ที่จะใช้ยุบพรรคเพื่อไทยได้เลย แต่ก็ต้องยอมรับว่าในอดีตที่ผ่านมาการยุบพรรคการเมืองบางพรรคก็เกิดขึ้นทั้งที่ไมได้ทำผิดอะไร เมื่อมีข่าวว่ามีความพยายามที่จะยุบหรือมีการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปหาทางยุบพรรคเพื่อไทย หลายคนก็ยังมั่นใจว่าไม่มีทางถูกยุบ แต่ก็มีนักการเมืองจำนวนไม่น้อยเห็นว่าไม่มีหลักประกันใดๆ ว่าพรรคเพื่อไทยจะไม่ถูกยุบ ควรเตรียมทางหนีทีไล่ไว้โดยไม่ประมาท
2.ระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่นี้ถูกออกแบบเพื่อทำให้พรรคการเมืองทั้งหมดอ่อนแอ พรรคเล็กเสียเปรียบ พรรคขนาดกลางได้ประโยชน์ แต่หาทางป้องกันไม่ให้พรรคขนาดใหญ่ได้เสียงมากอย่างที่เคยได้ พรรคที่ได้เสียงจากเขตเลือกตั้งเกินครึ่งซึ่งปรกติต้องถือว่าชนะท่วมท้นกลับมีความเป็นไปได้สูงมากที่จะเป็นพรรคเสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฏร พรรคใดยิ่งได้ สส.เขตมากก็ยิ่งมีโอกาสได้ สส.บัญชีรายชื่อน้อยหรือไม่ได้เลย พรรคเพื่อไทยมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากระบบเลือกตั้งที่แปลกประหลาดนี้มากที่สุด
จาตุรนต์ กล่าวต่อว่า เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่พอเข้าใจได้ที่นักการเมืองพรรคเพื่อไทยจะหาทางป้องกันไม่ให้ถูกกระทำหรือพยายามลดความเสียหายที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยเฉพาะการแสวงหาช่องทางที่นักการเมืองแต่ละคนจะสามารถทำงานในระบบรัฐสภาได้ต่อไป ส่วนสาเหตุที่การดำเนินการต่างๆดูจะเป็นไปอย่างสับสนก็น่าจะมาจากสภาพต่างคนต่างทำการขาดการหารือวางแผนร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ สภาพการณ์เช่นนี้ทำให้นักการเมืองทุกคนในพรรคเพื่อไทยไม่อาจหลีกเลี่ยงการคิดรับมือกับสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นและในที่สุดแต่ละคนก็ต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'พรรคเพื่อไทย', 'พรรคไทยรักษาชาติ', 'ระบบการเลือกตั้ง', 'จาตุรนต์ ฉายแสง'] |
https://prachatai.com/print/79489 | 2018-11-06 22:21 | กลไกพิเศษของยูเอ็นรับการร้องเรียน กรณีควบคุมตัว 'สิรภพ' จำเลยคดี ม.112 ที่ยาวนานสุด | สหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากลร่วมกับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนส่งเรื่องร้องเรียนไปยังคณะทำงานว่าด้วยการควบคุมโดยพลการแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้มีการปล่อยตัว 'สิรภพ' จำเลยในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่ปี 55 คณะทำงานว่าด้วยการควบคุมโดยพลการแห่งสหประชาชาติได้ตรวจสอบและพบว่าบุคคล 7 ราย ถูก 'ควบคุมตัวโดยมิชอบ' ภายใต้คดีนี้
ที่มาภาพ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน [1]
6 พ.ย. 2561 จากกรณีวานนี้ ศาลทหารกรุงเทพเลื่อนสืบพยานโจทก์ในคดีของ สิรภพ (สงวนนามสกุล) หรือ ‘รุ่งศิลา’ นักเขียนและกวีการเมือง ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3) ซึ่งวันเดียวกัน ครอบครัวของสิรภพยังได้ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยต่อศาลทหาร โดยยื่นหลักทรัพย์เป็นเงิน 500,000 บาท แม้การยื่นขอประกันตัวครั้งนี้เป็นครั้งที่ 7 แต่ศาลทหารไม่อนุญาตให้ประกันตัวเช่นเดิม ปัจจุบันคดีของสิรภพสืบพยานโจทก์ไปได้เพียง 3 ปาก แม้สิรภพถูกควบคุมตัวในเรือนจำมาเป็นเวลา 4 ปี 4 เดือนแล้ว
วันเดียวกัน สหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากลร่วมกับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนส่งเรื่องร้องเรียนไปยังคณะทำงานว่าด้วยการควบคุมโดยพลการแห่งสหประชาชาติ (UN Working Group on Arbitrary Detention – UNWGAD) เพื่อให้มีการปล่อยตัว สิรภพ (สงวนนามสกุล) จำเลยในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 คณะทำงานว่าด้วยการควบคุมโดยพลการแห่งสหประชาชาติได้ตรวจสอบและพบว่าบุคคล 7 ราย ถูก “ควบคุมตัวโดยมิชอบ” ภายใต้คดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา
‘สิรภพ’ คดีม.112 ศาลไม่ให้ประกันตัวครั้งที่ 7 ติดคุกรวม 4 ปีกว่า สืบพยานโจทก์เพียง 3 ปาก [2]
‘ศูนย์ทนายสิทธิฯ’ เปิด(อย่างน้อย)อีก 9 ผู้ต้องขังคดี ม.112 ที่ยังสู้คดีและไม่ได้ประกันตัว [3]
การเติบโตภาคบังคับของลูก: 4 ปี กับชีวิตและครอบครัวของ “สิรภพ” ผู้ต้องขัง112 [4]
สำหรับ สิรภพ ซึ่งขณะนี้อายุ 55 ปี ถูกควบคุมตัวมากกว่า 4 ปี 4 เดือน แล้ว ถือเป็นการควบคุมตัวที่ยาวนานที่สุดของบุคคลที่ถูกดำเนินคดีหรือตัดสินให้จำคุกภายใต้มาตรา 112 สิรภพถูกจับกุมเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2557 ในกรุงเทพฯ และปัจจุบันถูกคุมขังอยู่ภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2557 โดยศาลทหารกรุงเทพปฏิเสธการให้ประกันตัวกับ สิรภพมาถึง 7 ครั้ง รวมถึงครั้งล่าสุด คือ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา ศาลได้ปฏิเสธคำร้องขอประกันตัวชั่วคราวของเขาเช่นกัน ทั้งนี้ เขาถูกนำตัวขึ้นสู่การพิจารณาของศาลทหารกรุงเทพมาตั้งแต่วันที่ 24 ก.ย. 2557
“การควบคุมและการฟ้องคดีต่อสิรภพ ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของเขาในสิทธิที่จะมีเสรีภาพ เสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรม ซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานเหล่านี้ได้รับการรับรองไว้ในพันธกรณีของไทยที่มีต่อกฎบัตรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรณีนี้จึงเป็นส่ิงที่ผิดปกติอย่างยิ่ง ว่ามากกว่า 4 ปียังไม่มีสัญญาณว่าการพิจารณาคดีของคุณสิรภพจะสิ้นสุดลง ยิ่งไปกว่านั้นศาลทหารซึ่งเป็นศาลที่ไม่ควรพิจารณาคดีพลเรือนตั้งแต่แรก ได้ปฏิเสธการขอประกันตัวของเขาอย่างต่อเนื่อง” อดีล ราห์เมน คาน (Adilur Rahman Khan) รองประธานของ FIDH
สิรภพ ถูกควบคุมตัวและฟ้องคดีอาญาเนื่องจากการแสดงความคิดเห็นและแสดงออก ในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญาและมาตรา 14 (3) และ 14 (5) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จากการโพสต์ข้อความ 3 ข้อความในสื่อออนไลน์ เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2552 วันที่ 15 ธ.ค. 2556 และวันที่ 22 ม.ค. 2557 ตำรวจกล่าวหาว่าการโพสต์บทกวีและการ์ตูนล้อเลียนเหล่านี้เป็นการละเมิดต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งสวรรคตเมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2559 สิรภพถูกควบคุมตัวก่อนการฟ้องคดีเป็นเวลา 84 วันเต็มตามระยะเวลาสูงสุดที่ควบคุมตัวได้ก่อนพิจารณาคดี ก่อนที่คดีของเขาจะเริ่มการพิจารณาในชั้นศาลเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2557
“กรณีของสิรภพแสดงให้เห็นว่ายังมีบุคคลอีกจำนวนหนึ่งที่ยังถูกคุมขังในเรือนจำ อันเป็นผลมาจากการกล่าวหาในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่มีการรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ความเสี่ยงในการควบคุมตัวโดยมิชอบและการฟ้องคดีโดยไม่เป็นธรรมจะยังคงมีในอัตราที่สูงต่อไป จนกว่าจะมีการปฏิรูปมาตรา 112 ให้สอดคล้องกับหลักการกฎหมายระหว่างประเทศ” เยาวลักษ์ อนุพันธ์ หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
ทั้งนี้ มาตรา 112 กำหนดโทษจำคุกในอัตราที่สูงต่อผู้ที่หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ บุคคลที่ถูกพิพากษาว่ามีความผิดตามมาตรานี้เผชิญกับโทษจำคุก 15 ปีต่อการทำความผิดต่อหนึ่งครั้ง (กระทงความผิด)
สหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากลและศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเรียกร้องให้ทางการไทยปล่อยตัวสิรภพในทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข และยุติการดำเนินคดีต่อเขา ทั้งนี้เรากระตุ้นให้ทางการไทยยุติการนำกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์มาใช้และปล่อยตัวในทันทีโดยไม่มีเงื่อนไขต่อผู้ที่ถูกควบคุมตัวหรือถูกคุมขังจากคดีมาตรา 112 อันเป็นผลมาจากการการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก
สหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากลและศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุด้วยว่า ตั้งแต่รัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 บุคคลอย่างน้อย 127 คนถูกจับกุมจากการละเมิดมาตรา 112 โดยบุคคล 57 คนจากทั้งหมดถูกพิพากษาให้มีโทษจำคุกอย่างมากที่สุดถึง 35 ปี ปัจจุบันมีบุคคล 6 รายที่อยู่ในเรือนจำจากข้อหานี้
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา กลไกของสหประชาชาติหลายองค์กรแสดงความห่วงใยอย่างหนักแน่น ต่อเนื่องถึงการฟ้องคดีเกี่ยวกับกรณีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ การควบคุมตัวเป็นเวลานาน และการลงโทษจำคุกที่ยาวนานในข้อหานี้ สหประชาชาติได้เรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 และทำการปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัว และย้ำเตือนว่าการพรากเสรีภาพที่มีมูลเหตุจูงใจมาจากการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์นี้ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีที่ประเทศไทยมีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'สหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล', 'ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน', 'สิรภพ', 'รุ่งศิลา', 'ม.112', 'ศาลทหาร', 'คณะทำงานว่าด้วยการควบคุมโดยพลการแห่งสหประชาชาติ'] |
https://prachatai.com/print/79490 | 2018-11-07 01:48 | รมว.ยุติธรรม เผย ก.พ. 62 พิจารณาปลดล็อกกัญชาทางการแพทย์เสร็จ 13 พ.ย. เตรียมเสนอเข้า ครม. | พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง คาดการแก้ไขกฎหมายปลดล็อกกัญชาทางแพทย์ แล้วเสร็จ ก.พ. 62 เตรียมนำเข้าสู่ที่ประชุม ครม. 13 พ.ย.นี้ ชี้หากปลดล็อก องค์กรเภสัชกรรมเดินหน้าผลิตได้ทันที
6 พ.ย. 2561 สำนักข่าวไทย [1] รายงานว่า พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงเรื่องการแก้ไข พ.ร.บ.ยาเสพติดว่าด้วยเรื่องกัญชาใช้ในทางการแพทย์ว่า ที่ผ่านมาสภานิติบัญญัติ (สนช.) ได้ตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณา 90 วัน คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ก.พ. 2562 แต่มีความเห็นเรื่องการใช้ประโยชน์จากกัญชาให้แยกออกเป็น พ.ร.บ.เฉพาะ เนื่องจากหลายประเทศมีการวิจัยพบว่าน้ำมันที่สกัดได้จากกัญชา สามารถนำมารักษาโรคได้ อาทิ โรคอัลไซเมอร์ โรคชักกระตุก หรือ โรคพาร์กินสัน โรคหอบหืด และมะเร็ง ซึ่งไทยในฐานะประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ได้ทำข้อตกลง 2 ข้อว่าจะไม่นำยาเสพติดมาใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ให้ใช้ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์เท่านั้น
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวอีกว่า ขณะที่แนวทางปฏิบัติ รัฐบาลจะดูแลเรื่องพันธุ์กัญชา อุณหภูมิในการปลูก พื้นที่ปลูก น้ำมันที่สกัดได้ ก่อนนำไปใช้ในการรักษา โดยทาง สนช.ได้ยกเรื่องดังกล่าวเป็น พ.ร.บ.เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะชี้แจงในที่ประชุม สนช.ในวันที่ 9 พ.ย. นี้ ก่อนจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 13 พ.ย. และหากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จะนำเข้าที่ประชุม สนช.เพื่อพิจารณาเป็นวาระต่อไป
“หากปลดล็อกกัญชาประเภทที่ 5 เป็นประเภทที่ 2 ก็สามารถนำกัญชามาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ทันที นอกจากนี้จะมีการปรับกฎกระทรวงของกระทรวงสาธารณสุข เรื่องแหล่งที่มาของกัญชา เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้น เพื่อให้องค์กรเภสัชกรรม เป็นหน่วยงานนำร่องในการผลิตกัญชาเพื่อทางการแพทย์ก่อนร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจดทะเบียนอาหารและยา (อย.) ส่วนแพทย์ทางเลือกและแพทย์แผนไทย ต้องรอการออกพระราชบัญญัติ รวมถึงหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนก่อนนำไปใช้ประโยชน์อย่างถูกกฎหมายต่อไป” พล.อ.อ.ประจิน กล่าว
ความพยายามผลักดันกัญชาทางการแพทย์ในยุครัฐบาล คสช.
ผู้สื่อข่าวประชาไทรายงานเพิ่มเติมว่า การขับเคลื่อนเพื่อดำเนินการปลดล็อกกัญชาทางการแพทย์ในส่วนของภาครัฐ ในยุครัฐบาล คสช. เริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรมในช่วงเดือน พ.ค. 2561 โดยในวันที่ 4 พ.ค. กระทรวงสาธารณสุข ออกคำสั่งกระทรวงเลขที่ 530/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ต่อมาวันที่ 15 พ.ค. คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบร่างกฎหมายยาสพติด ซึ่งเปิดช่องให้มีการใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ แต่ด้วยกระบวนการในการพิจารณากฎหมายที่รวมหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดไว้ในร่างเดียวกันทำให้ต้องใช้เวลาศึกษารายละเอียดมาก ก่อนหน้านี้คณะทำงานงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) ได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาการพิจารณาที่ล่าช้า โดยเสนอให้ แยกข้อกฎหมายบางส่วนออกมาดำเนินการเพื่อความรวดเร็ว โดยประเด็นที่มีการเสนอให้ใช้ทางพิเศษ เสนอให้คสช.ออกเป็นคำสั่ง ม.44 คือเรื่องของกัญชา ที่จะให้มีการประกาศ ใช้บังคับ ได้ทันในเรื่องของการใช้เพื่อการวิจัยทางการแพทย์หรือการใช้ทดลองรักษากับคนได้ แต่ยังคงกัญชาไว้เป็นยาเสพติดประเภท 5 เช่นเดิม
ต่อมา สนช. ได้รวบรวมรายชื่อเพื่อยื่นเสนอให้มีการใช้มาตรา 44 เพื่อปลดล็อกกัญชาทางการแพทย์เช่นกัน เนื่องจากเห็นว่าการพิจารณาประมวลกฎหมายยาเสพติดมีความล่าช้า ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สามารถพิจารณาได้แล้วเสร็จก่อนการเลือกตั้ง จึงเห็นว่าควรแยกประเด็นเรื่องกัญชาทางการแพทย์ออกมาใช้ช่องทางพิเศษในการบังคับใช้เป็นกฎหมาย แต่ต่อมาไม่นาน พล.อ.อ.ประจิน ก็ปัดตกกรณีที่จะที่มีการเสนอให้ใช้มาตรา 44 ในการออกกฎหมาย
ในวันที่ 27 ก.ย. สนช. 44 รายชื่อได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ต่อประธาน สนช. เพื่อให้มีการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญคือ เปิดโอกาสให้สามารถนำกัญชาและพืชกระท่อมไปทำการศึกษาวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และสามารถนำไปใช้ในการรักษาภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์ได้ และได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน พร้อมทั้งมีเวทีสัมนาในประเด็นดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งร่างกฎหมายฉบับ จะถูกนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันที่ 13 พ.ย.
อย่างไรก็ตาม กระแสการเรียกร้องการกัญชาทางการแพทย์ ได้มีมาก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2558 เว็บไซต์ประชามติ ได้จัดเวทีเสวนาสาธารณะเรื่อง เสรีภาพกัญชาควรอยู่ตรงไหน และเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2560 เครือข่ายผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์ ได้เข้ายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลขอให้เร่งถอดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด และบรรจุเป็นพืชสมุนไพร เพื่อเปิดให้นำไปวิจัย และพัฒนาในทางการแพทย์ ขณะเดียวกันยังมีเฟสบุ๊กแฟนเพจ กัญชาชน ที่ทำหน้าที่สื่อสารผลักดันให้มีการปลดล็อกกัญญาออกจากบัญชียาเสพติดด้วย แต่กระบวนการที่เป็นรูปธรรมเริ่มต้นขึ้นในช่วงกลางปี 2561 และคาดว่าจะเสร็จสิ้นในช่วงเดือน ก.พ. 2562
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'กัญชา', 'กัญชาทางการเเพทย์', 'ประจิน จั่นตอง'] |
https://prachatai.com/print/79492 | 2018-11-07 13:37 | ‘มือปืนป๊อปคอร์น’ ฎีกากลับจำคุก 37 ปี 4 เดือน ทนายยันถูกซ้อมให้สารภาพแต่ไม่มีหลักฐาน | ‘วิวัฒน์ ยอดประสิทธิ์’ หรือ มือปืนป๊อปคอร์น จำเลยคดียิงปะทะกันบริเวณแยกหลักสี่จนเป็นเหตุให้ ‘อะแกว แซ่ลิ้ว’ เสียชีวิต ถูกศาลฎีกาพิพากษากลับจำคุก 37 ปี 4 เดือน ตามศาลชั้นต้น จำคุกแล้ว 4 ปีกว่า ทนายจำเลยยืนยันเรื่องถูกซ้อมให้รับสารภาพแต่ไม่มีพยานหลักฐาน
ภาพจาก ฺBanrasdr photo
7 พ.ย. 2561 มติชนออนไลน์ [1]รายงานว่า วันนี้ที่ห้องพิจารณา 806 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลพิพากษาฎีกา คดีมือปืนป๊อปคอร์น หมายเลขดำ อ.1626/2557 โดยพิพากษากลับให้จำคุกตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นเวลา 37 ปี 4 เดือน ขณะนี้จำเลยถูกจำคุกระหว่างดำเนินคดีแล้วประมาณ 4 ปี
ผู้สื่อข่าวประชาไทได้ติดต่อไปยัง พวงทิพย์ บุญสนอง ทนายความของวิวัฒน์ ยอดประสิทธิ์ เกี่ยวกับข่าวเรื่องการถูกซ้อมให้รับสารภาพนั้นมีผลกระทบต่อคดีหรือไม่ โดยพวงทิพย์กล่าวว่า ยังยืนยันว่ามีการถูกซ้อมให้รับสารภาพจริง แต่ไม่มีการดำเนินคดีมาตั้งแต่ต้นเพราะไม่มีพยานหลักฐาน จำเลยได้ร้องเรียนไปทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ซึ่งทางคณะกรรมสิทธิฯ ก็ได้ไปตรวจสอบ แต่ก็ยังไม่เห็นความเห็นของคณะกรรมการสิทธิฯ ต่อเรื่องนี้ แต่นอกจากนี้จำเลยเองก็ไม่ได้ดำเนินการฟ้องคดี เพราะคู่กรณีก็เป็นตำรวจ และตอนนั้นก็มีเรื่องอื่นๆ ที่สำคัญกว่า
สำหรับสภาพความเป็นอยู่ของวิวัฒน์ พวงทิพย์กล่าวว่า ไม่ได้คุยรายละเอียด แต่เท่าที่ทราบตอนแรกก็อยู่ยากพอสมควร แต่ตอนนี้ก็พอจะอยู่ได้แล้ว
ทนาย คปท.เผย ‘มือปืนป๊อบคอร์น’ ถูกซ้อมให้สารภาพ [2]
อนึ่ง คดีมือปืนป๊อปคอร์นนี้พนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญา 4 เป็นโจทก์ และโจทก์ร่วมคือ เอื้องฟ้า แซ่ลิ้ว บุตรสาวของอะแกว แซ่ลิ้ว ผู้เสียชีวิต ยื่นฟ้องวิวัฒน์ ยอดประสิทธิ์ หรือมือปืนป๊อปคอร์น อายุ 28 ปี เป็นจำเลย ในความผิดฐานร่วมกันฆ่า, พยายามฆ่าผู้อื่น, มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต, พกพาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไปในเมืองที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต และนำอาวุธปืนออกนอกเคหสถานภายในพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 371, พ.ร.บ.อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 4, 7, 8, 72 และ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 5, 6, 11, 18
คดีนี้อัยการโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 11 มิ.ย.2557 สรุปความผิดจำเลยว่า เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2557 เวลากลางวัน จำเลยกับพวกได้มีปืนเล็กยาวไม่ทราบชนิดและขนาด ติดตัวไปที่ทางแยกหลักสี่ เขตหลักสี่ ซึ่งเป็นพื้นที่ประกาศให้เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และยิงปืนเข้าไปในอาคารศูนย์การค้าไอทีสแควร์ ในการชุมนุมกลุ่ม กปปส. เพื่อสกัดผู้ชุมนุมกลุ่ม นปช. ที่จะเข้ามาปะทะกัน จน อะแกว แซ่ลิ้ว เสียชีวิต ส่วน สมบุญ สักทอง นครินทร์ อุตสาหะ และพยนต์ คงปรางค์ ได้รับบาดเจ็บสาหัส โจทก์จึงขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามความผิดด้วย เหตุเกิดที่แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กทม. จำเลยให้การปฏิเสธ
คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2559 เห็นว่าพยานหลักฐานของอัยการโจทก์รับฟังได้ปราศจากข้อสงสัยว่า วิวัฒน์ จำเลย เป็นคนเดียวกับคนร้ายที่สวมชุดดำ และในมือสวมถุงกระสอบข้าวโพดสีเขียวเหลือง โดยการกระทำนั้นเป็นความผิดตามฟ้อง ให้จำคุกจำเลย 37 ปี 4 เดือน
ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษากลับยกฟ้อง แต่ให้ขังไว้ระหว่างฎีกา เนื่องจากเห็นว่าคดีนี้มีพยานโจทก์หลายปาก แต่ไม่มีประจักษ์พยานมายืนยัน จึงยังมีข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่
จากนั้นอัยการโจทก์และโจทก์ร่วมยื่นฎีกา ขอให้ศาลลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น วันนี้ศาลเบิกตัวจำเลยจากเรือนจำมาฟังคำพิพากษา โดยศาลฎีกาพิเคราะห์พยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบแล้วเห็นว่า นอกจากจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งได้ทำการสืบสวนพยานหลักฐานวงจรปิดของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่บริเวณแยกหลักสี่ กับภาพเคลื่อนไหวบันทึกเหตุการณ์จากอินเตอร์เน็ตบางส่วน ซึ่งเป็นภาพเหตุการณ์ต่อเนื่องกัน จึงสืบทราบว่าคนร้ายชุดดำที่สวมหมวกไหมพรม ใช้อาวุธปืนสวมถุงกระสอบข้าวโพดสีเขียวเหลืองปิดบังอาวุปืน ยิงใส่กลุ่มผู้สนับสนุนการเลือกตั้งบริเวณไอทีสแควร์ โดยโจทก์ก็มีทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่งจากกล้องวงจรปิด และภาพบันทึกเหตุการณ์ในอินเตอร์เน็ต เปรียบเทียบบุคคลได้ชัดว่าเป็นตัวจำเลย และพี่ชายของจำเลยก็ให้การว่าบุคคลตามภาพมีลักษณะตรงกับจำเลย
พยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาให้ยกฟ้องจำเลยนั้นยังคลาดเคลื่อนไปจากพยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบมา ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย จึงพิพากษากลับให้จำคุกตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นเวลา 37 ปี 4 เดือน ขณะนี้จำเลยถูกจำคุกระหว่างดำเนินคดีแล้วประมาณ 4 ปี
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สังคม', 'สิทธิมนุษยชน', 'พวงทิพย์ บุญสนอง', 'มือปืนป๊อบคอร์น', 'วิวัฒน์ ยอดประสิทธิ์'] |
https://prachatai.com/print/79495 | 2018-11-07 15:57 | การปรับหลักสูตรการผลิตครู: มุมมองเชิงปรัชญาและตรรกะแห่งวิชาชีพครู (2) | บทความนี้เป็นบทความฉบับที่สองและมีประเด็นสืบเนื่องจาก “การปรับหลักสูตรการผลิตครู: มุมมองเชิงปรัชญาและตรรกะแห่งวิชาชีพครู (1)” ประเด็นที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอคือ เพราะเหตุใดวิชาชีพครูหรือจะกล่าวโดยเฉพาะว่า ศาสตร์ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์จึงถูกแทรกแซงในเชิงอำนาจ (authority) และเสรีภาพ (freedom) ในการปฏิบัติงานทางวิชาชีพอยู่ตลอดเวลา ในบทความฉบับนี้จะเน้นไปที่ การแทรกแซงวิชาชีพครูหรือการแทรกแซงศาสตร์ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์โดยรัฐ ประเด็นการนำเสนอในบทความฉบับนี้มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อให้นักวิชาการด้านครุศึกษา อาจารย์ในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ครูประจำการ นักศึกษาครู และบุคคลที่ให้ความสนใจต่อทิศทางการเคลื่อนไหวในแวดดวงครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ได้หันกลับมาคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ถึงตำแหน่งแห่งที่ของตนเองผ่านมุมมองเชิงปรัชญาและตรรกะแห่งวิชาชีพครู และในฐานะที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวิวาทะที่กล่าวถึงข้างต้น
การแทรกแซงวิชาชีพครูหรือการแทรกแซงศาสตร์ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์โดยรัฐ
อำนาจรัฐที่สร้างปฏิบัติการท่ามกลางบริบททางเศรษฐกิจการเมืองได้ส่งอิทธิพลอย่างมากต่อวงการวิชาชีพต่างๆ การเข้ามาแทรกแซงวิชาชีพของรัฐผ่านการมีตัวแทนให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสภาวิชาชีพตามการเรียกร้องหรือยินยอมของวงการวิชาชีพเอง กล่าวโดยเฉพาะในวงการวิชาชีพครู รวมทั้งการผลิตพัฒนาครูที่ดำเนินการโดยคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ก็มีทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและปลัดกระทรวงศึกษาธิการซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนอำนาจรัฐเข้ามาแสดงปฏิบัติการผ่านบทบาทหน้าที่หรือมีตำแหน่งในคณะกรรมการคุรุสภา ซึ่งการที่รัฐเข้ามาในลักษณะนี้ทำให้สภาวิชาชีพมีอำนาจจริงในการกำกับดูแลและการปฏิบัติภารกิจทางวิชาชีพ แต่ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นการเปิดโอกาสให้รัฐใช้อำนาจและอิทธิพลครอบงำวิชาชีพด้วยไม่มากก็น้อย เพราะสภาวิชาชีพมีอำนาจในการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานของวิชาชีพทั้งในแง่วิชาการและจรรยาบรรณ ตลอดจนนโยบายว่าจะยินยอมให้ผู้เชี่ยวชาญนอกวงการได้เข้ามาปฏิบัติงานเป็นสมาชิกของวิชาชีพหรือไม่ (อัครพงษ์ สัจจวาทิต, 2546)
ในวงการวิชาชีพครูหรือศาสตร์ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ รัฐได้มีส่วนก่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ด้วยนโยบายต่างๆ ทั้งในเชิงสังคมและเศรษฐกิจการเมืองส่งส่งผลต่อการบริหารจัดการจัดการศึกษาโดยรัฐ เช่น การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ถึงแม้จะมีนักการศึกษาและบัณฑิตด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์อย่างเช่น ศาสตราจารย์ สุมน อมรวิวัฒน์ ศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน ศาสตราจารย์ ดร. ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ศาสตราจารย์ ดร. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ดร. อุทัย ดุลยเกษม ดร. รุ่ง แก้วแดง และศาสตราจารย์ ดร. พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ ผู้เป็นหัวหอกและแกนนำสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา แต่ก็นับว่าเป็นนักวิชาการจากครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เพียงไม่กี่คน และถ้ารัฐบาลในยุคนั้นไม่เห็นชอบด้วยก็คงยากที่จะออกพระราชบัญญัติฯ ฉบับดังกล่าวขึ้นมาได้ และหลังจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้แล้ว พร้อมๆ กับที่รัฐบาลได้มีข้อตกลงกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) รวมถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศที่มีต่อการศึกษา วงการวิชาชีพครูหรือศาสตร์ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ก็ถูกผลักดันให้จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเรื่อง การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การปฏิรูปวิชาชีพครูให้มีมาตรฐานวิชาชีพ การปฏิรูปการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสร้างหลักสูตรสถานศึกษาในบริบทของท้องถิ่นภายใต้กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน
นอกจากนั้น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพของวิชาชีพครู ทั้งด้านคุณสมบัติและการปฏิบัติหน้าที่ของครูในอนาคต เช่น มีข้อกำหนดมาตรฐานการศึกษาและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู แต่พระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ก็ส่งเสริมให้ครูมีโอกาสพัฒนาและได้รับการยกย่องตอบแทนโดยกำหนดให้มีกองทุนพัฒนาครู และกองทุนส่งเสริมวิชาชีพครู แต่พระราชบัญญัติฯ นี้กล่าวถึงครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์โดยอ้อม ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาที่ต้องมีการประกันคุณภาพ ขณะที่นโยบายการปฏิรูประบบราชการส่งผลให้คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ซึ่งอยู่ในระบบราชการเกือบทั้งหมดต้องพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน (มนตรี จุฬาวัฒนทล, 2543)
กรณีตัวอย่างเกี่ยวกับหลักสูตร การเรียนการสอน และการกำหนดมาตรฐานการศึกษาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจและอิทธิพลของรัฐและสาธารณชนที่ผลักดันวงการศึกษาให้เคลื่อนไปในทิศทางที่ชนชั้นนำและชนชั้นปกครองของสังคมต้องการ บริบทที่กล่าวถึงนี้แม้จะเป็นเชิงเศรษฐกิจการเมืองและการบริหารจัดการภาครัฐ แต่ก็มีนัยที่แสดงว่า วิชาชีพครูหรือศาสตร์ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ถูกแทรกแซงการปฏิบัติงานตลอดเวลา ทั้งยังถูกละเมิดอำนาจและเสรีภาพในการปฏิบัติภารกิจทางวิชาชีพด้วยการถูกสั่งให้ออกแบบและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นอำนาจหรือเสรีภาพของครูในฐานะนักการศึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาที่สามารถคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ได้ด้วยตนเองว่าควรจะสอนอะไรและจัดการเรียนการสอนอย่างไร
