url
stringlengths 30
33
| date
stringlengths 16
16
| title
stringlengths 2
170
| body_text
stringlengths 500
210k
| labels
stringlengths 2
867
|
---|---|---|---|---|
https://prachatai.com/print/79183 | 2018-10-17 14:03 | กสทช.เผย 7HD ยังครองแชมป์ 'สังข์ทอง' ดึงเรตติ้งพุ่ง 'อังกอร์' ม้ามืดดัน 3HD | กสทช. รายงานเรตติ้งทีวีดิจิตอลและสภาพตลาดวิทยุคลื่นหลักระบบเอฟเอ็ม เดือน ก.ย. 61 พบช่อง 7HD ยังครองอันดับหนึ่ง 'สังข์ทอง' เรตติ้งเฉลี่ยประจำเดือนสูงถึง 7.708 'อังกอร์' ม้ามืดช่วยดันเรตติ้ง 3HD พุ่งสูง 'แฮรี่ พอตเตอร์' ช่วย MONO 29 กลับมาทวงบัลลังก์อันดับ 3 คืนจากช่อง Workpoint TV ขณะที่ ทุบโต๊ะข่าว ทางช่อง Amarin TV HD เป็นรายการที่มีแฟนข่าวเฝ้าติดตามอย่างเนืองแน่น สม่ำเสมอ
17 ต.ค.2561 ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. รายงานสภาพตลาดกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล เดือน ก.ย. 2561 พบว่า ช่องรายการที่ได้รับความนิยมสูงสุด (เรตติ้ง) 10 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 ช่อง 7HD เรตติ้ง 1.866 อันดับ 2 ช่อง 3HDเรตติ้ง 1.309 อันดับ 3 ช่อง MONO29 เรตติ้ง 0.917 อันดับ 4 ช่อง Workpoint TV เรตติ้ง 0.830 อันดับ 5 ช่อง ไทยรัฐ ทีวี เรตติ้ง 0.493 อันดับ 6 ช่อง ONE HD เรตติ้ง 0.484 อันดับ 7 ช่อง 8 เรตติ้ง 0.463 อันดับ 8 ช่อง 3SD เรตติ้ง 0.380 อันดับ 9 ช่อง Amarin TV HD เรตติ้ง 0.290 และอันดับ 10 ช่อง NOW เรตติ้ง 0.218
กสทช. เผยปมถ่ายทอดสดทีมหมูป่า ทำ 'ไทยรัฐ ทีวี - ช่อง MCOT' เรตติ้งพุ่ง [1]
กสทช.เผยเรตติ้งทีวีเม.ย. 61 ช่อง 7HD ยังแชมป์ ชี้ MONO 29 ผังรายการส่งความนิยมสูงขึ้น [2]
กสทช. เผย ก.พ. คนดู 'ช่อง 7' ยังแชมป์ ขณะที่ 'เวิร์คพอยท์' หายใจรดต้นคอ 'ช่อง 3' [3]
สำหรับเดือน ก.ย. 2561 เรตติ้ง 10 อันดับแรกยังเป็นกลุ่มช่องรายการเหมือนเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี มีบางช่องรายการที่มีเรตติ้งสูงขึ้นจนส่งผลให้การจัดลำดับของช่องรายการมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มช่องความคมชัดสูง (HD) ซึ่งได้แก่ ช่อง 7HD ช่อง 3 HD ช่องไทยรัฐ ทีวี และช่อง Amarin TV HD มีรายระเอียดดังนี้
- ละครพื้นบ้าน สังข์ทอง และละครเย็น เจ้าสาวช่างยนต์ เป็น 2 รายการยอดฮิต ประจำเดือน ก.ย. 2561 ที่ทำให้เรตติ้งของช่อง 7HD พุ่งสูงขึ้น จากเดือนก่อนหน้า (ส.ค. 2561) โดยละครสังข์ทองมีเรตติ้งเฉลี่ยประจำเดือนสูงถึง 7.708 และ เจ้าสาวช่างยนต์ ก็ได้รับความนิยมจากฐานผู้ชมละครเย็นอย่างสูง โดยมีเรตติ้งเฉลี่ยทั้งรายการ 5.579 (ออกอากาศ 13 ส.ค.-20 ก.ย. 2561) และเรตติ้งเฉลี่ยประจำเดือนสูงถึง 6.258
- ละครหลังข่าว อังกอร์ เป็นม้ามืดช่วยดันเรตติ้งของช่อง 3HD ให้พุ่งสูงขึ้นจากเดือน ส.ค. โดยเป็นละครช่วงไพร์มไทม์ที่ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วประเทศ โดยมีเรตติ้งเฉลี่ยทั้งรายการ 5.311 (ออกอากาศ 25 ส.ค.-21 ก.ย. 2561) และเรตติ้งเฉลี่ยประจำเดือนสูงถึง 5.647
- การแข่งขันวอลเล่ย์บอลหญิง เอสเอ็มเอ็ม เอวีซีคัพ 2018 ได้กลายเป็นรายการถ่ายทอดสดกีฬาที่ช่วยดันช่องไทยรัฐ ทีวี ให้มีเรตติ้งสูงขึ้นจาก 0.424 (เดือน ส.ค.) เป็น 0.493 ในเดือน ก.ย. 2561 จนสามารถก้าวขึ้นสู่การตัดอันดับ Top 5 ได้สำเร็จ โดยแมตซ์การแข่งขันที่ได้รับความนิยมสูง ได้แก่ แมตซ์ระหว่างไทยและจีน เรตติ้ง 4.732 แมตซ์ระหว่างไทยและเกาหลีใต้ เรตติ้ง 3.643 แมตซ์ระหว่างไทยและออสเตรเลีย เรตติ้ง 3.608 และแมตซ์ระหว่างไทยและญี่ปุ่น เรตติ้ง 3.473
- รายการ ทุบโต๊ะข่าว ออกอากาศทางช่อง Amarin TV HD เป็นรายการที่มีแฟนข่าวเฝ้าติดตามอย่างเนืองแน่น สม่ำเสมอ โดยในเดือน ก.ย. 2561 มีเรตติ้งเฉลี่ยทั้งรายการ (ออกอากาศวันจันทร์-ศุกร์) 1.425 และ 1.346 สำหรับรายการที่ออกอากาศเสาร์-อาทิตย์
ฐากร กล่าวว่า ส่วนกลุ่มช่องคมชัดปกติ (SD) ซึ่งได้แก่ ช่อง 8 ช่อง MONO 29 ช่อง 3SD และช่อง NOW มีรายละเอียดดังนี้
- แฮรี่ พอตเตอร์ เป็นมหากาพย์ภาพยนตร์ยอดฮิตที่ได้รับความนิยมจากคอหนังอย่างท่วมท้น โดยเฉพาะตอนแฮรี่ พอตเตอร์กับนักโทษ เรตติ้ง 4.373 และแฮรี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี เรตติ้ง 4.181 ซึ่งช่วยให้ช่อง MONO 29 มีเรตติ้งเฉลี่ยประจำเดือนสูงขึ้น และกลับมาทวงบัลลังก์ช่องที่มีค่าความนิยมสูงสุดอันดับ 3 คืนจากช่อง Workpoint TV ได้สำเร็จ
- ละครเย็นเรื่อง พยัคฆา และละครอินเดีย พิฆเนศ มหาเทพไอยรา เป็นสองรายการที่ช่วยให้เรตติ้งช่อง 8 เพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. ก่อนหน้านี้ โดยทั้ง 2 เรื่อง มีเรตติ้งเฉลี่ยประจำเดือน 1.518 และ 1.713 ตามลำดับ
- ละครรีรันของช่อง 3SD ถือว่าประสบความสำเร็จในการช่วยดันเรตติ้งของช่อง โดยเฉพาะในเดือน ก.ย. 2561 ละคร ผู้กองยอดรัก มีเรตติ้งสูงถึง 2.672 นอกจากนี้ รายการข่าวนอกลู่ก็ได้รับความนิยมจากผู้ชมอย่างต่อเนื่อง โดยมีเรตติ้งเฉลี่ยประมาณ 2.054
- แม็ก มวยไทย, เดอะ แชมป์เปี้ยน, มวยไทยตัดเชือก, มวยไทยแบทเทิล และมวยไทยไฟต์เตอร์ เป็นซีรีส์รายการมวยที่ช่วยให้ช่อง NOW มีเรตติ้งเฉลี่ยสูงขึ้น และสามารถคงอยู่ในการจัดอันดับ Top 10 ได้
ฐากร กล่าวอีกว่า สำหรับสภาพตลาดกิจการกระจายเสียงของไทยประจำเดือน ก.ย. 2561 พบว่า จากข้อมูลจำนวนผู้รับฟังวิทยุคลื่นหลักในระบบเอฟ.เอ็ม. จำนวน 40 สถานี (87.5 MHz-107.0 MHz) จากทุกช่องทาง เช่น เครื่องรับวิทยุ โทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ ในเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล พบว่าในเดือน ก.ย. 2561 มีประชากรไทยอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป รับฟังวิทยุ ประมาณ 10,554,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. 2561 ที่ผ่านมา ประมาณ 228,000 คน หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 2.2
ทั้งนี้ จากข้อมูลพฤติกรรมการรับฟังวิทยุ พบว่า ถ้าแยกตามสถานที่ ผู้คนส่วนใหญ่ นิยมรับฟังวิทยุที่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 49.40 ตามมาด้วยการรับฟังวิทยุในรถ ร้อยละ 37.24 ในที่ทำงาน ร้อยละ 12.76 และอื่นๆ ร้อยละ 0.60 หากแยกการรับฟังวิทยุตามประเภทอุปกรณ์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังนิยมรับฟังวิทยุผ่านทางเครื่องรับวิทยุคิดเป็นร้อยละ 72.68 ตามมาด้วยการรับฟังผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ร้อยละ 25.63 และผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ร้อยละ 1.69
ในส่วนของมูลค่าโฆษณาผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงคลื่นหลักในระบบเอฟ.เอ็ม.ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 36 สถานี (88.0 MHz-91.5 MHz, 93.0 MHz-103.5 MHz และ 104.5 MHz-107.0 MHz พบว่า ในเดือน ก.ย. 2561 มีมูลค่าโฆษณารวมประมาณ 401,783,000 บาท ซึ่งลดลงจากเดือนก่อน (ส.ค. 2561) ประมาณ 388,000 บาท ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบการโฆษณาผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงของเดือน ก.ย. 2561 กับปีก่อนหน้า พบว่า มีมูลค่าลดลงประมาณ 25 ล้านบาท
| ['ข่าว', 'เศรษฐกิจ', 'ไอซีที', 'กสทช.', 'สังข์ทอง', 'อังกอร์', 'ช่อง 7HD', 'ทุบโต๊ะข่าว', 'เรตติ้งทีวี'] |
https://prachatai.com/print/79184 | 2018-10-17 15:22 | ประยุทธ์สั่งทวนร่าง พ.ร.บ. มั่นคงไซเบอร์ วิษณุยินดีคนสนใจเยอะ | ประยุทธ์ สั่งทบทวนร่าง พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หลังมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่ากฎหมายให้อำนาจหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่มากเกินไป แต่นิยามคลุมเครือ บทกำหนดโทษควรมีขอบเขตและหลักเกณฑ์ ด้านรองนายกฯ วิษณุ เครืองาม ยินดีที่คนวิจารณ์เยอะ กฎหมายอื่นคนสนใจน้อย แต่พอจะผ่านแล้วค่อยมาโวยวาย ตอนนี้ร่างฯ ยังรอเข้า ครม.
17 ต.ค. 2561 มติชน [1]รายงานว่า ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในประเด็นว่าเป็นการให้อำนาจเจ้าหน้าที่มากจนจะเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวของประชาชน โดยวิษณุระบุว่าเป็นเรื่องดีที่มีความกังวล สมดังเจตนารมณ์มาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนระหว่างการออกกฎหมายในทุกขั้นตอน ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างการร่างและจะยังกลับเข้ามาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตนอยากเห็นคนที่มีข้อสังเกต ที่มีข้อไม่เห็นด้วยออกมาวิพากษ์วิจารณ์ เจ้าของร่างกฎหมายจะได้นำความคิดเห็นไปปรับปรุง ทั้งนี้ ประชาชนต้องเรียนรู้เช่นกันว่าการรับฟังความคิดเห็นนั้นยังไม่ใช่ข้อยุติ ยังมีอีกหลายขั้นตอน ทั้งในขั้นคณะกรรมการกฤษฎีกาและขั้นสภาฯ และหลังจากนี้ยังมีขั้นตอนของ ส.ว. อีก ตนจึงขอเชิญชวนให้คนมาวิจารณ์ เพราะว่าเสียดายที่ก่อนหน้านี้คนมาแสดงความเห็นต่อฎหมายที่มีการเปิดรับฟังความเห็นน้อย และส่วนใหญ่ที่มาแสดงความเห็นก็เห็นด้วย แต่พอกฎหมายจะออกกลับมีการโวยวาย
รู้จัก ร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงไซเบอร์ เมื่อความปลอดภัยกับละเมิดสิทธิห่างแค่เส้นเบลอๆ [2]
‘ประยุทธ์’ ยันรับคำวิจารณ์ในเฟสบุ๊ก ย้ำ กม.ความมั่นคงไซเบอร์ จำเป็นต้องมี ไม่ผิดไม่ต้องกลัว [3]
ก่อนหน้านี้ เมื่อ 16 ต.ค. 2561 มติชน [4]ได้รายงานว่า พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีรัฐบาลทหาร หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังไม่ได้รับรายงานในรายละเอียดเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ฉบับที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาปรับแก้ไขแล้ว แต่รับทราบถึงความกังวลของประชาชน พร้อมสั่งการให้ฝ่ายกฎหมายไปดูแลเรื่องดังกล่าว หากร่างกฎหมายมีรายละเอียดตามที่มีกระแสข่าว เช่น แค่อ้างเหตุสงสัยว่าจะกระทบความมั่นคงก็สามารถตรวจค้นข้อมูลส่วนตัวและข้อความสนทนาของประชาชนได้ บุกค้น ยึดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้โดยไม่ต้องมีหมายศาล และการให้อำนาจแก่เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กปช.) มากจนเกินไป เป็นต้น ก็ไม่เห็นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ บทกำหนดโทษและการใช้อำนาจเจ้าหน้าที่ควรต้องมีการกำหนดขอบเขตและมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน
พล.ท.สรรเสริญ กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ขอให้ประชาชนอย่าเพิ่งวิตก เพราะร่างฯ ยังต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ สนช. อีก ซึ่งมีขั้นตอนในการพิจารณาถึง 3 วาระ และยังได้มอบให้ฝ่ายกฎหมายไปทบทวนรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะเรื่องการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงควรพิจารณาว่าจะมีกลไกการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจกันอย่างไร พร้อมทั้งให้ศึกษากฎหมายที่คล้ายกันในนานาประเทศด้วย และใช้แนวทางนี้ในการพิจารณากฎหมายทุกฉบับ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ร่างฯ ปัจจุบันเพิ่งสิ้นสุดการรับฟังความคิดเห็นทางเว็บไซต์ไปเมื่อ 12 ต.ค. ที่ผ่านมา ส่วนงานรับฟังความคิดเห็นที่มีเมื่อ 11 ต.ค. มีหลายคนแสดงความเห็นในทางกังวลต่ออำนาจที่ล้นหลามของ กปช. และนิยามคำศัพท์ในกฎหมายที่กำกวม
รู้จักตัวร่างฯ ผ่าน "ใคร? ทำอะไร? อย่างไร?"
ทำอะไร: มุ่งป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ที่จะโจมตีโครงสร้างสำคัญของประเทศ
ตัว พ.ร.บ. นี้มีหลักการกว้างๆ ว่า ต้องมีกฎหมายมาป้องกัน รับมือ ลดความเสี่ยงจาก ‘ภัยคุกคามทางไซเบอร์’ ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงในด้านต่างๆ ผ่านคณะกรรมการและหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยจะมีแผนปฏิบัติการและมาตรการด้านรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างมีเอกภาพและต่อเนื่อง ในวันที่ประเทศไทยมีบริการประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคมที่สามารถถูกโจมตีและสร้างความเสียหายได้
สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเร็วๆ เมื่อพูดถึง พ.ร.บ. นี้มีสี่อย่างคือ โครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (Critical Information Infrastructure - CII ) หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ภัยคุกคามไซเบอร์ และ ทรัพย์สินสารสนเทศ
ในภาษาที่ร่าง พ.ร.บ. เขียนไว้เป็นแบบนี้
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ หมายถึง การกระทำหรือเหตุการณ์ที่กระทำด้วยวิธีการทางคอมพิวเตอร์หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้การทำงานของทรัพย์สินสารสนเทศมีความผิดปกติ หรือมีความพยายามเข้าถึง หรือเข้าถึงโดยใช้เทคโนโลยี ซึ่งอาจส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินสารสนเทศ ทำให้ทรัพย์สินสารสนเทศถูกทำลาย
โครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ หมายถึงคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งหน่วยงานรัฐหรือเอกชนใช้ในกิจการของตนที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศหรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ
ทรัพย์สินสารสนเทศหมายถึง
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศ
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกข้อมูล และอุปกรณ์อื่นใด
ข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และข้อมูลคอมพิวเตอร์
หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ คือ หน่วยงานรัฐหรือเอกชนที่มีภารกิจให้บริการโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ปัจจุบันมีแปดด้าน ได้แก่
ความมั่นคงของรัฐ
บริการภาครัฐที่สำคัญ
การเงินการธนาคาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม
การขนส่งและโลจิสติกส์
พลังงานและสาธารณูปโภค
สาธารณสุข
ด้านอื่นๆ ตามที่ กปช. (จะพูดถึงในอีกหนึ่งบรรทัด) กำหนดเพิ่มเติม
สรุปได้ง่ายๆ ว่า หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานทำงานผ่านโครงสร้างพื้นฐานในการทำงาน ซึ่งในทางรูปธรรมและนามธรรม เครื่องมือและข้อมูลที่หน่วยงานใช้ก็คือทรัพย์สินสารสนเทศที่หน่วยงานเป็นเจ้าของ และภัยคุกคามไซเบอร์คือการใช้วิธีการทางคอมพิวเตอร์ หรืออิเล็กทรอนิกส์สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินสารสนเทศหรือทำให้ทำงานไม่ได้
ยกตัวอย่าง: โรงพยาบาล(หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐาน)ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (โครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ) เชื่อมต่อกันเพื่อเก็บบันทึกข้อมูลผู้ป่วย สถิติ และการทำงานทำผ่านคอมพิวเตอร์ (ทรัพย์สินสารสนเทศ) ภัยคุกคามจึงอาจเป็นวิธีการทางคอมพิวเตอร์เพื่อทำให้การทำงานเสียหายหรือทำงานต่อไม่ได้ เช่น ไวรัส การส่งชุดข้อมูลไม่พึงประสงค์จำนวนมากเพื่อทำให้ระบบประมวลผลช้าลง (ดีดอส) การแฮ็ค เป็นต้น
ใคร: จัดตั้งคณะกรรมการ 14 คน ตั้งสำนักงานสนับสนุน รัฐให้เงิน แต่หาเงินเองได้ ไม่ใช่ส่วนราชการ เลขาธิการอำนาจล้นมือ
พ.ร.บ. นี้จะให้มี ‘คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กปช.)’ ประกอบด้วยสมาชิก 14 คน ได้แก่นายกรัฐมนตรี (ประธาน) รัฐมนตรีว่าการ (รมว.) กระทรวงกลาโหม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กฎหมาย หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องอันเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และจะแต่งตั้งเลขาธิการจากใน 14 คนนี้
กปช. ทำหน้าที่รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเสนอนโยบาย แผนดำเนินการ ทำแผนปฏิบัติการเพื่อเป็นแผนแม่บทในสถานการณ์ปกติและในเวลาที่อาจจะเกิดหรือเกิดภัยคุกคามไซเบอร์ กำหนดแนวทาง กรอบมาตรฐานขั้นต่ำให้หน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง กำหนดมาตรการตอบสนอง รับมือภัยคุกคามไซเบอร์ กำหนดแนวทางสร้างทักษะและความเชี่ยวชาญ ติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย เสนอความเห็น และข้อคิดเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการ และทำเรื่องอื่นๆ ตามที่บัญญัติใน พ.ร.บ. หรือที่ ครม.มอบหมาย
นอกจากตัวคณะกรรมการฯ ยังจะมีการจัดตั้งสำนักงาน กปช. ขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานของ กปช. เป็นศูนย์กลางข้อมูลและประสานงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เฝ้าระวัง แจ้งเตือน สนับสนุน ช่วยเหลือในการป้องกันรับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์ เผยแพร่ความรู้ ศึกษา วิจัย และพัฒนา
ทั้งนี้ สถานะของสำนักงาน เป็นนิติบุคคล ไม่ใช่ส่วนราชการ ได้รับงบอุดหนุนจากรัฐเป็นรายปี แต่หากมีรายได้จากการดำเนินงานหรือทรัพย์สินของสำนักงาน ก็ไม่ต้องส่งกลับคลังเพื่อเป็นรายได้ของรัฐ ในมาตรา 17 ได้ให้อำนาจสำนักงานในการเป็นหุ้นส่วน ถือหุ้น หรือร่วมทุนกับนิติบุคคลอื่นที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสำนักงาน กู้ยืมเงินเพื่อวัตถุประสงค์ของสำนักงานได้ และยังเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทนหรือค่าบริการในการดำเนินงานได้ด้วย
อย่างไร: แนวทางจัดการภัยไซเบอร์กว้างขวาง ค้นบ้าน-ยึดคอมฯ ได้ไม่ต้องมีหมายศาล แต่ความรับผิดชอบต่ำ
พ.ร.บ. นี้ให้อำนาจ หน้าที่องค์กรที่ตั้งใหม่อย่างน่ากังวล เพราะอำนาจหน้าที่นั้นอิงอยู่กับการป้องกัน ‘ภัยคุกคามทางไซเบอร์’ แต่แค่ตัวนิยามของภัยคุกคามทางไซเบอร์เองก็กำกวมแล้ว การมีอำนาจในการจัดการต่อสิ่งที่กำกวมยิ่งทำให้เกิดข้อเคลือบแคลงต่อหลายภาคส่วน
มาตรา 46 ให้อำนาจเลขาธิการ กปช. ออกหนังสือขอความร่วมมือจากหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศเพื่อขอข้อมูลเหล่านี้
การออกแบบ การตั้งค่าของ CII และข้อมูลของระบบที่เชื่อมต่อ หรือสื่อสารกับมัน
ข้อมูลการทำงานของ CII หรือระบบที่เชื่อมต่อ สื่อสารกับมัน ที่หน่วยงานนั้นๆ ควบคุม
ข้อมูล อื่นใด ที่เห็นว่าจำเป็นในการรักษาระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของ CII
แม้วรรคต้นเป็นการขอความร่วมมือ แต่ตอนท้ายของมาตรา 46 กลับระบุว่า หน่วยงานใดๆ ที่ได้รับหนังสือ จะยกหน้าที่ตามกฎหมายอื่น หรือตามสัญญามาอ้างเพื่อไม่เปิดเผยข้อมูลไม่ได้ การทำตามความในมาตรานี้โดยสุจริตไม่เป็นการผิดกฎหมายหรือสัญญา แบบนี้เรียกว่าหนังสือขอความร่วมมือได้ไหม
มาตรา 47 ให้ผู้ดูแลระบบต้องมีการประเมินความเสี่ยง และตรวจสอบด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างน้อยปีละครั้ง และส่งสำเนารายงานต่อสำนักงาน กปช. ภายใน 30 วัน แต่ถ้าเลขาธิการเห็นว่าการประเมินหรือการตรวจสอบไม่น่าพอใจ ก็สามารถให้ทำใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง (มาตรา 48)
ผู้ฝ่าฝืน ไม่ทำตามมาตรา 47 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทนับแต่วันที่ถูกสั่งให้ทำจนถึงวันที่ทำเสร็จ (มาตรา59)
พ.ร.บ. ยังกำหนดให้หน่วยงานรัฐ หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศจะต้องแจ้งรายชื่อเจ้าหน้าที่ระดับบริหารและปฏิบัติการเพื่อประสานงานด้านรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์กับทางสำนักงาน ซึ่งเป็นช่องทางที่ใช้ติดต่อกันเมื่อมีเหตุภัยคุกคามไซเบอร์เพื่อรับมือกับเหตุ
ในส่วนของการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นสิ่งที่มีความคลุมเครือและให้อำนาจอย่างกว้างกับทางสำนักงานและ กปช. เริ่มจากมาตรา 51 ที่เขียนว่า ในกรณีที่เกิดหรือคาดว่าจะเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อระบบสารสนเทศซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐหรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ให้น่วยงานนั้นตรวจสอบทรัพย์สินสารสนเทศและพฤติการณ์แวดล้อมเพื่อประเมินภัยคุกคามไซเบอร์ ถ้ามีภัยก็ให้รับมือตามแผนที่มี และแจ้งไปยังสำนักงานโดยเร็ว
หรือถ้าสำนักงานเห็นว่าเกิด หรือคาดว่าจะเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ ก็ให้มีการรวมข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ ประเมินผลกระทบ แจ้งเตือนภัย อำนวยความสะดวกในการประสานงาน และเข้าช่วยเหลือ โดยการรวบรวมข้อมูลนั้น กฎหมายให้อำนาจสำนักงานในการ
เรียกคนที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล หรือให้ข้อมูลเป็นหนังสือเกี่ยวกับภัยคุกคาม
ขอข้อมูล เอกสาร สำเนาข้อมูลหรือเอกสารในความครอบครองของผู้อื่น
สอบถามคนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามไซเบอร์
เข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ หรือสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องหรือคาดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ของบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยได้รับความยินยอมจากผู้ครอบครองสถานที่นั้น
ในส่วนการดูแลข้อมูลนั้น กฎหมายกำหนดเพียงว่าสำนักงานต้องดูแลไม่ให้มีการใช้ข้อมูลที่ได้มาในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย
ในร่างฯ ยังไม่ระบุ หรือมีตัวอย่างว่าการทำอะไรที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จึงยังไม่สามารถพูดได้ว่าการส่งข้อมูลในอีเมล์ โพสท์เฟสบุ๊ก หรือเนื้อหาวิดีโอต่างๆ หรือพูดง่ายๆ คือสิ่งที่เป็น ‘เนื้อหา’ ไม่ใช่ภัยคุกคามทางไซเบอร์
กฎหมายมีการเตรียมตัวในสภาวะที่ย่ำแย่ที่สุด หรือที่เรียกว่ามีภัยคุกคามไซเบอร์ระดับร้ายแรง ตามกฎหมายให้ความหมายเอาไว้ว่าเป็นสิ่งที่
ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินสารสนเทศอย่างมีนัยสำคัญ หรือขัดขวางการให้บริการของโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ
ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความมั่นคงของรัฐ การป้องกันประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ การสาธารณสุข ความปลอดภัยสาธารณะ หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน
มีความรุนแรงที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคลหรือต่อทรัพย์สินสารสนเทศที่สำคัญหรือมีจำนวนมาก
การรับมือกับเหตุภัยคุกคามเช่นว่า เลขาธิการมีอำนาจสั่งการหรือกำกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์กระทำการป้องกัน รับมือ ลดความเสี่ยงภัยคุกคาม โดยให้เลขาธิการรายงาน กปช. เรื่องการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
มาตรา 57 ให้อำนาจเลขาธิการในการออกคำสั่งให้คน ผู้ครอบครอง หรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามไซเบอร์เพื่อ
เฝ้าระวังคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
ตรวจสอบคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อหาข้อบกพร่องที่กระทบต่อการรักษาความมั่นคงปลอภัยไซเบอร์ วิเคราะห์สถานการณ์ ประเมินผลกระทบ
ดำเนินมาตรการแก้ไขภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งให้ตัวอย่างมาตรการไว้ชัดเจนว่าได้แก่การกำจัดชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ออกจากคอมพิวเตอร์ ปรับปรุงซอฟต์แวร์เพื่อจัดการกับข้อบกพร่อง ยกเลิกการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ชั่วคราวที่เจอชุดคำสั่งที่ไม่พึงประสงค์ เปลี่ยนเส้นทางเดินทางของข้อมูลหรือชุดคำสั่งที่ไม่พึงประสงค์
หยุดการใช้งานคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดหรือบางส่วน
และในกรณีจำเป็น พนักงานเจ้าหน้าที่อาจขอความช่วยเหลือในการเข้าถึงคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์จากบุคคลที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าใช้หรือเคยใช้
มาตรา 58 ให้อำนาจเลขาธิการดำเนินการป้องกัน รับมือ ลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์ที่หนักมือ โดยให้อำนาจเข้าถึงคนหรือวัตถุในทางกายภาพแบบไม่ต้องขอศาลก่อน โดยมีอำนาจดังนี้
ตรวจสอบสถานที่ โดยมีหนังสือแจ้งเหตุไปยังเจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่
เข้าถึงทรัพย์สินสารสนเทศ ทำสำเนา สกัดคัดกรองข้อมูลสารสนเทศ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าเกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจากภัยคุกคาม
ทดสอบการทำงานของคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเกี่ยวข้อง หรือได้รับผลกระทบจากภัยคุกคาม
ยึดคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใดๆ ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์เพื่อตรวจสอบหรือวิเคราะห์ไม่เกิน 30 วัน หากจำเป็นต้องยึดไว้เกินกำหนด ให้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งเพื่อขยายเวลาได้ไม่เกิน 90 วัน
ในกรณีฉุกเฉินนั้น เลขาธิการมีอำนาจขอข้อมูลเวลาจริง (Real time data) จากผู้เกี่ยวข้อง หมายถึงข้อมูล ณ เวลานั้นๆ
กำหนดโทษคนอื่นหนัก แต่ความรับผิดชอบตัวเองยังไม่ค่อยพูดถึง
ในบทกำหนดโทษระบุว่า ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกของพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่ส่งข้อมูลให้เจ้าพนักงาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 61) ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเลขาธิการตามมาตรา 57 ว่าด้วยการรับมือภัยไซเบอร์ร้ายแรง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 300,000 บาท ปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทนับแต่วันที่ครบกำหนดระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ออกคำสั่งให้ปฏิบัติจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง ผู้ฝ่าฝืนคำสั่งเลขาธิการตามมาตรา 57 (3) (4) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน 150,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เช่นเดียวกันกับการขัดขวางคำสั่งเลขาธิการในมาตรา 58
เนื่องจากตัวองค์กรไม่ใช่หน่วยงานราชการ แต่เป็นนิติบุคคลและเป็นหน่วยงานของรัฐ คำถามที่ยังไม่มีคำตอบคือ หากปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบจะสามารถฟ้องเอาผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 157 ได้หรือไม่
นอกจากนั้น การเอาข้อมูลสำคัญของทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจรวมถึงเอกชนไปไว้กับหน่วยงานๆ เดียว แม้จะมีกฎหมายระบุว่าไม่สามารถนำไปใช้ในทางที่ผิดได้ แต่การเป็นศูนย์กลางของข้อมูลทั้งหลายย่อมเป็นเป้าหมายตัวโตของการโจมตีทางไซเบอร์ คำถามจึงอยู่ที่ประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลให้เป็นความลับและความสามารถในการป้องกันการคุกคามไซเบอร์ของตัวสำนักงานเอง และคำถามที่ยังไม่มีคำตอบคือ ตัวสำนักงานเองถือเป็น CII ใช่หรือไม่ ข้อมูลที่เก็บไปจะเก็บถึงไหน ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนจะเป็นเป้าหมายหรือไม่ หลายคนยังคงจำข้อมูลส่วนบุคคลที่หลุดไปจากคลังข้อมูลของ TRUE ได้ ถ้าหากข้อมูลมีการส่งต่อมากขึ้น ความปลอดภัยของข้อมูลย่อมได้รับผลกระทบไม่ว่าจะมากหรือน้อย
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'ความมั่นคง', 'ไอซีที', 'พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์', 'ประยุทธ์ จันทร์โอชา', 'วิษณุ เครืองาม'] |
https://prachatai.com/print/79185 | 2018-10-17 15:32 | นักวิจัยชี้เป็นไปได้ที่จะมีดวงจันทร์โคจรซ้อนดวงจันทร์อีกดวงหนึ่ง | จุดเริ่มต้นมาจากคำถามของลูกชายของจูนา โคลล์ไมเออร์ นักดาราศาสตร์ ที่ว่า "ดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ต่างๆ 'ดวงจันทร์น้อย' เป็นดาวบริวารโคจรรอบพวกมันด้วยหรือไม่?" ทำให้โคลล์ไมเออร์ตัดสินใจค้นคว้าเรื่องเหล่านี้กับเพื่อนร่วมงานของเธอ จนสามารถตั้งสมมุติฐานได้ว่าเป็นไปได้แม้แต่ดวงจันทร์เองก็อาจจะมีดวงจันทร์น้อยหรือ 'มูนมูน' โคจรรอบอยู่ก็ได้แต่ยังไม่มีการค้นพบในปัจจุบัน
ที่มา:Pixabay [1]
17 ต.ค. 2561 ดวงจันทร์คือดาวบริวารที่โคจรรอบดวงเคราะห์ดวงอื่นมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า 'ดาวบริวาร' โดยที่ดวงจันทร์หรือ 'มูน' (Moon) สำหรับชาวโลกนั้นหมายถึงดาวบริวารที่โคจรรอบโลกเพียงดวงเดียว อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานนี้นักวิทยาศาสตร์ก็ทำการค้นพบว่ามีความเป็นไปได้ที่เหล่าดวงจันทร์อื่นๆ อาจจะมีดวงจันทร์น้อยโคจรรอบอยู่อีกทีหนึ่ง
ชาวเน็ตพากันเรียกดวงจันทร์น้อยเหล่านี้ด้วยชื่อต่างๆ หลายชื่อไม่ว่าจะเป็น "มูนมูน" "มูนนิโต" "แกรนด์มูน" "ดวงจันทร์ย่อย" หรือ "ดวงจันทร์น้อย" ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานอย่างเป็นรูปธรรมว่ามีดวงจันทร์น้อยเหล่านี้อยู่ในระบบสุริยจักรวาลทั้งของเราและของระบบสุริยจักรวาลอื่นๆ แต่ก็มีนักดาราศาสตร์สองคนที่เปิดความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีปรากฏการณ์ดาวบริวารซ้อนเช่นนี้อยู่จริงก็เป็นได้
นักวิจัยระบุว่าในระบบดาวเคราะห์นั้นมีปรากฏการณ์ที่วัตถุดาราศาสตร์ที่เป็นบริวารโดยธรรมชาติเกิดขึ้นภายในพื้นที่หนึ่งๆ ไม่ว่าจะเป็นการที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์ แล้วดวงจันทร์ก็โคจรรอบดาวเคราะห์อีกทีหนึ่ง มันจึงเป็นเรื่องปกติที่จะตั้งคำถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีดวงจันทร์ย่อยๆ ที่โคจรรอบดวงจันทร์ใหญ่อีกทีหนึ่ง
ผู้ที่เปิดเผยหลักการเกี่ยวกับความเป็นไปได้นี้คือจูนา โคลล์ไมเออร์ นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวแห่งสถาบันคาร์เนกีในวอชิงตัน เธอบอกว่าความสงสัยในเรื่องนี้เริ่มต้นจากคำถามของลูกชายที่ถามเธอเมื่อราว 4 ปีที่แล้วแต่ในตอนนั้นเธอยังให้คำตอบลูกชายเธอไม่ได้ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีใครพบเรื่องที่ระบบสุริยจักรวาลมีดวงจันทร์น้อยอยู่แต่ปรากฏการณ์จากคำถามของลูกชายโคลล์ไมเออร์ก็มีความเป็นไปได้ ดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกเองก็มีขนาดใหญ่ในระดับที่นักวิทยาศาสตร์บางคนก็อยากจะเรียกมันว่าเป็นดาวเคราะห์ด้วยเช่นกัน ถ้าเช่นนั้นทำไมดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่เทียบดาวเคราะห์จะมีดาวบริวารของตัวเองด้วยไม่ได้
โคลล์ไมเออร์และเพื่อนร่วมงานของเธอ ฌอน เรย์มอนด์ ร่วมกันตรวจสอบเรื่องนี้ด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ในการคำนวนแรงไทดัลหรือแรงโน้มถ่วงที่ส่งผลต่อน้ำขึ้นน้ำลงระหว่างดาวเคราะห์กับดวงจันทร์ต่างๆ จนทำให้พวกเขาตั้งข้อสมมุติฐานได้ว่าดวงจันทร์น้อยจะมีอยู่ได้ถ้าหากดวงจันทร์หลักมีขนาดใหญ่พอ ขณะที่ดวงจันทร์น้อยมีขนาดเล็กพอ รวมถึงมีวงโคจรที่กว้างมากพอระหว่างดวงจันทร์ 2 ดวงกับดาวเคราะห์แกนหลัก ด้วยเหตุผลที่ว่าถ้าหากระยะวงโคจรไม่กว้างมากพอและขนาดไม่สัมพันธ์ตามที่คำนวนไว้ก็จะทำให้แรงไทดัลหนักมากพอที่จะทำให้ดวงจันทร์หลักและดวงจันทร์น้อยเข้ามาชนกัน หรือถ้าหากแรงอ่อนเกินไปก็จะทำให้ดวงจันทร์น้อยหลุดออกจากวงโคจรไปสู่ห้วงอวกาศ
จากข้อสมมุติฐานเกี่ยวกับคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้เป็นไปได้ว่ามีดวงจันทร์หลายดวงในระบบสุริยจักรวาลที่มีดวงจันทร์น้อยอยู่แต่ยังไม่มีการค้นพบ ไม่ว่าจะเป็นดวงจันทร์ที่ชื่อคาลิสโตของดาวพฤหัสฯ ดวงจันทร์ไททันและไอแอพิตัสของดาวเสาร์ รวมถึงดวงจันทร์ของโลกเอง ซึ่งโคลล์ไมเออร์แลัเรย์มอนด์บอกว่าจะต้องมีการศึกษาต่อไป พวกเขาระบุว่าการศึกษาในเรื่องนี้จะช่วยทำให้เข้าใจเรื่องการโคจรของดวงดาวและเข้าใจเรื่องวิวัฒนาการของระบบดาวเคราห์ได้มากขึ้น
เรียบเรียงจาก
Moonmoons (Moons That Orbit Other Moons) Could Exist, Scientists Say, Livescience [2], Oct. 12, 2018
