url
stringlengths 30
33
| date
stringlengths 16
16
| title
stringlengths 2
170
| body_text
stringlengths 500
210k
| labels
stringlengths 2
867
|
---|---|---|---|---|
https://prachatai.com/print/42 | 2004-08-24 14:31 | นักวิจัยหนุน "แม้ว" เปิด "จีเอ็มโอ" | ประชาไท --- 23 ส.ค.2547 นักวิจัยฯ ชี้นโยบายจีเอ็มโอเอื้อต่อการค้นคว้าวิจัย แต่ไม่ใช่คำตอบทั้งหมด ขณะที่ผอ.สวทช.ระบุมาตรการตรวจสอบความปลอดภัยมีมาก่อนการกำหนดนโยบายของรัฐบาล เพียงแต่ทบทวนและปรับปรุงเพิ่มเติม
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดสัมมนาเกี่ยวกับมะละกอดัดแปลงพันธุกรรมในประเทศไทย มีนักวิชาการ นักวิจัยจากกรมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วม โดยมีการนำเสนอผลการศึกษาทดลองที่ผ่านมา ซึ่งพบว่ามะละกอ
จีเอ็มโอผ่านการทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพสิ่งแวดล้อมและอาหารระดับหนึ่งเท่านั้น
"การค้นคว้าวิจัยมะละกอจีเอ็มโอรวมถึงพืชชนิดอื่นๆ ต้องทำทั้งในโรงเรือนปิด แปลงทดลอง รวมทั้งในระดับไร่นา แต่ที่ผ่านมาทำได้แค่สองระดับ ซึ่งถือว่า ถูกต้องแล้วที่มีนโยบายใหม่นี้ออกมาเป็นการเปิดโอกาสให้ทำการทดลองในระดับไร่นา "ผศ.พิสสวรรณ เจียมสมบัติ จากหน่วยปฏิบัติการพันธุวิศวกรรมด้านพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าว
น.ส.สุณี เกิดบัณฑิต นักวิชาการจากสถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวว่า การพัฒนาเทคโนโลยีการตัดต่อพันธุกรรมนี้มีประโยชน์ในหลายด้าน แต่ก็ไม่ใช่ออลอินวัน เพราะเมื่อออกมาแล้วอาจจะต้านทานไวรัสได้ตัวหนึ่ง แต่ก็ไม่สามารถต้านทานไวรัสสายพันธุ์อื่นๆได้ นอกจากนั้นต้องใช้งบประมาณมหาศาล และใช้ระยะเวลาในการศึกษาวิจัยค่อนข้างยาวนาน
รศ.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สวทช.) กล่าวว่า นโยบายของรัฐที่ออกมาเท่ากับเป็นการยอมรับให้มีการพัฒนาจีเอ็มโอในประเทศไทย โดยมีการประเมินผลความปลอดภัยที่รัดกุม ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีมาก่อนที่รัฐบาลจะกำหนดนโยบายใหม่นี้ เพียงแต่เมื่อกำหนดนโยบายออกมาชัดเจนก็ต้องมีการกลับไปทบทวนและปรับปรุงเพิ่มเติม โดยเสนอกรอบเวลาไว้ 3 เดือนซึ่งคิดว่าเพียงพอ
นายรุจ วัลยะเสวี ประธานคณะทำงานเพื่อประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพของมะละกอดัดแปลงพันธุกรรมกล่าวว่า ขณะนี้คณะทำงานฯกำลังติดตามการทดสอบความทนทานของมะละกอต่อโรคใบด่างวงแหวนซึ่งเป็นโรคระบาดที่สร้างความเสียหายหนักหน่วงอยู่ โดยคณะทำงานเพื่อประเมินความปลอดภัยนี้จะแบ่งเป็นหลายชุดแยกไปตามชนิดของพืช มีผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ มาช่วยพิจารณา ถือเป็นที่ปรึกษาด้าน วิทยาศาสตร์ขององค์การอาหารและยา (อย.) ก่อนที่อย.จะพิจารณาด้านอื่นๆ ต่อไป
ทั้งนี้ในสิ้นเดือนนี้จะมีการจัดทำประชาพิจารณ์ในแนวทางปฏิบัติที่คณะทำงานฯ จะนำเสนอต่อ อย. เพื่อเป็นมาตรฐานในการพิจารณาความปลอดภัยด้านอาหารต่อไป
รายงานโดย : มุทิตา เชื้อชั่ง
ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['ข่าว', 'สิ่งแวดล้อม'] |
https://prachatai.com/print/41 | 2004-08-24 14:22 | ภาคประชาชนต้านเปิดเสรีจีเอ็มโอ | ประชาไท- 23 ส.ค.2547 นักวิชาการ ภาคประชาชน จับมือต้านนโยบายรัฐเปิดเสรีจีเอ็มโอ หวั่นไทยเสียค่าโง่ต่างชาติ เตรียมชุมนุมคัดค้านหน้าทำเนียบฯ พรุ่งนี้
กลุ่มองค์กรผู้บริโภค เครือข่ายภาคเกษตรกรรม นักวิชาการ และกลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA WATCH) แสดงจุดยืนคัดค้านมติปลูกพืชจีเอ็มโออย่างเสรี เพราะเกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม
"อยากให้รัฐบาลทบทวนมติดังกล่าว มิเช่นนั้นกลุ่มผู้ค้านเปิดเสรีจีเอ็มโอทั้งหมดจะเคลื่อนไหวใหญ่ "นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการไบโอไทยระบุ
พรุ่งนี้เวลา 9.00 น. กลุ่มผู้คัดค้านการปลูกและนำเข้าพืชจีเอ็มโอ จะรวมตัวกันที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเพื่อเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีทบทวนมติดังกล่าว
นายสุรวิช วรรณไกรโรจน์ อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า รู้สึกเป็นห่วงเรื่องนี้มาก เพราะขณะนี้ไทยยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากจีเอ็มโอ ประกอบกับยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนไหนกล้ายืนยันว่าจีเอ็มโอปลอดภัยทั้งคน สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม
" ผมเป็นห่วงกลัวว่าเกษตรกรจะเดือดร้อน เพราะรัฐบาลเร่งรัดเปิดเสรีจีเอ็มโอจนผิดสังเกตุ ผมเชื่อเหลือเกินว่าจะต้องเกี่ยวโยงกับการทำเอฟทีเอกับสหรัฐฯแน่นอน " นายสุรวิชกล่าว
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ อนุกรรมการในกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า นโยบายจีเอ็มโอของไทยตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่คาดเคลื่อน ขัดแย้งกับนโยบายฟู๊ดเซฟตี้ ( food safety) และเกษตรอินทรีย์อย่างสิ้นเชิง จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนมติดังกล่าว มิเช่นนั้นสหรัฐฯอาจใช้กฎหมายที่ว่าด้วยการทำเอฟทีเอกับทุกประเทศเอาเปรียบไทยได้ และไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการทดลองภาคสนาม เพราะสามารถทดลองในห้องแล็ปได้
นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า เชื่อว่าจะต้องมีอะไรอยู่เบื้องหลังนโยบายนี้ มิเช่นนั้นคงไม่รีบทำ จนลืมคิดไปว่าสวนทางกับนโยบายเกษตรอินทรีย์ จึงอยากเรียกร้องให้ทบทวน ไม่อยากให้ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
นายวิฑูรย์ ปัญญากุล ตัวแทนจากกรีนเนท กล่าวว่า รัฐบานต้องแยกแยะพื้นที่ในการปลูกพืชจีเอ็มโอให้ชัดเจน ที่ผ่านมาไทยทำการศึกษาการปนเปื้อนทั้งในระดับเมล็ดพันธุ์ ระดับไร่นา และระดับแปรรูปน้อยมาก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีระบบขึ้นทะเบียนตรวจสอบ นอกจากนี้ไม่ควรให้ทางไบโอเทคเป็นผู้ดูแลกำกับการปลูก เพราะเป็นหน่วยงานที่ไม่น่าเชื่อถือ
นายเดชา ศิริภัทร เลขานุการมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) กล่าวว่า รัฐบาลประกาศสนับสนุนนโยบายเกษตรอินทรีย์ เกษตรยั่งยืน เกษตรผสมผสาน เมื่อปี 2544 แต่ขณะนี้เกษตรกรยังไม่ได้รับเงินแม้แต่บาทเดียว แต่กลับมาให้ความสำคัญกับนโยบายจีเอ็มโอที่ไม่เคยประกาศในสภาฯ
" ผมเห็นท่านนายกฯผลักดันเรื่องจีเอ็มโออย่างไม่มีเหตุผล เร่งรีบทำทั้งๆ ที่ไม่ใช่นโยบายที่ประกาศในสภาฯ ซึ่งถ้าท่านยังไม่หยุดความคิดเรื่องนี้ กลุ่มเกษตรกรทางเลือกทุกกลุ่มก็พร้อมจะไม่ลงคะแนนเสียงให้พรรคของท่านในการเลือกตั้งที่จะมีถึงแน่นอน" นายเดชากล่าว
รายงานโดย : สมสุข มณีทิพย์สกุล
ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['ข่าว', 'สิ่งแวดล้อม'] |
https://prachatai.com/print/43 | 2004-08-24 15:17 | จุฬาฯ ห่วงจีเอ็มโอลามข้าวไทย | นโยบายที่อนุญาตให้ปลูกร่วมกับพืชอื่นได้นั้นถือเป็นการชักศึกเข้าบ้าน เพราะพันธุ์พืชจีเอ็มโอมีระบบสิทธิบัตร ระบบคุ้มครองนักปรับปรุงพันธุ์ รวมทั้งระบบความลับทางการค้า คุ้มครองอยู่..
กรุงเทพฯ-23 ส.ค.47 นายเจริญ คัมภีรภาพ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า นโยบายที่อนุญาตให้ปลูกร่วมกับพืชอื่นได้นั้นถือเป็นการชักศึกเข้าบ้าน เพราะพันธุ์พืชจีเอ็มโอมีระบบสิทธิบัตร ระบบคุ้มครองนักปรับปรุงพันธุ์ รวมทั้งระบบความลับทางการค้า คุ้มครองอยู่ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ในราคาสูงขึ้น และไม่มีหลักประกันว่าจะไม่ปนเปื้อนในธรรมชาติ ซึ่งจะนำไปสู่การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหากเกษตรกรนำพันธุ์พืชที่ปนเปื้อนนั้นไปปลูกไม่ว่าจะรู้หรือไม่ ดังที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศแคนาดา เพราะทรัพย์สินทางปัญญาไม่ใช่ของสาธารณะ จะใช้เมล็ดพันธุ์ของเขาซึ่งเป็นผลมาจากความรู้ของเขาก็ต้องจ่ายเงิน
อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวด้วยว่า ผลประโยชน์ในเรื่องจีเอ็มโอนั้นใหญ่มาก เพราะไม่ได้ขายเมล็ดพันธุ์อย่างเดียว แต่มีทั้งปุ๋ยและสารเคมีสำหรับพืชจีเอ็มโอที่จะได้ขายควบคู่กันไปด้วย จึงมีความพยายามผลักดันให้ไทยค่อยๆ เปิดเสรีในเรื่องนี้
"เชื่อได้ว่าในการทำเอฟทีเอกับอเมริกา เราจะถูกบีบให้แก้กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ตรงกับความต้องการของเขา เพราะผลประโยชน์นั้นมหาศาล อย่ามองว่าเราเป็นเพียงประเทศเล็กๆ ในเมื่อเราสามารถส่งออกข้าวได้เกือบครึ่งโลก ขอเพียงไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกข้าวจีเอ็มโอได้เท่านั้น" นายเจริญกล่าว
รายงานโดย : ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['ข่าว', 'สิ่งแวดล้อม'] |
https://prachatai.com/print/45 | 2004-08-24 15:58 | ฟองสบู่การเมืองแตก ทักษิณหมดกึ๋น ชนชั้นกลางหมดความอดทน | ประชาไท -- 23 ส.ค. 47 ขาประจำทักษิณ ฟันธง ฟองสบู่การเมืองแตก ชนชั้นกลางหมดความอดทนกับระบอบทักษิณ วิเคราะห์แค่ระบอบเถ้าแก่ เลื่อนไหล ไม่เก่งจริง กีดกันคนคิดต่าง ทำการเมืองนิ่ง ขณะที่ชนชั้นล่างพึ่งพิงสูงขึ้นโดยนโยบายรัฐ
รศ ดร. เกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ระบุว่า การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะเป็นภาพสะท้อนภาวะอับจนทางการเมือง ของชนชั้นกลาง ถือว่าฟองสบู่การเมืองไทยแตกแล้ว เพราะชนชั้นกลางไม่พอใจรัฐบาลทักษิณอย่างถึงที่สุด
อย่างไรก็ตาม ชนชั้นกลางเองก็มีลักษณะนิสัยเฉพาะที่เป็นปัญหา คือรัฐอุ้มชูชนชั้นกลางมาตลอด ทำให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงอยู่ตลอดเวลา จึงพร้อมที่จะขับไล่รัฐบาลขณะเดียวกันก็สามารถดูดายชนชั้นล่างที่ถูกรัฐ กระทำ เช่นกรณีการฆ่าตัดตอนเพื่อแก้ปัญหายาเสพติด การอุ้มฆ่าประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
รศ. ดร. เกษียร กล่าวในการเสวนาหัวข้อ "ทักษิโนมิกส์" ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มเศรษฐศาสตร์สถาบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์ระบอบทักษิณว่า ระบอบทักษิณ มีข้อที่น่าสนใจหลายประการคือ เป็นรัฐบาลที่เป็นนายทุนใหญ่ มาจากการเลือกตั้ง มีลักษณะสมบูรณาญาสิทธิ์ และต้องการจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยเป็นทุนนิยมอย่างสุดโต่งโดยรัฐธรรมนูญฉบับ ปัจจุบันได้วางโครงสร้างทางการเมืองไว้ให้พร้อมจะเป็นอำนาจนิยมสัมพันธ์กับ ระบอบทักษิณที่พร้อมจะบดขยี้คนที่ขัดขวางการเปลี่ยนแปลง ดูได้จากนโยบายเอื้ออาทร และการฆ่าตัดตอน เป็นการทำลายภาวะความเป็นอยู่ของชนชั้นล่างอย่างรุนแรง
รัฐบาลทักษิณเป็นรัฐบาลทุนนิยมซี่งไม่มีฝ่ายค้าน เป็นการเมืองขั้วเดียว ไม่ต้องรับผิดในกรณีที่เกิดความผิดพลาดขึ้น เพราะประชาชนไม่มีตัวเลือกอื่น ซึ่งจะก่อความไม่พอใจแก่ชนชั้นกลางอย่างรุนแรง และไม่มีทางออก ขณะที่ชนชั้นล่างก็จะถูกทำให้พึ่งพิงรัฐมากขึ้น
รศ.ดร. สุวินัย ภรณวลัย อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า นายกฯ ทักษิณ คือองค์ประกอบที่เป็นปัญหาของประเทศขณะนี้ ระบอบทักษิณมีการกีดกันทางการเมืองสูงมาก ลดคุณค่าความเป็นสมาชิกทางสังคมของคนอื่นอย่างมีนัยสำคัญ เช่นการฆ่าตัดตอน ระบอบทักษิณตัดตอนกิจกรรมทางปัญญา และสังคม ด้วยการมองข้าม ด่าซ้ำ นักวิชาการปัญญาชน และเอ็นจีโอ ขณะเดียวกันก็ตัดตอนกิจกรรมทางสังคมของชนชั้นล่างให้พึ่งพารัฐด้วยเงินที่ อัดฉีดผ่านโครงการต่าง ๆ เช่นกองทุนหมู่บ้าน เอสเอ็มแอล
ในอนาคตอันใกล้ จะเกิดการปะทะแห่งโลกทัศน์ แต่ตั้งข้อสังเกตว่าการวิพากษ์วิจารณ์ทักษิณในปัจจุบัน อยู่ในกรอบของจริยธรรม ความชอบธรรม และสิทธิมนุษยชนซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ทักษิณกระทบกระเทือนได้ เพราะปัญหาของทักษิณคือไม่ได้เป็นสิ่งที่ตัวเองประกาศหรือที่คนอื่น วิเคราะห์อย่างแท้จริง