ผู้เขียนมองว่าการแทรกแซงวิชาชีพครูหรือศาสตร์ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ให้เป็นไปตามแนวทางการปฏิรูปที่รัฐกำหนดยังคงดำรงอยู่ต่อไปในสังคมไทย เนื่องจากศาสตร์ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เป็นพื้นที่กันชนหรือตัวกลางระหว่างปฏิบัติการเชิงอำนาจผ่านนโยบายการศึกษาของรัฐกับความต้องการของสมาชิกในวงการวิชาชีพครู อย่างไรก็ตามนโยบายการศึกษาเป็นเพียงชุดรูปแบบของเทคโนโลยีการบริหารจัดการและแนวปฏิบัติที่สามารถเจรจาต่อรอง ช่วงชิงการนำ และปะทะประสานในภาคปฏิบัติการจริงภายใต้บริบทที่มีความแตกต่างหลากหลายได้ ดังนั้น แทนที่จะสรุปแบบเหมารวมว่า รัฐได้ใช้อำนาจการเมืองทำการแทรกแซงเชิงนโยบายวิชาชีพครูหรือการแทรกแซงศาสตร์ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์โดยตรง ผู้เขียนกลับมองว่าสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างจริงจังก็คือ รูปแบบ/แนวปฏิบัติของนโยบายการศึกษาที่เหมาะสมซึ่งจะเกิดขึ้นในบริบทการปฏิบัติจริง (Policy as Practice) (Sutton & Levinson, 2001) เช่น นโยบายการผลิตและพัฒนาครูของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ นโยบายการพัฒนาครูระดับเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนระดับต่างๆ เพราะปฏิบัติการจริงเหล่านี้ประกอบด้วยผู้เล่นผู้แสดง (actors) ที่เกี่ยวข้องและผ่านการเจรจาต่อรองหลายระดับ นโยบายการศึกษาจึงดำรงอยู่ในฐานะที่เป็นภาคปฏิบัติการจริงของอำนาจ (Education Policy as a Practice of Power) ซึ่งเป็นอำนาจของกลุ่มชนชั้นนำทางการศึกษาในระดับปฏิบัติการ กลุ่มคนเหล่านี้ต่างหากที่มีอำนาจอย่างชัดเจนในการแปลงนโยบายการศึกษาไปสู่การปฏิบัติ (Levinson, Sutton & Winstead, 2009) อาทิ การที่รัฐประกาศนโยบายการปฏิรูปการศึกษา 4.0 การศึกษาในศตวรรษที่ 21 การศึกษาประชารัฐ และการเรียนการสอนแบบ Active Learning วาทกรรมทางการศึกษาเหล่านี้เป็นสิ่งที่วงการครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ และวงการวิชาชีพครู ได้วางตำแหน่งแห่งที่ของตนเองโดยการร่วมเป็นผู้กระทำการ ปฏิบัติการสนองตอบต่อนโยบาย และสร้างกระบวนการผลิตซ้ำวาทกรรมเหล่านี้อย่างจริงจังผ่านนโยบายการผลิตนักศึกษาครู การพัฒนาครูประจำการ และการพัฒนาบัณฑิตที่จบจากสาขาวิชาอื่นๆ เพื่อให้มีความรู้ความสามารถด้านวิชาชีพครูผ่านหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (ป. บัณฑิต) และโครงการฝึกอบรมมาตรฐานความรู้วิชาชีพครูของคุรุสภา 9 มาตรฐาน
จากตัวอย่างที่กล่าวมานี้ ทำให้เกิดคำถามเชิงวิพากษ์ว่า รัฐได้ใช้อำนาจทางการเมืองทำการแทรกแซงเชิงนโยบายวิชาชีพครูหรือการแทรกแซงศาสตร์ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์โดยตรงใช่หรือไม่ หากรัฐจะทำการแทรกแซงเชิงนโยบายวิชาชีพครูผ่านหน่วยงานทางการศึกษาของรัฐที่เป็นทางการอย่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนระดับต่างๆ ทั่วประเทศ ก็เป็นสิ่งที่รัฐทำได้โดยตรงมิใช่หรือ หากจะกล่าวให้ชัดที่สุดก็คือ กรณีของประเทศไทย สถานภาพที่เป็นอยู่ ณ ขณะนี้ วงการครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เข้าร่วมกับรัฐอย่างจงใจเพื่อสร้างตำแหน่งแห่งที่ทางวิชาการให้กับศาสตร์ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ด้วยตนเอง ใช่หรือไม่
ในประเทศสหรัฐอเมริกา นักวิชาการด้านครุศึกษาในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการฝ่ายขวาซึ่งเป็นกลุ่มนักการศึกษากระแสหลัก และนักวิชาการฝ่ายซ้ายซึ่งเป็นกลุ่มนักการศึกษากระแสรองและนักการศึกษาเชิงวิพากษ์ ต่างก็ผลิตสร้างความรู้และงานวิจัยจากจุดยืนเชิงอุดมการณ์ ญาณวิทยา และวิธีวิทยา รวมถึงตำแหน่งแห่งที่ทางวิชาการและจุดยืนทางการเมืองของตน ไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายไหนนักวิชาการเหล่านี้ต่างก็ต่อสู้กันด้วยองค์ความรู้ทางการศึกษาและวิพากษ์วิจารณ์นโยบายทางการศึกษาของรัฐโดยมักจะไม่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตซ้ำเชิงนโยบายที่รัฐกำหนด เพราะในความเป็นจริงแล้ว ศาสตร์ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ต่างก็ประกอบด้วยองค์ความรู้ (Body of knowledge) ของตนเองที่สามารถปะทะประสานกับวาทกรรมการศึกษาที่รัฐกำหนดได้ หากนักวิชาการสามารถผลิตสร้างความรู้ และงานวิจัยจากจุดยืนเชิงอุดมการณ์ ญาณวิทยา และวิธีวิทยา รวมถึงตำแหน่งแห่งที่ทางวิชาการและจุดยืนทางการเมืองของตนได้อย่างเข้มแข็ง ตัวอย่างนักวิชาการด้านครุศึกษาคนสำคัญอย่าง Linda Darling-Hammond เป็นศาสตราจารย์ด้านการศึกษาที่ Stanford University เธอเป็นนักครุศึกษาที่เรียกร้องให้มีการปรับนโยบายการศึกษาครั้งใหญ่เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยแนะนำให้ปรับเปลี่ยนมาตรฐานหลักสูตร วิธีการสอน และการประเมินให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สร้างความเข้มแข็งทางวิชาชีพในหมู่ครูอาจารย์และผู้อำนวยการโรงเรียน และจัดสรรทรัพยากรให้แก่โรงเรียนต่างๆ อย่างเท่าเทียม เธอเสนอให้ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้แนวทางที่สมดุลมากขึ้นในการปฏิรูปโรงเรียน และเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งหากสหรัฐอเมริกาต้องการกอบกู้ความเป็นผู้นำด้านการศึกษาของโลก (วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์, 2554) Linda Darling-Hammond ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางโดยนักการศึกษากระแสรองและนักการศึกษาเชิงวิพากษ์ว่า เธอวางตำแหน่งแห่งที่ทางวิชาการในฐานะนักครุศึกษากระแสหลักที่สร้างความชอบธรรมให้กับนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของสหรัฐอเมริกาที่ขับเคลื่อนด้วยอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ทางการศึกษาและนโยบายทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 อย่างไรก็ตาม เธอก็ยังยืนหยัดทำงานด้านครุศึกษาซึ่งตั้งอยู่บนฐานปรัชญา อุดมการณ์ ญาณวิทยา และวิธีวิทยา รวมถึงวางตำแหน่งแห่งที่ทางวิชาการและจุดยืนทางการเมืองที่เธอยึดถือ เธอเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันความเป็นผู้นำด้านการศึกษาและเครือข่ายการออกแบบโรงเรียนใหม่ของสแตนฟอร์ด (Stanford Educational Leadership Institute and the School Redesign Network) เป็นผู้อุปถัมภ์โครงการครุศึกษาของสแตนฟอร์ด (Stanford Teacher Education Program) เป็นอดีตประธานสมาคมวิจัยด้านการศึกษาของสหรัฐอเมริกา (American Educational Research Association: AERA) และเป็นสมาชิกของสถาบันการศึกษาแห่งชาติ (National Academy of Education)
อาจกล่าวได้ว่า การทำงานด้านการศึกษาด้วยจุดยืนทางวิชาการในลักษณะนี้ต่างหากที่ผู้เขียนมองว่า จะสามารถนำไปสู่วิธีการหรือการสร้างทางเลือกอื่นๆ ในการต่อรองและช่วงชิงการนำในการปฏิรูปการครุศึกษาที่เป็นไปได้ (Ball, 1994) ณ จุดนี้เองที่องค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ 1) งานวิจัยทางการศึกษาที่มีฐานคิดมาจากทฤษฎีความรู้และวิธีวิทยาเชิงวิพากษ์ 2) ตำแหน่งแห่งที่ของนักครุศึกษาและครูอาจารย์ที่ให้ความสำคัญกับการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ผ่านทฤษฎีทางการศึกษาและศาสตร์การสอน (Praxis) และ 3) พลังของทฤษฎีการศึกษาเชิงวิพากษ์แบบที่ Paulo Freire กล่าวไว้ในหนังสือ การศึกษาของผู้ถูกกดขี่ (Pedagogy of the Oppressed) และสาระสำคัญของศาสตร์การสอนเชิงวิพากษ์ (Critical Pedagogy) ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการศึกษา สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจการเมือง ดังกล่าวนี้จะเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันเพื่อทำการช่วงชิงการนำในเชิงอำนาจ ความรู้ และวัฒนธรรมผ่านพื้นที่นโยบายการศึกษาของรัฐอย่างแท้จริง (Apple & Buras, 2006)
อนึ่ง การที่วิชาชีพครูหรือศาสตร์ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ถูกแทรกแซงโดยรัฐในประเด็นเรื่องมาตรฐานทางวิชาการหรือความรู้ความสามารถ รวมทั้งในเชิงวิชาการหรือองค์ความรู้เฉพาะศาสตร์ แสดงถึงสถานภาพของวิชาชีพครูหรือศาสตร์ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ที่ไม่ดีนัก สิ่งที่เกิดขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นว่า วิชาชีพครูขาดความตระหนักรู้ถึงตำแหน่งแห่งที่ของตนเองในการเป็นผู้ปฏิบัติการ (agency) ทางการศึกษา สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจการเมือง และยังสะท้อนให้เห็นว่าสถาบันที่กำกับดูแลหรือองค์กรวิชาชีพครูไร้ซึ่งพลังต่อรองใดๆ ทั้งในเชิงเศรษฐกิจการเมือง จึงไม่อาจทำหน้าที่เป็นกันชนหรือตัวกลางระหว่างปฏิบัติการเชิงอำนาจของรัฐกับความต้องการของสมาชิกในวงการวิชาชีพครูที่ประกอบด้วยนักวิชาการด้านครุศึกษา อาจารย์ในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ครูประจำการ นักศึกษาครู และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวงการครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ได้ และเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เข้มแข็งของวิชาชีพครูและศาสตร์ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ได้อย่างชัดเจนที่สุด
บทส่งท้าย
การศึกษาไม่มีทางเป็นกลางและไม่เคยเป็นกลาง ทั้งยังไม่สามารถตัดขาดจากการเมืองและความเป็นการเมืองได้เลย เพราะรัฐจะใช้การศึกษาซึ่งวิชาชีพครูและศาสตร์ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เป็นกลไกสำคัญของรัฐในการผลิตซ้ำกระบวนทัศน์กระแสหลักที่รัฐต้องการ การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือในการสร้างกำลังคนและกล่อมเกลาพลเมืองให้มีลักษณะสอดคล้องกับอุดมการณ์และอำนาจนำที่รัฐต้องการทั้งสิ้น เพราะรัฐเห็นว่าการศึกษามีอิทธิพลอย่างสูงต่อโลกชีวิตของปัจเจกบุคคลและความมั่นคงทางการเมืองการปกครองของรัฐ จึงไม่มีรัฐใดที่ไม่ก้าวก่ายหรือเข้าไปแทรกแซงการศึกษาเลยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องนโยบายการศึกษา หลักสูตร และการผลิตครูเข้าสู่วงการศึกษา
จากการที่ผู้เขียนทำการวิเคราะห์ในเชิงปรัชญาและตรรกะแห่งวิชาชีพครู และวิพากษ์ถึงประเด็นที่ว่าเพราะเหตุใดวิชาชีพครูหรือศาสตร์ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์จึงถูกแทรกแซงในเชิงอำนาจและเสรีภาพในการปฏิบัติงานทางวิชาชีพอยู่ตลอดเวลา น่าจะทำให้นักวิชาการด้านครุศึกษา อาจารย์ในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ครูประจำการ นักศึกษาครู และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวงการครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์มองเห็นถึงสาเหตุว่าทำไมถึงเกิดวิวาทะว่าด้วยนโยบายการปฏิรูปหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ดังที่ปรากฏอยู่ ณ ขณะนี้ และนำไปสู่การไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ถึงการปรับเปลี่ยนตำแหน่งแห่งที่ของตนเอง รวมถึงวิชาชีพครูและศาสตร์ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ให้เข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการทางสังคมและเศรษฐกิจการเมืองได้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
แหล่งข่าวสำหรับการอ้างอิง
https://www.dailynews.co.th/education/671922 [1]
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_1699928 [2]
รายการอ้างอิง
เบลลันกา, เจมส์ และ แบรนต์, รอน (บรรณาธิการ) วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์
(แปล). (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ :
โอเพ่นเวิลด์ส.
มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2543). รายงานการวิจัยเชิงนโยบายเรื่อง ผลกระทบจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ข้อตกลงของรัฐบาลกับธนาคารพัฒนาเอเชีย นโยบายการปฏิรูประบบราชการ การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรของประเทศที่มีต่อการศึกษา และบทบาทของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในการปฏิรูปการเรียนรู้และปฏิรูปวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปวิชาชีพครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
อัครพงษ์ สัจจวาทิต. (2546). ตรรกะแห่งวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง
Apple, M.W., & Buras, K.L. (Eds.). (2006). The Subaltern Speak: Curriculum, Power, and Educational Struggles. New York: Routledge.
Ball, S.J. (1994). Education Reform. Buckingham, England: Open University Press.
Levinson, B., Sutton, M., & Winstead, T. (2009). Education Policy as a Practice of Power: Theoretical Tools, Ethnographic Methods, Democratic Options. Educational Policy, 23(6), 767-795. https://doi.org/10.1177/0895904808320676 [3]
Sutton, M. & Levinson, B. (Eds.). (2001). Policy as Practice: Toward a Comparative Sociocultural Analysis of Educational Policy. Westport, CT: Ablex Press.
เกี่ยวกับผู้เขียน: ออมสิน จตุพร เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศาสตร์และพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การปรับหลักสูตรการผลิตครู: มุมมองเชิงปรัชญาและตรรกะแห่งวิชาชีพครู (1) [4]
| ['บทความ', 'การเมือง', 'สังคม', 'การศึกษา', 'นโยบายการผลิตครู', 'ความเป็นการเมือง', 'ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์', 'หลักสูตรการผลิตครู', 'ออมสิน จตุพร'] |
https://prachatai.com/print/79493 | 2018-11-07 13:57 | จังหวะก้าวพลังประชารัฐ สามมิตรเตรียมยกผู้สมัครเสริมทัพ สุวิทย์ ปักหมุดลงพื้นที่ 4 ภาค | พลังประชารัฐมีสถานะเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมายแล้ว นายทะเบียนพรรคเผยกำลังขออนุญาต คสช. ทำกิจกรรมทางการเมือง ส่วนเลขาธิการพรรคระบุ เตรียมลงพื้นที่ 4 ภาครับสมัครสมาชิกพรรค ด้านสมศักดิ์ แกนนำกลุ่มสามมิตรเตรียมยกทัพว่าที่ผู้สมัครซบพลังประชารัฐ 18 พ.ย. นี้
7 พ.ย. 2561 หลังจากเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2561 ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเห็นชอบให้ พลังประชารัฐ มีสถานะเป็นพรรคการเมืองตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 แล้ว ล่าสุดวันนี้ วิเชียร ชวลิต นายทะเบียนพรรค และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐบาล คสช. และสมาชิกสภาชับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ได้เปิดเผยขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อจากนี้ว่า การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองตามกฎหมายจะเริ่มต้นในสัปดาห์หน้า วันนี้ได้มีการจัดทำเอกสารเพื่อยื่นขออนุญาตคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพื่อทำกิจกรรมของพรรคการเมือง ที่ประกอบด้วยการเปิดรับสมัครชิกพรรค การให้การสนับสนุน การดำเนินการเพื่อสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งในระบบบัญชีรายชื่อ และระบบแบ่งเขต
ด้านพงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ เผยว่า ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง ECO ใน บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) (IEC) แล้ว ตั้งแต่วันที่ 29 ต.ค. ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมลงเล่นการเมืองอย่างเต็มตัว เพราะการทำงานด้านการเมืองเป็นบทบาทใหม่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ ส่วนบทบาทในพรรคต้องรอความชัดเจน
เปิดประวัติ 24 แกนนำพรรคพลังประชารัฐ ทีมงานรัฐบาล คสช. พรึบ [1]
ขณะที่สมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มสามมิตร เปิดเผยว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้เดินสายพบปะประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งได้นำข้อมูลที่ได้รับฟังมานั้นไปกำหนดเป็นนโยบายเพื่อเสนอต่อพรรคการเมืองคือ พรรลพลังประชารัฐ จากนี้จะนำสมาชิกกลุ่มสามมิตรทั้งหมดเข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ในวันที่ 18 พ.ย. ซึ่งคาดว่าเป็นช่วงที่จะมีการจัดประชุมใหญ่ของพรรค อย่างไรก็ตามกลุ่มสามมิตรได้เตรียมผู้สมัครลงรับเลือกตั้งไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อสมัครเป็นสมาชิกพรรคเสร็จสิ้นแล้วก็จะเดินหน้าลงพื้นที่พบปะประชาชนอย่างเต็มที่
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 5 พ.ย. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ได้กล่าวในงานเปิดหลักสูตรและทีมงานสถาบันปัญญาประชารัฐว่า สถาบันปัญญาประชารัฐได้กำหนดหลักสูตรและทีมงานแล้ว เพื่อระดมแนวคิดประชาชน เพื่อจัดทำเป็นนโยบายพรรค โดยเบื้องต้นได้กำหนดลงพื้นที่ฟังความเห็นประชาชนและเปิดรับสมาชิกพรรคใน 4 ภาค ปักหมุดภาคอีสาน จ.ขอนแก่น เป็นที่แรก ในวันที่ 17 - 18 พ.ย.จากนั้นวันที่ 24 - 25 พ.ย.ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ , วันที่ 1 - 2 ธ.ค.ภาคใต้ ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และปิดท้ายที่กรุงเทพฯ วันที่ 15 - 16 ธ.ค.เพื่อรับฟังปัญหา ศักยภาพ ที่จะมาปลดล็อก หากหลังเลือกตั้งพรรคได้เป็นรัฐบาล จะได้นำตรงนี้ไปทำให้สำเร็จ
ผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานเพิ่มเติมว่า พรรคพลังประชารัฐถูกวิพากษ์วิจารณ์ตั้งแต่เริ่มต้นว่า เป็นพรรคการเมืองที่มีเจตนาเพื่อสืบทอดอำนาจของ คสช. เนื่องจากมีอย่างน้อย 9 รายชื่อในคณะกรรมการบริหารพรรคที่ร่วมงานกับรัฐบาล คสช. ทั้งในตำแหน่งรัฐมนตรี คระกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และตำแหน่งอื่นๆ นอกจากนี้ชื่อของพรรค ยังพ้องกับโครงการของรัฐบาล คสช. ด้วย โดยเมื่อวันที่ 1 พ.ย. มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ และเลขาธิการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ(ภตช) ได้เข้ายื่นหนังสือถึงอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ให้ตรวจสอบการจดแจ้งชื่อพรรคพลังประชารัฐ ว่า สามารถจดได้หรือไม่ ถูกต้องตาม พ.รป.ว่าด้วยพรรคการเมืองหรือไม่
มงคลกิตติ์ กล่าวว่า “ประชารัฐ” เป็นนโยบายและชื่อโครงการของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี มีรัฐมนตรีทั้ง 4 คน ดำรงตำแหน่งอยู่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณแผ่นดิน ในปี 2559-2562 ไปยังกระทรวง กรม ต่างๆ ใช้ชื่อประชารัฐแนบท้ายโครงการ อาทิ ธงฟ้าประชารัฐ,โครงการบ้านประชารัฐ,โรงเรียนประชารัฐ,เน็ตประชารัฐ
เรียบเรียงจาก: มติชนออนไลน์1 [2] , 2 [3] ไทยโพสต์ออนไลน์ [4] , สำนักข่าวไทย [5] , แนวหน้าออนไลน์ [6] , คมชัดลึกออนไลน์ [7]
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'พรรคพลังประชารัฐ', 'โครงการประชารัฐ', 'พรรคการเมือง', 'จับตาการเลือกตั้ง', 'กกต.', 'คสช.'] |
https://prachatai.com/print/79494 | 2018-11-07 14:30 | กลุ่มนักการเมืองสหรัฐฯ หัวก้าวหน้าร่วมชูประเด็นภัยโลกร้อนเลือกตั้งกลางเทอม | นิตยสารฝ่ายซ้ายของสหรัฐฯ นำเสนอกลุ่มนักการเมืองก้าวหน้าหลายรายในพรรคเดโมแครตที่ต่างชูประเด็นภาวะโลกร้อนในวันที่รีพับลิกันต่างปฏิเสธการมีอยู่ของมัน นักวิเคราะห์ชี้ เข้าสภาได้ไม่ใช่สำเร็จ ยังต้องรับมือเสือ-สิงห์-กระทิง-แรด อีกหลายแนวรบ
ท่อน้ำมันคีย์สโตนของบริษัท TransCanada ซึ่งมีเหตุน้ำมันรั่วไหล 200,000 แกลลอนเมื่อเดือน พ.ย. 2560 ที่รัฐเซาท์ดาโกตา (ที่มา: Flickr/Shannon Ramos [1])
แอนดรูว กิลลัม ผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐฟลอริดา หนึ่งในตัวแทนจากพรรคเดโมแครตขี้นอภิปรายบนเวทีโต้วาทีของ CNN ในเมืองแทมปา เขากล่าวว่า สิ่งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องการคือผู้ว่าฯ ที่เชื่อในวิทยาศาสตร์ เขาบอกว่าในขณะที่โดนัลด์ ทรัมป์ นำสหรัฐฯ ออกจากข้อตกลงยับยั้งโลกร้อนจากการประชุมที่ปารีส ตัวเขาเองก็มีความภูมิใจจะเสนอว่าเขาทำให้เมืองของเขาหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นได้อย่างไร
Dissent นิตยสารฝ่ายซ้ายของสหรัฐฯ ระบุว่า ในขณะที่การเมืองของพรรครีพับลิกันมีการอ้างใช้ "วิทยาศาสตร์" ในแบบของคนละเมอเพ้อพกถึงทฤษฎีสมคบคิด และฝ่ายพรรคเดโมแครตเองส่วนใหญ่ก็ดูจะเลี่ยงๆ ประเด็นเรื่องโลกร้อน แต่ทว่าผู้ที่เริ่มทำให้การเมืองเรื่องโลกร้อนแปรเปลี่ยนไปจากเดิมคือขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมตั้งแต่กลุ่ม ‘สแตนดิงร็อค’ ซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านท่อก๊าซที่ตัดผ่านพื้นที่ชนพื้นเมืองอเมริกัน ไปจนถึงกลุ่มนักการเมืองฝ่ายก้าวหน้าอย่างกิลลัม
รายงานจากการประชุมร่วมกันของสหประชาชาติกับรัฐบาลชาติต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องภาวะโลกร้อนเมื่อเดือน ต.ค. ที่ผ่านมาระบุว่า การจะลดปัญหาโลกร้อนได้นั้นควรมีการลดใช้พลังงานจากซากดึกดำบรรพ์ และเร่งใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้นเท่าที่เป็นไปได้เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงให้ได้ร้อยละ 45 ภายในปี 2573 และลดการปล่อยอย่างสิ้นเชิงภายในปี 2593 แต่การทำเช่นนั้นต้องเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจและระบบพลังงานโดยทั้งหมดซึ่งอาจจะฟังดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ แต่ Dissent ก็ชี้ว่าโลกเราเริ่มมีเครื่องมือต่างๆ ที่รองรับพลังงานหมุนเวียนมากขึ้นแล้ว รวมถึงเริ่มมีนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่จะรองรับการกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย
สิ่งที่กิลลัมพูดมีความสำคัญกับทั้งฟลอริดาและประเทศสหรัฐฯ เอง ในฐานะพื้นที่ๆ ถูกกระหน่ำจากภัยธรรมชาติอย่างพายุเฮอร์ริเคนที่ทำให้ผู้คนเสียชีวิตและสร้างความเสียหายทางทรัพย์สิน ภัยธรรมชาติเหล่านี้เป็นเครื่องเตือนว่าน้ำทะเลกำลังจะหนุนสูงขึ้นในระดับห่วงบาสเกตบอล (ราว 3 เมตร) ถ้าหากยังคงมีปัญหาโลกร้อน นอกจากนี้การที่ทะเลมีอุณหภูมิอุ่นขึ้นยังส่งผลให้สาหร่ายในทะเลกลายเป็นพิษต่อสัตว์น้ำต่างๆ รวมถึงโลมาและพะยูน
จากภัยธรรมชาติเหล่านี้ทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเริ่มที่จะโต้ตอบพรรครีพับลิกันที่ปฏิเสธว่าภาวะโลกร้อนไม่มีอยู่จริง เช่น ผู้ว่าฯ ริค สก็อตต์ จากพรรครีพับลิกันที่สั่งห้ามข้าราชการไม่ให้ใช้คำว่า "โลกร้อน" หรือ "ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" แต่นั่นก็ทำให้ความนิยมของสก็อตต์ลดลง นอกจากนี้ยังมีนักการเมืองรีพับลิกันผู้ที่หมายจะสืบทอดตำแหน่งผู้ว่าฯ ฟลอริดาอย่าง รอน เดอ ซานติส ที่พยายามปิดปากเรื่องโลกร้อนโดยกล่าวหาว่าผู้ที่พูดถึงปัญหาโลกร้อนเป็นพวก "ตื่นตูม" ไปเอง
โดยสื่ออเมริกันเรียก เดอ ซานติสที่เป็นคู่แข่งในการเลือกตั้งของกิลลัมว่าเป็น “รีพับลิกันสายทรัมป์” ที่ไม่เพียงปฏิเสธเรื่องโลกร้อนแต่ยังพยายามโจมตีกิลลัมผู้สมัครคนดำในลักษณะแบบเหยียดสีผิวด้วย
Dissent ระบุว่ากลุ่มเศรษฐีต่างๆ ในสหรัฐฯ อาศัยเกาะเกี่ยวพรรครีพับลิกันในการรักษาผลประโยชน์ตัวเองเช่นการต่อต้านภาษีคาร์บอน นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการให้ข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้วด้วยข้อมูลที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์
Dissent ระบุว่าถึงแม้เรื่องนี้จะเปิดโอกาสให้พรรคเดโมแครตฉวยใช้เป็นประเด็นหลักในการหาเสียงทางการเมือง แต่เดโมแครตก็ไม่ได้นำเรื่องดังกล่าวมาอยู่ในขบวนหาเสียงทางการเมืองอย่างจริงจัง ดังนั้นการที่เห็นนักการเมืองอย่างกิลลัมกับผู้สมัครเดโมแครตอีกหลายคนที่มีจุดยืนหนักแน่นเรื่องโลกร้อนในช่วงการเลือกตั้งกลางเทอมในสหรัฐฯ เช่นนี้จึงถือเป็นเรื่องน่ายินดี
ยังมีนักการเมืองอีกหลายคนที่ผลักดันประเด็นภาวะโลกร้อ เด็บ ฮาแลนด์ ผู้สมัครในรัฐนิวเม็กซิโก เป็นผู้ยืนหยัดต่อสู้กับบรรษัทสนับสนุนพลังงานฟอสซิลที่พยายามเข้าไปทำการขุดเจาะในบ้านเกิดของเธอซึ่งเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของบรรพบุรุษในชาโคแคนยอน รวมถึงแสดงตัวสนับสนุนให้สหรัฐฯ หันมาใช้พลังงานหมุนเวียนเต็มร้อย ถ้าหากฮาแลนด์ชนะการเลือกตั้งครั้งนี้เธอจะกลายเป็นผู้หญิงชนพื้นเมืองอเมริกันคนแรกในสภาด้วย
นอกจากนี้ยังมีอิลฮาน โอมาร์จากรัฐมินนิโซตานักการเมืองเชื้อสายโซมาเลีย-อเมริกันผู้ต่อต้านโครงการท่อก๊าซและเรียกร้องนโยบายโลกร้อนที่เน้นเรื่องชุมชนของกลุ่มคนผิวสีและกลุ่มชนพื้นเมือง ในรัฐเนบราสกาก็มีผู้สมัครที่ต่อต้านท่อก๊าซคีย์สโตนเอ็กซ์แอลชื่อ คริสตา ยัวกัม ในรัฐนิวยอร์กก็มีทิช เจมส์ ผู้สมัครลงเลือกตั้งในตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ผู้เคยฟ้องร้องบรรษัทแอ็กซอนโมบิลฐานทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจไขว้เขวเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อน แรนดี ไบรซ กับอเล็กซานเดรีย โอคาซิโอ-คอร์เทซ ก็เป็นนักการเมืองฝ่ายก้าวหน้าที่พยายามรณรงค์เรื่องการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเปลี่ยนให้เป็นระบบพลังงานหมุนเวียนและเพิ่มการสร้างงานไปพร้อมๆ กันในโครงการที่ชื่อ "กรีนนิวดีล" (Green New Deal)
กระนั้นก็ตาม จูเลียน เบรฟ นอยส์แคท นักวิเคราะห์นโยบายจากองค์กรด้านปัญหาโลกร้อน 350.org ก็ระบุว่าถ้าหากผู้สมัครหัวก้าวหน้าเหล่านี้ชนะการเลือกตั้งแล้ว พวกเขาจะต้องขับเคี่ยวกับอีกหลายฝ่ายเพื่อที่จะผลักดันนโยบายของตนเองได้เช่นกับบรรษัทพลังงานฟอสซิล รวมถึงต้องเจรจาต่อรองกับกลุ่มสหภาพแรงงานสายอนุรักษ์นิยมที่เป็นตัวแทนฝ่ายคนงานพลังงานฟอสซิล พวกเขาต้องหาวิธีการถ่ายโอนแรงงานจากภาคส่วนนี้ไปยังภาคส่วนพลังงานใหม่ให้ได้แบบน่าดึงดูด เช่นการการันตีการจ้างงาน และเมื่อฝ่ายการเมืองเริ่มย่อหย่อนจากการผลักดันนโยบายเหล่านี้ก็จะเป็นหน้าที่ของกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางสังคมที่จะเข้าไปแทรกตัวกับฝ่ายการเมืองให้ผลักดันนโยบายให้สำเร็จ
เรียบเรียงจาก
A New Climate Politics Is on the Ballot, Julian Brave Noisecat, Dissent [2], Nov. 4, 2018
| ['ข่าว', 'ต่างประเทศ', 'สิ่งแวดล้อม', 'วิทยาศาสตร์', 'โลกร้อน', 'เลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐฯ 2561', 'การเลือกตั้ง', 'แอนดรูว กิลลัม', 'ฝ่ายก้าวหน้า', 'เดโมแครต', 'รีพับลิกัน', 'พลังงานหมุนเวียน', 'สหรัฐอเมริกา'] |
https://prachatai.com/print/79496 | 2018-11-07 16:24 | คุยกับ ‘ไข่แมว’ ในงาน 'ไข่แมว x : กะลาแลนด์': “ถ้าถึงวันที่ไม่มีเผด็จการก็อาจไม่มีไข่แมว” | ‘ไข่แมว x กะลาแลนด์’ นิทรรศการศิลปะครั้งแรกของไข่แมว วันที่ 7-22 พ.ย. นี้ ที่ ARTIST+RUN นอกจากรูปแล้วยังมี ฟิกเกอร์ขนาดเท่าคนจริง ตู้คีบตุ๊กตา กะลายักษ์ พร้อมชวนคุยกับไข่แมวเกี่ยวกับการจัดงาน ที่เขาให้เหตุผลว่าอยากจัดก่อนปีหน้า เพราะถ้ามีเลือกตั้งจริง ไข่แมวก็อาจจะหยุดทำ เนื่องจากเพจไข่แมวตั้งใจเล่นกับเผด็จการโดยเฉพาะมาตั้งแต่แรก
‘Khai Maew X: Kalaland’ หรือ ‘ไข่แมว x กะลาแลนด์’ คือนิทรรศการศิลปะที่จัดขึ้นวันที่ 7-22 พ.ย. นี้ ที่ ARTIST+RUNแกลอรี่ โดย ‘ไข่แมว’ เจ้าของเพจการ์ตูนล้อการเมืองชื่อดังที่มีคนติดตามเกิน 300,000 คนในเพจเฟซบุ๊ค ด้วยลายเส้นล้อเลียนบุคคลและสถานการณ์การเมืองอย่างคมคายมีอารมณ์ขันเป็นเอกลักษณ์ด้วยการ์ตูนแก๊ก 4 ช่องจบไร้คำพูด และครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ไข่แมวจัดงานรวมผลงานศิลปะของตัวเองขึ้น ซึ่งไม่ได้มีแค่การ์ตูน 4 ช่อง แต่ยังมีภาพเพ้นท์ มาสคอต รวมไปถึงตู้คีบตุ๊กตา และกะลาใบใหญ่โตอยู่ในงานอีกด้วย
ประชาไทสัมภาษณ์ ‘ไข่แมว’ เกี่ยวกับงานนิทรรศการครั้งนี้ ที่เขาให้เหตุผลว่าอยากจัดก่อนปีหน้า เพราะถ้ามีเลือกตั้งจริง ไข่แมวก็อาจจะหยุดทำ เนื่องจากเพจไข่แมวนั้นตั้งใจเล่นกับเผด็จการโดยเฉพาะมาตั้งแต่แรก
ภาพขณะกำลังติดตั้งผลงาน
จุดเริ่มต้นของงาน?