| ['ข่าว', 'ต่างประเทศ', 'วิทยาศาสตร์', 'ดวงจันทร์', 'ดวงจันทร์น้อย', 'มูนมูน', 'ดาวเคราะห์', 'การโคจรของดาวเคราะห์', 'จูนา โคลล์ไมเออร์', 'ดาราศาสตร์'] |
https://prachatai.com/print/79182 | 2018-10-17 13:12 | ดูคำตอบ ผบ.ทบ.ในอดีต เมื่อถูกถามจะรัฐประหารหรือไม่? หลัง 'อภิรัชต์' ไม่รับประกัน | ย้อนดูคำถอบ ผบ.ทบ.ในอดีต เมื่อถูกถาม จะรัฐประหารหรือไม่? 'เฉลิมชัย' ยืนยัน 'ไม่มี' 'ธีรชัย' ยิ้มแต่ไม่ตอบ 'อุดมเดช' ยันไม่มีแน่นอน 'ประยุทธ์' ตอบตั้งแต่ออกมาจะวุ่นวาย ถึงคำถามที่ตอบไม่ได้ และอย่างที่เรารู้ๆ กันอยู่ 'อนุพงษ์' ยันจะไม่มีแน่นอน และ 'สนธิ' ไม่น่าจะมีนะ จนถึง "คำถามบางประการ ตายแล้วก็ตอบไม่ได้"
17 ต.ค.2561 จากกรณีที่วันนี้ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์การเมือง โดยยืนยันว่า ความเป็นนกลางขึ้นอยู่กับมุมมองของใคร ซึ่งเรามั่นใจว่าเราเป็นกลาง ขณะที่คำถามที่ ผบ.ทบ. มักถูกถามคือ สถานการณ์ในปัจจุบันจะนำไปสู่การรัฐประหารอีกหรือไม่ นั้น ผบ.ทบ.ได้ชี้แจงว่าถ้าวันนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ตัดสินใจ บ้านเมืองจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งได้คาดหวังอย่างยิ่งว่า เหตุการณ์รุนแรงในประเทศจะไม่เกิดขึ้นอีกเพราะกองทัพไม่มีวันชนะประชาขน ขณะที่ประชาชนออกมาเผาบ้าน ออกมาทำระเบิด ท่านนั้นแหละที่ทำให้ประเทศพ่ายแพ้
"ผมมั่นใจว่าถ้าการเมืองไม่เป็นต้นเหตุการจลาจล ก็ไม่มีอะไร" ผบ.ทบ. กล่าว
บอกคนหมิ่นสถาบันฯ ไม่เพี้ยนก็ต้องลี้ภัย
รวมทั้งคำถามถึง บทบาทในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ พล.อ.อภิรัตช์ เน้นย้ำว่ากองทัพบกเป็นข้ารองบาท ทั้งด้วยหน้าที่และความรักเทิดทูน กองทัพบกจะใช้ขีดความสามารถในการปกป้องสถาบันกษัตริย์ ส่วนการหมิ่นสถาบันหลายครั้งเกิดขึ้นจากคนจิตไม่ปกติ ส่วนใหญ่ปกติแต่มีความคิดแปลกๆ ก็ไม่ได้อยู่ในประเทศ ต้องลี้ภัยในต่างประเทศ
“คนที่หมิ่นสถาบันส่วนใหญ่เป็นคนที่จิตไม่ปกติ ส่วนคนที่จิตปกติแต่มีความคิดแปลกๆ แต่ก็อยู่ไม่ได้อยู่เมืองไทย มีการหนีไปอยู่ต่างประเทศ เพราะอยู่เมืองไทยไม่ได้ ในเมื่อเราอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่า ทำไมไม่สำนึกถึงบุญคุณแผ่นดินเกิด ไม่มีใครเขาไม่รักแผ่นดินเกิด รัฐบาลผลัดเปลี่ยนไปแต่องค์พระมหากษัตริย์ต้องอยู่คู่ฟ้าคู่แผ่นดินไทยไปตลอด นี่คือหน้าที่ของกองทัพบก และผมจะปกป้องสถาบันด้วยทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมมี” พล.อ.อภิรัชต์ กล่าว
(ที่มา วอยส์ออนไลน์ [1] และข่าวสดออนไลน์ [2])
ย้อนดู ผบ.ทบ.ตอบคำถามเรื่องรัฐประหาร
ขณะที่เมื่อต้นปีที่แล้วเว็บไซต์วอชิงตันโพสต์ รายงานบทวิเคราะห์เรื่อง “ประเทศใดที่จะมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการรัฐประหารขึ้นในปี 2560” ซึ่งปรากฏว่า ประเทศไทยติดอยู่อันดับ 2 รองจากประเทศบุรุนดีที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการรัฐประหารมากที่สุดในโลก ขณะที่ อันดับ 3 คือสาธารณรัฐแอฟริกากลาง อันดับ 4 คือสาธารณรัฐชาด และอันดับ 5 คือตุรกี ซึ่งขณะนั้น (2 ก.พ.60) พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ. (ในขณะนั้น) ว่า แล้วสื่อเชื่อหรือไม่ ฝรั่งก็พูดไป คนไทยมีสมองรู้จักคิดเราอยู่ในพื้นที่เอง รู้ว่าอะไรเป็นอะไรและเรื่องดังกล่าวตนพูดไปแล้วเมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2559 ในวันที่ มอบนโยบายให้กับกองทัพบกในช่วงที่รับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกว่าไม่มี
'เฉลิมชัย' ยืนยัน 'ไม่มี'
เมื่อย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 3 ต.ค. ที่ผ่านมา พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า ถ้าพูดถึงเรื่องการปฏิวัติต้องถามว่ามีเหตุผลอะไร เพราะสถานการณ์ปัจจุบันนั้นทำการปฏิวัติไม่ได้ อีกทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้า คสช. ก็ระบุแล้วว่าเรื่องการปฏิวัติครั้งที่ผ่านมา คือ ครั้งสุดท้าย ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าประชาชนไม่เห็นชอบด้วย เราสังเกตได้ว่าการปฏิวัติ 2 ครั้งที่ผ่านมา ทหารเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองและการควบคุมสถานการณ์ได้รับการตอบรับจากประชาชนอย่างท่วมท้น ตนเป็นทหารอาชีพ ผู้บังคับบัญชาว่าอย่างไรก็ดำเนินการตามนั้น ซึ่งไม่ได้มีปัญหาและทุกคนไม่ต้องกังวลเรื่องการปฏิวัติ เพราะตนยืนยันว่าไม่มี
“การปฏิวัติซ้อนเป็นไปไม่ได้ และไม่มีทาง ผมอยากให้ลบคำนี้ไป อย่ามากังวล อะไรจะเกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ถ้ารัฐบาลปกครองโดยมีคุณธรรมอะไรก็เกิดขึ้นไม่ได้ เรื่องการปฏิวัติ ผมอยากให้ลืมไปเลย และไม่ต้องถามผมอีกแล้ว” พล.อ.เฉลิมชัย กล่าว (ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ [3])
'ธีรชัย' ยิ้มแต่ไม่ตอบ
30 ก.ย.58 หลังจัดพิธีรับ-ส่งหน้าที่ ผบ.ทบ. พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. คนใหม่ขณะนั้น ตอบถามที่ว่าในยุคของท่านจะมีการปฏิวัติรัฐประหารหรือไม่ นั้น พล.อ.ธีรชัย ไม่ตอบพร้อมยิ้ม และเดินกลับขึ้นไปที่อาคารกองบัญชาการกองทัพบกทันที
(ที่มา ผู้จัดการออนไลน์ [4])
'อุดมเดช' ยันไม่มีแน่นอน
8 มิ.ย.58 พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผบ.ทบ.และ รมช.กลาโหม ขณะนั้น ตอบคำถามเรื่องข่าวลือเรื่องปฏิวัติซ้อนหลังข่าวเรื่องสถาบันนั้น พล.อ.อุดมเดช กล่าวว่า ไม่มีแน่นอน กองทัพยังยึดถือนโยบายรัฐบาล และตัวท่าน นายกรัฐมนตรี ทุกอย่างเป็นไปตามต้องการในการทำให้ประเทศชาติมั่นคง องค์การที่อยู่ภายใต้รัฐบาลก็ร่วมมือร่วมใจกันดี กองทัพพร้อมช่วยรัฐบาล และนายกรัฐมนตรีอย่างเต็มที่
(ที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ [5])
'ประยุทธ์' ตั้งแต่ออกมาจะวุ่นวาย ถึงคำถามที่ตอบไม่ได้ และอย่างที่เรารู้ๆ กันอยู่
28 ต.ค.56 พล.อ.ประยุทธ์ ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีที่มีความกังวลว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้นว่า “สื่อบางสื่อใช้ไม่ได้เพราะเขียนข่าวแบ่งคนเป็นพวกๆ และเมื่อถึงเวลาคนพวกนี้เขาออกมาตีกัน สื่อต้องรับผิดชอบด้วย วันนี้หลายเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นม็อบ ชายแดน ภาคใต้ และปัญหาอื่นๆ ยังแก้ไม่ได้สักเรื่อง เราพยายามแก้ไขปัญหาให้ได้รวดเร็ว แต่ดูเหมือนสื่อต้องการให้เหตุการณ์แรง ผมไม่เข้าใจ เหตุการณ์ในประเทศไทยเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่ไม่เคยนำมาเป็นบทเรียนเพื่อไม่ให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์มาเสียชีวิต การที่ท่านจะมุ่งไปสู่เป้าหมายอะไร ต้องหาวิธีการที่ไม่รุนแรง หรือไม่กระทบคนอื่น ยืนยันว่าทหารทำหน้าที่จริงใจทุกปี ทุกเหตุการณ์ ทหารต้องทำงาน 100 เปอร์เซ็นต์ จะเอาทหารออกมา เตาะแตะไม่ได้ อย่าเรียกร้องให้ทหารออกมา ทหารออกมาจะวุ่นวาย อยากขอให้ทุกคนเข้าใจทหาร”
(ที่มา : 28 ต.ค.2556, คมชัดลึก [6])
ย้อนคำพูด ประยุทธ์ ก่อนรัฐประหารเมื่อ 3 ปีที่แล้ว [7]
"ทำไม เรื่องปฏิวัติรัฐประหาร เขียนอยู่ได้ ไม่รู้จะเขียนไปทำไม หะ ใครจะปฏิวัติ ใครจะรัฐประหาร ใครสัญญา ใครไม่สัญญา เขียนทำไมเล่า" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, พ.ย. 56 ผบ.ทบ. ขณะนั้น (ที่มา : เรื่องเล่าเช้านี้ [8])
ทหารออกมาด้วยคำสั่งตามกฎหมาย
4 พ.ย. 56 พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการชุมนุมต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมถ้า และตอบคำถามประเด็นที่ว่าหากสถานการณ์ยืดเยื้อทหารจะออกมาหรือไม่ ว่า ถ้าไม่สั่งก็คงไม่ออก แต่ถ้าสั่งให้ทหารออกก็ต้องดูว่าให้ออกไปทำอะไร ที่ผ่านมาทุกรัฐบาลเมื่อสั่งให้ทหารออก เราก็ออก รัฐบาลชุดที่แล้วสั่งเราก็ออก ถ้ารัฐบาลชุดนี้สั่งแล้วเราไม่ออกจะได้หรือไม่ ซึ่งก็ไม่ได้ ตนอยากจะอธิบายให้ประชาชนเข้าใจว่าที่ทหารออกมาทุกครั้งออกมาด้วยคำสั่งตามกฎหมาย ไม่ใช่นึกอยากจะออกก็ออก ถ้าออกมาโดยที่ไม่ฟังคำสั่ง ตนถามว่าเหตุการณ์จะจบหรือไม่ ซึ่งก็ไม่จบแล้วจะเรียกร้องให้ทหารออกมาทำไม ส่วนจะทำอย่างไรก็ไปคิดกันเอาเอง
(ที่มา, 4 พ.ย. 2556, ไทยรัฐออนไลน์ [9])
รัฐประหารเป็นการแก้ปัญหาผิดทาง
เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 56 พล.อ.ประยุทธ์ ออกมายืนยันว่า ไม่ว่าเหตุการณ์การชุมนุมใหญ่ของกลุ่ม กปปส. ในวันที่ 9 ธ.ค. 56 จะเป็นอย่างไร ทหารก็จะไม่ออกมาปฏิวัติ พร้อมกล่าวด้วยว่า "ถ้าทหารปฏิวัติ(รัฐประหาร)อีก แก้ปัญหาผิดทาง ปัญหาอื่นๆ ก็จะเกิดขึ้นอีก ประเทศไทยจะยืนอยู่ในสังคมโลกอย่างไร ทุกคนรักชาติแต่ไม่ยอมเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยกันอย่างสันติ"
(ที่มา : 8 ธ.ค.2556, สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) [10])
ข่าวลือก็เป็นข่าวที่ไม่จริง
7 ม.ค. 57 พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานวันสถาปนากรมแพทย์ทหารบกครบรอบ 114 ปีถึงกระแสข่าวว่า การที่ทหารเคลื่อนย้ายกำลังในช่วงนี้เพื่อทำการปฏิวัติว่า ข่าวลือก็เป็นข่าวที่ไม่จริง ดังนั้น ไม่ต้องเชื่อ เพราะเรามีการเคลื่อนย้ายกำลังพลทุกปี และนโยบายในปี 2557 ของกองทัพบกเป็นการนำพากองทัพไปสู่ความทันสมัยในอนาคต ในปีนี้เป็นวาระพิเศษที่เรากำหนดไว้ล่วงหน้าแล้วว่า เราจะนำยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ ที่ได้จัดซื้อจัดหามาให้ประชาชนในกรุงเทพฯ ได้เห็นว่า สิ่งที่เราได้จัดซื้อมามีสมรรถนะเพียงใด
(ที่มา : 7 ม.ค. 2557, ไทยรัฐออนไลน์ [11])
เราต้องยึดถือกฎเกณฑ์ ไม่สามารถทำอะไรนอกเหนือกฎเกณฑ์ได้
22 ม.ค.57 พล.อ.ประยุทธ์ ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ว่า วันนี้จัดทหาร 40 กองร้อย จัดตั้งจุดตรวจร่วม 30 กว่าจุด ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และ จัดจุดตรวจของทหารอีกกว่า 20 จุดมีการปรับแผนการทำงานทุกวัน โดยมีกองทัพภาคที่ 1 เป็นคนรับผิดชอบในภาพการใช้กำลัง ตามแนวทางของ ศอ.รส. ทุกวันได้เสนอแผนจากกองทัพไปยัง ศอ.รส.ตลอด ที่ผ่านมาความขัดแย้งระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจมีมาก ทหารจึงจำเป็นต้องไปเสริมในหลายจุด เราต้องลดความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะทำให้ความรุนแรงเกิดขึ้น ทหารยังต้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดูแล และเป็นผู้รับผิดชอบในภาพรวม ทหารเป็นผู้สนับสนุน ในฐานะผู้ช่วยเจ้าพนักงานในการออกไปดูแลประชาชนทุกฝ่ายให้เกิดความปลอดภัย ไม่ใช่ว่า เรานิ่งนอนใจ ทหารทำทุกอย่าง แต่วันนี้เราต้องยึดถือกฎเกณฑ์ ไม่สามารถทำอะไรนอกเหนือกฎเกณฑ์ได้ เพราะกำลังพลถืออาวุธ ดังนั้นการทำอะไรต่างๆ ต้องระมัดระวัง รวมถึงการวางตัวของทหารทุกคน ซึ่งตนได้กำชับกำลังพลที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่เสมอ ทหารมีบทเรียนมากมาย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
(ที่มา : 22 ม.ค. 2557, ผู้จัดการออนไลน์ [12])
ต้องยึดถือกฎหมายรัฐธรรมนูญ
24 ก.พ. 57 พล.อ.ประยุทธ์ ได้อ่านแถลงการณ์ชี้แจงจุดยืนของกองทัพบกต่อสถานการณ์ทางการเมืองผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) ตอนหนึ่งว่า สิ่งที่กองทัพดำเนินการในเวลานี้จำเป็นต้องยึดถือกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยการจัดกำลังออกมาดูแลประชาชนในพื้นที่ที่มีการประกาศกฎหมายพิเศษเป็นจำนวนมากตลอด 24 ชั่วโมง หากเราดำเนินการไม่ถูกวิธี หรือใช้กำลังทหารเต็มรูปแบบ เราจะแน่ใจได้หรือว่า สถานการณ์จะยุติลงได้โดยสงบ ขณะที่ทุกฝ่ายยังไม่พยายามลดเงื่อนไข ไม่พยายามพิสูจน์หาข้อเท็จจริง และยอมรับกฎกติกา กฎหมายของสังคม สิ่งที่น่ากระกระทำในเวลานี้คือ ให้ทุกฝ่ายได้ทำงานตามความรับผิดชอบของตนอย่างเต็มสติกำลังอย่างครบถ้วนด้วยความเป็นธรรม อำนวยความยุติธรรมได้อย่างถูกต้อง และสมบูรณ์โดยไม่ถูกกดดันโดยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และหาทางลดความขัดแย้งให้ได้โดยเร็ว ประการสำคัญคือ การใช้กำลังทหารคลี่คลายสถานการณ์อย่างเต็มรูปแบบนั้น จะได้รับการยอมรับจากประชาชนที่อยู่นอกเหนือจากความขัดแย้งนี้หรือไม่ เรื่องนี้ต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวัง ประกอบกับขณะนี้สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคมของประเทศไทยในสายตาของต่างชาติยังมีความสำคัญ สำหรับความขัดแย้งในครั้งนี้เป็นไปอย่างกว้างขวางมากกว่าปี 2553 เพราะในปี 53 เกิดจากคู่ขัดแย้งไม่มากนัก แต่ในปัจจุบันมีหลายกลุ่มและมีเงื่อนไขสลับซับซ้อน
(ที่มา : 24 ก.พ.2557, เดลินิวส์ เว็บ [13])
จะไปเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยกติกาไหน
25 มี.ค. 57 พล.อ.ประยุทธ์ ตอบคำถามถึงกรณีที่ นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็นหนึ่งในแคนดิเดตเป็นนายกรัฐมนตรีคนกลางด้วยนั้น ว่า ต้องไปถามเขา เขาตั้งตนได้ไหม ถ้าตั้งไม่ได้แล้วจะมาถามตนทำไม แล้วถามจะไปเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยกติกาไหน และกติกาจะเกิดหรือไม่ตนก็ไม่รู้ แต่อย่าถามตนว่า ตนจะทำนั่นทำนี่หรือไม่ ตนไม่ตอบ เพราะไม่ได้เกี่ยวอะไรกับตน ไม่ใช่เรื่องของตน
(ที่มา : 25 มี.ค. 2557, กรุงเทพธุรกิจ [14])
ไม่เข้าข้างคนทำผิดกฎหมาย
9 เม.ย. 57 พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ปราศรัยเรื่องรัฏฐาธิปัตย์ว่า "จุดยืนกองทัพในตอนนี้ คือ ไม่เข้าข้างคนทำผิดกฎหมาย และเรื่องรัฏฐาธิปัตย์ DSI ก็ดำเนินการไปแล้ว ผมไม่ได้เข้าข้างนายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ หรือ นายจตุพร พรหมพันธุ์ หรือใครทั้งนั้น เพราะทหารต้องทำหน้าที่ของทหาร ที่ทำอยู่ทุกวันไม่ใช่หน้าที่ แต่มาลงที่ทหารทั้งหมด จะรบกับศัตรูนอกประเทศก็ทหาร รบในประเทศก็จะใช้ทหาร เขียนไปเขียนมาให้ผมอยู่ข้างนั้นข้างนี้ ผมอยู่ข้างความถูกต้องเท่านั้น ภายใต้ความอดทนและทนอยู่ทุกวันนี้ ส่วนแนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ต้องไปถามรัฐบาล"
(ที่มา : 9 เม.ย. 2557, ประชาชาติธุรกิจ [15])
การรัฐประหารทำไปก็ไม่จบ
10 พ.ค. 57 พล.อ.ประยุทธ์ ได้ฝากข้อความผ่านทางรายการ ลับ ลวง พลาง โดยยืนยันกองทัพตัองหนักแน่น จะทำตามใครเรียกร้องไม่ได้ ต้องใจเย็น ขอให้เชื่อมั่นในทหาร ซึ่งจะต้องเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประเทศชาติและประชาชนได้ในทุกโอกาส ให้เก็บทหารไว้เป็นที่พึ่งสุดท้าย เชื่อว่า การรัฐประหารทำไปก็ไม่จบ ขอให้เข้าใจทหาร เพราะทหารทำหรือไม่ทำก็โดนตำหนิ
(ที่มา : 10 พ.ค.2557, สำนักข่าวเจ้าพระยา [16])
รัฐประหารนั้น เป็นคำถามที่ตอบไม่ได้
20 พ.ค. 57 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะ ผอ.กอ.รส. ตอบคำถามกรณีแนวคิดตั้งนายกรัฐมนตรี มาตรา 7 หลังประกาศกฏอัยการศึก ว่า ที่ประชุมไม่ได้กล่าวถึง แต่ถ้าทำได้ก็ทำ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย แต่ทหารจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ส่วนการรัฐประหารนั้น เป็นคำถามที่ตอบไม่ได้ สำหรับสถานะรัฐบาลและการรายงานให้รัฐบาลทราบหลังประกาศใช้กฎอัยการศึก ขณะนี้รัฐบาลอยู่ไหนไม่ทราบ แต่ถ้าเจอจะรายงานให้ทราบถึงสถานการณ์ อย่างไรก็ตามขอให้เป็นกำลังใจทหารตำรวจในการทำงานด้วย
(ที่มา : 20 พ.ค. 2557, มติชนออนไลน์ [17])
'อนุพงษ์' ยันจะไม่มีแน่นอน
27 ธ.ค.52 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ขณะนั้น ตอบคำถามที่ว่าจะปิดประตูเรื่องการปฏิวัติรัฐประหารได้หรือไม่ ถ้าหากปีหน้ามีเหตุการณ์ถึงขั้นเกิดการนองเลือดจริงๆ โดย พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า “ถ้าผมสั่งในสิ่งที่ไม่ถูก ผมคิดว่าเขาไม่ทำ ทหารไม่มีฝักไม่มีฝ่าย อะไรที่ประเทศชาติจะเดินต่อไปได้และอยู่ได้ คนไทยจะตีกันไม่ได้ ทหารจะไม่ยอมปล่อยให้คนไทยตีกัน ในขณะเดียวกันก็อย่าทำผิดกฎหมายเพราะอยู่กันไม่ได้ ผมขอยืนยันว่า ในปีหน้าไม่มีเหตุการณ์นองเลือด และจะไม่มีการปฏิวัติรัฐประหารแน่นอน เรามีทางเดินอีกหลายทางที่จะแก้ปัญหาของคนในชาติและผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ก็ไม่ยอม ผมเชื่อมั่นว่าไม่มี ผมไม่ให้เดินไปถึงจุดนั้น ผมเชื่อมั่นอย่างนั้น ใครที่คิดว่ามี ลืมไปได้เลย ผมคิดว่าไม่มีทาง”
(ที่มา ประชาไท [18])
'สนธิ' ไม่น่าจะมีนะ
"ไม่น่าจะมีนะ เราต้องหนักแน่นเอาไว้ อย่าไปเชื่อกระแสพวกนี้ทำให้เกิดความสามัคคีเราลดลง" พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ตอบคำถามผู้สื่อข่าว กรณีมีกระแสข่าวการรัฐประหาร ก่อนเกิดรัฐประหาร จริงในเวลาต่อมา (19 ก.ย. 2549)
นอกจากนี้ 25 พ.ย.48 พล.อ.สนธิ ยังเคยกล่าวด้วยว่า ไม่ต้องห่วงเรื่องปฏฺิวัติ เพราะการปฏิวัติจะทำให้บ้านเมืองเสียหาย
สำหรับ พล.อ.สนธิ หลังลงจากอำนาจมาหลายปี 21 มี.ค. 55 พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ตั้งคำถามถามที่ว่า ใครคือผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติ 19 ก.ย. 2549 นั้น พล.อ.สนธิ ตอบว่า "คำถามบางประการ ตายแล้วก็ตอบไม่ได้"
| ['ข่าวชุดพิเศษ', 'การเมือง', 'ความมั่นคง', 'รัฐประหาร', 'อภิรัชต์ คงสมพงษ์', 'หมิ่นประมาทกษัตริย์', 'เฉลิมชัย สิทธิสาท', 'ธีรชัย นาควานิช', 'อุดมเดช สีตบุตร', 'ประยุทธ์ จันทร์โอชา', 'อนุพงษ์ เผ่าจินดา', 'สนธิ\xa0บุญยรัตกลิน'] |
https://prachatai.com/print/79186 | 2018-10-17 17:57 | สพฉ. จัดวงถกเล่นกีฬาปลอดภัย ห่างไกลบาดเจ็บ-ตาย ย้ำผู้จัดต้องมีมาตรฐาน เตรียมพร้อมด้านการแพทย์ | สพฉ. จัดเสวนา 'เล่นกีฬาปลอดภัย ห่างไกลการบาดเจ็บและเสียชีวิต ป้องกันได้อย่างไร' แนะนักกีฬาควรเตรียมร่างกายให้พร้อม ขณะที่ผู้จัดงานต้องจัดงานให้มีมาตรฐาน เตรียมความพร้อมด้านการแพทย์ เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉิน ดันการแพทย์ฉุกเฉินกับการกีฬาให้เป็นวาระแห่งชาติ
จากซ้ายไปขวา นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการ สพฉ. ไพศาล จันทรพิทักษ์ ประธานฝ่ายแพทย์สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย นพ.ชนินทร์ ล่ำซำ คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล และ วิษณุ ไล่ชะพิษ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากีฬาเป็นเลิศ กกท.
17 ต.ค.2561 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) รายงานว่า ข่าวคราวเกี่ยวกับ “นักกีฬา” หรือ “นักวิ่ง” ที่หัวใจหยุดเต้น หรือเสียชีวิตจากภาวะหัวใจขาดเลือด ระหว่างการออกกำลังกาย เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตนักกีฬาไปแล้วหลายคน ล่าสุด มีนักวิ่งวัย เพียง 45 ปี วูบและเสียชีวิต ขณะลงแข่งมินิมาราธอน ทั้งๆ ที่แข็งแรงไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ และวิ่งออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ
เรื่องนี้ทำให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินอย่าง สพฉ. เล็งเห็นและเตรียมหามาตรการป้องกัน จึงจัดประชุมเสวนา เรื่อง “เล่นกีฬาปลอดภัย ห่างไกลการบาดเจ็บและเสียชีวิต ป้องกันได้อย่างไร” โดยมีผู้แทนภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแข่งขันกีฬา นักวิทยาศาสตร์ศาสตร์การกีฬา ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬา (Sport Medicine) เข้าร่วมประชุม
เรืออากาศเอกนายแพทย์ อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการ สพฉ. ระบุว่า การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการเล่นกีฬา มาจากหลายสาเหตุหลายปัจจัย เช่น หักโหมเล่นกีฬามากเกินไป ขาดการตรวจสอบความพร้อมของร่างกายก่อนเล่น เช่น การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ การวัดความดันโลหิต เรื่องนี้ ทำให้ สพฉ. เล็งเห็นถึงการเตรียมความพร้อม ป้องกันการเกิดเหตุ และตอบโต้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ประกอบกับสถานการณ์ในขณะนี้เห็นได้ชัดว่า การจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉิน หรือการเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ช่วยชีวิตในสนามกีฬา หรือการจัดการแข่งขันกีฬา ยังไม่ถูกระบุให้เป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นจึงเห็นควรว่าต้องมีการจัดระบบที่ดี ที่สำคัญต้องสร้างความรู้ใหม่ รณรงค์ให้เห็นถึงความสำคัญในการป้องกันมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบัน มีการจัดการแข่งขันกีฬาอาชีพบ่อยครั้ง ซึ่งก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินมากขึ้น ดังนั้นการดูแลตนเองให้มีความพร้อมก่อนออกกำลังกาย การจัดเตรียมบุคลากรทางการแพทย์ แพทย์ภาคสนามให้พร้อมจึงเป็นเรื่องจำเป็น โดยสพฉ.ได้เร่งพัฒนาหลักสูตรทั้งระดับเบื้องต้น ขั้นสูง และเรื่องการแพทย์ฉุกเฉินในกีฬาแต่ละประเภทให้มีความเหมาะสม พร้อมเน้นย้ำการเตรียมความพร้อม เครื่อง AED เพราะจะเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้ผู้ป่วยได้มากขึ้น
ด้านนาวาอากาศเอก (พิเศษ) ไพศาล จันทรพิทักษ์ ประธานฝ่ายแพทย์สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ระบุว่า เรื่องการแพทย์ฉุกเฉินกับการกีฬา ควรต้องผลักดันให้กลายเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากในรัฐธรรมนูญ ก็ระบุไว้ชัดเจนว่าให้รัฐสนับสนุนให้คนเล่นกีฬา โดยสามารถนำแผน Football Model มา ประยุกต์ใช้กับกีฬาประเภทอื่นๆ ได้ด้วย หลักๆ คือ เรื่องของการป้องกันการบาดเจ็บ และการเสียชีวิตจากปัญหาเรื่องหัวใจ เพราะที่ผ่านมา เราจะเห็นนักฟุตบอลเสียชีวิตอยู่เรื่อยๆ นอกจากนี้ควรสร้างความรู้เกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์ทางแพทย์ เช่น การเคลื่อนไหวของร่างกาย สอนเรื่องการป้องกันการบาดเจ็บ การรักษาการบาดเจ็บ จะทำอย่างไรจึงจะกลับไปเล่นกีฬาได้เหมือนเดิมได้เร็วที่สุด และที่สำคัญคือควรตรวจร่างกายนักกีฬาก่อนทำการแข่งขัน ส่วนกรณีเมื่อมีเหตุฉุกเฉินก็ต้องมีมาตรการที่พร้อมจะรับมือ เช่น เข้าไปสนามแข่งทันที ไม่ต้องขอกรรมการ การจอดรถต้องไม่กีดขวางรถฉุกเฉิน และทีมต้องพร้อมเสมอ
สพฉ. แนะวิ่งออกกำลังกายอย่างปลอดภัย ควรตรวจสุขภาพและประเมินศักยภาพก่อน [1]
อาลัยวิศวกรวูบกลางรายการ ThaiPBS สิ้นใจขณะส่ง รพ. 'สพฉ.' เปิดสถิติส่งผู้ป่วยฉุกเฉินโรคหัวใจกว่า 3 แสน [2]
นายแพทย์ชนินทร์ ล่ำซำ คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุเช่นกันว่า ที่วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาเคยมีประสบการณ์จัดกิจกรรมวิ่งมาแล้ว 4 ครั้ง ซึ่งทุกครั้ง จะมีทีมแพทย์ดูแลทุกคนที่วิ่งตลอดเส้นทาง และคนวิ่งจะต้องอยู่ในสายตาของผู้จัดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นซอกหลืบตรงไหน จะต้องมองเห็นผู้วิ่งทุกคน และเครื่อง AED ต้องไปถึงภายใน 4 นาที หากเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยที่มหาวิทยาลัย จะมีเครื่องติดตั้งอยู่ที่คณะวิทยาศาสตร์ฯ มีนักศึกษาขี่จักรยานเข้าไปนำอุปกรณ์ และช่วยเหลือได้ง่าย
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งสำคัญที่จะป้องกันเหตุฉุกเฉิน คือนักกีฬาควรดูแลตัวเองก่อน เช่น ต้องรู้ว่าตัวเองมีโรคประจำตัว หรือไม่ ต้องรู้จักลิมิตและความฟิตของตัวเอง ทำร่างกายให้เหมาะสมกับประเภทของกีฬา แต่งกายให้เหมาะสมกับการเล่นกีฬา ส่วนผู้จัดงานเองการต้องมีความพร้อม เตรียมทีมแพทย์ไว้ให้พร้อม จัดให้ได้มาตรฐาน เช่น การจัดงานวิ่งต้องมีน้ำเตรียมไว้เพียงพอ เพราะนักกีฬาวิ่งจะเสียเหงื่อมาก
ขณะที่ วิษณุ ไล่ชะพิษ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากีฬาเป็นเลิศ กกท. ระบุว่า การจัดการแข่งขันกีฬา ผู้จัดต้องมีการเตรียมการเรื่องการดูแลกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ซึ่ง กกท.จะเน้นการเตรียมการของผู้จัดกีฬาเป็นพิเศษ เช่น การจัดกีฬาเยาวชนจะจัดในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นหน้าร้อน ดังนั้นต้องปรับเวลาให้พร้อมในการแข่งขัน หรือการวิ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการจัดวิ่งปีละ 600-700 ครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย Sport Tourism ซึ่งก็ต้องเตรียมดูแลเรื่องการบาดเจ็บที่ฉุกเฉินด้วย โดยเราจะต้องคำนึงอยู่เสมอว่า ทำอย่างไรจะได้รับความปลอดภัยในการเล่นกีฬาให้มากที่สุด
| ['ข่าว', 'คุณภาพชีวิต', 'กีฬา', 'อัจฉริยะ แพงมา', 'นักวิ่ง', 'หัวใจหยุดเต้น', 'การออกกำลังกาย', 'มินิมาราธอน', 'ไพศาล จันทรพิทักษ์', 'ชนินทร์ ล่ำซำ', 'วิษณุ\xa0ไล่ชะพิษ'] |
https://prachatai.com/print/79188 | 2018-10-17 18:29 | 'ศรีสุวรรณ' จ่อนำ ปชช.บางปะกงร้อง 'ประยุทธ์' ตั้งเขตปลอด EEC ใน ต.เขาดิน | ศรีสุวรรณ เผยเตรียมนำ ประชาชนในพื้นที่ ต.เขาดิน อ.บางปะกง เข้าร้อง 'ประยุทธ์' หวังออกคำสั่งให้เป็นพื้นที่ปลอดการส่งเสริม EEC ยับยั้งกระบวนการวิ่งเต้นการขอเปลี่ยนสีผังเมืองเป็นสีม่วง
17 ต.ค.2561 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ว่า พรุ่งนี้ 18 ต.ค.2561 เวลา 10.30 น. สมาคมฯและ ประชาชนในพื้นที่ ต.เขาดิน อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) ที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนฯ ตึก กพร.เดิม ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอให้มีคำสั่งยกเว้นพื้นที่ ต.เขาดิน อ.บางปะกง เป็นพื้นที่ปลอดการส่งเสริม EEC โดยใช้สิทธิตามมาตรา 43(3) ของรัฐธรรมนูญ 2560 เพื่อยับยั้งกระบวนการวิ่งเต้นการขอเปลี่ยนสีผังเมืองเป็นสีม่วง และการใช้อำนาจตามกฎหมาย EEC มาลบล้างกฎหมายต่างๆ ทั้งปวงอีกด้วย
ศรีสุวรรณ ระบุว่า ตามที่ชาว ต.เขาดิน อ.บางปะกง รวมตัวกันบุกศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทราเพื่อยื่นหนังสือผ่านศูนย์ดำรงธรรมถึงผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อร้องเรียนกรณีมีนายทุนมากว้านซื้อที่ดิน เตรียมผุดเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ รองรับการพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC ทั้ง ๆ ที่พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สีเขียว ตามกฎหมายผังเมือง ก่อนบุกเข้ารื้อถอนขับไล่ที่ทำกินชาวบ้านที่เคยเช่าอยู่เดิมให้ออกไปให้พ้นพื้นที่ แล้วเร่งรีบจ้างเหมาเอกชนให้มาปรับพื้นที่โดยถมดินทำให้ถนนหนทางพังเสียหาย ทำให้ชาวบ้านต้องนำความไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาแล้วนั้น
การร้องเรียนผู้ว่าฯ การฟ้องศาลปกครอง ยังไม่อาจหยุดยั้งการเดินหน้าถมที่ดินและการขับไล่ชาวบ้านให้ออกไปจากพื้นที่ได้ แม้จะเป็นการขัดต่อกฎหมายหลายฉบับ อาทิ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม 2535 พ.ร.บ.การขุดดินและถมดิน 2543 พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 2524 พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522 พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมฯ 2522 ประมวลกฎหมายที่ดิน 2487 และ พ.ร.บ.ผังเมือง 2518 ซึ่งแต่หากปล่อยให้พื้นที่ดังกล่าว เป็นของนักอุตสาหกรรมแล้วปล่อยให้ทำการขุดดิน-ถมดินปิดกั้นเส้นทางสัญจรของชาวบ้าน ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้พื้นที่ไปอย่างถาวร โดยการนำดินจากพื้นที่อื่นมาถมก่อสร้างโรงงานตั้งเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรม ก็จะทำให้ภูมิปัญญาพื้นถิ่นและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ต.เขาดิน หายไปทันที พร้อม ๆ กับการเปลี่ยนวิถีของชาวบ้านจากเกษตรกรมาเป็นชนชั้นแรงงานรับจ้างในระบบอุตสาหกรรมไปทั้งหมด คนที่เคยร่ำรวยจากทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่รอบตัว กลับกลายต้องมานั่งรอเงินเดือนหรือต้องตกงานตามสภาะเศรษฐกิจที่ขึ้น-ลงได้
| ['ข่าว', 'เศรษฐกิจ', 'สิ่งแวดล้อม', 'ศรีสุวรรณ จรรยา', 'ผังเมือง', '\xa0EEC', 'บางปะกง'] |
https://prachatai.com/print/79190 | 2018-10-17 21:56 | สุเทพ ขออย่าคาดคั้นให้ ผบ.ทบ.ตอบไม่ทำ รปห. ย้ำหลังเลือกตั้งบ้านเมืองสงบทหารก็ไม่ต้องออกมา | สุเทพ เผยไม่เกิน 2 วัน กกต. จะรับรอง รปช. เป็นพรรคการเมือง เตรียมจัดคาราวานทั่วประเทศ ตอนนี้เปิดจองเป็นสมาชิกพรรคล่วงหน้าแล้ว จ่ายเงินก่อนก็ได้ไม่ขัดข้อง ย้ำเชื่อมั่นหลังเลือกตั้งบ้านเมืองจะสงบ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่ต้องการความวุ่นวาย ขออย่าคาดค้าน ผบ.ทบ. ให้ตอบว่าจะไม่ทำรัฐประหารอีก เพราะไม่มีใครรู้อนาคต ถ้าบ้านเมืองสงบทหารก็ไม่ต้องออกมาอีก
17 ต.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สำนักงานพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) ได้มีแถลงข่าว เรื่องการเตียมเปิดรับสมัครผู้พร้อมแสดงเจตจำนงค์เป็นสมาชิกพรรคการ รปช. โดย จอมเดช ตรีเฆม ทีมงานโฆษกพรรคได้แถลงชี้แจงถึงขั้นตอนสำหรับผู้ที่สนใจแสดงเจตจำนงเข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคซึ่งสามารถทำได้โดยการเข้ามาสมัครที่สำนักงานพรรค และสมัครได้ตามที่ตัวแทนพรรคมีการเข้าไปพบปะประชาชน
เปิดจองเป็นสมาชิกพรรค รปช. จ่ายเงินล่วงหน้าได้
ทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง เลขาธิการพรรค รปช. กล่าวเสริมว่า การเคลื่อนไหวของพรรคในวันนี้เป็นการเริ่มต้นเพื่อเปิดรับผู้ที่ต้องการแสดงเจตจำนงเป็นสมาชิกพรรค ยังไม่ใช่การรับสมัครสมาชิกทันที ซึ่งจำเป็นต้องรอให้ กกต. มีมติอนุมัติรับรองให้ รปช. มีสถานะเป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายเสียก่อน
“แต่เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากกับประชาชนผู้ที่สนใจสมัครใบแสดงเจตจำนงค์นี้มีข้อความที่พร้อมอยู่แล้วที่ทางพรรคจะสามารถพิจารณาให้เป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์ หลังจากที่เรามีฐานะเป็นพรรคตามกฎหมายแล้ว และขณะเดียวกันเงินที่จะชำระเป็น่าบำรุงพรรค หรือค่าสมาชิก จะมีการโอนเข้าบัญชีพรรคโดยผู้สมัครละคนโอนเข้ามาโดยตรง หลังจากเราเป็นพรรคตามกฎหมาย” ทวีศักดิ์ กล่าว
สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการ กปปส. ในฐานะประธานคณะทำงานรณรงค์เชิญชวนประชาชนให้มาร่วมเป็นผู้จัดตั้งพรรค และเป็นสมาชิกพรรค รปช. กล่าวว่า ทำงานด้วยความระมัดระวังภายใต้กรอบกฎหมายและคำสั่งคณรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) อย่างเคร่งครัด และอีกไม่เกิน 2 วัน คาดว่า กกต. จะอนุมัติให้เป็นพรรคการเมืองโดยสมบูรณ์
สุเทพ ระบุด้วยว่า กฎหมายยังห้ามไม่ให้พรรคการเมืองหาเสียง ที่ผ่านตนเอง และพรรคก็ไม่ได้ลงพื้นที่เพื่อไปหาเสียง ฉะนั้นถือว่าไม่ได้เป็นการทำผิดกฎหมาย สิ่งที่สามารถทำได้และได้ทำไปแล้วคือ การลงไปพบปะประชาชน เพื่อรับฟังปัญหาต่างๆ รวมถึงรับฟังความฝัน ความคาดหวังต่อประเทศชาติ ซึ่งพรรคก็สามารถเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อมาสังเคราะห์เป็นนโยบายของพรรคได้ โดยทันทีที่ได้รับการอนุมัติจัดตั้งพรรคก็พร้อมที่จะเดินสายคาราวาน เป็นรูปแบบค่ำไหนนอนนั่น มีการเตรียมพร้อมเรื่องเหล่านี้ไว้หมดแล้ว
“พรรครวมประชาชาติไทย เราถือว่าประชาชนเป็นผู้กำหนดนโยบาย เพราะไม่มีใครจะรู้ปัญหาของประชาชนได้ดีกว่าประชาชน เราไปทำอย่างนี้ แต่ก็ด้วยความระมัดระวัง เราตั้งใจว่าจะเป็นพรรคการเมืองที่จะทำทุกอย่างให้ถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ อย่างที่ท้านเลขาธิการพรรคได้ชี้แจง วันนี้เราให้ประชาชนกรอกแบบฟอร์มแสดงเจตนาว่าเมื่อพรรคไปรับสถานะเป็นพรรคตามกฎหมายแล้ว เขาขอเป็นสมาชิก เรียกว่าจองไว้ล่วงหน้าได้... เรามีข้อความกำกับไว้แล้วว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่พรรคได้รับการอนุมัติเป็นพรรคที่ชอบด้วยกฎหมาย ใบแสดงเจตจำนงค์นี้ให้ถือเป็นใบสมัครด้วย...ส่งเงินมาก่อนก็ได้ไม่ขัดข้องอะไร”สุเทพ กล่าว