"ผมมองว่านายกฯ ทักษิณ หมดกึ๋นแล้วพอรู้ว่าคะแนนเสียงลง สิ่งที่เขาทำก็คือว่าทำยังไงถึงจะดึงคะแนนกลับมา ก็มาทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กับการแก้ปัญหาจราจร ซึ่งผมเห็นว่าผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ในการบริหารจะต้องปล่อยให้กลไกการทำงาน ดำเนินไปโดยไม่เข้าไปล้วงลูก ซึ่งผมเห็นว่า ยิ่งล้วงลูกมาก ก็ยิ่งแสดงให้เห็นความล้มเหลวเชิงองค์กร"
รศ. ดร. สุวินัย กล่าวต่อไปว่า พตท. ทักษิณไม่มีโอกาสเป็นรัฐบุรุษแล้ว เพราะล้มเหลวมาจากกรณีแก้ปัญหาความยากจนโดยยึดตัวเองเป็นที่ตั้ง
ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สาระสำคัญของระบอบทักษิณคือ มีลักษณะเลื่อนไหล ไม่คงตัว ขึ้นอยู่กับความตื่นตัว (Hyper Activeness) ของผู้นำ คือ พตท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งตัวพตท. ทักษิณเองเป็นประดิษฐกรรมเพื่อตลาดการเมืองระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ให้พตท. ทักษิณ เป็นผู้นำแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศ.รังสรรค์ อธิบายต่อว่า สังคมการเมืองภายใต้ระบอบทักษิโณมิกค์ ต้องการความนิ่ง เป็นระบบเถ้าแก่ที่ไม่ต้องการการมีส่วนร่วม ไม่ต้องการการตรวจสอบ ลูกจ้างและหลงจู๊ต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามเถ้าแก่ ก่อให้เกิดระบบทักษิณานุวัตร คือ ข้าราชการ สื่อมวลชน นักวิชาการ ต้องอนุวัตรตามเถ้าแก่ แม้ว่าพตท. ทักษิณ จะพยายามประกาศว่า ระบบ ซีอีโอ คือหัวใจของการบริหาร แต่รัฐบาลทักษิณกลับไม่มีวัฒนธรรม และบุคลากรแบบ ซีอีโอ เพราะล้วนเป็นเถ้าแก่ที่เคยบริหารกิจการที่ตนเองเป็นเจ้าของ
รายงานโดย : ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์', 'ชนชั้นกลาง', 'ซีอีโอ', 'ทักษิณ ชินวัตร', 'ทักษิโนมิกส์', 'มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์', 'ระบอบทักษิณ', 'รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์', 'สุวินัย ภรณวลัย', 'เกษียร เตชะพีระ', 'เสวนา'] |
https://prachatai.com/print/47 | 2004-08-24 16:10 | กอต.เสนอเลิกถนนคลองลาน-อุ้มผาง | ประชาไท-23 ส.ค.47 คณะกรรมการอนุรักษ์ ผืนป่าตะวันตก(กอต) 6 จังหวัด เสนอให้กรมทางหลวงลบทางหลวงช่วงคลองลาน-อุ้มผางออก ทั้งเสนอให้รื้อป้ายแสดงเส้นทางเข้า-ออก ถนนคลองลาน-อุ้มผาง ทิ้ง
ที่ประชุมกอต. ยังเสนอที่จะทำแผ่นพับแสดงแหล่งท่องเที่ยวให้กับอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ใหม่ โดยขอให้เลิกใช้แผ่นพับเดิมที่แสดงแหล่งท่องเที่ยวเส้นคลองลาน-อุ้มผาง รวมถึงผลักดันให้อ.อุ้มผางเป็นพื้นที่ที่รัฐบาลให้การดูแลเป็นกรณีพิเศษทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษา รวมถึงสนับสนุนราคาผลผลิตให้กับเกษตรกรเป็นการทดแทน
นายปณิธิ ตั้งผาติ ประธานกอต. จังหวัดตาก กล่าวว่า ทางกอต.จะเข้ายื่นหนังสือคัดค้านการก่อสร้างถนนสาย 1117 (คลองลาน-อุ้มผาง) ต่อกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมของวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร
นอกจากนั้น จะร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์อื่นๆ เดินสายประสานงานกับกลุ่มหรือบุคคลที่คัดค้านการก่อสร้างถนนสาย 1117 คลองลาน-อุ้มผาง อาทิ สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม่ทัพภาค ให้ออกมาแสดงความเห็นผ่านสื่อมวลชน ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นสังคมให้สนใจติดตามประเด็นนี้ โดยจัดในรูปแบบการจัดเสวนา หรือออกรายการโทรทัศน์ต่างๆ
ด้าน ร.ต.อ.สมบัติ พันธุ์ณรงค์ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)อุ้มผาง กล่าวว่า ขณะนี้ทางกลุ่มที่สนับสนุนการก่อสร้างถนนสายนี้ วางแผนจะจัดเชิญฝ่ายผู้คัดค้านทั้งหมดมาประชุมเพื่อหาข้อยุติร่วมกัน พร้อมทั้งยืนยันว่าถนนสายนี้เป็นความต้องการของชาวอุ้มผาง แต่หากเกรงผลกระทบจากการตัดถนนสามารถทำเป็นสะพานลอยฟ้าดังที่ทางอำเภออุ้มผางนำเสนอได้
รายงานโดย : มุทิตา เชื้อชั่ง
ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['ข่าว', 'สิ่งแวดล้อม'] |
https://prachatai.com/print/48 | 2004-08-24 16:18 | สำรวจเส้นทางอดีตถนนสายความมั่งคง คลองลาน - อุ้มผาง | ภาพที่1 ทิวเขาระหว่างทาง - ระหว่างทาง : ทิวเขาสลับซับซ้อนอวดโฉมระหว่างเส้นทาง โดยจุดสีเขียวอ่อนเป็นหย่อมๆ นั้นคือพื้นที่ที่เคยเป็นสวนส้มของนายทุนหรือที่ทำกินของชาวเขามาก่อนมีการอพยพคนออกจากพื้นที่ราวปี 2529
เพียงชั่วครู่บรรยากาศรอบตัวที่ร้อนอบอ้าวกลับกลายเป็นเย็นจับใจ หลังทีมสำรวจเส้นทางซึ่งนำโดยชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม และมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ก้าวเท้าลง ณ จุดเริ่มต้นสำรวจ ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อสำรวจเส้นทางสาย 1117 คลองลาน-อุ้มผาง
ข้อมูลเบื้องต้นที่เรารับทราบก็คือ ทางเส้นนี้ถูกเปลี่ยนโฉมแปลงทรงอยู่หลายครั้ง จากเส้นทางเพื่อความมั่นคง เป็นเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยว และในวันนี้กำลังถกเถียงกันในการซ่อมสร้างต่อให้ทะลุถึงอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต
ความพยายามขยายอรรถประโยชน์ของถนน เพิ่มเติมไปสู่เรื่องเศรษฐกิจและการพัฒนาของชาวอุ้มผางนั้น เกิดขึ้นหลายครั้งโดยมีหัวเรี่ยวหัวแรงใหญ่เป็นนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดตาก กระทั่งล่าสุดในการทัวร์นกขมิ้นทางภาคเหนือ นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการบูรณะและสร้างต่อถนนสายนี้ ด้วยงบประมาณ 573 ล้านบาท
เหตุผลสำคัญของการบูรณะเส้นทางสายนี้ ก็คือจะช่วยย่นระยะทางจากทางสายเก่าที่อ้อมและคดเคี้ยวถึง 1,219 โค้ง ลงเกือบ 200 กม. โดยจะเอื้อประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษาและสาธารณสุขแก่ชาวอุ้มผาง "เมืองซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับประเทศ แต่ไม่มีแม้ธนาคารสักแห่ง" วีระ ยอดเมือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) อุ้งผาง ระบุ
แต่เพียงนายกฯ ประกาศผลงานไม่ทันข้ามคืน กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย ที่จะรื้อฟื้นถนนผ่านผืนป่าตะวันตก "มรดกโลก" ที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมูลนิธิสืบนาคะเสถียรระบุชัดเจนว่า เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ยังดำรงอยู่ ก็เพราะ "ป่าแถบนี้ไม่มีถนนตัดผ่าน" จะมีก็แต่ถนนลำลอง2-3 สาย เพื่อการลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่ป่าไม้เท่านั้น"
แม้แต่ถนนสาย 1117 คลองลาน-อุ้มผาง ที่ในอดีตสามารถสร้างมาถึงกม.ที่115 ก็ยังมาสุดทางเอาดื้อๆ ที่กม. 93 ในอุทยานแห่งชาติ (อช.) แม่วงก์ ซึ่งเป็นจุดพิเศษกลางช่องเขาที่ลมพัดเย็นตลอดปี เป็นที่มาของคำว่า "ช่องเย็น" ส่วนเส้นทางที่เหลือถูกปิดตายมา 17 ปีตั้งแต่ปี2530 ด้วยไม่ต้องการให้การคมนาคมไปรบกวนที่อยู่และแหล่งหากินของสัตว์ป่านานาพันธุ์
เจ้าหน้าที่มูลนิธิสืบฯ เล่าว่า ป่าแถบนี้มีความหลากหลายด้านชีวภาพค่อนข้างสูง เพราะตั้งอยู่ในบริเวณที่เอื้อต่อการกระจายพันธุ์ของสัตว์ป่า 3 กลุ่มที่พบในแถบป่าตะวันตก มลายู และอินโดจีน มีการข้ามถิ่นหากินกันไปมาเพราะมีเขตป่าที่เชื่อมถึงกัน ทำให้เราพบสัตว์ที่มีถิ่นอยู่ทางใต้อย่าง สมเสร็จ ได้ในป่าอุ้งผาง
"การเข้ามาของถนน จะนำมาซึ่งสิ่งอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าธุรกิจรีสอร์ต การค้าขาย การขนส่ง และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ส่งผลต่อการกระจายพันธุ์ของสัตว์และทำลายแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของประเทศ มันจะทำให้ป่าผืนนี้ไม่ต่างอะไรกับเอราวัณ ซึ่งเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวและการชื่นชมอย่างฉาบฉวย เหมือนเอาของห้างมาขายแบกะดิน"
"เมื่อตัดถนนเส้นนี้ได้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นศักราชของการตัดถนนเส้นอื่นๆ ผ่านเข้าไปในป่าตะวันตก ป่าที่แบ่งซอยเป็นส่วนๆ มันไม่ใช่ป่า แต่เป็นสวนหย่อม" อาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ จากมูลนิธิสืบฯ อธิบายให้ฟังถึงเหตุผลในการคัดค้านอย่างแข็งขัน พร้อมยืนยันความเป็นสืบฯ ว่า "เราก็ต้องเฝ้าผืนป่านี้เหมือนหมา"
ถนนสู่ช่องเย็น
เส้นทางคดเคี้ยวเกือบ 20 กม.จากที่ทำการอทุยานฯ สู่ "ช่องเย็น" จะเห็นยอดเขาสลับซับซ้อนยาวเหยียด สลับกับเขาหัวโล้นสีเขียวอ่อนเป็นช่วงๆ ซึ่งก็คืออดีตป่าผืนเก่าที่ถูกบุกรุกก่อนจะอพยพคนออกไปปีช่วงปี 2529-2530
หัวหน้าอุทยานแม่วงก์บอกกับเราว่า ส่วนใหญ่แล้วเป็นพืชไร่และสวนส้มของนายทุน แต่ขณะนี้พื้นที่ดังกล่าวกำลังฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว "อีกไม่นานนัก จากสีเขียวอ่อนคงเริ่มเป็นสีเขียวครึ้ม"
เพลินกับทิวทัศน์ไม่นาน ในที่สุดเราก็มาถึงจุดพักค้างแรมที่ "ช่องเย็น"
"ช่องเย็น" ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยสายลมที่โหมพัดไม่หยุดหย่อนและหมอกที่ขาวโพลนไปทั่วบริเวณในยามเย็นย่ำ ละอองฝนบางๆ ของปลายฤดูฝนเช่นนี้ยิ่งเพิ่มความเย็นยะเยือกให้กับคณะนักข่าว บางคนเตรียมมาแค่เสื้อแขนยาวธรรมดา เพราะเข้าใจว่า ช่อง-เย็น ไม่ใช่ ช่อง-หนาว แล้วพวกเขาก็ค้นพบในทันทีว่าโทษทัณฑ์ของการดูเบาความเย็นอันยะเยือกนั้นสาหัสเพียงไร
ค่ำคืนนั้น เราแยกย้ายกันเข้ายึดห้องพัก 3 ห้องจากที่มีทั้งหมด 5 ห้อง ในห้องของหญิงสาวมีการล้อมวงพูดคุยจิปาถะโดยมีเพียงตะเกียงดวงน้อยเป็นเพื่อน แผงไฟบนผนังเพียงเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกว่าครั้งหนึ่งที่นี่เคยมีการปั่นไฟใช้เอง แต่ก็มาเลิกไปเพราะเครื่องปั่นไฟเสียงดังรบกวนสัตว์ป่า เราตระหนักได้ในนาทีนั้นว่า ณ ที่แห่งนี้ มนุษย์เป็นเพียงผู้มาเยือนตัวเล็กๆ ที่จะต้องรู้จักเกรงใจเจ้าของบ้าน
เช้าวันรุ่งขึ้นเราเปิดประตูห้องพักออกมาพบกับสายหมอกหนาแทนที่จะเป็นรถราแออัดบนถนนอย่างเคย แผนการสำรวจเส้นทางแต่เช้าตรู่ต้องเลื่อนออกไปเล็กน้อยเพื่อรอคอยแสงสว่าง ระหว่างนั้นก็กินข้าวผัดและน้ำเต้าหู้-ปาท่องโก๋ ที่คุณสุเทพ บุญประคอง หัวหน้าอช.แม่วงก์เตรียมไว้ให้บรรดาแขกดอยเป็นอย่างดี
ในวงข้าวกลางสายหมอกหนาและสายลมแรงที่พัดเย็นไปถึงกระดูก ใครคนหนึ่งพูดขึ้นว่า "ถ้าทำถนนจริงๆ ช่องเย็นคงโด่งดังแบบน่าสยดสยอง" ทุกสายตาหันมาจับจ้องผู้พูดด้วยความสงสัย "หมอกหนาขนาดนี้ รับรองช่องเย็นคงได้เป็นช่องมรณะให้รถขับตกเหวกันเป็นประจำแน่ อย่างนี้ไม่ดังแบบน่าสยองได้ไง" แล้วเสียงหัวเราะก็ดังให้กับคนช่าง(อุตริ)คิด
พอหมอกเริ่มจาง เราดูแผนที่ดาวเทียมของมูลนิธิสืบฯ ก่อนออกเดินสำรวจเส้นทาง แผนที่นั้นอวดความสมบูรณ์ของป่าตะวันตก แต่ขณะเดียวกันก็ตอกย้ำความแห้งแล้งอย่างยิ่งของประเทศไทย ซึ่งมีผืนป่าโดยรวมน้อยมาก น้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ ไม่เว้นแม้แต่มาเลเซีย
บนเส้นทางที่ถูกลืม
จุดเริ่มต้นเส้นทางที่หายเข้าไปในป่า เป็นแผ่นป้ายขนาดใหญ่เขียนว่า "ถนนปิด ห้ามผ่าน" และมีไม้ที่กั้นอยู่ เสมือนกำลังเดินเข้าสู่ซอยตัน ฉากหลังไม้กั้นเป็นพงหญ้าและต้นไม้ที่ขึ้นหนาจนไม่เห็นอดีตพื้นถนนลาดยาง หลังจากเดินไม่กี่ก้าวก็พบว่า ถนนลาดยางแทบไม่เหลือสภาพเดิม มีหลายช่วงที่ยางมะตอยกลายเป็นพื้นดินปกติซึ่งละม้ายทางเดินหาของป่าของชาวบ้านมากกว่า
คณะสำรวจ เดินไปไม่ถึง 100 เมตรจะเห็นต้นไม้ขนาดกลางขึ้นเขียวครึ้มรวมทั้งดงกล้วยป่า เจ้าหน้าที่ป่าไม้บอกเราว่าสภาพป่าที่นี่มีพันธุ์ไม้ที่คล้ายกับทางภาคใต้ เพราะสภาพอากาศค่อนข้างชื้น และเต็มไปด้วยพนักงานต้อนรับแห่งป่า นั่นก็คือ "ทาก"