ปีนี้ตั้งเป้าว่าจะทำอะไรสำหรับไข่แมว อยากทำหนังสือกับนิทรรศการ หนังสือได้ทำไปแล้ว เลยทำนิทรรศการต่อ ที่คิดไว้คืออยากให้มีอะไรเล่นสนุกๆ เลยมีตู้คีบตุ๊กตา มีมาสคอตสเกลเท่าคนจริงมาให้ถ่ายรูปเล่น ก็ต้องขอบคุณ อ.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ กับ อ.ลลิตา หาญวงษ์ ที่เป็นคนช่วยประสานงานให้เราโดยที่เราไม่ต้องออกหน้า และอย่าง อ.บัณฑิตก็จะมีส่วนช่วยเราเลือกงานที่จะเอามาจัดแสดงด้วย
คอนเซ็ปต์งานเป็นแบบไหน?
ตามชื่อเลยว่าไข่แมวxกะลาแลนด์ มันก็เลยต้องเกี่ยวกับกะลา ในงานก็จะมีรูปวาดที่ไม่เคยลงมาก่อน บางอันก็เคยลงแล้ว ใหญ่สุดก็ประมาณ A3 แต่อันที่ใหญ่ที่สุดในงานเป็นงานเพ้นท์ผ้าใบเฟรมไม้ขนาด 3x3 เมตร อีกส่วนคืองานเราเน้นขายของที่ไม่เคยมีขายในเพจ เช่น เสื้อ กระเป๋าสะพายข้าง กระเป๋าเล็ก ฟิกเกอร์ หน้ากาก
มาสคอตขนาดเท่าคนจริง
ทำไมถึงต้องจัดช่วงเวลานี้?
ครั้งนี้เป็นครั้งแรกของเราที่จัดงานแบบนี้ อยากจัดก่อนปีหน้า ถ้ามีเลือกตั้งจริง ไข่แมวก็อาจจะหยุดทำก็ได้ เพราะไข่แมวตั้งใจเล่นกับเผด็จการโดยเฉพาะมาตั้งแต่แรก ถ้ามันถึงวันที่ไม่มีเผด็จการแล้วก็อาจจะไม่มีไข่แมวแล้วก็ได้ เราก็ไปวาดในเพจตดแมวแทน แต่ถ้ามีวันที่เผด็จการกลับมาไข่แมวก็จะกลับมาอีก
แล้วเพจตดแมวล่ะ?
ตอนเริ่มต้นไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่ต่อมามันก็มีบ้าง เริ่มจากนึกมุกขำๆ ถ้าไม่วาดก็ลืม เลยเป็นเพจที่เราอยากวาดอะไรก็ได้ มุกหลังๆ ก็เริ่มเล่นกับสังคมได้ ต่อไปอาจมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวก็ได้
ตู้คีบตุ๊กตา
งานนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะอะไรไหม?
เราก็ไม่รู้ว่างานศิลปะแบบของเรามันเรียกว่าอะไร แต่เราคิดว่ามันเป็นงานศิลปะที่แปลก คือเหมือนเป็นเวิ้งที่ปล่อยให้เด็กเข้าไปวิ่งเล่น เหมือนสวนสนุก ถ้าคนอยากตีความ อยากดูงานนานๆ ก็ทำได้ หรือถ้าจะมาดูสนุกๆ ก็ทำได้เหมือนกัน ก็คงมีแค่รู้สึกชอบไม่ชอบ แต่ถ้าชอบงานเราก็ลองมาดูคิดว่าคงไม่ผิดหวัง
ศิลปะแบบไข่แมวคือศิลปะที่พยายามจะสื่อสารให้คนเข้าใจง่าย?
จริงๆ ถ้าเป็นลายเส้นยุคแรกๆ จะดูยากกว่านี้ ยุคหลังๆ เราพยายามปรับให้เข้าใจง่ายขึ้น ตอนแรกคนบ่นเยอะ ตีความเยอะ หลังๆ พยายามให้เข้าถึงง่ายขึ้น ป๊อปขึ้น แมสขึ้น ก็จะโดนคนเก่าๆ บอก เดี๋ยวนี้งานไม่ให้ตีความเลยนะ แต่เราก็พอใจที่จะเป็นแบบนี้ แอดมินบางเพจทำงานตามใจลูกเพจ แต่ลืมไปว่าจุดเริ่มต้นของเราเป็นยังไง เราไม่ได้ทำงานให้อาจารย์ตรวจแล้วบอกว่าผ่านไม่ผ่าน เราเลยไม่ซีเรียสกับคอมเมนต์ เราชอบแบบนี้ คนไม่ชอบก็ไม่เป็นไร และไม่ใช่ว่าเราไม่รับฟังความคิดเห็นเขา เราก็อ่านหมด แต่เราชอบทำแบบนี้ ไม่ได้หลอกตัวเองในการวาดแต่ละอันขึ้นมา งานมันก็จะเป็นเรา แบบที่เราโอเค
กะลายักษ์ระหว่างการติดตั้งผลงาน
งานเปิดตัววันเสาร์ที่ 10 พ.ย.นี้ ตอน 18.00 น. จะมีอะไรพิเศษไหม?
ถ้ามาวันเสาร์ก็จะคุ้มหน่อย มีดีเจมาเปิดเพลง มีของกินฟรีคือ พิซซ่า ไวน์ เบียร์ ไข่ม้วน ก็น่าจะเป็นวันที่คนมากันเยอะ ถ้ามาก็อาจจะมาเจอเพื่อนฝูงคอเดียวกัน แลกเปลี่ยนทัศนคติความคิดเห็นอะไรกันได้
มั่นใจไหมว่าจะไม่โดนสั่งปลดงานหรือสั่งปิดงาน?
เราไม่ได้เล่นโฉ่งฉ่าง งานเราก็ยังต้องตีความอยู่บ้าง แต่ถึงจุดนี้เขาจะเล่นอะไรก็ได้ ปฏิทินยังเล่นเลย เดาไม่ถูกหรอก แต่ถ้าเขาเล่น มันอาจจะเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตกว่าเดิม แต่เราก็ไม่อยากให้เป็นแบบนั้น อยากให้คนมาดูได้ตลอดจนถึงวันสุดท้าย อยากให้มีบรรยากาศที่เขาได้มาจอยในงาน คีบตุ๊กตาเล่น ถ่ายรูปกับมาสคอตตาใส ถ้าปิดตั้งแต่วันแรกโมเมนต์นี้ก็ไม่เกิด
Khai Maew X : Kalaland
งานผลงานศิลปะครั้งแรกของไข่แมว การ์ตูนนิสต์ชื่อดังที่มีบทบาทในการวิจารณ์สังคมการเมืองและวัฒธรรมไทยในความเงียบสี่ช่องที่มีทั้งความน่ารัก น่าชังและอารมณ์ขันแบบสายดาร์ค
7-22 พ.ย. 61 ที่ ARTIST+RUN [1]
ติดต่อสอบถามผู้จัดงาน บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
โทร 0994545955
อีเว้นท์: Khai Maew X : Kalaland [2]
*หมายเหตุ มีการแก้ไขเมื่อ 16.47 น. วันที่ 7 พ.ย. 61
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สังคม', 'วัฒนธรรม', 'ศิลปะ', 'นิทรรศการ', 'ไข่แมว', 'ไข่แมว x : กะลาแลนด์', 'Khai Maew X : Kalaland', 'ลลิตา หาญวงษ์', 'บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ'] |
https://prachatai.com/print/79497 | 2018-11-07 16:29 | เพลงแร็พ Thailand 4.0' โกหกหรือเปล่า |
'เพลง: แร็พ Thailand 4.0' พูดความจริงแค่บางส่วน Market Niche ใช้ได้เฉพาะกลุ่ม ไม่ใช่เฮโลพากันลงเหวได้ คนไทยจะดีขึ้น รวยขึ้น ต้องมีระบอบการปกครองที่ดีต่างหาก ที่ว่า "อยากเท่ อยากสวย อยากรวย ไม่มีหมูในอวย ต้องทำขึ้นทำขึ้น" มีคนไทยทั่วไปทำขึ้นได้จริงหรือ มีแต่คนรวยๆ ที่รวยขึ้นๆ เช่น คุณวิชัย ศรีวัฒนประภา [1]ที่ปี 2561 นี้รวยเป็นมูลค่า 5,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (164,724 ล้านบาท) นั้น ในปี 2554 [2] ท่านรวยมาก แต่ก็รวยเพียง 210 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น แสดงว่ารวยขึ้น 25 เท่าภายในเวลาเพียง 7 ปี หรือรวยขึ้นปีละ 58% โดยเฉลี่ย สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 7% อย่างเทียบกับไม่ติด แต่คนธรรมดามีโอกาสรวยขึ้นอย่างนี้หรือบรรดาเศรษฐีอันดับต้นๆ ของเมืองไทยก็คงหามีไม่ ค่าแรงขั้นต่ำก็แทบไม่ขึ้นเลย
ใช่ว่า "โลกเรายังคงหมุนไป นวัตกรรมใหม่ ทำให้ไทยสู้ได้" นวัตกรรมหรือไอเดียใหม่ๆ นั้น ทำให้บางคนสู้ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนทำเลียนแบบแล้วจะสู้ได้เสมอไป ที่ผ่านมามีอยู่ 2 กรณีที่นายกฯ สั่งแก้ไขปัญหาที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง คือกรณีส่งเสริมให้ปลูกหมามุ่ยและกล้วยหอมทอง นี่แสดงว่าทีมงานนายกฯ ไม่ได้เข้าใจคำว่า Market Niche จึงเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2558 ท่านนายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา "แนะคนไทย 'อย่าโง่'ปลูกพืชกำไรน้อย [3] หนุนปลูกพืชสมุนไพรสร้างรายได้ ชูแปรรูป 'หมามุ่ย' ราคาพุ่ง กก.ละ 8 หมื่น. . .วันนี้รัฐบาล ได้สนับสนุนการปลูกพืชสมุนไพร ในเมื่อเราไม่สามารถปลูกข้าวได้ ก็จะให้กระทรวงสาธารณสุข เข้าไปดูแลว่าจะปลูกพืชสมุนไพรได้หรือไม่ กรณีนี้สะท้อนว่าท่านนายกฯ ยังไม่เข้าใจ Market Niche หรือการตลาดเฉพาะกลุ่ม
อีกกรณีหนึ่งคือ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2559 นายกฯ ประยุทธ์ ได้ให้สัมภาษณ์โดยแนะให้ชาวสวนยางพาราปลูกสตรอเบอรี่และกล้วยหอมในสวนยาง อย่างไรก็ตามการปลูกสินค้าเฉพาะนี้ก็อาจยังไม่เสถียร ท่านจึงยัง "แนะนำให้หาวิธีการแปรรูปหลายอย่าง และขยายตลาดรองรับ (และ) . . . ยังแนะนำว่าหากมีปัญหาสามารถปรึกษาสหกรณ์จังหวัด"
สินค้าที่เป็น Market Niche หรือสินค้าที่มีความแตกต่างออกไป จึงเป็นสินค้าที่ลูกค้าสนใจเพราะเป็นการเริ่มต้นที่จำนวนน้อย ยังไม่มีคู่แข่งอื่นหรือมีคู่แข่งจำกัด เหมาะกับพื้นที่ดังกล่าว เช่น ในพื้นที่โดยรอบสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งขึ้นใหม่ มักจะสร้างหอพักเป็นจำนวนมาก โดยกลุ่มเป้าหมายเฉพาะก็คือนักศึกษามหาวิทยาลัยนั่นเอง หรือพื้นที่ที่ตั้งอยู่ใกล้วัดที่มีผู้ไปทำบุญปฏิบัติธรรมในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์เป็นจำนวนมาก ก็อาจมีการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรรหรือห้องชุดที่รองรับผู้สนใจซื้อไว้ เพื่อความสะดวกในการเดินทาง นอกจากนี้ยังอาจมีตัวอย่างของห้องชุดในพื้นที่ใกล้โรงเรียนมัธยมชื่อดังใจกลางเมือง ซึ่งสามารถจับกลุ่มลูกค้าที่เป็นครอบครัวของเด็กนักเรียน เป็นต้น
อย่างกรณี "หมามุ่ย" แม้ว่าสถานการณ์ตลาดจะดี แต่ก็เป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่ชาวนาไทยทั้งมวล หรือใครต่อใครจะหันมาปลูกหมามุ่ยแทนข้าวซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักได้ หรือแม้จะมีตลาดเฉพาะทางด้านอื่น ๆ นอกจากหมามุ่ย ก็ยังถือเป็นข้อยกเว้น และข้อยกเว้นคงไม่ใช่สรณะ (Exception cannot be made rule/norm) เพราะมีจำนวนลูกค้าจำกัด สินค้าอุปโภคบริโภคกับสินค้าเฉพาะทางคงทดแทนกันไม่ได้
ยิ่งกว่านั้นท่านนายกฯ อาจไม่ทราบว่า "หมามุ่ย" ดังกล่าว มีสรรพคุณใช้เพื่อ "ช่วยปลุกเซ็กส์ มีเพศสัมพันธ์ได้มากขึ้น" ทั้งนี้เป็นผลการวิจัยมา 3 ปีแล้วของอาจารย์มหาวิทยาลัยของไทย นอกจากนั้นยังอาจใช้รักษาโรงพาร์กินสันได้ด้วย ท่านนายกฯ อาจไม่ทราบสรรพคุณของสมุนไพรชนิดนี้ซึ่งใช้กับคนเฉพาะกลุ่ม การที่คณะทำงานนำความมาแจ้งแก่นายกฯ ให้นำเสนอพืชสมุนไพรนี้ในฐานะสินค้า จึงอาจทำให้เสียภาพพจน์ของนายกรัฐมนตรีได้ด้วย
ส่วนกรณีกล้วยหอมทองนั้น ปรากฏว่าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่เดิมในอำเภอท่าชนะ ก็เคยมีสินค้าโอทอปคือกล้วยหอมทอง โดยกลุ่มแม่บ้านกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออก ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 195/264 หมู่ที่ 6 ต.คลองพา อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี 84170 โดยได้รวมกันเองในหมู่บ้าน ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 52 คน และได้เลือกคณะกรรมการบริหารกลุ่มโดยได้ดำเนินการมานับสิบปีแล้ว สมาชิกแต่ละคนนำผลผลิตมารวมที่กลุ่มเพื่อเตรียมส่งออกประเทศญี่ปุ่น ในขณะที่อาชีพหลักคือการทำสวนยางพารา จะนำอาชีพเสริมมาทดแทนอาชีพหลักคงไม่ได้
นายกฯ ไม่เข้าใจ Market Niche: หมามุ่ย-กล้วยหอมทอง [4]
ถ้าขืนไปส่งเสริมให้ใครต่อใครหันมาเลียนแบบกันทำตลาดแบบนี้ ก็จะพากันลงเหว "พาคนไปตาย" อย่างแน่นอน เพราะความพิเศษ ความโดดเด่น ลักษณะเฉพาะ ก็กลายเป็นลักษณะทั่วไปเพราะใครต่อใครหันมาทำแบบเดียวกันหมด ก็คงไม่มีความแตกต่าง และเต็มไปด้วยการแข่งขันและพากัน "เจ๊ง" กันไปหมดอย่างแน่นอน การแนะนำประชาชนไปในแนวทางเดียวกันแบบนี้จึงเป็นการสร้างความเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง นี่จึงแสดงถึงความไม่รู้จริงของทีมงานนายกฯ จึงแนะนำให้ท่านเสนอแนะไปอย่างไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
ที่ว่า "คนไทยเรามาชุมนุม มารวมความคิด ให้ใหม่ ให้ล้ำ คิดมันให้ไกลออกไป เราไปได้ไกล ถ้าเราร่วมมือ" อันนี้จริง คือเราต้องคิดแบบมีบูรณาการโดยคนส่วนใหญ่ ไม่ใช่ให้ใครที่ไหนก็ไม่รู้มาวางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดและแทบไม่มีสาระอะไรชัดเจน แต่มาบังคับกับคนไทยทั้งประเทศโดยคนไทยส่วนใหญ่ไม่มีส่วนรวม
ประเทศไทยต้องมีประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม ไม่ใช่แค่ไม้ประดับ กฎหมายต่างๆ ก็ต้องออกมาปกป้องประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ทั้งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีมรดกเพื่อลดความเหลื่อมล้ำก็ต้องมี ไม่ใช่ออกกฎหมายแบบเข้าข้างคนรวยเช่นทุกวันนี้โดยที่ประชาชนถูกเอาเปรียบอยู่ตลอดเวลา คนที่จะเป็น สว. ก็ต้องมาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่แต่งตั้งพรรคพวก อย่างนี้ก็เป็นบ่อเกิดของการทุจริตและประพฤติมิชอบที่ตรวจสอบได้ยาก
ประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตยสากล มีระบบเส้นสายแต่งตั้งมากมาย คนได้ประโยชน์ก็คือคนกลุ่มเดียว ปรากฏการณ์ที่ GDP เพิ่มขึ้นบ้าง แต่เป็นลักษณะรวยกระจุก จนกระจาย จะมีความหมายอะไรกัน
| ['บทความ', 'การเมือง', 'เศรษฐกิจ', 'วัฒนธรรม', 'เพลงแร็พ', 'แร็พ\xa0Thailand 4.0', 'โสภณ พรโชคชัย'] |
https://prachatai.com/print/79500 | 2018-11-07 18:59 | กสม. จัดวงถกการเข้าถึงกระบวนการเยียวยาของผู้ได้รับผลกระทบด้านสิทธิฯ | กสม. จัดสัมมนาการเข้าถึงกระบวนการเยียวยาของผู้ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่มีประสิทธิภาพ ผู้แทนยูเอ็นแนะรัฐออกกฎหมายรองรับหลักการชี้แนะฯ ของสหประชาชาติ เอื้อประชาชนได้รับความเป็นธรรมจากธุรกิจที่ละเมิดสิทธิฯ
7 พ.ย.2561 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (สนง.กสม.) รายงานว่า วันนี้ กสม. ร่วมกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) จัดการสัมมนาวิชาการระดับชาติเรื่อง “การเข้าถึงกระบวนการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGPs)” โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนากว่า 300 คน ประกอบด้วยบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม หน่วยงานภาครัฐ และสมาคมผู้ประกอบการภาคเอกชน รวมทั้งผู้แทนคณะทูตและองค์การระหว่างประเทศในประเทศไทย ณ โรงแรมอนันตรา ริเวอร์ไซด์ อาคารอวานี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
วัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวเปิดการสัมมนาว่า ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration on Human Rights) ข้อ 8 รับรองว่า “ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาอันมีประสิทธิผลจากศาลที่มีอำนาจแห่งรัฐ ต่อการกระทำอันล่วงละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งตนได้รับตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย” ขณะที่หลักการ UNGPs ภายใต้เสาหลักที่ 3 ข้อ 25 กำหนดให้รัฐต้องมีกระบวนการที่ทำให้แน่ใจได้ว่า เหยื่อหรือผู้เสียหายสามารถเข้าถึงการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นกลไกทางศาลหรือกลไกที่นอกเหนือจากศาล หรือกระบวนการทางปกครอง ดังนั้น การเยียวยาที่มีประสิทธิภาพสำหรับบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในระบบกฎหมายต่าง ๆ รวมถึงกลไกสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ การสัมมนาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาร่วมกันอภิปรายแสวงหาแนวทางและความร่วมมือระหว่างกลไกต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนหลักการ UNGPs โดยเฉพาะเสาหลักที่ 3 การเข้าถึงการเยียวยาให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพในประเทศไทยต่อไป
ประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะทำงานขับเคลื่อนธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวว่า ภายใต้เสาหลักที่ 3 ของหลักการ UNGPs ได้แบ่งกลไกการเยียวยาภายในประเทศต่อกรณีที่เกิดผลกระทบทางลบต่อสิทธิมนุษยชนจากกิจกรรมทางธุรกิจเป็น 3 กลไก ได้แก่ 1) กระบวนการยุติธรรม (State-Based Judicial Mechanisms)ซึ่งต้องมีความเป็นกลางและเที่ยงธรรม 2) กลไกการร้องทุกข์ของรัฐที่ไม่ใช่กระบวนการยุติธรรม (State-Based Non Judicial Mechanisms) เช่น กระบวนการร้องเรียนและอุทธรณ์ภายในหน่วยงานทางปกครอง ศูนย์ดำรงธรรม รวมถึง กสม. ซึ่งสามารถเป็นกระบวนการระงับข้อพิพาททางเลือกทำให้เกิดแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า รวมทั้งช่วยบรรเทาภาระทางกฎหมายได้ และ 3)กลไกการร้องทุกข์ที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Based Judicial Mechanisms) เช่น หน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนภายในบริษัท ซึ่งปัจจุบันเมื่อปรากฏว่าธุรกิจกระทำหรือมีส่วนทำให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสิทธิมนุษยชน บริษัทถูกคาดหวังให้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการบรรเทาผลกระทบต่อบุคคล/ชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
Professor Surya Deva รองประธานคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนกับบรรษัทข้ามชาติและองค์กรธุรกิจอื่น ๆ ของสหประชาชาติ กล่าวว่า จากการศึกษาของสหประชาชาติพบว่า การเยียวยาที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ประการ ที่ควรคำนึงถึง ได้แก่ 1) ผู้ทรงสิทธิ (ผู้ได้รับผลกระทบ) มีสถานะที่หลากหลายแตกต่างกันด้วยวัย เพศสภาพ สถานะทางสังคม ฯลฯ ซึ่งย่อมได้รับผลกระทบทางสิทธิมนุษยชนจากกิจกรรมของภาคธุรกิจในบริบทที่ต่างกัน 2) การเข้าถึงกระบวนการเยียวยาต้องอยู่ในราคาที่จ่ายได้ ดำเนินการอย่างรวดเร็ว และแก้ปัญหาได้เพียงพอ 3) กระบวนการร้องเรียนต้องไม่ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบ หรือ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนต้องอยู่ภายใต้ความหวาดกลัวจากการร้องเรียน เช่น การประท้วงอย่างสันติตามสิทธิขั้นพื้นฐาน จะต้องไม่ถูกคุกคามหรือฟ้องร้องดำเนินคดี 4) ผู้ทรงสิทธิควรเป็นผู้ออกแบบการเยียวยาที่จะได้รับโดยเปรียบเทียบได้กับการเลือก “ช่อดอกไม้ของกระบวนการเยียวยา” คือ มีการเยียวยาที่รวมหลายกระบวนการเข้าด้วยกัน เช่น มีทั้งการขอโทษต่อสาธารณะ การจ่ายค่าชดเชย หรือการดำเนินคดีต่อบริษัท และ 5) ถนนทุกสายต้องมุ่งไปสู่การเยียวยา คือ ต้องสร้างให้เกิดทางเลือกที่หลากหลายในการเข้าถึงการเยียวยา เช่น มีทั้งกลไกตามกระบวนการยุติธรรม กลไกการร้องทุกข์ของรัฐที่ไม่ใช่กระบวนการยุติธรรม และกลไกร้องทุกข์ภายในบริษัท เป็นต้น
“กลไกการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพตั้งอยู่บนพื้นฐานความต้องการของผู้ได้รับผลกระทบ หลักการ UNGPs แม้จะไม่มีข้อผูกมัดทางกฎหมายเช่นเดียวกับกติกาสากลอื่น ๆ แต่ก็ควรมีการออกกฎหมายรองรับเพื่อให้หลักการ UNGPs บังคับใช้ในทางปฏิบัติได้ ทั้งนี้ กระบวนการเยียวยาควรเป็นได้ทั้งกลไกแก้ไขหลังเกิดปัญหาและเป็นมาตรการเชิงป้องกันก่อนเกิดปัญหา เช่น หากมีบริษัทหนึ่งที่กำลังจะมาแย่งชิงที่ดินจากชุมชน ชุมชนสามารถขอให้ศาลแทรกแซงโดยมีคำสั่งระงับการใช้พื้นที่ หรือ สั่งให้มีการทบทวนการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบจากโครงการเสียใหม่ในกรณีที่เห็นว่ากระบวนการเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมยังต้องตระหนักถึงประเด็นการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลกระทบข้ามพรมแดนในแง่ของการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกและความเป็นธรรมในการเข้าถึงกระบวนการเยียวยาของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของเอกชนสัญชาติต่าง ๆ ด้วย” Professor Surya Deva กล่าว
| ['ข่าว', 'สิทธิมนุษยชน', 'คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ', 'โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ', 'การเข้าถึงกระบวนการเยียวยา', 'วัส ติงสมิตร', 'ประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์'] |
https://prachatai.com/print/79501 | 2018-11-07 19:15 | ทษช. ได้ ‘ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช’ นั่งหัวหน้าพรรค หวังเติมเต็มช่องว่างในสังคม-ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง | คนรุ่นใหม่และทายาทนักการเมืองพรรคเพื่อไทยนั่งคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักชาติ (ทษช.) ร.ท.ปรีชาพล อดีต ส.ส. ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย นั่งหัวหน้าพรรค ทษช. ประกาศจุดยืนหวังเติมเต็มช่องว่างในสังคม ยันไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) แฟ้มภาพจากพรรคเพื่อไทย [1]
7 พ.ย. 2561 สำนักข่าวไทย [2] รายงานว่า ที่โรงแรมรามาการ์เด้น พรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ได้จัดประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2561 เพื่อเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ แทนกรรมการบริหารพรรคชุดเดิมที่ลาออก โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีอดีตรัฐมนตรี และอดีต ส.ส. ของพรรคเพื่อไทย ที่ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรค เดินทางมาร่วมประชุม อาทิ วรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พิชิต ชื่นบาน และสุณีย์ เหลืองวิจิตร อดีต ส.ส.เพื่อไทย รวมถึงนายพชร นริพทะพันธุ์ บุตรชายนายพิชัย นริพทะพันธุ์ และ ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช อดีต ส.ส.ขอนแก่น
หลังเสร็จสิ้นการประชุม พงษ์เกษม สัตยาประเสริฐ โฆษกพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเลือก ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช เป็นหัวหน้าพรรค ขณะที่รองหัวหน้าพรรคประกอบด้วย ฤภพ ชินวัตร บุตรชายพายัพ ชินวัตร สุณีย์ เหลืองวิจิตร อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย และพฤฒิชัย วิริยะโรจน์ อดีตผู้แทนการค้าไทยในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และ นพ.พงษ์ศักดิ์ ภูสิทธิ์สกุล
ขณะที่ มิตติ ติยะไพรัช บุตรชายของยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานรัฐสภา ที่เพิ่งประกาศตัวสนับสนุนพรรคเพื่อชาติเป็นเลขาธิการพรรค ส่วน ต้น ณ ระนอง บุตรชายกิตติรัตน์ ณ ระนอง คณาพจน์ โจมฤทธิ์ และวิม รุ่งวัฒนจินดา อดีตเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค
สำหรับตำแหน่งอื่นๆ นายทะเบียนสมาชิกพรรคคือ ชยิกา วงศ์นภาจันทร์ บุตรสาวนางเยาวเรศ ชินวัตร โฆษกพรรรคคือ พงษ์เกษม สัตยาประเสริฐ อดีตผู้ประกาศข่าว เหรัญญิกพรรคคือ วรรษมล เพ็งดิษฐ์ ภรรยาธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ร.ท.ปรีชาพล กล่าวว่า ขอบคุณสมาชิก คณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ที่ไว้วางใจเลือกมาเป็นผู้นำคนใหม่ หลังจากนี้จะเชิญประชุมคณะกรรมการดังกล่าวเพื่อหารือแนวทางวางกรอบร่วมกับสมาชิกพรรค และคณะที่ปรึกษาจากหลากหลายสาขาอาชีพ เพื่อนำเสนอแนวทางและนโยบายพรรค