ยันการย้ายพรรคของ ส.ส. เป็นสิทธิเสรีภาพที่ทำได้
เมื่อผู้ข่าวถามเวลานี้มีอดีต ส.ส.จากพรรคต่างๆ สนใจเข้ามาทำงานกับพรรคมากน้อยแค่ไหน สุเทพ ตอบว่า จุดยืนของพรรคเวลานี้ต้องการสร้างนักการเมืองใหม่ๆ ไม่ความต้องการที่จะดึงนักการเมืองจากพรรคไหนทั้งสิ้น แต่ถือว่าเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนี่จะเข้าไปสังกัดพรรคการเมืองที่ตัวเองเห็นว่ามีอุดมการณ์ มีทิศทางในทางการเมืองที่สอดคล้องกับจิตใจของตัวเอง ก็ย่อมมีสิทธิที่จะทำได้
“จริงพรรครวมประชาชาติไทย มีอดีต ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์บางคนเขาลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ แล้วก็มาสมัครเป็นผู้ร่วมจัดตั้งพรรคกับเรา แต่ว่าบัดนี้ก็ไดลาออกจากผู้ร่วมจัดตั้งพรรคเราไปอยู่พรรคอื่นแล้ว อย่างนี้เราถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่โกรธเคืองอะไรกัน ตอนนี้ก็เพิ่งมีแค่สองคนเอง ก็หวังว่าจะไม่มีเข้ามาแล้วก็ออกไปอีก จะได้ไม่ลำบากเรื่องทะเบียน” สุเทพ กล่าว
สุเทพ กล่าวด้วยว่า รปช. ไม่ได้ต้องการต่อสู้หรือมีความขัดแย้งกับพรรคการเมืองใดทั้งสิ้น แต่มีความตั้งใจทำงานการเมืองโดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน เพราะทุกคนต้องเคารพกฎหมาย และทำตามกฎหมาย กฎหมายกำหนดไว้อย่างไรก็ทำไปอย่างนั้น ถ้าก็หมายห้ามไม่ให้ทำก็ทำไม่ได้ แต่ถ้าก็หมายไม่ห้ามก็สามารถทำได้
ขออย่าคาดคั้น ผบ.ทบ. ไม่มีใครรู้อนาคต ถ้าหลังเลือกตั้งบ้านเมืองสงบทหารก็ไม่ออกมา
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนหน้านี้จตุพรกล่าวว่า ทาง กปปส. พยายามกระจายคนเข้าไปในพรรคต่างๆ ซึ่งคล้ายๆ กับเพื่อไทยที่มีการตั้งพรรคสาขา สุเทพตอบว่า ไม่จริง เพราะกลุ่มร่วมจัดตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย ต้องการสร้างพรรคการเมืองที่แท้จริงของประชาชน และทำงานการเมืองอย่างตรงไปตรงมา เพราะเห็นว่าการใช้เล่ห์เหลี่ยมทางการเมืองที่ผ่านมาทำให้ประเทศชาติเสียหาย ส่วนที่พาดพิงไปถึง กปปส. นั้น ความเป็นจริงแล้วหลังจากมีการเลิกการต่อสู้กับระบอบทักษิณคนที่ร่วมกับ กปปส. ต่างก็กลับสู่ที่ตั้งของตัวเอง แล้วจากนั้นใครจะไปอยู่ที่ไหนต่อไป ก็เป็นเรื่องของเขา ตนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือเป็นคนส่งไป
“ผมมีความเชื่อมั่นว่าการเมืองหลังจากการเลือกตั้งจะเข้าสู่ระบบรัฐสภาด้วยความเรียบร้อย ผมไม่เชื่อว่าจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นอีกต่อไป เพราะประชาชนส่วนใหญ่ของจะไม่ยอมให้เกิดปัญหาอะไรขึ้นแล้ว ประชาชนมีประสบการณ์ที่เลวร้าย แล้วเจอมากับตัวเอง และเห็นว่าหากปล่อยให้สถานการณ์อย่างนั้นเกิดขึ้นอีก จะสร้างควมเสียหายต้องชาติบ้านเมือง ผมเชื่อว่าไม่มีใครสามารถมาก่อเหตุวุ่นวายอะไรได้อีกหลังการเลือกตั้ง...ผมเชื่อว่าสิ่งที่ผู้บัญชาการทหารบกพูดนั้นเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง” สุเทพ กล่าว
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ผู้บัญชาการทหารบก ไม่ได้ตอบปฎิเสธว่าหลังจากนี้จะไม่มีการเข้ามาของทหารอีกไม่ว่าจะเกิดอะไรก็ตาม จะเป็นการทำให้ทำประเทศถอยหลังย้อนกลับไปอีกหรือไม่ สุเทพตอบว่า
“อันนี้คิดเอาเอง คนถามก็คงกังวลใจล่วงหน้า ใครไปเป็นผู้บัญชาการทหารบก ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร จะไปคาดคั้นให้ท่านตอบอย่างนั้นอย่างนี้ ท่านตอบตามหลักการถูกต้องแล้ว ผมอ่านตามที่ท่านให้สัมภาษณ์ ท่านก็อธิบายว่าทำไมทหารต้องเข้ามา เพราะบ้านเมืองมีปัญหา แต่คุณจะไปคาดคั้นว่าทำไมไม่ตอบว่าอนาคตจะไม่มี ก็ถ้าไม่มีเหตุที่เป็นปัญหา ก็ไม่ต้องมีใครออกมาทำอะไร” สุเทพ กล่าว
ผบ.ทบ.ยกเหตุจลาจล ตอบเรื่องรัฐประหาร ‘สุเทพ’ ตั้งป้อมไม่ยอมให้ร่าง รธน.ใหม่ หลังเลือกตั้ง
โดยในวันนี้ สื่อหลายสำนักรายงานท่าทีจากการตอบคำถามถึงการรัฐประหารของ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ที่เขาผก ว่าถ้าวันนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ตัดสินใจ บ้านเมืองจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งได้คาดหวังอย่างยิ่งว่า เหตุการณ์รุนแรงในประเทศจะไม่เกิดขึ้นอีกเพราะกองทัพไม่มีวันชนะประชาชน ขณะที่ประชาชนออกมาเผาบ้าน ออกมาทำระเบิด ท่านนั้นแหละที่ทำให้ประเทศพ่ายแพ้ พร้อมกล่าวด้วยว่า "ผมมั่นใจว่าถ้าการเมืองไม่เป็นต้นเหตุการจลาจล ก็ไม่มีอะไร"
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ภายหลังจากที่ พล.อ.อภิรัชต์ ออกมาแสดงท่าทีแบบไม่ปฏิเสธการรัฐประหารแต่ยกเงื่อนไขสถานการณ์มาตอบแทนนี้ ส่งผลให้โซเชียลเน็ตเวิร์กมีการวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมาก
ขณะที่ สุเทพ อดีตเลขาธิการกลุ่ม กปปส. โพสต์เฟสบุ๊ก Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ) ระบุว่า เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมา พูดคุยกับประชาชน 28 ชุมชนในเขตจุตจักร ว่า วันนี้ถึงแม้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะบรรจุแผนปฏิรูปประเทศเอาไว้ชัดเจน และรัฐบาล คสช. เองก็ตั้งใจลงมือปฏิรูปไปแล้วหลายเรื่อง แต่ยังมีอีกหลายเรื่องที่ยังคงต้องช่วยกันผลักดันต่อไป ขณะที่การเลือกตั้งซึ่งกำลังจะมีขึ้นเร็ว ๆ นี้ พบว่ามีพรรคการเมืองบางพรรค ประกาศว่าจะฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งทันทีหากชนะการเลือกตั้งกลับมาโดยไม่สนใจ 16.8 ล้านเสียงประชาชนคนไทยที่ลงประชามติ เรื่องนี้ในฐานะคนไทยคนหนึ่งผมยอมไม่ได้ และเชื่อว่าพี่น้องมวลมหาประชาชนทุกคนที่ออกมาร่วมกันต่อสู้จนบาดเจ็บล้มตายกันไปจำนวนมากในวันนั้นก็คงไม่ยอม
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สุเทพ เทือกบรรณ', 'พรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.)', 'จับตาการเลือกตั้ง', 'อภิรัชต์ คงสมพงษ์'] |
https://prachatai.com/print/79191 | 2018-10-17 22:38 | 'ประยุทธ์' เตรียมเฟสบุ๊กไลฟ์ 'บก.ลายจุด' ขอสมัครเป็นแอดมิน แลกกับเลิกอายัดบัญชี | รองเลขาธิการนายกฯ ฝ่ายการเมือง เผย พล.อ.ประยุทธ์ เตรียมไลฟ์สดสั้นๆ คุยกับ ปชช.แบบไม่เครียด แจงไม่เกี่ยวกับประเด็นหาเสียง เป็นแค่เรื่องการทักทาย 'บก.ลายจุด' ขอสมัครเป็นแอดมิน แลกกับเลิกอายัดบัญชี
17 ต.ค.2561 ภายหลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จัทร์โอชา นายกฯและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเฟสบุ๊กแฟนเพจ 'ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha' อย่างเป็นทางการไปเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา วันนี้ (17 ต.ค.61) มียอดถูกใจ 2.27 แสนแล้ว ขณะที่ยอดผู้กดติดตามต่างกัน 1 หมื่น คืออยู่ที่ 2.28 แสนแล้ว
เตรียมไลฟ์สดสั้นๆ คุยกับ ปชช.แบบไม่เครียด
วันนี้ ข่าวสดออนไลน์ [1] รายงานว่า พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกฯฝ่ายการเมือง ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวเตรียมการให้ พล.อ.ประยุทธ์ ไลฟ์สดผ่านเฟสบุ๊กว่า การเปิดช่องทางสื่อสารใหม่ๆ ถือเป็นการทำงานที่ต้องทันกับสถานการณ์ และยุคนี้เป็นยุคดิจิตอล จึงไม่แปลกที่นายกฯจะใช้ช่องทางใหม่ๆ สื่อสารกับประชาชน และการไลฟ์สดถือเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำได้ แต่จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ คุยกับประชาชนแบบไม่เครียด
พุทธิพงษ์ กล่าวว่า โดยจะเป็นลักษณะเสนอสิ่งที่นายกฯอยากสื่อถึงประชาชน อย่างกรณีนายกฯไปทำงานไม่ว่าในต่างประเทศหรือต่างจังหวัด อาจพบเห็นสิ่งที่อยากสื่อกับประชาชนหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่างๆ นำมาแนะนำให้กับประชาชนรับทราบ หรือกลับมาแล้วผลักดันโครงการดังกล่าวให้เกิดขึ้นบ้าง เช่น สวนสาธารณะ การตกแต่งร่มต่างๆ อย่างที่นายกฯเคยพูดสมัยไปฝรั่งเศส มุมมองดังกล่าวเป็นประโยชน์และมีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงเวลานายกฯไปปฏิบัติภารกิจ เพราะบางครั้งกำหนดการอาจไม่มีจังหวะให้ไลฟ์สดได้
เมื่อถามว่านายกฯจะไปเบลเยี่ยม วันที่ 18-19 ต.ค.นี้ จะมีไลฟ์สดกลับมาหรือไม่ พุทธิพงษ์ กล่าวว่า ต้องดูรายละเอียดและช่วงเวลา ต้องดูในเรื่องที่นายกฯสนใจและเป็นประโยชน์กับคนไทยด้วย นอกจากนี้ต้องดูในเรื่องของเวลา หากไปประเทศที่ช่วงเวลาตรงกันข้ามกับไทย ก็อาจไม่เหมาะจะไลฟ์สดเข้ามา ต้องพิจารณาหลายอย่างประกอบกัน เพราะภารกิจที่จะเดินทางไปทำเป็นเรื่องสำคัญมากกว่า ทั้งนี้ การไลฟ์สดเป็นแนวคิดและกรอบที่วางไว้เบื้องตน มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น
เมื่อถามถึงกระแสตอบรับที่นายกฯเปิดเพจทั้งเฟสบุ๊ก อินสตาแกรมและทวิตเตอร์ พุทธิพงษ์ กล่าวว่า กระแสตอบรับก็เป็นไปอย่างที่นายกฯพูด ผลสัมฤทธิ์เราไม่ได้มองว่ามีจำนวนคนเข้ามาติดตามมากน้อย แต่มองที่คุณภาพหลังเปิดช่องทางสื่อสารว่าประชาชนได้ติดตามและส่งปัญหา ข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เป็นประโยชน์เข้ามาอย่างไร เท่าที่ดูช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาถือว่าเป็นประโยชน์ ประสบความสำเร็จ เป็นช่องทางสื่อสารตรงระหว่างนายกฯกับประชาชน
“2-3 วันที่ผ่านมา ช่องทางที่เปิดขึ้นมีจุดแข็งที่เป็นประโยชน์หลายอย่าง โดยเฉพาะปัญหาที่ประชาชนประสบ รวมทั้งข้อแนะนำหรือขอร้องนายกฯให้ช่วยเหลือ ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ เริ่มตอบส่วนตัวกับประชาชนบ้างแล้ว หรือบางข้อเสนอแนะ นายกฯนำมาเป็นข้อมูล รวมทั้งส่งให้คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา หลังจากนี้นายกฯคงสั่งการในประเด็นปัญหาที่ได้รับข้อมูลมา หลังจากกลั่นกรองตรวจสอบข้อมูลแล้ว ถือว่าเป็นตามเจตนารมณ์ที่เปิดช่องทางสื่อสาร ถือเป็นการตอบรับที่ดี และจะเร่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการ” พุทธิพงษ์ กล่าวและว่า ส่วนของคณะทำงานก็ช่วยนายกฯในระดับหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่ทั้งหมดนายกฯจะเป็นคนดูและเล่นเอง ยืนยันว่าทีมงานไม่ได้ทำให้ แต่นายกฯทำเอง
แจงไม่เกี่ยวกับประเด็นหาเสียง เป็นแค่เรื่องการทักทาย
เมื่อถามว่าในเชิงการเมืองถือเป็นการชิงความได้เปรียบในช่วงนี้หรือไม่ และมีเหตุผลอะไรถึงเปิดช่องทางสื่อสารใหม่ พุทธิพงษ์ กล่าวว่า สาเหตุที่นายกฯเลือกมาเปิดช่องทางสื่อสารใหม่ เนื่องจากนายกฯต้องการหาช่องทางสื่อสารกับประชาชน ต้องยอมรับว่าพฤติกรรมประชาชนในการบริโภคสื่อนั้นเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่ใช่สื่อออนไลน์และโซเชี่ยลเป็นหลัก นายกฯจึงต้องการให้ทันยุคสมัย คณะทำงานโดยเฉพาะตนเมื่อได้รับแต่งตั้งเข้ามาดูแลด้านการสื่อสารก็พิจารณาแล้วว่า การเปิดทวิตเตอร์ เฟสบุ๊กหรืออินสตาแกรม สื่อสารได้โดยตรงและทันสมัย
ส่วนข้อวิจารณ์ถึงความได้เปรียบทางการเมืองนั้น รองเลขาธิการนายกฯ กล่าวยืนยันว่า จนถึงเวลานี้ยังไม่มีอะไรที่เป็นการเมืองสำหรับพล.อ.ประยุทธ์ จะเห็นได้ว่า 2-3 โพสต์ที่นายกฯเสนอออกมานั้น ไม่เกี่ยวกับการเมืองทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับประเด็นหาเสียง เป็นแค่เรื่องการทักทาย และเปิดโอกาสให้ประชาชนติดตามและเสนอปัญหาเท่านั้น ไม่มีอะไรที่จะไปเกี่ยวกับการหาเสียง ถือเป็นเรื่องปกติในการใช้โซเชี่ยลของพล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งนักการเมืองทุกคนก็มีกันอยู่แล้ว บางคนก็แค่อัพเดตเรื่องราวของตัวเองเท่านั้น เรื่องนี้ทุกคนติดตามได้ว่าเป็นอย่างไรต่อไป
บก.ลายจุด ขอประยุทธ์เลิกอายัดบัญชีธนาคาร
วันเดียวกัน PEACE NEWS [2] รายงานว่า ที่หน้าประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล ฝั่งถนนราชดำเนิน สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ผู้จดจัดตั้งพรรคเกียน เดินทางมาทวงถามความคืบหน้าจาก พล.อ.ประยุทธ์ กรณีขอให้ยกเลิกอายัดบัญชีธนาคาร เพราะได้รับผลกระทบมากว่า 4 ปี พร้อมแสดงออกเชิงสัญญาลักษณ์ด้วยการแต่งตัวเป็นคนตกงาน ใส่รองเท้าขาด ถือกระเป๋าเอกสาร พร้อมหอบเอกสารประวัติส่วนตัวมาสมัครงาน โดยมี นายสาธิต สุทธิเสริม นิติกรชำนาญการ ศูนย์บริการประชาชน รับเรื่อง
สมบัติ กล่าวว่า คดีความที่ตนไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่ง คสช.นั้นสิ้นสุดแล้ว และได้เสียค่าปรับไปเรียบร้อย แต่บัญชียังถูกอายัด แม้เงินจะมีจำนวนไม่มาก แต่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในการจัดตั้งพรรค เพราะตนจะเป็นหัวหน้าพรรคไม่ได้ อย่างไรก็ตาม หากจะไม่คืนบัญชี ขอให้นายกฯตอบคำถามให้ได้ว่า มีเหตุผลอะไรที่ต้องอายัดบัญชีเอาไว้ ทั้งที่เรื่องของตนไม่ใช่ความผิดทางอาญา ไม่มีการฟอกเงิน ที่สำคัญคดีความจบแล้ว และการกระทำเช่นนี้ ตนสามารถฟ้องร้องนายกฯตามกฎหมายอาญามาตรา 157 ได้
ขอสมัครเป็นแอดมิน
“ทราบว่านายกฯเปิดเพจเฟสบุ๊กส่วนตัว มีคนกดถูกใจจำนวนมาก เกรงว่า จะดูแลไม่ทั่วถึง จึงเสนอตัวมาสมัครเป็นแอดมิน คอยดูแลเพจให้ในฐานะผู้ที่เล่นโซเชียลในยุคแรกๆ มีคุณสมบัติครบถ้วน มีความรู้ ความสามารถ และเชี่ยวชาญการใช้โซเชียล มีประสบการณ์ถูกปรับทัศนคติมาแล้ว จึงขอให้นายกฯรับไปพิจารณา” สมบัติ กล่าว พร้อมย้ำว่า ขอให้นายกฯ คิดให้ดีว่า จะคืนบัญชีหรือจะรับตนเป็นแอดมินเพจ หากยังไม่สามารถตอบได้ตนจะเดินทางมาติดตามทวงถามเป็นระยะ ซึ่งตั้งใจว่าจะเดินทางมาทุกสัปดาห์ หรือ อาจจะตามไปทวงถามตามงานต่าง ๆ ที่พล.อ.ประยุทธ์ เดินทางไปก็ได้
ส่วน เพจ “ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นั้น สมบัติ กล่าวว่า ข้อความที่ประชาชนมาแสดงความคิดเห็นอย่างล้นหลามในเพจนั้น ไม่ตรงกับรูปภาพหรือ ข้อความของโพสต์เลย ปรากฎการณ์เช่นนี้ เรียกได้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ถูกประชาชนยึดเพจไปเรียบร้อยแล้ว โดยที่ไม่รู้จะแก้ไขสถานการณ์อย่างไร จะปิดเพจก็ไม่ได้ อาจจะเสียหายแบบกลับมาไม่ได้อีกเลย จะลบก็ลำบากมาก
“ผมอยากจะใช้คำว่า พล.อ.ประยุทธ์ในโลกออนไลน์ถูกล้อมกรอบเรียบร้อยแล้ว จึงจำเป็นต้องได้คนแบบผมไปช่วยกู้สถานการณ์เพจประยุทธ์ จันทร์โอชา ผมขอรับประกันว่า จะเกิดความบันเทิงอย่างสูงสุด แน่นอน โดยจะไม่ขอรับเงินเดือน แต่ขอให้ยกเลิกการอายัดบัญชีของผมแทน" สมบัติ กล่าว
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'ไอซีที', 'สมบัติ บุญงามอนงค์', 'พรรคเกียน', 'อายัดบัญชีธนาคาร', 'ประยุทธ์ จัทร์โอชา', 'เฟสบุ๊กแฟนเพจ', 'เฟสบุ๊กไลฟ์'] |
https://prachatai.com/print/79192 | 2018-10-17 23:40 | กวีประชาไท: ประวัติย่อของยิ้มสยาม | กี่กัปกัลป์มาแล้วที่แถวนี้ ไม่เคยมีแสงสว่างอย่างที่เห็น
เมื่อบิ๊กแบ็งได้ระเบิดเปิดประเด็น เงาร่างเร้นก็เผ่นผาดโผนพาดพื้น
คลายเหงา แด่รุ่งเช้าที่ ไม่มีวันมาถึง ตะวันหนึ่งจึงมาพาสดชื่น
นิรันดรนับไม่ได้คล้ายวันคืน การหลับตื่นต้องสร้างสรรค์ตะวันแดง
เมื่อตะวันพลันกำเนิดก็เกิดเรื่อง ความต่อเนื่องเฟื่องฟูรู้ร้อนแสง
ความหนาวเย็นที่เป็นอยู่สู่ร้อนแรง เส้นรุ้งแวงพลันวางที่ทางตน
โลกที่มีขึ้นให้วางทางแวงรุ้ง เกิดการปรุง แต่ง ทุกแห่งหน
ฤดูกาลผ่านไปมาพาเวียนวน อยู่ในกล จริงฝันนิรันดร
ตะวันพาสีรุ้งมาปรุงแต่ง หมู่แมลงภุมรินมาบินร่อน
รุ้งมอบเจ็ดสีซึ้งตรึงภมร ล่อหลอกหลอนใหลหลงดงดอกไม้
สายรุ้งพุ่งผ่านฝนจนทอฝัน เขียวพืชพันธุ์อันสดชื่นมายื่นให้
แตกดอกออกผล ฝนโปรยไพร ผองสัตว์ใหญ่สัตว์น้อยได้ลอยชาย
เกิดหมู่บ้านตำนานเมืองกระเดื่องนาม ชื่อสยามยามยิ้มพิมพ์ใจหลาย
เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นไทยไม่เสียดาย มีที่หมายยิ้มใหม่จริงใจตรง
อุดมสมบูรณ์ดั่งทองเต็มท้องที่ แสงแดดดีมีฝนฝอยคอยเสริมส่ง
ทั้งอ่าวไทยอันดามันอันยืนยง แหลมทองปักธงจงเจริญ
ไยสยามยิ้มพิมพ์ใจหาย? จึงได้กลายชื่อเป็นไทยใช้สรรเสริญ
หรือยามยิ้มสยามแย่แพ้เผชิญ ยิ้มคงเกินเพลินใจได้ทั้งวัน
ให้ความหวังยิ้มใหม่ได้ดีกว่า ชื่อไทยทายท้าดวงตาสวรรค์
ชื่อสยามยิ้มโง่เขลาไม่เท่าทัน ชวนแค่นคั้นยิ้มใหม่หนอไทยเอย
| ['บทความ', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'กวีประชาไท', 'ธุลีดาวหาง'] |
https://prachatai.com/print/79194 | 2018-10-17 23:56 | FreeWriteAward3: ที่ว่างบนทางเท้า |
ดื่มกินดิ้นรนบนทางเท้าจากเช้าจรดค่ำ ทำหน้าที่ต่างซื้อ-ต่างขายมาหลายปีต่อนาทีบางด้านการหายใจ
พอขับเคลื่อนบางด้านการเป็น-อยู่ถึงแม้นต้องต่อสู้ พออยู่ได้ตากแดด กรำฝน จนเข้าใจก็เงื่อนไขธรรมชาติ เกินคาดเดา
จากรุ่นสู่รุ่นความคุ้นชินได้ทำมาหากินในที่เก่าเคยบันทึกบางอย่างบนทางเท้ามีเรื่องราวรากเหง้า ความเข้าใจ
คงดื่มกินดิ้นรน ไม่พ้นทุกข์กับการคืนความสุข-ยุคสมัยอ้างระบบจัดระเบียบอยู่ทั่วไปขอคืนพื้นที่อาศัยใช้ทำกิน
จนเหลือแต่ที่ว่างบนทางเท้าบรรจุด้วยความเศร้าและหนี้สินจากรุ่นสู่รุ่นไม่คุ้นชินที่ต้องดิ้นรนสู้ อยู่กับทุกข์
สี่ปีไม่ผ่านการเปลี่บนแปลงถ้อยแถลงนิยาม"คืนความสุข"ยิ่งนานยิ่งบรรลุทุรยุคยิ่งเจ็บจุกแบกรับอยู่กับร้าว
สะท้อนภาพเบ็ดเสร็จเผด็จการสะเทือนสะท้านการย่างก้าวรากหญ้า แหลกล้ม ขมขื่นคาวกับเรื่องราวคืนความสุขในยุคนี้
ดื่มกินดิ้นรนบนว่างเปล่าจากเช้าจรดค่ำ ทำหน้าที่เคยซื้อเคยขายได้เสรีเริ่มริบหรี่บางด้าน การหายใจ
จากรุ่นสู่รุ่นความคุ้นชินคือหนี้สินเสมือนผูกเงื่อนไขคือคราบน้ำตา รอยอาลัยจะทำกินอย่างไร ในฤดู
เมื่อระบบจัดระเบียบจนเรียบร้อยอาจไม่พบร่องรอยการต่อสู้"คืนความสุข" ให้ใครไม่อาจรู้แต่เห็นอยู่คือที่ว่างบนทางเท้า
หมายเหตุ: 'บทกวีที่ว่างบนทางเท้า' โดย เสฏฐ์ บุญวิริยะ ได้รับรางวัลชมเชย FreeWrite Award ครั้งที่ 3 ในเทศกาลบทกวีประชาชน งาน 42 ปี 6 ตุลา 2519 ประกาศผลเมื่อวันที่ 6 ตุลา 2561 ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
| ['บทความ', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'เสฏฐ์ บุญวิริยะ', 'กวีประชาไท'] |
https://prachatai.com/print/79195 | 2018-10-18 00:04 | ใบตองแห้ง: บัตรทอง Vs บัตรคนจน | นายกฯ โฆษกไก่อู เปิดวิวาทะกับ “หญิงหน่อย” ว่าด้วย “บัตรทอง” Vs “บัตรคนจน” กรณี ครม.มีมติให้ผู้ถือบัตรคนจนไม่ต้องจ่ายค่าบริการ 30 บาท
เรื่องนี้ต้องลำดับว่า นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ “30 บาทรักษาทุกโรค” ของรัฐบาลไทยรักไทย ในตอนแรกให้ประชาชนร่วมจ่าย 30 บาท ไม่ว่ารวยหรือจน
หลังรัฐประหาร 2549 รัฐบาลขิงแก่ ให้เลิกเก็บ 30 บาท อยากลบสโลแกนไทยรักไทยหรือไรไม่ทราบ แต่ก็ดีกับประชาชน
จนรัฐบาลเพื่อไทย ไม่รู้คิดงี่เง่าอะไร ฟื้นให้เก็บ 30 บาท กระนั้นก็มีข้อแม้เป็นหางว่าว ยกเว้นคนจนคนพิการผู้สูงอายุ ฯลฯ แถมลงท้าย ใครไม่ประสงค์จะจ่าย ก็ไม่ต้องจ่าย โรงพยาบาลจำนวนมากเลยไม่เก็บ เพราะเพิ่มภาระ บางแห่งก็เก็บ แต่ไม่ได้เป็นกอบเป็นกำ
มาจนรัฐบาลนี้ จู่ ๆ กระทรวงการคลัง เจ้าของผลงานบัตรคนจน ก็เสนอ ครม.ยกเว้นผู้ถือบัตร 11.4 ล้านคน ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขงุนงง ยกเว้นทำไม ในเมื่อไม่ต้องจ่ายอยู่แล้ว แต่เมื่อ ครม.มีมติ ก็ออกกฎกระทรวง ให้สื่อเอาไปพาดหัว “คนจนเฮ รัฐบาลใจดี ไม่ต้องจ่าย 30 บาท”
ทั้งที่ฝั่ง สธ. สปสช. สำทับว่า ใครไม่มีบัตรคนจนก็ไม่กระทบ ยังฟรีเหมือนเดิม ไม่อยากจ่ายก็ไม่ต้องจ่าย
คำถามน่าคิดคือ ทำไมไม่ทำอย่างยุคขิงแก่ เลิกเก็บ 30 บาท รักษาฟรีไปเลย ไม่ใช่ฟรีเฉพาะบัตรคนจน ที่เป็น “จุดขาย” ของรัฐบาลตน
แน่ละ ทั้งสองฝ่ายออกมาวิวาทะป้องนโยบายของตัวเอง แต่สังเกตให้ดี จะเห็นว่านโยบายไทยรักไทย กองทุนหมู่บ้าน 30 บาท รถเมล์ฟรี รถไฟฟรี หรือแม้แต่นโยบายเรียนฟรีของประชาธิปัตย์ เน้นหลัก “ถ้วนหน้า” ขณะที่รัฐบาลนี้ แม้ปากบอกไม่ยกเลิกบัตรทอง ก็บ่นเสมอว่าเป็นภาระงบประมาณ และพยายามแยก “คนจน” ออกมาสงเคราะห์ต่างหาก
นี่ไม่ใช่ว่าท่านแยกชนชั้น แต่มันสะท้อนวิธีคิดรัฐราชการ ซึ่งไม่พอใจสวัสดิการถ้วนหน้า เพราะราชการไม่สามารถเข้าไปใช้ดุลพินิจ ใช้อำนาจแยกแยะ ว่าใครควรช่วย ใครไม่ควรช่วย การช่วยเหลือราษฎร ตามแบบราชการ คือต้องมายื่นคำขอ ต้องลงทะเบียน ต้องผ่านการพิจารณา รับรอง ลงนาม ตามกฎระเบียบขั้นตอนต่าง ๆ
ทั้งที่เอาเข้าจริง การกลั่นกรองก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพ เช่นบัตรคนจน กำหนดลวก ๆ แค่อายุ 18 ปีขึ้นไป มีรายได้ไม่เกินแสน มีบ้านไม่เกิน 25 ตารางวา นิสิตนักศึกษาลูกคนชั้นกลาง คนจบโทจบเอกยังไม่มีงานทำ หรือคนที่คู่สมรสมีรายได้เยอะ แต่ตัวเองไม่อยู่ในระบบภาษี แห่ไปลงทะเบียนกันมากมาย ขณะที่คนงานค่าแรงขั้นต่ำไม่ได้ใช้รถเมล์รถไฟฟรี
แต่การตลาด “สมคิดสไตล์” ไม่สนใจ เพราะหนึ่งได้ชื่อว่าช่วยคนจน สอง ได้หว่านเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ
วิธีคิดแบบราชการ ที่มองว่าสวัสดิการถ้วนหน้าสิ้นเปลือง ต้องการระบบสงเคราะห์แบบราชการมีบุญคุณใช้ดุลพินิจ รวมทั้งไม่เข้าใจระบบหลักประกันสุขภาพ (ขนาดเงิบออกทีวีคืนวันศุกร์) นี่เองที่ทำให้ผู้คนไม่ไว้วางใจ ว่ามีความต้องการใช้บัตรคนจนมาสอดไส้บัตรทอง รักษาฟรีเฉพาะผู้ที่ได้รับการสงเคราะห์ ที่เหลือต้องร่วมจ่าย ในอัตราสูงขึ้น ๆ ต่อไป
ในขณะเดียวกัน หลังจากพยายามแก้กฎหมายรื้อบอร์ด สปสช. แต่โดนค้านจนถอยไป ก็อ้อมกลับมาใช้กฎหมายซูเปอร์บอร์ดสุขภาพ รวบ สปสช.เข้าไปไว้ใต้อำนาจบอร์ดราชการเป็นใหญ่ (แต่ไม่วายแซมตัวแทนบริษัทยา)
เพียงแต่ที่บอกว่า ไม่ล้มบัตรทอง ก็เพราะกลัวประชาชนต้าน แถมได้หน้าอีกต่างหาก เวลาโลกชื่นชม
เผยแพร่ครั้งแรกใน: ข่าวหุ้นธุรกิจ www.kaohoon.com/content/257598 [1]
| ["'ใบตองแห้ง' ออนไลน์", 'การเมือง', 'คุณภาพชีวิต', 'ใบตองแห้ง', 'บัตรทอง', 'บัตรคนจน'] |
https://prachatai.com/print/79196 | 2018-10-18 00:18 | ชำนาญ จันทร์เรือง: การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม | แม้ว่าเราจะมีการเลือกตั้งก็มิได้หมายความว่าเราจะเป็นประชาธิปไตยแล้ว แต่หากประเทศจะเป็นประชาธิปไตยจำเป็นที่จะต้องมีการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในระบอบประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน (representative democracy) ซึ่งเป็นกระบวนการคัดสรรตัวบุคคลที่จะไปทำหน้าที่แทนบุคคลทั่วประเทศในสถาบันนิติบัญญัติ และบริหารรวมถึงตุลาการด้วยในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ในหนังสือ “รัฐศาสตร์” ของอาจารย์ณัชชาภัทร อมรกุล ซึ่งผมได้ใช้เขียนบทความและสอนในชั้นเรียนมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานได้ระบุไว้ว่าการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยจะต้องประกอบไปด้วยหลักการสำคัญ 6 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. เป็นการทั่วไป (in general)
บุคคลที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจะต้องเป็นบุคคลที่อายุเข้าเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดด้วยเหตุ วุฒิภาวะ เช่น 16,18 หรือ 20 ปี เป็นต้น โดยต้องไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นคนชนชั้นใด ไพร่หรือผู้ดี ไม่ว่าจะจบการศึกษาในระดับใด เพศใด หรือมีฐานะทางการเงินหรือไม่ ทั้งนี้ เพราะอำนาจอธิปไตยเป็นของคนทุกคน ไม่เพียงแต่เฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น
2. เป็นอิสระ (free voting)
ในการเลือกตั้งนั้นประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีอิสระอย่างเต็มที่ที่จะเลือกตัวแทนของตนโดยไม่ได้ถูกบังคับขู่เข็ญ กดดัน ชักจูงหรือได้รับอิทธิพลใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อที่จะได้เจตจำนงที่แท้จริงของประชาชนแต่ละคน ประเภทที่เข้าแถวแล้วเขียนเบอร์ใส่ฝ่ามือนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นอิสระในการออกเสียงเลือกตั้งแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีการเขียนเบอร์ใส่ฝ่ามือแล้ว แต่คำสั่งจากที่บ้านให้เลือกฝั่งตรงกันข้ามก็ยังมีอิทธิพลเหนือกว่าอยู่นั่นเอง
หรือมิใช่ว่าทั้งๆที่รู้ว่าจะมีการเลือกตั้งอย่างแน่นอนอยู่แล้ว พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองก็ผ่านสภาฯออกมาแล้ว แต่ยังมีคำสั่งฯออกมาจำกัดไม่ให้ทำโน่นไม่ให้ทำนี่ตามที่พระราชบัญญัติฯบัญญัติไว้เสียอีก
3. มีระยะเวลา (periodic election)
การเลือกตั้งจะต้องมีการกำหนดว่าการเลือกตั้งแต่ละครั้งจะกำหนดระยะเวลาไว้เท่าใด โดยกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศเป็นการแน่นอน เช่น ส.ส. 4 ปี (อเมริกา 2 ปี อังกฤษ 5 ปี) ส.ว. 6 ปี เป็นต้น
4. การลงคะแนนลับ (secret voting)
เพื่อให้ผู้ที่เลือกตั้งสามารถเลือกบุคคลที่ต้องการเข้าไปเป็นตัวแทนของตนได้อย่างเป็นอิสระ ไม่ต้องเกรงใจใครหรือไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของใคร ในการเลือกตั้งทุกครั้งจึงกำหนดให้แต่ละคนสามารถเข้าไปในคูหาเลือกตั้งได้เพียงครั้งละ 1 คน ยกเว้นบางประเทศที่กฎหมายอนุญาตไว้เป็นข้อยกเว้นเช่น คนพิการหรือคนแก่ เป็นต้น และไม่จำเป็นจะต้องบอกให้คนอื่นทราบว่าตัวเองเลือกใคร หลักการลงคะแนนลับนี้ถือว่าสำคัญมากเพราะแม้แต่ศาลเองก็ไม่สามารถจะสั่งให้เราให้การว่าในการเลือกตั้งนั้นเราลงคะแนนให้แก่ผู้ใด
5. หนึ่งคนหนึ่งเสียง (one man one vote)
ในบริษัทมหาชนผู้ที่ถือหุ้นมากกว่าอาจจะมีสิทธิในการลงคะแนนเสียงมากกว่า แต่ในการเลือกตั้งที่เป็นใช้สิทธิทางการเมืองนั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนมีสิทธิในการออกเสียงได้เพียง 1 เสียงเท่ากัน ไม่ว่าจะมีฐานะอะไร หรือมีบทบาทสำคัญทางการเมืองอย่างไร ก็มีสิทธิได้เพียง 1 เสียงเท่านั้น ที่สำคัญก็คือประเด็นความมีคุณภาพหรือไม่มีคุณภาพของประชากรก็ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุในการที่จะให้จำนวนเสียงของแต่ละคนต่างกัน
ในช่วงหนึ่งไทยเรามีตลกร้ายโดยบางคนเสนอว่าผู้ที่มีคุณภาพมากกว่าควรจะมีสิทธิมีเสียงมากกว่า ตัวอย่างเช่น ปริญญาเอก 10 เสียง ปริญญาโท 5 เสียง ปริญญาตรี 2 เสียงคนทั่วไป 1 เสียง ฯลฯ หรือ “วาทกรรมอัปลักษณ์ (ugly speech) ” ที่ว่าสามแสนเสียงในกรุงเทพฯเป็นเสียงที่มีคุณภาพย่อมดีกว่า 15 ล้านเสียงในต่างจังหวัดนั้นก็ได้รับการตอบโต้กลับว่าคนทั่วไปมีสองเท้าที่ก้าวเข้าสู่คูหาเท่ากันและสองเท้านี้ก็พร้อมที่กระทืบคนที่มาขัดขวางการใช้สิทธิเลือกตั้งอันเป็นสิทธิพื้นฐานนี้ได้เช่นกัน
6. บริสุทธิ์ยุติธรรม (fair election)
หลักการนี้อาจถือได้ว่าเป็นหลักที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะในหลัก 5 ข้อข้างต้นอาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในบริบทของแต่ละประเทศ แต่ถึงแม้ว่าจะมีครบทั้ง 5 หลักข้างต้นแล้วหากขาดเสียซึ่งหลักแห่งความบริสุทธิ์ยุติธรรมแล้วการเลือกตั้งนั้นก็จะเสียไป เพราะการเลือกตั้งที่ดีจะต้องมีการดูแลการเลือกตั้งไม่ให้มีการทุจริต ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสิทธิขายเสียง การติดสินบนเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้ง หรือวิธีการใดๆ ที่จะทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม
อย่าลืมว่าในประเทศเผด็จการทั้งหลายแม้จะใช้ชื่อว่าประชาธิปไตยก็ตาม เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยเกาหลี (เกาหลีเหนือ) ฯลฯ ต่างก็มีการเลือกตั้งเช่นกันเพราะเหตุที่ว่าการเลือกตั้งเป็นหัวใจของประชาธิปไตยนั่นเอง แต่การเลือกตั้งในประเทศเผด็จการทั้งหลายนั้นเป็น “การบังคับเลือก” (จะเอาหรือไม่เอา) ที่เรียกได้ว่าเป็นการเลือกตั้งแต่เพียงรูปแบบเท่านั้น
ประเทศไทยเราก้าวมาไกลแล้วในกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย ถึงแม้ว่าในบางครั้งอาจมีการสะดุดหยุดอยู่ หรือถอยหลังไปในบางคราวที่เกิดการปฏิวัติรัฐประหาร ความแตกต่างทางความคิดเป็นเรื่องธรรมดา เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย การเดินขบวน การคัดค้านผู้ที่ครองอำนาจรัฐเป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย ตราบใดที่ไม่ใช้ความรุนแรงเข้าห้ำหั่นกัน และผู้ที่ละเมิดกฎหมายก็ต้องพร้อมรับผลแห่งการละเมิดนั้น
จะช้าหรือเร็วปีหน้าก็ต้องมีการเลือกตั้งอย่างแน่นอน เพราะยิ่งยื้อก็ยิ่งพัง และการเลือกตั้งของไทยเราที่จะมีขึ้นจะต้องประกอบไปด้วยหลักที่ว่า เป็นการทั่วไป เป็นอิสระ มีระยะเวลา เป็นการลงคะแนนลับ หนึ่งคนหนึ่งเสียงและบริสุทธิ์ยุติธรรม พูดง่ายๆสั้นๆก็คือต้องเสรีและเป็นธรรม (free and fair) จึงจะถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง
ถ้าไม่ใช่การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม ไทยเราก็คงไม่ต่างไปจากกัมพูชาที่รังแต่จะถูกรังเกียจเดียดฉันท์จากนานาประเทศ อาจถูกต่อต้านหรือมีมาตรการกดดันทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศได้ ที่สำคัญที่สุดก็คือเป็นการตอกลิ่มให้ความแตกแยกในหมู่ประชาชนให้แผ่ขยายไปยิ่งกว่าเดิม ความเสียหายก็จะตกอยู่กับประเทศชาติและประชาชนชาวไทยตาดำๆนั่นเอง
เผยแพร่ครั้งแรกใน: กรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 17 ตุลาคม 2561
| ['บทความ', 'การเมือง', 'ณัชชาภัทร อมรกุล', 'การเลือกตั้ง', 'ชำนาญ จันทร์เรือง'] |
https://prachatai.com/print/79199 | 2018-10-18 12:16 | ‘สะอาด’ การ์ตูนนิสต์เกรดศิลปะห่วยตลอดมา กับหนังสือสะท้อนการศึกษาเล่มล่าสุด (แจกฟรี) | คุยกับ ‘สะอาด’ เจ้าของการ์ตูนลายเส้นไม่เรียบร้อย ผู้เล่าชีวิตประจำวันเชื่อมโยงสู่ประเด็นสังคมการเมืองอย่างแนบเนียน กับผลงานล่าสุด ‘การศึกษาของกระป๋องมีฝัน’ หนังสือการ์ตูนถ่ายทอดชีวิตตัวเองตั้งแต่เด็กจนโตในระบบการศึกษา ที่เขาวิพากษ์ว่าศิลปะในระบบการศึกษาไม่ควรยึดติดกับความสวย แต่ควรเพื่อความสุขหรือการทลายความกลัว
ย้อนกลับไปสมัยเด็ก ในวิชาศิลปะที่ครูวางกล้วยหนึ่งหวี แอปเปิ้ลหนึ่งลูกไว้บนโต๊ะ แล้วสั่งให้เราสเก็ตช์รูปผลไม้เหล่านั้นให้ออกมาเหมือนจริงที่สุดโดยห้ามลืมการแรเงา ทิ้งจินตนาการที่เคยวาดเล่นสนุกไปก่อน เมื่อหมดคาบเราจะได้ตัวเลขสีแดงข้างใต้ภาพตัดสินผลงานว่าใครสวยใครไม่สวย ใครเก่งใครไม่เก่ง มันคือชั่วโมงเรียนหงอยๆ สำหรับใครหลายคน รวมทั้ง ธนิสร์ วีระศักดิ์วงศ์ นักวาดการ์ตูนนามปากกา ‘สะอาด’ เจ้าของหนังสือการ์ตูนหลายเล่มลายเส้นไม่เรียบร้อย ที่เลือกพูดถึงชีวิตประจำวัน โยงไปสู่ประเด็นสังคม เช่น ครอบครัว การศึกษา ไปจนถึงการวิพากษ์การเมืองอย่างแนบเนียน
สะอาดเองก็ไม่ต่างจากเด็กวัยเดียวกันที่ต้องอยู่ในระบบโรงเรียน แต่ต่างตรงที่เขามีคำถามมากมาย (ในหัว) เกี่ยวกับระบบการศึกษาที่เขาเป็นส่วนหนึ่ง เขายอมรับว่าเมื่อโตขึ้นและทบทวนตัวเอง เขาพบว่าปมด้อยในชีวิต เช่น ความไม่มั่นใจ ก็เกิดขึ้นเพราะการศึกษาในโรงเรียน
ภาพตัวอย่างในหนังสือ ‘การศึกษาของกระป๋องมีฝัน’
‘การศึกษาของกระป๋องมีฝัน’ คือชื่อหนังสือการ์ตูนเล่มล่าสุดของเขาที่ใช้เวลาเขียนกว่า 3 ปี และวางแผนว่าจะมี 2 เล่มจบ เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ชีวิตในวัยเรียนของเขาตั้งแต่เด็กจนโต ด้วยเนื้อหาที่ไม่พยายามยัดเยียดคำวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ นานาเกี่ยวกับระบบการศึกษาไทย แต่ใช้เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงกับตัวเองตั้งคำถามถึงระบบการศึกษาที่ประหนึ่งดั่งสายพานโรงงานผลิต ‘เด็กกระป๋อง’ ที่มีค่านิยมอุดมคติการใช้ชีวิตเหมือนกัน ออกมารับใช้ความคาดหวังของพ่อแม่และครูอาจารย์ เด็กเก่งคือเด็กที่ได้คะแนนดี และสอบเข้าคณะแพทย์หรือวิศวะ
‘การศึกษาของกระป๋องมีฝัน 01 (ภาคโรงเรียน)’ แจกฟรีทั้งในรูปแบบไฟล์และเล่ม ไฟล์สามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์ http://library.fes.de/pdf-files/bueros/thailand/14685.pdf [1]
ประชาไทคุยกับ ‘สะอาด’ ผู้มีบาดแผลจากระบบการศึกษาไม่มากไม่น้อยไปกว่าคนอื่น ถึงวิธีคิด วิธีการทำงานจนออกมาเป็นหนังสือการ์ตูน ‘การศึกษาของกระป๋องมีฝัน’
'สะอาด' ธนิสร์ วีระศักดิ์วงศ์
ทำไมใช้เวลาทำหนังสือเล่มนี้ถึง 3 ปีกว่า?