ระหว่างทางสายเล็กๆ ที่ลัดเลาะไปตามช่องเขา เราจะพบสภาพรกครึ้ม สลับกับกอหญ้าสูงโปร่ง ขณะที่เดินผ่านบริเวณพื้นที่โปร่งที่คั่นอยู่ช่วงสั้นๆ นั้น เราสามารถแอบดูภูเขาสีเขียวแก่ลูกข้างๆ ได้ แต่เพียงไม่นานก็เข้าสู่สภาพรกครึ้มอีก พวกเราไม่กล้าหยุดนานหรือเถลไถลออกนอกทางเดินแคบๆ มากนัก เพราะเกรงพนักงานต้อนรับจะแอบโดยสารตามแขนขาของพวกเรากลับที่พักด้วย
ลึกเข้าไปราว 2 กม. จะพบลานหินใหญ่ที่เปลี่ยนทิวทัศน์โดยรอบให้โปร่งโล่งสว่างตา เรานั่งพักพูดคุยกันพักหนึ่ง พยายามจะถ่ายรูปร่วมกัน แต่ก็จับปูใส่กระด้งไม่สำเร็จ
จากนั้นหลายคนก็เตรียมตัวหันหลังกลับเพราะชัดเจนกับสภาพเส้นทางแล้ว แต่หลายคนที่เหงื่อไม่ทันออกยังยืนยันอยากไปให้ถึงกม.115 แต่หารือกันไม่นานก็ต้องยอมกลับด้วยจำนนต่อเวลาที่เร่งรัด หารู้ไม่ว่าจะได้เหงื่อโทรมกายสมใจในตอนขากลับที่เป็นทางขึ้นเขา
แดดกล้าในยามบ่ายทำให้ช่องเย็นคลายความหนาวเย็นรวดเร็วจนบางคนถามหายาแก้ไข้ ก่อนที่พวกเราจะอำลาผืนป่าสู่เมือง พร้อมกับการบ้านอันหนักหน่วงในการขบคิดเรื่อง "การอนุรักษ์" และ "การพัฒนา" ซึ่งอาจจะใหญ่กว่าโจทย์ของการพิสูจน์ว่า "การบูรณะถนน" ตามที่จังหวัดกำแพงเพชรเสนอนั้นมีความคลาดเคลื่อน โดยดูจากเส้นทางกว่า 22 กม. ที่หายเข้าไปในป่านานถึง 17 ปี บัดนี้ถูกป่าที่เริ่มฟื้นตัวเข้าปกคลุมจนไม่เหลือสภาพถนนเดิมให้ซ่อม ต้องสร้างใหม่สถานเดียว
เพราะปัญหาคือหากเลือกถนนเสียแล้ว ไม่ว่าการซ่อมหรือการสร้างใหม่ ก็คงไม่แตกต่างกันมากนัก อย่างไรก็ดี มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีขนาดสมองใหญ่กว่าสัตว์ทั่วไป คำตอบในเรื่องนี้จึงน่าจะคิดให้ยากกว่าการเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะชาวอุ้มผางก็เป็นพลเมืองที่รัฐมีหน้าที่ต้องดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นเดียวกับพลเมืองในที่อื่นๆ ในขณะที่ป่าไม้ในประเทศไทยก็เหลืออยู่น้อยนิด และแสนจะเปราะบาง
รายงานโดย : มุทิตา เชื้อชั่ง
ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['ข่าว', 'สิ่งแวดล้อม'] |
https://prachatai.com/print/46 | 2004-08-24 16:02 | ชนชั้นกลางในความหมายของ เกษียร เตชะพีระ | รศ. เกษียร เตชะพีระ กล่าวอธิบายความหมายของชนชั้นกลางในการกล่าวในการเสวนาหัวข้อ "ทักษิโนมิกส์" จัดขึ้นโดยกลุ่มเศรษฐศาสตร์สถาบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ที่ผ่านมา"
ชนชั้นกลางคือ กลุ่มคนที่ไต่เต้าขึ้นมาเงยหน้าอ้าปากอย่างกะทันหันพร้อมคลื่นเศรษฐกิจฟองสบู่ระลอกต่างๆ ชนชั้นกลางพึ่งพาอาศัยให้รัฐอุ้มให้ถูกต่างชาติเอื้อโอกาส พวกเขาจึงดำรงชีวิตอยู่อย่าง Insecure วิตกจริตไม่วายว่า เมื่อไหร่ฟองสบู่จะแตก ว่าดวงตนจะตก ตัวเองจะตกจากสถานะชนชั้นที่เพิ่งได้มา ความตื้นเขินขาดด้อยประสบการณ์ทำให้ง่ายที่พวกเขาจะยกโขยงเข้าแห่ห้อมฟองสบู่การเมืองที่สามารถเป่าเสกความหวัง ความมั่นคงอุ่นอกอุ่นใจให้ยามสิ้นหวังซังกะตาย แต่กระนั้นพวกเขาก็ไม่ซื่อกับใคร พร้อมจะหันกลับมาหวาดระแวงแว้งกัดปรักปรำกล่าวโทษคนอื่นต่อสภาวะเลวร้ายที่เกิดขึ้นแทนที่จะโทษตัวเอง
นี่คือกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมแบบนี้มาตลอด ก็คือ ออกมาช่วยนักศึกษาตอน 14 ตุลาฯ แล้วกลัวคอมมิวนิสต์ หันมากระทืบนักศึกษาตอน 6 ตุลาฯ เป็นกลุ่มคนที่เข้าพบมอบกระเช้าดอกไม้แสดงความยินดีกับรัฐประหาร รสช. เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2534 แล้วก็ออกมาชุมนุมประท้วงขับโค่นรัฐบาลพลเอกสุจินดาเมื่อพฤษภาคม ปี 2535
นี่คือ กลุ่มคนที่ร่วมเสี่ยงเจ็บเสี่ยงตายเดินขบวนขับไล่รัฐบาลสุจินดาภายใต้การนำของพลตรีจำลอง ศรีเมือง แต่แล้วก็ปันใจไปเลือก ส.ส.ประชาธิปัตย์แทนพรรคพลังธรรมในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนกันยายน 2539 ถึง 9 ที่นั่งจน ชวน หลีกภัย ได้ขึ้นเป็นนายกฯ แทนที่จะเป็นพลตรี จำลอง แล้วต่อมายังโหวตเลือกพิจิตร รัตกุลเป็นผู้ว่ากทม. แทนพลตรีจำลอง จนฝ่ายหลังอกหักประกาศบอกลาการเมืองกรุงเทพฯ (ชั่วคราว) เทคะแนนกว่าล้านเสียงเลือกคุณสมัคร สุนทรเวชเป็นผู้ว่า กทม. อย่างไม่เคยมีคะแนนสูงขนาดนี้มาก่อนในปี 2543 โดยไม่แคร์ภูมิหลังทางการเมืองสมัย 6 ตุลา ของคุณสมัคร แต่แล้วก็โอดครวญแสดงความผิดหวังสำนึกเสียใจเมื่อปลายสมัยคุณสมัคร
นี่คือกลุ่มคนที่ไปโหวตให้ทักษิณ เพราะผลกระเทือนจากวิกฤติเศรษฐกิจ นี่คือกลุ่มคนที่มองดูทักษิณควบรวมอำนาจในกลุ่ม Elite เฉย ๆ และยืนเอามือกอดอกดูระบอบทักษิณเอื้ออาทรและฆ่าตัดตอนคนชั้นล่าง"
รายงานโดย : ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'ชนชั้นกลาง', 'ทักษิณ ชินวัตร', 'ทักษิโณมิค', 'พิจิตร รัตกุล', 'ระบอบทักษิณ', 'สมัคร สุนทรเวช', 'เกษียร เตชะพีระ', 'เสวนา'] |
https://prachatai.com/print/49 | 2004-08-24 18:44 | 17 ปี ของเส้นทางสาย 1117 | โครงการถนนสาย 1117 คลองลาน-อุ้มผาง อยู่ในกระแสการถกเถียงอีกครั้ง หลังจากกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นใน อ.อุ้มผาง จ.ตาก และอ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร เสนอโครงการบูรณะถนนเพิ่มเติมแก่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีระหว่าง "การทัวร์นกขมิ้น" เยือนภาคกลางและภาคเหนือ เมื่อวันที่ 17-22 กรกฎาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการของโครงการดังกล่าว วงเงินบูรณะ 573 ล้านบาท และมอบหมายให้กรมทางหลวงและทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคมพิจารณาสร้างเพิ่มเติม
เมื่อ 18 ปีที่แล้ว กรมทางหลวงสร้างถนนดังกล่าว เพื่อประโยชน์ด้านความมั่นคง ในการส่งกำลังบำรุงเจ้าหน้าที่ทหาร - ตำรวจ เข้าปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่หลบซ่อนอยู่ในเขตป่าเขา
หลังจากสงครามสงบลง กองทัพภาค 3 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 กรมป่าไม้ และจังหวัดกำแพงเพชรมีความเห็นร่วมกันว่า การก่อสร้างถนนจะกระทบกระเทือนความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าบริเวณนี้
ในปี 2529 จึงได้ร่วมกันอพยพชาวเขากว่า 5,000 คนออกจากพื้นที่ต้นน้ำ และคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งระงับการก่อสร้างเส้นทางดังกล่าวในปี 2530 ทำให้ถนนสายนี้สุดทางแค่กม.ที่ 115 เหลือเพียง 28 กม.ก็จะทะลุถึงบ้านอุ้มผางคี ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก
ถนนสายนี้อยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัดกำแพงเพชรถึง กม.ที่94.5 โดย กม.ที่ 57-94.5 อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และอุทยานแห่งชาติคลองลานบางส่วน ส่วน กม.94.5 - 115 อยู่ในพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก
ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ก็ได้ตั้งด่านที่กม.57 และอนุญาตให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปตามเวลาที่อุทยานฯ กำหนดเท่านั้น โดยเส้นทางจะไปสิ้นสุดที่กม.93 หรือบริเวณที่เรียกกันว่า "ช่องเย็น" ปล่อยให้เส้นทางที่เหลือราว 22 กม. ถูกทิ้งรกร้าง ด้วยเหตุผลเพื่อการอนุรักษ์ผืนป่า
อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ถูกรื้อฟื้นโดยนักการเมืองและกลุ่มธุรกิจในพื้นที่ในปี 2532 และ 2540 แต่กองทัพภาค 3 และกรมป่าไม้ยืนยันความเห็นให้ชะลอโครงการ โดยในปี 2540 กรมป่าไม้ได้ลงสำรวจพื้นที่แล้วระบุในรายงานว่า
"...การบูรณะซ่อมแซมถนนเดิมหรือการสร้างถนนไปออกที่บ้านอุ้มผางคีจะเป็นการส่งผลกระทบโดยตรงกับทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า สภาพพื้นที่เหมาะที่จะทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติมากกว่าการสร้างถนนในพื้นที่..." (www.serb.org.th/)
กระทั่งการเรียกร้องให้สร้างถนนได้รับการตอบรับจากรัฐบาลในครั้งล่าสุดนี้ ด้วยเหตุผลว่าถนนนี้จะย่นระยะทางการเดินทางไปอ.อุ้มผางราว 200 กม. ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ทำให้ชาวอุ้มผางเข้าถึงบริการต่างๆ ได้ดีขึ้น ลดค่าขนส่ง ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อย่างดียิ่ง
พร้อมกันกับที่ฝ่ายอนุรักษ์อย่างมูลนิธิสืบนาคะเสถียร คณะกรรมการอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตก (กอต.) 6 จังหวัด และอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ออกมาระบุว่า เส้นทางตั้งแต่กม. 93 ขึ้นไป ถูกปิดมากว่า 17 ปีทำให้ป่าบริเวณนั้นฟื้นตัวและเส้นทางดังกล่าวก็ไม่เหลือสภาพที่ใช้การได้อีกต่อไป
ฉะนั้นจึงไม่ใช่การบูรณะแต่เป็นการสร้างใหม่ทั้งหมดตั้งแต่กม.93 ซึ่งหากดำเนินการแล้วจะเป็นการตัดผืนป่าตะวันตกซึ่งเป็นผืนเดียวกับป่ามรดกโลกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข็ง ออกเป็น 2 ส่วน กระทบต่อระบบนิเวศ การกระจายพันธุ์ของสัตว์ป่า และแหล่งต้นน้ำสำคัญของประเทศ
รายงานโดย : ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['ข่าว', 'สิ่งแวดล้อม'] |
https://prachatai.com/print/51 | 2004-08-24 18:49 | เบนซิน 95 ขยับเป็น 21.79 บาทต่อลิตร | กรุงเทพฯ -23 ส.ค. 47 กระทรวงพลังงานประกาศปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินเป็นครั้งที่ 7 อีกลิตรละ 60 สตางค์ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เวลา 06.00 น.วันพรุ่งนี้(24 ส.ค.) ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ขยับขึ้นเป็นลิตร ละ 21.79 บาท
ส่วนน้ำมันเบนซินออกเทน 91 ขยับขึ้นเป็นลิตรละ 20.99 บาท ขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลยังคงตรึงราคาอยู่ที่ลิตรละ 14.59 บาท เหมือนเดิม
การปรับราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ใกล้เคียงกับราคาจริงซึ่งอยู่ที่ลิตรละ 22.35 บาท ส่วนราคาเบนซินออกเทน 91 ที่แท้จริงอยู่ที่ลิตรละ 21.64 บาท ส่วนการชดเชยราคาน้ำมันของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจนถึงขณะนี้อยู่ที่ 26,741.76 ล้านบาท หรือคิดเฉลี่ยวันละ 296.98 ล้านบาท
ขณะที่กรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการเก็บภาษีสรรพสามิต เพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานตามนโยบายรัฐบาล โดยยึดหลักการใช้น้ำมันมากจะต้องเสียภาษีมาก โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนนี้
ปัจจุบันกรมสรรพสามิตเก็บภาษีน้ำมันเบนซิน อยู่ที่ 3 บาท 6 สตางค์ ต่อลิตร ขณะที่น้ำมันดีเชลเก็บภาษีสรรพสามิตอยู่ที่ 2 บาท 2 สตางค์ต่อลิตร
รายงานโดย : ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['ข่าว', 'สิ่งแวดล้อม'] |
https://prachatai.com/print/44 | 2004-08-24 15:48 | บทวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างบรรษัทข้ามชาติกับสื่อระดับโลก : กรณีบทความ "เมล็ดพันธุ์แห่งความห | "ข้าวสีทอง และพืชผลที่ได้รับการตัดต่อวิศวกรรมทางพันธุกรรมอื่น อาจจะปฏิวัติการเพาะปลูก และช่วยแก้ไขปัญหา ความอดอยากในโลก แต่ผู้ประท้วงกลัวว่า มันอาจจะทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย
ทุกวันนี้ ดูจะเป็นความเชื่อกระแสหลัก ของสังคมไทยไปแล้วว่า สื่อที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศ มีคุณภาพสูงกว่า สื่อในประเทศในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านจรรยาบรรณ ในการเสนออย่างเป็นกลาง ปราศจากการถูกครอบงำใดๆ หรือการให้ข้อมูลที่ครบถ้วนแม่นยำ เป็นที่เชื่อถือ บทความเมล็ดแห่งความหวัง ก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นว่า ความจริงเป็นเช่นนั้นไม่ กล่าวคือ สื่อต่างประเทศ ก็มิได้จะปลอดจากการถูกครอบงำ และข้อมูลที่ให้ ก็มิใช่ว่าจะถูกต้องแม่นยำเสมอไป เช่นเดียวกับสื่อของไทย
หน้าปกนิตยสารไทม์เอเชีย ฉบับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2001 ปรากฏข้อความใหญ่เต็มปกว่า "ข้าวชนิดนี้อาจสามารถช่วยเหลือเด็กหนึ่งล้านคนต่อปี"
ตามด้วยข้อความเป็นตัวหนังสือขนาดเล็กว่า "..แต่ผู้ประท้วงเชื่อว่า อาหารที่ได้รับการตัดต่อ ทางพันธุวิศวกรรม (จีเอ็มโอ) ไม่ดีต่อเราและโลกของเรา ข้าวชนิดนี้คุ้มกับความเสี่ยงหรือไม่?"