“วันนี้เป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่า ทษช.พร้อมที่จะรับใช้ประชาชน โดยจะเชื่อมโลกเชื่อมคนให้ไร้ช่องว่าง เน้นการนำนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเพื่อมายกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้ทันสมัย เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศ เป็นการรวบรวมแนวความคิดของคนรุ่นใหม่กับทุกรุ่น เติมเต็มช่องว่างในสังคม เพื่อใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีมาทำให้เกิดกับประชาชน ไม่ทำให้ประชาชนตกยุค จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังอย่างเด็ดขาด วันนี้ขอให้คำมั่นว่าเราจะเดินไปพร้อมๆ กัน ไม่ทิ้งกัน เพราะโลกก้าวไกล ไทยต้องก้าวไปพร้อมๆ กัน” ร.ท.ปรีชาพล กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า การประชุมในวันนี้แกนนำคนสำคัญของพรรคเพื่อไทยที่มีข่าวว่าจะตัดสินใจลาออกจากพรรคเพื่อไทย เพื่อมาสังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ไม่ว่าจะเป็นจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รวมถึงพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยังไม่ปรากฎตัว
จาตุรนต์ เผยเหตุแกนนำเพื่อไทยเตรียมย้ายพรรค เกิดจากระบบเลือกตั้งที่แปลกประหลาด [3]
ทั้งนี้หากการเลือกตั้งเกิดขึ้นในวันที่ 24 ก.พ. 2562 ผู้ที่จะสมัครลงรับเลือกตั้งจะต้องเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่จะส่งลงสมัครก่อนมีการเลือกตั้ง 90 วัน ซึ่งการย้ายพรรคการเมืองสำหรับผู้สมัครลงรับเลือกตั้งจะต้องทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 26 พ.ย. นี้
ผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานเพิ่มเติมว่า พรรคไทยรักษาชาติ เดิมคือ พรรครัฐไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2552 ก่อตั้งตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อพรรค เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นพรรคไทยรวมพลัง เวลานั้นมีหัวหน้าพรรคคนแรกคือ เอกสิทธิ์ เจาฑานนท์ (อ่านประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่องรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรครัฐไทย [4])
ต่อมา 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) พร้อมกับเปลี่ยนแปลงภาพเครื่องหมายพรรคและข้อบังคับพรรค ซึ่งเวลานั้นได้มีกระแสข่าวว่า อดีตรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทยเตรียมย้ายมาสังกัดพรรคแล้ว จนกระทั่งมีการเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ในวันนี้
สำหรับ ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ปัจจุบันอายุ 38 ปี ก่อนหน้านี้ในการเลือกตั้งปี 2550 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในระบบแบ่งเขต ในจังหวัดขอนแก่น เขต 2 สังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับชนะชัยในการเลือกตั้ง ทำให้เขาเป็น ส.ส.ชายที่มีอายุน้อยที่สุดในเวลานั้นคือ 27 ปี และในปี 2554 เข้าได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ระบบเขตอีกครั้ง สังกัดพรรคเพื่อไทย
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'พรรคไทยรักษาชาติ', 'ทษช.', 'พรรคเพื่อไทย', 'ปรีชาพล พงษ์พานิช', 'มิตติ ติยะไพรัช'] |
https://prachatai.com/print/79502 | 2018-11-07 19:44 | แอมเนสตี้ยินดีไทยปล่อยเด็กผู้ขอลี้ภัยกว่า 100 คนจาก ตม.สวนพลู แต่ยังกังวลการบังคับใช้ กม.เข้าเมือง | แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลไทยยินดีที่ปล่อยตัวเด็กผู้ขอลี้ภัยประมาณ 100 คนจากสถานกักตัวคนต่างด้าวซอยสวนพลู กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 2 พ.ย. ที่ผ่านมา แต่ยังคงเน้นย้ำให้ทางการไทยปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนในเรื่องอื่นๆ ด้วย
7 พ.ย.2561 สำนักเลขาธิการใหญ่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ,ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี แสดงความยินดีที่ประเทศไทยปล่อยตัวเด็กผู้ลี้ภัยที่ถูกขังอยู่ใน สถานกักตัวคนต่างด้าวกว่า 100 คน พร้อมย้ำว่า การบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมืองตาม “ปฏิบัติการ X-Ray Outlaw Foreigner” ควรเป็นไปในลักษณะที่เคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้เข้าเมือง ผู้ลี้ภัย และบุคคลผู้แสวงหาความคุ้มครองระหว่างประเทศจากการประหัตประหาร และควรสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนของไทย
นิโคลัส เบเคลัง รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกเผยว่า นับตั้งแต่ทางการไทยเริ่ม “ปฏิบัติการ X-Ray” เมื่อเดือนกรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมามีรายงานว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติรวมทั้งกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว และเจ้าหน้าที่ทหาร ได้จับกุมคนต่างชาติและบุคคลผู้ไร้รัฐอย่างน้อย 2,000 คน ซึ่งมาจากประเทศต่าง ๆ ทั้งอิรัก ซีเรีย ไนจีเรีย ยูกันดา โซมาเลีย อัฟกานิสถาน กัมพูชา อินเดีย เมียนมา ปากีสถาน ลาว และเวียดนาม เนื่องจากอาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำงานอย่างผิดกฎหมาย หรือเนื่องจากถูกกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรม
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจึงกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ลี้ภัย ผู้ขอลี้ภัย และผู้เข้าเมืองในประเทศไทย เนื่องมาจากการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมืองของรัฐบาลตาม ปฏิบัติการ X-Rayรวมทั้งปฏิบัติการหนึ่งเดือนที่เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2561 โดยในขั้นตอนล่าสุดของปฏิบัติการ X-Ray เจ้าหน้าที่ความมั่นคงและตำรวจจะทำการค้นหาและส่งกลับพลเมืองต่างชาติกรณีที่พบว่าอยู่เกินวีซ่าหรือไม่มีเอกสารถูกต้อง แอมเนสตี้จึงขอให้บุคคลที่ถูกลงโทษระหว่างการจับกุมสามารถเข้าถึงกระบวนการที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ ในกรณีต้องส่งตัวบุคคลเหล่านั้นกลับไปยังประเทศต้นทาง ต้องมีการประเมินเป็นรายกรณี เพื่อประกันว่าจะไม่ได้รับอันตรายหากถูกส่งตัวกลับประเทศตนเอง
นอกจากนั้นแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังแสดงความยินดีสำหรับพัฒนาการเชิงบวกในเรื่องที่ทางการไทยกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ยังขอเสนอให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และเรียกร้องให้แก้ปัญหาที่เป็นช่องว่างในการคุ้มครองผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยทั้งในเชิงกฎหมายและในทางปฏิบัติ ที่เป็นเหตุให้บุคคลเหล่านั้นต้องเผชิญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนนานัปการ รวมทั้งในระหว่างการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมืองด้วย
| ['ข่าว', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล', 'ปฏิบัติการ\xa0X-Ray', 'ผู้เข้าเมือง', 'ผู้ลี้ภัย'] |
https://prachatai.com/print/79498 | 2018-11-07 16:35 | ความเป็นไปได้ในการจัดตั้งรัฐบาลในบริบทการเมืองไทยปัจจุบัน หลังการเลือกตั้ง | ณ วันที่ปี่กลองทางการเมืองเริ่มบรรเลงขึ้นแม้จะยังไม่มีการปลดล็อคเต็มรูปแบบก็ตาม แต่เราก็เริ่มเห็นตัวละครทางการเมืองหลักๆ เปิดม่านเผยโฉมให้เห็นไม่น้อยแล้ว มีทั้งฝั่งฝ่ายที่แสดงตนอย่างชัดเจน และยังคงสงวนท่าทีอยู่ เมื่อวิเคราะห์จากการติดตามข่าวสารและใช้การสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อเป็นหลักในการคิด โดยสามารถแบ่งกลุ่มทางการเมืองได้ดังนี้
กลุ่มที่ 1 กลุ่มพรรคที่ไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธเป็นนายกรัฐมนตรี ได้แก่ พรรคเพื่อไทย พรรคเพื่อธรรม พรรคเพื่อชาติ พรรคอนาคตใหม่ พรรคประชาชาติ พรรคเสรีรวมไทย พรรคไทยรักษาชาติ เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 กลุ่มพรรคที่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาชนปฏิรูป พรรครวมพลังประชาชาติไทย พรรคพลังชล เป็นต้น
กลุ่มที่ 3 กลุ่มพรรคที่ยังสงวนท่าทีได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา เป็นต้น
หากสมมติฐานจากบทวิเคราะห์และสถานการณ์ที่ปรากฏทั่วไป รวมถึงภายใต้ข้อกำหนดบทเฉพาะกาลมาตรามาตรา 272 ที่บัญญัติว่า “ในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้ดําเนินการตามมาตรา 159 เว้นแต่การพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 159 วรรคหนึ่ง ให้กระทําในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และมติที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 159 วรรคสาม ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา” ซึ่งสมาชิกวุฒิสภาชุดแรกมาจากการแต่งตั้งของ คสช. ที่เราสมมติฐานได้ว่าทั้งหมดจะสนับสนุนพลเอกประยุทธ ทำให้คะแนนรวมของทั้งสองสภาเท่ากับ 750 เสียง ซึ่งผู้จะได้เป็นายกรัฐมนตรีต้องมีคะแนนสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่งคือ 376 เสียง อาจพอยกตัวอย่างแนวทางการจัดตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้งได้ดังต่อไปนี้
แนวทางที่ 1 พรรคกลุ่มที่ 1 พรรคเพื่อไทย พรรคเพื่อธรรม พรรคเพื่อชาติ พรรคอนาคตใหม่ พรรคประชาชาติ พรรคเสรีรวมไทย พรรคไทยรักษาชาติ รวมกับพรรคกลุ่มที่ 3 บางพรรคเช่น พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา สามารถรวมคะแนนเสียงได้เกิน 376 คะแนน แต่อาจประสบปัญหาที่จะผลักดันกฎหมายผ่านสภาสูงได้ ซึ่งแนวทางดังกล่าวอาจเกิดได้ยากเนื่องจากระบบเลือกตั้งในปัจจุบันและฐานคะแนนเสียงเดิมเมื่อคำนวนแล้ว ทำให้แนวทางมีโอกาสเกิดได้น้อย
แนวทางที่ 2 พรรคกลุ่มที่ 2 รวมกับพรรคกลุ่มที่ 3 และกลุ่ม สว. เสนอนายกรัฐมนตรีซึ่งอาจหมายถึงนายกคนปัจจุบัน เป็นนายกรัฐมนตรีต่ออีกสมัยแต่ปัญหาอาจเกิดขึ้นต่อการบริหารราชการแผ่นดินหากคะแนนเสียงในสภาล่าง (สภาผู้แทนฯ) เป็นเสียงข้างน้อยคือน้อยกว่า 250 เสียง หรือเกิน 250 เสียงไปไม่มาก จะทำให้การออกกฎหมายต่างๆ ของรัฐบาลในอนาคตเต็มไปด้วยความยากลำบาก
แนวทางที่ 2.1 (หากมีกรณีสถานการณ์พิเศษเข้ามาแทรกคือการยุบพรรคเพื่อไทยภายหลังการเลือกตั้ง) และมีการตั้งรัฐบาลตามแนวทางที่ 2 แล้ว และด้วยความที่รัฐบาลตามแนวทางที่ 2 มีอำนาจในการต่อรองในฐานะรัฐบาล อาจอาศัยช่วงหลังยุบพรรคชักชวนจูงใจเสียงจาก ส.ส.พรรคเพื่อไทยรายคนหรือรายกลุ่มให้มาสนับสนุนรัฐบาลในขณะนั้นได้ (งูเห่า) เพื่อสร้างเสถียรภาพให้รัฐบาล ก็อยู่ที่ความหนักแน่นในอุดมการณ์ของ ส.ส. แต่ละคน แต่ละกลุ่ม แต่ก็อย่าลืมว่าเป็นรัฐบาล กับเป็นฝ่ายค้าน อะไรๆ มันก็ต่างกันอยู่ แนวทางที่ 3 พรรคกลุ่มที่ 1 พรรคเพื่อไทย พรรคเพื่อธรรม พรรคเพื่อชาติ พรรคอนาคตใหม่ พรรคประชาชาติ พรรคเสรีรวมไทย พรรคไทยรักษาชาติ รวมกับพรรคกลุ่มที่ 3 ทุกพรรค พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา และรวมกับพรรคประชาธิปัตย์ โดยอาจต่อรองโดยยกตำแหน่งสำคัญให้พรรคประชาธิปัตย์ สามารถรวมคะแนนเสียงได้เกิน 400 คะแนน ภายใต้เงื่อนไขรวมกันเพื่อร่วมกันแก้ไขกติกาการเลือกตั้งรวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งภายใต้กติกาใหม่ กรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้ยากเพราะอุดมการณ์ทางการเมืองต่างกันค่อนข้างมากและอาจจำเป็นต้องอธิบายต้องมวลชนที่เป็นฐานเสียงของพรรคให้เข้าใจแต่ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้
แนวทางที่ 4 หากมีกรณียุบพรรคเพื่อไทยก่อนการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยอาจรณรงค์ร่วมกับพรรคพันธมิตรบอยคอตไม่ลงเลือกตั้ง โดยเหตุผลเรื่องกติกาที่ไม่เป็นธรรม เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง และด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 85 วรรค 2 บัญญัติว่า “ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนสูงกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง” หมายถึงคะแนนของผู้ชนะในแต่ละเขตเลือกตั้งต้องมากกว่าผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน (โหวตโน) ซึ่งอาจเกิดขึ้นในหลายเขตในภาคอิสาน ภาคเหนือที่เป็นพื้นที่ของพรรคเพื่อไทยและพรรคพันธมิตร จะส่งผลให้เปิดสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ และตามรัฐธรรมนูญ รัฐบาลชุดปัจจุบันและคสช. จะอยู่ในอำนาจต่อไป แต่ในทางการเมืองอาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนอย่างมากอาจเลยเถิดไปถึงการแสดงออกต่อต้านรัฐบาลที่มากยิ่งขึ้น
การวิเคราะห์ดังกล่าว คิดขึ้นจากการติดตามและประมวลเหตุการณ์ทางการเมืองในอดีตที่ผ่านมาและข่าวสารที่ปรากฏขึ้นเป็นการทั่วไป โดยอาจมีแนวทางที่เราคาดไม่ถึงมากกว่านี้ก็เป็นได้โดยตัวแปรคือจำนวน ส.ส. ของแต่ละพรรคนั่นเอง โดยแนวทางที่วิเคราะห์ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีการเลือกตั้งเสียก่อน ก็ช่วยกันเอาใจช่วยทุกฝ่ายให้การเลือกตั้งนั้นจงเกิดขึ้นตามกำหนดก็แล้วกัน
| ['บทความ', 'การเมือง', 'เนติลักษณ์ นีระพล', 'การเลือกตั้ง'] |
https://prachatai.com/print/79499 | 2018-11-07 16:42 | สุรพศ ทวีศักดิ์: ประเทศที่กฎหมายไม่สู้พระธรรมและไบเบิล | ที่มาภาพ: http://www.lokwannee.com/web2013/?p=250266 [1]
ท่อนหนึ่งในเพลงแร็พ “ประเทศกูมี” ที่สะท้อนวัฒนธรรมทางความคิดและระบบอำนาจนิยมในสังคมไทยได้อย่างถึงแก่น คือท่อนที่ว่า “ประเทศที่มีกฎหมายไม่รู้พระธรรมและไบเบิล” ทำให้เราคิดต่อได้อีกมาก
ยุคกลางพระธรรมและไบเบิลคือกฎหมาย เพราะในยุโรปศาสนจักรมีอำนาจทางกฎหมายในการลงโทษใครก็ตามที่เสนอความคิดขัดแย้งกับคำสอนในไบเบิล ขณะที่เอเชียอาคเนย์ธรรมราชาคือกฎหมาย กล่าวคือ นอกจากนครรัฐแถบนี้จะใช้กฎหมายพระธรรมศาสตร์ตามคติฮินดูเป็นหลักแล้ว ธรรมราชาอิงคติพุทธยังทรงอำนาจสิทธิ์ขาดในการออกกฎหมายตามพระราชอัธยาศัยอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ ธรรมะและไบเบิลจึงไม่ได้ดำรงอยู่มาได้ยาวนาน เพียงเพราะว่าเป็น “สัจธรรม” หรือความจริงที่ “ทนต่อการพิสูจน์” จากการตั้งคำถาม วิพากษ์ โต้แย้งอย่างเสรี แต่ดำรงอยู่อย่างยาวนานได้เพราะอำนาจเผด็จการของศาสนจักรและรัฐยุคกลางให้ความคุ้มครอง อุปถัมภ์ และสนับสนุนการเผยแผ่
พูดในมุมกว้างออกไปคือ ศาสนาหลักๆ ของโลกเจริญรุ่งเรืองมาได้เพราะถูกทำให้เป็นศาสนาของชาติพันธุ์ ของนครรัฐ จักรวรรดิและรัฐชาติ (และยังแข่งขันกันพยายามทำให้กลายเป็นศาสนาของโลก) ซึ่งกลายเป็นพันธะระหว่างรัฐกับศาสนจักรต้องอุปถัมภ์ค้ำจุนกัน เป็นพันธะที่รัฐต้องมีหน้าที่อุปถัมภ์คุ้มครองและขจัด “ภัย” ต่างๆ ของศาสนา ขณะเดียวกันก็กลายเป็นพันธะของบรรดาผู้ใต้ปกครองหรือไพร่ ทาสที่ต้องเสียสละแรงงานและกำลังทรัพย์เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของศาสนา เช่นถูกเกณฑ์แรงงานมาสร้างวัด-วังที่อลังการมีหน้าตาจำลองแบบเมืองสวรรค์ชั้นฟ้าตามจินตนาการทางศาสนา เพราะถูกชนชั้นปกครองและศาสนจักรปลูกฝังให้เชื่อว่าศาสนาคือสิ่งเชื่อมโยงผู้คนเข้าเป็นพวกเดียวกัน หรือเป็นสมาชิกของรัฐเดียวกัน การเป็นคน “นอกรีต” จึงเป็นเรื่องผิดบาปที่สมควรตาย
เราจึงไม่ควรเข้าใจศาสนาแบบไร้เดียงสาว่า ศาสนาคือ “คำสอน” ที่สอนให้เป็นคนดี ละกิเลส เข้าถึงนิพพานหรือพระเจ้าเท่านั้น เพราะถ้าศาสนาเป็นเพียงคำสอน ก็ไม่จำเป็นต้องมีศาสนจักร และไม่จำเป็นต้องทำให้ศาสนาผูกโยงเป็นหนึ่งเดียวกับรัฐ หรือเป็น “รัฐศาสนา” แบบที่เคยเป็นมาและเป็นอยู่แต่อย่างใด ความจริงที่เราปฏิเสธไม่ได้ก็คือ เมื่อเกิดศาสนจักรและรัฐศาสนา อำนาจของศาสนจักรและรัฐศาสนาก็มักตรงกันข้าม หรือ “สวนทาง” กับคำสอนของพระศาสดาที่มุ่งให้ละกิเลส เข้าถึงนิพพาน รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตัวเอง ให้อภัยแก่ศัตรู รักสันติฯลฯ
สำหรับพุทธศาสนาไทย ถ้าเชื่อกันจริงๆ ว่า คำสอนเรื่อง “ทุกข์กับความดับทุกข์” คือ “แก่นแท้” ของพุทธศาสนา ก็ไม่จำเป็นต้องมีองค์กรปกครองสงฆ์ที่มีอำนาจทางกฎหมาย มีสมณศักดิ์หรือศักดินาพระ หรือไม่จำเป็นต้องผนวกพุทธศาสนาเป็นหนึ่งในอุดมการณ์หลักของชาติ เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนสวนทางกับคำสอนให้ปล่อยวาง ไม่ยึดติดอัตตา ละกิเลส บรรลุนิพพาน ปัญญาและกรุณาแทบทั้งนั้น
แท้จริงแล้วคำสอนเรื่องทุกข์และความดับทุกข์ของพุทธศาสนาย่อมดำรงอยู่ได้และอยู่ได้อย่างมีความหมายต่อชีวิตผู้คนมากกว่าหากแยกศาสนาจากรัฐ และเมื่อแยกศาสนาจากรัฐแล้ว ธรรมะ ศีลธรรมของพุทธศาสนาเองก็จะไม่ถูกนำมาอ้างอิงใช้ในทางที่ขัดหลักเสรีภาพและประชาธิปไตยแบบที่เป็นมาและเป็นอยู่
ในบ้านเราปัจจุบัน สิ่งที่สะท้อนว่า “กฎหมายไม่สู้พระธรรม” ก็คือมีการนำธรรมะ ศีลธรรมพุทธศาสนามาใช้ในทางการเมือง ซึ่งเป็นการนำเรื่องที่เป็น “ความดีส่วนบุคคล” มาใช้เป็น “ความดีสาธารณะ” แต่ก็ไม่สามารถเป็นความดีสาธารณะได้จริง เพราะอ้างธรรมะ ศีลธรรมแบบ “สองมาตรฐาน” คืออ้างเพื่อยกย่องชนชั้นนำฝ่ายอนุรักษ์นิยม และอ้างเพื่อจับผิดนักการเมืองที่ประชาชนเลือก
เมื่อพิจารณาด้วยหลักเหตุผล ธรรมะ ศีลธรรมที่เป็น “ความดีส่วนบุคคล” โดยตัวมันเองก็ไม่สามารถเป็นหลักการสาธารณะได้อยู่แล้ว เมื่อถูกนำมาใช้เสมือนเป็นหลักการสาธารณะ เช่นอ้างว่าชนชั้นนำฝ่ายอนุรักษ์นิยมเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมของนักการเมือง ข้าราชการ และประชาชนในชาติ เสมือนว่าแบบอย่างนั้นเป็น “แบบอย่างที่เป็นสาธารณะ” แต่ในความเป็นจริงกลับไม่มีความเป็นสาธารณะ เพราะประชาชนไม่สามารถตั้งคำถามวิจารณ์ตรวจสอบได้ด้วยหลักเสรีภาพอันเป็นหลักการสาธารณะ
เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้เกิดการแบ่งขั้วอำนาจภายในรัฐออกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายนักการเมืองที่ประชาชนเลือก ฝ่ายนี้มักจะถูกอ้างธรรมะ ศีลธรรมวิจารณ์ ตรวจสอบ และจับผิดเสมอ กับฝ่ายเครือข่ายอำนาจของชนชั้นนำอนุรักษ์นิยม ที่อ้างว่าพวกตนสมาทานธรรมะ ศีลธรรมตามแบบอย่างชนชั้นนำ คนเหล่านี้ก็จะกลายเป็น “คนดี” แต่การทำดีหรือทำถูกต้องของพวกเขาไม่จำเป็นต้องยึดโยงอยู่กับหลักการทั่วไปของสังคม คือหลักเสรีภาพ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และหลักนิติรัฐ
จอห์น สจ๊วต มิลล์ เขียนไว้ในบทที่ 5 ของ “On Liberty” ว่า “ถ้าไม่มีการยึดหลักการทั่วไปร่วมกัน ก็จะทำให้มีเสรีภาพในเรื่องที่ไม่ควรมีและไม่มีเสรีภาพในเรื่องที่ควรมี” ในโลกปัจจุบันหลักการทั่วไปที่เราต้องยึดถือร่วมกันคือ หลักเสรีภาพ (freedom) ประชาธิปไตย (democracy) สิทธิมนุษยชน (human rights) และหลักนิติรัฐ (rule of law) แต่เพราะบ้านเรานิยมอ้างธรรมะ ศีลธรรมอันเป็นความดีส่วนบุคคลเหนือหลักการทั่วไปดังกล่าว จึงทำให้คนส่วนหนึ่งเข้าใจว่าพวกตนมีเสรีภาพ (ในเรื่องที่ไม่ควรมี) เช่น เชื่อว่าพวกตนมีเสรีภาพสนับสนุนรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลจากการเลือกตั้ง มีเสรีภาพชุมนุมขวางเลือกตั้ง มีเสรีภาพสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการที่ละเมิดอำนาจ สิทธิ และเสรีภาพของประชาชน มีเสรีภาพสนับสนุนการเอาผิดนักการเมืองด้วยกระบวนการที่ขัดหลักนิติรัฐ ฯลฯ
แต่การสนับสนุนรัฐประหารหรือเผด็จการ คือการสนับสนุนการละเมิดสิทธิและเสรีภาพ เพราะในหลักสิทธิและเสรีภาพถือว่า “เราไม่มีสิทธิและเสรีภาพในการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของคนอื่น” การสนับสนุนรัฐประหารหรือเผด็จการจึงไม่ใช่เรื่องของการใช้สิทธิและเสรีภาพ มันคือการสนับสนุนการปล้นสิทธิและเสรีภาพของตนเองและทุกคน ซึ่งขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงหลักการแห่งสิทธิและเสรีภาพ
น่าเศร้าที่จนป่านนี้แล้ว สื่อ นักวิชาการ ปัญญาชน กวี นักเขียน ดารา นักร้อง พระ นักศีลธรรมจำนวนไม่น้อยในบ้านเรายังหลับหูหลับตาเชื่อว่าพวกตนมีสิทธิและเสรีภาพในการสนับสนุนรัฐประหารหรือเผด็จการ
ส่วน “เสรีภาพในเรื่องที่ควรจะมี” เช่น เสรีภาพในการพูด การแสดงออก การชุมนุมทางการเมือง สิทธิเลือกตั้งภายใต้กติกาที่เสรีและเป็นธรรม และอื่นๆ ก็ไม่มีอีกต่อไป เพราะเมื่อมวลมหาประชาชนฝ่ายที่อ้างธรรมะ ศีลธรรมสนับสนุน “คนดี” ให้ทำรัฐประหารได้สำเร็จ เสรีภาพที่ควรมีทุกอย่างก็เป็นอันถูกยกเลิกไป จึงเท่ากับประชาชนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร ต้านรัฐประหาร หรือเฉยๆ รวมทั้งมวลมหาประชาชนที่สนับสนุนรัฐประหารเองก็ไม่มีเสรีภาพที่ควรมีอีกต่อไป
ที่เป็นโศกนาฏกรรมแห่งยุคสมัยคือ ประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ยืนยัน “เสรีภาพที่ควรมี” คือการใช้เสรีภาพในการพูด การแสดงออก ยืนยันประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และหลักนิติรัฐต้องบาดเจ็บ ล้มตาย สูญเสียอิสรภาพ และหนีไปต่างประเทศ ซึ่งโศกนาฏกรรมเช่นนี้เกิดต่อเนื่องมายาวนาน ตั้งแต่หลัง 2475 จวบจนปัจจุบัน