อย่างแรกคือเป็นคนทำงานช้า แล้วก็เป็นคนไม่ชอบเล่าเรื่องส่วนตัวในสาธารณะ แต่คิดว่าประเด็นนี้ต้องใช้ความเป็นส่วนตัวในการเล่าถึงจะมีพลังในการสื่อสาร ปัญหาคือไม่รู้ว่าสิ่งที่เราคิดพอเล่าออกไปคนอื่นรู้สึกแบบเดียวกันไหม ขณะเดียวกันในช่วงแรกที่เริ่มทำ เราไม่มีความรู้ในประเด็นการศึกษา หรือมีแค่ผิวเผย รู้สึกว่าประเด็นของเรื่องไม่แข็งแรง เลยต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูล รวมถึงใช้เวลาคลำหาทิศทางของหนังสืออยู่นานพอสมควร แล้วเวลาพูดถึงประสบการณ์มันจะสะเปะสปะมากๆ เลยแก้ปัญหาโดยการให้เพื่อนอ่าน 5-6 คน ช่วยอ่าน ว่าเขาคิดยังไง รู้สึกยังไง จะแก้ยังไงดี เลยมี 5-6 ดราฟต์ก่อนมาเป็นต้นฉบับ แล้วการแก้แต่ละดราฟต์ก็เหมือนต้องใช้เวลาในการตกผลึกและการหาข้อมูลเพิ่มขึ้น
คุณเคยให้สัมภาษณ์ว่าตอนแรกที่ทำหนังสือคุณมีวิธีคิดแบบ NGO แต่สุดท้ายก็เปลี่ยน เพราะอะไร?
ในช่วงแรกที่ทำหนังสือเล่มนี้เรามีวิธีคิดแบบ NGO คือ เราอยากสื่อสารให้คนตระหนักถึงปัญหาของการศึกษา ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชน หรือเอ็มพาวเวอร์คนที่อยู่ในแวดวงการศึกษาว่าเขาสามารถเปลี่ยนแปลงมันได้ หรือหาทางต่อรองกับมัน แต่มันยิ่งทำให้เราสับสนว่าอะไรคือสิ่งที่ดีสำหรับการเป็นหนังสือการ์ตูน เราจะหาที่ยืนสำหรับหนังสือการ์ตูนเล่มนี้ที่เราโอเคกับมันและมีประโยชน์กับคนอ่านได้ยังไง
ยกตัวอย่างการ์ตูนที่ทำโดยองค์กรหรือมูลนิธิต่างๆ จะคล้ายกันอย่างหนึ่งคือ เวลาอ่านเราจะรู้เลยว่ามันถูกผลิตขึ้นมาเพื่อสื่อสารในเรื่องนี้ บทสรุปเป็นประมาณนี้ เหมือนการเอารูปแบบความเป็นการ์ตูนมาเสริมเพื่อให้เนื้อหาดูสนุกขึ้น ง่ายขึ้น แต่งานชิ้นนี้เราทำให้มันเบลอๆ ในแง่ของประเด็น เราไม่ได้เจาะจงว่าการ์ตูนเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า หรือการ์ตูนเรื่องนี้ได้รับการรองรับจากงานวิจัยชิ้นนี้ ไม่มีการอ้างอิงในรูปแบบนั้น เพราะเราคิดว่าหน้าที่ของการ์ตูน ถึงที่สุดมันควรจะเป็นศิลปะของการเล่าเรื่องที่เปิดโอกาสให้คนอ่านตีความหรือต่อยอดในมุมมองของเขามากกว่า ในขณะเดียวกันถ้า NGO จะเอาไปทำงานต่อก็เป็นหน้าที่ของเขาที่จะสื่อสารในแบบของเขาต่อไป
ดราฟต์แรกกับดราฟต์สุดท้ายต่างกันเยอะไหม?
ต่างเยอะ ต่างในเรื่องวิธีนำเสนอที่บอกไป และต่างเรื่องมู้ดของเรื่อง เพราะจุดหมายที่เราเขียนคืออยากให้มันมีความหวัง มีแสงสว่าง แต่พอให้เพื่อนอ่าน เพื่อนบอกว่าโคตรหดหู่เลยว่ะ โคตรดาร์กเลย โคตรสิ้นหวังเลย บางคนก็บอกว่า มึงต้องการอะไร ต้องการให้คนสิ้นหวังต่อระบบนี้ แค่นั้นเหรอ พอเราทบทวนแล้วเราก็คิดว่าไม่ได้ต้องการแบบนั้น แค่เราอาจจะรู้สึกสิ้นหวังจริงๆ ก็ได้ เลยเขียนออกมาโดยไม่รู้ตัว ในดราฟต์หลังๆ เราเลยขุดคุ้ยหาความหวังที่จะใช้ชีวิตในการต่อกรกับสังคมไทยต่อไป
ซึ่งก็มีตอนที่เราเรียนวารสารฯ (ธรรมศาสตร์ สาขาสิ่งพิมพ์) เราได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง เช่น เราได้ทำข่าวเรื่องค่าแรงยามในธรรมศาสตร์ แล้วกระบวนการทำข่าวก็มันส์มาก สามารถเล่าเป็นการ์ตูนสืบสวนได้เรื่องหนึ่ง หรืออย่างในแง่กระบวนการศึกษา เรามีปัญหากับระบบนี้มาตลอดแม้กระทั่งตอนเรียนมหาวิทยาลัย เราไม่ได้อยากเรียน เหมือนเราเรียนเพื่อให้ที่บ้านแฮปปี้ คิดจะลาออกหลายครั้งมาก แต่สุดท้ายเรากลับพบว่ามันมีกระบวนการบางอย่างที่เราไม่คาดคิด และเส้นทางทั้งหมดมันน่าเอามาเล่าได้ ซึ่งถ้าเล่าก็อาจจะสปอยล์ เพราะจะอยู่ในพาร์ทหลังของหนังสือเรื่องนี้
ภาพตัวอย่างในหนังสือ ‘การศึกษาของกระป๋องมีฝัน’
รายละเอียดในการ์ตูน บางอย่างเราก็ไม่ได้นึกถึง แต่พออ่านแล้วก็จำความรู้สึกตอนนั้นได้ทันที แสดงว่าคุณต้องฝังใจกับเรื่องพวกนี้จนจำได้แม่นมากๆ?
คนเราก็น่าจะต้องมีเรื่องที่สำคัญกับชีวิตหรือส่งผลกับเรามาจนถึงตอนโต เราก็มาพบตอนโตว่าปมด้อยส่วนใหญ่ในชีวิตเราโรงเรียนมีส่วนค่อนข้างเยอะ กระบวนการทำงานชิ้นนี้เหมือนการกลับไปเผชิญหน้ากับปมด้อยของเรา เหมือนการกลับไปทบทวนชีวิต เช่น เราเป็นคนที่ไม่มั่นใจในตัวเองมากๆ หนังสือทุกเล่มที่เราออก เราจะคิดว่าขายไม่ออกแน่ๆ เลย หรือคนต้องไม่ชอบแน่เลย หรือเราเล่นบาส เวลาลูกสำคัญๆ เราก็จะคิดว่าลูกนี้ชู้ตไม่ลงแน่เลย แล้วความคิดแบบนี้มันเหมือนเป็นอัตโนมัติที่ติดตัวเรามา
สอดรับกับที่ตั้งแต่เป็นเด็กเรามีคำถามเยอะ แต่เราไม่ค่อยเจอเพื่อนแบบเนติวิทย์ (โชติภัทร์ไพศาล) เรายังไม่เจอคนที่รู้สึกว่าเขาคิดเหมือนเรา ทำให้เรารู้สึกแปลกแยก เราเคยบอกเพื่อนว่า เรียนไปก็ไม่เห็นได้อะไร เพื่อนก็บอกว่า เออใช่ แต่ก็เรียนๆ ไปเหอะ
เคยรู้สึกว่าหรือเราเป็นคนไม่ปกติของสังคม แล้วความรู้สึกไม่ปกติหรือแปลกแยกแบบนี้มันก็ไม่หายไปง่ายๆ ตอนเราโตขึ้น โตพอที่จะคิด วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ จนทำให้เรารู้ว่าเราอาจจะไม่ใช่คนไม่ปกติก็ได้ เราก็แค่ตั้งคำถาม แต่ความรู้สึกไม่มั่นใจที่เกิดขึ้นอัตโนมัติก็ยังอยู่ เพราะมันถูกฝังมาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว แค่มันดีขึ้น
ล่าสุดเราไปสอนเวิร์คชอปเขียนการ์ตูนให้ผู้ใหญ่ ความตั้งใจคืออยากให้ผู้ใหญ่ลองเขียนการ์ตูน ลองกลับมาเป็นเด็ก สร้างจินตนาการบนหน้ากระดาษ แต่เวิร์คชอปอันนั้นล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ไม่มีความกล้าที่จะเขียนออกมา มันเห็นตั้งแต่ลายเส้น ลายเส้นเขาจะมีความไม่มั่นใจเลย เราดูภาพแล้วเรารู้เลยว่าคนนี้คิดว่าสิ่งที่กูวาดมันจะสวยไหม เรื่องที่กูเล่ามันจะสนุกไหม ดีไหม เหมาะสมไหม
ขณะเดียวกันก็มีเด็กที่มาร่วมเวิร์คชอป วาดเร็วกว่าผู้ใหญ่แบบ 20 เท่า พอนั่งบนโต๊ะก็เริ่มละเลงอย่างไวมาก แล้วลายเส้นของเขาก็มั่นใจมากๆ เราพบว่าโดยพื้นฐานเด็กมันชอบวาดรูป เด็กชอบเล่าเรื่องในจินตนาการมากๆ โดยที่ไม่ได้ตัดสินความสวยงาม แต่พอโตขึ้นมันมีความกลัว ซึ่งเราคิดว่าโรงเรียนมีผลเยอะ
วิชาศิลปะในโรงเรียนคือการวาดรูปที่ต้องสวย ต้องมีคุณค่าระดับสูงอะไรแบบนั้น ทั้งที่ความจริงศิลปะที่อยู่ในระบบการศึกษาควรเป็นศิลปะที่ไม่ยึดติดกับความสวย แต่ควรออกแบบการเรียนศิลปะที่ตอบโจทย์ต่อความสุข หรือต่อแง่จิตวิทยา หรือต่อกล้ามเนื้อมือ หรือต่อการทลายความกลัว สิ่งพวกนี้เราเพิ่งมารู้ตอนโต ความสวยมันเป็นเรื่องขี้ปะติ๋วมากๆ แม้แต่ในแวดวงการ์ตูน ความสวยมีผลน้อยมากๆ ต่อความสำเร็จในแง่วิชาชีพ เวลาที่ไปถามใครว่าทำไมไม่วาดรูปแล้ว เขาจะบอกว่าเขาเป็นคนวาดไม่สวย เราก็จะบอกว่า เออ เราก็วาดไม่สวยว่ะ (หัวเราะ)
แล้วลายเส้นคุณมาจากการต่อต้านการวาดสวยในโรงเรียนด้วยรึเปล่า?
ไม่ๆๆ (หัวเราะ) เป็นเนเจอร์เราที่เป็นคนไม่เนี้ยบ เราไม่ต่อต้านนะ ตอนช่วงประถมเราก็ตั้งใจวาด ระบายสีให้ตรงช่อง แต่ทำไปเรื่อยๆ ก็พบว่าทำได้ไม่ดีเท่าคนอื่น พอมัธยมเราก็เริ่มไม่แคร์ใคร เริ่มวาดตามใจ แล้วคะแนนศิลปะเราก็จะห่วยตลอดตั้งแต่เด็กจนโต
คณะในฝันที่อยากเรียน?
อยากเรียนคณะหนึ่งที่ยังไม่มีเปิดสอนในไทย คือคณะที่สอนเรื่องการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับประเด็นสังคมโดยเฉพาะ มันอาจจะเคยมีเวิร์คชอปแบบนี้บ้าง แต่ถ้ามีคณะแบบนี้ก็น่าจะเป็นการรวบรวมไอเดียหลากหลายรูปแบบ มีคนที่เชี่ยวชาญในแบบที่หลากหลายมารวมกัน
พูดได้ไหมว่าจุดเริ่มต้นที่ทำให้คุณหันมาสนใจประเด็นสังคม ประเด็นการเมือง ก็มาจากเรื่องการศึกษาในระบบที่คุณมีคำถามมาตั้งแต่เด็ก?
(นึกสักพัก) มันอาจจะมาพร้อมๆ กัน มันอาจจะมาเมื่อเกิดคำถามต่อระบบที่เราอยู่ แล้วมันทำให้เรามีคำถามไปสู่เรื่องอื่นๆ แล้วประกอบกับพอช่วงมหาวิทยาลัยเราอ่านหนังสือ อ่านนิตยสารเยอะ ทำให้เราสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ในรูปแบบที่กว้างขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้เจาะไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราไม่ได้รู้สึกว่าเรื่องนั้นสำคัญกว่าเรื่องนี้ ทุกเรื่องมีความสำคัญในแบบของมัน และเราก็อยากจะเล่ามันไปหมด โปรเจคต่อไปที่กำลังขอทุนอยู่ก็เป็นหนังสือการ์ตูนเกี่ยวกับเรื่องที่ดินในประเทศไทย ก็เป็นการ์ตูนแบบนอนฟิคชั่น ต้องลงพื้นที่ สัมภาษณ์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เราชอบ คล้ายๆ สารคดีเหมือนกัน
สำหรับคนที่อยากได้หนังสือ
1 สำหรับนักอ่าน รับฟรีได้ที่งานหนังสือบูธ L09 (Kai3) (จำนวน 500 เล่ม แต่สามารถขอเพิ่มได้)
- โดยเขียนโพสต์ถึงงานของสะอาด เล่มไหนก็ได้ แง่ไหนก็ได้ ผ่านช่องทางไหนก็ได้ ติดแฮชแทค #อ่านสะอาด [2] มายื่นให้พนักงานที่บูธดู
- ลงทะเบียนเป็นชื่อและอีเมล์ ไว้สำหรับแจ้งตอนที่มีเล่ม 2 ออกมา
2 คนที่อยู่ต่างจังหวัดหรือเป็นครูที่ต้องการหนังสือจำนวนมากไปใช้เป็นสื่อการสอน
สามารถอินบ๊อกซ์แจ้งชื่อ ที่อยู่ อีเมล์ เพื่อขอกับทางเพจ Thai Civic Education [3] ได้โดยตรง (ส่งฟรีและจัดส่งสัปดาห์ละครั้ง)
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนมูลนิธิ Friedrich-Ebert-Stiftung FES Thailand และ Thai Civic Education รวมถึงไก่ บอล โกพีท เนม นานา สอง กอล์ฟ
| ['ข่าว', 'สังคม', 'วัฒนธรรม', 'การศึกษา', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'ธนิสร์ วีระศักดิ์วงศ์', 'สะอาด', 'การ์ตูน', 'ระบบการศึกษา', 'ศิลปะ'] |
https://prachatai.com/print/79201 | 2018-10-18 12:41 | รร.ผุพัง ดนตรีกะฟังบ่ได้: ตร.ลาวปิดคอนเสิร์ตการกุศลเหตุขายเสื้อต้านคอร์รัปชัน | ตำรวจลาวสั่งระงับงานคอนเสิร์ตระดมทุนบริจาคให้โรงเรียนที่ขาดแคลนในชนบท เพียงเพราะไม่พอใจสโลแกน "อย่าติดสินบนเพื่อเข้าทำงาน" บนเสื้อยืด อ้างขัดต่อคำสั่งและนโยบายพรรคคอมมิวนิสต์ลาว ศิลปินเผย จนท. ที่เข้ามาคุยนั้นเมาเหล้ามาก การปิดงานเพราะเสื้อนั้นไม่สมเหตุผลทั้งที่สนับสนุนนโยบายต้านทุจริตภาครัฐโดยตรง ทางการระบุ สั่งปิดเพราะคอนเสิร์ตไม่มีใบอนุญาต
ภาพงานคอนเสิร์ต (ที่มา: Facebook/ Una Studio [1])
17 ต.ค. 2561 สื่อเรดิโอฟรีเอเชียรายงานว่าตำรวจลาวสั่งระงับงานคอนเสิร์ตระดมทุนช่วยเหลือโรงเรียนในชนบท เนื่องจากไม่พอใจคำขวัญบนเสื้อยืดที่นักร้องสวมใส่
คอนเสิร์ตระดมทุนดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ต.ค. ที่ผ่านมาในเมืองไกสอน แขวงสะหวันนะเขต ทางตอนใต้ของลาว แต่หลังจากจัดงานไปได้เพียง 40 นาที เจ้าหน้าที่ตำรวจก็เข้าไปสั่งระงับคอนเสิร์ตและพยายามจับกุมตัวผู้จัดงานซึ่งสวมเสื้อยืดพิมพ์คำขวัญ "อย่าติดสินบนเพื่อเข้าทำงาน" ตำรวจอ้างว่าคำขวัญนี้เป็นการท้าทาย "คำสั่งและนโยบาย" ของลาวที่เป็นประเทศคอมมิวนิสต์พรรคเดียว
ผู้จัดคอนเสิร์ตที่ชื่อนางระบุผ่านเฟสบุ๊กว่าเธอไม่เข้าใจว่าทำไมเสื้อยืดที่ระบุข้อความดังกล่าวจึงถือเป็นเรื่องผิดและไม่เข้าใจว่ามันขัดต่อ "คำสั่งและนโยบาย" ของรัฐบาลอย่างไร เจ้าหน้าที่ๆ เกี่ยวข้องควรจะอธิบายในเรื่องนี้ให้เธอทราบ
มีเจ้าหน้าที่ทางการลาวรายหนึ่งผู้ไม่ประสงค์ออกนามให้สัมภาษณ์ต่อเรดิโอฟรีเอเชียว่าชาวลาวเริ่มวิพากษ์วิจารณ์เจ้าหน้าที่รัฐมากขึ้นในกรณีที่มีการติดสินบนแก่เจ้าหน้าที่ทางการเพื่อให้เข้าทำงานในภาครัฐได้
สำหรับกรณีนี้ นางระบุว่ามันเป็นสิ่งที่พูดถึงกันทั่วไปในลาวและตัวนางเองก็เป็นคนที่พูดออกสื่อในประเด็นนี้รวมถึงทำการรณรงค์ต่อต้านการติดสินบนด้วยเสื้อยืดที่มีข้อความดังกล่าวด้วย
นาง และ เทอ ยูน่า นักดนตรีที่เป็นคนแสดงหลักในงานคอนเสิร์ตดังกล่าวยังเคยเผยแพร่วิดีโอที่แสดงให้เห็นสภาพทรุดโทรมของโรงเรียนที่พวกเขาหาทุนให้ ไม่ว่าจะเป็นการที่โรงเรียนไม่มีอุปกรณ์การเรียนการสอน หรือแม้กระทั่งฝากำแพง เรดิโอฟรีเอเชียระบุว่าเรื่องนี้สร้างความอับอายให้แก่เจ้าหน้าที่ทางการกระทรวงศึกษาธิการ
ในวิดีโอที่ถ่ายทอดสดทางเฟซบุ๊คนั้น เทอ ยูน่าบอกว่ามีปัญหาเรื่องสถานที่และจะมีคนมาตัดไฟในอีกไม่นาน สำหรับงานเพื่อสังคมนี้นั้นตอนแรกมีการประสานงานไปยังทางการเมืองไกสอนแล้ว แต่ต่อมากลับมีปัญหาอีก ไม่คิดว่าเรื่องเล็กน้อยจะมาหยุดสิ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างงานการกุศลนี้ ส่วนเสื้อนั้นมีขาย ไม่ได้ประมูล โดยทางวงจะนำเงินส่วนตัวไปช่วยเหลือน้องๆ ต่อไป และหวังว่าจะมีโอกาสร่วมงานกับศิลปินอื่นๆ ที่มาแล้วยังไม่ได้ขึ้นเล่นในกิจกรรมที่ดี ในพื้นที่ที่ผู้คนมีความคิดดีกว่านี้
ช่วงราวนาทีที่ 4.30 เทอ ยูน่าพูดเรื่องการปิดงาน (ที่มา: Una Studio [2])
เทอกล่าวในเฟสบุ๊กว่าถ้าหากเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่พอใจเสื้อยืดที่พวกเขานำมาขายก็ควรจะยึดเสื้อยืดไปอย่างเดียว ไม่ใช่มาสั่งปิดการแสดงซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่สมเหตุสมผล ทั้งที่เสื้อดังกล่าวออกมาเพื่อสนับสนุนนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันของภาครัฐโดยตรง และยังตั้งข้อสังเกตว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบที่มาจับกุมพวกเขานั้นเมา มีกลิ่นสุราแรงมาก ควรหรือไม่ที่ต้องให้ตำรวจนอกเครื่องแบบที่เมาเหล้ามาคุยกับคนที่มีสติสัมปชัญญะดี
"ถ้าเสื้อนี้มันผิดร้ายแรงก็พิจารณากัน แต่งานมันต้องเดินไป แล้วต้องมาสั่งหยุดงานเพราะปัญหาเท่านี้ ถ้าเสื้อตัวนั้นผิดต่อแนวทางก็ควรออกกฎหมายมาเลยว่ามิให้ทักท้วงการคอร์รัปชัน มิให้ทักท้วงปัญหาสังคม เสื้อประเภทนี้ไม่ได้ออกมาวันนี้เมื่อวาน เขาทำมาเป็นเดือนแล้ว" เทอ กล่าว
เทอชี้แจงเรื่องการปิดงาน
ทางด้านตำรวจสะหวันนะเขต พ.ต.อ.กัมโพน กล่าวว่า การจัดงานคอนเสิร์ตไม่ได้รับอนุญาตจากทางการ ถึงแม้ก่อนหน้านี้ผู้จัดงานจะเคยเขียนขออนุญาตไปก็ตาม ซึ่งในเรื่องนี้เทออธิบายว่าเป็นเพราะระบบราชการ พวกเธอยื่นเรื่องไปเมื่อบ่ายวันศุกร์ซึ่งใกล้กับเวลาปิดสำนักงาน ทำให้ไม่ได้รับอนุญาต
แหล่งข่าวกล่าวต่อเรดิโอฟรีเอเชียว่าการทุจริตคอร์รัปชันในหมู่ข้าราชการระดับสูงในลาวเป็นปัญหาที่แพร่กระจายไปทั่ว โดยที่ในปี 2560 ลาวถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 135 จากทั้งหมด 180 ในดัชนีว่าด้วยการทุจริตคอร์รัปชันขององค์กรด้านความโปร่งใส Transparency International
เรียบเรียงจาก
Lao Police Shut Down Concert Raising Funds For Rural School, Radio Free Asia [3], Oct. 16, 2018
| ['ข่าว', 'การศึกษา', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'ต่างประเทศ', 'การติดสินบน', 'คอนเสิร์ตระดมทุน', 'โรงเรียนในชนบท', 'การทุจริตคอร์รัปชัน', 'ลาว'] |
https://prachatai.com/print/79202 | 2018-10-18 14:19 | ผู้ติดเชื้อ HIV เร่งยาต้านต้องเข้าระบบอาทิตย์นี้ แนะประกันสังคมโอนเรื่องสุขภาพรวมกับบัตรทอง | เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทยเร่งยาต้านต้องเข้าระบบภายในอาทิตย์นี้ แนะประกันสังคมโอนเรื่องสุขภาพรวมกับบัตรทอง
18 ต.ค.2561 จากกรณีที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ชี้แจงว่า จะเร่งดำเนินการจัดซื้อยาต้านไวรัสในระบบประกันสังคม หลังจากที่โรงพยาบาลหลายแห่งจ่ายยาต้านไวรัสให้กับผู้ติดเชื้อฯ ได้น้อยลงนั้น
ล่าสุดวันนี้ อภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้ได้ข่าวมาว่า สปส. สั่งซื้อยาต้านไวรัสกับองค์การเภสัชกรรม (อภ.) แล้วสำหรับใช้ภายใน 6 เดือน และในวันนี้ (18 ต.ค.61) สปส.จะไปตรวจรับยาที่ อภ. โดยทาง อภ.จะจัดส่งยาต้านไวรัสให้กับโรงพยาบาลต่อไป ซึ่งภายในสัปดาห์นี้ ยาน่าจะไปถึงทุกโรงพยาบาลอย่างเต็มระบบ
“เราทราบมาว่าปลัดกระทรวงแรงงานยินดีเซ็นสั่งซื้อยา แต่ต้องการเห็นการทำเอกสารที่ถูกต้องของ สปส. หากเป็นเช่นนี้ ความเป็นมืออาชีพในการสั่งซื้อยาน่าจะมีปัญหา ดังนั้น สปส.ต้องพัฒนาระบบ หรือกำลังคนให้พร้อมมากขึ้นในการจัดซื้อยา หรืออาจเลือกทำเฉพาะประเด็นที่ถนัด เช่น การคุ้มครองแรงงาน ส่วนเรื่องสุขภาพก็ให้หน่วยงานอื่นทำ เพราะถ้าหวงเอาไว้ ผู้ป่วยก็มีความเสี่ยงที่จะเข้าไม่ถึงยา หรือการรักษา” อภิวัฒน์ กล่าว
'ผู้ติดเชื้อ HIV' โวยประกันสังคมไม่เบิกจ่าย ส่งผล รพ.ไม่มียาต้านฯ - ด้านประกันสังคมแจงช้าเหตุจัดซื้อต้องใช้เวลา [1]
ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ให้ความเห็นว่า เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ไม่ต้องการเห็นการแก้ปัญหาของ สปส.เป็นรายวัน หรือรายกรณี แต่ต้องการเห็นการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยการจัดซื้อยาต้านฯ ควรจัดซื้อเป็นรายปี และมีระบบที่ติดตามได้อย่างชัดเจน แต่หาก สปส.ไม่มีประสบการณ์ในการจัดซื้อยา เสนอให้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับกองทุนเอดส์ในระบบหลักประกันสุขภาพ หรือรวมกองทุนสุขภาพ 2 กองทุนนี้เข้าไว้ด้วยกัน เพราะหากมีการรวมกองทุน จะเป็นการเพิ่มอำนาจการต่อรองที่มากขึ้น และราคายาก็น่าจะถูกลง เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อยา
“เรายังต้องการคำตอบของ สปส.ว่าจะมีสำนึกรับผิดชอบต่อผู้ประกันตนในการเข้าถึงยาอย่างไร ที่ผู้ประกันตนบางคนต้องไปซื้อยามารับประทานเองก่อน โดยต้องบอกช่องทางในการรับเงินคืนที่ชัดเจนว่าสามารถติดต่อได้ที่ไหน อย่างไร ส่วนผู้ประกันตนที่ติดเชื้อฯ ให้ไปติดต่อโรงพยาบาลตามสิทธิของตนว่ายามาถึงโรงพยาบาลแล้วหรือไม่ แล้วแจ้งข่าวกลับมายังเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ เพื่อจะได้เห็นสถานการณ์ร่วมกัน” อภิวัฒน์ กล่าว
คำชี้แจงของรักษาการเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เมื่อวันที่ 12 ต.ค.ที่ผ่านมา
| ['ข่าว', 'คุณภาพชีวิต', 'บัตรทอง', 'ประกันสังคม', 'อภิวัฒน์ กวางแก้ว', 'เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย', 'ยาต้านไวรัส'] |
https://prachatai.com/print/79200 | 2018-10-18 12:31 | หุ่นจำลองยางพาราเช็คปริมาณรังสีรักษามะเร็ง สกว.หนุนนักวิจัยพัฒนา-ราคาถูกกว่านำเข้าสิบเท่า | สกว.สนับสนุนนักวิจัย ม.นเรศวร พัฒนาหุ่นจำลองยางพาราสำหรับตรวจสอบความถูกต้องปริมาณรังสีจากการรักษาโรคมะเร็ง ต้นทุนถูกกว่านำเข้าถึงสิบเท่า มาตรฐานเทียบเท่าสากล แข็งแรงทนทาน สามารถปรับตำแหน่งการวัดรังสีได้หลายตำแหน่ง ช่วยลดการสูญเสียที่อาจเกิดจากความผิดพลาดของปริมาณรังสีที่ใช้รักษา
ใช้หุ่นทดสอบค่าปริมาณรังสีกับเครื่องเร่งอนุภาค ( LINAC) หรือเครื่องฉายแสง
18 ต.ค.2561 ผศ.ดร.นันทวัฒน์ อู่ดี คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยถึงโครงการวิจัย “หุ่นจำลองยางพาราสำหรับตรวจสอบความถูกต้องปริมาณรังสีจากการรักษาโรคมะเร็งด้วยเทคนิคการรักษาสามมิติ” ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ว่าในระยะแรกตนและคณะผู้วิจัยได้พัฒนาหุ่นจำลองด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติระบบฉีดเส้นพลาสติกที่ภายในบรรจุยางพารา ซึ่งมีความหนาแน่นใกล้เคียงเนื้อเยื่อมนุษย์เพื่อนำมาใช้ในการเป็นแม่พิมพ์หุ่นจำลอง โดยออกแบบให้หุ่นจำลองมีรูปร่างตามที่ต้องการ เป็นการพัฒนาหุ่นจำลองทางรังสีรักษาขนาดมาตรฐานสำหรับตรวจสอบปริมาณรังสีก่อนการรักษาผู้ป่วยจริงได้ โดยสร้างหุ่นจำลองศีรษะและลำคอรูปทรงกระบอก สำหรับการรักษาผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอเพื่อลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้จากการให้ปริมาณรังสีที่ผิดพลาด
ต่อมาในระยะที่ 2 คณะผู้วิจัยพัฒนาหุ่นจำลองศีรษะและลำคอขนาดมาตรฐานจากน้ำยางพาราธรรมชาติ ประกอบด้วย เนื้อยางพาราสำหรับสร้างแทนเนื้อเยื่อ โพรงอากาศ และแคลเซียมคาร์บอเนตผสมกับเรซินสำหรับสร้างแทนกระดูก ภายในมีช่องสำหรับใส่อุปกรณ์วัดรังสีชนิดไอออไนเซชัน ฟิล์มวัดรังสี และหัววัดรังสีเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ ที่สามารถใช้ได้จริงและเป็นแนวทางในการนำหุ่นจำลองไปประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบค่าปริมาณรังสีในเทคนิคการรักษาขั้นสูงต่อไปเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด
หุ่นจำลองที่สร้างขึ้นสามารถใช้ในการประเมินค่าปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการวางแผนการรักษาทั้งแบบสองมิติ สามมิติ เทคนิคปรับความเข้มรังสี (IMRT) และเทคนิคปรับความเข้มรังสีเชิงปริมาตร (VMAT) ผ่านการทดสอบคุณสมบัติเชิงกลตามมาตรฐานสากลทั้งความคงทนแข็งแรง ความเหนียว ความยืดหยุ่น ความหนาแน่น อายุการใช้งานยาวนาน อีกทั้งยังผ่านการทดสอบเพื่อประเมินค่าปริมาณรังสีในหุ่นจำลองใช้เครื่องเร่งอนุภาคพลังงาน 6 ล้านโวลต์ ด้วยแผนการรักษาแบบสองมิติและสามมิติจากเครื่องคอมพิวเตอร์วางแผนการรักษา การวิเคราะห์ความถูกต้องของการวัดค่าปริมาณรังสีในหุ่นจำลองที่สร้างขึ้นใช้วิธีด้วยการเปรียบเทียบค่าปริมาณรังสีที่แพทย์กำหนด ระหว่างการวัดค่าปริมาณรังสีในหุ่นจำลองที่สร้างขึ้นและคอมพิวเตอร์วางแผนการรักษา
ตรวจสอบตำแหน่งที่จะใช้รังสีรักษา
งานวิจัยดังกล่าว ดร.ศรารัตน์ มหาศรานนท์ นักวิจัยร่วมโครงการจากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ช่วยพัฒนาสูตรหุ่นจำลองจากน้ำยางพาราธรรมชาติ ด้วยองค์ประกอบสำคัญที่มีไฮโดรคาร์บอนเป็นหลัก และยังมีกรดไขมัน คาร์โบไฮเดรต อนินทรีย์สารน้อยกว่าร้อยละ 1 จึงมีความใกล้เคียงกับเนื้อเยื่อของมนุษย์ นอกจากนี้นักวิจัยยังใช้สารเคมีเป็นสายโซ่เชื่อมโยงโมเลกุลให้หุ่นจำลองที่พัฒนาขึ้นมีความแข็งแรง ไม่มีฟองอากาศภายใน ทนต่อแรงกดแรงดึง นำความร้อนได้ช้า ทนต่อการเสื่อมสลายด้วยความร้อนจากรังสียูวีและแสงไฟในห้อง โดยทำการทดสอบเชิงกลนานถึง 6 เดือนจนมั่นใจ
ผศ.ดร.นันทวัฒน์ กล่าวว่า งานวิจัยในระยะแรกใช้เวลา 3 ปี เพื่อพัฒนาสูตรยางพาราให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงเนื้อเยื่อมนุษย์ โดยสร้างหุ่นจำลองสำหรับตรวจสอบความถูกต้องปริมาณรังสีจากการรักษามะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ต่อมาได้พัฒนาหุ่นจำลองศีรษะและลำคอที่มีโครงสร้างอวัยวะภายในต่าง ๆ ตามมาตรฐานของผู้ป่วยที่ โดยนำมาใช้งานทดแทนการนำเข้าหุ่นจำลองที่ทำจากพลาสติกและมีต้นทุนสูงกว่างานของเราถึง 10 เท่า แต่ไม่สามารถปรับสูตรหรือดัดแปลงให้ใช้ได้กับอวัยวะที่หลากหลาย รวมถึงตำแหน่งใส่หัววัดรังสีได้ ขณะที่หุ่นจำลองที่เราพัฒนาขึ้นมีความยืดหยุ่น ปรับตำแหน่งได้ตามที่ต้องการ ประเมินความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ 3 โดยหุ่นจำลองสำหรับตรวจสอบการรักษาโรคมะเร็งศีรษะและลำคอด้วยเทคนิคการรักษาขั้นสูงแบบ IMRT จะช่วยให้นักฟิสิกส์การแพทย์ นักรังสีเทคนิคและแพทย์สามารถทราบค่าปริมาณรังสีที่ให้ผู้ป่วยก่อนการรักษาจริง เพื่อลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้จากการจัดท่าผู้ป่วยเพื่อการรักษา การคำนวณปริมาณรังสีด้วยระบบคอมพิวเตอร์วางแผนการรักษาหรือเครื่องเร่งอนุภาค (LINAC) ได้ เพราะหุ่นจำลองมีความหนาแน่นและความสม่ำเสมอใกล้เคียงกับเนื้อเยื่อมนุษย์ สามารถสร้างภาพสามมิติเพื่อวางแผนการรักษาได้เหมือนกับผู้ป่วยจริง ซึ่งหากไม่เป็นไปตามแผนก็จะได้แก้ไขก่อนการรักษาจริงต่อไป
“ปัจจุบันหุ่นจำลองได้ถูกนำไปใช้ที่หน่วยรังสีรักษา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ตลอดจนโรงพยาบาลและศูนย์มะเร็งต่าง ๆ ก็สามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดยใช้ได้ทั้งมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งสมอง หรือส่วนต่าง ๆ ของศีรษะและลำคอ และในอนาคตจะพัฒนาต่อให้สามารถตรวจผลการรักษามะเร็งปอด ลำตัวช่วงบนและช่วงล่าง รวมทั้งการประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคอื่น ๆ ด้วย ทั้งนี้ อาจขยายผลนำไปใช้ในกลุ่มประเทศอาเซียนที่เพิ่งเริ่มมีเครื่องฉายรังสีแต่ยังไม่มีหุ่นจำลองตรวจสอบปริมาณรังสี และการต่อยอดขยายผลในเชิงพาณิชย์ตามคำแนะนำของ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี” ผศ.ดร.นันทวัฒน์ กล่าว
| ['ข่าว', 'คุณภาพชีวิต', 'วิทยาศาสตร์', 'หุ่นจำลองยางพารา', 'ปริมาณรังสี', 'โรคมะเร็ง', 'สกว.', 'นันทวัฒน์ อู่ดี', 'ศรารัตน์ มหาศรานนท์'] |
https://prachatai.com/print/79204 | 2018-10-18 16:09 | ผบ.ทอ. ชี้ไม่มีใครอยากรัฐประหาร ย้ำถ้าทุกคนอยู่ในกติกา จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น | พล.อ.ประวิตร เชื่อคำพูดของ ผบ.ทบ. ไม่ใช่การขู่ทำรัฐประหาร ย้ำถ้าบ้านเมืองสงบเรียบร้อยก็ไม่มีอะไรต้องห่วง ผบ.ทอ. เผย ถ้าทุกคนร่วมใจกันอยู่ในกติกา ก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น ยันทหารจะวางตัวเป็นการทางการเมือง ด้านจตุพร พรหมพันธุ์ เสนอปิดทางรัฐประหาร ขอทุกฝ่ายร่วมมือกัน ย้ำถ้าผู้มีอำนาจต้องลาออกจากการเป็นกรรมการ ก่อนเป็นผู้เล่นทางการเมือง หมอเหวงชัด รปห. เฉพาะรัฐบาลไทยรักไทย กับเพื่อไทย แต่พอเป็นรัฐบาลประชาธิปัตย์ทหารเลือกยิงประชาชน
ที่มาภาพจาก: เว็บไซต์กองทัพอากาศ
18 ต.ค. 2561 สืบเนื่องจากกรณีที่ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ผบ.ทบ. ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน วานนี้(17 ต.ค.) โดยตอบคำถามสื่อฯ ที่ถามว่า จะมีการรัฐประหารเกิดขึ้นอีกหรือไม่ ว่า "ผมมั่นใจว่าถ้าการเมืองไม่เป็นต้นเหตุการจลาจล ก็ไม่มีอะไร"
ล่าสุดวันนี้ สำนักข่าวไทย [1] รายงานว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.อภิรัชต์ ระบุ อาจมีรัฐประหาร หากการเมืองเป็นต้นเหตุให้เกิดการจลาจล ว่า เป็นการพูดถึงเรื่องในอนาคต ดังนั้นขออย่ากังวล
“หากพิจารณาที่ผู้บัญชาการทหารบกพูด คือ หากบ้านเมืองสงบเรียบร้อย ก็ไม่มีอะไร ดังนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่ส่วนตัวเชื่อว่าคงไม่เกิดขึ้นเหมือนในอดีต การออกมาพูดของผู้บัญชาการทหารบกเป็นการพูดความจริง ไม่ได้ออกมาขู่ และเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อบรรยากาศที่กำลังเข้าสู่การเลือกตั้งในขณะนี้ รวมถึงความเชื่อมั่นของฝ่ายต่าง ๆ เพราะตลอด 5 ปีที่ผ่านมา บ้านเมืองก็สงบเรียบร้อย ซึ่งผู้บัญชาการเหล่าทัพก็ได้ติดตามเรื่องนี้อยู่” พล.อ.ประวิตร กล่าว
ส่วนหลังการเลือกตั้ง หากมีความวุ่นวายเกิดขึ้น เช่น ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า รอให้เกิดขึ้นก่อน และไม่ตอบว่ามีแผนรองรับแล้วหรือไม่
ผบ.ทอ. ย้ำถ้าทุกคนร่วมใจอยู่ในกติกา ก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น ยันทหารจะวางตัวเป็นการทางการเมือง
วันเดียวกัน พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวด้วยว่า ผู้บัญชาการทหารบก พูดมีเหตุผล ตนเชื่อว่าทหารและทุกคนเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ในรัฐบาล ประชาชนทั่วไป หรือ ทหาร ไม่มีใครอยากปฏิวัติอยู่แล้ว เรามีหน้าที่รักษาความสงบ ความมั่นคง ถ้าทุกคนร่วมใจกันอยู่ในกติกา ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นอยู่แล้ว เชื่อว่าในอนาคตก็ไม่มีใครอยากทำ
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากในอนาคตบ้านเมืองถึงวิกฤติ กองทัพพร้อมที่จะเข้ามารักษาความสงบหรือไม่นั้น พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ กล่าวว่า เหล่าทัพมีหน้าที่รักษาความสงบตามกรอบ โดยเฉพาะเรื่องการดูแลการเลือกตั้ง เมื่อไม่มีความสงบ ตำรวจก็ทำงานอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ไหว ก็จะเป็นทหาร ซึ่งเป็นกติกาปกติ เชื่อว่าทุกคนที่ผ่านประสบการณ์ทั้งหมดมา อยากเลือกตั้ง อยากมีรัฐบาลที่ดี จะได้เดินหน้าต่อไป ไม่มีใครต้องการให้ไม่มีความสงบเกิดขึ้น ตนเชื่ออย่างนั้นจริง ๆ
เมื่อถามถึงกรณีที่ฝ่ายการเมืองออกมาตอบโต้ โดยกล่าวหาว่าทหารเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างสถานการณ์ความวุ่นวายขึ้น เพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการทำปฏิวัติรัฐประหาร พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ กล่าวว่า เกินไปหรือไม่ ส่วนตัวไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น สิ่งที่เกิดตรงหน้าจริง ๆ ถ้ามีหน้าที่ปฏิบัติ ก็คงต้องทำ แต่ว่าคำถามที่ถามลึกเกินไป ตนไม่ทราบรายละเอียดว่าใครเป็นคนทำ และส่วนตัวไม่คิดว่าอยากจะให้มันเกิดขึ้นอีกด้วยซ้ำ ต้องช่วยกันจริงจัง เราจะได้เดินหน้าสักที
ส่วนเรื่องกำชับกำลังพลให้วางตัวเป็นกลางทางการเมือง พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ทุกคนคิดได้หมด ไม่ว่าจะพูดอย่างไร แต่จะต้องปฏิบัติด้วย การอบรมให้ข้าราชการมีประชาธิปไตยในการเลือกตั้ง คือสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้ว และกองทัพอากาศก็ส่งเสริมอยู่แล้ว หน้าที่ของทหารที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล คือรักษาความสงบ ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็ไม่มีใครอยากปฏิวัติ ส่วนเรื่องการอบรมให้ใช้ประชาธิปไตย ก็ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ และได้สั่งการให้ทบทวนอย่างละเอียดในเรื่องกำลังพลและสิทธิของพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่จะเข้ามาชี้แจงนโยบายเพื่อให้เกิดความยุติธรรม
“ทหารทำตามกรอบ ส่งเสริมให้ทุกคนไปเลือกตั้งและยืนยันว่าจะเป็นกลางและพร้อม 100% ให้พรรคการเมืองเข้ามาหาเสียงในหน่วยทหาร เพียงแต่ว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความยุติธรรม เพราะจากการอยู่หน่วยทหารต่างจังหวัด เคยปฏิบัติเรื่องนี้มาก่อน ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ทหาร แต่ปัญหาคือบางพรรคการเมืองเท่านั้นที่ใช้เวลาไม่เท่ากันในการมาหาเสียง ทั้งนี้ได้คาดโทษจริงจังสำหรับกำลังพลที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ซึ่งได้สั่งการเรื่องนี้บ่อยมาก เพราะจะไปทำอย่างนั้นไม่ได้” พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ กล่าว