ในคอลัมน์วิทยาศาสตร์ มีข้อความพาดหัวว่า "เมล็ดแห่งความหวัง" ตามด้วยข้อความดังนี้ "ข้าวสีทอง และพืชผลที่ได้รับการตัดต่อวิศวกรรมทางพันธุกรรมอื่น อาจจะปฏิวัติการเพาะปลูก และช่วยแก้ไขปัญหา ความอดอยากในโลก แต่ผู้ประท้วงกลัวว่า มันอาจจะทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย ข้างๆ ข้อความ มีรูปผู้หญิงชาวเอเชีย อายุประมาณ 30 ปี อุ้มเด็กวัย 3-4 ขวบ ซึ่งมีดวงตาที่ผิดปรกติ มีข้อความอธิบายภาพว่า "ความฝัน : ข้าวเสริมวิตามินเอ อาจสามารถป้องกันโรคตาบอด ในเด็กที่ขาดธาตุอาหาร ดังเช่น ริสคา เมาลิดา วัย 3 ขวบ ที่กำลังเล่นกับแม่ของเธอ "อาโจ" ในสลัมเมืองจาการ์ตา
บทความชิ้นนี้ เริ่มต้นด้วยการเล่าเรื่องเบื้องหลังการวิจัย การตัดต่อทางวิศวพันธุกรรมในข้าว เพื่อเสริมสารเบตาแคโรทีน ซึ่งร่างกายใช้ในการผลิตวิตามินเอ เข้าไปในเมล็ดข้าวสาร ซึ่งทำให้สีของเมล็ดข้าวสารเป็นสีเหลืองอ่อน และเป็นที่มาของชื่อ "เมล็ดข้าวสีทอง"
ด้วยการสนับสนุนจาก มูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์ และรัฐบาลประเทศสวิสเซอร์แลนด์ รวมถึงสหภาพยุโรป จึงเกิดโครงการวิจัยมูลค่า 2.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 117 ล้านบาท) ขั้นในปี 1993 โดย ศ.อิงโก โพทรีคัส แห่งสถาบันเทคโนโลยีสวิส (Swiss Federal institute of Tech nology) และปีเตอร์ เบเยอร์ จากมหาวิทยาลัยไฟรเบอร์ก เพื่อสร้างข้าวสีทองที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ของผู้ยากไร้ จำนวนหลายล้านคนบนโลก เนื่องจากในบรรดาประชากรโลก จำนวน 3 พันล้านคน ที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ประมาณ 10 % -ของคนกลุ่มนี้ มีความเสี่ยงกับการเป็นโรคขาดวิตามินเอ
โลกมีเด็กที่ต้องเสียชีวิตด้วยโรคนี้ กว่าหนึ่งล้านคนต่อปี และอีกกว่า 3.5 แสนคน ที่ต้องพิการตาบอด ทั้งนี้โครงการวิจัยข้าวสีทอง ได้บรรลุผลในปี 1999 เมื่อต้นปี 2001 นี้เอง ตัวอย่างของข้าวสีทอง ได้ถูกส่งต่อไปยังสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ณ ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อการวิจัยพัฒนาข้าวจีเอ็มโอ เสริมวิตามินเอ ในข้าวพันธุ์เขตร้อน เช่นเดียวกับ กรณีพืชจีเอ็มโอ อื่นๆ ข้าวสีทอง ถูกโจมตีจากกลุ่มเกษตรกร และนักสิ่งแวดล้อม ทั้งในและนอกฟิลิปปินส์
ในอีกด้าน ผู้เขียนก็ได้แสดงออก ถึงความเข้าใจในเหตุผล ของกลุ่มผู้ต่อต้านจีเอ็มโอ ที่คิดว่า "ทำไมจึงต้องเลือกพึ่งพาเทคโนโลยีใหม่ และแปลกประหลาด ที่อาจทำอันตรายต่อระบบนิเวศ(ไบโอสเฟียส)
ในเมื่อประโยชน์ที่ได้รับดูจะมีเล็กน้อย"
แต่ก็ได้ให้ความเห็นว่า กรณีข้าวสีทองนั้น แตกต่างจากกรณี พืชจีเอ็มโออื่นๆ ด้วยเหตุผลว่า "เป็นความจริงที่ประโยชน์จากพืชจีเอ็มโอ อื่นๆ มีเล็กน้อย จนกระทั่งเกิดข้าวสีทอง เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน และมีน้ำหนัก ตัวอย่างแรกของพืชจีเอ็มโอ ที่ไม่เพียงแต่จะให้ประโยชน์ กับเกษตรกรผู้ผลิตเท่านั้น แต่อาจจะเป็นประโยชน์ กับผู้บริโภคที่กินมันด้วย"
จริงอยู่ว่า โดยรวม บทความ "เมล็ดแห่งความฝัน" นี้ ได้ให้ข้อมูล และเหตุผลจากทั้งสองด้าน (ของกรณีข้าวสีทอง และพืชจีเอ็มโออื่นๆ) ทั้งจากฝั่งที่สนับสนุน และฝั่งที่ต่อต้าน ซึ่งโดยผิวเผินอาจจะดูเป็นกลาง หากแต่เมื่อพิจารณา ดูการเลือกสรรถ้อยคำกับข้อมูล ที่พยายามทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่า ผู้วิจัยข้าวสีทอง และองค์กรที่สนับสนุนการวิจัย มีเจตนาในการแก้ไขปัญหา โรคขาดวิตามินเอจริง และข้าวสีทอง สามารถที่จะเป็นคำตอบสำหรับปัญหานี้ได้จริง ในอนาคตอันใกล้นี้
ในขณะที่ผู้ต่อต้านจีเอ็มโอ กระทำการบนพื้นฐานของ "ความกลัว" และ "ความเชื่อ" ไม่ใช่บนเหตุผล และข้อเท็จจริง ดังนั้น การวิจัยทดลองข้าวจีเอ็มโอ หรือข้าวสีทองต่อไป จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ คุ้มกับความเสี่ยง ซึ่งมีเพียงเล็กน้อย เพราะพืชจีเอ็มโอ เพียงแต่อาจ "ไม่ดี" ต่อเรา และโลกของเรา หาได้เป็นภัย ดังที่กลุ่มผู้ต่อต้านกล่าวไม่
จริงหรือไม่ว่า ที่ผู้วิจัยและสนับสนุนการวิจัยข้าวสีทอง มีวัตถุประสงค์เดียวคือ การช่วยเหลือผู้ยากไร้?
"คงจะหวังได้เท่านั้นว่า การทำวิศวพันธุกรรมนี้ (ข้าวสีทอง) เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากของมวลมนุษย์ โดยไม่มุ่งหวังกำไรระยะสั้น "จะสามารถคืนสภาพการยอมรับทางการเมือง ให้กับเทคโนโลยีชีวภาพ"
นี่คือข้อความลงท้ายบทความ ชื่อ "ปฏิวัติสีเขียวพบทอง" ซึ่งเป็นบทความประกอบเอกสารทางวิทยาศาสตร์ ที่ทีมวิจัยข้าวสีทอง ได้ยื่นให้กับองค์กรเจ้าของทุนต่างๆ เพื่อเสนอขอเงินสนับสนุนการวิจัย1 ดังนั้นจึงสามารถพูดได้ว่า นอกจากความช่วยเหลือมนุษยชาติดังที่อ้างแล้ว คณะผู้วิจัย และผู้สนับสนุนวิจัย ยังมีความต้องการที่จะใช้ การวิจัยข้าวสีทอง เพื่อการประชาสัมพันธ์ให้กับธุรกิจ จีเอ็มโอ ตั้งแต่ต้นอีกด้วย
ตัวอย่างเปรียบเทียบ : ปริมาณสารเบต้าแคโรทีน ในผักพื้นบ้านไทยกับข้าวสีทอง
ชนิดอาหาร ปริมาณสารเบต้าแคโรทีน (ไมโครกรัม/มิลลิกรัม)
ข้าวสีทอง : 1.6
ยอดแค : 86.54
ขี้เหล็ก : 71.81
ผักกระเฉด : 37.10
สะเดา(ยอด) : 36.11
มะกอก(ยอดอ่อน) : 20.17
ที่มา: หนังสือตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข
ถ้าเช่นนั้น อะไรน่าจะเป็นเหตุผลแท้จริง หรือเป็นไปได้มากที่สุด?
ข้าวสีทองอาจจะสามารถช่วยชีวิตเด็ก กว่าล้านคนต่อปี จากโรคขาดวิตามินเอได้ ตามข้อความที่ระบุบนนิตยสารไทม์เอเชีย จริงหรือ?
ข้อมูลด้านโภชนาการ ของสถาบันสวิสเอง ระบุว่า ในข้าวสีทองปริมาณ 1 กรัม มีเบต้าแคโรทีนเพียง 1.6 ไมโครกรัม ซึ่งเป็นปริมาที่ต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับ พืชพื้นบ้านอื่นๆ ที่มีอยู่ทั่วไป(ตารางที่1) ขณะที่ร่างกายมนุษย์ ต้องการใช้เบต้าแคโรทีน 6 ไมโครกรัม เพื่อสร้างวิตามินเอ 1 กรัม หากผู้ใหญ่บริโภคข้าวสีทอง แทนข้าวธรรมดา ในปริมาณปรกติ (900กรัม) ข้าวสุกต่อวัน ร่างกายจะได้รับวิตามินเอเพียง 8% ของความต้องการวิตามินเอต่อวัน แต่เพื่อป้องกันโรคขาดวิตามินเอ ในทารกแรกเกิด หญิงมีครรภ์ ซึ่งต้องการวิตามินเอเป็น 2 เท่าของคนปรกติ จะต้องบริโภคข้าวสีทองสุกถึง 18 กิโลกรัมต่อวัน2 และเพื่อป้องกันการเกิดโรคขาดวิตามินเอในเด็ก เด็กอายุ 4 ขวบ ต้องบริโภคข้าวสีทองสุก ถึง 5.6 กิโลกรัมต่อวัน3 ซึ่งเป็นไปไม่ได้ทั้งสองกรณี ยิ่งไปกว่านั้น รายงานวิจัยชิ้นล่าสุด จากคณะกรรมการอาหาร และโภชนาการ ของสถาบันการแพทย์ และสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ร่างกายมนุษย์ ต้องใช้เบต้าแคโรทีนถึง 12 ไมโครกรัม เพื่อผลิตวิตามินเอ 1 กรัม ไม่ใช่ใช้เบตาแครอติน 6 ไมโครกรัม ดังที่เคยเข้าใจ4 ข้อมูลนี้ ยิ่งทำให้การวิจัย เพื่อใช้ข้าวสีทอง เพื่อแก้ไขปัญหาโรคขาดวิตามินเอ เป็นเรื่องที่ไร้เหตุผล ดังนั้น จากข้อมูลทางโภชนาการดังกล่าว จึงสรุปได้ว่า ข้าวสีทอง ไม่ใช่ "ตัวอย่างที่ชัดเจนของพืช จีเอมโอ" ที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค ตามที่บทความ "เมล็ดแห่งความหวัง" อ้าง
เมื่อข้อมูลดังกล่าว ได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนทั่วโลก นายกอร์ดอน คอนเวย์ ประธานมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ หนึ่งในองค์กร ที่สนับสนุนงานวิจัยข้าวสีทอง ออกมาแถลงยอมรับว่า
"ก่อนอื่น เรา(ร็อกกี้เฟลเลอร์) ไม่คิดว่า ข้าวสีทอง เป็นคำตอบสำหรับปัญหาโรคขาดวิตามินเอ หากแต่เป็นอาหารเสริมที่สำคัญ ควบคู่ไปกับการบริโภคผัก และผลไม้ สำหรับครอบครัวที่ยากจน ที่ขาดวิตามิน A ในสัดส่วน 10, 20, 50% ข้าวสีทอง อาจเป็นประโยชน์ของร่างกาย การกระทำการตัดต่อทางพันธุกรรม สามารถให้วิตามินได้มากที่สุด 15-20% ของความต้องการต่อวัน" "ผมเห็นด้วยกับ ดอกเตอร์ศิวะ ในข้าว (ผู้รณรงค์ต่อต้นอาหาร จีเอมโอ ชาวอินเดีย) ว่ามีการใช้กรณีข้าวสีทอง เพื่อการประชาสัมพันธ์เกินความเป็นจริง" 5
ข้อมูลอีกส่วนที่ บทความ "เมล็ดแห่งความฝัน" ไม่ได้ระบุ โครงการวิจัยข้าวสีทอง ซึ่งกินเวลามาถึง 7 ปีนี้ มิได้มีค่าใช้จ่ายเพียบ 2.6 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น หากแต่ยังมีค่าลิขสิทธิ์ ที่ผู้วิจัยได้เสียให้กับบรรดาเจ้าของลิขสิทธิ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการวิจัย และผลิตข้าวสีทอง จำนวนกว่า 70 ใบ คิดเป็นเงินจำนวนรวมถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ (4,500 ล้านบาท) อีกด้วย 6
ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่าย และค่าลิขสิทธิ์ ที่ต้องจ่ายในอนาคต เพื่อให้การวิจัย และทอดลองจนเสร็จสมบูรณ์
การลงทุนจำนวนมหาศาล กับโครงการวิจัย ที่ให้ผลอย่างมากที่สุด ก็เพียงการผลิตพืชที่เป็นแค่ "อาหารเสริมที่สำคัญ" เท่านั้น ดูจะเป็นการกระทำที่ยุ่งยาก และสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุเสียนี่กระไร ในขณะที่โลกนี้ เต็มไปด้วยพืชผักธรรมชาติ ที่อุดมไปด้วยสารเบตาแครอตินอยู่แล้ว ทั้งหมดนี้
แต่ถ้ามองในด้านการประชาสัมพันธ์ หากข้าวสีทอง บรรลุวัตถุประสงค์ คือ "คืนสภาพการยอมรับทางการเมือง ให้กับเทคโนโลยีชีวภาพ" ได้จริง การลงทุนนี้ก็ให้ผลเกินคุ้ม เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการลงทุน และผลประโยชน์ทางการค้าจำนวนมหาศาล ที่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ อาจต้องสูญเสียไป จากกระแสการต่อต้าน อุตสาหรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ของบรรษัทค่ายสหภาพ ยุโรป มีมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (1.35 ล้านล้านบาท)7 และเกือบทั้งหมดของสินค้าเกษตร ที่ส่งออกจากสหรัฐอเมริกา เป็นจีเอ็มโอ และการที่สินค้าเกษตร ส่งออกจากสหรัฐอเมริกา เป็นจีเอมโอ8
ทำให้อุตสาหกรรมนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ โลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจกับการที่ อดีตประธานาธิบดีคลินตัน ถึงกับลงมือประชาสัมพันธ์ ให้กับการวิจัยข้าวสีทองด้วยตนเอง โดยในปีที่แล้ว โดยในปีที่แล้ว ท่านอดีตประธานาธิบดี ได้กล่าวกับสาธารณะว่า "ถ้าเราสามารถส่งข้าวสีทองนี้ ที่ได้รับการตัดต่อให้อุดมไปด้วยวิตามินเอ ไปยังประเทศโลกที่สาม เราจะสามารถช่วยชีวิตคน 4,000 คนต่อวัน จากการตาย และขาดอาหาร" 9 แม้กระทั่งผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ก็ยังไม่อาจรอดพ้นจากการครอบงำ โดยบรรษัทข้ามชาติไปได้
--------------------------------------------------------------------
เชิงอรรถ
(1)"The 'Golden Rice' - An Exercise in how not to do science" โดย Dr.Mae Wan Ho, นิตยสาร Third World Resurgence, ฉบับที่ 4 มิ.ย-ก.ค/43, หน้า 22
(2) "GM Rice Promoters 'Have gone to far' " โดย Pauz Brown, Envirimental Loarespondent หนังสือพิมพ์ The Guardian (UK), ฉบับวันที่ 10 ก.พ 2544
(3) "Bioengine
. Rice Loses Glow As Vitamin A Source โดย Tina Hesman, หนีงสือพิมพ์ St.Louis Post, ฉบับวันที่ 4 มี.ค 2544
(4) เพิ่งอ้างใน ข้อ 2