นี่คือปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นใน “ประเทศที่กฎหมายสู้พระธรรมไม่ได้” เพราะสังคมนี้มีวัฒนธรรมทางความคิดแบบอำนาจนิยม นั่นคือมีค่านิยมในการอ้างธรรมะ ศีลธรรมพุทธศาสนา อันเป็น “ความดีส่วนบุคคล” ให้สำคัญกว่าการยึดถือหลักการสาธารณะคือหลักเสรีภาพ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และหลักนิติรัฐ
ท่อนหนึ่งของเพลงประเทศกูมีที่ว่า “ประเทศที่กฎหมายไม่สู้พระธรรมและไบเบิล” มันจึงไม่ใช่แค่การเสียดสี แต่คือการสะท้อนความเป็นจริงของปัญหาระดับรากฐานวัฒนธรรมทางความคิดและโครงสร้างอำนาจทางการเมืองของสังคมไทยที่แก้ยากมาก เพราะเราไม่มีเสรีภาพจะพูดถึงปัญหานี้อย่างตรงไปตรงมาและถึงที่สุด
| ['บทความ', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'สิทธิมนุษยชน', 'สุรพศ ทวีศักดิ์', 'กฎหมาย', 'ศาสนา', 'ประเทศกูมี'] |
https://prachatai.com/print/79503 | 2018-11-07 20:40 | เรียก ‘แกนนำแดงเสรีชน’ เข้าค่ายทหารที่อุบลฯ สอบเข้มที่มาปฏิทินยิ่งลักษณ์-ทักษิณ | เรียกแกนนำกลุ่มแดงเสรีชนเข้าค่ายสรรพสิทธิประสงค์ สอบประเด็นปฏิทินทักษิณ -ยิ่งลักษณ์ ระบุต้องการยับยั้งการเผยแพร่เอกสารที่เป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อย เหตุทั้งคู่เป็นผู้ต้องหาหลบหนีคดีของศาล ขณะที่ 'ประวิตร' เผยฝ่ายความมั่นคงกำลังเช็คว่าสร้างความแตกแยก-โฆษณาชวนเชื่อหรือไม่
ภาพขณะทหารสนธิกำลังกับฝ่ายปกครองกว่า 50 นาย เข้าตรวจค้นปฏิทินที่มีรูปของทักษิณ และยิ่งลักษณ์ วานนี้
7 พ.ย.2561 จากกรณีช่วงสายของวานนี้ ทหารสนธิกำลังกับฝ่ายปกครองกว่า 50 นาย เข้าตรวจค้นปฏิทินที่มีรูปของทักษิณ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จำนวนหนึ่ง พร้อมคุมตัวลูกชายของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งไปที่ สน.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ด้วย ซึ่งมติชนออนไลน์ระบุว่า พื้นที่ทำการตรวจค้นนั้นเป็นร้านอุดมแอร์ ของ รัฐวีร์ หรือ ชื่อเดิมรัตนา ผุยพรม อายุ 46 ปี อดีตแกนนำกลุ่มแดงเสรีชน เป็นเจ้าของร้าน พร้อมตรวจยึดปฏิทินดังกล่าว แต่เบื้องต้นยังไม่แจ้งข้อหาผู้ครอบครองเพียงยึดปฏิทินทั้งหมดห้ามแจก นั้น
ล่าสุด มติชนออนไลน์ รายงานว่า วันนี้ (7 พ.ย.61)เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร ได้นำหนังสือจากกองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22 กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดอุบลราชธานี ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ ลงนามโดย พ.อ.ชูชาติ อุปสารเสนาธิการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดอุบลราชธานี ทำการแทนผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดอุบลราชธานี เรื่อง เชิญเข้าพบปะเพื่อทำความเข้าใจเชิญตัว พรพิทักษ์ จันทาดีและ รัฐวีร์ หรือรัตนา ผุยพรม ที่กองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22 ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ (มทบ.22)
จากอุดรถึงอุบล ทหาร-ตร.-ฝ่ายปกครอง สนธิกำลัง บุกยึดปฎิทินรูปทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ [1]
งึดหลาย! ทหารตรวจสอบเสื้อแดงอุดร ถามเอาปฏิทิน 'ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์' มาจากไหน [2]
รัฐวีร์ เปิดเผยว่าได้เดินทางไปพบตามหนังสือเชิญโดยมี พ.อ.ชูชาติ อุปสารเสนาธิการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดอุบลราชธานี รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลฯ ผกก.สภ.วารินชำราบ และฝ่ายปกครอง อ.วารินชำราบ ซึ่งเข้าร่วมพูดคุย สอบถามในประเด็นปฏิทิน 2019 ที่มีรูปของทักษิณ -ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จำนวน 5,553 แผ่น โดยเจ้าหน้าที่ได้มีการสอบถามข้อมูลว่าเอามาจากไหน ใครเป็นคนทำรู้หรือไม่ว่าเป็นนักโทษหนีคดี โดยบอกว่าไม่อยากให้สร้างความแตกแยก รวมถึงสอบถามถึงเหตุผลที่นำเอาปฏิทินมา ตนก็ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบว่ามีคนส่งมาให้ และไม่ได้นำไปเดินแจก มีแต่ชาวบ้านทราบข่าวว่ามีปฎิทินก็มาขอไป และคาดแจกจ่ายให้ชาวบ้านไปแล้ว ประมาณ 400 แผ่น
มติชนออนไลน์ ยังรายงานด้วยว่า เจ้าหน้าที่ตรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ที่เข้าตรวจยึดปฏิทิน 2019 ที่มีรูปของ ทักษิณ -ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จำนวน 5,553 แผ่นนั้น อ้างว่าต้องการยับยั้งการเผยแพร่เอกสารที่เป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อย เนื่องจากทั้งคู่เป็นผู้ต้องหาหลบหนีคดีของศาล จึงไม่เหมาะสมที่จะนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยขณะนี้ ยังไม่พบหลักฐานว่าบุคคลใดเป็นคนทำปฏิทินแจกส่วนปฎิทินดังกล่าวทราบว่าเริ่มเข้ามาเผยแพร่ในกลุ่มมวลชนคนเสื้อแดง จ.อุบลราชธานี ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมแล้ว ก่อนเจ้าหน้าที่จะเข้าตรวจยึดในครั้งนี้
'ประวิตร' เผยฝ่ายความมั่นคงกำลังเช็คว่าสร้างความแตกแยก-โฆษณาชวนเชื่อหรือไม่
วันเดียวกัน โพสต์ทูเดย์ [3] รายงานว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีที่มีผู้ทำปฏิทินดังกล่าวออกมาแจกจ่ายว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงอยู่ระหว่างตรวจสอบว่า ถ้ามันผิดสร้างความแตกแยก ทำให้เกิดความไม่พอใจ ก็ว่ากันไปตามกฎหมาย ส่วนกระทบต่อความมั่นคงหรือไม่ อย่างไรนั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า "ฝ่ายความมั่นคงกำลังตามอยู่ว่าเป็นการสร้างความแตกแยก และเป็นการโฆษณาชวนเชื่อหรือไม่"
ต่อคำถามถึงมีข้อกังวลว่า ความแตกแยก จะทำให้บ้านเมืองกลับมาวุ่นวายอีก และ อาจทำให้เกิดการเลื่อนเลือกตั้ง นั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เลื่อนน่ะ ไม่เลื่อนแล้ว
"ถามทุกวัน เรื่องเลื่อน เลือกตั้งเนี่ย มั่นใจทุกวันอยู่แล้ว เมื่อวาน ก็ถาม วันนี้ก็ถามเดี๋ยวนี้จะถามอีกถามทุกวัน ก็มั่นใจทุกวันว่าไม่เลื่อน" พล.อ.ประวิตร กล่าว
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'ความมั่นคง', 'รัฐวีร์ ผุยพรม', 'กลุ่มแดงเสรีชน', 'ภัยต่อความสงบเรียบร้อย', 'ค่ายทหาร', 'ปฏิทินทักษิณ-ยิ่งลักษณ์', 'ประวิตร วงษ์สุวรรณ'] |
https://prachatai.com/print/79504 | 2018-11-07 21:16 | กกต. เผยหลัง 26 พ.ย. หากมีการยุบพรรคการเมือง สมาชิกหาสังกัดใหม่ได้ แต่หมดสิทธิลงสมัคร | กกต. กมธ.การเมือง สนช. ประชุมร่วมเตรียมความพร้อมสู่การเลือกตั้ง สนช. ตั้งคำถามหากหลัง 26 พ.ย. มีพรรคการเมืองถูกยุบ ผู้สมัครที่จะย้ายไปสังกัดพรรคอื่นจะมีปัญหาในการลงสมัครหรือไม่ กกต. แจงหากสังกัดพรรคการเมืองไม่ครบ 90 วันก่อนมีการเลือกตั้ง ถือว่าหมดสิทธิลง ส.ส. พร้อมเผย EU ขอส่งผู้สังเกตุการณ์ 200-400 คน แต่ กกต. ยังไม่ได้การประชุมหารือกัน
7 พ.ย. 2561 สำนักข่าวไทย [1] มติชนออนไลน์ [2] และผู้จัดการออนไลน์ [3] รายงานว่าตรงกันว่า พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวภายหลัง การประชุมร่วมระหว่าง คณะกรรมาธิการการเมืองสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และอนุกรรมาธิการด้านการเมือง อนุกรรมาธิการด้านระบบการเลือกตั้งและพรรคการเมือง อนุกรรมาธิการด้านองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ว่า มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในประเด็นความคืบหน้า การเตรียมความพร้อมของสำนักงานกกต. ตามหน้าที่และอำนาจตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง จำนวนและแนวโน้มของพรรคการเมืองที่จะส่งสมัครรับเลือกตั้ง ระยะเวลาสิ้นสุดการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง การดำเนินการตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง เงื่อนไขและกระบวนการยุบพรรคการเมือง การแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส.ปัญหาและอุปสรรค ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรต่อหน่วยเลือกตั้ง จากเดิม 800 คน เป็น 1,000 คน/หน่วยเลือกตั้ง ความคืบหน้าในการพัฒนาพนักงานของ กกต. ให้มีความพร้อม ในการปฏิบัติหน้าที่ในการสืบสวนและไต่สวน การดูแล และคุ้มครองพยาน กรอบระยะเวลาของการเลือก ส.ว. ที่เลือกกันเอง และระยะเวลาของการคัดเลือก ส.ว. ของ คสช.
ทั้งนี้มีรายงานว่า ในการหารือประเด็นที่ กมธ.การเมือง สนช. สนใจซักถามคือเรื่องการกำหนดวันที่ 24 ก.พ. 62 เป็นวันเลือกตั้งว่าเป็นมาอย่างไร และถ้าวันที่ 24 ก.พ. 62 เป็นวันเลือกตั้งผู้ที่จะลงสมัครส.ส.ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอย่าช้าที่สุดคือภายในวันที่ 26 พ.ย.นี้ แต่หากว่าหลังวันดังกล่าวพรรคการเมืองนั้นถูกยุบ การไปสังกัดพรรคการเมืองจะทำให้มีปัญหาในการลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ รวมถึง กกต. ได้มีการวางมาตรการป้องกันหรือรับมืออย่างไรกรณีหากเกิดการชุมนุมขัดขวางการเลือกตั้งเหมือนการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 57
ซึ่ง กกต.ได้ชี้แจงว่า วันที่ 24 ก.พ. 62 เป็นการคาดการณ์โดยพิจารณาจากวันที่พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.จะมีผลบังคับใช้ เพื่อเป็นการเร่งรัดการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานฯจะได้มีความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งมากที่สุดเท่านั้น แต่ที่สุดแล้ววันเลือกตั้งจะเป็นวันใดก็ขึ้นอยู่การประชุมตามข้อ 8 ของคำสั่ง คสช.ที่ 53/2560 หลัง พ.รป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มีผลบังคับใช้ ส่วนหากมีการยุบพรรคหลังวันที่ 26 พ.ย. สมาชิกก็ต้องไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคใหม่ แต่จะลงสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 24 ก.พ.ไม่ได้ เพราะถือว่าสังกัดพรรคการเมืองนั้นมายังไม่ถึง 90 วัน
สำหรับการรับมือกับการชุมนุมประท้วงต่างๆ นั้นได้ประสานงานกับหน่วยงานความมั่นคงในเรื่องการข่าว การรักษาความสงบเรียบร้อยอยู่แล้วโดยจะมีการสกัดกั้นไม่ให้มีการก่อตัวชุมนุมได้
นอกจากนี้ ทาง กกต. ยังได้ชี้แจงถึงเรื่องการขอเข้าสังเกตการณ์การเลือกตั้งขององค์กรต่างประเทศว่า ทางอียูได้ขอที่จะส่งผู้สังเกตการณ์เข้ามา 200-400 คน โดยขอที่จะไปสังเกตการณ์ในทุกพื้นที่ ซึ่งถือว่าจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ กกต. ยังไม่ได้การประชุมหารือกัน
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'การยุบพรรคการเมือง', 'จับตาการเลือกตั้ง', 'สนช.', 'กกต.'] |
https://prachatai.com/print/79505 | 2018-11-07 21:24 | กลุ่มชาติพันธุ์หนีการกดขี่ ไล่ล่าสารพัดในเวียดนามเพียงเพื่อมาถูกจับขังในไทย | ชาวมองตานญาด ชนพื้นเมืองในเวียดนามผู้หนีมายังกัมพูชาและไทย แสวงหาชีวิตที่ดีกว่าการถูกกดขี่สารพัดในประเทศต้นทาง แต่กลับถูกทางการไทยกักตัวไว้หรือส่งกลับประเทศ ด้านองค์กรสิทธิมนุษยชน อดีต รมว.กระทรวงการต่างประเทศไทยวิจารณ์การส่งกลับเช่นว่าไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา แต่เป็นการโรยเกลือใส่บาดแผล เกิดวงจรของบาดแผลซ้ำซ้อน
ซิวฮคลีเป็นหญิงชนพื้นเมืองมองตานญาด (Montagnard) อายุ 30 ปีจากประเทศเวียดนาม เธอถูกคุมขังอยู่ในสถานกักกันอันมีชื่อเสียงที่ไม่ดีของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (IDCs) ในกรุงเทพฯ ซิวฮคลีลี้ภัยมาจากเวียดนามเนื่องจากที่นั่นมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนคนพื้นเมืองอย่างพวกเธอ เธอพยายามสื่อสารกับคนที่เธอรักและสื่อกับคนทำงานด้านการกุศล
ซิวฮคลีตะโกนอย่างสุดเสียงว่าเธอรู้สึกกลัวมากในขณะที่เธอยังถูกขังในขณะที่ลูกๆ ของเธอยังอยู่ข้างนอก เธอบอกอีกว่าเธอไม่สนใจว่าจะได้ไปอยู่ที่ไหน ขอแค่ไม่ส่งตัวเธอกลับเวียดนามก็พอ มีผู้ลี้ภัยอีกรายหนึ่งที่ถูกจับเช่นกันที่บอกว่าถ้าพวกเขาถูกส่งกลับไปที่เวียดนาม พวกเขาจะถูกจับขังและถูกทารุณกรรม
องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ฟอร์ติฟายไรท์ ระบุว่าพวกเขาเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของชาวมองตานญาดจากจำนวน 85 คนที่ถูกจับกุมเมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมาที่ จ.นนทบุรี คนที่ถูกจับกุมมีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยผู้ถูกจับกุมที่แก่ที่สุดมีอายุราว 70 ปี นอกจากนี้พวกเขายังจับกุมชาวมองตานญาดที่เป็นเด็กอีก 47 คน โดยควบคุมตัวไว้ที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ชาวมองตานญาดหรือชาวเดการ์เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองผู้ถูกลืมจากที่ราบสูงทางตอนกลางของประเทศเวียดนาม คำว่ามองตานญาดที่แปลว่า "ชาวเขา" มาจากภาษาฝรั่งเศสช่วงยุคอาณานิคมที่ถูกใช้เรียกกันมาจนปัจจุบัน ชนพื้นเมืองกลุ่มนี้ถูกกดขี่จากรัฐบาลเวียดนามเพราะพวกเขาสนับสนุนสหรัฐฯ ในช่วงสงครามเวียดนามและถูกปราบปรามเนื่องจากนับถือศาสนาคริสต์ซึ่งทางการเวียดนามแปะป้ายว่าเป็นศาสนาใน "หนทางชั่วร้าย"
การละเมิดสิทธิมนุษยชนและรุกไล่พวกเขาออกจากที่อยู่อาศัย ทำให้มีจำนวนไม่น้อยหลบหนีมายังประเทศกัมพูชาและไทยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาเพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม พวกเขามักจะถูกส่งตัวกลับเวียดนาม หรือไม่ก็อาศัยเยี่ยงถูกกักตัวภายในบ้านที่กัมพูชาหรือสถานกักกันในไทย
ชาวมอนตานญาดหลายคนที่อยู่ในสถานกักกันแถบนอกเมืองกรุงเทพฯ พูดถึงความโหดร้ายที่พวกเขาเผชิญจนทำให้ต้องหนีออกจากเวียดนาม ชาวมอนตานญาดชื่อสินทุต อายุ 31 ปีเล่าว่าครั้งหนึ่งเขาเคยไปเยี่ยมพี่หรือน้องสาวเพราะเป็นห่วงสภาพความเป็นอยู่ หลังจากสามีของเธอทิ้งเธอไปและเคยมีตำรวจในท้องถิ่นข่มขืนเธอ แต่เมื่อเขาไปที่บ้านเธอก็พบว่าตำรวจคนเดิมข่มขืนเธออีก เขาพยายามเข้าไปสู้กับตำรวจนายนี้แต่ก็ถูกทำร้ายและถูกเอาปืนจี้ขู่ห้ามไม่ให้ไปบอกใคร ไม่เช่นนั้นเขาจะถูกฆ่าล้างครอบครัว
อีกกรณีหนึ่งเป็นชาวมองตานญาดที่ติดเชื้อเอชไอวี เขาเป็นผู้ที่ถูกเจ้าหน้าที่ทางการเวียดนามจับกุม 2 ครั้ง รวมถึงถูกถ่ายเลือดให้อย่างไม่จำเป็นจากโรงพยาบาลทหารหลังจากที่มีคนขับรถชนเขา ซึ่งเขาเชื่อว่าได้รับเชื้อเอชไอวีจากเหตุการณ์นี้ แต่ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ แต่ตามตำรวจในท้องที่ก็ไปปล่อยข่าวลือเรื่องที่เขามีเชื้อเอชไอวีให้ชุมชนในหมู่บ้านชาวคริสต์รับรู้
นอกจากกรณีเหล่านี้แล้ว ยังมีการพูดถึงเรื่องที่ทางการพยายามทำลายวิถีชีวิตของชาวมองตานญาดเช่น สั่งห้ามไม่ให้เด็กพูดภาษาจาไรซึ่งเป็นภาษาชนพื้นเมืองของพวกเขา บางครั้งก็ใช้ยุทธวิธีบีบให้ชาวมองตานญาดผู้ถูกจับส่งกลับประเทศให้พูดต่อต้านสหประชาชาติออกโทรทัศน์และเตือนไม่ให้คนอื่นหลบหนี นอกจากนี้ รัฐบาลเวียดนามยังมีการสอดแนมพื้นที่ที่ราบสูงภาคกลางอย่างเคร่งครัด ห้ามไม่ให้นักข่าวหรือคนทำงานสิทธิมนุษยชนเข้าไปในพื้นที่ได้ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานกรณีผู้ลี้ภัยมอนตานญาด
อย่างไรก็ตาม ทางการเวียดนามเองกลับเป็นผู้อวดอ้างเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนชนกลุ่มน้อยนี้อย่างเปิดเผย กลายเป็นข้อมูลให้กลุ่มสิทธิมนุษยชนอย่างฮิวแมนไรท์วอทช์นำมาเปิดเผยต่อชาวโลกในปี 2558 ที่ทางการเวียดนามอวดอ้างเรื่อง "การบุกค้นและไล่ล่า" ชาวมอนตานญาดหลายครั้งและ "จัดการกับผู้นำและสมาชิกสำคัญของพวกเขาอย่างจริงจัง"
ทางการไทยเองก็ไม่พ้นต่อการตกเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์ ฟิล โรเบิร์ตสัน รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุะว่า การไม่ยอมรับสถานะผู้ลี้ภัยของชาวมองตานญาดเปิดทางให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการคุมขังพวกเขาอย่างไม่มีที่สิ้นสุดแทนที่จะให้การคุ้มครองพวกเขา ผู้ลี้ภัยจำนวนหนึ่งอาจจะได้รับสถานะผู้ลี้ภัยจากยูเอ็น แต่เนื่องจากขาดเอกสารทางกฎหมายทำให้พวกเขาไม่สามารถไปเรียนหรือไปทำงานได้ ถูกบีบให้ต้องอยู่ด้วยการรับเงินบริจาคหรือลักลอบทำงานอย่างผิดกฎหมายทำให้เสี่ยงต่อการถูกกดขี่ นอกจากนี้ยังมีการพรากลูกซึ่งโรเบิร์ตสันชี้ว่าเป็นการละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของยูเอ็นด้วย
กษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยเคยเขียนบทความในบางกอกโพสต์วิจารณ์รัฐบาลว่า รัฐบาลไทยควรเลิกคิดถึงประเด็นผู้ลี้ภัยในมุมมองของความมั่นคงของประเทศ แต่ควรจะมองในมุมด้านมนุษยธรรม พวกเขาควรจะมองว่าผู้คนเหล่านี้หนีตายมาเพราะอยากมีชีวิตที่ดีภายใต้การคุ้มครองของประเทศพวกเราไม่ใช่ซ้ำเติมให้เกิดแผลใจมากขึ้นจากการคุมขังพวกเขา
เกรซ บุย อาสาสมัครโครงช่วยเหลือชาวมองตานญาดกล่าวว่า ผู้ลี้ภัยเหล่านี้มีโอกาสที่จะได้ไปประเทศอื่นๆ น้อยมาก เพราะผู้ลี้ภัยจากประเทศที่มีสงครามมักจะได้รับการพิจารณาก่อนเสมอ ทำให้ชาวมองตานญาดที่ถูกคุมขังอาจจะถูกคุมขังต่อไปอีกหลายปี
เรียบเรียงจาก
PERSECUTED IN HANOI, LOCKED UP IN BANGKOK: THE MONTAGNARDS, VIETNAM’S FORGOTTEN CHRISTIANS, South China Morning Post [1], Nov. 4, 2018
| ['ข่าว', 'สิทธิมนุษยชน', 'ต่างประเทศ', 'มองตานญาด', 'เดการ์', 'ผู้ลี้ภัย', 'สถานกักกัน', 'สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง', 'เวียดนาม', 'กัมพูชา', 'ไทย', 'อาเซียน'] |
https://prachatai.com/print/79506 | 2018-11-07 23:07 | สื่อนอกเล่าอันตรายคนข่าวในอาเซียน ถูกปิดปากด้วยกฎหมาย-ตายหลายร้อย | สื่อดิอาเซียนโพสท์แสดงเหตุผลว่าทำไมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพื้นที่อันตรายต่อคนทำงานด้านสื่อ หลังนักข่าวถูกสังหารไปแล้วอย่างน้อย 210 รายนับตั้งแต่ปี 2529 แต่ตัวการกลับลอยนวล ไม่นับการใช้กฎหมายปิดปาก ด้านดัชนีเสรีภาพสื่อนั้นต่ำเตี้ยเรี่ยดิน อยู่ไม่เกิน 60 ประเทศที่ย่ำแย่ที่สุด
โทรศัพท์มือถือกำลังถ่ายทอดสดการชุมนุมของคนอยากเลือกตั้ง (ที่มา: แฟ้มภาพ)
7 พ.ย. 2561 สื่อดิอาเซียนโพสท์รายงานสถานการณ์สื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่ามีความเสี่ยงหลายประการ ในหลายส่วนนั้น สื่อมวลชนเสี่ยงภัยเข้าไปทำข่าว
“สื่อกำลังอยู่ภายใต้ภัยคุกคามที่มากขึ้นทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเรื่องน่าขยะแขยงที่นักข่าวผู้กล้าหาญควรต้องเอาเสรีภาพส่วนบุคคล แม้กระทั่งชีวิตไปแขวนบนเส้นด้ายเพียงเพื่อจะทำงานของพวกเขา” เท็ดดี้ บากิลัท สมาชิกรัฐสภาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (APHR) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ฟิลิปปินส์กล่าว
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่นักข่าวเสี่ยงภัยอันตรายถึงชีวิต สถิติจากสถาบันสื่อมวลชนนานาชาติรายงานถึงความอันตรายในการเป็นสื่อที่ฟิลิปปินส์ว่า ตั้งแต่ปี 2529 เป็นต้นมา มีนักข่าวและคนทำงานสื่อถูกสังหารไปแล้ว 177 คน และมีถึง 47 คนที่เสียชีวิตในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา นอกจากนั้นฟิลิปปินส์ยังมีอัตราการรับผิดรับชอบต่อการสังหารย่ำแย่ที่สุดติด 1 ใน 5 ของโลกตามข้อมูลของคณะกรรมการปกป้องนักข่าว (CPJ) อีกสี่ประเทศนั้นได้แก่โซมาเลีย ซีเรีย อิรักและซูดานใต้ ฟิลิปปินส์จึงได้รับตำแหน่งประเทศที่อันตรายที่สุดสำหรับนักข่าวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หนึ่งเหตุการณ์ที่ถูกกล่าวขานคือ “การสังหารหมู่มากวินดาเนา” ในปี 2552 เมื่อขบวนรถหกคันที่บรรทุกนักข่าว ทนายควาและญาติของรองนายกเทศมนตรีมานกูดาดาตูถูกโจมตีโดยคนติดอาวุธจำนวน 100 คน เหตุการณ์จบลงด้วยโศกนาฏกรรมที่คร่าชีวิตคนไป 58 คน และ 34 คนเป็นนักข่าว จนถึงวันนี้ยังไม่มีใครรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าว
เมื่อ 7 มิ.ย. ที่ผ่านมา เดนนิส เดโนรา นักข่าวชาวฟิลิปปินส์ถูกสังหารจากมือปืนบนท้องถนน ขณะกำลังขับรถในเมืองปานาโป ในปี 2559 ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจด้านความปลอดภัยของสื่อมวลชนขึ้น แต่อีกทางหนึ่งก็สอบสวนและข่มขู่ว่าจะปิดสื่อแรปเปลอร์ สื่อที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของฟิลิปปินส์ด้วยข้อหาหนีภาษีและหมิ่นประมาท
ในกัมพูชามีนักข่าวถูกสังหารไป 13 คนตั้งแต่ปี 2537 หลายรายที่เสียชีวิตไปนั้นเป็นคนที่รายงานข่าวและสืบสวนกรณีการทุจริตของเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาล สำหรับไทยนั้น ตั้งแต่ปี 2541 มีนักข่าวถูกสังหารไปแล้ว 10 ราย
นักข่าวไม่ได้เสี่ยงชีวิตแค่อย่างเดียว แต่ยังเจอกับมาตรการปิดหากหลายอย่าง CPJ รายงาว่าเวียดนามเป็นประเทศที่ใช้มาตรการปิดปากได้เลวร้ายที่สุดประเทศหนึ่ง โดยตั้งแต่ปี 2559 มีนักข่าวและบล็อกเกอร์อย่างน้อย 16 คนถูกจับขังคุก ในพม่า วะลง และจ่อซออู สองนักข่าวรอยเตอร์ถูกศาลพิพากษาให้จำคุก 7 ปีเมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมาฐานฝ่าฝืนกฎหมายความลับทางราชการจากการรายงานข่าวทหารพม่าสังหารหมู่ชาวโรฮิงญา