ขณะเดียวกัน มติชน [2] รายงานด้วยว่า พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ระบุว่า ผบ.ทบ. ได้พูดชัดเจนแล้ว ตนไม่ต้องการขยายความ เพราะท่านระบุชัดแล้วว่า หากประเทศไม่มีความขัดแย้งอีกแล้ว ไม่มีการใชกำลังกัน พรรคการเมืองใช้อำนาจในทางที่ถูกโดยไม่ขัดแย้งกันก็จะไม่เกิดอะไรขึ้น
จตุพร เสนอปิดทางรัฐประหาร ขอทุกฝ่ายร่วมมือกัน ย้ำถ้าผู้มีอำนาจต้องลาออกจากการเป็นกรรมการ ก่อนเป็นผู้เล่นทางการเมือง
ขณะที่ วานนี้ [3] ไทยโพสต์ รายงานว่า จตุพร พรหมพันธุ์ ประธานนปช. กล่าวถึงกรณีการให้สมัภาษณ์ของ พล.อ.อภิรัชต์ ว่า สิ่งที่เราพยายามตลอดเวลา ก็คือการชวนให้ทุกฝ่ายได้คุยกัน เพราะว่าประเทศถูกฟรีซด้วยคำว่าสงบมานาน ทุกคนเข้าใจตามที่นายกฯ ประกาศว่าจะต้องไม่มีการชุมนุมเหมือนดังเดิม เหมือนเช่นในอดีต เพราะฉะนั้นเพื่อให้บ้านเมืองได้เดินต่อไปข้างหน้า ประชาชนทุกฝ่ายต้องคุยกัน ทั้งพรรคการเมือง กลุ่มผู้มีอำนาจ รวมทั้งภาคประชาชน โดยต้องคุยกันเพื่อหาทางออกให้กับชาติบ้านเมือง ไม่ใช่คุยกันเพื่อเปลี่ยนจุดยืน แต่คุยกันเพื่อให้อยู่รวมกันได้ สาระหลักวันนี้ ประชาชนจะต้องคิดอ่านไม่ให้ทุกอย่างถูกหยิบมาเป็นเงื่อนไข คือการคุยกัน ตกลงกัน เป็นสัญญาประชาคม ส่วนจุดยืนทางการเมืองแต่ละฝ่ายก็รักษาจุดยืนทางการเมืองกันเหมือนเดิม
“ดังนั้นถ้าบ้านเมืองสงบ ก็ไม่มีใครมาการันตีเรื่องการรัฐประหาร ทุกอย่างก็เดินตามครรลองที่ควรจะเป็น ที่ ผบ.ทบ. พูดก็ภายใต้สถานการณ์ที่จะถูกหยิบมาเป็นเงื่อนไข ดังนั้นถ้าทุกฝ่ายไม่สร้างเงื่อนไขขึ้นมา มันก็ไม่เกิดสถานการณ์อย่างที่ว่า ทางที่ดีผบ.ทบ. อาจจะเป็นคนเริ่มหาทางกออกพูดคุยกับทุกฝ่าย ที่เป็นคนไทย เราจะได้พาชาติพ้นวิกฤต ผมไม่อยากให้มองการพูดของผบ.ทบ. เป็นการปรามหรือขู่อะไร แต่ควรจะคิดร่วมกันหาทางออกกันดีกว่า ทุกฝ่ายต้องเริ่มที่ตัวเองคือไม่สร้างเงื่อนไขอย่างที่ผบ.ทบ. ได้แสดงความห่วงใยออกมา” ประธานนปช. กล่าว
เมื่อถามว่าการไม่ยอมรับการเลือกตั้งจะเป็นเงื่อนไขให้เกิดการรัฐประหาร จตุพร กล่าวว่า เราพยายามเสนอทางออกกันมาตั้งแต่ต้น ถ้าคนที่มีอำนาจต้องจะเป็นผู้เล่น ก็ต้องลาออกจากบทกรรมการ เพราะกรรมการจะควบตำแหน่งผู้เล่นไม่ได้ มันจะเป็นหนทางนำไปสู่วิกฤต คือวิธีการทำให้การเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับ นั่นคือจะต้องสุจริตและเที่ยงธรรม ตามคำขวัญของกกต. ถามว่าจะทำได้อย่างไร ก็ต้องเสียสละ คือถ้าคสช. มีความประสงค์ หรือคนในรัฐบาลมีความประสงค์ จะลงมาในฐานะผู้เล่น ก็ต้องลาออกจากบทของกรรมการอย่างเด็ดขาด แล้วปล่อยให้กกต. ได้ทำหน้าที่อย่างมีอิสระ
“ดังนั้น ถ้าต้องการจะลดเงื่อนไขไม่ให้เกิดปัญหาตามที่ ผบ.ทบ. ได้แสดงความห่วงใย ก็ต้องเริ่มต้นจากผู้มีอำนาจก่อน ว่าถ้าประสงค์จะเข้าสู่ฐานะผู้เล่น ก็ต้องเลิกจากการเป็นกรรมการ ปัญหาก็จะจบ ถ้าทุกฝ่ายได้คุยกัน ตกผลึกร่วมกัน ให้สังคมได้กำกับดูแล เชื่อว่าประเทศจะข้ามพ้นไปได้” จตุพร กล่าว
หมอเหวงซัด รัฐประหารเฉพาะไทยรักไทย กับเพื่อไทย แต่พอเป็นรัฐบาลประชาธิปปัตย์ทหารเลือกยิงประชาชน
ส่วน นพ.เหวง โตจิราการ อดีต ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ตั้งข้อสังเกตถึงคำพูดที่ว่า หากไม่มีเหตุจลาจล ก็จะไม่มีการทำรัฐประหาร ผ่านเฟสบุ๊กว่า ในปี 2549 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาชุมนุม ในปี 2551-2553 กลุ่มแนวร่วมประธิปไตยต่อต้านเผด็จการออกมาชุมนุม และใน 2556-2557 กลุ่ม กปปส. ออกมาชุมนุม แต่กลับมีการรัฐประหารเกิดขึ้นเฉพาะปี 2549 และ 2557 เท่านั้น ขณะที่ปี 2553 ทหารในนาม ศอฉ. กลับลั่นกระสุนสงครามสังหารประชาชน ไม่ได้ทำการรัฐประหารโค่น รัฐบาลอภิสิทธิ์ ทั้งที่ ผบ.ทบ. เองก็เป็นนายทหารผู้ปฎิบัติการใน 3 เหตุการณ์ จึงตั้งข้อสังเกตุได้ว่า การรัฐประหารจะเกิดเฉพาะกับฝั่ง ไทยรักไทย และเพื่อไทย ใช่หรือไม่
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'อภิรัชต์ คงสมพงษ์', 'ประวิตร วงษ์สุวรรณ', 'ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน', 'จตุพร พรหมพันธุ์ เหวง โตจิราการ', 'การทำรัฐประหาร', 'การขู่รัฐประหาร'] |
https://prachatai.com/print/79205 | 2018-10-18 17:17 | คาดใช้งบฯ 600 ล้าน อุ้มแก๊สโซฮอล์ลิตรละ 3 บ. ช่วยวินมอ'ไซค์ถือบัตรคนจน | รัฐบาลเตรียมออกมาตรการช่วยวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ลดราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลล์ 95 ให้ต่ำกว่าปกติถึงลิตรละ 3 บาท เพื่อไม่ให้ฉวยโอกาสปรับขึ้นค่าโดยสารกับประชาชน ด้านกรมธุรกิจพลังงาน เผยรอรายชื่อวินมอเตอร์ไซค์ถือบัตรคนจน จากกระทรวงการคลังก่อนเดินหน้าลดราคาแก๊สโซฮอล์คาดมีผล ธ.ค.นี้
18 ต.ค.2561 วานนี้ (17 ต.ค.61) โพสต์ทูเดย์ รายงานว่า สมบูรณ์ หน่อแก้ว รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า มาตรการช่วยเหลือลดค่าครองชีพประชาชนให้กับรถจักรยานยนต์รับจ้างที่ถือบัตรสวัสดิการ จะได้รับส่วนลดแก๊สโซฮอล์ 95 ในอัตรา 3 บาท/ลิตร โดยใช้เงินอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 300 กว่าล้านบาท/ปี และผู้ค้ามาตรา 7 อีก 300 ล้านบาท/ปี ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการทำงานร่วมกันคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วและสามารถเริ่มดำเนินการได้เร็วๆ นี้ ทั้งนี้ การช่วยเหลือเบื้องต้นจะให้ส่วนลดกับผู้ถือบัตรสวัสดิการประชารัฐและใบอนุญาตขับจักรยานยนต์รับจ้าง ที่มีทั่วประเทศประมาณ 1 แสนคัน ให้ได้รับส่วนลดน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ในอัตราลิตรละ 3 บาท ไม่เกิน 5 ลิตร/ วัน คิดเป็นส่วนลดรวม 15 บาท/วัน หรือ 450 บาท/เดือน ซึ่งคิดเป็นเงิน 45 ล้านบาท หรือ 540 ล้านบาท/ปี
นันธิกา ทังสุพานิช อธิบดี ธพ. กล่าวว่า อยู่ระหว่างรอกระทรวงการคลังเป็นผู้สรุปตัวเลขจำนวนรถจักรยานยนต์รับจ้างที่ขึ้นทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกเป็นผู้ขับขี่รถรับจ้าง และขึ้นทะเบียนกับกระทรวงการคลังว่าเป็นผู้มีรายได้น้อยหรือ ผู้ที่บัตรคนจน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่กระทรวงจะเข้าไปให้การช่วยเหลือ
ขณะที่ Workpoint News [1] รายงานด้วยว่า แหล่งข่าวจากกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า มาตรการช่วยเหลือลดค่าครองชีพประชาชนให้กับรถจักรยานยนต์รับจ้างที่ถือบัตรสวัสดิการ จะใช้เงินอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 300 กว่าล้านบาทต่อปี และผู้ค้ามาตรา 7 อีก 300 ล้านบาทต่อปี ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้
ทั้งนี้ มีรายงานข่าวเพิ่มเติมอีกว่า การช่วยเหลือเบื้องต้นจะให้ส่วนลดกับผู้ถือบัตรสวัสดิการประชารัฐและใบอนุญาตขับจักรยานยนต์รับจ้าง โดยนำร่องจากรถจักรยานยนต์รับจ้าง ประมาณ 300,000 คันทั่วประเทศ ที่ลงทะเบียนรับจ้างกับกรมขนส่งทางบกและผู้ถือบัตรผู้มีรายได้น้อย (บัตรคนจน) ให้มีผลเดือนธันวาคมนี้ ก่อนขยายไปให้ประชาชนที่ใช้รถจักรยานยนต์ทั่วไป ให้ได้รับส่วนลดน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ในอัตราลิตรละ 3 บาท ไม่เกิน 5 ลิตรต่อวัน คิดเป็นส่วนลดรวม 15 บาทต่อวัน หรือ 450 บาทต่อเดือน ซึ่งคิดเป็นเงิน 45 ล้านบาท หรือ 540 ล้านบาทต่อปี
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'เศรษฐกิจ', 'วินมอเตอร์ไซค์', 'มาตรการช่วยเหลือลดค่าครองชีพประชาชน', 'รถจักรยานยนต์รับจ้าง', 'บัตรคนจน'] |
https://prachatai.com/print/79206 | 2018-10-18 20:01 | 'ต้านคอร์รัปชัน' จัดวงเสวนา เผยหลายปมผิดปกติสร้างเทอร์มินอล 2 สุวรรณภูมิ- จี้คลังกำกับจริงจัง | เลขาธิการสภาสถาปนิก เผย ความไม่ชอบมาพากลปมก่อสร้างเทอร์มินอล 2 สุวรรณภูมิ ชี้เป็นเพราะเหตุผลทางธุรกิจ ด้าน ผอ.วิจัย TDRI จี้ กระทรวงการคลังกำกับดูแลจริงจัง ประธานสภาอุตฯท่องเที่ยวไทยย้ำต้องเอาผู้โดยสารเป็นที่ตั้งและให้ความสำคัญนักท่องเที่ยว
18 ต.ค. 2561 องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน รายงานว่า ที่โรงแรมดุสิตธานี องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงานเสวนา ‘สุวรรณภูมิ สนามบิน 1 ใน 3 ของโลก… ฝันหรือเป็นได้จริง?’ โดยมี พล.อ.ต.ม.ล.ประกิตติ เกษมสันต์ เลขาธิการสภาสถาปนิก, ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผอ.วิจัย TDRI, ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ผู้แทนโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST) และนายอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เข้าร่วมเสวนา มี ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เป็นผู้ดำเนินรายการ
เลขาฯสภาสถาปนิก เผยสารพัดความไม่ชอบมาพากล ชี้เป็นเหตุผลทางธุรกิจ
พล.อ.ต.ม.ล.ประกิตติ เกษมสันต์ เลขาธิการสภาสถาปนิก กล่าวว่า บทบาทของสภาสถาปนิกไม่ต้องการเป็นฝ่ายค้านในเรื่องเกี่ยวกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. จัดประมูลก่อสร้างเทอร์มินอล 2 ของสนามบินสุวรรณภูมิ อย่างที่หลายฝ่ายเข้าใจ แต่ต้องการนำเสนอข้อมูลเพื่อตรวจสอบ รักษาผลประโยชน์ของชาติเท่านั้น เพราะวัตถุประสงค์หลักของสภาสถาปนิกคือทำหน้าที่ควบคุมวิชาชีพ และให้คำปรึกษารัฐบาล
ในส่วนการออกแบบก่อสร้างเทอร์มินอล 2 ของสนามบินสุวรรณภูมินั้น สภาสถาปนิก ได้ให้ความเห็นหลายประเด็น โดยเฉพาะการบริหารโครงการโดยไม่มีผลการศึกษามารองรับ และไม่เป็นไปตามแผนแม่บท ซึ่งเมื่อมีการประกาศผล ประธานคณะกรรมการคัดเลือกฯ ยืนยันว่า กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างถูกต้อง ขณะที่พบว่าได้เกิดปัญหาหลายประการขึ้น
พล.อ.ต.ม.ล.ประกิตติ เกษมสันต์ เลขาธิการสภาสถาปนิก
“หลังจากนั้นมีข้อมูลเข้ามาทั้งเชิงลึก และด้านเทคนิค ในฐานะสภาสถาปนิกไม่ได้รอบรู้เรื่องราวทั้งหมดของสนามบิน แค่มองภาพรวม จึงได้รวบรวมข้อมูล และทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ให้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง สำหรับเหตุผลที่ตัดสินใจแบบนี้ คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องผลตอบแทนทางด้านธุรกิจ เพราะตามข้อเท็จจริงแล้วเราต้องคัดเลือกในเชิงคุณภาพ และควรต้องมีการศึกษาก่อนว่าควรสร้างเทอร์มินอล 2 จริงหรือไม่ ทั้งรันเวย์ หลุมจอด พื้นที่รองรับผู้โดยสาร” เลขาธิการสภาสถาปนิก กล่าว
ผอ.วิจัย TDRI ร้องคลังกำกับดูแลจริงจัง ถ้าอยากเป็น 1 ใน 3 ของโลก
ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผอ.วิจัย TDRI กล่าวว่า ถ้าดูตามการจัดอันดับโลกของ Skytrex จะเห็นได้ว่า สนามบินสุวรรณภูมิติดอันดับ 36 โดยได้คะแนนเพียง 3 ดาว จาก 5 ดาว เพราะการบริหารจัดการคน และการรอคอยการขึ้นเครื่องบินยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร สาเหตุสำคัญ คือ กระทรวงการคลัง ยังไม่ได้กำกับดูแล ทอท.อย่างจริงจัง
ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผอ.วิจัย TDRI
“ดังนั้นสนามบินสุวรรณภูมิ จะติด 1 ใน 3 ของโลกได้จริงหรือไม่ อยู่ที่คนกำกับว่าจะเอาจริงหรือไม่ ถ้าเอาจริง ก็เป็นไปได้ ส่วนสำนักงานการบินพลเรือน ต้องกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของทุกอย่างในสนามบิน ออกหลักเกณฑ์ค่าธรรมเนียมให้สอดคล้องกับคุณภาพ ต้องเปิดเผยรายงาน และคุณภาพให้ประชาชนรับทราบ ถ้า 2 อย่างนี้ทำไม่ได้ ก็คงเป็นความฝัน” ดร.เดือนเด่น กล่าว
ปธ.สภาอุตฯท่องเที่ยวยันต้องเอาผู้โดยสารเป็นที่ตั้ง-ให้ความสำคัญนักท่องเที่ยว
อิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สนามบินถือเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ และสนามบินที่ใฝ่ฝัน คือ การพัฒนาระบบเทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ มารองรับผู้ใช้บริการ การพัฒนาสนามบินต้องมองหลายมิติ และยึดผู้โดยสารเป็นที่ตั้ง
อิทธิฤทธิ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันสนามบินสุวรรณภูมิ ติดอันดับที่ 36 ของสนามบินระดับโลก ก่อนหน้านั้นไม่กี่ปีเคยขึ้นมาถึงอันดับ 10 แต่ก็ตกลงเรื่อย ๆ ขณะที่สนามบินประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาไปรวดเร็วมาก สำหรับประเทศไทยจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพ และการจัดระเบียบสิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งจำเป็นต่างๆในสนามบินอย่างเหมาะสม อาทิ การเช็คอิน การต่อเครื่องบิน ฝ่ายตรวจคนเข้าเมือง และ การช็อปปิ้งแบบดิวตี้ฟรี
อิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
“ทำไมให้ความสำคัญกับดิวตี้ฟรีมาก เพราะว่า นักท่องเที่ยวอยากเจออะไรใหม่ ๆ หรือประสบการณ์ใหม่ ๆ แต่ก็ต้องดูตามความเหมาะสมของสถานที่ หรือปริมาณของร้านค้าที่มี โดยไม่เบียดบังจำนวนที่นั่งพักผ่อนของผู้โดยสาร และต้องเอาผู้โดยสารเป็นที่ตั้ง เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญที่สำหรับนักท่องเที่ยว” อิทธิฤทธิ์ กล่าว
‘ต่อตระกูล’ชี้เทอร์มินอล 2 สุวรรณภูมิทำคนไทยตื่นรู้ - ร้องภาครัฐเปิดข้อมูลต่อสาธารณะ
ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ผู้แทนโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST) กล่าวว่า โอกาสที่สนามบินสุวรรณภูมิจะติด 1 ใน 3 ของโลก น่าจะเป็นศูนย์ หรือแม้แต่จะติด 1 ใน 10 ก็น่าจะเป็นไปได้ยาก หากกระทรวงการคลังยังบริหารจัดการล้าสมัยอยู่ ซึ่งจำเป็นต้องปรับใหม่ และสิ่งสำคัญที่อยากเรียกร้อง คือ การเปิดเผยข้อมูลโครงการนี้ต่อสาธารณะด้วยเพื่อความโปร่งใส ทั้งนี้เห็นว่าบทบาทภาครัฐเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะยังค่อนข้างน้อย
ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ผู้แทนโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST)
“โครงการนี้ทำให้คนไทยตื่นรู้เลยว่า เกิดปัญหาความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นหรือไม่ และเป็นโครงการแรกที่ไม่ให้ความร่วมมือมากที่สุด มีที่มาเป็นอย่างไร มีการศึกษาอย่างไร แต่กลับไม่เผยแพร่บนเว็บไซต์ อ้างว่า ยังไม่ได้นำเรียนคณะรัฐมนตรี ทั้งที่ไม่เกี่ยวกัน ดังนั้นไม่ใช่แค่โครงการนี้ แต่อีกหลายโครงการ ถ้า ทอท. เปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ มีการวางแผนใหม่ ยอมรับคำวิจารณ์แล้วปรับแก้ อาจทำให้ปรับตัวได้” ต่อตระกูล กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามกำหนดการเดิมปรากฏชื่อ ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) แต่ภายหลังมีการแจ้งว่า ไม่สะดวกที่จะมาร่วมงาน และไม่ได้ส่งผู้แทนมาร่วมแต่อย่างใด
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'เศรษฐกิจ', 'องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน', 'เดือนเด่น นิคมบริรักษ์', 'สุวรรณภูมิ', 'ประกิตติ เกษมสันต์', 'ต่อตระกูล ยมนาค'] |
https://prachatai.com/print/79208 | 2018-10-18 21:31 | เปิดคำพิพากษายกฟ้อง 112 หนุ่มโพสต์ขายเหรียญ หลัง ร.9 สวรรคต แต่เอาผิด พ.ร.บ.คอมฯ | ศูนย์ทนายความฯ และไอลอว์ เปิดคำพิพากษายกฟ้องคดีหมิ่นกษัตริย์ หนุ่มโพสต์ขายเหรียญ 10 ในราคา 5 บาท หลังรัชกาลที่ 9 สวรรคต แต่เอาผิด พ.ร.บ.คอมฯ ฐานนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ ศาลเห็นว่า จำเลยไม่มีเจตนาจะขายจริง และทำให้ผู้ใช้เฟสบุ๊กในกลุ่มขายของมือ 2 กว่า 9 หมื่นคนมีความสับสน
หากยังจำได้เมื่อ 2 ปีก่อนหลังจากที่กษัตริย์รัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2559 ภายใต้บรรยากาศแห่งสูญเสีย และความโศกเศร้าที่ปกคลุมทั่วราชอาณาจักรไทย ความรุนแรงที่รัฐมีอาจความควมคุมได้คือ ความรุนแรงที่เกิดของจากประชาชน ที่มุ่งหมายกระทำกับประชาชนที่มีความแตกต่างทางความคิด ซึ่งไม่ได้แสดงความเศร้าโศกตามความคาดหวังว่า ‘คนไทยควรจะเป็น’ ก็ก่อตัวขึ้น ในหนึ่งหลายกรณีคือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ เค นามสมมติ หนุ่มโรงงานในจังหวัดชลบุรี (เวลานั้นเขามีอายุเพียง 19 ปี) หลังจากเขาใช้เฟสบุ๊กส่วนตัวโพสต์ขายเหรียญกษาปณ์ในกลุ่มขายของมือสอง เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2559 ซึ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าวเห็นว่าไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลานั้น
18 ต.ค. 2559 เวลา 11.00 น. เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'คนข่าวบางปะกง' ได้เผยแพร่ภาพประชาชนบุกจับกุมตัวชายวัยรุ่นจากห้องพักแห่งหนึ่งแล้วนำตัวมากราบขอขมาต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ขณะที่เขาคุกเข่า และก้มกราบขอขมาต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์กลุ่มประชาชนที่จับตัวเขามาก็ได้เข้าใช้กำลังรุ่มทำร้าย ทั้งตบหัว เตะ และถีบ
คนข่าวบางประกง ได้เผยแพร่ภาพสดทางเฟซบุ๊ก live โดยเขียนบรรยายภาพเหตุการณ์ว่า
"โพสต์หมิ่นเบื้องสูง ชาวบ้านเค้ารับไม่ได้ เลยช่วยกันตามล่าตัวจนเจอ และนำมากราบขอขมาต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ จะด้วยความคึกคะนองหรือมึนเมาแอดไม่ทราบนะครับ แต่ที่ทราบคือสังคมได้ลงโทษเค้าแล้ว แถมโดนไล่ออกจากงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คิดต่าง เห็นต่างได้ แต่อย่าลืม ว่าเรามีพ่อคนเดียวกัน"
ประชาทัณฑ์คนงานวัยรุ่นชลบุรี ถูกกล่าวหาโพสต์หมิ่นฯ [1]
'ฟ้าเดียวกัน' ชวนระดมทุนประกันตัวคนงานเมืองชลฯ ผู้ถูกล่าแม่มดและถูกจองจำ [2]
หนุ่มโรงงานชลบุรี ผู้ต้องหาคดี 112 ที่ถูกประชาทัณฑ์ได้รับการประกัน [3]
ภาพเหตุการณ์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ได้ไม่นานก็ถูกลบออก และ เค ก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัว เพื่อสอบสวน และพิจารณาขอศาลออกมาหมายจับในวันที่ 19 ต.ค. 2559
เหตุที่ เค ถูกจับตัวมากระทำการดังกล่าวได้เป็นเพราะมีมวลชนจำนวนหนึ่งเดินทางไปปิดล้อมบริษัทที่เขาทำงานอยู่ จนทำให้หัวหน้างานของเขาจำเป็นต้องบอกที่อยู่ให้มวลชนที่มาปิดล้อมทราบ หลังจากนั้นพวกเขาก็ได้ไปตามหาตัว เค จนเจอ
เคถูกตั้งข้อกล่าวว่ากระทำความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) เนื่องจากโพสต์เฟสบุ๊กว่าจะขายเหรียญกษาปณ์ เขาถูกฝากขังที่เรือนจำจังหวัดชลบุรีตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค.2559 กระทั่งได้รับความช่วยเหลือทางคดีจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และได้รับการประตัวโดยใช้หลักทรัพย์ที่รวมรวบผ่านการบริจาคจาก สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน เป็นเงินทั้งสิ้น 2 แสนบาท ในวันที่ 22 พ.ย. 2559 เขาใช้เวลาต่อสู้คดีถึง 1 ปี 8 เดือนนับจากวันที่ถูกฝากขัง
ในกระบวนการพิจารณาคดี เค ยอมรับต่อศาลว่า ได้โพสต์ข้อความตามที่ถูกฟ้องจริง แต่ไม่ได้มีเจตนาดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ในการต่อสู้คดีนี้ "เค" เบิกความต่อศาลว่า การโพสต์ขายเหรียญนั้นเป็นการโพสต์เล่นๆ ไม่ตั้งใจจะขายจริง เพราะเห็นว่า ก่อนหน้านี้มีคนนำเหรียญและธนบัตรมาโพสต์ขายกันในเพจนี้จำนวนมาก และเมื่อถูกตำหนิก็แสดงความเห็นไปโดยเจตนาตอบโต้คนที่เข้ามาตำหนิ ไม่ได้เจตนาดูหมิ่นรัชกาลที่ 9 หลังจากนั้นเห็นว่ามีคนมาตำหนิก็จึงลบโพสต์ทันที เพราะกลัวคนเข้าใจผิด แต่มีคนถ่ายภาพหน้าจอไว้ แล้วเอาไปโพสต์ซ้ำในเพจพร้อมเชิญชวนให้คนมาทำร้าย ก่อนเกิดเหตุไม่เคยฝักใฝ่ทางการเมือง ไม่รู้และไม่เข้าใจเรื่องทางการเมือง วันเกิดเหตุมีคนทั้งชายและหญิงบุกเข้ามาที่หอพักพร้อมทำร้ายที่ใบหน้าและร่างกาย ก่อนจะถูกล็อคคอลงมาด้านล่างเพื่อบังคับให้กราบพระบรมฉายาลักษณ์ ระหว่างนั้นก็ถูกทำร้ายตลอด จนตำรวจเข้ามาพาตัวไป มิเช่นนั้นก็จะถูกทำร้ายเพิ่มเติมอีก
เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2561 ศาลพิพากษาให้จำเลยมีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) ให้จำคุก 8 เดือน ส่วนข้อหาหมิ่นกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้ยกฟ้อง คดีนี้ยังอยู่ระหว่างชั้นอุทธรณ์ เคขอปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์โดยเพิ่มหลักทรัพย์ประกันตัวเป็น 270,000 บาท
คำพิพากษาของศาลจังหวัดชลบุรี พอสรุปได้ดังนี้
ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า จำเลยใช้โทรศัพท์มือถือโพสต์ขายเหรียญกษาปณ์ชนิดต่างๆ ที่ปรากฏพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพร้อมข้อความประกอบ และแสดงความคิดเห็น มีปัญหาต้องวินิจฉัยเพียงประการเดียวว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่
ศาลเห็นว่า เหรียญกษาปณ์เป็นเงินตราประเภทหนึ่ง ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เหรียญกษาปณ์แต่ละชนิดที่นำออกใช้จะมีมูลค่าเท่าใดขึ้นอยู่กับราคาซึ่งกำหนดไว้หน้าเหรียญ เหรียญกษาปณ์เป็นสังหาริมทรัพย์ที่สามารถนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ ในฐานะที่เป็นทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปหาไว้เป็นของสะสม ราคาของเหรียญในฐานที่เป็นทรัพย์สินย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการหรือความนิยมของผู้ซื้อและความพอใจของผู้ขาย ราคาขายจึงอาจสูงหรือต่ำกว่าราคาที่หน้าเหรียญ การขายเหรียญในราคาที่ต่ำกว่าราคาหน้าเหรียญจึงมีผลเพียงแต่ลดทอนมูลค่าของเหรียญกษาปณ์ แต่ไม่มีผลเป็นการลดทอนคุณค่าในเชิงสัญลักษณ์บนเหรียญกษาปณ์ที่แสดงถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์แต่อย่างใด
ทั้งการที่พสกนิกรชาวไทยซึ่งอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชต่างรักเคารพเทิดทูนพระองค์ท่าน ก็โดยเหตุที่ว่า ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติ ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอันมีคุณประโยชน์ต่อพสกนิกรชาวไทยนานัปการ ความรักเคารพเทิดทูนของพสกนิกรชาวไทยที่มีต่อพระองค์ท่านจจึงไม่แปรผันไปตามมูลค่าของเหรียญกษาปณ์ที่สูงขึ้นหรือต่ำลง การที่จำเลยโพสต์ภาพเหรียญกษาปณ์ชนิดต่างๆ พร้อมข้อความประกาศขายเหรียญทั้งหมดในราคาเดียว ไม่ว่าจะมีเจตนาขายเหรียญกษาปณ์นั้นหรือไม่ จึงไม่เป็นการใส่ความพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่่น่าจะทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ไม่เป็นการดูถูกเหยียดหยามพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
จำเลยต้องการโพสต์เพื่อสร้างความตลก แต่ผู้ที่รับสารไม่ได้คิดแบบเดียวกัน เมื่อถูกตำหนิจำเลยจึงโกรธ และแสดงความคิดเห็นโดยใช้คำสรรพนามไม่สุภาพต่อว่าผู้ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่การหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาดมาดร้ายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาดมาดร้ายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นว่า “เหมาเหรียญ 10 เหรียญละ 5 บาท ใช่ไหมคะ” ซึ่งเป็นการสอบถามในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการขายโดยตรง จำเลยกลับไม่ตอบ แต่ตอบโต้คนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นในทางตำหนิจำเลยทันที แสดงเจตนาที่อยู่ภายในใจว่า จำเลยมิได้มีเจตนาจะขายเหรียญจริง โพสต์ของจำเลยจึงเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยหลอกลวง การกระทำของจำเลยมีผลเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของเพจ ทำให้ประชาชนที่เป็นสมาชิกของเพจที่มีอยู่ประมาณ 90,000 คน และผู้ดูแลรู้สึกสับสน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (1)
ในระหว่างการพิจารณาคดีนี้ ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2560 ยกเลิกความในมาตรา 14 เดิม และให้ใช้ความใหม่แทน ปรากฏว่า กฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลย
พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (1) ที่แก้ไขใหม่ ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุ 19 ปี เห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษลงหนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญมาตรา 76 จำคุก 1 ปี คำรับสารภาพในชั้นสอบสวนและทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้างนับเป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คงจำคุก 8 เดือน ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก
เรียบเรียงจาก: ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน [4] , iLaw [5]
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'ม.112', 'ประชาทัณฑ์', 'โพสต์ขายเหรียญ', 'พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560', 'หนุ่มโรงงานชลบุรี'] |
https://prachatai.com/print/79209 | 2018-10-18 22:53 | โสภณ พรโชคชัย: ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี: ผิดพลาดร้ายแรง | ยุทธศาสตร์ชาติ [1] (พ.ศ. 2561 - 2580) ที่เพิ่งลงในราชกิจจานุเบกษานั้น มีจุดอ่อนมากมายที่ทางราชการควรทบทวน ผมจึงขออนุญาตนำเสนอความเห็นเพื่อประโยชน์ของชาติ
หน้า คำนำ: รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาล
ผิด: จะมีธรรมาภิบาลได้อย่างไรในเมื่อยุทธศาสตร์ชาตินี้กำหนดโดยคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากประชาชน และจะมาบังคับใช้กับประชาชนไปอีก 20 ปีโดยขาดการตรวจสอบ
หน้า 1: อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2560 ที่ร้อยละ 3.9 ถือว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าศักยภาพ. . .มีสาเหตุหลักจาก. . .สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวได้เต็มที่
ผิด: ความจริงเศรษฐกิจโลกโตเร็วกว่าเศรษฐกิจไทยต่างหาก (http://bit.ly/2lelmbB [2]) ที่ไทยโตช้าเพราะการสร้างสถานการณ์วุ่นวายในประเทศเพื่อนำไปสู่รัฐประหารต่างหาก ประเทศในอาเซียนเติบโตกว่าไทยแทบทั้งสิ้น (https://goo.gl/UmPXtr [3])
หน้า 2: ประเด็นท้าทายต่อการสร้างบรรยากาศความไว้วางใจระหว่างรัฐกับประชาชนและระหว่างประชาชนกับประชาชน ซึ่งรวมถึงการสร้างความสามัคคีของคนในชาติที่จะนําไปสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประชากรไทยที่มีแนวคิดและความเชื่อที่แตกต่างกันอย่างยั่งยืน
ผิด: การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต้องอยู่บนพื้นฐานที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตย แต่นี่แต่งตั้ง สว. กันเอง และให้คนเหล่านี้ยกมือตั้งนายกรัฐมนตรีได้ องค์กร (ไม่) อิสระก็ไม่ผ่านความเห็นชอบของประชาชน ไม่อาจเป็นที่พึ่งของประชาชน ประเทศไม่เป็นประชาธิปไตย นี่คือปมความขัดแย้งที่ไม่ได้แก้จึงทำให้ไม่เกิดความสามัคคีของคนในชาติ
หน้า 2: การขยายอิทธิพลและการเพิ่มบทบาทของประเทศมหาอํานาจ ที่อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบหลายขั้วอํานาจ หรือเกิดการย้ายขั้วอํานาจทางเศรษฐกิจ
ผิด: ในยุทธศาสตร์ชาติเขียนอย่างนี้ แต่ใน พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ กลับให้มหาอำนาจซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ 100% ไม่ต้องเสียภาษี ให้นักวิชาชีพต่างชาติมาแย่งงานคนไทยได้ สามารถใช้เงินตราต่างประเทศในไทยได้ ฯลฯ อย่างนี้เท่ากับไทยสยบยอมต่อมหาอำนาจหรือไม่
หน้า 5: “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ผิด: เป็นไปไม่ได้เพราะงบประมาณสวัสดิการของประชาชนคิดเป็นเพียงร้อยละ 42 ของประมาณสวัสดิการทั้งหมด ทั้งที่มีจำนวนผู้ที่ใช้บริการมากกว่าถึงเกือบ 9 เท่า (https://bit.ly/2yHs0ju [4]) สภาวะที่ข้าราชการประจำเอาเปรียบประชาชนเช่นนี้ ทำให้คนไทยจนลง ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้นต่างหาก (http://bit.ly/2xYuOLP [5]) ต่างจากในยุคประชาธิปไตยที่ประชาชนมีรายได้มากขึ้น เช่น การจำนำพืชผลทางการเกษตร
หน้า 8: เป้าหมายการพัฒนาประเทศที่ว่า “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน”
ผิด: การที่ประเทศไม่เป็นประชาธิปไตย มีคนที่ได้เปรียบมาบริหารประเทศโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากประชาชน ประชาชนไม่มีสิทธิ ไม่มีเสียง จะบรรลุเป้าหมายข้างต้นไม่ได้แน่นอน ขีดความสามารถก็จะไม่พัฒนา ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคมก็จะไม่บังเกิดขึ้นได้เลย
หน้า 11: ยกระดับขีดความสามารถของกองทัพหน่วยงานด้านความมั่นคง รวมทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ให้มีความพร้อมและเพียงพอในการป้องกันและรักษาอธิปไตยของประเทศ
ผิด: การที่ประเทศไทยมีจำนวนนายพลนับพันคนหรือมากกว่ากองทัพสหรัฐอเมริกา (https://bit.ly/2Ae2qog [6] https://bit.ly/2P5pqxN [7]) แสดงว่าไทยใช้งบประมาณเพื่อข้าราชการมากเกินไป ทำให้ขาดความมั่นคงของประเทศและประชาชนต่างหาก
หน้า 12: ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง
ผิด: เพราะเป็นตัวแปรที่กว้าง ไม่สามารถใช้ชีวัดอะไรได้เป็นชิ้นเป็นอัน เช่น 3.1 ความสุขของประชากรไทย 3.2 ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ 3.3 ความพร้อมของกองทัพ. . .3.4 บทบาทและการยอมรับในด้านความมั่นคงของไทยในประชาคมระหว่างประเทศ 3.5 ประสิทธิภาพการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม
หน้า 13-14: การพัฒนาและเสริมสร้างการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มีเสถียรภาพและมีธรรมาภิบาล เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าประโยชน์ส่วนตน. . .การบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาลสากล. . . สามารถจัดการเลือกตั้งได้อย่างสุจริตและเที่ยงธรรม. . .