(5) The 'GoldenRice' - An Exercise in How not to do science", หน้า 22
(6) เพิ่งอ้างใน ข้อ 3
(7)http://www.biotech.com [1]
(8) นายสจ๊วต ไอเซ็นสตัด ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ พูดถึง เทคโนโลยีชีวภาพ ในคำกล่าวเกี่ยวกับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ระหว่างสหรัฐและสหภาพยุโรป, วันที่ 15 มิถุนายน 2542
(9) เพิ่งอ้างในข้อ 2
โดย : วิลาศ เตชะไพบูลย์
| ['บทความ'] |
https://prachatai.com/print/52 | 2004-08-24 18:50 | จับตาวุฒิฯ สรรหากทช. | กรุงเทพฯ -23 ส.ค.2547 ประธานวุฒิสภา ยืนยันไม่มีการจัดโผรายชื่อเลือกคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ อย่างที่มีกระแสข่าว
นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา ปฏิเสธข่าวว่ามีการจัดรายชื่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) จำนวน 7 คน จากที่ได้รับการเสนอชื่อทั้งสิ้น 14 คน
ทั้งนี้ประธานวุฒิสภา ได้บรรจุเรื่องการเลือกคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เข้าในระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภา ในวันที่ 24 สิงหาคมนี้แล้ว
นายสุชน เชื่อว่า จะได้คณะกรรมการกทช.ครบทั้ง 7 คน เนื่องจาก 4 ปีมาแล้ว ที่คณะกรรมการสรรหาฯ ไม่สามารถหาผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมได้ ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องได้คะแนนเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกวุฒิสภาที่มีอยู่ทั้งหมด คืน 199 คน คือต้องได้ 100 คะแนนขึ้นไป
นายไสว พราหมณี สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครราชสีมา แสดงความเป็นห่วงว่า จะได้กรรมการไม่ครบ 7 คน เพราะผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อส่วนใหญ่มีคุณสมบัติไม่เพียงพอ รายงานโดย : ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['ข่าว', 'สิ่งแวดล้อม'] |
https://prachatai.com/print/53 | 2004-08-24 18:52 | รัฐประกาศแก้หนี้นอกระบบสำเร็จ | กรุงเทพฯ -23 ส.ค. 47 พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางxxxร ณ อยุธยา รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะ ความยากจนแห่งชาติ หรือ ศตจ. กล่าวว่า ได้แก้ปัญหาหนี้สินนอกระบบของประชาชนจากการลงทะเบียนคนจนไปแล้วกว่า 1.5 ล้านราย คิดเป็นเม็ดเงินกว่า 1แสนล้านบาท หรือ 90 %ของหนี้ที่มาจดทะเบียนทั้งหมด
ส่วนที่เหลือเป็นลูกหนี้ที่มาขอถอนชื่อออก เนื่องจากเข้าใจว่าทางการจะใช้หนี้ให้ฟรี และอีกส่วนหนึ่งเป็นลูกหนี้ปลอม ที่สร้างเรื่องหวังได้เงินจากรัฐ
ในส่วนของเจ้าหนี้นอกระบบที่ยังเหลืออยู่ และมีพฤติกรรมโหดร้าย จะดำเนินการเอาผิดกฎหมาย โดยให้กรมสรรพกรเข้าไปตรวจสอบซ้ำ
รายงานโดย : ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['ข่าว', 'สิ่งแวดล้อม'] |
https://prachatai.com/print/56 | 2004-08-24 21:47 | ครม. ผ่านแผนพีดีพี 2004 | ครม.เห็นชอบ แผนพีดีพี 2004 ฉบับกพช. เงียบเชียบ เพิ่มเงื่อนไขไม่ค้ำฯ เงินกู้ให้โรงไฟฟ้าและให้แยกบัญชีโครงการชัดเจน พร้อมกับให้บ.กัลฟ์ เพิ่มการผลิตเท่าตัว แลกกับไม่ฟ้องเรียกค่าโง่จากรัฐกรณีชวดโรงไฟฟ้าบ่อนอก
ประชาไท -24 ส.ค.47 แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2547-2558 (พีดีพี 2004) ได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยฉบับนี้เป็นฉบับล่าสุด (สิงหาคม 2547) ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2547
ทั้งนี้ กพช.มีความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการจัดหาไฟฟ้าก่อนปี 2554 ที่สำคัญคือให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) สร้างโรงไฟฟ้า 4 แห่งเช่นเดิมโดยรัฐบาลไม่ค้ำประกันการก่อหนี้ และต้องมีการแยกบัญชีการเงินของโครงการดังกล่าวจากบัญชีการเงินของ กฟผ. อย่างชัดเจน รวมทั้งต้นทุนการหาไฟฟ้าจะต้องไม่สูงกว่าโรงไฟฟ้าเอกชน
นอกจากนี้ ยังยินยอมให้บริษัท กัลฟ์เพาเวอร์เจนเนอเรชั่น จำกัด ขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าโครงการแก่งคอย 2 จาก 734 เมกะวัตต์ เป็น 1,468 เมกกะวัตต์ โดยให้โรงไฟฟ้าหน่วยแรกจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในเดือนมีนาคม 2550 แทนกาเรียกร้องค่าเสียหายจากการกระทำของรัฐ และยกเลิกการเรียกร้องเงินที่ลงทุนไปแล้วในโครงการไฟฟ้าบ่อนอก
ในส่วนของ กฟผ.และปตท.จะต้องรายงานความคืบหน้าโครงการสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมสงขลาทุก 3 เดือน หากโครงการดังกล่าวล่าช้าไม่ได้ตามเป้าหมาย ก็ให้พิจารณาขยายโรงไฟฟ้าขนอมขนาด 385 เมกะวัตต์ในปี 2550 มาทดแทน
นายวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ มูลนิธิฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า แผนนี้ไม่มีอะไรใหม่ เป็นไปตามที่ภาคประชาชนคาดเดาไว้แล้วว่าจะมีการบีบกฟผ.ให้เข้าตลาดหุ้น ด้วยวิธีที่อยากทำอะไรก็ทำไปแต่รัฐไม่ค้ำประกันเงินกู้
นายวิฑูรย์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีการอนุญาตให้บริษัทกัลฟ์ ฯ เพิ่มกำลังผลิตนั้น ตามหลักแล้วควรเปิดให้มีการประมูล เพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลประโยชน์เป็นหมื่นล้าน และบริษัท เอ๊กโก้ จำกัด ของกฟผ. ก็เข้าไปมีหุ้นด้วย
"เรื่องนี้สะท้อนชัดเจนว่ารัฐไม่ได้ใส่ใจการมีส่วนร่วมของประชาชนแม้แต่น้อย และไม่สนใจที่จะรับฟังคนอื่น ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งอย่างช่วยไม่ได้ อย่างการเสนอแผนทางเลือกของภาคประชาชน รัฐไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมดก็ไม่เป็นไร แต่น่าจะมีการเรียนรู้ร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ภาคประชาชนคงต้องค่อยๆ ผลักดันต่อไป เพราะกรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว" นายวิฑูรย์กล่าว
รายงานโดย : มุทิตา เชื้อชั่ง
ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['ข่าว', 'สิ่งแวดล้อม'] |
https://prachatai.com/print/57 | 2004-08-24 21:55 | พลังงานและความเสียเปรียบเชิงยุทธศาสตร์ของไทย | การะเกด* : [email protected] [1]
ในท่ามกลางความไม่แน่นอนของสถานการณ์พลังงาน คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กลับนำเสนอแผนการผลิตไฟฟ้าที่ขัดกับสามัญสำนึกของปุถุชน ผิดหลักการลงทุนของนักธุรกิจ และผิดหลักยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของประเทศ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan, PDP2004) ดังกล่าว ตั้งเป้าลงทุน 550,000 ล้านบาทภายในช่วงปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2554 เริ่มตั้งแต่ปี 2550 จะมีการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ทั้งหมด 21 โรง โดยแหล่งไฟฟ้าส่วนใหญ่มาจากก๊าซธรรมชาติ
21 โรงไฟฟ้าภายในสี่ปี นั่นหมายถึงการสร้างโรงไฟฟ้าด้วยอัตรา 4 โรงต่อปี !
เป็นที่ทราบดีกันอยู่แล้วว่าปัจจุบัน ประเทศไทยมีความพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติสูง เป็นอัตราส่วนกว่า 75% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด แผนการณ์สร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าว จะทำให้ประเทศไทยถูกผูกมัดกับก๊าซธรรมชาติมากขึ้นไปอีก
ก๊าซธรรมชาติ เป็นแหล่งพลังงานที่เรามีไม่มากและกำลังแพงขึ้นเรื่อยๆ ตามราคาของน้ำมัน ปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่าเป็นมูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นเพียง 20% ของปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในประเทศเท่านั้น ส่วนค่าใช้จ่าย สำหรับก๊าซธรรมชาติที่เราผลิตได้เองในประเทศ กลับตกอยู่ในมือของ บรรษัทข้ามชาติซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานขุดเจาะก๊าซในผืนแผ่นดินและแผ่นน้ำของเราเอง
นอกจากนี้ การสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมในประเทศไทยนั้น ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง เพราะขณะนี้ เนื้อที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงไฟฟ้าในประเทศไทยเหลือน้อยลง ในช่วงที่ผ่านมาการเลือกสถานที่ที่เหมาะสมกับการตั้งโรงไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า สายจำหน่ายไฟฟ้า และท่อก๊าซ มีแนวโน้มที่จะก่อความขัดแย้งกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ และวิถีชีวิตชุมชนมากขึ้น อย่างกรณีการต่อต้านโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอกและหินกรูด ก็ได้ยืดเยื้อโครงการจนไม่เกิดขึ้น ซึ่งในที่สุดคนที่จะแบกภาระ ก็คือประชาชนผู้เสียภาษีเอง กรณีโรงงานบ่อนอกที่ไม่เกิดขึ้นนั้น รัฐถูกฟ้องโดยบริษัทรับเหมา และอาจต้องใช้เงินภาษีของประชาชนจ่ายทางบริษัทเป็นเงินถึง 4,000 ล้านบาท หรือมิฉะนั้นผู้ใช้ไฟก็ต้องจ่ายค่าไฟสูงขึ้น เรียกว่า เป็นการเสียค่าโง่ นั่นเอง ทั้งนี้เนื่องจากรัฐได้เซ็นสัญญากับบริษัทก่อนที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องที่ได้กระทำประชาพิจารณ์
ซ้ำร้าย การลงทุนกับก๊าซธรรมชาติดังกล่าว ยังเพิ่มความเสี่ยงในแง่ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของประเทศ
ระบบพลังงานแบบรวมศูนย์ ซึ่งประกอบไปด้วยระบบโรงงานไฟฟ้า สายไฟ สายจ่ายไฟ และท่อก๊าซที่เชื่อมโยงกันนั้น ยิ่งรวมศูนย์มากเท่าใด โอกาสที่เราจะเป็นเป้านิ่งของการก่อวินาศกรรมโดยผู้ก่อการร้ายก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น ท่อก๊าซธรรมชาติที่ต่อจากมาเลเซีย และพม่านั้น หาไม่ยากและเป็นจุดล่อผู้ก่อการร้ายที่ดีเยี่ยม สำหรับท่อก๊าซไทย-มาเลเซียแม้ว่า ส่วนหนึ่งจะถูกฝังใต้น้ำ แต่อีกเกือบ 90 กิโลเมตรอยู่บนพื้นดินในบริเวณจุดอ่อนของภาคใต้ จึงง่ายต่อการเข้าถึงของผู้ไม่ประสงค์ดี
ส่วนการทำให้ไฟฟ้าดับนั้นเป็นสิ่งที่ง่าย การโยนวัสดุโลหะ ไปที่สายไฟฟ้าแรงสูง เพื่อลัดวงจรไฟฟ้าสู่พื้นดิน ส่งผลต่อเนื่องให้สายไฟอื่นๆต้อง ต้องจ่ายไฟมากขึ้นจนเกิดร้อน และดับตามไปด้วย เกิดไฟฟ้าดับต่อเนื่องเป็นลูกโซ่แบบ domino effect
อันจะก่อความเสียหายมหาศาลต่อธุรกิจ และอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เนตมีบทบาทมากขึ้น ทำให้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม รถไฟฟ้า และรถใต้ดินของเรา อาจต้องหยุดชะงักเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟดับขึ้น
จริงอยู่ที่ทหาร และตำรวจ สามารถตระเวณเฝ้ารักษาความปลอดภัยของระบบส่งก๊าซและไฟฟ้าเหล่านี้ แต่มันอาจเป็นหน้าที่ที่เป็นไปไม่ได้ เพราะเครือข่ายระบบท่อก๊าซและสายส่งไฟฟ้าของไทย ครอบคลุมระยะทางหลายพันกิโลเมตร นอกจากนี้ การใช้กำลังทหารและตำรวจ ยังจะเป็นการสร้างบรรยากาศข่มขู่ที่ไม่จำเป็น ทั้งยังจะทำให้พี่น้องประชาชนไทยต้องตกอยู่ในภาวะหวาดกลัวตลอดเวลา การก่อสร้างท่อก๊าซไทย-มาเลเซียนั้น ได้ใช้กองกำลังตำรวจหลายร้อยคน ทำให้ประชาชนเกิดอาการหวาดระแวงมาแล้ว
เราต้องการสร้างภาวะแห่งความหวาดกลัว หรือจะสร้างโอกาสทางธุรกิจ?