จากสภาพที่เป็นก็ทำให้ทั้งภูมิภาคถูกจัดอันดับด้านเสรีภาพสื่อไว้ต่ำ ทุกประเทศในอาเซียนถูกจัดอันดับไว้มากกว่า 120 จาก 180 ประเทศในดัชนีเสรีภาพสื่อขององค์กรสื่อไร้พรมแดน (RSF) โดยสูงสุดนั้นคืออินโดนีเซีย (124) ต่ำสุดคือเวียดนาม (175) ส่วนไทยนั้นอยู่ที่อันดับ 140 จึงไม่ใช่เรื่องน่าตกใจที่เวลามีนักข่าวถูกสังหารแล้วจะไม่มีใครรับผิดชอบ เพราะแม้แต่เรื่องพื้นฐานอย่างเสรีภาพสื่อยังไม่ถูกรับประกัน
“รัฐบาลจะต้องทำมากกว่านี้เพื่อปกป้องนักข่าว และประกันว่าคนที่มีส่วนกับการสังหารคนทำงานสื่อจะถูกนำมารับโทษ หากทำได้น้อยกว่านั้นย่อมเป็นสัญญาณว่าอาชญากรรมเช่นนั้นเป็นที่ยอมรับ” บากิลัทกล่าว
รายงานเผยเสรีภาพสื่อในภูมิภาคน้อย เป็นงานอันตราย ไทยติดท็อป 3 คุกคามสื่อ
รายงานสถานการณ์สื่อในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [1]ที่จัดทำโดย SEAPA เผยแพร่ครั้งแรกในเดือน พ.ค. 2561 พบว่าเสรีภาพสื่อในภูมิภาคนี้ได้รับการจัดอันดับจากองค์กรสื่อนานาชาติอย่างองค์กรสื่อไร้พรมแดน (RSF) ในกลุ่มอันดับล่างๆ การทำงานในฐานะสื่อเป็นเรื่องเปราะบางต่อคนทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2560 SEAPA ได้บันทึกเหตุการณ์การข่มขู่ ไปจนถึงการโจมตีสื่อรอบภูมิภาคได้ถึง 128 กรณีด้วยกัน
กรณีการละเมิด หรือคุกคามสื่อนั้นถูกแบ่งเป็นการกำกับควบคุมผ่านกฎหมาย การเซ็นเซอร์เนื้อหาทั้งจากทางการและการเซ็นเซอร์ตัวเอง การดำเนินคดีกับสื่อ การข่มขู่ การทำร้าย และการฆ่า ซึ่งห้าประเภทนี้เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งสิ้น
ประเทศฟิลิปปินส์นำโด่งมาเป็นอันดับหนึ่ง หลังการขึ้นมาของประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต กลุ่มฐานเสียงของเขา รวมถึงรัฐบาลเองต่างสร้างความเกลียดชังต่อสื่อมวลชนทั้งในโลกออนไลน์และโลกความเป็นจริง ทั้งยังมีการฆ่านักข่าวด้วย ซึ่งถือเป็นกรณีที่ไม่ได้รับรายงานจากประเทศอื่นในภูมิภาค รองลงมาเป็นพม่าที่มีกรณีการดำเนินคดี จับกุมและกักขังนักข่าวรวม 11 กรณี อันดับสามเป็นประเทศไทย ที่มีกรณีการเซ็นเซอร์ ระงับใบอนุญาตประกอบการอาชีพสื่อ และแบนเนื้อหาบางประการรวม 7 กรณี
อย่างไรก็ตาม จาก 128 กรณีที่มีการบันทึก มีถึง 86 กรณีที่การคุกคามสื่อเกิดจากการกระทำของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นประมุขรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่นตำรวจ ทหาร หรือหน่วยงานด้านข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร การรายงานข่าวในเชิงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหรือการบริหารรัฐ ถูกเจ้าหน้าที่ภาครัฐมองเป็นเรื่องการต่อต้านรัฐบาล นำเสนอข่าวมีอคติและไม่ยุติธรรม หรือไม่ก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นการแทรกแซงจากต่างชาติ
นอกจากนั้น วาทกรรมเรื่องข่าวปลอม (Fake News) ที่เกิดขึ้นจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ถูกใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีสื่อที่นำเสนอข่าวที่ไม่พึงประสงค์ ยิ่งโหมกระพือการโจมตีสื่อทั้งในทางวจีกรรมและทางกฎหมายที่มีมานานแล้ว
แปลและเรียบเรียงจาก
Eijas Ariffin, Southeast Asia: Unsafe for journalists, The ASEAN Post [2], Nov. 7, 2018
| ['ข่าว', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'ต่างประเทศ', 'อาเซียน', 'เสรีภาพสื่อ'] |
https://prachatai.com/print/79507 | 2018-11-07 23:16 | เขาไม่ใช่อาชญากรโดยสันดาน 'บก.ลายจุด' เล่าถึง 'ป๊อปคอร์น' เมื่อครั้งพบที่คุก | สมบัติ บุญงามอนงค์ เล่าถึงมือปืนป๊อปคอร์น เมื่อครั้งพบกันที่เรือนจำตอน คสช. ยึดอำนาจใหม่ๆ ยันได้มีโอกาสคุยกับฮาร์ดคอร์ทั้งสองฝ่าย ไม่ถูกนักที่เขาเลือกใช้วิถีทางด้วยอาวุธ แต่ไม่เคยคิดว่าคนเหล่านี้เป็นอาชญากรโดยสันดาน เหตุสถานการณ์ทางการเมืองพาไป
7 พ.ย.2561 ภายหลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษากลับในคดีคดีมือปืนป๊อปคอร์นให้จำคุก วิวัฒน์ ยอดประสิทธิ์ (การ์ด กปปส.) ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นเวลา 37 ปี 4 เดือน ขณะนี้จำเลยถูกจำคุกระหว่างดำเนินคดีแล้วประมาณ 4 ปี ซึ่ง พวงทิพย์ บุญสนอง ทนายความ ยังยืนยันกับ 'ประชาไท' ว่ามีการถูกซ้อมจำเลยให้รับสารภาพจริง แต่ไม่มีการดำเนินคดีมาตั้งแต่ต้นเพราะไม่มีพยานหลักฐาน จำเลยได้ร้องเรียนไปทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ซึ่งทางคณะกรรมสิทธิฯ ก็ได้ไปตรวจสอบ แต่ก็ยังไม่เห็นความเห็นของคณะกรรมการสิทธิฯ ต่อเรื่องนี้
เมื่อเวลา 20.57 น. สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด แกนนำกลุ่มการเมืองที่อยู่ตรงข้ามกับ กปปส. นั้น โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว [1]ในลักษณะสาธารณะหัวข้อ "ผมเรียกเขาว่า "ป๊อปคอร์น" เล่าถึงประสบการณ์ที่ได้พบ วิวัฒน์ ขณะเข้าเรือนจำตอนที่ คสช. ยึดอำนาจใหม่ๆ สมบัติ ชี้ว่า ในชีวิตทางการเมือง ตนเองได้มีโอกาสคุยกับฮาร์ดคอร์ทั้งสองฝ่าย ซึ่งมันไม่ถูกนักที่คนเหล่านี้เลือกที่จะใช้วิถีทางด้วยอาวุธและความรุนแรง แต่ตนไม่เคยคิดว่าคนเหล่านี้เป็นอาชญากรโดยสันดาน ทั้งหมดนี้เป็นเพราะสถานการณ์ทางการเมืองมันพาไป
รายละเอียดที่ สมบัติ เล่าถึงประสบการณ์ที่ได้คุยกับ วิวัฒน์ มีดังนี้
เมื่อก่อนเวลาผมพูดถึงเขาผมจะเรียกเขาว่า "คนที่สื่อเรียกเขาว่ามือปืนป๊อปคอร์น" เนื่องจากเขายังอยู่ในกระบวนการยุติธรรม และการที่ผมเคยอยู่ในเรือนจำเดียวกับเขาแล้วเอาบทสนทนาระหว่างเรามาเล่าสู่กันฟังภายนอกอาจจะไม่ยุติธรรมกับเขาในด้านคดี
แน่นอนว่าหลายคนสงสัยว่าเสื้อแดงอย่างผมจะไปนอนคุยกับมือปืนป๊อปคอร์นได้อย่างไร ซึ่งหากไม่ได้อยู่ในเรือนจำเดียวกันมันเป็นไปไม่ได้เลย แต่การอยู่ในคุกทุกคนจะถูกถอดบทบาทออก เราต่างก็เป็นผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกัน แม้ข้างนอกจะอยู่กันคนละขั้วก็ตามที
ผมเข้าเรือนจำตอนที่คสช ยึดอำนาจใหม่ๆแล้วผมไม่ยอมไปรายงานตัว หลังจากไปนอนค่ายทหารจนครบกำหนดเขาก็ส่งตัวมาเรือนจำ ตอนนั้นเสื้อแดงถูกจับเต็มคุก ส่วนป๊อปคอร์นเขาอยู่มาก่อนแล้ว หลายคนชี้ให้ผมดูว่า นั่นไงมือปืนป๊อบคอร์นที่นั่งอยู่บริเวณหน้าแดน1 เนื่องจากผู้คุมระมัดระวังการกระทบกระทั่งกัน
บทสนทนาครั้งแรกเกิดขึ้นที่มุมสูบบุหรี่หน้าห้องน้ำ ผมเอ่ยปากทักทายเขา "สวัสดีป๊อปคอร์น" เขายิ้มรับการทักทายเล็กน้อย ผมใช้เวลาอีก 1-2 ครั้งเวลาเจอกัน แล้วบทสนทนาเต็มรูปแบบก็เกิดขึ้น
ป๊อปคอร์นปฏิเสธว่าเป็นกองกำลังที่ผ่านการฝึกฝนตามข่าวลือที่มีมาก่อนหน้านี้ เขาเพียงมาร่วมการต่อสู้เหมือนกับประชาชนคนอื่นๆ และบังเอิญสถานการณ์บีบคั้นให้เขาต้องมาทำหน้าที่ในการดูแลรักษาความปลอดภัยบริเวณเวทีแจ้งวัฒนะ เขาร้องขอความเข้าใจจากผมด้วยเหตุผลว่า เมื่อสถานการณ์ที่เวทีถูกกองกำลังไม่ทราบฝ่ายแต่ก็ระบุได้ชัดเจนว่าเป็นโกตี๋เข้าก่อกวนหลายครั้งและมี M 79 ตกที่หลังเวทีนับครั้งไม่ถ้วน การมีกองกำลังป้องกันตนเองจึงมีความชอบธรรม
แม้แต่เหตุการณ์ที่มีผู้บริสุทธิ์ถูกทำร้ายในบริเวณใกล้เคียงกันกับเวที เขาก็อธิบายว่าทีมการ์ดอยู่ในสภาวะหลอน(เขาใช้คำนี้) ดังนั้นทุกอย่างเกิดขึ้นได้แม้ไม่ตั้งใจ
ในช่วงกลางวันก่อนที่จะเข้าไปนอนในห้องขัง มีวันหนึ่งเขาเป็นไข้สูง นอนซมอยู่ในมุมตึก ผมเลยไปหายาพารามาให้เขา 2 เม็ด คนที่ให้ผมเคืองผมอยู่ไม่น้อยที่มาทราบภายหลังว่าผมเอาไปให้ป๊อปคอร์น ซึ่งต่อมาพี่สมยศเล่าให้ผมฟังว่า การที่ผมเขียนเล่าเรื่องยาพาราทำให้เกิดการกวาดล้างเรือนจำครั้งใหญ่ เพราะยาพาราไม่ใช่สิ่งที่ได้อนุญาตให้มาเก็บกันแบบนี้
ป๊อปคอร์นมีความมั่นใจเสมอเมื่อพูดถึงคดีของเขา และบอกกับผมว่าเขาจะได้ประกันตัวก่อนผมแน่นอน และทนายมีทางออกให้ในทางคดี ไม่ใช่ผมไม่เชื่อเขา แต่ข้อเท็จจริงคือผมออกเรือนจำก่อน และเขาถูกตัดสินจำคุก 37 ปีในวันนี้
เอาเป็นว่าในชีวิตทางการเมือง ผมได้มีโอกาสคุยกับฮาร์ดคอร์ทั้งสองฝ่าย มันไม่ถูกนักที่คนเหล่านี้เลือกที่จะใช้วิถีทางด้วยอาวุธและความรุนแรง แต่ผมไม่เคยคิดว่าคนเหล่านี้เป็นอาชญากรโดยสันดาน ทั้งหมดนี้เป็นเพราะสถานการณ์ทางการเมืองมันพาไป
ผู้เดินทางสายเหยี่ยวต้องรับผิดชอบต่อผลการกระทำของตน แต่ผมก็ยังอยากเห็นการให้โอกาสคนเหล่านี้ในฐานะเหยื่อของสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองได้กลับมาใช้ชีวิตเยี่ยงสามัญชนทั่วไปนอกรั้วเรือนจำในวันใดวันหนึ่ง
‘มือปืนป๊อปคอร์น’ ฎีกากลับจำคุก 37 ปี 4 เดือน ทนายยันถูกซ้อมให้สารภาพแต่ไม่มีหลักฐาน [2]
ทนาย คปท.เผย ‘มือปืนป๊อบคอร์น’ ถูกซ้อมให้สารภาพ [3]
‘ลุงอะแกว’ เหยื่อกระสุน ‘ศึกชิงคูหาเลือกตั้งหลักสี่’ เสียชีวิตแล้ว หลังอัมพาตมากว่า 7 เดือน [4]
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เหตุการณ์ที่นำมาซึ่งคดีนี้มาจากเหตุในวันที่ 1 ก.พ. 2557 การชิงคูหาเลือกตั้ง ย่านแจ้งวัฒนะ กันระหว่างฝ่าย กปปส. กับคนเสื้อแดงที่นำโดย ‘โกตี๋’ หรือ วุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ ในเหตุการณ์ปะทะมีการบันทึกภาพชายฉกรรจ์ปิดบังใบหน้าถืออาวุธปืนจำนวนหนึ่ง และหนึ่งในนั้นซุกซ่อนอาวุธปืน ไว้ในกระสอบป๊อปคอร์น ถุงสีเขียวเหลือง เดินมายังแยกหลักสี่ ซึ่งถูกประกาศให้เป็นพื้นที่เหตุการณ์กระทบความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และมีการยิงปืนเข้าไปในบริเวณศูนย์การค้าไอที สแควร์ ในเหตุการณ์ปะทะนั้น มี สมบุญ สักทอง, อะแกว แซ่ลิ้ว, นครินทร์ อุตสาหะ และพยนต์ คงปรางค์ ได้รับบาดเจ็บสาหัส โดยที่ต่อมา อะแกว เสียชีวิต
ภาพตัวอย่างที่ถูกระบุว่าเป็นกลุ่มติดอาวุธนอกจาก วิวัฒน์
หลังจากศาลฎีกาพิพากษากลับจำคุก วิวัฒน์ ไปแล้ว เดลินิวส์ [5] รายงานปฏิกิริยา จาก ฝ่าย สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการกปปส.รวมทั้งกลุ่มที่เคยเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่าง สุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือ อดีตหลวงปู่พุทธอิสระ ก็ยังไม่มีความเห็นในเรื่องดังกล่าวอีกด้วย
ขณะที่ตรวจสอบล่าสุดเมื่อเวลา 22.50 น. ทั้ง 2 เพจของ สุเทพ และสุวิทย์ ยังไม่มีการโพสต์ถึงคำพิพากษานี้เช่นกัน
หลังเหตุการณ์วันที่ 1 ก.พ.2557 วิวัฒน์ ถูกจับกุมประมาณ 1 เดือนต่อมา สุเทพ กล่าวว่าไม่รู้จักวิวัฒน์ แต่ที่ชื่นชม ‘มือปืนป๊อปคอร์น’ เพราะเห็นว่าออกมาปกป้องประชาชน อย่างไรก็ตามการที่มือปืนป๊อปคอร์นสารภาพ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะถูกช็อตไฟฟ้าหรือไม่ ต้องไปดูตามร่างกายว่ามีร่องรอยอะไรหรือเปล่า เพราะไม่แน่ ตำรวจอาจจะบังคับให้ซัดทอดว่า สุเทพ เป็นคนสั่งการ
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'มือปืนป๊อบคอร์น', 'วิวัฒน์ ยอดประสิทธิ์', 'สมบัติ บุญงามอนงค์', 'อาชญากรโดยสันดาน', 'ฮาร์ดคอร์', 'กปปส.'] |
https://prachatai.com/print/79508 | 2018-11-08 12:28 | ปธ.สภานิสิตจุฬาฯ-เพนกวิน เผยถูกห้ามพูดกับ นร.ม.ปลายในงานเปิดบ้านกิจกรรม มช. | ธนวัฒน์ วงศ์ชัย ประธานสภานิสิตจุฬาฯ - พริษฐ์ ชิวารักษ์ เผยถูกห้ามเข้าบรรยายแนะนำคณะในงานกิจกรรมเปิดบ้านที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้ง 2 คาดถูกมองว่าจะสร้างความปั่นป่วนให้กับคณะ มหาวิทยาลัยและประเทศชาติ หน้าห้องคณบดีระบุ ไม่ออกแถลงการณ์-ไม่ให้สัมภาษณ์สื่อ (มีภาพงานท้ายข่าว)
(ซ้ายไปขวา) ธนวัฒน์ วงศ์ไชย และพริษฐ์ ชิวารักษ์ สมัยทำกิจกรรมยืนกินมาม่าประท้วงเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา (ที่มา: Facebook/Tanawat Wongchai [1])
8 พ.ย. 2561 มีการโพสต์บนบัญชีเฟสบุ๊ก ธนวัฒน์ วงศ์ไชย ประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่าเขาถูกผู้ช่วยคณบดีรัฐศาสตร์ห้ามไม่ให้เข้าบรรยายในงานกิจกรรมเปิดบ้าน (โอเพ่นเฮาส์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ที่เขาและพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน นักศึกษา นักกิจกรรมจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โดยอ้างว่าพวกเขาจะเข้าไปสร้างความปั่นป่วนให้กับคณะ มหาวิทยาลัยและประเทศชาติ
ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยังธนวัฒน์และพริษฐ์ โดย ธนวัฒน์ ระบุว่า พวกเขาได้รับเชิญให้ไปบรรยายหัวข้อ “วงจรอุบาทว์กับการเมืองไทย” ในงานโอเพ่นเฮาส์ของคณะรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นงานแนะนำคณะให้กับนักเรียนมัธยมปลายที่มีความสนใจ โดยมีกำหนดการบรรยายในวันนี้และวันพรุ่งนี้ แต่เมื่อไปถึงพบว่ามีอาจารย์ที่เป็นผู้ช่วยคณบดียืนอยู่หน้าห้องและไม่ให้เข้าไปบรรยาย โดยอ้างว่าเขาและพริษฐ์จะมาแจกปฏิทินยิ่งลักษณ์-ทักษิณ ให้กับผู้เข้าร่วม ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะคนเข้าร่วมเป็นหลักร้อยและเขาเดินทางมาพร้อมกระเป๋าถือแค่นั้น
ประธานสภานิสิตจุฬาฯ กล่าวต่อไปว่า จากนั้นอาจารย์คนเดิมบอกว่าเขาและพริษฐ์จะเข้าไปพูดเพื่อสร้างความปั่นป่วนให้กับมหาวิทยาลัย รัฐบาลและประเทศชาติ ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้ เพราะหัวข้อที่พูดนั้นมีการกำหนดไว้แล้วข้างต้น อาจารย์คนดังกล่าวยังชี้หน้าข่มขู่เด็กนักศึกษาทุนไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรม โดยขู่ว่าถ้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองแล้วจะไม่ได้รับทุน ซึ่งธนวัฒน์เห็นว่าการทำเช่นนี้เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ และเลวร้ายมากสำหรับคนที่ทำงานเป็นอาจารย์
ธนวัฒน์ยังระบุว่า ชื่อเสียงของ มช. จะไม่เสียหายด้วยการพูดความจริง แต่จะเสียหายเพราะมีการปิดกั้นสิทธิและเสรีภาพ
ด้านพริษฐ์กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า หากไม่ได้รับอนุญาตให้บรรยายในห้องได้ ก็จะหาทางอื่นสื่อสารเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยอาจจะไปยืนพูดหน้าห้องแทน ส่วนตัวเขานั้น เคยมาร่วมกิจกรรมที่ มช. หลายครั้ง มีเวทีเสวนาที่สร้างสรรค์และก้าวหน้าหลายเวที ชื่อเสียงที่ดีเหล่านี้ไม่ควรถูกทำให้เสียหายด้วยคนเพียงคนเดียว ขอให้อาจารย์ที่ยังไม่ให้พวกเขาเข้าไปบรรยายนั้นทบทวนว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ ในฐานะนักวิชาการก็ควรจะส่งเสริมพื้นที่ทางปัญญา
สำหรับ ผู้ช่วยคณบดีรัฐศาสตร์ห้ามไม่ให้เข้าบรรยายดังกล่าวนั้น พริษฐ์ โพสต์ผ่านเฟสบุ๊กระบุชื่อว่า อาจารย์ รวีวรรณ แพทย์สมาน ผู้ช่วยคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพนักศึกษา
ต้น (นามสมมติ) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มช. ทำหน้าที่ผู้ประสานงานภาควิชาการเมืองการปกครองประจำงานโอเพ่นเฮาส์ กล่าวว่า กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่จัดทั้งมหาวิทยาลัย ในส่วนภาคการเมืองการปกครองนั้นจัดนิทรรศการกันในธีม “กงจักรปีศาจ” และมุ่งเนื้อหาไปเรื่องวงจรอุบาทว์ของการเมืองไทย แบ่งแสดงนิทรรศการเป็นส่วนๆ นำเสนอภาพส่วนใหญ่เป็นเรื่องการรัฐประหารปี 2557 ว่ามีกลุ่มไหนบ้างออกมาเคลื่อนไหว เสียงของคนรุ่นใหม่มีความสำคัญอย่างไร ซึ่งธนวัฒน์และพริษฐ์ได้รับเชิญมาพูดสรุปในช่วงบ่ายว่าเสียงคนรุ่นใหม่สำคัญกับการเลือกตั้งอย่างไร
ต่อประเด็นสาเหตุการไม่ให้เข้านั้น ต้นระบุว่า มีคนนำภาพเฟซบุ๊กที่ทั้งสองคนนำปฎิทินยิ่งลักษณ์-ทักษิณ ไปถ่ายภาพหน้ากระทรวงกลาโหมไปให้อาจารย์ดู และทำให้อาจารย์เข้าใจผิดว่าทั้งสองจะเข้ามาใช้พื้นที่คณะเพื่อทำกิจกรรมของพวกเขาเอง ทางนักศึกษาก็ได้ชี้แจงแล้ว แต่อาจารย์ก็มีการข่มขู่ว่าจะแจ้งข้อหาบุกรุกโดยไม่ขออนุญาตเจ้าของสถานที่
ล่าสุด (เมื่อ 12.20 น.) ต้นเล่าว่าล่าสุดทางอาจารย์ได้อนุญาตให้ทั้งสองเข้างานได้แล้ว แต่ยังไม่ทราบว่าจะยังมีกิจกรรมตามที่กำหนดไว้หรือไม่ ด้านธนวัฒน์ระบุว่า ขณะนี้กำลังดูว่าจะมีเงื่อนไขใดๆ เพิ่มเติมหรือไม่ก่อนจะตัดสินใจ
จากการตรวจสอบเพิ่มเติบพบว่ามีนักศึกษาผู้จัดงานออกจดหมายเชิญ ธนวัฒน์ มาเป็นวิทยากร โดยไม่ใช่หนังสือเชิญอย่างเป็นทางการจากคณะ
ล่าสุด วันที่ 9 พ.ย. 2561 ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยังคณะรัฐศาสตร์ มช. เพื่อขอทราบความเห็นของคณบดี เจ้าหน้าที่หน้าห้องคณบดีที่รับโทรศัพท์ระบุว่าจะไม่มีการออกแถลงการณ์และให้สัมภาษณ์โดยตรงกับทางสื่อมวลชน
ภาพในงาน (ที่มาภาพ: School of Politics and Government CMU [2])
หมายเหตุ
เมื่อเวลา 14.10 น ประชาไทอัพเดทข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมทั้งปรับแก้พาดหัว จาก "ปธ.สภานิสิตจุฬาฯ-เพนกวิน ถูกห้ามพูดที่ มช. หวั่นแจกปฏิทินยิ่งลักษณ์-ทักษิณ" เป็น "ปธ.สภานิสิตจุฬาฯ-เพนกวิน เผยถูกห้ามพูดกับ นร.ม.ปลายในงานเปิดบ้านกิจกรรม มช." รวมทั้งปรับแก้ในส่วนของโปรยข่าว
เมื่อ 9 พ.ย. เวลา 15.12 น ประชาไทอัพเดทข้อมูลการโทรศัพท์ติดต่อกับหน้าห้องคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มช. และใส่รูปภาพงาน Open House เพิ่มเติม
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'การศึกษา', 'สิทธิมนุษยชน', 'ธนวัฒน์ วงศ์ไชย', 'พริษฐ์ ชิวารักษ์', 'มหาวิทยาลัยเชียงใหม่', 'เสรีภาพทางวิชาการ', 'เสรีภาพการแสดงออก', 'ปฏิทินยิ่งลักษณ์-ทักษิณ'] |
https://prachatai.com/print/79509 | 2018-11-08 13:05 | ใบตองแห้ง: ปราบโกงพิธีกรรม | มหาวิทยาลัยทั่วประเทศออกมาโวย ประกาศ ปปช.ฉบับใหม่ บังคับกรรมการสภามหาวิทยาลัยต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สิน จะทำให้กรรมการลาออกนับร้อยคน จนรัฐบาลต้องส่งมืออภินิหารทางกฎหมาย วิษณุ เครืองาม ไปคุยกับประธาน ปปช. เพื่อหาทางออกให้
ที่จริงไม่ใช่แค่กรรมการสภามหาวิทยาลัย บอร์ด สปสช.ก็ลาออกไปแล้ว 4 คน เพราะประกาศฉบับนี้ครอบคลุมทุกหน่วยงานองค์กรของรัฐ มหาวิทยาลัย แบงก์ชาติ ก.ล.ต. กกพ. กสทช. กองทุน และองค์การมหาชนต่าง ๆ
ในมุมหนึ่ง ก็น่าขำ “ไม่ได้ทำผิดแล้วกลัวอะไร” ทีนักการเมืองละก็ ไล่ล่ากันจัง มหาวิทยาลัยปัจจุบันทำมาค้าขายหลักสูตร มีผลประโยชน์ใหญ่โตกว่า อบต.หรือเทศบาลตั้งหลายเท่า แถมสภามหาวิทยาลัยหลายแห่งก็เป็น “สภาเกาหลัง” เป็นฐานอำนาจของอธิการบดี ที่งอกรากสืบทอดอำนาจแทบตายคาเก้าอี้
เพียงแต่ถ้ามองภาพรวม ถึงทุกมหาวิทยาลัย ทุกหน่วยงานที่ต้องยื่นบัญชี ก็มีด้านที่น่าเห็นใจ เพราะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่ ไม่ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งประจำ ไม่ได้ทำมาหากินเป็นอาชีพ เหมือนอย่างกรรมการ ปปช. หรือองค์กรอิสระ ที่มีเงินเดือนเงินประจำตำแหน่ง งบรับรองเหมาจ่าย เดือนละเกือบสองแสน
กรรมการสภามหาวิทยาลัยรับแค่เบี้ยประชุม บางแห่งรับเดือนละสองพัน โดยมีงานประจำหรือทำธุรกิจอื่นหลากหลาย ถามว่าคุ้มกันไหม ที่จะต้องมานั่งทำบัญชีทรัพย์สิน ส่ง ปปช.ตรวจสอบ ส่งผิดส่งพลาดส่งไม่ครบ มีโอกาสติดคุกอีกต่างหาก ถ้าเผื่อมีสามีภรรยานอกสมรสยิ่งลำบาก เท่ากับลาก ปปช.ไปไล่บี้ชีวิตส่วนตัวคุณ
ฉะนั้น ถ้าเป็นคนไม่มีผลประโยชน์ ไม่อยากยุ่งยาก ก็จะมารับเบี้ยประชุมเดือนละสองพันให้เดือดร้อนทำไม
ในขณะเดียวกัน ถ้าเปรียบเทียบตำแหน่งต่าง ๆ ตามประกาศ ปปช. ก็ยังเป็นเรื่องขำ ๆ ที่ตั้งคำถามได้ว่า กรรมการหอภาพยนตร์ กรรมการสถาบันแสงซินโครตอน มีประโยชน์โพดผลอะไรนักหนา จนต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สิน ในขณะที่ทหารตำรวจ ต้องแจ้งเพียงผู้บัญชาการเหล่าทัพ กับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ขณะที่แม่ทัพภาค ผบ.พล หรือผู้บัญชาการตำรวจภูธร นครบาล ตม. ผู้การจังหวัด ซึ่งน่าจะให้คุณให้โทษได้ยิ่งกว่ากรรมการสภามหาวิทยาลัย ไม่ยักต้องแจ้ง
ประเด็นสำคัญของการแจ้งบัญชีทรัพย์สิน คือมันกลายเป็นเรื่องเอาเป็นเอาตาย กับการไม่แจ้ง หรือแจ้งไม่ครบ ซึ่งกลายเป็นความผิดอาญา แบบนักการเมืองท้องถิ่นที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินลงโทษระนาว จำคุก 2 เดือนบ้าง 4 เดือนบ้าง แต่รอลงอาญา พร้อมตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี
การไล่บี้บัญชีทรัพย์สิน แทบจะกล่าวได้ว่าเป็นงานรูทีนของ ปปช. เอาผิดแจ้งเท็จ จงใจไม่แจ้ง แต่ไม่ยักพิสูจน์ได้ว่า ทรัพย์สินเหล่านั้นทุจริตฉ้อโกงมาหรือไม่
ส่วนที่โกงจริง ๆ ปปช.ก็ไม่ค่อยจะจับได้ มีแต่ต่างชาติจับส่งให้ เช่นอดีตผู้ว่า ททท. เช่นสินบนโรลสรอยซ์ หรือฟลุค โจรปล้นบ้านอดีตปลัดคมนาคม เด็กฝึกงานแฉโกงเงินคนจน นอกนั้น ก็เป็นคดีการเมืองซึ่งใช้วิธีตีความกฎหมายเอาผิดกันเสียมากกว่า
การแจ้งบัญชีทรัพย์สิน ที่จริงเป็นเรื่องสปิริตทางการเมือง หากถูกจับได้ว่าแจ้งเท็จ ก็ควรถูกลงโทษทางการเมือง หรือทางวินัย มีผลต่อตำแหน่งหน้าที่ ไม่ใช่ความผิดอาญา เว้นแต่เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการทุจริต
ประเทศนี้บ้าจี้พิธีกรรม ต้องการอวดว่าปราบโกง มีองค์กรสูงส่งไว้ไล่จับ ติดดาบเสริมเขี้ยวเล็บจนเป็นอำนาจหยุมหยิม จะไล่บี้กระทั่งคู่สมรสไม่จดทะเบียน แต่คนไทยก็ชอบ เพราะเชื่อยาแรง
อ้าว แต่ทีตรวจสอบเรื่องนาฬิกา ผ่านมาเกือบปี ยังพูดได้ว่า ขอเวลาอีกไม่นาน
เผยแพร่ครั้งแรกใน: ข่าวหุ้นธุรกิจ https://www.kaohoon.com/content/261066 [1]
| ["'ใบตองแห้ง' ออนไลน์", 'การเมือง', 'สังคม', 'การศึกษา', 'สภามหาวิทยาลัย', 'การแสดงบัญชีทรัพย์สิน', 'ปปช.', 'ใบตองแห้ง'] |