ผิด: ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ยังยึดโยงกับกลุ่มผู้มีอำนาจ สามารถแต่งตั้ง สว. และองค์กรอิสระได้ ยังสามารถ "สืบทอดอำนาจ" ได้ การโฆษณาชวนเชื่อว่าตนเองเป็นคนดีมีคุณธรรมสูงกว่านักการเมือง ก็เป็นสิ่งที่ผิดขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว
หน้า 21: เป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 2.1 ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน 2.2 ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น
ผิด: ยุทธศาสตร์ที่เขียนไว้ ไม่ได้ประกันอะไรได้เลยว่าไทยเราจะไม่ด้อยลงกว่าต่างชาติ เมื่อก่อนเศรษฐกิจไทยพอๆ กับหลายชาติ แต่ก็ถูกชาติอื่นแซงไป ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี สิงคโปร์ จีน มาเลเซีย และในอนาคตอาจเป็นเวียดนาม อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ยุทธศาสตร์นี้จะทำให้สามารถแข่งขันได้จริงหรือ จะเห็นได้ว่าประเทศที่เริ่มเป็นประชาธิปไตยจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น เมียนมา อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
หน้า 34: ที่ว่า “คนไทยในอนาคตจะต้องมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์อดออม โอบอ้อมอารีมีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติมีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21. . ."
ผิด: นี่เป็นตัวอย่างของการเขียนไปเรื่อย ถ้าคนไทยไม่มีลักษณะเช่นนี้อยู่แล้ว คงสิ้นชาติไปนานแล้ว คนที่ไม่มัธยัสถ์อดออม ไม่มีจิตสาธารณะ ขาดศีลธรรม ปล้นชิงและเสพติดอำนาจล้วนแต่เป็นข้าราชการประจำระดับสูงที่สร้างปัญหาให้แก่ชาติต่างหาก
หน้า 35: เป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ 2.1 คนไทยเป็นคนดีคนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสําหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 2.2 สังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อและสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต โดยมี ตัวชี้วัด 3.1 การพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาวะ และความเป็นอยู่ที่ดีของคนไทย 3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3.3 การพัฒนาสังคมและครอบครัวไทย
ผิด: เป็นการเขียนที่ไม่เป็นรูปธรรม วัดอะไรไม่ได้เลย ไม่อาจถือเป็นยุทธศาสตร์ของชาติได้เลย
หน้า 35: การสร้างความเข้มแข็งในสถาบันทางศาสนา เพื่อเผยแผ่หลักคําสอนที่ดีงามให้แก่ประชาชน. . .
ผิด: ที่ผ่านมา แม้แต่การตั้งสังฆราชที่คณะสงฆ์เห็นชอบ ทางราชการก็แทรกแซง ถือเป็นการครอบงำวงการศาสนา บ่อนทำลายความเข้มแข็งของสถาบันศาสนาหรือไม่
หน้า 36: การสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมที่พึงประสงค์จากภาคธุรกิจ โดยกระตุ้นให้ภาคธุรกิจมีการบริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาล พัฒนาสร้างความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคมของคนทุกคนในบริษัททั้งพนักงานและลูกค้า ปรับเปลี่ยนทัศนคติการคํานวณผลตอบแทนให้คํานึงถึงต้นทุนทางสังคม. . .
ผิด: ถ้าทางราชการไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ภาคเอกชนก็มีธรรมาภิบาล ไม่ต้องเจียดกำไรไปให้ข้าราชการทุจริต แต่ที่ผ่านมาดัชนีความโปร่งใสของไทยก็ยังต่ำมากหลังรัฐประหารผ่านมา 4 ปีแล้วก็ตาม (https://bit.ly/2AftB1M [8])
หน้า 38: การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษาในทุกระดับ ทุกประเภท จัดให้มีมาตรฐานขั้นต่ำของโรงเรียนในทุกระดับ จัดโครงสร้างการจัดการการศึกษาเพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์และให้เอื้อต่อการเข้าถึงการศึกษาอย่างเสมอภาค ทั่วถึง. . .ยกระดับสถาบันการศึกษาในสาขาที่มีความเชี่ยวชาญสู่ความเป็นเลิศ . . .
ผิด: สิ่งที่เขียนส่งเดชไว้ ไม่ได้มีหลักประกันใดๆ หรืออะไรชี้วัดได้เลยว่าจะมีการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริง
หน้า 41: การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย
ผิด: ที่เขียนในยุทธศาสตร์ นอกประเด็นทั้งสิ้น ประชาชนอยู่ดีกินดี ต้องมีการประกันราคาพืชผล มีสวัสดิการรักษาพยาบาลที่ดี มีการทำลายวงจรอุบาทว์ที่ทำให้คนไทยยากจนลง เช่น ปราบปรามยาบ้า หวยใต้ดิน บ่อนเถื่อน แต่รัฐบาลหลังรัฐประหารไม่ได้ดำเนินการจริงจัง ยังคงมีเกลื่อนเมือง
หน้า 41: การส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ผิด: ที่เขียนเป็นคุ้งเป็นแควในยุทธศาสตร์ไม่ได้มีประเด็นการเลือกผู้ว่าฯ นายอำเภอ ยังคงส่งเสริมให้ราชการส่วนกลางไปครอบงำท้องถิ่น แล้วประชาชนจะมีส่วนร่วมอะไรได้
หน้า 45: ปฏิรูประบบภาษีและการคุ้มครองผู้บริโภค
ผิด: ที่ผ่านมาไม่ได้ลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน ภาษีมรดกที่ออกมาก็ผิดเพี้ยน ปกป้องคนรวย เก็บภาษีจริงแทบไม่ได้ (https://bit.ly/2Afv7Rw [9]) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างก็ร่างไม่เสร็จสักที อาจไม่ทันรัฐบาลนี้ ผิดเพี้ยน และปกป้องคนรวยเช่นเดิม โดยมีข้อยกเว้นสารพัด (https://bit.ly/2Ov2PeD [10])
หน้า 47: การกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี
ผิด: อ้างกระจายความเจริญ แต่แท้จริงแล้ว กลับเป็นการพัฒนาที่สะเปะสะปะ ไร้ทิศทาง อย่างเช่น พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ก็ไม่มีผังเมือง ควรมีผังเมือง มีการเวนคืนก่อนมีเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่ที่ "เตะถ่วง" นี้ก็เพื่อเอื้อเอกชนรายใหญ่ให้รวบรวมที่ดินมาขออนุญาตสร้างเมืองใหม่โดยไม่ต้องผ่านการประมูลหรือไม่
หน้า 51: สร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อสร้างประชาธิปไตยชุมชนโดยสนับสนุนให้ประชาชนสามารถรวมกลุ่มและมีเวทีกลางเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและเพื่อปรึกษาหารือ. . .
ผิด: แทนที่จะให้มีการเลือกตัวแทนของประชาชน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อปท. นายอำเภอ ผู้ว่าฯ กลับไพล่ไปเสนอการมีส่วนร่วมแบบฉาบฉวย เบี่ยงประเด็น และไม่มีพื้นฐานความเป็นประชาธิปไตย
หน้า 52: อนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ให้คนรุ่นต่อไปได้ใช้อย่างยั่งยืน มีสมดุล
ผิด: ไม่มีการปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าอย่างจริงจัง ชาวบ้านยังบุกรุกถางถางป่าเพื่อปลูกพืชไร่ขายแก่นายทุนใหญ่ กลับคิดแต่จะทำในสิ่งที่ไม่มีแก่นสารเท่าที่ควรแต่ประดิษฐ์ประดอยคำพูดให้ดูสวยงาม
หน้า 58: จัดทําแผนผังภูมินิเวศเพื่อการพัฒนาเมือง ชนบท พื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม รวมถึงพื้นที่อนุรักษ์ตามศักยภาพและความเหมาะสมทางภูมินิเวศอย่างเป็นเอกภาพ
ผิด: ที่ผ่านมาเรามีผังเมืองที่ผิดเพี้ยน หมดอายุ แทนที่จะรีบแก้ ก็สั่งให้ไม่มีวันหมดอายุ การผังเมืองล้าหลัง ก็ไม่ได้มียุทธศาสตร์การพัฒนาให้ทันนานาอารยประเทศใดๆ เลย แล้วยุทธศาสตร์ที่ออกมานี้จะได้ประโยชน์อะไร
หน้า 60: พัฒนาการจัดการน้ำเชิงลุ่มน้ำทั้งระบบเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำของประเทศ
ผิด: สิ่งที่เขียนเป็นเพียงคำพูดหรูๆ ไม่มีอะไรใหม่ ไม่มียุทธศาสตร์การจัดการป้องกันภัยหน้าน้ำท่วมฝนแล้งซ้ำซากด้วยการสร้างเขื่อน หรือจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเหมาะสม ยังคงปล่อยให้น้ำไหลทิ้งลงทะเลอย่างสูญเปล่า
หน้า 65: ภาครัฐมีขนาดที่เล็กลง พร้อมปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง (และ) ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ผิด: ไม่มีแผนการชัดเจนแม้แต่น้อยในการลดขนาดภาครัฐ มีแต่เพิ่มขนาดมากขึ้น พร้อมสวัสดิการมากมาย บุคลากรภาครัฐยังไม่มียุทธศาสตร์ "รับใช้ประชาชน" แม้แต่คำเดียว มีแต่ลักษณะเป็นเจ้าคนนายคนมากขึ้นทุกวัน นี่คงเป็นสาเหตุที่ทำให้ดัชนีความโปร่งใสของไทยไมได้กระเตื้องขึ้นนัก
หน้า 70: บุคลากรและหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเคารพและยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่พึงได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
ผิด: ที่ผ่านมามีการยึดอำนาจ บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมไม่เคยคัดค้านหรือทัดทาน สิ่งที่ไม่มีในยุทธศาสตร์ชาติก็คือ ผู้พิพากษาควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่แน่นอนเช่นอารยประเทศ (http://bit.ly/2ck3lVN [11])
อาจกล่าวได้ว่าในเอกสาร 72 หน้าของยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) นั้น ได้แต่เขียนยาว เยิ่นเย้อ โดยไม่มีสาระสำคัญอะไรเท่าที่ควร กว้างๆ แคบๆ ดูคล้ายการเอานโยบายและแผนของส่วนราชการต่าง ๆ มาปะติดปะต่อกันมากกว่าจะมีความเป็นยุทธศาสตร์ที่แท้จริง ไม่น่าจะเป็นเรื่องระดับยุทธศาสตร์ของชาติ ไม่มีสาระที่เป็นชิ้นเป็นอันเท่าที่ควร
ที่น่าคิดไปกว่านั้นก็คือ ยุทธศาสตร์ชาติที่ผ่านการร่างโดยคณะกรรมการ (https://bit.ly/2CmAxvF [12]) คงใช้จ่ายเงินไปนับร้อยล้านบาท แถมจะอยู่ต่อได้อีก 5 ปี มันคุ้มค่าหรือ
| ['บทความ', 'การเมือง', 'เศรษฐกิจ', 'สังคม', 'ยุทธศาสตร์ชาติ', 'โสภณ พรโชคชัย'] |
https://prachatai.com/print/79210 | 2018-10-18 22:58 | ใบตองแห้ง: พรรคพลังยุทธศาสตร์ | ยุทธศาสตร์ชาติประกาศใช้แล้ว แหล่งข่าวใน คสช. ไม่รู้ใคร ให้สัมภาษณ์ย้อนคนวิจารณ์ ไล่กลับไปอ่านหนังสือให้แตก ว่ายุทธศาสตร์ชาติพูดถึงอะไร อุตส่าห์เขียนไว้ให้ประเทศพัฒนา ไม่รักชาติก็อย่าแสดงทัศนะบ่อนทำลายชาติ ไม่สร้างสรรค์ ทำลายความคาดหวังอีกต่างหาก
แปลว่าประชาชนต้องก้มกราบ คสช.ผู้มีพระคุณ ใช้ปืนรถถังยึดอำนาจ แล้วกำหนดยุทธศาสตร์ชาติไว้ให้ 20 ปี ต้องทำสิ่งดีๆ ตามที่คณะรัฐประหารท่านสั่งไว้ ชั่วลูกชั่วหลาน ผิดจากนี้ไม่ใช่เรา เอาโทษได้ถึงขั้นออกจากตำแหน่ง ไม่เว้นแม้รัฐบาลที่ประชาชนเลือก
ยุทธศาสตร์ชาติไม่ดีตรงไหน โอ๊ย ไม่มีหรอก เขียนไว้แต่สิ่งสวยหรูขายฝัน อย่างที่ บรรยง พงษ์พานิช ชี้ว่าเป็น “wish list ที่เขียนทุกอย่างยัดลงไปตามจินตนาการแคบๆ ของคนเขียน ไม่มีกลยุทธ์ ไม่มี priority ไม่มีหลักใหญ่ ไม่พูดถึงการปรับและพัฒนากลไกสถาบัน ถ้าทำตามทุกอย่าง เจ๊งแน่ เพราะทรัพยากรมีไม่พอ ถ้าไม่ทำตาม ก็ผิดกฎหมาย(ยกเว้นเขาว่าไม่ผิด) ไม่เรียกโซ่ตรวนไม่รู้จะเรียกอะไร”
อันไหนอร่อยก็ซอยลงๆ ในหม้อใบใหญ่ เขียนแบบนี้ใครก็เขียนได้ สำคัญที่อำนาจบังคับต่างหาก บังคับให้ทำตาม หรือตีความว่าทำผิด ซึ่งมีโทษสาหัสสากรรจ์ ถ้าคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติชี้ว่าหัวหน้าหน่วยงานรัฐไม่ทำตาม ก็มีอำนาจร้อง ป.ป.ช.ลงโทษ โดยแค่ชี้มูล ก็อาจถูกสั่งพักราชการหรือออกจากราชการไว้ก่อน
ยิ่งกว่านั้น ในช่วง 5 ปีแรก ที่วุฒิสภามาจาก คสช.ตั้ง ถ้าเห็นว่าคณะรัฐมนตรีไม่ทำตาม ให้วุฒิสภาส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แล้วส่งให้ ป.ป.ช.ส่งศาลฎีกา ถ้าศาลรับฟ้อง คณะรัฐมนตรีต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ถ้าศาลชี้ผิด มีโทษทั้งตกเก้าอี้ เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และถูกเอาผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่
กลับไปอ่านหนังสือให้แตก wish list ที่ฟุ้งเฟ้อสวยหรู ที่แท้คือถ้อยคำอาบยาพิษ ใช้ตีความเอาผิดการเมืองฝ่ายตรงข้าม
หรือถ้าใช้คำพูด ไพศาล พืชมงคล ก็คือ “อภินิหารทางกฎหมาย” ดูรายชื่อแล้วต้องร้องจ๊าก โดยเฉพาะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ “ที่จะอยู่ในตำแหน่งสืบทอดอำนาจ คุมอำนาจเหนือรัฐบาลต่อไป”
ไม่รู้ไพศาลจ๊ากชื่อใคร แต่ชาวบ้านร้องจ๊าก เมื่อเห็นชื่อ อุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ สุวิทย์ เมษินทรีย์ รองหัวหน้าพรรค หมอพลเดช ปิ่นประทีป ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษาทางใจ ผู้ไม่รู้ไม่เห็นแต่นัดอดีต ส.ส.ปชป.ไปพบก่อนรับตำแหน่งในรัฐบาล ใน กทม. และ ในพรรค
นอกจากนี้ ยังมี ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ เป็นกรรมการโดยตำแหน่งในฐานะประธานสภาเกษตรกร พร้อมกับลูกชายเป็นกรรมการบริหารพรรค
ช่างน่านับถือจริงๆ เป็นกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เขียนโน่นเขียนนี่บังคับ นักการเมืองไม่ทำมีความผิด ถึงพ้นตำแหน่ง ถึงติดคุก แล้วตัวเองก็ไปเป็นนักการเมือง โดยมีคำอธิบายว่า เป็นคนดี แยกแยะได้ ถ้าบังเอิญเป็นฝ่ายค้านก็จะไม่ใช้วิธีสกปรกจัญไรอย่างนี้ล้มรัฐบาล
ถามว่าต้องลาออกไหม พี่หมอพลเดช คนตุลาผู้ร่วมงานคณะรัฐประหารมา 2 ครั้ง ตามทฤษฎีแมวสีไหนก็จับหนูได้ ให้สัมภาษณ์ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่เห็นเป็นไร แยกแยะได้ แค่ไปร่วมตั้งพรรค ไม่ได้ลง ส.ส. ไม่มีอำนาจบริหารพรรค
อ้าว อุตตมกับสุวิทย์ว่าไง พี่หมอโยนให้ เป็นหัวหน้ารองหัวหน้ายังควบกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้?
แต่พูดไปทำไม เป็นรัฐมนตรียังไม่ต้องออก หน้าตาเฉยเหมือนชอบธรรม ออกจากกรรมการยุทธศาสตร์ชาติก็เท่านั้น เพราะเขียนเสร็จแล้ว ตั้งกรรมการชุดเล็กไว้แล้ว รู้ช่องทางที่จะใช้กลไกกับดักต่างๆ
ออกหรือไม่ออก พรรคพลังประชารัฐ ก็รู้วิธีใช้พลังยุทธศาสตร์ชาติ เหนือพรรคอื่นหลายช่วงตัว
คสช.อาจแย้งว่า กรรมการมีตั้ง 29 คน แต่ย้อนดูกรรมการโดยตำแหน่งมีใคร นอกจากนายกฯ ประธานสภาผู้แทน ประธานวุฒิ ได้แก่ 6 ผบ.เหล่าทัพ (ที่นั่งควบ ส.ว.) 5 ประธาน Trade Associations คือสภาเกษตรกร หอการค้า สภาอุตสาหกรรม ธุรกิจท่องเที่ยว และสมาคมธนาคาร นอกจากนั้นยังตั้งนักธุรกิจใหญ่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผสมคนของรัฐบาล
กรรมการที่จะคุมอำนาจเหนือรัฐบาลต่อไป ตามคำของไพศาล จึงมี 3 ส่วนคือ ข้าราชการ โดยเฉพาะทหาร ภาคธุรกิจ และคนในรัฐบาลที่ส่วนหนึ่งแยกไปตั้งพรรค
หลังจากพันธมิตรไล่ทุนสามานย์ 12 ปี เราก็เข้าสู่ยุคที่ฝ่ายความมั่นคงกับกลุ่มทุนยักษ์มานั่งคุมยุทธศาสตร์ชาติ มีอำนาจเหนือรัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้ง
ถามหน่อยว่าถ้ารัฐบาลวันหน้า ประกาศลดขนาดกองทัพ ลดงบความมั่นคง เอามาสร้างความมั่งคั่ง หรือลดส่วนต่างดอกเบี้ย เพิ่มภาษีกลุ่มทุนการค้าอุตสาหกรรม จะถูกชี้ว่าทำผิดยุทธศาสตร์ชาติไหม
ที่มา: ข่าวสดออนไลน์ www.khaosod.co.th/hot-topics/news_1705134 [1]
| ["'ใบตองแห้ง' ออนไลน์", 'การเมือง', 'ใบตองแห้ง', 'การเลือกตั้ง', 'พรรคการเมือง'] |
https://prachatai.com/print/79213 | 2018-10-19 00:09 | อนาคตใหม่ปักธงระดมทุนต่อ ชี้คำสั่ง คสช. ไม่ได้ระบุห้ามพรรคการเมืองเกิดใหม่ | อนาคตใหม่เตรียมเดินหน้าทำกิจกรรมระดมทุนพรรคการเมืองต่อ ไม่สนคำสั่งห้ามของ กกต. ปิยบุตรยัน คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ กกต. เอามาอ้างระบุห้ามแค่พรรคการเมืองที่มีอยู่เดิม ไม่ครอบคลุมพรรคเกิดใหม่ เผยเตรียมทำไพรมารีโหวตเลือกตัวผู้สมัครของพรรค คาดได้รายชื่อผู้สมัคร 350 เขต สิ้นปีนี้
แฟ้มภาพประชาไท
18 ต.ค. 2561 สำนักข่าวไทย [1] และมติชนออนไลน์ [2] รายงานว่า ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรค และ พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรค ร่วมแถลงข่าวความคืบหน้าการดำเนินกิจกรรมของพรรค รวมถึงการประกาศจุดยืนเกี่ยวกับการระดมทุน
ปิยบุตร กล่าวว่า การรับสมัครและการคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่กำหนดหลักการใช้วิธีการทำไพรมารีโหวต โดยวันที่ 18 ต.ค. - 18 พ.ย. 2561 เปิดรับสมัครผู้ประสงค์ลงสมัครไพรมารีโหวต เพื่อคัดเลือกเป็นผู้สมัคร ส.ส.ของพรรค ซึ่งจะประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ของพรรคทั่วประเทศ ในวันที่ 31 ธ.ค.
ส่วนจุดยืนเรื่องการระดมทุน รับบริจาค และกิจกรรมระดมทุนต่างๆ ธนาธร กล่าวว่า การรับสมัครสมาชิก ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้มี 3 ประเภท แบ่งเป็นรายปี 100 บาท , สมาชิกตลอดชีพ 2,000 บาท และสมาชิกตลอดชีพอุปถัมป์ 3,000-10,000 บาท ส่วนการขายสินค้าของพรรค จะดำเนินการอย่างน่อเนื่องผ่าน 3 ช่องทาง คือ 1.การเข้ามาซื้อในสำนักงานของพรรค ซึ่งขณะนี้มีเกือบ 20 จังหวัดและจะครบ 77 จังหวัดในสิ้นปี 2.การสั่งซื้อผ่านโทรศัพท์ และ 3.การขายสินค้าออนไลน์
นายธนาธร กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้พรรคยังมีกิจกรรมที่จะระดมทุน ในวันที่ 23 พ.ย. คือ กิจกรรมงานลอยกระทงเพื่ออนาคต และงานวัดที่สนามกอล์ฟพัฒนารีสอร์ท ศรีราชา จ.ชลบุรี และวันที่ 8 ธ.ค. จัดกิจกรรมงานวิ่งกับ “ป็อก” จ็อกกับ “เอก” วิ่งสู่อนาคตใหม่ พร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดช่องทางต่าง ๆ ที่สมาชิกได้ทำกิจกรรมร่วมกันพร้อมกับการระดมทุน เมื่อพิจารณาจากข้อกฎหมายแล้ว พรรคยืนยันว่ารับบริจาคได้ หากไม่ได้ขอเรียกร้องออกคำสั่งที่ชัดเจน ดังนั้นเมื่อยังไม่มีคำสั่งที่ชัดเจน จะเดินหน้าระดมทุนต่อไป
ปิยบุตร กล่าวด้วยว่า คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 57/2557 และฉบับที่ 53/2560 เป็นตำสั่งที่พูดถึงการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองที่มีอยู่เดิม ไม่ได้รวมพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นใหม่ พรรคอนาคตใหม่จึงไม่อยู่ในขอบเขตอำนาจของคำสั่งดังกล่าว
“คำสั่งทั้ง 2 ฉบับไม่รวมถึงพรรคการเมืองใหม่ และคำว่าห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ไม่ได้บอกอย่างละเอียด แต่เป็น กกต. ตีความเอง ซึ่งหมายความว่า โดยนัยของคำสั่ง คสช. นั้น ไม่ได้ห้ามเราดำเนินการ แต่ขึ้นกับการตีความของ กกต. ทั้งสิ้น จึงขอให้ กกต. ออกคำสั่งให้ชัดเจน อย่าใช้ระบบยกหูโทรศัพท์เตือน กลายเป็นว่าปกครองด้วยกฎหมาย หรือปกครองด้วยความเห็นทางกฎหมายของแต่ละคนกันแน่” ปิยบุตร กล่าว
ขณะที่พรรณิการ์ เผยข้อมูลว่า เวลานี้มีผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคอนาคตใหม่แล้วกว่า 5,00 คน ทั้งเป็นสมาชิกโดยการสมัครผ่านระบบออนไลน์ และเดินทางเข้ามาสมัครที่สำนักงานใหญ่ 3,000 คน และเป็นการสมัครสมาชิกที่ศูนย์ประสานงานทั่วประเทศอีก 2,000 คน
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'พรรคอนาคตใหม่', 'การระดมทุนพรรคการเมือง', 'ปิยบุตร แสงกนกกุล', 'ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ', 'กกต.', 'จับตาการเลือกตั้ง', 'คสช.'] |
https://prachatai.com/print/79212 | 2018-10-18 23:45 | คนการเมือง 4 พรรคสะท้อน พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ อาจอันตรายต่อ ปชช. กว่าที่คิด | คนการเมืองจากพรรคอนาคตใหม่ สามัญชน ประชาธิปัตย์ เพื่อไทย สะท้อนความกังวลกับร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงไซเบอร์ เห็นพ้องให้อำนาจกับรัฐจัดการเรื่องความมั่นคงที่ในนิยามก็ยังกำกวม หวั่นเป็นเครื่องมือรัฐบาลจัดการคนเห็นต่าง เสนอปรับแก้ให้ตอบโจทย์ป้องกันภัยไซเบอร์ที่แท้จริง ให้ประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบ ถ่วงดุล ควรให้มีสภาจากการเลือกตั้งแล้วจึงพิจารณาร่างฯ
แม้การรับฟังความเห็นของร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ทางเว็บไซต์ได้สิ้นสุดไปเมื่อ 12 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมา แต่เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากพลเมืองเน็ตรอบทิศทางกลับเป็นกระแสมากถึงขนาดที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาสั่งให้มีการทบทวนกฎหมายอีกรอบจากปัญหาเรื่องความกำกวมของนิยามศัพท์ อำนาจของหน่วยงานคณะกรรมการและสำนักงานเพื่อดูแลเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กปช.) และเกณฑ์ของการกำหนดโทษ
ประชาไทสอบถามไปทางสมาชิกพรรคและคนที่ทำงานการเมืองสี่พรรค ได้แก่พรรคอนาคตใหม่ พรรคสามัญชน พรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยถึงความเห็น ความกังวลและข้อเสนอแนะต่อร่างฯ ดังกล่าวที่เป็นที่โจษจัน
ชยิกา วงศ์นภาจันทร์ คณะทำงานด้านต่างประเทศพรรคเพื่อไทย
ที่มาภาพ เพจ Sand Wongnapachant
ชยิกา วิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวว่า เป็นการเขียนกฎหมายโดย สนช. ภายใต้การนำของรัฐบาล คสช. ซึ่งไม่ได้มีที่มาจากประชาชน รวมทั้ง พ.ร.บ.นี้ยังมีการจำกัดความนิยามที่ไม่ชัดเจนในเรื่องของภัยความมั่นคงไซเบอร์ว่าหมายถึงอะไร ตีความทางกฎหมายกว้างมากมีความคลุมเครือที่จะนำไปปฏิบัติ และยังมองว่าตัวกฎหมายนี้เป็นการนำเรื่องความมั่นคงเป็นหลัก ไม่ได้นำเรื่องของเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นหลักตามชื่อ หากดูในรายละเอียดนอกจากในส่วนของคำจำกัดความนิยามที่มันไม่ชัดเจนแล้ว ยังมีส่วนของคณะกรรมการที่ไม่ได้มาจากประชาชนและไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน แต่มีอำนาจตัดสินชีวิตประจำวันของประชาชน มันทำให้เอื้อต่อการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ชัดเจน อีกทางประชาชนเองก็ไม่สามารถตรวจสอบคณะกรรมการนี้ด้วย ทั้งที่กระบวนการสอบสวนนี้น่าจะเป็นกระบวนการที่อัยการเป็นผู้สั่งฟ้องและผ่านกระบวนการยุติธรรมปกติ ไม่ควรมีคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาดู
กฎหมายชุดนี้ไม่ได้มีเพียง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์เท่านั้น แต่ยังมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ร.บ.ธุรกรรมทางการเงิน และอีกหลายฉบับที่มันควรจะถูกเขียนให้มันล้อไปกับวัตถุประสงค์ใหญ่ในการที่จะพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลจริงๆ แต่ว่าทั้ง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กลับมาเป็นอุปสรรคในการพัฒนาไปสู่เวทีสากล มันเห็นได้ว่ากฎหมายตรงนี้มันไม่มีหลักนิติธรรม หากไม่มีหลักนิติธรรมให้กับคนในประเทศแล้ว คนต่างประเทศจะเชื่อใจมาลงทุนกับเราได้อย่างไร
"เรื่องของไซเบอร์มันเป็นเรื่องชีวิตประจำวันของคน ตื่นเช้ามาอย่างแรกที่คุณทำในยุคสมัยนี้มันก็จับมือถือ ชีวิตประจำวันคุณใช้มือถือใช้ข้อมูลทางไซเบอร์ตลอดเวลา ในเมื่อ สนช. คุณไม่ได้มาจากประชาชน แม้วันนี้นายกฯ จะบอกว่าจะนำข้อคิดเห็นและข้อกังวลจากประชาชนกลับมารับฟัง แล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขก็ตาม จริงๆ แล้ว ดิฉันก็อยากเสนอเนื่องจากมันเป็นเรื่องใหญ่ที่กระทบต่อชีวิตคนเยอะๆ อยากจะให้รัฐบาลรับฟังปัญหาจากประชาชนให้มาก แล้วถ้าเป็นไปได้ใช้วิธีว่าให้รัฐบาลที่มาจากประชาชนค่อยเป็นคนผ่านร่างกฎหมายนี้" ชยิกา กล่าว
สำหรับกระบวนการรวบรวมความเห็นของประชาชนต่อกฎหมายที่มีผลกระทบต่อชีวิตประชาชนมากนั้น ชยิกา กล่าวว่า ควรเป็นการให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างแพร่หลาย มีการถกแถลงกันของพรรคการเมืองต่างๆ และประชาชนชอบหรือเลือกแบบไหน ก็ให้รัฐบาลที่มาจากประชาชนเป็นผู้ผ่านร่างกฏกหมายนี้ เมื่อเราวางกฎหมายมันต้องร่างกฎหมายที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ ไม่ใช่เขียนมาเป็นกรอบให้เราติดอยู่กับกรอบนี้ จนไม่สามารถขยับไปไหนได้ โดยเอาโจทย์ตั้งว่าประเทศเราวันนี้กำลังพัฒนาหรืออยากพัฒนาไปในทางไหน แล้วร่างกฎหมายให้มันสอดรับกัน เพื่อให้เราสามารถไปแข่งขันกับคนอื่นๆ ในโลกได้
ชยิกา ยังมองว่า แรกเริ่มแรงจูงใจของคนร่างตัว พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ นั้นมีเจตนาที่ดี เพียงแต่รายละเอียดที่ความคลุมเครือไม่ชัดเจน มันควรให้น้ำหนักเรื่องของการพัฒนาประเทศมากกว่าความมั่นคงอย่างเดียว โดยไม่ได้มองเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนจะถูกละเมิดหรือไม่ แล้วมันจะเอื้อให้ประชาชนสามารถทำมาหากินได้ไหม และเอื้อต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาและการแข่งขันของประเทศในเวทีโลก
หากถึงที่สุดแล้ว ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่าน สนช. ออกเป็นกฎหมายทั้งที่ยังมีความคลุมเครือในนิยามความมั่นคงไซเบอร์อยู่นั้น ชยิกา ยืนยันว่า ก็คงต้องแก้ไขให้ชัดเจนขึ้น ให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม และให้อยู่บนพื้นฐานที่ไม่ละเมิดสิทธิของประชาชน เอื้อให้ประชาชนสามารถทำมาหากินได้แข่งขันกับคนอื่นได้
โดยสรุป ชยิกา มีข้อเสนอ 4 ข้อคือ 1. แก้ไขนิยามให้ชัด 2. การสั่งฟ้องควรจะผ่านกระบวนการยุติธรรม เป็นอัยการสั่งฟ้อง มีหลักฐาน ประชาชนสามารถอุทธรณ์ได้ มีระบบให้ประชาชนได้สู้ผ่านกระบวนการยุติธรรมปกติ ไม่ใช่มาสร้างคณะกรรมการพิเศษขึ้นมา 3. ประชาชนสามารถตรวจสอบคณะกรรมการได้ และ 4. ให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้พิจารณาผ่านร่างกฎหมายนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่ากฎหมายนี้มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคนจำนวนมากและเป็นเรื่องใหญ่ของคน ดังนั้นมันควรจะได้รับการถกแถลงและพูดคุยอย่างกว้างขวางว่าประชาชนต้องการอะไร ไม่ใช่แค่รับฟังช่วงหนึ่งแล้วมันจะรอบแล้ว มันควรจะฟังมากๆ และหลากหลายมากที่สุดเท่าที่ทำได้ และควรให้พรรคการเมืองเป็นคนเสนอทางเลือกต่างๆ ในเรื่องของ พ.ร.บ.นี้ให้กับประชาชนเพื่อให้ประชาชนเลือก และ ร่าง พ.ร.บ. ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนดังนั้นผ่านกระบวนการดังกล่าวได้
อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส. กทม. พรรคประชาธิปัตย์
ที่มาภาพ เพจ อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี - ปชป
อรรถวิชช์ระบุว่า มีการคุยกันแบบไม่เป็นทางการกับสมาชิกพรรคไม่กี่คน แต่ก็สะท้อนกันว่ากฎหมายดังกล่าวแรงเกินไป ซึ่งถ้าตนได้เป็นคนพิจารณาร่างฯ นี้ก็จะไม่ให้ผ่าน เพราะกลัวว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการตรวจสอบรัฐบาลประชาธิปไตยในอนาคต และคิดว่าอาจให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทำหน้าที่แทน กปช. ดีกว่า เพราะมีความเป็นอิสระมากกว่า และไม่ยึดโยงกับรัฐบาลกลางมากเท่า กปช.