ความฝันของประเทศไทยที่จะเป็น ศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาคเอเชียนั้น มีความเป็นไปได้สูง แต่ต้องมาจากแหล่งพลังงานที่หลากหลาย ปัจจุบันแผนดังกล่าวได้เริ่มสร้างระบบสายไฟเชื่อมต่อจากเขตลาวและพม่า ท่อก๊าซเชื่อมต่อจากพม่าและมาเลเซีย แต่ฝันดังกล่าว อาจกลายเป็นฝันร้าย เพราะเป็นการสร้างโครงสร้างแบบรวมศูนย์ที่ง่ายต่อความล้มเหลว ในสหรัฐอเมริกาที่เป็นต้นแบบของพลังงานรวมศูนย์ให้ไทยนั้น เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับบ่อยครั้งขึ้นทุกๆ สี่ปี และแต่ละครั้งก็ส่งผลต่อผู้คนเป็นล้านคน และเสียหายทางเศรษฐกิจกว่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐ
การทุ่มทุนเร่งสร้างระบบไฟฟ้าแบบรวมศูนย์โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก สร้างความพึ่งพิง ทำให้เงินตรารั่วไหล ก่อความขัดแย้งกับภาคประชาชน และเพิ่มความเสี่ยงต่อวินาศกรรมมากขึ้น
ในทางตรงกันข้าม ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานทางเลือกที่มีอยู่แล้ว ซึ่งไม่เคยถูก "เลือก" อย่างเต็มที่ ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ ชีวมวล พลังงานลม และพลังงานจากขยะ แหล่งพลังงานเหล่านี้ นอกจากจะเป็นโอกาสทางการลงทุนครั้งสำคัญที่จะนำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ยังเสริมความแข็งแกร่งและแน่นอนให้กับระบบไฟฟ้าของไทย เนื่องจากมีความกระจายศูนย์ และ มีอยู่แล้วในท้องถิ่น ธุรกิจพลังงานทางเลือกทั่วโลก มีมูลค่าสูงถึงหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ และประเทศที่มีวิสัยทัศน์อย่างญี่ปุ่น เยอรมันนี และเดนมาร์ก ก็ได้ทุ่มทุนในการเร่งพัฒนาพลังงานทางเลือกเหล่านี้แล้ว เนื่องจากตระหนักดีว่า น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ จะหมดไปภายในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้านี้ ในขณะที่ประเทศอเมริกาล้าหลังทางด้านนี้เพราะถูกปิดตาด้วยบริษัทน้ำมันใหญ่ที่มีอำนาจทางการเมือง ซึ่งกำลังสร้างภาพว่าน้ำมันยังไม่หมดไป
แต่เราๆ ท่านๆ ก็ทราบดีอยู่ว่า น้ำมันของโลกกำลังหมดไป และผู้ที่คุมน้ำมันที่เหลืออยู่ก็มีเพียงไม่กี่ประเทศในตะวันออกกลาง ประเทศไทยจำเป็นต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความเสี่ยงนี้หรือไม่
ในแทบทุกตารางนิ้วของประเทศไทย มีแหล่งพลังงานทางเลือกที่อุดมสมบูรณ์ มีพลังงานลมที่มีศักยภาพถึงกว่า 1,600 เมกะวัตต์ในคาบสมุทรทางภาคใต้ พลังงานชีวมวล จากโรงเลี้ยงหมูและโรงสีที่มีอยู่ทั่วไปในภาคกลางและภาคอีสาน แหล่งน้ำในภาคเหนือที่เหมาะกับพลังน้ำขนาดเล็ก และแสงอาทิตย์ที่มีอยู่ทั่วทั้งประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยใช้พลังงานทางเลือกเพียง 0.5% ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมดและตั้งเป้าลงทุนเพิ่มเพียง 8% ภายใน 8 ปีข้างหน้า ทว่า เป้าหมายนี้ไม่เพียงพอที่จะเทคโนโลยีที่จะกระตุ้นให้เกิดเป็นอุตสาหกรรมในประเทศขึ้นมาได้
แหล่งพลังงานทางเลือกนอกจากจะไม่สร้างมลพิษแล้ว ยังประหยัด เพราะไม่ต้องใช้เชื้อเพลิง จึงไม่เกิดการรั่วไหลของเงินออกนอกประเทศ ในทางตรงข้าม ผู้ที่ได้ผลประโยชน์จากพลังงานจากโรงไฟฟ้าใหญ่และน้ำมันกลับเป็นผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติที่ไม่สนใจว่าสภาพแวดล้อมและวิถีชุมชนของไทยจะถูกทำลายเท่าใด และไทยจะเกิดความพึ่งพิงพลังงานนำเข้ามากแค่ไหน
นอกจากนี้ พลังงานทางเลือกยังสามารถช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน เพราะสามารถสร้างงานได้เป็น 3 เท่าของพลังงานจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในขณะที่แผนการตั้งโรงไฟฟ้าที่ใดๆ ก็ตามมักถูกต่อต้านโดยคนท้องถิ่น แผนการใช้พลังงานทางเลือกกลับได้รับการต้อนรับเพราะสามารถสร้างงานให้คนท้องถิ่น และไม่ทำลายสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิต
ที่สำคัญ เนื่องจากระบบที่ใช้พลังงานทางเลือกจะมีลักษณะกระจายศูนย์ จึงถูกติดตั้งใหม่ได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่ถูกทำลายเนื่องจากภัยธรรมชาติ หรือวินาศกรรม ในสหรัฐอเมริกา พื้นที่ที่ถูกทำลายด้วยแผ่นดินไหวก็ถูกกู้กลับมาด้วยเทคโนโลยีพลังงานที่เคลื่อนที่ได้ อย่างแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นต้น
แม้ว่าทางรัฐบาลจะได้ให้ความสนใจกับพลังงานทางเลือกหลายทศวรรษที่ผ่านมาตั้งแต่เกิดวิกฤตพลังงานครั้งแรก แต่โครงการและการลงทุนต่างๆที่เกิดขึ้น เป็นเสมือนไฟไหม้ฟางที่เกิดแล้วดับไป แม้แต่โครงการเร่งรัดดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ให้กับครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ในชนบท ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่นั้น ก็อาจเป็นอีกโครงการที่ล้มเหลวและสิ้นเปลืองเงินภาษี เพราะโครงการดังกล่าวต้องนำเข้าแผงเซลล์แสงอาทิตย์จำนวนมหาศาล โดยไม่ได้สร้างงาน และสร้างศักยภาพในการผลิตขึ้นได้เองภายในประเทศ
วันนี้ รัฐ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะทบทวนนโยบายพลังงานเสียใหม่ โดยจะต้องทุ่มให้พลังงานทางเลือกเกิดเป็นอุตสาหกรรมขึ้นอย่างจริงจัง โดยการเร่งวิจัย และเร่งให้เกิดความสามารถในการผลิตเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานทางเลือกได้ในประเทศ ซึงอาจเริ่มโดยให้บริษัทต่างชาติเข้ามาใช้พื้นที่และแรงงานไทยในการผลิตกังหันลม หรือแผงโซลาร์ เพื่อให้เราเกิดการเรียนรู้กระบวนการผลิตเทคโนโลยีเหล่านั้น ดังที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินเดีย และฟิลิปปินส์กำลังทำอยู่
นอกจากนี้ เราควรเร่งผลิตผู้เชี่ยวชาญทางด้านพลังงานทางเลือกและจัดโครงการอบรม ให้บุคคลากรมีความสามารถในการติดตั้ง ซ่อมแซม ระบบพลังงานทางเลือกอีกด้วย
ในช่วงเวลาที่สถานการณ์ไฟใต้ไม่มีท่าว่าจะลดละ ประกอบกับสถานการณ์การก่อการร้ายที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกนั้น ประเทศไทยสามารถเลือก ที่จะปิดหูปิดตาตัวเองและถูกมัดมือชกต่อไปไปกับแหล่งพลังงานที่กำลังหมดไปจากศตวรรษที่แล้ว แหล่งพลังงานที่สร้างแต่ความขัดแย้งในทุกๆ ที่ที่มันถูกลงทุน
ในขณะเดียวกัน เราก็เลือกได้ที่จะก้าวกระโดดไปเป็นศูนย์กลางทางด้านแหล่งพลังงานที่สะอาด โดยใช้ระบบพลังงานแบบกระจายศูนย์ที่สร้างจากแหล่งพลังงานทางเลือก ซึ่งเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่น ฟื้นตัวได้ง่ายหากถูกทำลาย ใช้เวลาก่อสร้างน้อย ไม่เสียค่าเชื้อเพลิง สร้างเงินสร้างงานให้ท้องถิ่น และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของไทย
รายงานโดย : ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['บทความ'] |
https://prachatai.com/print/55 | 2004-08-24 18:57 | สังคมที่ป่วยไข้ | ณัฐชนน เมฆี เด็กนักเรียนเรียนดี จากอ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร หนึ่งในนักเรียนทุน ที่ พ.ต.ท.ทักษิณสนับสนุนให้เธอไปเรียนต่อในสาขาวิศวะคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยในนครแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี กระทำอัตวินิบากกรรมโดยกระโดดออกจากอาคารของโรงพยาบาล ที่เธอเพิ่งเข้ารักษาตัวเนื่องจากกินยาแก้ไข้เกินขนาด
สาธารณชนวิพากษ์วิจารณ์การจากไปของเธอต่างๆนานา แต่ส่วนใหญ่เห็นว่า ผู้ที่ส่งเธอไปยังต่างแดนโดยหวังผลทางการเมือง โดยไม่ได้พิจารณาถึงความพร้อมของตัวเด็กนั้น ถือว่าไม่มีความรับผิดชอบ บางคนก็เสนอว่า ควรจะให้อำเภอละ 2 ทุนเพื่อให้ดูแลซึ่งกันและกันได้
ในเวลาใกล้เคียงกัน สื่อมวลชนเสนอข่าวของชัยพร จรูญภักดิ์ นักเรียน ปวช. ปี 3 แผนกเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตปทุมวัน ถูกแทงเสียชีวิตบนรถเมล์เมื่อวันที่ 17 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยเพื่อนนักศึกษา ญาติพี่น้องเชื่อว่า สาเหตุมาจากความขัดแย้งที่มีมานานระหว่าง 2 สถาบัน
ผู้บริหารสถาบันฯของชัยพร ยืนยันว่า ผู้ตายมีความประพฤติดี เป็นประธานชมรมอาสาพัฒนาเพื่อการพัฒนา ซึ่งไม่ได้ยึดติดกับค่านิยมแบบเก่า ทั้งยังเชื่อว่า เป็นการสร้างสถานการณ์เพื่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสถาบัน
ทั้งสองกรณี ใช่ว่าไม่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทย เพราะในแต่ละปีมีเยาวชนจำนวนไม่น้อยที่ตัดสินใจจบชีวิตเนื่องจากอาการเครียดจากการเรียน ทั้งๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นเด็กเรียนดี มีอนาคตทางการศึกษาและฐานะทางสังคม ขณะที่กรณีนักเรียนนักเลง เหยื่อความรุนแรงมักจะเป็นเด็กหรือผู้หญิง หรือไม่ใช่แม้แต่เป็นคู่กรณี เพียงแต่เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ของความขัดแย้ง ทำให้ถูกลูกหลงได้รับบาดเจ็บหรือถึงขั้นเสียชีวิต
เมื่อสืบประวัติของเหยื่อเหล่านั้น มักจะพบว่า เขาและเธอเป็นคนดีของครอบครัว บ้างก็เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่จะช่วยครอบครัวลืมตาอ้าปาก เป็นความหวังของชีวิตที่อยู่เบื้องหลังให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
เหตุสลดใจในสังคมเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนยากจะปลงใจเชื่อว่า เป็นปัญหาส่วนตัวของใครคนใดคนหนึ่ง หรือหากเป็นจริงก็น่าจะเป็นอาการป่วยไข้ของเยาวชนจำนวนมาก ซึ่งเมื่อวิเคราะห์แนวทางแก้ปัญหาของผู้ใหญ่ในบ้านเมืองวันนี้ ทำให้เชื่อได้ว่า ยังวินิจฉัยไม่ถูกโรค
ใช่หรือไม่ว่า ตั้งแต่เด็กเรียนดีมีพรสวรรค์อย่างณัฐชนน จนถึงนักเรียนนักเลงซึ่งสังคมตั้งป้อมโจมตีว่า เป็นเด็กเหลือขอ สร้างความเดือนร้อนทำให้จรูญศักดิ์ต้องจบชีวิตลงนั้น ต่างก็อยู่ในสภาพที่ถูกบีบคั้นจากสังคมไม่แตกต่างกัน
เยาวชนที่มุ่งเป็นเลิศทางการศึกษา ถูกห้อมล้อมด้วยค่านิยมที่ว่า ความสำเร็จทางการศึกษาเป็นใบเบิกทางเพียงประการเดียว ที่กรุยทางสร้างฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ แต่เขาและเธอไม่รู้ว่า พื้นที่ของผู้ชนะนั้นมีน้อยเกินกว่าจะแบ่งปันให้ใครได้ ดังนั้นระหว่างทางจึงมีผู้ถูกคัดทิ้งหรือล้มเลิกกลางคันเพราะทนต่อแรงกดดันไม่ไหว
ขณะที่เยาวชนที่พ่ายแพ้ให้แก่ระบบการศึกษาตั้งแต่ต้น และต้องแสวงหาคุณค่าของชีวิตด้วยตัวเอง ซึ่งมีไม่น้อยที่ค้นพบเส้นทางและสร้างตัวจนประสบความสำเร็จในสังคม แต่ก็มีจำนวนมากที่ถูกดูดหลงเข้าสู่วังวนการแสดงตัวตนแบบผิดๆ กลายเป็นนักเรียนนักเลงที่ถูกสังคมปฏิเสธอยู่ทุกวันนี้
สังคมที่เน้นค่านิยมเชิงเดี่ยว โดยไม่เปิดพื้นที่ว่างให้กับคุณค่าการตีความอื่นๆ หรือกระทั่งที่ยืนของผู้พ่ายแพ้จากระบบ ไม่ต้องกล่าวถึงปัญหาเมืองที่เกิดจากผู้คนจากสังคมที่หลากหลายมาอยู่รวมกัน สภาพการณ์โดยรวมย่อมยากที่จะสร้างความสงบสันติอย่างยั่งยืนให้กับคนในสังคมได้
หากต้องการเยียวยาสังคมที่ป่วยไข้เช่นนี้ คงมีแต่การระดมปัญญาอย่างหลากหลายของผู้คนที่ไม่ยึดติดกับการตีความคุณค่าแบบเดิม ทั้งต้องอาศัยความใจกว้างของผู้ใหญ่ในสังคม เปิดช่องให้มีการทบทวนตัวเอง รวมถึงปรับทัศนคติรับฟังความเห็นของเยาวชนอย่างไม่มีอคติ
| ['บทความ'] |
https://prachatai.com/print/59 | 2004-08-24 22:05 | บุกทำเนียบต้านเสรีจีเอ็มโอ | กรุงเทพฯ-24 ส.ค. 47 ภาคประชาชน ยื่นหนังสือให้รัฐทบทวนมติเปิดเสรีจีเอ็มโอ พร้อมเปิดกว้างให้มีส่วนร่วมในการยกร่างกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ
หน้าทำเนียบรัฐบาล กลุ่มเครือข่ายคัดค้านนโยบายเปิดเสรีจีเอ็มโอ จำนวน 20 คน เข้ายื่นหนังสือนายกรัฐมนตรี ให้ทบทวนมติของคณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีชีวภาพ ที่เปิดให้มีการปลูกและทดลองพืชจีเอ็มโอรวมทั้งนำเข้าเทคโนโลยีจีเอ็มโอมาใช้ในประเทศ และให้คงมติเดิมที่ห้ามทดลองปลูกจีเอ็มโอในระดับไร่นา จนกว่าจะมีกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งต้องเปิดกว้างให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในสัดส่วนอย่างน้อยครึ่งหนึ่งในคณะกรรมการยกร่างกฎหมาย
น.ส.สายรุ้ง ทองปลอน ตัวแทนสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า การพัฒนาด้านการวิจัยจีเอ็มโอ สามารถกระทำได้ในพื้นที่ปิด โดยไม่จำเป็นต้องปลูกในแปลงไร่นา เพราะในความเป็นจริง เราไม่สามารถป้องกันการปนเปื้อน กรณีมะละกอจีเอ็มโอที่ จ.ขอนแก่น และฝ้ายบีที เมื่อปี 2542 เป็นกรณีตัวอย่างที่น่าศึกษา
"หลายคนท้าทายว่า ถ้านายกฯ คิดว่า นโยบายนี้ดีจริง ก็น่าจะนำไปเป็นนโยบายหาเสียง และหากท่านได้รับเลือกตั้งก็ค่อยมาคิดกันว่า จะทำได้จริงหรือเปล่า แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เรื่องนี้ต้องฟังเสียงประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพราะเป็นการกำหนดชะตากรรมของประเทศ"