https://prachatai.com/print/79511 | 2018-11-08 13:32 | พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์: โมฆะบุรุษผู้มาจากอเมริกา | ห้องสมุด Clark County ลาสเวกัส รัฐเนวาดา บนถนน Flamingo ตัดกับ Eastern Ave. คือที่สถิตของผมเมื่อหลายปีก่อน อาคารอันโอ่โถงถูกสร้างไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามตามแบบอย่างศิลปะฮีสแปนิกส์ อาคารทรงสเปน ท่ามกลางบรรยากาศเงียบสงบ เข้าไปคุณจะเห็นเซ็คชันสื่อคอมพิวเตอร์หรือ E-library ก่อนอื่น อยู่รอบๆ เค้าน์เตอร์เจ้าหน้าที่ห้องสมุดที่เป็นพนักงานประจำ
บรรยากาศของห้องสมุดแห่งนี้ช่างตัดกับบรรยากาศ ลาสเวกัสสตริพ ดุจดังฟ้ากับเหว คือในขณะที่ลาสเวกัสเป็นเมืองโลกีย์ แต่ห้องสมุดเป็นเสมือนศูนย์รวมหรือแหล่งวิชาการ แค่นี้ก็มากพอทำให้เกิดภาพตัดกันอย่างมีนัยสำคัญ เพราะนอกจากสถาบันวิชาการหลักในเมืองบาปแห่งนี้ อย่าง UNLV หรือมหาวิทยาลัยเนวาดา ลาสเวกัสแล้ว สถาบันเชิงความรู้อื่นๆ แทบไม่มีเอาเลย
ในฐานะกะเหรี่ยงไทย ชาวบ้านธรรมดาๆ คนหนึ่งในเมืองนี้ ผมเลยได้ใช้ห้องสมุดของ Clark County เป็นที่พึ่งพาในทางความรู้ นอกเหนือไปจาก the Las Vegas Review journal สื่อ (หนังสือพิมพ์) หลักประจำท้องถิ่นของที่นี่ ซึ่งก็น่าแปลกใจอย่างยิ่งว่า แทบไม่เห็นคนไทย มายุ่งเกี่ยวหรือมีกิจกรรมใดๆ ที่ห้องสมุดแห่งนี้เลย ในขณะที่ทางห้องสมุดได้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับงานเขียนหรือหนังสืออยู่เนืองๆ เป็นประจำแทบทุกเดือน
ผมเชื่อว่า ส่วนหนึ่งของการไม่มาสัมผัสความรู้ในฝั่งท้องถิ่นอเมริกันของคนเชื้อสายไทยส่วนหนึ่งเกิดจากภารกิจหรือหน้าที่การงานประจำวัน เช่น ทำงานในร้านอาหาร ทำงานในบ่อน ทำให้ไม่มีเวลามาห้องสมุด นับเป็นการยอมจำนนจากการบีบรัดที่เกิดจากหน้าที่การงาน ประเด็นนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ตามเหตุผลที่ว่า “ไม่มีเวลา”
แต่จริงหรือเหตุผลที่ว่า ไม่มีเวลาจะเป็นไปตลอดกาล หรือว่าแท้จริงแล้วคนไทยในอเมริกาเหล่านี้ไม่สนใจที่จะเรียนรู้เรื่องต่างๆ ในอเมริกาเอง คือ ไม่ใส่ใจขวนขวาย ตรงนี้คงไม่ใช่แต่ลาสเวกัสเมืองเดียว คนไทยในเมืองอื่นๆ รัฐอื่นๆ ก็คงจะเหมือนกัน ยิ่งใน แอล.เอ. ในฮอลลีวูด (ที่ตั้งไทยทาวน์) ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนไทยด้วยแล้ว การเรียนรู้เรื่องอเมริกันกลับทำได้ยากกว่าที่เมืองอื่นๆ เสียด้วยซ้ำ เพราะคุณแทบไม่มีโอกาส หรือไม่ต้องแสวงหาโอกาที่จะพูดจาสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยซ้ำ
ด้วยเหตุนี้การซึมซับทางด้านวัฒนธรรมจึงไม่เกิดขึ้นกับคนไทยเหล่านี้ พวกเขาไม่เคยเรียนรู้ด้วยซ้ำว่า วัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตอเมริกันในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมเป็นอย่างไร อำนาจนิยมอย่างไรก็เป็นอำนาจนิยมแบบไทยๆ แบบเดิมๆ ไม่เคยเปลี่ยน ไม่เคยซึมซับหรือมีอารมณ์ร่วมกับแนวทางสิทธิเสรีภาพ หรือประชาธิปไตยแบบอเมริกัน
เช่นเดียวกับการติดตามข่าวสาร คนไทยเหล่านี้ แทบไม่อ่านไม่รับชมสื่ออเมริกันเอาเลย อ่าน รับชมและติดตามข่าวสารจากสื่อไทยฝ่ายเดียว การอยู่ในอเมริกา จึงยิ่งเท่ากับสักแต่การอยู่อาศัยเท่านั้น คนเหล่านี้ไม่เคยได้รับอิทธิพลความคิดหรือจารีตทางวัฒนธรรมหรือการเมืองอเมริกันใดๆ เลย
จึงอย่าเข้าใจว่าเขารู้วัฒนธรรมต่างๆ ของอเมริกันเป็นอย่างดี เพราะมันไม่เป็นความจริง มิหนำซ้ำยังยิ่งจะหนักกว่าคนไทยในเมืองไทยที่เปิดรับข่าวสารหลากหลายช่องทางเสียด้วยซ้ำ
คนไทยที่มีวัตรปฏิบัติและอาศัยอยู่ในอเมริกาทำนองนี้จึงล้าหลังกว่าคนไทยที่อยู่เมืองไทยเสียอีก และส่วนใหญ่เป็นพวกตกกระแส ขวาจัด ชาตินิยม กล่าวคือ มีทัศนคติแบบอำนาจนิยม ซึ่งน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งว่าพวกเขาไม่เคยได้เรียนรู้วัฒนธรรมไม่ว่าด้านใดๆ ของอเมริกันเลย สาเหตุก็เนื่องจากต้องทำงานไม่หยุดหย่อน จึงไม่มีเวลาและสาเหตุสำคัญคือไม่สนใจที่จะเรียนรู้ นับประสาอะไรกับการเข้าห้องสมุด แค่รับสื่ออเมริกัน คนเหล่านี้ยังไม่เอาเลย ทำให้กลายเป็นพวกตกขอบไปในที่สุด ไม่สามารถเป็นที่พึ่งของอนุชนที่ตามไปอเมริกาทีหลังในทางความคิดแบบอเมริกันได้เลย ส่วนใหญ่เท่าที่พบมักมีทัศนคติในทางการเมืองแบบชาตินิยม และสุดโต่ง หลงยุค ซึ่งนับเป็นเรื่องมหัศจรรย์ยิ่ง ถ้าเป็นในเมืองไทย ฝ่ายประชาธิปไตยคงเรียกคนเหล่านี้ว่า “สลิ่ม”
ยิ่งไปกว่าความเป็นชาติไทยนิยมในอเมริกาแล้ว คนกลุ่มมักดูถูกวัฒนธรรมอเมริกันบางอย่าง เช่น การใช้ทุนนำ (ทุนนิยม) หากแท้จริงแล้วพวกเขาเองก็ไม่ต่างจากคนอเมริกันคนอื่นๆ คือ อยู่ได้ด้วยทุนเช่นเดียวกัน แบบเดียวกับคำพังเพยไทยที่ว่า “เกลียดปลาไหล กินน้ำแกง” รวมกระทั่งความเชื่อที่ว่า อเมริกันแทรกแซงผลประโยชน์ทุกประเทศในโลก โดยเฉพาะการแทรกแซงการเมืองไทยในอดีตและปัจจุบัน อเมริกันเป็นผู้อยู่เบื้องหลังแทบทุกเหตุการณ์ รัฐบาลอเมริกันเป็นตัวร้ายในสายตาคนกลุ่มนี้เอาเลย แต่พวกเขาก็ชอบใช้ชีวิต ทำมาหากินในอเมริกานั้นแหละ
และก็น่าแปลกว่า พอคนเหล่านี้กลับไปเกษียณหรือรีไทร์ ที่เมืองไทยเขากลับยกย่องลัทธิอเมริกันนิยมเป็นตุเป็นตะเลยทีเดียว แม้ไม่ได้ความรู้ หรือแนวคิดวัฒนธรรม การเมืองแบบอเมริกันกลับไปเลยแม้อย่างเดียว (เขาขลุกอยู่แต่สังคมไทย) ในใจของเขามีแต่อำนาจนิยม จารีตนิยมและชาตินิยมเท่านั้น ในความเห็นของพวกเขาประเทศไทยคือศูนย์กลางจักรวาลแนวเดียวกับเขาพระสุเมรุ เพราะในยุคล่าอาณานิยม ไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศใดมาก่อน
เขาชอบอ้างความเป็นอเมริกัน พร้อมกับความเกลียดชังอเมริกัน โดยที่ไม่เคยรู้ว่า ความเป็นอเมริกันคืออะไร ไม่เคยและไม่ยินยอมที่จะเรียนรู้หรือมีประสบการณ์ร่วมกับคนอเมริกันทั้งในอดีตและปัจจุบัน เขาเพียงได้ชื่อว่า เป็นคนเคยอยู่อเมริกาเท่านั้น ขณะเดียวกันพวกเขาก็มีเพื่อนน้อยชอบคบคนไทยคอเดียวกันหรือภาคเดียวกัน จึงไม่แปลกที่โลกทัศน์ของเขาจะคับแคบยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลาง บ้างกลายเป็นพวกท้องถิ่นนิยมหรือชาตินิยมไปที่สุด ไม่สามารถประยุกต์ประสบการณ์ที่เคยมีในอเมริกาไปใช้ในเมืองไทยใดๆ ได้
เราสามารถพบบุคคลเช่นนี้ได้ทั่วไป ทั้งในเมืองไทยและในอเมริกา เป็นบุคคลที่สับสนในความเป็นตัวตนของเขา เกิดความโละพ่อ คือ อยู่ในอเมริกาเกลียดระบบและแทบทุกสิ่งที่เป็นเอเมริกัน อยู่เมืองไทยถวิลหาและอ้างความเป็นอเมริกันตะพึดตะพือ
แหละนี่อาจคือ บุคคลที่สับสน สับปลับ กับชีวิตและหลักการใช้ชีวิตมากที่สุดก็ว่าได้
หลักหนึ่งที่เขายึดถือมาตลอดนั่นคือ ท้องถิ่นนิยม จารีตนิยม บุคคลนิยม ระบบอุปถัมภ์ เจ้าขุนมูลนาย ปฏิเสธหลักการประชาธิปไตยและหลักการ“คนเท่ากัน” ในฐานะของคนที่เคยอยู่อเมริกา เขาคิดว่า เขาเหนือกว่าคนไทยทั่วไป
จึงนับเป็น “โมฆะบุคคลผู้มาจากอเมริกา”โดยแท้ !!
| ['บทความ', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'ต่างประเทศ', 'พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์', 'สหรัฐอเมริกา', 'สลิ่ม'] |
https://prachatai.com/print/79512 | 2018-11-08 13:33 | คมส.เร่งมติสมัชชาสุขภาพภายใน 1 ปี เชื่อมทุกพรรคการเมืองเลิกพาราควอต-แร่ใยหิน | กก.ขับเคลื่อนฯ ยกระดับ 77 มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ใส่เกียร์ห้าแก้ปัญหาสุขภาวะคนไทยแบบเร่งด่วนภายใน 1 ปี ทั้งโรค NCD น้ำดื่มปลอดภัย และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช พร้อมผลักดันพรรคการเมืองสร้างนโยบายยกเลิกพาราควอต-แร่ใยหินในกระแสการเลือกตั้งที่จะมาถึง
8 พ.ย.2561 กลุ่มงานสื่อสารสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) รายงานว่า การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) ครั้งที่ 3/2561 เมื่อเร็วๆ นี้ มี นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา เป็นประธาน ได้พิจารณาเรื่องการบริหารจัดการมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมีมากถึง 77 มติ โดยได้จัดลำดับความสำคัญและคัดแยกมติที่ควรขับเคลื่อนเร่งด่วน (Quick Win) ให้เห็นผลสำเร็จภายใน 1 ปี ประกอบด้วย มติด้านการแพทย์และสาธารณสุข มี 3 กลุ่ม ประกอบด้วย มติเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อร้ายแรง (NCD) มติเกี่ยวกับการโฆษณาด้านสุขภาพและผลิตภัณฑ์สุขภาพ และมติที่เกี่ยวกับการบริการปฐมและบริการระบบสุขภาพเขตเมือง
ส่วนมติด้านสุขภาพสังคมและสุขภาวะ อยู่ใน Quick Win มี 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นมติเกี่ยวกับการจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24 ชั่วโมง: กรณีเด็กไทยกับไอที, ระบบการจัดการอาหารในโรงเรียน และน้ำดื่มปลอดภัยสำหรับประชาชน อีกกลุ่มเป็นมติที่มีความท้าทายและเป็นปัญหาสำคัญของสังคม (Challenge) ได้แก่ เกษตรและอาหารในยุควิกฤต, ความปลอดภัยทางอาหาร: การแก้ปัญหาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช, การพัฒนากลไกและกระบวนการที่สามารถรับมือผลกระทบด้านสุขภาพจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ส่วนอีก 2 มติที่มีความท้าทายคือเรื่อง การแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนและมาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน
“บางมติมีการขับเคลื่อนมานานแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะการยกเลิกการใช้สารพาราควอตและมาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน รวมถึงมติอื่นๆ ที่ประชุมจึงเห็นว่าในช่วงที่การเมืองมีความเข้มข้น ควรใช้บทบาทของพลังทางการเมืองเข้ามาสนับสนุนในการขับเคลื่อน โดยผลักดันเข้าเป็นนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ รวมถึงผลักดันผ่านทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในฐานะองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำข้อเสนอนโยบายด้านสุขภาพเสนอสู่รัฐบาลอีกทางหนึ่งด้วย”
ในเรื่องของแร่ใยหิน คมส. ได้รับทราบผลสรุปของคณะทำงานโครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคเหตุใยหิน โดย ศ.ดร.นพ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล ได้นำเสนอข้อมูลระหว่างปี 2558-2559 ของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ยืนยันความถูกต้องในการวินิจฉัย พบว่า มีผู้ป่วยโรคเหตุจากใยหินจริง 28 ราย ซึ่งล้วนมีประวัติสัมผัสใยหินจากการประกอบวิชาชีพและสิ่งแวดล้อม เพื่อประกอบการผลักดันยกเลิกการใช้แร่ใยหินต่อไป
สำหรับเรื่อง อุบัติเหตุทางถนน ที่สถิติยังสูง ปัจจุบันมีหน่วยงานดูแลอยู่แล้ว แต่เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนและมีการทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง สช. จะเป็นกลไกกลางโดยวางเป้าหมายจะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ภายใน 2 ปี ซึ่งในช่วงระหว่างปี 2562-63 นี้ โดย สช. จะเป็นเวทีสานพลังทุกภาคส่วนเพื่อบูรณาการความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน
| ['ข่าว', 'คุณภาพชีวิต', 'พรรคการเมือง', 'พาราควอต', 'แร่ใยหิน', 'คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ', 'คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ'] |
https://prachatai.com/print/79513 | 2018-11-08 14:36 | ภาษีเกลือไม่ใช่เรื่องใหม่ | มหาตมะคานธีแสดงอารยะขัดขืนต่อคำสั่งของอังกฤษที่ห้ามคนอินเดียสัมผัสเกลือ (ห้ามผลิต-ห้ามขาย)ในเชิงสัญลักษณ์หมายความว่า ต่อไปนี้คนอินเดียสามารถผลิต/ขายเกลือเองได้แล้วและหลังจากนั้นคนอินเดียจึงลุกขึ้นมาขัดขืนคำสั่งของอังกฤษทั่วประเทศ
ตามที่มีข่าวว่ากรมสรรพสามิตเตรียมเสนอ ครม. ผ่านภาษีอาหารมันและเค็มตามที่สื่อแขนงต่างๆรายงานนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่
ในอดีตก็เคยมีการควบคุม “เกลือ” ที่อินเดียภายใต้การควบคุมของจักรวรรดินิยมอังกฤษ สืบเนื่องจากชายฝั่งของประเทศอินเดียมีความยาวกว่า 6 พันกิโลเมตรตลอดชายฝั่งตะวันออกจรดชายฝั่งตะวันตก ประกอบกับภูมิประเทศอยู่ในเขตร้อน จึงทำให้การผลิตเกลือสามารถทำได้ตลอดปี มีผลผลิตจำนวนมาก คุณภาพดี และราคาถูก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเกลือที่ถูกนำเข้าจากประเทศอังกฤษโดยบริษัท East India
นอกจากอินเดียจะเป็นแหล่งแรงงานราคาถูกแล้ว ทรัพยากรทางการเกษตรอื่นๆไม่ว่าจะเป็นฝ้าย ปอ ฝิ่น และเกลือยังถือว่าเป็นขุมทองที่ให้จักรวรรดินิยมอังกฤษตักตวงได้อย่างไม่อั้น แม้ว่าการผลิตเกลือของอินเดียจะไม่ใช่ความต้องการของคนอังกฤษสักเท่าไหร่ เพราะอังกฤษก็สามารถผลิตเกลือได้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ แต่ตลาดการบริโภคเกลือในอินเดียถือเป็นตลาดที่ใหญ่มากและสร้างมูลค่าไม่ใช่น้อยๆ ในสายตาของอังกฤษแล้วตลาดเกลือในอินเดียจึงเป็นช่องทางการค้าที่สร้างกำไรมหาศาลให้แก่เจ้าอาณานิคม
นอกจากความสำคัญในเรื่องส่วนแบ่งทางการตลาดแล้ว การควบคุมเกลือยังหมายถึงความสามารถในการควบคุมการต่อต้านจากผู้อยู่ใต้การปกครองได้อีกด้วย ทั้งนี้สืบเนื่องจากคนอินเดียมักไม่กินเนื้อสัตว์ การปรับสมดุลของเกลือแร่ในร่างกายจึงอาศัยเกลือเป็นหลักเมื่อร่างกายสูญเสียเกลือผ่านเหงื่อของพวกเขา
ด้วยผลประโยชน์ข้างต้น อังกฤษจึงได้ผ่านกฎหมายการควบคุมเกลือและเพิ่มภาษีเพื่อให้เกลืออังกฤษที่มีคุณภาพแย่กว่าเกลืออินเดียและแพงกว่าสามารถขายได้ในตลาดอินเดีย และออกกฎหมายควบคุมการการทำนาเกลือในอินเดียผูกขาดโดยคนของคนอังกฤษเท่านั้น ดังนั้นการทำนาและขายเกลือของคนอินเดียในประเทศอินเดียจึงถือว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมายตลอดในช่วงการปกครองของจักรวรรดินิยมอังกฤษในช่วงหลังศตวรรษที่ 19
ผลประโยชน์และการควบคุมคนเดียผ่านกฎหมายและภาษีเกลือของอังกฤษ จึงทำให้อังกฤษเป็นชาติแรกๆของโลกที่จัดการกับเกลือแร่หรือสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์
จริงอยู่ที่กรมสรรพสามิตคงจะไม่ได้มีความคิดไปไกลถึงขนาดจะทำให้ประชาชนอ่อนแอเพราะขาดสมดุลของเกลือแร่ในร่างกายไปเพื่อป้องกันการลุกฮือของประชาชนในอนาคตหรอก แต่ผลประโยชน์ที่จะได้มาจากการเรียกเก็บภาษีความเค็มและความมันในอาหารน่าจะเป็นรายได้เป็นกอบเป็นกำไม่ใช่น้อย เพราะส่วนประกอบหลักๆในการทำอาหารไทยก็มีอยู่แค่ 3 อย่างคือ น้ำมัน น้ำตาล และเกลือ
ฤารัฐบาลเผด็จการทหารอยากจะใช้ข้ออ้างเรื่องสุขภาพของประชาชน เพื่อหาทางเรียกเก็บภาษีตัวใหม่ๆเพื่อไปซื้อเครื่องบินฝูงใหม่ก่อนที่จะหมดวาระและเข้าสู่โหมดเลือกตั้งในปีหน้า
แนวคิดเรียกเก็บภาษีอันตรายตัวนี้ การล่มสลายของจักรวรรดินิยมอังกฤษน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของรัฐบาลทหารนะครับ
| ['บทความ', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'คุณภาพชีวิต', 'ภาษีเกลือ', 'กัปตันปาร์ค ชาตง', 'กรมสรรพสามิต', 'ภาษีอาหารมันและเค็ม'] |
https://prachatai.com/print/79514 | 2018-11-08 14:52 | องค์กรนักกฎหมายสิทธิฯ ร้องศาลทหารทบทวนกรณีสั่งศูนย์ทนายฯ ลบคำเบิกความจากเว็บ | สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน พร้อมด้วยทนายความรวม 70 รายชื่อ ออกจดหมายเปิดผนึกถึงศาลทหารกรุงเทพ ขอให้ทบทวนกรณีสั่งศูนย์ทนายฯ ลบข้อมูลคำเบิกความจากเว็บ และยกเลิกการนำพลเรือนขึ้นศาลทหารทันที โอนคดีพลเรือนที่ค้างไปยังศาลยุติธรรมโดยเร็ว
8 พ.ย.2561 จากกรณีที่ ศาลทหารกรุงเทพนัดไต่สวนทนายความอานนท์ นำภา เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ที่ผ่านมา กรณีเผยแพร่เนื้อหาการสืบพยานโจทก์ พล.ต.วิจารณ์ จดแตง ในคดีฐนกร (สงวนนามสกุล) แชร์ผังทุจริตราชภักดิ์-กดไลค์-หมิ่นหมาและสั่งให้ อานนท์ นำภา แจ้งศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนลบข้อความที่ปรากฏในข่าว “ทหารผู้กล่าวหาคดีแชร์ผังทุจริตราชภักดิ์-กดไลค์-หมิ่นหมา ใช้เฟสบุ๊กไม่เป็น แต่เห็นว่าแค่กดไลค์เพจหมิ่นฯ ก็ผิด 112” (http://www.tlhr2014.com/th/?p=8950) บนเว็บไซต์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนออกนั้น
ล่าสุดวานนี้ (7 พ.ย.61) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน พร้อมด้วยองค์กรองค์กรสิทธิมนุษยชน และทนายความรวม 70 รายชื่อ ออกจดหมายเปิดผนึกถึง เจ้ากรมพระธรรมนูญ หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร และตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าศาลทหารกรุงเทพ เพื่อขอให้ทบทวนการใช้อำนาจศาลทหารกรุงเทพ กรณีดังกล่าว
จดหมายเปิดผนึกมีข้อเรียกร้อง 4 ข้อ ต่อศาลทหารกรุงเทพ ประกอบด้วย 1. เคารพสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย เสรีภาพในการแสดงออก และการทำหน้าที่ของทนายความและองค์กรสิทธิมนุษยชนเพื่อส่งเสริมความยุติธรรมและปกป้องสิทธิมนุษยชน 2. ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ไม่ควรถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางจนกระทบต่อหลักการพิจารณาคดีที่เปิดเผยและหลักสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม และควรอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายซึ่งมีเจตนารมณ์เฉพาะเพื่อให้กระบวนการยุติธรรมเป็นไปโดยเรียบร้อยและไม่ถูกขัดขวางเท่านั้น
3. ในฐานะองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ ศาลทหารพึงพิจารณาพิพากษาคดีด้วยความหนักแน่นมั่นคงไปตามหลักกฎหมาย พยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่ได้จากทางนำสืบของคู่ความ ปราศจากอคติทั้งปวง และเป็นอิสระ ไม่ถูกแทรกแซงจากกระแสสังคม และอำนาจบังคับบัญชา และ 4. ศาลทหารควรทบทวนบทบาทตนเองในการพิจารณาคดีต่อพลเรือน โดยต้องยกเลิกการนำพลเรือนขึ้นศาลทหารทันที และโอนคดีพลเรือนที่ค้างการพิจารณาอยู่ในศาลทหารไปยังศาลยุติธรรมโดยเร็ว
'ศูนย์ทนายสิทธิ' แถลงโต้ กรณีศาลทหารห้ามเผยแพร่คำเบิก-รายงานกระบวนพิจารณาคดีฐนกร [1]
รายละเอียด :
จดหมายเปิดผนึก
วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
เรื่อง ขอให้ทบทวนการใช้อำนาจศาลทหารกรุงเทพ กรณีการให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนลบข้อมูลเกี่ยวกับคำเบิกความพยานจากเว็บไซต์
เรียน เจ้ากรมพระธรรมนูญ, หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร, ตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าศาลทหารกรุงเทพ
สืบเนื่องจากที่ศาลทหารกรุงเทพได้ทำการไต่สวนนายอานนท์ นำภา ทนายความ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2561 จากกรณีที่เว็บไซต์ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้เผยแพร่คำเบิกความพยานในคดีฐนกร (สงวนนามสกุล) ซึ่งถูกดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 จากการแชร์ผังทุจริตในโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ และข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการกดไลค์เพจที่มีข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และโพสต์เสียดสีคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง โดยศาลทหารเห็นว่าข้อมูลดังกล่าวมาจากเอกสารที่นายอานนท์ขอคัดถ่ายไปจากศาล จากการไต่สวน ศาลทหารกรุงเทพเห็นว่าการเผยแพร่คำเบิกความดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อรูปคดี และเกิดผลกระทบต่อพยานที่มาเบิกความเป็นพยานต่อศาล จึงมีคำสั่งให้นายอานนท์แจ้งศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ลบข้อมูลดังกล่าวจากเว็บไซต์ภายใน 24 ชั่วโมง และห้ามมิให้บุคคลหรือองค์ใดนำคำเบิกความพยานและการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในคดีนี้ไปลงเผยแพร่ในสื่อทุกชนิด มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาล
ทั้งนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ไม่ได้มีการดำเนินการลบข้อความดังกล่าวออกจากเว็บไซต์แต่อย่างใด เพราะเห็นว่าการเผยแพร่ข้อความพยานดังกล่าวไม่ใช่การกระทำที่เข้าข่ายจะเป็นการละเมิดอำนาจศาล และเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและคำร้องขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งต่อศาลทหารกรุงเทพในวันที่ 4 ตุลาคม 2561 แต่ศาลทหารกรุงเทพได้มีคำสั่งยกคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าว นับแต่นั้นเป็นต้นมา ศาลทหารกรุงเทพก็ยังไม่ได้มีการดำเนินมาตรการบังคับใดๆต่อนายอานนท์ นำภา และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
อย่างไรก็ดี องค์กรและบุคคลผู้มีรายชื่อแนบท้ายจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ ยังคงมีความห่วงกังวลต่อการบังคับใช้กฎหมายในลักษณะดังกล่าว เพราะวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 ที่จะถึงนี้ จะมีการพิจารณาคดีนายฐนกร ซึ่งเป็นคดีที่นำมาสู่การไต่สวนนายอานนท์ นำภา และให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนลบข้อความคำเบิกความพยานออกจากเว็บไซต์องค์กร โดยอ้างฐานความผิดละเมิดอำนาจศาลดังที่กล่าวมา ซึ่งมีแนวโน้มที่ศาลทหารกรุงเทพอาจจะมีการดำเนินมาตรการบังคับหรือมีการดำเนินคดีข้อหาละเมิดอำนาจศาลต่อนายอานนท์ นำภาและศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