“หลักการของการกฎหมายต้องใช้อย่างระมัดระวังเพราะคือการไปยึดคอมพิวเตอร์ ยึดมือถือโดยไม่มีหมายค้นด้วยคำสั่งของทางสำนักงาน ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะคดีที่หนักกว่านี้ในการมุ่งต่อชีวิต มุ่งประทุษร้ายต่อชีวิตคนอื่นเวลาจะค้นยังต้องขอหมายค้นจากศาลเลย ถือเป็นเรื่องที่หนักที่ขอให้ทบทวน” อรรถวิชช์กล่าว
“ผมดูเรื่ององค์กร (กปช.) ก็ค่อนข้างจะแปลก เป็นหน่วยงานรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ รายได้ไม่ต้องส่งเข้าคลัง ในขณะที่ไปร่วมทุนกับเอกชนได้ ทำให้องค์กรนี้มีความคล่องตัวสูง และใช้คำว่าสูงเกินไป เพราะติดหนวด ติดดาบด้วย ยิ่งไปร่วมทุนกับเอกชนได้ยิ่งจะทำให้องค์กรนี้มีทั้งเงิน มีทั้งอำนาจ เป็นการเสริมเขี้ยวเล็บให้กับรัฐบาลกลาง”
“จริงๆ แล้วอยากให้ไปพิจารณาโครงสร้าง กสทช. ว่าในรูปแบบกฎหมาย กสทช. ติดขัดอะไรไหมกับการดูแลเรื่องความมั่นคงไซเบอร์ ถ้าไปใช้ กสทช. การคัดสรรบอร์ดอย่างน้อยก็ผ่านหลายด่าน มาจากสาขาอาชีพที่หลากหลาย บางทีก็มาจากสื่อมวลชนด้วยซ้ำไปซึ่งเขาก็รู้ดีว่าต้องระวังเรื่องสิทธิของคนอื่นมากแค่ไหน แต่การใช้กลไกนี้ไปขึ้นตรงกับนายกฯ เป็นการใช้ข้าราชการ พอถึงเวลาเขาก็ต้องย้ายข้าราชการจากกระทรวงยุติธรรมข้ามมา”
“ที่บอกว่าที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงไซเบอร์มันคือความมั่นคงของอะไร เป็นของชาติหรือรัฐบาล ถ้าสมมติในอนาคตมาจากการเลือกตั้งแล้วมีอภิปรายไม่ไว้วางใจ แล้วมีการสั่งไปอายัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานใดสำนักงานหนึ่งที่ใช้ในการตรวจสอบรัฐบาลอยู่ผมก็ว่าน่ากลัวนะ ต้องแยกให้ออกว่าอะไรเป็นความมั่นคงของชาติ อันไหนเป็นความมั่นคงของรัฐบาล มันคนละเรื่องกัน”
“การที่หน่วยงานนี้ขึ้นตรงกับนายกฯ แล้วก็รายได้ไม่ต้องส่งเข้าคลัง แถมร่วมทุนกับเอกชนได้จะทำให้องค์กรถูกใช้ไว้ล่าเมืองขึ้น สมมติว่า อีกหน่อยใครมาเป็นคณะกรรมการ เป็นบอร์ดหรือเลขาธิการที่นี่ เวลาจะไปขอสปอนเซอร์จากสื่อยักษ์ใหญ่ เช่น ตีกอล์ฟ เรียน วปอ. วปท. อยากจะขอบริจาคแข่งขันกอล์ฟการกุศล มันจะเป็นแบบนั้น เป็นองค์กรที่ เอาไว้ใช้เวลาใครมานั่งเป็นบอร์ดแล้วขอสปอนเซอร์ก็ต้องให้ ถ้าไม่ให้ก็จะรู้สึกกลัว”
อรรถวิชช์ ยังกล่าวว่า อยากให้กฎหมายนี้เป็นการป้องกันการโดนแฮ็กข้อมูล ที่สิงคโปร์ที่มีกฎหมายแรงก็โฟกัสที่ประเด็นนี้ ไม่ใช่การปกป้องสถานะของรัฐบาล
ปกรณ์ อารีกุล ว่าที่โฆษกพรรคสามัญชน
“ความจริงไม่ใช่แค่ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงไซเบอร์แต่เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิตอลทั้งหมดที่มีปัญหา ถ้าหากไปดูจริงๆ พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคล พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก็มีปัญหา ปัญหาสำคัญคือ การนิยามของคำบางคำที่ไม่มีความชัดเจน เปิดโอกาสให้ตีความได้โดยกว้าง อำนาจในการตรวจสอบและถ่วงดุลยังมีช่องโหว่ อำนาจไปอยู่ในฝ่ายความมั่นคง และไม่ได้มีตัวแทนภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมมากพอในคณะกรรมการต่างๆ ที่ตั้งขึ้น การกำหนดโทษที่รุนแรง และอาจส่งผลให้เกิดการควบคุม สอดส่องเกินความจำเป็นนำไปสู่การละเมิดสิทธิพื้นฐานของประชาชน
ที่สำคัญที่สุดคือ รัฐบาลที่ออกกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และเป็นรัฐบาลที่มีประวัติในการละเมิดสิทธิประชาชนอย่างกว้างขวาง”
“อีกข้อที่สำคัญคือ พ.ร.บ. ฉบับนี้มีการคัดค้านจากภาคประชาชนหลายฝ่าย แต่รัฐบาลก็ยังดึงดันที่จะออกมันออกมา ทำให้สรุปได้ว่าทั้งเนื้อหาของมันและกระบวนการจัดทำกฎหมายนี้ไม่มีความชอบธรรมและขาดความเป็นประชาธิปไตยอย่างมาก”
“รัฐควรเข้ามามีบทบาทดูแล ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความสมดุลกับการให้สิทธิเสรีภาพของสื่อและประชาชนด้วย รัฐต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ และความเป็นธรรมของประชาชน และกำหนดให้ชัดเจนว่า “ความมั่นคง” ในความหมายที่เขียนมาหมายถึงอะไร ไม่ใช่การตีขลุมให้กว้างเข้าไว้เพื่อนำมาใช้กับอะไรก็ได้ หากจำเป็นจะต้องเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลก็ต้องมีกระบวนการในระบบยุติธรรมที่ชัดเจน ไม่ใช่นึกอยากจะทำก็ทำได้ และไม่ใช่ให้อำนาจกับฝ่ายมั่นคงอย่างเต็มที่โดยไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ จะต้องมีการตรวจสอบและถ่วงดุลที่ชัดเจน”
“อะไรที่รัฐบาลทำอยู่ตอนนี้ก็มีลักษณะว่าจะส่งผลกับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง การเดินสายฝ่ายเดียวของรัฐบาล การที่มีคนในตำแหน่งในรัฐบาลมาร่วมจัดตั้งและร่วมพรรคการเมือง การที่พล.อ.ประยุทธ์เปิดโซเชียลมีเดีย การที่ฝ่ายรัฐบาลออกมาปิดกั้นเรื่องต่างๆ ตอนนี้ หรือแม้แต่การเปลี่ยนชุดคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เอง ก็ชัดเจนว่าเพื่อให้ฝ่ายตัวเองได้ประโยชน์ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง กฎหมายที่รุนแรงและไร้การตรวจสอบแบบนี้ก็เป็นช่องทางหนึ่งในการทำลายคู่แข่งทางการเมืองโดยอ้าง “ความมั่นคง” เหมือนที่เคยทำมา”
“ที่สำคัญเลยคือรัฐบาลต้องฟังเสียงประชาชน ภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านไอทีมีเยอะแยะมาก ต้องรับฟังเสียงของพวกเขา และต้องให้พวกเขามีส่วนร่วมในเรื่องนี้อย่างเต็มที่ และรัฐบาลต้องออกกฎหมายที่สอดคล้องต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากล ทำประชาพิจารณ์หรือจัดรับฟังความคิดเห็น ไม่ใช่แค่เพื่อทำให้เสร็จๆตามกระบวนการไป แต่ต้องเอาข้อเสนอของภาคประชาชนมาปรับใช้ด้วย จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและการถ่วงดุลอำนาจที่แท้จริง”
ไกลก้อง ไวทยการ นายทะเบียนจากพรรคอนาคตใหม่
ที่มา Klaikong Vaidhyakarn
“พ.ร.บ. นี้เป็น พ.ร.บ. ที่มีเนื้อหาการใช้อำนาจที่ละเมิดสิทธิ เสรีภาพอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเข้าค้นคอมพิวเตอร์ถ้าพบว่าเป็นภัยคุกคามต่อระบบ หรือว่าจะเป็นเรื่องการเข้าดูข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องมีหมายศาล คือจริงๆ แล้วเราก็มีบทเรียนจากการใช้อำนาจจาก พ.ร.บ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งพอเอาเข้าจริงแล้วก็ไม่ได้ใช้ตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้”
“คือเรื่องความมั่นคงไซเบอร์ตั้งใจจะทำเรื่องการป้องกันระบบคอมพิวเตอร์จากภัยคุกคาม เช่น ภัยจากแฮกเกอร์ ภัยจากการแฮ็กข้อมูลหรือโจมตีระบบ (แต่) บทเรียนที่ผ่านมาก็เป็นเรื่องความมั่นคงเสียมากกว่า อาจจะเป็นเรื่องของการตั้งใจที่จะดูว่า ถ้าอันนี้เป็นฝ่ายที่อาจจะอยู่ตรงข้ามรัฐบาล ก็อาจใช้ พ.ร.บ. นี้ขึ้นมาได้โดยไม่ตรงเจตนารมณ์ที่จะปกป้องระบบคอมพิวเตอร์”
“ผมคิดว่า พ.ร.บ. นี้สำคัญและกระทบประชาชนอย่างมาก ตอนนี้ไทยมีคนใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 50 ล้านคน ดังนั้น พ.ร.บ. ที่มีผลกระทบกับเสรีภาพประชาชนขนาดนี้ก็ควรเป็นหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งมาพิจารณา”
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'ความมั่นคง', 'ร่าง พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์', 'ไกลก้อง ไวทยการ', 'ปกรณ์ อารีกุล', 'อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี', 'ชยิกา วงศ์นภาจันทร์', 'สิทธิส่วนบุคคล', 'พรรคเพื่อไทย', 'พรรคอนาคตใหม่', 'พรรคประชาธิปัตย์', 'พรรคสามัญชน'] |
https://prachatai.com/print/79214 | 2018-10-19 12:03 | 'ป่ารุกคน' วิสัยทัศน์นักการเมืองต่อปัญหาทรัพยากรที่ดินชายแดนใต้ | 'คนธรรมดา-ประชาธิปัตย์-ประชาชาติ-สามัญชน-อนาคตใหม่' ร่วมวงเปิดวิสัยทัศน์ต่อปัญหาและทางออกของปัญหาทรัพยากรที่ดินชายแดนใต้
ภาพบรรยากาศเสวนา
19 ต.ค.2561 ตัวแทนพรรคการเมืองแสดงวิสัยทัศน์ต่อปัญหาและทางออกของปัญหาทรัพยากรที่ดินชายแดนใต้ ในงาน “ออแฆกำปงเสวนา” ครั้งที่ 2 "ทรัพยากรที่ดินชายแดนภาคใต้: พรรคการเมืองกับบทบาทในการแก้ปัญหา" เมื่อวันที่ 14 ต.ค.ที่ผ่านมา ณ บริเวณมัสยิดกรือเซะ ต.ตันหยงลุโละ อ.เมือง จ.ปัตตานี
โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบไปด้วย ธนพร ศรียากูล หัวหน้าพรรคคนธรรมดาแห่งประเทศไทย วิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าคณะทำงานงานฝ่ายกฎหมายและอดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ว่าที่เลขาธิการพรรคประชาชาติ ปกรณ์ อารีกุล ว่าที่โฆษกพรรคพรรคสามัญชน และ นิรามาน สุไลมาน กรรมการบริหารพรรคของพรรคอนาคตใหม่ ดำเนินรายการโดย เอกรินทร์ ต่วนศิริ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ธนพร ศรียากูล กล่าวว่า ปัญหาทรัพยากรที่ดินในพื้นที่ชายแดนใต้ไม่ต่างจากพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทย เพราะประเทศไทยปกครองแบบรัฐรวมศูนย์ พื้นที่ต่างๆ จึงประสบปัญหาคล้ายๆ กัน จะต่างกันตรงที่พื้นที่ชายแดนใต้ถูกดทับด้วยกฎหมายพิเศษต่างๆ มากกว่าพื้นที่อื่นๆ เมื่อโครงสร้างของสังคมเป็นไปในลักษณะดังกล่าวนี้จึงยากต่อการแก้ไขปัญหาของประชาชน กลายเป็นว่าคนที่นำเรื่องทรัพยากรที่ดินไปพูดแทนประชาชนอาจโดนข้อกล่าวหาว่าไม่รักชาติ หรือมีข้อคำถามว่าไม่อยากเห็นความสงบสุขของประเทศหรือ? เสมือนว่าคนพูดถึงปัญหาเป็นคนที่ผิด ดังนั้น หากเราไม่เข้าใจปัญหาที่กดทับอยู่เราก็จะไม่สามารถออกนโยบายแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้
ภาพบรรยากาศเสวนา
วิรัตน์ กัลป์ยาศิริ กล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลหน้าจะต้องทำคือสำรวจให้ชัดเจนว่าใครอยู่ก่อนใคร อุทยานแห่งชาติประกาศเมื่อปี พ.ศ. 2542 แต่ประชาชนอยู่มาก่อน 400 ปี เพราะการสำรวจว่าใครอยู่ก่อนใครเป็นหน้าที่ของรัฐ ประเด็นคือหลักสิทธิชุมชนมีอยู่ในรัฐธรรมนูญ ดังนั้นปัญหาเหล่านี้หากไม่แก้ไข พี่น้องประชาชนจะไม่มีที่อยู่ โดยเฉพาะกรณีเทือกเขาบูโด หากพิสูจน์ได้ว่าโฉนดของประชาชนหรือหลักฐานอื่นๆ ว่าเป็นของประชาชนจริงๆ จะต้องส่งคืนที่ดินให้กับประชาชน เพราะกรณีเทือกเขาบูโดคือรัฐรุกคน ดังนั้น รัฐจะต้องคืนสิทธิให้กับประชาชน
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง กล่าวว่า การกระจายความเป็นธรรมในการถือครองที่ดิน รวมถึงการกระจายความสามารถในการแจกจ่ายเอกสารสิทธิ เป็นสิ่งที่ควรทำแทนที่การมีโครงการพัฒนาต่างๆ แต่ทว่าในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น นับได้ว่าเป็นความอ่อนแอของสังคมไทยอย่างมาก ดังนั้น ถึงเวลาที่เราจะต้องมาพูดคุยกันถึงเรื่องที่ดินที่อยู่ในกรมที่ดิน กล่าวคือ ที่ดินในประเทศของเรามีอยู่ 320 ล้านไร่ ครึ่งหนึ่งเป็นโฉนดที่อยู่กับกรมที่ดินอีกครึ่งกว่าๆ อยู่กับกระทรวงทรัพย์ฯ โดยที่ประชากรไทยมีประมาณ 65 ล้านคน มีเพียง 15 ล้านคนเท่านั้นที่มีโฉนดที่ดิน และใน 15 ล้านคน คนเพียง 10% มีที่ดินถึง 90% เราจึงควรผลักดันให้โอนเรื่องการจัดการที่ดินจากส่วนกลางมาสู่ท้องถิ่น เพื่อมาบริหาร เช่น พิจารณาดูว่ามีที่รกร้างอยู่หรือไม่ หากมีก็ควรเก็บภาษีแล้วเอามาสนับสนุนเรื่องการศึกษาและการพัฒนา เป็นต้น อีกประเด็นคือ ที่ดินที่อยู่ในกระทรวงทรัพย์ฯ ก็ควรจะต้องโอนให้มาอยู่ในการดูแลของชุมชน โดยที่ดินที่เป็นป่ามีอยู่ 164 ล้านไร่ แต่ที่เป็นป่าจริงๆ มีอยู่ 97 ล้านไร่ ที่ไม่ได้เป็นป่ามีอยู่ 67 ล้านไร่ ปรากฏว่ามีที่ดินที่ให้คนรวยเช่า 4 ล้านกว่าไร่ ทั้งๆ ที่คนจนไม่มีที่ดินจะทำกินแต่เหตุใดถึงให้คนรวยเช่า และในกรณีของเทือกเขาบูโดในช่วงการประกาศเป็นพื้นที่ป่า มีพื้นที่ทั่วประเทศอีก 7.7 ล้านไร่ ที่กลายเป็นว่าคนไปขีดเส้นให้ป่ารุกคน ดังนั้น เราจึงต้องคิดในเรื่องของการคืนสิทธิ คืนอำนาจไปสู่ประชาชน เราจะคืนทุกอย่างแม้แต่ทรัพย์สินให้กับประชาชน
ปกรณ์ อารีกุล กล่าวว่า ข้างต้นคุณทวีได้บอกเราแล้วว่าที่ดินในประเทศของเรามี 320 ล้านไร่ อยู่ในกรมที่ดิน 130 ล้านไร่ อยู่ในที่ของรัฐ 144 ล้านไร่ ที่ สปก. 34 ล้านไร่ และที่ราชพัสดุ 9.78 ล้านไร่ ประเด็นปัญหาเรื่องที่ดินคือการกระจุกตัว กล่าวคือ คน 90% ไปกระจุกตัวอยู่ในที่ดิน 10% แต่คนอีก 10% มีที่ดินถึง 90% และดังที่คุณทวีกล่าวมาแล้วว่าคนไทยที่มีโฉนดมีอยู่เพียง 15 ล้านคน ในจำนวนนี้มีคนภาคใต้ที่มีโฉนดอยู่ 1.8 ล้านคนเท่านั้น นอกจากนั้นเมื่อไปดูความเหลื่อมล้ำในประเด็นที่ดินปรากฏว่าคนภาคใต้จะอยู่ที่ 2 รองจากภาคกลางเพราะภาคกลางมีกรุงเทพฯ รวมอยู่ด้วย และภาคที่เหลื่อมล้ำน้อยที่สุดคือภาคอีสาน ประเด็นก็คือถ้าประเทศไทยไม่มีภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า การกระจุกตัวเหล่านี้ก็จะดำเนินต่อไป และอาจส่งผลให้ประชาชนบางส่วนต้องไปทำมาหากินในที่ดินของรัฐหรือบุกรุกที่ดินของรัฐ ในขณะที่กรณีบูโดประชาชนอยู่มาก่อนที่จะมีกรมป่าไม้ ซึ่งตัวเลขสองแสนกว่าไร่เป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก ตั้งแต่มีการประกาศเขตป่าที่ดินกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศไทยกลายเป็นเขตป่า นาทีนั้นคนใน 4,675 ตำบล จำนวน 1.8 ล้านรายทั่วประเทศกลายเป็นผู้บุกรุก ดังนั้นคน 1.8 ล้านคน ควรรวมตัวกันทำข้อมูลยื่นให้กับรัฐบาลหน้าที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อพิสูจน์สิทธิและรับรองว่าที่ดินที่ท่านอยู่มาก่อนจะต้องออกเอกสารสิทธิรับรอง
ภาพบรรยากาศเสวนา
นิรามาน สุไลมาน กล่าวว่า ปัญหาเรื่องที่ทับซ้อน การถูกรุกล้ำสิทธิ การไม่ได้ครอบครองเอกสารสิทธิต่างๆ ส่วนหนึ่งเกิดจากการตรากฎหมายที่อ่านแล้วเข้าใจยาก บางครั้งหน่วยงานของรัฐเองก็อ่านไม่เข้าใจจนเกิดความขัดแย้งเพราะเข้าใจไม่ตรงกันระหว่างหน่วยงาน ทั้งที่กฎหมายควรเป็นสิ่งที่ประชาชนคนธรรมดาอ่านแล้วเข้าใจง่าย หรืออย่างกรณีการขีดเขตเส้นอุทยานที่หน่วยงานของรัฐประชุมวางแผนกันที่กรุงเทพฯ โดยไม่ได้ไปดูว่ามีประชาชนอาศัยอยู่หรือไม่ กลายเป็นการรุกล้ำที่อยู่อาศัยของประชาชน ตรงนี้เกิดจากความไม่เอาใจใส่ในหน้าที่การงานราชการของเจ้าที่ที่รับผิดชอบจนส่งผลกระทบต่อประชาชน ดังนั้น สิ่งที่เราจะทำก็คือ ทำให้กฎหมายอ่านแล้วเข้าใจง่าย ประชาชนอ่านแล้วเข้าใจและสามารถสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้อย่างแท้จริง หลักการของเราก็คือ ปลดล็อก ปรับโครงสร้าง และเพิ่มโอกาสให้กับประชาชน ในความเป็นจริงแล้วควรให้สภาประชาชนขึ้นไปประชุมร่วมกับภาครัฐเพื่อมาคุยกันว่าจะดำเนินการเช่นไรกับสิทธิการครอบครองที่ดิน ข้อสรุปก็คือ หากท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดการตนเอง เราจะได้ข้อสรุปที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ดีที่สุด
ฉะนั้นแล้ว ถึงที่สุดปัญหานี้จะถูกจัดการอย่างไรจากผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายในอนาคตไม่ว่าจะมาจากพรรคการเมืองใด จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้
สำหรับกิจกรรมเสวนานี้ จัดโดยเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง และมีองค์กรร่วมจัดประกอบด้วย เครือข่ายนักวิชาการศึกษานโยบายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี พิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติและเครือข่ายเรียนรู้ท้องถิ่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และ เครือข่ายแก้ไขปัญหาที่ดินเทือกเขาบูโด
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'เศรษฐกิจ', 'คุณภาพชีวิต', 'สิ่งแวดล้อม', 'ชายแดนใต้', 'ธนพร ศรียากูล', 'วิรัตน์ กัลยาศิริ', 'ทวี สอดส่อง', 'ปกรณ์ อารีกุล', 'นิรามาน สุไลมาน', 'ที่ดิน', 'ฐานทรัพยากร'] |
https://prachatai.com/print/79215 | 2018-10-19 12:29 | เครือข่ายเภสัชกร ร้อง 'ประยุทธ์' ถอดร่าง พ.ร.บ.ยา ออกจาก ครม. | เครือข่ายเภสัชกรขอนแก่นยื่นหนังสือเสนอ พบ.อ.ประยุทธ์ ให้ถอดร่าง พ.ร.บ.ยา ออกจากการพิจารณาของ ครม.เพื่อทบทวนใหม่โดยยึดหลักการคุ้มครองประชาชน ชี้ อย.ร่างกฎหมายโดยไม่ฟังความรอบข้าง
18 ต.ค.2561 ที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น กลุ่มเภสัชกรจังหวัดขอนแก่น ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและประชาชน ได้เข้ายื่นหนังสือให้กับ ชำนาญ ทองดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น เพื่อส่งต่อข้อเสนอให้ระงับการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้พิจารณาระงับการพิจารณา พ.ร.บ.ยาฉบับนี้ และขอให้เกิดกระบวนการ ร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ด้วยหลักการและแนวคิดทางกฎหมายที่ถูกต้อง โดยยึดหลักการคุ้มครองประชาชนให้ปลอดภัยจากการใช้ยาอย่างแท้จริง
ภก.เผ่าพงศ์ เหลืองรัตนา แกนนำเครือข่ายเภสัชกรจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า จุดยืนของเภสัชกรจังหวัดขอนแก่นคือ ต้องการให้ถอด ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... ฉบับนี้ออกจากการพิจารณา และนำ ร่าง พ.ร.บ.กลับมาทบทวนใหม่เท่านั้น เพราะที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ทำการยกร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... และได้เปิดโอกาสให้แต่ละสภาวิชาชีพได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ แล้วได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2561 โดยที่ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... ฉบับดังกล่าวไม่ได้มีการแก้ไขเนื้อหาตามที่แต่ละสภาวิชาชีพได้ให้ข้อเสนอแนะ ทั้งที่ได้มีการทักท้วงจากหลายหน่วยงานว่า มีการแก้ไขเนื้อหาหลายมาตราให้ต่างไปจากฉบับเดิม ซึ่งผิดไปจากหลักการคุ้มครองผู้บริโภคตามมาตรฐานการปฏิบัติสากลที่ควรยึดถือปฏิบัติ ประกอบกับที่ผ่านมา อย.ได้พยายาม ร่าง พ.ร.บ.ยา ออกมาหลายฉบับ แม้จะพยายามสร้างขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ แต่ก็ไม่ได้นำเอาข้อมูลจากการรับฟังนั้นมาปรับปรุงให้เหมาะสมเลย
ส่องไทม์ไลน์ 'พ.ร.บ.ยา' พร้อมข้อถกเถียงจากฝั่งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับร่าง กม.ใหม่ [1]
เภสัชกรอีสานยืนยันค้านร่าง พ.ร.บ.ยา เพื่อ ปชช.ใช้ยาปลอดภัย ไม่ได้ปกป้องวิชาชีพ [2]
วิชาชีพเภสัชกรค้าน ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับ อย. เหตุผิดหลักการ-ยัดไส้คำสั่ง คสช. [3]
ทั้งนี้ในหนังสือที่ยื่นต่อศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดขอนแก่น ระบุว่า กลุ่มเภสัชกรจังหวัดขอนแก่น ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและประชาชนผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาและดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ขอให้กระทรวงสาธารณสุข ระงับและไม่นำเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
2. ขอให้กระทรวงสาธรณสุข แต่งตั้งคณะกรรมการ ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... ที่ประกอบด้วย หน่วยงาน องค์กร และภาคประชาสังคมด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นผู้ ร่าง พ.ร.บ.ยา เพื่อให้เป็นไปในการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปตามมาตรฐานของวิชาชีพ รวมไปถึงหลักปฏิบัติสากลอีกด้วย โดยกำหนดกรอบเวลาในการพิจารณาร่างไม่เกิน 1 ปี โดยทุกขั้นตอนขอให้มีการแจ้งเปิดเผยและรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนด้วย
และ 3. เมื่อ ร่าง พ.ร.บ.ยา ผ่านความเห็นจากสภาวิชาชีพแล้วขอให้เปิดการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และดำเนินการอย่างรอบคอบ แล้วนำเอาความคิดเห็นกลับมาสู่การพิจารณาของคณะผู้ ร่าง พ.ร.บ.ยา อีกครั้ง เพื่อให้ปรับปรุงให้เหมาะสมต่อบริบทการบังคับใช้กฎหมายต่อไป
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'คุณภาพชีวิต', 'ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ...', 'เภสัชกร', 'กลุ่มเภสัชกรจังหวัดขอนแก่น', 'พ.ร.บ.ยา', 'เผ่าพงศ์ เหลืองรัตนา'] |
https://prachatai.com/print/79211 | 2018-10-18 23:07 | FreeWriteAward3: พิราบขาว |
ปีกขาวพิราบซื่อกระพือผับ ในกรงอัปลักษณ์ที่คุมขังสายตามองเหยียดกรงอย่างจงชัง เปี่ยมนัยหวังวันหนึ่งจะพึงบินปีกดำกาต้านแรงพัดสะบัดโบก ล้วนร่องรอยกร้านโลกขนแหว่งวิ่นปรารถนากรงใดให้อยู่กิน ไม่วายฟ้าจมดินอย่างดิ้นรน
เล็บคมจิกเกาะเกี่ยวเรียวกิ่งไม้ มองกรงใหญ่วันที่ฟ้าสีหม่นแม้พายุโหมหาญนานเกินทน กรงคงคุ้มกันตนพ้นลมพาล“เถิด...พิราบขาวเจ้าโชคดี ข้ามิมีที่ใดได้เป็นบ้านเป็นที่กินที่นอนก่อนร้าวราน แลเป็นศาลฝังร่างครั้งปางตาย”
“เถิด...ดูก่อนกาดำฟังคำข้า เจ้ารักฟ้านั่นไหมให้ความหมายเจ้ารักไหมน้ำกรวดหินตราบดินทราย เพียงระย่อก็เหือดหายด้วยสายลมเจ้าต่อสู้เป็นตัวของตัวเอง ไยจึงเกรงดินผงลงทับถมเจ้าโบกบินปีกคว้างว้างจิตตรม ไยซานซมโหยหาพันธนาการ
ทุ่งหญ้าพริ้มลมพรายเลื่อมลายน้ำ อาทิตย์ย่ำเยือนหยอกเมฆหมอกม่านดอกไม้แห่งเสรีที่เบ่งบาน อิสระทุกหย่อมย่านนั่นบ้านเนา”กาดำขยับปีกหลีกเขยื้อน ครุ่นคิดคำย้ำเตือนยิ่งทบเท่าขนดำขลับกลับขาวราวดอกเลา สะท้อนเงาวันที่ฟ้าสีทอง
การต่อสู้มอบบาดแผลแก่นักสู้ สู้เพื่ออยู่ อยู่เพื่อปลูกความถูกต้องยอมรับความเป็นไปในครรลอง เผชิญทุกสิ่งผองอย่างครองธรรมประชาธิปไตยก็เช่นนั้น... อำนาจใดฤๅกดดันให้ตกต่ำประชาชนเคียงอยู่ข้างผู้นำ เปรียบลมใต้ปีกค้ำประคองบิน
หากขาดซึ่งผู้นำย่อมเหน็บหนาว ขาดชนราวขาดหัวใจไม่สมถวิลตราบตราสันติภาพทาบแผ่นดิน เราทั้งสิ้นย่อมใช่ทาสอำนาจใครวันนั้น...พิราบขาวจะพ้นกรง รุ้งคลายโค้งทอแสงส่งสู่ทางใหม่อธิปไตยในประชาธิปไตย ผู้ยิ่งใหญ่มีนามว่า “ประชาชน”
หมายเหตุ: 'บทกวีพิราบขาว' โดย กานดามณี รัตนพล ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 FreeWrite Award ครั้งที่ 3 ในเทศกาลบทกวีประชาชน งาน 42 ปี 6 ตุลา 2519 ประกาศผลเมื่อวันที่ 6 ตุลา 2561 ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
| ['บทความ', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'FreeWriteAward3', 'กวีประชาไท', 'กานดามณี รัตนพล'] |
https://prachatai.com/print/79217 | 2018-10-19 15:23 | ‘เจ้าสัวเจริญ’ ชนะประมูลที่ดินใกล้สุวรรณภูมิ 8.9 พันล้าน - กม.ภาษีที่ดินส่อไม่ทันรัฐบาลนี้ | บริษัทในเครือ 'เจ้าสัวเจริญ' ชนะประมูลที่ดินเอคิว 4,300 ไร่ มูลค่า 8,900 ล้าน ย่านบางบ่อ สมุทรปราการ ทำเลทองใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ รายงานกรมที่ดินปี 57 ตระกูลดังตุนที่ดินทั่วไทย 'สิริวัฒนภักดี' 6.3 แสนไร่ ขณะที่ กม.ภาษีที่ดินส่อแท้ง ไม่ทันรัฐบาลนี้
19 ต.ค.2561 Workpoint News [1] รายงานว่า เมื่อวันที่ 17 ต.ค.ที่ผ่านมา กรมบังคับคดี ได้ประกาศขายทอดตลาดที่ดินพร้อมกันทั้ง 3 คดี ของบริษัท เอคิว เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ AQ (เดิมคือ บมจ.กฤษดามหานคร) จำนวน 4,300 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่ถนนบางนา-ตราด กม.32.5 ทางหลวงหมายเลข 34 ถนนกรุงเทพฯ-ชลบุรีสายใหม่ (มอเตอร์เวย์) โดยที่ดินแปลงนี้มีธนาคารกรุงไทยเป็นเจ้าหนี้และยึดทรัพย์มาขายทอดตลาด
โดยเป็นการประมูลครั้งที่ 5 นี้ มี บริษัท ทีอาร์เอ แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ เจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของบริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูลในราคา 8,914.07 ล้านบาท จ่ายมัดจำแล้ว 448.50 ล้านบาท และตามสัญญาจะนำเงินที่เหลือ 8,465.57 ล้านบาท ชำระภายใน 15 วัน นับจากวันประมูล
สำหรับบริษัท ทีอาร์เอ แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จดทะเบียนเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2560 เพื่อประกอบกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท โดยโครงสร้างผู้ถือหุ้น ทีอาร์เอ ฯ ประกอบด้วย บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TICON ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มของ เจริญ สิริวัฒนภักดี ถือหุ้น 50 %, บริษัท สวนอุตสหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) หรือ ROJNA 25% และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ถือหุ้น 25%
Workpoint News ยังรายงานด้วยว่า ไทคอนได้รับความสนใจจากลูกค้าเข้าใช้บริการพื้นที่โรงงานและคลังสินค้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตบางพลี และเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี
รายงานกรมที่ดินปี 57 ตระกูลดังตุนที่ดินทั่วไทย 'สิริวัฒนภักดี' 6.3 แสนไร่
ขณะที่เมื่อ มิ.ย.2557 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ [2] รายงาน ผลการศึกษาการถือครองเอกสารสิทธิ จากสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมที่ดิน พบว่าตระกูลดัง เศรษฐี กลุ่มธุรกิจ กลุ่มทุน ถือครองที่ดินทั้งแปลงเล็กแปลงใหญ่จำนวนมาก กระจายอยู่หลายพื้นที่ทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัด โดยเฉพาะหัวเมืองหลัก เมืองท่องเที่ยว ในผู้ถือครองที่ดินรายใหญ่ทั้งประเทศ ตระกูล "สิริวัฒนภักดี" ซึ่งมีเครือข่ายธุรกิจหลากหลายเช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น็อนแอลกอฮอล์ พัฒนาที่ดิน การเกษตร ฯลฯ น่าจะถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินทั่วประเทศมากที่สุดกว่า 6.3 แสนไร่ ทั้งในนามส่วนตัว ครอบครัว และผ่านบริษัทต่าง ๆ โดยหนึ่งในที่ดินแปลงใหญ่ที่ตระกูลสิริวัฒนภักดีครอบครองกรรมสิทธิ์ อาทิ ที่ดินในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีรวม 1.2 หมื่นไร่, ที่ดินในอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1.5 หมื่นไร่ ฯลฯ
ขณะที่ "ตระกูลเจียรวนนท์" ของ ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ธุรกิจการเกษตรครบวงจร ในนามกลุ่มซีพี ธุรกิจพัฒนาที่ดินในนาม บมจ.ซี.พี.แลนด์ และกลุ่มแมกโนเลียส์ธุรกิจโทรคมนาคม ทรู คอร์ปอเรชั่น ถือครองที่ดินในมือไม่ต่ำกว่า 2 แสนไร่ โดยแปลงใหญ่อยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณ 1 หมื่นไร่ "บมจ.สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม" ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านน้ำมันปาล์มรายใหญ่ในภาคใต้ ถือครองที่ดิน 4.44 หมื่นไร่ รองลงไปคือ "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ปัจจุบันมีที่ดินรวมประมาณ 3 หมื่นไร่ ในจำนวนนี้ราว 7% ปล่อยเช่าสร้างรายได้เชิงพาณิชย์
รายงาน ผลการศึกษาการถือครองเอกสารสิทธิฯ ดังกล่าว ระบุด้วยว่า วิธีการถือครองมีทั้งทยอยซื้อที่ดินเก็บไว้ในมือ โดยค่อย ๆ สะสมจากแปลงเล็กเป็นแปลงใหญ่ และการกว้านซื้อที่โดยอาศัยกลุ่มนายหน้าและเครือข่ายธุรกิจ ทั้งที่ดินว่างเปล่า ที่ทำการเกษตร ที่นา ฯลฯ ขณะเดียวกันจากเดิมที่มักปล่อยที่ดินที่ซื้อไว้ในพอร์ตเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ช่วง 4-5 ปี ที่ผ่านมา กลุ่มเศรษฐกิจ ตระกูลดังแห่ลงทุนด้วยการปรับเปลี่ยนหน้าดินทำการเกษตร โดยเฉพาะยางพารา ปาล์มน้ำมัน รวมทั้งพืชสวน พืชไร่หลากหลายชนิด ฯลฯ รับยุคบูมยางพารา ปาล์มน้ำมัน และเร่งใช้ประโยชน์ที่ดินแทน หลังเริ่มมีกระแสผลักดันจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้าสำหรับที่ดินที่ถูกปล่อยทิ้งให้รกร้างว่างเปล่า สอดรับกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกลุ่มธุรกิจตระกูลดังหลายกลุ่มในช่วงที่ผ่านมาที่มีการขยายฐานสู่ธุรกิจการเกษตร อสังหาริมทรัพย์ อาทิ กลุ่มตระกูลสิริวัฒนภักดี เจียรวนนท์ พูลวรลักษณ์ จุฬางกูร เตชะณรงค์ ภิรมย์ภักดี ฯลฯ ขณะที่ตระกูลนักการเมืองทั้งระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ตลอดจนนักธุรกิจ นักลงทุนทั้งในส่วนกลาง ต่างจังหวัด ก็หันมารุกด้านการเกษตรรับกระแสบูมจำนวนมากเช่นเดียวกัน
4 ปี เศรษฐกิจถดถอย แต่ ‘มหาเศรษฐีไทย’ ยังคงมั่งคั่งขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อ พ.ค.ที่ผ่านมา ในวาระครบรอบ 4 ปี การรัฐประหารของ คสช. ทีมข่าว TCIJ [3] รายงานภาวะทางเศรษฐกิจ โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจของไทยหลายตัวสะท้อนให้เห็นถึงความถดถอย หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าสภาพเศรษฐกิจไทยไม่ค่อยจะดีนัก แต่ ‘มหาเศรษฐีไทย’ ยังคงมั่งคั่งขึ้นเรื่อยๆ จากการจัดอันดับความมั่งคั่งของนิตยสาร Forbes ระหว่างปี 2558-2561 พบ มหาเศรษฐี 10 อันดับแรกมั่งคั่งรวมกันเพิ่มขึ้นประมาณ 1.201 ล้านล้านบาท ‘ตระกูลเจียรวนนท์’ เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของไทย 4 ปีซ้อน รวยขึ้นประมาณ 4.88 แสนล้านบาท
ขณะที่ เจริญ สิริวัฒนภักดี ติดอันดับ 2 จากการจัดอันดับของ นิตยสาร Forbes ตั้งแต่ 2558-2560 แต่ปี 2561 ตกเป็นอันดับ 4 ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 17,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 543,000 ล้านบาท) ขณะที่อันดับ 1 ยังเป็นของ พี่น้องเจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP มูลค่าทรัพย์สิน 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 937,000 ล้านบาท) อันดับ 2 เป็นตระกูลจิราธิวัฒน์ แห่งกลุ่มบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) มูลค่าทรัพย์สิน 21,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 662,000 ล้านบาท) และอันดับ 3 เป็นเฉลิม อยู่วิทยา เจ้าของกลุ่มบริษัท เครื่องดื่มกระทิงแดง จำกัด มูลค่าทรัพย์สิน 21,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 656,000 ล้านบาท)
กม.ภาษีที่ดินส่อแท้ง ไม่ทันรัฐบาลนี้
ส่วน ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นวาระที่รัฐบาลทหารนี้ประกาศมาตลอดว่าจะผลักดันหลังยึดอำนาจนั้นก็ยังไม่มีความคืบหน้า โดยเมื่อวันที่ 17 ต.ค.ที่ผ่านมา TNN Thailand 24 [4] รายงานว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะชะลอการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกไปก่อน ทำให้กฎหมายไม่สามารถออกได้ทันบังคับใช้ได้ภายในรัฐบาลชุดนี้ อย่างไรก็ตามร่างกฎหมายฉบับนี้ยังคงค้างอยู่ในสภา เพื่อรอให้รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งตัดสินใจว่าจะพิจารณาร่างกฎหมายต่อไป หรือจะไม่พิจารณาต่อโดยร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้รับการต่อต้านจากนายทุนที่มีที่ดินจำนวนมาก เพราะจะทำให้นายทุนที่ดินต้องมีภาระต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น