กลุ่มผู้คัดค้านนำ ฝ้ายมาโปรยให้ปลิวไปตามลม พร้อมกับตะโกนว่า "เกสรจีเอ็มโอหลุดลอด รัฐบาลช่วยเก็บกลับคืนไปหน่อย"
ขณะเดียวกัน กลุ่มกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดินทางมาทำกิจกรรมพร้อมกับยื่นข้อมูลให้นายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับประเด็นความวิตกกังวล เรื่องจีเอ็มโอของนักวิทยาศาสตร์ ในระดับโลกและกฎเกณฑ์การติดฉลากที่เข้มงวดของสหภาพยุโรป เพื่อพิสูจน์ว่าจีเอ็มโอยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงยังไม่จบในแวดวงวิทยาศาสตร์ระดับโลก และกลุ่มประเทศยุโรปก็ไม่ได้เปิดเสรีด้านจีเอ็มโอ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังปฏิเสธที่จะซื้อสินค้าจีเอ็มโอ จนหลายบริษัทต้องปิดตัวเองลง และไปเปิดในอเมริกาแทน
น.ส.วรุณวาร สว่างโสภากุล เจ้าหน้าที่รณรงค์กรีนพีซกล่าวว่า ในส่วนของการทดสอบความปลอดภัย ที่รัฐบาลพยายามให้ความมั่นใจนั้นก็ถือว่ายังอ่อนและไม่เพียงพอ เพราะเป็นเพียงการนำพืชจีเอ็มโอมาเปรียบเทียบกับพืชปกติ เพื่อดูปริมาณสารอาหารต่าง ๆ ว่าเท่าเดิมหรือไม่ ไม่ได้มีการตรวจสอบผลต่อสุขภาพระยะยาว การที่ยังไม่พบ ไม่ได้แปลว่าไม่มี เพียงแต่เรายังไม่รู้เท่านั้นเอง
น.ส.วรุณวาร กล่าวต่อว่า ตอนนี้คนที่รับผิดชอบในการพิสูจน์ผลกระทบก็คือบริษัทใหญ่ไม่กี่แห่งที่ผลิตจีเอ็มโอ ซึ่งเขาต้องพิสูจน์ว่าของเขาปลอดภัย การรีบผลักดันเอาจีเอ็มโอเข้ามา มีผลด้านการค้าเป็นสำคัญ เพราะบริษัทเหล่านี้ต้องลงทุนมหาศาล
" ดูจากข่าวปีที่แล้ว จะเห็นว่าบริษัทมอนซานโต้ก็จับจ้องให้ไทยเป็นศูนย์กลางข้าวโพดจีเอ็มโอ ฉนั้นถ้ามีการเปิดให้ปลูกจีเอ็มโอในไทย บริษัทมอนซานโต้ก็มีสิทธิ์ปลูก โดยจะเป็นข้าวโพดที่ต้านยาฆ่าหญ้ายี่ห้อราวด์อัพ ของบริษัทมอนซานโต้เอง เกษตรกรจึงต้องซื้อทั้งเมล็ดพันธุ์และยาฆ่าหญ้าของบริษัทนี้ "
ส่วนความวิตกกังวลในเรื่องของข้าวจีเอ็มโอนั้น น.ส.วรุณวาร กล่าวว่า ก็มีความเป็นห่วงอยู่ เพราะที่อเมริกาได้อนุมัติให้บริษัทไบเออร์ปลูกข้าวจีเอ็มโอได้แล้ว ถ้ามีข้าวจีเอ็มโอในไทยก็อาจจะเกิดการร่วมทุนระหว่างบริษัทของไทยและบริษัทต่างชาติที่มีผลประโยชน์ด้านนี้อยู่
รายงานโดย : ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['ข่าว', 'สิ่งแวดล้อม'] |
https://prachatai.com/print/54 | 2004-08-24 18:53 | จีนปฏิเสธพบหวัดนกในสุกร | ปักกิ่ง 23 ส.ค. 47 สื่อมวลชนรายงานข่าวโดยอ้างถ้อยแถลงของทางการจีนว่า ได้เข้าตรวจสอบสุกรกว่า 1.1 ล้านตัวไม่พบหลักฐานที่แสดงว่าสุกรเหล่านี้ติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์เดียวกับที่คร่าชีวิตประชาชน 27 คนในเอเชียในปีนี้
ทั้งนี้ทางกระทรวงเกษตรของจีน ได้ตรวจสอบตัวอย่างเซลล์จากสัตว์ปีกและสุกรทั้งหมด 1 ล้าน 1 แสนตัว หลังจากเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช 5 เอ็น1 ในจีนเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าไม่พบเชื้อไวรัส ดังกล่าวในสุกรแต่อย่างใด โดยเจ้าหน้าที่ตรวจพบเชื้อเฉพาะในสัตว์ปีกเท่านั้น
คำแถลงดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากนายเฉิน ฮัวหลัน ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการไข้หวัดนกแห่งชาติจีนแถลงกับผู้สื่อข่าวที่กรุงปักกิ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า พบเชื้อไวรัสไข้หวัดนกในสุกรในมณฑลฟูเจี้ยนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนถึง 2 ครั้งเมื่อปีที่แล้วและในปีนี้แต่พบในฟาร์มสุกรเพียงแห่งเดียว ซึ่งนายเฉินกล่าวว่า เป็นสัญญาณอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน
รายงานโดย : ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['ข่าว', 'สิ่งแวดล้อม'] |
https://prachatai.com/print/50 | 2004-08-24 18:47 | ชาวประจวบฯ ชุมนุมรับทัวร์นกขมิ้น | ประจวบคีรีขันธ์ -23 ส.ค. 2547 วันพรุ่งนี้(24 ส.ค.) ชาวบ้านจากกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก และกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบ้านกรูด จะเดินทางไปชุมนุม ณ ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้านตรงข้ามศาลากลางจังหวัด สถานที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทางไกลผ่านดาวเทียมเช้าวันพรุ่งนี้(8.30 น.)
การประชุมครม.สัญจร และการตรวจเยี่ยมดังกล่าวอยู่ใน โครงการ"นกขมิ้นทัวร์" ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณเดินทางตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้
หลังจากประชุม พลเอก ตูระฉ่วย มาน สมาชิกสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ และเสนาธิการทหารแห่งสหภาพพม่าจะเดินทางเข้าเยี่ยมคารวะพ.ต.ท.ทักษิณ
รายงานโดย : ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['ข่าว', 'สิ่งแวดล้อม'] |
https://prachatai.com/print/60 | 2004-08-24 22:16 | ระดมทุนหนุนคปส.สู้คดีชินคอร์ป | ประชาไท-24 ส.ค.47 องค์กรประชาชน-องค์กรประชาธิปไตย หนุนคปส. สู้ คดีชินคอร์ปฟ้องเรียกค่าเสียหาย 400 ล้าน ยันวิพากษ์วิจารณ์บนฐานความจริง พร้อมระดมทุนต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฎิรูปสื่อ(คปส.) ร่วมกับเครือข่ายองค์กรประชาชนและเครือข่ายองค์กรประชาธิปไตย ออกแถลงการณ์กรณีที่น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคปส. ร่วมกับกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ถูกบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่ง 400 ล้านบาท ในคดีหมิ่นประมาท
ทั้งนี้ทางคปส.ออกแถลงการณ์โดยระบุว่า ความเห็นดังกล่าวเป็นการกระทำโดยบริสุทธิ์ใจ ทั้งเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายภายใต้สิทธิการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ
นอกจากนั้นทางเครือข่ายองค์กรประชาชน ยังร่วมกันตั้งกองทุนเพื่อระดมเงินเป็นทุนในการสู้คดีเพื่อสิทธิเสรีภาพทางสื่อต่อไป ในชื่อบัญชี น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์และ/หรือนายพิภพ ธงไชย และ/หรือนายพิทยา ว่องกุล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) เลขที่ 075-2-32433-6
ผศ.ดร.จิราพร วิทยศักดิ์พันธ์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะรองประธาน
คปส. กล่าวว่า คปส.ยังคงตั้งมั่นในภารกิจการผลักดันให้เกิดการปฎิรูปสื่อต่อไป ไม่มีใครสามารถริดลอนสิทธิทางการเมืองอันนี้ลงได้ ซึ่งคปส.เห็นว่าเมื่อฝ่ายอำนาจไม่พอใจคปส.เหตุใดจึงไม่ขัดแย้งกับเราในนามองค์กรแต่กำลังหาเหยื่อตัวเล็กๆที่อาจจะไม่มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะต่อสู้
น.ส.รสนา โตสิตระxxxล ตัวแทน 30 องค์กรพัฒนาเอกชนต่อต้านคอรัปชั่น อยากฝากถึงนายกรัฐมนตรีว่าน่าจะเป็นคนใจนักเลงพอที่จะไม่เอาผิดผู้หญิงตัวเล็กๆ ซึ่งนายกฯ ทำได้ในการให้บริษัทชินคอร์ปถอนฟ้อง โดยจะเป็นสิ่งที่มีเกียรติด้วยซ้ำเพราะจะทำให้ประชาชนเห็นว่าผู้บริหารประเทศ ที่เป็นหัวหน้ารัฐบาลพร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบ แต่หากยังมีการดำเนินต่อไป ประชาชนเองก็คงต้องต่อสู้ต่อไป
น.ส.รสนากล่าวอีกว่า การกระทำของนางสาวสุภิญญาไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง ดังนั้นประชาชนเมื่อเห็นว่าถึงสิ่งที่ไม่ชอบธรรม เห็นว่ามีคนดีถูกรังแก สังคมต้องให้กำลังใจ และหนุนช่วยให้มีกำลังเงินในการต่อสู้ ซึ่งตนและองค์กรอื่นๆจะร่วมกันรณรงค์ให้ต่างประเทศรับรู้และร่วมบริจาคเงินเป็นกองทุนในการต่อสู้ต่อไป โดย30 องค์กรพัฒนาเอกชนต่อต้านคอรัปชั่นสมทบกองทุนเบื้องต้น 3 หมื่นบาท และจะมีการจัดกิจกรรมระดมทุนช่วยเหลือต่อไป รวมทั้งกิจกรรมต่างๆเช่น ปาฐกถา เสวนา ซึ่งอาจจะจัดในช่วงครบรอบ 31 ปี 14 ตุลาในปีนี้
ชี้นักเคลื่อนไหว-สื่อมวลชนถูกคุกคาม
นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ ตัวแทนคณะทำงานปกป้องนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า การฟ้องร้องครั้งนี้เป็นการค้ากำไรเกินควรหรือไม่เพราะฟ้องทั้งอาญายังไม่พอยังฟ้องแพ่งซ้ำเข้าไปอีก การฟ้องเรียกค่าเสียหายถึง 400 ล้านบาทนั้น ทำให้น.ส.สุภิญญาซึ่งมีเงินเดือนๆละ 12,000 บาท ต้องทำงานถึง 2,777 ปี จึงจะจ่ายค่าเสียหายของบริษัท ชินคอร์ปได้เรียกว่าเป็นการค้ากำไรเกินควรหรือไม่สาธารชนต้องช่วยตัดสินใจ
"การฟ้องครั้งนี้ถือเป็นการคุกคามผู้นำนักเคลื่อนไหวทางสังคม เป็นลักษณะเดียวกับการเมืองในสิงคโปร์ที่มีการฟ้องร้องผู้นำฝ่ายค้านที่ลุกขึ้นมาเปิดโปงคอร์รัปชั่น ซึ่งถูกฟ้องร้องจนล้มละลาย และสุดท้ายต้องถีบตัวเองออกจากการเมือง นายกรัฐมนตรีกำลังถอดแบบการเมืองสิงคโปร์อย่างที่เคยประกาศ ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่บัดซบมากเพราะมาตรการทางกฎหมายถูกนำมาใช้คุกคามประชาชน และรังแกเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ใช้สิทธิและบทบาทตามรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบการคอร์รัปชั่น" นายบุญแทน กล่าว
รายงานโดย : ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['ข่าว', 'สิ่งแวดล้อม'] |
https://prachatai.com/print/58 | 2004-08-24 22:00 | อะไรมาบังตา "คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ" | ประสาท มีแต้ม
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ(2 สิงหาคม 2547) ได้รายงานข่าวที่สำคัญมากและกระทบต่อคนไทยทุกคนในอนาคต คือข่าวที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) คลอดแผน "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า" (เรียกสั้นๆว่าพีดีพี หรือ PDP2004 ซึ่งย่อมาจาก Power Development Plan) ด้วยเงินลงทุนลงทุนถึง 400,000 ล้านบาท ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปี 2554 ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงแบบเดิม
ในฐานะที่ผมได้ติดตามเรื่องพลังงานมานานพอสมควร จึงขอตั้งข้อสังเกตเพื่อเป็นการช่วยตรวจสอบสัก 3 ประเด็นดังต่อไปนี้
1. ขั้นตอนและกระบวนการจัดทำแผน
สิ่งที่ปฏิบัติกันมาจนเป็นเรื่องปกติของขั้นตอนการจัดทำแผนพีดีพีนั้นมี 5 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือเริ่มจาก ขั้นแรก คณะอนุกรรมการการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า เพื่อที่จะบอกว่าในปีใดความต้องการไฟฟ้าจะเป็นเท่าใด ทั้งนี้เพื่อจะได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปวางแผนก่อสร้างต่อไป ขั้นที่สอง ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) จัดทำแผน ว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าที่ใด จำนวนเท่าใด ด้วยเชื้อเพลิงชนิดใด เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าขั้นต้อนนี้ต้องผ่านคณะกรรมการ กฟผ. ขั้นที่สาม ผ่านกระทรวงพลังงานเพื่อพิจารณาเสนอต่อ กพช.(ขั้นที่สี่) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จากนั้นก็เสนอ คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นขั้นที่ห้าเพื่อพิจารณาซึ่ง ครม.จะพิจารณาเรื่องนี้ในวันที่ 17 สิงหาคมนี้ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่รวดเร็วมาก ยิ่งทำให้เห็นว่า โครงการนี้ไม่ต้องการการตรวจสอบจากภายนอกโดยสิ้นเชิง
ข้อสังเกตของผมรวมทั้งของคุณนายวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ คณะทำงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็คือว่า งบประมาณการก่อสร้างสูงถึง 4 แสนล้านบาทแต่ไม่มีการตรวจสอบจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา สถาบันวิชาการ หรือองค์กรผู้บริโภค รวมทั้งสาธารณะอื่นๆเลย ถ้าผลการพยากรณ์ผิดพลาดก็จะเป็นภาระกับคนไทย
ในอดีตหมาดๆ คือเมื่อปี 2545 ท่านนายกฯทักษิณ ชินวัตร ก็ได้กล่าวหลังจากไปเยี่ยม กฟผ.ว่า "ในช่วงที่ผ่านมามีการคำนวณการใช้พลังงานผิดพลาดทำให้ต้องลงทุนสูงเกินไป โดยในปัจจุบันได้ลงทุนสูงไปถึง 4 แสนล้านบาทซึ่งส่วนหนึ่งอยู่ในภาระค่าไฟฟ้าของประชาชน"
จริงอยู่ในช่วงหลังปี 2540 เศรษฐกิจของประเทศถดถอย ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าจริงต่ำผลการพยากรณ์ที่ได้กระทำไว้ล่วงหน้า แต่ถามว่าการอนุมัติแผนการใหญ่โตคราวนี้มีหลักประกันใดบ้างที่จะไม่ให้ความผิดพลาดครั้งก่อนต้องเกิดขึ้นอีก
เพราะในปีแรกที่ผลการพยากรณ์ครั้งใหม่(ซึ่งได้พยากรณ์ไว้ในปี 2546)ที่ใช้เป็นฐานในการทำแผนพีดีพี2004 ล่วงหน้าระยะ 15 ปี ก็พบว่ามีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงเสียแล้ว กล่าวคือได้พยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด(peak)ไว้สูงกว่าความเป็นจริงถึง 275 เมกะวัตต์