องค์กรและบุคคลผู้มีรายชื่อแนบท้ายจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ จึงมีความเห็นเพื่อขอให้ศาลทหารกรุงเทพทบทวนการบังคับใช้ข้อหาละเมิดอำนาจศาลต่อกรณีดังกล่าว ดังนี้
1. การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการพิจารณาคดีในศาล รวมถึงคำเบิกความพยานเป็นสิ่งที่พึงกระทำได้ตามหลักการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเพื่อให้ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้ร่วมตรวจสอบการพิจารณาคดีของศาลได้ และเป็นหลักประกันสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม ตามที่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 14 (1) รับรองไว้ และการจำกัดสิทธิ สามารถทำได้ด้วยเหตุผลทางศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของชาติ หรือเพื่อความจำเป็นเกี่ยวกับส่วนได้เสียในเรื่องชีวิตส่วนตัวของคู่กรณี หรือในสภาพการณ์พิเศษซึ่งศาลเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่ง เมื่อการพิจารณาโดยเปิดเผยนั้นอาจเป็นการเสื่อมเสียต่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเท่านั้น
คดีของนายฐนกรดังกล่าว เป็นการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย และศาลทหารไม่ได้มีคำสั่งหรือวางข้อกำหนดห้ามประชาชนมิให้เข้าฟังการพิจารณา และไม่ได้ห้ามมิให้มีการเปิดเผยซึ่งข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ต่างๆ ทั้งหมด หรือแต่บางส่วนแห่งคดีซึ่งปรากฏจากคำคู่ความหรือคำแถลงการณ์ของคู่ความหรือจากคำพยานหลักฐานที่ได้สืบมาแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 36 (1) หรือ (2) ซึ่งศาลทหารเพิ่งออกคำสั่งให้ลบข้อมูลและห้ามเผยแพร่ภายหลังจากที่มีการเผยแพร่สรุปคำเบิกความไปแล้ว ทั้งที่การเผยแพร่ดังกล่าว ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือเหตุผลในทางกฎหมายตามมาตรา 36 (1) หรือ (2) แต่อย่างใด การห้ามเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาคดีโดยปราศจากข้อเท็จจริงและเหตุผลตามกฎหมายที่ชัดเจนดังกล่าว ย่อมกระทบต่อหลักการพิจารณาคดีโดยเปิดเผยต่อสาธารณะ และกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออก การแสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งถูกรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 14, 19 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 34 โดยสิทธิดังกล่าวมีความสำคัญและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ความโปร่งใสและความรับผิดชอบของระบบตุลาการ และนำไปสู่การปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
2. ศาลทหาร เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการเช่นเดียวกับศาลอื่นๆ แต่ถูกจำกัดอำนาจหน้าที่ให้พิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีอาญาทหาร หรือคดีที่ทหารกระทำผิดหรือมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่มีโทษจำคุก แต่ภายหลังการรัฐประหารปี 2557 ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาคดีพลเรือน จึงเกิดคำถามเกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดีพลเรือนว่าศาลทหารจะมี “ความเป็นอิสระ” ในการพิจารณาพิพากษาคดีหรือไม่ เพียงใด เมื่ออยู่ภายใต้โครงสร้างและการบริหารงานเดียวกันกับฝ่ายบริหาร
อย่างไรก็ตาม แม้โครงสร้างของศาลทหารจะเป็นเช่นนั้น การพิจารณาพิพากษาคดีย่อมต้องอยู่ภายใต้หลักความเป็นอิสระ และปราศจากการแทรกแซง การที่ศาลทหารมีคำสั่งในคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนการพิจารณา โดยวินิจฉัยว่าการนำคำเบิกความของพยานไปเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปทราบ ย่อมมีผลต่อการชี้นำสังคมให้รูปคดีเป็นไปตามที่ฝ่ายตนต้องการ และส่งผลกระทบต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 36 (2) ทั้งที่เนื้อหาคำเบิกความที่มีการเผยแพร่นั้นไม่มีส่วนใดที่กระทบต่อศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของชาติในสังคมประชาธิปไตยหรือส่วนได้เสียในเรื่องชีวิตส่วนตัวของคู่กรณี อีกทั้ง การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวย่อมไม่สามารถชี้นำสังคมหรือส่งผลใดๆ ต่อการพิจารณาคดีของศาลจนทำให้เสียความยุติธรรมไป และยังไม่ถึงขั้นที่จะก่อภยันตรายที่ชัดแจ้งและใกล้จะถึงต่อการบริหารความยุติธรรมของศาลได้ คำสั่งข้างต้นย่อมแสดงให้เห็นถึงความอ่อนไหวต่อการวิพากษ์วิจารณ์และการแสดงความคิดเห็นของสาธารณชน ซึ่งศาลทหารในฐานะที่ใช้อำนาจตุลาการพึงทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีด้วยความหนักแน่นมั่นคงไปตามหลักกฎหมาย พยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่ได้จากทางนำสืบของคู่ความ ปราศจากอคติทั้งปวง และเป็นอิสระและไม่ถูกแทรกแซงจากกระแสสังคมด้วย
นอกจานี้ คำสั่งในลักษณะดังกล่าว รวมถึงการห้ามเผยแพร่สรุปคำเบิกความของพยานที่เป็นเจ้าหน้าที่ทหาร และการเตรียมการดำเนินคดีกับนายอานนท์ นำภา และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีบทบาทโดดเด่นในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนที่เป็นคู่ขัดแย้งกับฝ่ายทหารหรือเจ้าหน้าที่รัฐ อาจถูกตั้งคำถามได้ถึงบทบาทที่เหมาะสมในฐานะผู้ใช้อำนาจตุลาการ ที่อาจส่งผลกระทบหรือส่งผลเป็นการยับยั้งการทำหน้าที่เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความได้
ด้วยเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น บุคคลผู้มีรายชื่อแนบท้ายจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ จึงมีข้อเรียกร้องต่อศาลทหารกรุงเทพ ดังต่อไปนี้
1. เคารพสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย เสรีภาพในการแสดงออก และการทำหน้าที่ของทนายความและองค์กรสิทธิมนุษยชนเพื่อส่งเสริมความยุติธรรมและปกป้องสิทธิมนุษยชน
2. ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ไม่ควรถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางจนกระทบต่อหลักการพิจารณาคดีที่เปิดเผยและหลักสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม และควรอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายซึ่งมีเจตนารมณ์เฉพาะเพื่อให้กระบวนการยุติธรรมเป็นไปโดยเรียบร้อยและไม่ถูกขัดขวางเท่านั้น
3. ในฐานะองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ ศาลทหารพึงพิจารณาพิพากษาคดีด้วยความหนักแน่นมั่นคงไปตามหลักกฎหมาย พยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่ได้จากทางนำสืบของคู่ความ ปราศจากอคติทั้งปวง และเป็นอิสระ ไม่ถูกแทรกแซงจากกระแสสังคม และอำนาจบังคับบัญชา
4. ศาลทหารควรทบทวนบทบาทตนเองในการพิจารณาคดีต่อพลเรือน โดยต้องยกเลิกการนำพลเรือนขึ้นศาลทหารทันที และโอนคดีพลเรือนที่ค้างการพิจารณาอยู่ในศาลทหารไปยังศาลยุติธรรมโดยเร็ว
ด้วยความเคารพในสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
1. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
2. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
3. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
4. Advocates for Freedom of Expression-Southeast Asia (AFEC-SEA)
5. Center for International Law Philippines (Center Law Philippines)
6. Legal Aid Center for the Press (LBH Pers Indonesia)
7. สุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความ
8. แสงชัย รัตนเสรีวงศ์ ทนายความ
9. สมชาย หอมลออ ทนายความ
10. รัษฎา มนูรัษฏา ทนายความ
11. เลาฟั้ง บัณฑิตเทิดสกุล ทนายความ
12. ศราวุฒิ ประทุมราช นักกฎหมาย
13. ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความ
14. สุรชัย ตรงงาม ทนายความ
15. พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ
16. จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว ทนายความ
17. คอรีเยาะ มานุแช ทนายความ
18. กฤษดา ขุนณรงค์ ทนายความ
19. สุพรรษา มะเหร็ม ทนายความ
20. อธิวัฒน์ เส้งคุ่ย ทนายความ
21. ผรัณดา ปานแก้ว ทนายความ
22. พนม บุตะเขียว ทนายความ
23. สุริยง คงกระพันธ์ ทนายความ
24. วราภรณ์ อุทัยรังษี ทนายความ
25. สนธยา โคตรปัญญา
26. ณัฐาศิริ เบิร์กแมน ทนายความ
27. สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์
28. ทิพพวรรณ ถิ่นมะลวน ทนายความ
29. ณัฐชัตยากร กัญฐณา ทนายความ
30. ทิตศาสตร์ สุดแสน
31. ศุภมาศ มะละสี ทนายความ
32. บัณฑิต หอมเกษ
33. พรพิมล มุกขุนทด
34. ยุพิน เขียวขำ ทนายความ
35. อนุชา วินทะไชย
36. คุณัญญา สองสมุทร ทนายความ
37. สัญญา เอียดจงดี ทนายความ
38. อัมรินทร์ สายจันทร์ ทนายความ
39. วีรวัฒน์ อบโอ ทนายความ
40. ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ทนายความ
41. ลดา ตรีศักดิ์ศรีสกุล ทนายความ
42. สุรศิษฏ์ เหลืองอรัญนภา ทนายความ
43. อุบลวรรณ บุญรัตนสมัย นักกฎหมาย
44. ธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายความ
45. ปรีดา นาคผิว ทนายความ
46. ปภพ เสียมหาญ นักกฎหมาย
47. กาญจนา อัครชาติ ทนายความ
48. พนิตพิชา ใต้แสงทวีธรรม นักกฎหมาย
49. ศศิประภา ไร่สงวน ทนายความ
50. ยูฮานี เจ๊ะกา นักกฎหมาย
51. มนัญญา พูลศิริ นักกฎหมาย
52. สุธาทิพย์ อมปาน
53. ณิชกานต์ จันทรภาพ นักกฎหมาย
54. พิศาล เกิคควน นักกฎหมาย
55. จริงจัง นะแส ทนายความ
56. มนตรี อัจฉริยสกุลชัย นักกฎหมาย
57. นภาพร สงปรางค์ ทนายความ
58. สุทธิเกียรติ ธรรมดุล ทนายความ
59. เติมพล ทองสุทธิ์ นักกฎหมาย
60. ดนัยกฤต ศรีคาน ทนายความ
61. วราภรณ์ อินทนนท์ นักกฎหมาย
62. หทัยกานต์ เรณูมาศ
63. ประดิษฐา ปริยแก้วฟ้า นักกฎหมาย
64. วลีรัตน์ ชูวา นักกฎหมาย
65. ธรธรร การมั่งมี นักกฎหมาย
66. วรวุธ ตามี่ นักกฎหมาย
67. อัญญาณี ไชยชมภู นักกฎหมาย
68. มนทนา ดวงประภา
69. Gilbert Andres, the Chairperson of AFEC-SEA and Deputy Executive Director of Center Law Philippines.
70. Ade Wahyudin, Lawyer of Legal Aid Center for the Press (LBH Pers Indonesia)
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'ศาลทหาร', 'อานนท์ นำภา', 'ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน', 'ม.112', 'อุทยานราชภักดิ์', 'กระบวนการยุติธรรม', 'หลักประกันสิทธิเสรีภาพ', 'ความโปร่งใส', 'การเผยแพร่กระบวนการพิจารณาคดี', 'สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน'] |
https://prachatai.com/print/79516 | 2018-11-08 16:59 | โพลล์หนุนเปลี่ยน 'เบี้ยยังชีพ' เป็น 'บำนาญพื้นฐาน' หวังพรรคการเมืองมีนโยบายรักษาฟรี | บ้านสมเด็จโพลล์ เผยร้อยละ 44 ชี้รัฐต้องจัดสรรงบประมาณใหม่เพื่อนำมาจัดรัฐสวัสดิการ ร้อยละ 87 ต้องการเปลี่ยนเบี้ยยังชีพเป็นบำนาญพื้นฐาน และปรับเพิ่มเป็น 3,000 ไม่เกิน 5,000 คนกรุงเกินครึ่ง อยากเห็นพรรคการเมืองมีนโยบายรักษาพยาบาลฟรี ‘นิมิตร์’ ชี้โพลล์สะท้อนคนต้องการให้จัดสรรทรัพยากรใหม่อย่างเป็นธรรมเพื่อให้เกิดรัฐสวัสดิการแก้ปัญหาจนเรื้อรัง
จากซ้ายไปขวา แสงศิริ ตรีมรรคา, สิงห์ สิงห์ขจร, นิมิตร์ เทียนอุดม
8 พ.ย. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ ร่วมกับศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แถลงข่าว “ประชาชนเชื่อรัฐสวัสดิการเกิดได้ ชี้รัฐต้องจัดสรรงบใหม่ให้เป็นธรรม” ที่สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย โดยมี สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ นิมิตร์ เทียนอุดม ตัวแทนจากเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ ร่วมแถลงและวิเคราะห์ผลโพลล์ ดำเนินรายการโดยแสงศิริ ตรีมรรคา เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ
โพลล์ชี้ร้อยละ 44 เห็นว่ารัฐต้องจัดสรรงบประมาณใหม่เพื่อนำมาจัดรัฐสวัสดิการ
สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ ให้ข้อมูลว่า จากการสำรวจประชาชนในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 1,211 คน ในวันที่ 25-30 ต.ค. 2561 พบว่าประชาชนเพียงร้อยละ 40 ทราบว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยเต็มรูปแบบในปี 62 และทราบว่ารัฐธรรมนูญปี 60 นั้นระบุให้รัฐต้องจัดสวัสดิการให้กับประชาชนเพียงร้อยละ 42.1 ซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อย
นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 56.5 พึงพอใจกับการจัดสวัสดิการของรัฐในระดับปานกลาง โดยพึงพอใจนโยบายรักษาพยาบาลไม่เสียค่าใช้จ่ายมากที่สุด คือร้อยละ 30.2 รองลงมาคือเบี้ยยังชีพรายเดือน ร้อยละ 23.5 และยังเห็นว่าประชาชนทุกคนควรได้รับสวัสดิการของรัฐถึงร้อยละ 60
สิงห์กล่าวต่อว่า ประชาชนร้อยละ 48.9 เห็นว่ารัฐบาลควรให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณด้านสวัสดิการพื้นฐาน เช่น การศึกษา บำนาญถ้วนหน้า สาธารณสุข เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต รองลงมาร้อยละ 21 คือด้านความมั่นคง ซึ่งไม่ได้หมายถึงด้านการทหาร แต่หมายถึงความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน เช่น การติดกล้องซีซีทีวีทั่วประเทศ
สิงห์ชี้ว่า กลุ่มตัวอย่างมองว่าแหล่งรายได้ที่รัฐจะนำมาใช้จัดสวัสดิการให้ประชาชนนั้นมาจากการจัดสรรงบประมาณใหม่ โดยแบ่งสัดส่วนอย่างเป็นธรรม ร้อยละ 44.3 ซึ่งสิงห์มองว่าจากคำตอบนี้ได้สะท้อนว่ามุมมองของประชาชนเปลี่ยนไป คือมองว่ารัฐลงทุนแล้วประชาชนไม่ได้รับประโยชน์เป็นตัวเลขค่อนข้างสูง ข้อเสนอรองลงมาคือให้ยกเลิกการลดหย่อนภาษีถึงร้อยละ 33.3 พร้อมกับต้องการเห็นพรรคการเมืองมีนโยบายในเรื่องบริการด้านสาธารณสุขฟรีมากที่สุด ตามด้วยเรื่องเงินดำรงชีพรายเดือนสำหรับผู้สูงอายุ และการประกันรายได้เมื่อตกงานหรือไม่มีงานทำ
สิงห์กล่าวว่า อีกประเด็นที่น่าสนใจคือคำถามเรื่องการเตรียมตัวหลังอายุ 60 ร้อยละ 41.1 ตอบว่ามีการออมเงินไว้ใช้หลังอายุ 60 ปี ร้อยละ 30.1 ตอบว่ามีการทำประกันแบบออมทรัพย์ไว้ใช้หลังอายุ 60 ปี ร้อยละ 19.1 บอกว่ามีการลงทุนในกองทุนประเภทต่างๆ ไว้ใช้หลังอายุ 60 ปี มีเพียงร้อยละ 9.7 ที่บอกว่าไม่ได้เตรียม
“คนอายุเกิน 60 ปีกังวลมากที่สุดคือรายได้ ตามมาด้วยสุขภาพกายและใจ คนกลุ่มนี้มองว่ารายได้ตัวเองอาจไม่พอรักษาพยาบาล นั้นอาจสะท้อนให้เห็นว่ารายได้จากการทำงานนั้นไม่เอื้อให้เกิดความรู้สึกมั่นคง และมองว่าเบี้ยยังชีพ 600-1,000 นั้นไม่เพียงพอ จึงเห็นด้วยกับการเปลี่ยนเบี้ยยังชีพให้เป็นบำนาญรายเดือนถึงร้อยละ 87.6 และคนกลุ่มนี้ยังต้องการจำนวนเงินบำนาญรายเดือนที่มากกว่า 3,000 ไม่เกิน 5,000 มากถึงร้อยละ 54.5 และสะท้อนให้ฟังว่าจำนวนเงิน ‘ตามเส้นความยากจน’ นั้นไม่สามารถเห็นภาพได้ เขาต้องการจำนวนเงินที่ชัดเจนในการวางแผนการเงิน” สิงห์กล่าว
ภาพบรรยากาศงานและเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ
เปลี่ยนเบี้ยยังชีพเป็นบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าแก้ปัญหาความจนเรื้อรัง
นิมิตร์ เทียนอุดม ตัวแทนจากเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กล่าวว่า เครือข่ายฯ มองว่าต้องเตรียมตัวรับสังคมผู้สูงอายุ เรื่องสำคัญคือเรามองเรื่องหลักประกันชีวิต สามเรื่องใหญ่ หนึ่งคือหลักประกันสุขภาพ เมื่อเจ็บป่วยมีระบบรักษาพยาบารองรับ สองคือหลักประกันด้านรายได้ ทำอย่างไรให้คนรุ้สึกมั่นใจว่ามีรายได้บางส่วนในการดำรงชีวิตในสังคมผู้สูงอายุ และในปัจจุบันที่คนก็อายุยืนขึ้นเรื่อยๆ สามคือหลักประกันด้านการศึกษา
“สำหรับเรื่องสุขภาพนั้นกลุ่มเราเคลื่อนกันมากว่า 15 ปีแล้ว เรื่องอื่นๆ ต้องมาดูว่าจะขยับอย่างไร โดยจากสถานการณ์ที่เป็นอยู่เราพบว่าความจนเรื้อรังของประชาชนก็ยังอยู่ และถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานได้ เนื่องจากปัญหาเรื่องรายได้ที่ไม่พอเพียง ทางที่แก้ได้คือรัฐสวัสดิการ คือการมีหลักประกันด้านรายได้ ฝันสูงสุดเป็นหลักประกันรายได้ทุกช่วงอายุ แต่ ณ ตอนนี้อยากเน้นช่วงอายุหลัง 60 ปีก่อน จากที่เราได้พูดคุยกับเครือข่ายฯ และประชาชน ข้อมูลที่ได้ก็ไม่หนีจากโพลล์ของบ้านสมเด็จอันนี้ ซึ่งขอชื่นชมการทำโพลล์ที่มีการทำความเข้าใจคำถาม ลงไปพุดคุยกับชุมชน มีการพูดคุยโต้ตอบกัน ไม่ใช่แค่โทรไปถาม” นิมิตร์กล่าว
นิมิตร์ระบุว่า จากโพลล์ กลุ่มคนที่ไปสำรวจมองเห็นความสำคัญเรื่องรัฐสวัสดิการและหลักประกันด้านรายได้ ซึ่ง 1,000 กว่ารายที่สำรวจก็ถือเป็นตัวแทนได้พอสมควร ดังนั้นจึงเห็นว่าคนส่วนใหญ่ต้องการเปลี่ยนเบี้ยยังชีพให้เป็นบำนาญรายเดือน และนี่คือสิ่งที่เครือข่ายฯ ผลักดันมาตลอด สิ่งที่เครือข่ายจะขับเคลื่อนไม่ใช่สิ่งเพ้อฝัน แต่คือปัญหาที่ต้องแก้ไข
นิมิตร์ชี้ว่า ผลโพลล์ที่น่าสนใจคือ ในข้อที่ถามว่ารัฐจะหาแหล่งรายได้ใดเพื่อนำมาจัดสวัสดิการให้แก่ประชาชน สูงถึงร้อยละ 44.3 เห็นว่าการจัดสรรงบประมาณรัฐมีความเหลื่อมล้ำ การจัดสรรภาษีการใช้งบประมาณประเทศไม่เป็นธรรม นั้นหมายความว่าคนคิดว่าประเทศนี้ควรมีการเขย่าและจัดการทรัพยากรใหม่อย่างเป็นธรรม ส่วนร้อยละ 21.3 บอกว่าเก็บภาษีเพิ่ม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหุ้น ภาษีที่ดิน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าไปคุยเรื่องรัฐสวัสดิการกับใครก็ตาม จะถูกถามว่ารัฐจะเอาเงินมาจากไหน ซึ่งคำตอบในที่นี้คือคนยอมเสียภาษีเพิ่ม ถ้าภาษีที่เสียเพิ่มชัดเจนว่านำไปจัดสรรเป็นธรรม ใช้สร้างรัฐสวัสดิการ
“จากผลโพลล์มีอีกประการที่น่าสนใจคือคนเริ่มจัดการตัวเองด้วยการออม นี่คือสิ่งที่บอกกับเราว่าประชาชนรู้ว่ารัฐไม่พร้อมที่จะดูแลและเป็นปัญหาแน่ถ้าไม่เตรียมตัวเมื่ออายุ 60 ไม่อย่างนั้นจะเป็นภาระลูกหลานหรืออาจพึ่งใครไม่ได้ ดังนั้นประชาชนไม่ได้นั่งงอมืองอเท้ารอความช่วยเหลือจากรัฐ ต่อแต่นี้ไม่สามารถพูดได้ว่าประชาชนเอาแต่ร้องขอ
“แต่ปัญหาคือมีคนที่รายได้น้อยจนทำให้ออมได้ไม่มากพอ เมื่อเป็นแบบนี้ รัฐจะมีนโบายสนับสนุนหลักประกันด้านรายได้เมื่อเขาพร้อมจะออมอย่างเดียวไม่พอ เช่น กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สร้างการออมให้ประชาชน ่แต่ชวนกันมาหลายปี มีคนหลักแสนเท่านั้นที่เข้าร่วม มันสะท้อนว่าเรามีความสามารถในการออมต่ำมาก ถ้าจะพูดว่ารัฐจะสนับสนุนต่อเมื่อคุณออมกับรัฐ ก็มีคนจำนวนนิดเดียวเท่านั้นที่เห็นด้วย คนอีกจำนวนมากไม่เห็นด้วย
นิมิตร์กล่าวว่า อยากย้ำทิศทางของเครือข่ายฯ เบี้ยยังชีพทุกวันนี้ยังไม่เป็นหลักประกันด้านรายได้ที่คนสามารถใช้ชีวิตได้ ต้องเปลี่ยนให้เป็นบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า และที่สำคัญคือต้องเพียงพอ และในแบบสำรวจนี้ก็สะท้อนว่า คำว่า ‘เส้นความยากจน’ นั้นคนฟังไม่รู้เรื่อง ฟังไม่เข้าใจ คนต้องการมีตัวเลขชัดเจน เพื่อวางแผนชีวิตได้ ในอนาคตเครือข่ายเราอาจต้องปักธงที่ตัวเลขใดตัวเลขหนึ่ง ที่แน่ๆคือต้อง 3,000 บาทขึ้น เราต้องชัดเจนเรื่องตัวเลข เครือข่ายจะเดินหน้าเรื่องนี้
“เรื่องสำคัญสุดท้าย เรื่องนี้กำลังส่งเสียงถึงผู้บริหารประเทศชุดใหม่ที่จะมาจากการเลือกตั้ง จะทำยังไงถึงจะทะลุข้อจำกัดเรื่องนี้ รัฐธรรมนูญอาจเขียนว่าคุณทำอย่างอื่นไม่ได้ถ้าไม่เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ ่จะถูกตีความว่าเป็นเรืองประชานิยมไม่ได้ แต่เราต้องมาคิดด้วยกันว่าทำยังไงจะให้เกิดรัฐสวัสดิการ เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่ประชานิยม เรื่องนี้คือเรื่องสำคัญที่เราจะแก้ปัญหาความยากจนเรื้อรังทั้งประเทศ” นิมิตร์กล่าวทิ้งท้าย
แสงศิริ ตรีมรรคา เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการกล่าวว่าหลังจากนี้จะมีแผนต่อเนื่อง โดยจะมีเวทีระดับภูมิภาคอีก 4 ครั้ง ที่ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน โดยใน 4 ครั้งนี้จะมีการนำเอาคำถามจากโพลล์นี้ไปถามชาวบ้านในเวที เพื่อฟังว่าชาวบ้านมีความเห็นแบบไหน และในวันที่ 8-9 ม.ค. 2562 จะจัดเวทีสำหรับนักการเมือง โดยเชิญนักการเมืองแต่ละพรรคมาดีเบตกันในประเด็นเรื่องรัฐสวัสดิการ เพื่อจะได้ฟังว่าคนกำหนดนโยบายคิดเรื่องนี้แบบไหน
ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของโพลล์
1. เพศ ชาย ร้อยละ 45.1 หญิง ร้อยละ 54.9
2. อายุ ต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 7.8 20-25 ปี ร้อยละ 14.1
26-30 ปี ร้อยละ 9.2 31-35 ปี ร้อยละ 18.2
36-40 ปี ร้อยละ 21.0 41-45 ปี ร้อยละ 10.2
46-50 ปี ร้อยละ 12.9 มากกว่า 50 ปี ร้อยละ 6.6
3. อาชีพ นักเรียน/นิสิต/นักศึกษา ร้อยละ 17.0
ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.7
พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 25.8
นักธุรกิจ/เจ้าของกิจการส่วนตัว ร้อยละ 9.4
แม่บ้าน/พ่อบ้าน ร้อยละ 11.7
รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 20.0
อื่นๆ ร้อยละ 1.4
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สังคม', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'รัฐสวัสดิการ', 'โพลล์', 'บ้านสมเด็จโพลล์', 'แสงศิริ ตรีมรรคา', '\xa0สิงห์ สิงห์ขจร', '\xa0นิมิตร์ เทียนอุดม', 'เบี้ยยังชีพ', 'บำนาญพื้นฐาน', 'บำนาญแห่งชาติ'] |