แม้ตัวเลขนี้จะดูน้อยหรือเพียง 1.42% เมื่อเทียบกับความต้องการจริง แต่อย่าลืมว่าตัวเลขที่ได้จากการพยากรณ์ที่เกินจริงนี้จะต้องถูกนำไปคำนวณต่ออีก 15 ครั้ง นั่นคือยิ่งนานปีเข้าความผิดพลาดก็ยิ่งมากขึ้น ถ้าใช้อัตราการเพิ่มปีละ 8.16%(ตามข้อมูลของกระทรวงพลังงาน) ด้วยความผิดพลาดเริ่มต้นเพียง 275 เมกะวัตต์จะเพิ่มเป็น 892 เมกะวัตต์ หรือถ้าคิดเป็นค่าก่อสร้างในปัจจุบันก็ประมาณ 35,000 ล้านบาท หรือประมาณ 8%ของมูลค่าทั้งโครงการเลยทีเดียว
นี่เป็นเพียงความคิดพลาดในประเด็นเดียวเท่านั้น
2. ประเด็นพลังงานหมุนเวียน(renewable energy)
ในปี 2545 กระทรวงพลังงานได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาให้ศึกษาศักยภาพของพลังงานลมในการผลิตกระแสไฟฟ้า ผลการศึกษาพบว่าทางภาคใต้ของประเทศไทยมีศักยภาพที่จะทำได้ถึงกว่า 1,600 เมกะวัตต์
กระทรวงพลังงานเองได้เตรียมตั้งงบประมาณไว้ถึง 1 หมื่นล้านบาทเพื่อ "ส่งเสริม วิจัยและพัฒนา" พลังงานหมุนเวียน โดยได้นำเสนอเป็นเอกสารต่อคณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา แต่อยู่ๆเรื่องนี้ก็เงียบหายไปเฉยๆ เหลืออยู่แต่เพียงผลการศึกษาที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของกระทรวงพลังงานซึ่งผมขอนำบางส่วนมาแสดงเป็นหลักฐานไว้ในที่นี้ด้วย (http://203.150.24.8/dede/renew/wind_p.htm)
ในภาพเป็นแผนที่ความเร็วลมเฉลี่ยทั้งปี ในจังหวัดสงขลา ที่ระดับความสูง 50 เมตรจากผิวดิน พบว่ามีความเร็วประมาณ 7.5 ถึง 8 เมตรต่อวินาทีซึ่งสามารถทำไฟฟ้าได้อย่างดี
เท่าที่ผมได้ไปดูงานที่ประเทศเยอรมันนีและศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมพบว่า กิจการกังหันลมสามารถได้ทุนคืนภายในเวลา 8 ปีเท่านั้น
ต้นทุนในการก่อสร้างก็ประมาณ 40 ล้านบาทต่อ 1 เมกะวัตต์ซึ่งก็เท่ากับโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ แต่ไฟฟ้าที่ผลิตจากกังหันลมไม่ต้องเสียค่าเชื้อเพลิงใดๆอีกเลย ต้นทุนค่าบำรุงรักษาก็ต่ำกว่าโรงไฟฟ้าธรรมดามาก การก่อสร้างก็สามารถทำได้เร็วไม่ต้องวางแผนล่วงหน้านานซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดความผิดพลาดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ท่านที่สนใจสามารถเรียกจาก google.com แล้วพิมพ์คำว่า "wind turbine" แล้วอาจเพิ่มคำว่า "in India" หรือ "Europe" ก็จะได้แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจมาก
แต่ทำไมการจัดทำแผนพีดีพีจึงไม่คิดถึงเรื่องกังหันลมอีกเลย และเมื่อผมเข้าในดูในเว็บไซต์ของ กฟผ. พบว่ามีการพูดถึง "พลังงานทดแทน" แต่ไม่มีการพูดถึงกังหันลมเลย
ทำไมกระทรวงพลังงานซึ่งมีรัฐมนตรีและข้าราชระดับสูงอีก 2 ท่านนั่งอยู่ในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) จึงไม่ผลักดันแนวคิดและผลการศึกษาของตนออกมาให้เป็นนโยบาย หรือว่ามีอะไรมาบังตา บังใจ จึงมุ่งมั่นแต่โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงชนิดเดิม
3. สรุป: มิติที่ใหญ่กว่าของปัญหาพลังงาน
ขณะนี้ทั่วโลกกำลังประสบปัญหาราคาน้ำมันสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ คนไทยเราแม้จะรับทราบข่าวสารกันดีแต่ก็ไม่ค่อยจะรู้สึกรู้สากันอะไรมากนัก เพราะรัฐบาลไทยใช้นโยบายชดเชยราคา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เอาเงินของคนรุ่นหลังมาใช้ก่อน" คนรุ่นนี้จึงยังไม่เดือดร้อน
แต่จากการประชุมระดับโลกเรื่องพลังงานหมุนเวียน(Renewable Energy 2004) ที่ประเทศเยอรมันนีเมื่อสองเดือนที่ผ่านมาซึ่งผู้แทนจากประเทศไทยก็เข้าร่วมด้วย พบว่าที่ประชุมมองปัญหาพลังงานในมิติที่กว้างกว่าเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าให้ทันกับความต้องการตามที่ทาง กพช.กำลังกระทำอยู่ ผมขอยกมาตั้งเป็นประเด็นสั้นๆ เพื่อให้สังคมไทยได้ช่วยกันคิด เช่น
พลังงานที่มาจากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน (เรียกรวมๆว่าพลังงานฟอสซิล) นับวันจะมีราคาแพงขึ้นและเหลือน้อยลง มีผลกระทบต่อปัญหาโลกร้อนที่สามารถสร้างภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น พายุ น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม ให้กับชาวโลกทุกปี มีปัญหาเรื่องการผูกขาดโดยบริษัทยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้น แต่พลังงานหมุนเวียน(เช่น ลม แสงอาทิตย์ คลื่นในทะเล และชีวมวล) ใช้แล้วไม่หมดไป ราคาก็ถูกลงเรื่อยๆ มีผลกระทบน้อยมาก และที่สำคัญคือไม่มีใครสามารถผูกขาดได้ เป็นการสร้างงานและกระจายรายได้ ลดปัญหาความยากจนได้
ประเทศในสหภาพยุโรปตั้งเป้าไว้ว่า ในปี 2020 เขาจะใช้พลังงานหมุนเวียนมาผลิตกระแสไฟฟ้าให้ได้ถึง 20% ของกระแสไฟฟ้าทั้งหมด
ประเทศไทยเราก็มีลมมากพอที่จะทำได้ แต่ทำไม กพช. จึงให้ความสำคัญน้อยมาก ขอฝากให้ช่วยกันคิด ช่วยกันตั้งคำถาม และช่วยกันตรวจสอบด้วยครับ
รายงานโดย : ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['บทความ'] |
https://prachatai.com/print/61 | 2004-08-24 22:17 | ข้อกล่าวหาของบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) | "นคร ชมภูชาติ จากสภาทนายความ ในฐานะทนายความของน.ส.สุภิญญา กลางณรงค์"
คดีที่ฟ้องทางแพ่งครั้งนี้มีเนื้อความเหมือนคดีอาญาที่เคยถูกฟ้องมาแล้วก่อนหน้านี้แต่เป็นการเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมโดยโจทก์ระบุสาเหตุของความเสียหายว่ามาจาก 4 ข้อ ข้อละ 100 ล้านบาท คือ
1.ทำให้โจทก์ซึ่งประกอบกิจการโดยเฉพาะโทรคมนาคมที่มีชื่อเสียงมาโดยตลอดต้องได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง เกียรติคุณ
2.จำเลยทำให้โจทก์เสียหายในทางทำกิน รวมทั้งทางเจริญเติบโตของธุรกิจ ที่คาดว่าจะมีความเจริญอย่างต่อเนื่องเพราะผู้ใช้บริการขาดความไว้วางใจ
3.โจทก์อ้างว่าเลขาฯคปส.ทำให้กิจการที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีกำไรมาโดยตลอดต้องเสียหายถูกคณะกรรมการกำกับตลอดหลักทรัพย์เรียกไปตรวจสอบจนทำให้มูลค่าหุ้นลดน้อยลงทำให้โจทก์ต้องชี้แจงและประกาศโฆษณากับนักลงทุน และ
4.โจทก์อ้างว่าได้รับความเสียหายในด้านความน่าเชื่อถือในการระดมทุนจากที่เคยมีฐานะที่มั่นคง แต่ปัจจุบันโจทก์ต้องถูกทบทวนเครดิต
ขณะที่ผมยังไม่สามารถพูดได้ว่าใครเป็นฝ่ายผิดหรือถูกและไม่ต้องการสร้างกระแสกดดันการพิจารณาของศาล แต่คปส.เองสามารถยืนยันเจตนาว่าการกระทำทั้งหมดไม่ใช่ต้องการมุ่งหวังกับตัวบุคคลใดโดยเฉพาะแต่เป็นเรื่องที่ปรากฎในสังคมว่ามีกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม กับนักการเมืองใหญ่มีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนซึ่งประชาชนก็รับรู้และกระบวนการตรวจสอบก็เป็นสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
ถ้าโจทก์ไม่เข้าใจเจตนานี้เมื่อเห็นข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์ก็สามารถสอบทานเพื่อทำความเข้าใจให้ชัดเจนกับน.ส.สุภิญญา ได้โดยตรง ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดปัญหาแต่ในความเป็นจริงน.ส.สุภิญญา ไม่เคยได้รับการติดต่อแต่อย่างใด มารู้ตัวอีกครั้งก็ถูกฟ้องแล้ว ทำให้เป็นเรื่องราวใหญ่โต และยุ่งยากซึ่งสุดท้ายก็ยังไม่รู้ว่าคดีจะจบอย่างไร
รายงานโดย : ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['ข่าว', 'สิ่งแวดล้อม'] |
https://prachatai.com/print/62 | 2004-08-24 22:19 | คำชี้แจงของคปส.และเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนและองค์กรประชาธิปไตย | 1. การแถลงข่าวของคปส.ในโอกาส 20 ปีบริษัทชินคอร์ป เป็นการแถลงที่ยืนอยู่บนข้อเท็จจริง บนหลักการเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ทั้งยังเป็นการดำเนินการตามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในฐานะพลเมืองและกลุ่มประชาสังคมที่ได้รับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญ คปส.มิได้มีอคติหรือมีเจตนาที่จะหมิ่นประมาทต่อบุคคลหรือองค์กรใดเป็นการเฉพาะเจาะจง ในทางตรงกันข้ามคปส.ได้แสดงความคิดเห็นและวิพากษ์ วิจารณ์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2.คปส.เห็นว่าการวิพากษ์วิจารณ์การคอร์รัปชั่นทางนโยบาย และปัญหาธุรกิจการเมืองของรัฐบาลเป็นสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของประชาชนทั่วไปที่รัฐบาลไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี จะต้องตระหนักในความสำคัญดังกล่าว ตลอดจนธุรกิจเอกชนที่เกี่ยวข้องกับเครือญาตินายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีควรจะพร้อมจะยอมรับการตรวจสอบและการวิพากษ์วิจารณ์อย่างโปร่งใส เพื่อให้สังคมไทยได้พิจารณาตามความเป็นจริง
3.เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนได้ร่วมกันเปิดบัญชีกองทุนเพื่อสนับสนุนการต่อสู้ของเลขาธิการคปส.และการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารต่อไปในอนาคต ชื่อบัญชี น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์และ/หรือนายพิภพ ธงไชย และ/หรือนายพิทยา ว่องกุล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) เลขที่ 075-2-32433-6 โดยจะทำการรณรงค์อย่างต่อไปเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ส่วนรวมและสร้างมาตรฐานที่ดีให้กับสังคม
รายงานโดย : ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['ข่าว', 'สิ่งแวดล้อม'] |
https://prachatai.com/print/63 | 2004-08-24 22:22 | วุฒิฯ บล็อกโหวตเลือก 7 กทช. | ส.ว.อุบลราชธานีแฉคณะกรรมการ กทช.หลายคนมีความสัมพันธ์กับกลุ่มทุนและนักธุรกิจ หวั่นทำงานเบียดบังผลประโยชน์ประเทศชาติ แนะประชาชนจับตาดูให้ดี
ประชาไท- 24 ส.ค. 47 ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติเลือกคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช.จำนวน 7 คนเรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย นายเหรียญชัย เรียววิไลสุข อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ได้ 111 คะแนน นายประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลง-กรณ์มหาวิทยาลัย ได้ 117 คะแนน นายสุชาติ สุชาติเวชภูมิ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ได้ 117 คะแนน นายเศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ อดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ได้คะแนน 126 คะแนน
นายสุธรรม อยู่ในธรรม อาจารย์นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ 141 คะแนน พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ อดีตหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอดีตคณะกรรมการบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น ได้ 168 คะแนน และนายอาทร จันทวิมล อาจารย์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้ 148 คะแนน
ทั้งนี้ ในการลงคะแนนมี ส.ว.เข้าร่วมประชุมและรับบัตรลงคะแนนทั้งสิ้น 186 คน จากจำนวนสมาชิกวุฒิสภา 199 คน โดยหลังจากนี้วุฒิสภาจะส่งรายชื่อคณะกรรมการ กทช.ที่ได้รับคัดเลือกให้นายกรัฐมนตรี นำขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัย
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการ กทช. มีทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม รวมทั้ง การออกกฎระเบียบ และมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ ในการให้ใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม เป็นต้น
รายงานข่าวแจ้งว่า การคัดเลือกคณะกรรมการ กทช.ในครั้งนี้นั้น ตัวเต็งที่คาดว่าจะได้รับการคัดเลือก 2 คนกลับพลาดหวัง ได้แก่ นายโกศล เพ็ชร์สุวรรณ์ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับบริษัทเทเลคอมเอเชีย คอร์เปอร์เรชั่นและบริษัทโนเกีย (ประเทศไทย) จำกัด และนายธรรมนูญ จุลมณีโชติ วิศวกรที่ปรึกษางานด้านการไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม
น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ สว.อุบลราชธานี กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า คณะกรรมการกทช.ที่ด้รับการคัดเลือกมานั้น มีการล๊อบบี้กันไว้ก่อน เชื่อว่าการทำงานต้องมีปัญหาแน่นอน เพราะหลายคนขาดความน่าเชื่อถือ บางคนมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน อยากให้สังคมจับตาดูการทำงานของแต่ละคนให้ดี
" ถ้ามองให้ลึกจะเห็นว่า กทช.หลายคน ทั้งคุณประสิทธิ์ คุณเศรษฐพร คุณสุชาติ และคุณเหรียญชัย ล้วนแล้วแต่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มทุนและกลุ่มนักธุรกิจ ซึ่งน่ากลัวมาก อยากให้สังคมจับตาดูการทำงานให้ดี มิเช่นนั้นอาจจะมีการเบียดบังผลประโยชน์ของสาธารณะ ผลประโยชน์ชาติได้" น.พ.นิรันดร์กล่าว
รายงานโดย : ศูนย์ข่าวประชาไท
| ['ข่าว', 'สิ่งแวดล้อม'] |
End of preview. Expand
in Dataset Viewer.
- Downloads last month
- 21