โดยโพสต์ทูเดย์ [5]รายงานด้วยว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้ผ่านการพิจารณาของ สนช.ในวาระที่ 1 มากว่า 1 ปี และค้างอยู่ในชั้นกรรมาธิการ ซึ่งมีการประชุมเพียงเดือนละครั้ง และคาดว่าจะขยายเวลาการพิจารณาจากเดือนนี้ออกไปอีก
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'เศรษฐกิจ', 'เจริญ สิริวัฒนภักดี', 'ที่ดิน', 'ภาษีที่ดิน'] |
https://prachatai.com/print/79220 | 2018-10-19 16:30 | วงคุยสมาคมนักข่าวฯ คาดอนาคต AI เข้ามาช่วยในทำข่าว แนะใช้จริยธรรมนำ | สมาคมนักข่าวฯ จัดสัมนา คาดอนาคต AI มีบทบาทเข้ามามีส่วนช่วยในการทำข่าว แนะใช้จริยธรรมนำ AI กูเกิล ผุดเครื่องมืออำนวยความสะดวกนักข่าว จับมือองค์กรสื่อ สกัดข่าวปลอม 'ไลน์' ชี้ความถูกต้องต้องมาก่อนความเร็ว
19 ต.ค.2561 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศราฯ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) จัดสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2561 หัวข้อ “ทางเลือกทางรอดคนสื่อ ยุค 4.0” โดยในช่วงการ บรรยายพิเศษ (TED TALK) หัวข้อ “เทคโนโลยี 4.0 ข่าวแห่งอนาคต” ซึ่งมีตัวแทนผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างๆ มาบรรยาย
ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช.กล่าวว่า ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอจะเข้ามามีส่วนช่วยในการทำข่าวอย่างมากมายในอนาคต ทั้ง การเลือกข่าวจากข้อมูลมากมายมหาศาล ไม่ให้ข่าวที่ออกมาจมไปกับข้อมูลซึ่งคาดกันว่า ในปี 2024 เอไอจะสามารถเขียนบทความได้ในระดับนักเรียนมัธยม และต่อไปจะแต่งเพลงได้ในอีก 10 ปี ข้างหน้า ที่จะติดท็อปชาร์ตด้วย และปี 2049 จะเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ได้
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้เคยมองกันว่าเอไอจะทำงานศิลปะไม่ได้ แต่หลังๆ จะเห็นเอไอทำงานศิลปะกันมากขึ้น หรือการออกแบบการเขียนข่าวตามสไตล์เฉพาะตัว ด้วยการเรียนรู้สำนวนของคนเขียน อังกฤษ ใช้เอไอเปลี่ยนข่าวให้เข้ากับแต่ละพื้นที่ในการนำเสนอญี่ปุ่นสามารถใช้เอไอเขียนนวนิยายสั้น เกือบชนะรางวัล Literary Prize
ชัย กล่าวว่า เอไอไม่ได้มีแต่เฉพาะด้านบวก เพราะอาจไม่สามารถทราบได้ว่าข่าวที่เอไอเขียนมาลอกใครมาหรือไม่ หรือเอไอมีการตระหนักถึงสิ่งที่เขียนหรือไม่ ดังนั้น ถึงเทคโนโลยีเปลี่ยนแต่ นักข่าวไม่เปลี่ยน ซึ่งเอไอก็อาจตามไม่ทันศัพท์ใหม่ๆ ที่สำคัญต้องใช้จริยธรรมนำเอไอ ต้องใช้จริยธรรมนักข่าว ควบคุมเอไอ ป้องกันเรื่องความเป็นส่วนตัวของมนุษย์ และเลือกบิ๊กดาต้าที่จะป้อนให้กับเอไอ
สายใย สระกวี หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรและมวลชนสัมพันธ์ กูเกิล ประเทศไทย กล่าวว่า กูเกิลตั้งมา 20 ปี มีภารกิจที่ไม่เคยเปลี่ยนคือต้องการมีส่วนร่วมจัดการข้อมูลข่าวสารบนโลกใบนี้ มีประโยชน์ต่อคนบนโลก โดยผู้สื่อข่าวทำสิ่งเหล่านี้มาก่อนกูเกิล กูเกิลจึงนำข้อมูลเหล่านั้นมาบริหารจัดการ นำมาสู่โครงการกูเกิล นิวส์ อินิชิเอทีฟ สนับสนุนนักข่าวทั่วโลก 300 ล้านเหรียญ พัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตข่าว และหลักสูตรออนไลน์ ยังช่วยการสร้างการเติบโตร่วมกันไปกับผู้สื่อข่าว เจ้าของสื่อ บนแพลตฟอร์มออนไลน์
อย่างไรก็ตาม กูเกิลมีเครื่องมือมากมายในการช่วยทำข่าว ทั้งเครื่องมือแผนที่ที่สามารถวัดระยะทาง ระยะเวลาเดินทางที่ค่อนข้างแม่น กูเกิลทรานสเลทจากแปลภาษาเป็นคำๆ เริ่มเป็นประโยค อัพเดทที่ในภาษาไทยถือเป็นการก้าวกระโดดในรอบ 20 ปี แต่ก็ยังไม่ร้อยเปอร์เซนต์แต่ช่วยทำให้ทำงานข่าวได้ง่ายขึ้น รวมทั้งโปรแกรมจดโน๊ตด้วยคำสั่งเสียงที่เป็นแบบเรียลไทม์ จดโน๊ตข้างนอกคนในออฟฟิศเห็นหมดพร้อมกัน หรือ อิมเมจกูเกิลที่สามารถตรวจสอบว่าเป็นรูปจริงรูปแต่ง มีที่มาจากไหน
สายใย กล่าวว่า กูเกิลเทรนด์ เป็นอีกเทคโนโลยีที่ใช้ท่ามกลางการค้นหาข้อมูลล้านล้านเว็บไซต์ เมื่อเรามีข้อมูลคนใช้เราก็จะรู้ว่าคนสนใจข่าวอะไร เช่น ช่วงนี้มี “คีย์เวิร์ด” ไหนที่คนค้นหาเยอะ เช่น ในอเมริกา มีคำค้น “ย้ายไปแคนาดา” สูงมากในช่วง โดนัล ทรัมป์ ชนะเลือกตั้ง หรือ หาได้ว่าพื้นที่ไหน ชอบเพลงแบบไหน จะได้เขียนข่าวหรือสัมภาษณ์บุคคลได้ตรงกับความสนใจมากที่สุด
นอกจากนี้ กูเกิล ยังทำงานร่วมกับสมาคมนักข่าวทั่วโลก เพื่อให้ข้อมูลถูกต้อง ไม่ผิด เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเราไม่เสนอข้อมูลผิด ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร โดยเฉพาะเฟคนิวส์ กูเกิล มีนโยบายให้ความสำคัญ โดยทำงานร่วมสามาคมข่าวฯ โดยเร็วๆ นี้ จะมีให้สำนักข่าวร่วมยืนยันความถูกต้องลงในเนื้อหาที่เผยแพร่
ชรัตน์ เพ็ชรธงไชย หัวหน้าธุรกิจไลน์ทูเดย์, ไลน์ ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีทำให้คนสร้างสรรค์เนื้อหาได้รวดเร็วและมีปริมาณมากขึ้น จนกระทบไปถึงทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตสื่อ เพราะเมื่อผู้อ่านมีตัวเลือกมากขึ้นก็จะทำให้เกิดเกิดการแข่งมากขึ้นอีกทั้งปัจจุบันผู้ผลิตเนื้อหาไม่ใช่แค่สื่อมวลชนทั่วไปแต่ยังรวมถึงประชาชนทั่วไปด้วย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะทำให้คนทำข่าวยังอยู่รอดได้จะต้องพิจารณาใน 3 อย่างคือ เนื้อหา คนดู และ ช่องทาง ซึ่งด้วยเทคโนโลยีทำให้การผลิตเนื้อหาสามารถรู้ได้ว่า คนอ่านชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ส่วนช่องทางการสื่อสารบริการของ “ไลน์” ทำให้สามารถเข้าถึงได้ทั้งผู้ผลิต และคนอ่าน รวมทั้งใช้เอไอเข้าาคัดกรองเนื้อหาไม่ได้นำข่าวเป็นพันมาเสนอทั้งหมดแต่ใช้อัลกอริธึมมาใช้ให้รู้ว่าคนอ่านชอบอ่านข่าวอะไร
“สิ่งที่ต้องเริ่มคิดตั้งแต่วันนี้ คือประเด็นเรื่องความเร็วไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่ต้องเป็นประเด็นความจริง ความถูกต้อง เพราะคนสามารถตรวจสอบได้ รวมไปถึงเรื่องการเอนเอียงไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่ง ไม่ใช่มองแต่ปริมาณ แต่ต้องมองคุณภาพ และการทำคอนเทนต์ไม่ได้ทำคอนเทนต์เดียวจะเหมาะสมกับทุกที่ แต่ต้องคิดว่าแพลตฟอร์มนี้เหมาะกับเนื้อหาอะไร” ชรัตน์ กล่าว
ชรัตน์ กล่าวว่า ต่อไปคนที่อ่านข่าวจากสมาร์ทโฟนเราจะรู้ว่า คนอ่านเคยเข้าเว็บไซต์อะไรมาแล้วบ้าง ก็จะสามารถเดาทางพฤติกรรม ว่าคนคนนั่นสนใจสิ่งใดและจึงจะนำเสนอข่าวไปยังคนคนนั้น ไลน์เหมือนแพลตฟอร์มอีกทางเลือกหนึ่งทำให้ตัวข่าวถูกกระจายมากขึ้นเป็นตัวกลางช่วยให้เกิดการแบ่งรายได้กับคนผลิตเนื้อหา ขณะเดียวกันก็จะดูแลด้านความปลอดภัยเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ด้วย
ก้าวโรจน์ สุตาภักดี นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า ยุคนี้มีความเปลี่ยนแปลงจากการทำข่าวสมัยก่อนที่ต้องใช้แท่นพิมพ์ 200-300 ล้านบาท มีรถส่งหนังสือพิมพ์ต้องทำงานแข่งกับเวลา แต่เมื่อทุกอย่างเป็นดิจิตอล พฤติกรรมคนอ่านก็เปลี่ยน การทำข่าวก็เปลี่ยนไป ทั้งช่องทางและรูปแบบปัจจุบันมีแค่มือถือเครื่องเดียวก็จบ อยากให้คนอ่านเยอะก็มาบูสต์โพสต์เลือกเป้าหมายได้เลย ทางสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ได้รวมกลุ่มเพื่อพัฒนาตัวเองในการทำข่าวดิจิจตอล
อย่างไรก็ตาม การศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้น 4 ปีที่เรียนก็ถือเป็นเบ้าหลอมให้นักศึกษา จะได้ไปศึกษาเครื่องมือที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเรื่องความเร็วก็อาจนำมาสู่ความผิดพลาด ขนาดหนังสือพิม์เดิมที่ทั้งนักข่าวส่งข่าว รีไรท์ พิสูจน์อักษร ยังผิดได้ ดังนั้นออนไลน์มีโอกาสผิดอยู่แล้ว อยู่ที่ผิดแล้วจะยอมรับไหม สังคมไทยพร้อมให้อภัย ขณะที่ปัญหาเรื่องข่าวปลอมหรือเฟคนิวส์เป็นปัญหาระดับชาติหากเป็นสำนักข่าวใหญ่ๆ เมื่อทำผิดก็สามารถไปติดตามฟ้องร้องหรือหาคนผิดฟได้ไม่ยากดังนั้นเขาคงไม่ทำข่าวปลอมให้อ่าน
| ['ข่าว', 'เศรษฐกิจ', 'ไอซีที', 'สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย', 'ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย', 'ปัญญาประดิษฐ์', 'AI', 'google', 'Line', 'ชรัตน์ เพ็ชรธงไชย', 'ไลน์ทูเดย์', 'ก้าวโรจน์ สุตาภักดี'] |
https://prachatai.com/print/79219 | 2018-10-19 16:04 | ผบ.ทสส.เชื่อไม่มีเหตุจลาจลอีก ชี้ 'ผบ.ทบ.-ผบ.ทอ.' พูดเป็นแผนเผชิญเหตุขั้นสุดท้าย | ผู้นำเหล่าทัพแถลงจุดยืนพิทักษ์สถาบันกษัตริย์ รักษาความมั่นคงรัฐ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 20 ปี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเผย 4 ปีที่ผ่านมาบ้านเมืองมีแต่ความสงบ ไม่มีการประท้วง ขออย่าไปคาดการณ์ว่าจะเกิดการจราจล สิ่งที่ ผบ.ทบ. และ ผบ.ทอ. พูด เป็นการพูดจากประสบการณ์ ซึ่งเป็นแผนเผชิญเหตุสุดท้าย ด้านพล.อ.อภิรัชต์ ไหว้ชื่อพ่อที่ติดอยู่บนผนังหลังเสร็จแถลงข่าว ไม่สนกรณีที่เอกชัยไปแจ้งความข้อหา ‘กบฎ’
ที่มาภาพ:กองประชาสัมพันธ์ สำนักประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหาร
19 ต.ค. 2561 สำนักข่าวไทย [1] และมติชน [2] รายงานว่า วันนี้ ที่กองบัญชาการกองทัพไทย ได้มีการจัดประชุมผู้นำเหล่าทัพ ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2562 โดยมีพล.อ.พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด(ผบ.ทสส) พร้อมด้วย พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ(ผบ.ทร.) พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ผู้บัญชาการทหารอากาศ(ผบ.ทอ) และ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) ร่วมประชุมหารือกัน
หลังจากการเสร็จสิ้นการประชุมได้มีการแถลงข่าว โดย พล.อ.พรพิพัฒน์ ผบ.ทสส. เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายแก่เหล่าทัพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อสร้างความเข้าใจและกำหนดแนวทางการปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกด้าน ทั้งการพิทักษ์เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ การรักษาความมั่นคงของรัฐ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี การแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติ สร้างความร่วมมือและพัฒนาความสัมพันธ์กับมิตรประเทศช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน นำพาประเทศก้าวเข้าสู่อนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน ตามนโยบาย “ประชารัฐ” เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ “Thailand 4.0”
พล.อ.พรพิพัฒน์ กล่าวด้วยว่า เรื่องการเตรียมพร้อมสู่การเลือกตั้งในปีหน้านั้น สิ่งที่สามารถทำได้ คือ ให้ความรู้ ความเข้าใจกับกำลังพล ทำให้บรรยากาศทุกพื้นที่มีความสงบ ทั้งนี้สถานการณ์ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มีความสงบ ไม่มีการประท้วง คนไทยมีความสุข สามารถทำมาหากินได้ตามปกติ ติดต่อค้าขายด้านเศรษฐกิจก็เป็นไปได้ด้วยดี ทุกคนเคารพกฎหมายจึงไม่มีอะไรต้องกังวล จุดยืนของทหารคือ ทำให้ประเทศสงบประชาชนมีความสุข และขออย่าไปคาดการณ์ว่าจะเกิดการจราจล เวลานี้ ยังไม่เห็นโอกาสที่จะเกิดความไม่สงบ ยังไม่เห็นว่าจะต้องแก้ปัญหาความไม่สงบ ด้วยวิธีอื่นใดในเมื่อกฎหมายก็ยังใช้บังคับได้
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า หากในอนาคตเกิดวิกฤติทางการเมืองอีกครั้ง บทบาทของทหารจะเป็นอย่างไร หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ลงจากอำนาจ พล.อ.พรพิพัฒน์ ตอบว่า หากเราไม่ไปพยากรณ์ว่าจะเกิดการจลาจล ขณะนี้การเดินทางของประเทศไทย 4 ปีที่ผ่านมา ถือว่ามีพัฒนาการที่ดี ก่อนหน้าและมีการเตรียมการไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยมาด้วยดีตลอด แทนที่เราจะคิดว่าจะเกิดการจลาจล แต่หากเราเราร่วมมือกันตัดสินใจให้ถูกต้อง ทุกคนมีจุดยืนที่เหมาะสมร่วมกัน เราคงไม่ต้องไปคิดว่าจะเกิดการจลาจลหรือไม่ในอนาคต และไม่ต้องไปคิดว่าทหารจะต้องมาทำอะไรหรือไม่ในวันนั้น
“สิ่งที่ พล.อ.อภิรัตน์ และพล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ พูดนั้น ท่านพูดด้วยประสบการณ์ นั้นคือแผนเผชิญเหตุสุดท้าย แต่ในขณะที่กลไกกฎระเบียบของบ้านยังคงใช้บังคับได้ และผู้คนเคารพกฎหมายความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งก็ยังไม่เห็นปรากฎว่ามีนัยสำคัญ จนถึงขนาดที่ต้องกังวล การที่เราไปพูดถึงเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น และไม่มีทีท่าว่าจะเกิด จะทำให้สังคมเกิดความกังวลได้ ผมคิดว่าเราทุกคนต้องยืนหยัดอยู่กับการรับข้อมูลและการตัดสินใจจากข้อมูลให้เกิดความสงบ อย่าไปตื่นตามประเด็นที่เฉี่ยวไปเฉี่ยวมาเล็กๆ น้อยๆ จุดยืนของกองทัพ และ สตช. คือจุดที่ประชาชนมีความสุขและประเทศชาติมีความสงบ”
ดูคำตอบ ผบ.ทบ.ในอดีต เมื่อถูกถามจะรัฐประหารหรือไม่? หลัง 'อภิรัชต์' ไม่รับประกัน [3]
ผบ.ทอ. ชี้ไม่มีใครอยากรัฐประหาร ย้ำถ้าทุกคนอยู่ในกติกา จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น [4]
พล.อ.อภิรัชต์ ผบ.ทบ. บอกถึงกรณีถูกฝ่ายการเมืองโจมตีรุนแรงหลังแสดงจุดยืนทางการเมือง ว่าเป็นเรื่องธรรมดา ส่วนที่เอกชัย หงส์กังวาน นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ระบุว่า จะเดินทางไปแจ้งความดำเนินคดีข้อหากบฏ พล.อ.อภิรัชต์ ตอบว่า ก็ว่ากันไป
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าหลังจากเสร็จสิ้นการแถลงข่าว พล.อ.อภิรัชต์ ได้เดินเข้าไปไหว้ชื่อของ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ผู้เป็นพ่อ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และหัวหน้าคณะรัฐประหารในปี 2535 หรือคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.) ซึ่งติดอยู่บนผนังรายชื่อผู้เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'ผู้บัญชาการเหล่าทัพ', 'ผบ.ทบ.', 'ผบ.ทสส.', 'อภิรัชต์ คงสมพงษ์', 'กองทัพ', 'รัฐประหาร', 'การขู่ทำรัฐประหาร', 'การจลาจล \xa0'] |
https://prachatai.com/print/79221 | 2018-10-19 18:09 | เปิดม่านสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 11 - ป้องกันโรคยุค 4.0 ประชาชนต้องรู้เท่าทันด้านสุขภาพ | คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติแถลงข่าวการเตรียมความพร้อมการจัดประชุมสมัชชาฯ ครั้งที่ 11 ชูแนวคิดหลัก “รู้เท่าทันสุขภาพ ร่วมสร้างสังคมสุขภาวะ” เน้นย้ำความสำคัญของระบบสุขภาพในโลกยุค 4.0 ที่โรคหลายชนิดเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง
19 ต.ค.2561 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) รายงานว่า วันนี้ ณ ห้องแซฟไฟร์ 1-2 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค ดินแดง กรุงเทพฯ คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) ร่วมกับ สช. จัดแถลงข่าวการเตรียมความพร้อม การจัดประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 11 พ.ศ.2561 ซึ่งงานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-14 ธ.ค.นี้ ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ
นพ.กิจจา เรืองไทย ประธาน คจ.สช. เปิดเผยว่า สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพ ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ปีนี้ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 11 จัดภายใต้แนวคิดหลัก “รู้เท่าทันสุขภาพ ร่วมสร้างสังคมสุขภาวะ” เน้นย้ำความสำคัญของระบบสุขภาพในโลกยุค 4.0 ที่โรคหลายชนิดเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ผู้บริโภคจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลตนเอง ท่ามกลางข้อมูลข่าวสารยุคดิจิทัลที่ท่วมท้นและสื่อสารถึงกันอย่างรวดเร็ว ปี 2561 จึงมีระเบียบวาระสำคัญ 4 เรื่องที่จะเข้าสู่การพิจารณาเพื่อเสนอนโยบายสาธารณะในการจัดการปัญหา ได้แก่ 1.ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อ 2.การร่วมสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะในเขตเมืองเพื่อสุขภาวะสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 3.ความรับผิดชอบร่วมทางสังคมเกี่ยวกับอีสปอร์ตต่อสุขภาวะเด็ก และ 4.การคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการทันตกรรม
“ระเบียบวาระที่จะพิจารณากันในปีนี้ จะเป็นการเสนอทางออกของโรคที่ป้องกันและจัดการได้ด้วยการปรับวิถีชีวิตของประชาชน โดยจะเห็นได้ว่าทั้ง 4 เรื่องล้วนสอดคล้องกับวิถีชีวิตคนในยุคดิจิทัลทั้งสิ้น ปีนี้เราจึงได้ขยายกลุ่มสมาชิกไปยังภาคีเครือข่ายคนรุ่นใหม่ นิสิต นักศึกษา และผู้นำท้องถิ่นต่างๆ เพื่อให้เกิดพลังการขับเคลื่อนมติไปสู่การปฏิบัติในอนาคตด้วย ทั้งนี้ คาดว่าปีนี้จะมีภาคีเครือข่ายและผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 2,000 คน” ประธาน คจ.สช. กล่าว
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อดีตประธาน คจ.สช. ปี 2559-2560 ปัจจุบันเป็น กรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกล่าวว่า 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ พ.ศ.2551-2560 ได้เกิดมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติขึ้นแล้ว จำนวน 77 มติ โดยคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้ให้ความสำคัญกับการติดตามเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนมติไปสู่ภาคปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีการแต่งตั้ง คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คมส.) ซึ่งมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร) เป็นประธาน ทุกปีในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติจึงมีการรายงานผลสำเร็จของการขับเคลื่อนมติ รวมทั้งเปิดเวทีแลกเปลี่ยนหาทางออกร่วมกันของภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นที่ยังคงมีปัญหาอุปสรรคที่ทำให้การนำไปปฏิบัติไม่เกิดผลด้วย
“ในโอกาสที่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งนี้ จะเริ่มในวันที่ 12 ธันวาคม ซึ่งตรงกับวันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสากล หรือ Universal Health Coverage Day (UHC Day) ที่สหประชาชาติประกาศไว้ เราจึงจะนำเอาความสำเร็จของระบบหลักประกันสุขภาพไทย ซึ่งตั้งแต่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 1 ก็มีมติที่เกี่ยวข้องเรื่องความสามารถในการเข้าถึงและได้รับบริการสาธารณสุขมารายงาน และถือเป็นการเปิดงาน UHC Day ครั้งที่ 2 ในประเทศไทยไปพร้อมกัน นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนผลการขับเคลื่อนมติที่สำคัญ เช่น การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ การแก้ไขอุบัติเหตุทางถนน และกลุ่มมติเรื่องการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อด้วย” นพ.ศุภกิจ กล่าว
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า แนวคิดหลักของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 11 เรื่อง การรู้เท่าทันสุขภาพ หรือ Health Literacy เป็นสิ่งที่ทั่วโลกกำลังรณรงค์ให้ผู้บริโภคมีความรอบรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) เรื่อง “การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์” แผนปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข และธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2
“การขับเคลื่อนกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ถือว่าประสบความสำเร็จ สามารถสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในทุกระดับได้ และสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 11นี้ นับเป็นก้าวสำคัญที่มุ่งสู่ทศวรรษที่ 2 ได้อย่างเข้มแข็งและนำไปสู่ก้าวที่ยั่งยืนของสมัชชาสุขภาพต่อไป เพราะสุขภาพเป็นมิติที่กว้างครอบคลุมทั้งสุขภาพกาย ใจ สังคมและสุขภาพทางปัญญา การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคและประชาชนให้รู้เท่าทันสุขภาพ จำแนกแยกแยะข้อมูลที่ถูกต้อง หรือหลอกลวงได้ มีทัศนคติมุ่งมั่นในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว มีจิตสาธารณะและเชื่อมั่นว่าประชาชนมีความสามารถที่จะร่วมเสนอนโยบายในการดูแลสุขภาพ จึงเป็นประเด็นสำคัญ” นพ.พลเดช กล่าว
สำหรับรายละเอียดของระเบียบวาระ 4 ประเด็นที่จะมีการพิจารณากันนั้น ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ เลขานุการคณะทำงานฯ ระเบียบวาระ “ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อ” กล่าวว่า การจัดการปัญหาโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยก่อนวัยอันควรจำนวนมาก จำเป็นต้องสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการสร้างความรู้เท่าทันด้านสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยและผู้บริโภค ให้ประชาชนมีความสามารถในการค้นหาคำตอบ เข้าถึงแหล่งข้อมูล ตรวจสอบ ทำความเข้าใจ และนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์และความจำเป็น โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาระบบจัดการและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ส่งเสริมกิจการที่รับผิดชอบต่อสังคม พัฒนาชุดสิทธิประโยชน์หลักด้านสุขภาพและขับเคลื่อนนโยบายเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านกลไกระดับชาติและพื้นที่ และส่งเสริมการวิจัยระบบสุขภาพเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อ ซึ่งจะช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิตและสามารถลดภาระงบประมาณที่ใช้ในระบบสุขภาพได้อีกด้วย
ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ เลขานุการคณะทำงานฯ ระเบียบวาระ “การร่วมสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะในเขตเมืองเพื่อสุขภาวะสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” กล่าวว่า พัฒนาการของความเป็นเมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็วทำให้พื้นที่สาธารณะที่ชุมชนจะใช้ประโยชน์ร่วมกันลดลงไปมาก ทั้งๆ ที่พื้นที่สาธารณะมีความสำคัญต่อสุขภาวะ คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และความเท่าเทียมกันของสังคมอย่างมาก แต่ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่สาธารณะเพียง 6 ตรม.ต่อคน ต่ำกว่ามาตรฐานองค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้อย่างน้อย 9 ตรม. ต่อคน ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนต้องบูรณาการความร่วมมือในการวางแผน ออกแบบและพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยปราศจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่ความเป็นเมืองสุขภาวะที่ดี (Wellness City) อย่างยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ดร.ธีรารัตน์ พันทวี ประธานคณะทำงานฯ ระเบียบวาระ “ความรับผิดชอบร่วมทางสังคมเกี่ยวกับอีสปอร์ตต่อสุขภาวะเด็ก” กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ได้มีมติเรื่องการจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24 ชั่วโมง: กรณีเด็กไทยกับไอที ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาวะของเด็กและเยาวชนโดยตรง ในปีนี้ โลกดิจิทัลพัฒนารวดเร็ว แม้แต่วิดีโอเกมที่เด็กๆ เล่นกันก็พัฒนาเป็นอีสปอร์ต ซึ่งมีความห่วงกังวลในผู้เกี่ยวข้องหลายภาคส่วนว่าบางเกมอาจมีความรุนแรงและมีการพนันออนไลน์แอบแฝง อย่างไรก็ดี เนื่องจากกระแสโลกและกระแสสังคมไทยในปัจจุบัน ซึ่งหลายส่วนมองว่าอีสปอร์ตก็เป็นโอกาสในหลายๆ ด้าน จึงนำมาสู่การเสนอประเด็นนี้เข้าสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเปิดพื้นที่สาธารณะและสานพลังจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาและมีฉันทมติร่วมกันให้สังคมมีความเข้าใจ ร่วมรับผิดชอบ และรู้เท่าทันอีสปอร์ต เด็กและเยาวชนอยู่กับอีสปอร์ตได้อย่างปลอดภัย
ทพ.ดร.ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล รองประธานคณะทำงานฯ ระเบียบวาระ “การคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการทันตกรรม” กล่าวว่า ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การทำฟันเถื่อนและการจัดฟันที่ขาดคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยจำนวนมาก เนื่องจากยังมีข้อจำกัดของสิทธิประโยชน์จากระบบประกันสุขภาพประเภทต่างๆ และความสะดวกในการรับบริการทันตกรรมที่ปลอดภัยมีคุณภาพนั้นยังมีราคาสูงมาก ในขณะที่การทำฟันเถื่อนนั้นมีราคาที่ถูกกว่าปกติมาก รวมถึงมีการใช้ช่องทางโฆษณาออนไลน์ที่เข้าถึงตัวผู้บริโภครวดเร็ว ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันให้ประชาชนได้รับบริการทางทันตกรรมที่มีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัยอย่างเท่าเทียมกัน และมีการตรวจตราความปลอดภัยที่เข้มงวดเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้ง 11 พ.ศ.2561 ในปีนี้ นอกจากการพิจารณา 4 ระเบียบวาระสำคัญ และรายงานผลสำเร็จการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ผ่านมาแล้ว ยังมีกิจกรรมน่าเรียนรู้ และร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น ทั้งนิทรรศการที่บอกเล่าหลากหลายเรื่องราวในลานสมัชชาสุขภาพ และห้องเสวนานโยบายสาธารณะที่น่าสนใจ เช่น ‘ธนาคารเวลา: นโยบายสร้างจิตอาสาในสังคมผู้สูงอายุ’,‘สิทธิด้านสุขภาพของกลุ่มประชากรเปราะบางกลุ่มผู้ต้องขังหญิง’ เป็นต้น ประชาชนผู้สนใจสามารถเข้าร่วม และติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.samatcha.org [1]
| ['ข่าว', 'คุณภาพชีวิต', 'สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ', 'สังคมสุขภาวะ'] |
https://prachatai.com/print/79222 | 2018-10-19 18:39 | ‘เอกชัย’ แจ้งข้อหา ‘กบฏ’ กับ ‘อภิรัชต์’ ตำรวจถาม ‘คุณเป็นผู้เสียหายเหรอ’ | เอกชัย หงส์กังวาน แจ้งความ ม.113 ข้อหา ‘กบฎ’ เอาผิด ผบ.ทบ. หลังให้สัมภาษณ์สื่อว่า “หากการเมืองไม่เป็นเหตุให้เกิดจลาจล ก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น” เผยกว่าจะได้แจ้งความใช้เวลาชั่วโมงกว่า ถูกตำรวจถามเป็นผู้เสียหายเหรอ หลังแจ้งความเสร็จถูกชายสองคนอ้างตัวเป็นหน่วยงานความั่นคงเรียกไปซักประวัติส่วนตัวอีก ด้านอภิรัชต์บอก ก็ว่ากันไป
19 ต.ค. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ เวลา 10.00 น. เอกชัย หงส์กังวาน และโชคชัย ไพบูลย์รัชตะ สองนักกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งค่อยติดตามทวงถามหาความรับผิดชอบเรื่องนาฬิกาหรูของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ มาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2560 ได้เดินทางไปยังสถานนีตำรวจนครบาลลาดพร้าว เพื่อเข้าแจ้งความกับ พล.อ.อภิรัชตะ คงสมพงษ์ ในข้อหา ‘กบฎ’ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 หลังจากให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค. ที่ถามว่าในอนาคตจะมีการทำรัฐประหารอีกหรือไม่ ว่า “หากการเมืองไม่เป็นเหตุให้เกิดจลาจล ก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น”
เอกชัย ให้ข้อมูลว่า เขาและโขคชัยเดินทางไปถึงสถานีตำรวจนครบาลลาดพร้าวตั้งแต่ 10.00 น. แต่กว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจับยอมรับแจ้งความต้องใช้เวลาในการพูดคุยชั่วโมงกว่า โดยผู้บังคับบัญชากองบังคับการตำรวจนครบาลที่ 4 พล.ต.ต.ธีระพงษ์ วงษ์รัฐพิทักษ์ เป็นผู้รับเรื่องแจ้งความด้วยตัวเอง
“ยึกยักพอสมควรนะ ตอนแรกที่ไปถึงเขาก็ถามว่า คุณเป็นผู้เสียหายเหรอ ผมก็บอกว่า ม.113 เป็นอาญาแผ่นดิน ประชาชนทุกคนแจ้งความได้ ต่อมาเขาก็ถามข้อมูลว่า คุณอภิรัชต์เขาพูดที่ไหน ผมก็บอกว่ารู้สึกว่าจะเป็นกองบัญชาการกองทัพ เขาก็บอกว่าผมต้องไปแจ้ง สน. ในพื้นที่ ผมก็บอกว่ามันไม่เกี่ยวกันมันเป็นอาญาแผ่นดิน ผมรับข่าวจากที่บ้านมันก็แจ้งที่ สน. พื้นที่บ้านผมได้ ไม่จำเป็นต้องไปแจ้ง สน. ที่เกิดเหตุ... เขาก็อ้างอีกว่าเนื้อหาอาจจะไม่เข้าข่าย ม.113 ผมก็ชี้แจงโดยเอาข่าวที่คุณวาสนา นาน่วมโพสต์ในเฟสบุ๊กไปยืนยันว่า เขาพาดหัวว่า ไม่รับประกันว่าจะไม่รัฐประหารอีก ตำรวจเขาก็ถามผมอีกว่าพออ่านดูแล้วคิดว่าผิดเหรอ ผมก็บอกเขาว่า ในเมื่อกฎหมาย ม.113 มันเขียนว่า ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังปะทุษร้าย อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร แบบนี้เขาก็ขู่ว่า ถ้าไม่เกิดเหตุการณ์จลาจลก็จะไม่ทำ มันก็เป็นลักษณะของการขู่เข็ญ” เอกชัยกล่าว
เอกชัย กล่าวต่อว่า พล.ต.ต.ธีระพงษ์ ยังระบุว่า เขาคิดไปเองว่าคำพูดของ พล.อ.อภิรัชต์ เป็นการขู่เข็ญว่าจะยึดอำนาจ เอกชัยจึงตอบว่า ตอนนี้คนทั่วไปก็ตีความสิ่งที่พล.อ.อภิรัชต์ พูดไปในทางเดียวกันว่า ถ้ามีความวุนวาย ก็จะมีการรัฐประหารอีก ซึ่งถือเป็นเรื่องที่แปลกประหลาด เพราะเป็นการพูดที่ทำให้การรัฐประหารเป็นเรื่องปกติ ทั้งที่การทำรัฐประหารเป็นความผิด เป็นอาญาแผ่นดิน จนที่สุดแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับแจ้งความ ทว่าหลังจากแจ้งความเสร็จเรียบร้อยแล้ว กลับมีเจ้าหน้าที่ซึ่งอ้างตัวว่ามาจากหน่วยงานความมั่นคงเข้ามาเชิญเอกชัยเข้าไปพูดคุยด้วย เนื่องจากต้องการข้อมูลเพิมเติ่ม
“ตอนแจ้งความเสร็จแล้วก็มีอีกสองคน อ้างว่าเป็นหน่วยงานความมั่นคง เขาไม่ยอมบอกสังกัดว่ามาจากไหน ผมก็เดาว่าน่าจะเป็นคนจาก คสช. เรียกผมไปสอบถามเพิ่มเติ่ม ตอนแรกก็คิดว่าจะมาถามเรื่องที่มาแจ้งความ แต่กลับมาถามอะไรเรื่อยเปื่อย ถามว่าบ้านอยู่ไหน ทำงานอะไร อายุเท่าไหร่ ถามแต่เรื่องส่วนตัว จนเรารำคาญ เราก็บอกทำไมถามแต่เรื่องส่วนตัว เราก็ไม่อยากจะคุยด้วยเท่าไหร่ เสียเวลาเปล่าๆ เพราะเราเสียเวลามาเยอะแล้วกว่าจะได้แจ้งความ ตำรวจก็พูดเองก็จะรับแจ้งความว่า คุณไม่รู้เหรอว่า เขา(พล.อ.อภิรัชต์) เป็นทหารจากสายใคร คุณไม่กลัวเหรอที่มาแจ้งความแบบนี้ ต้องระวังตัวนะ เราก็บอกว่ามันไม่เกี่ยวเลย เพราะถ้าผิดก็ว่าไปตามผิด สุดท้ายกว่าจะเสร็จก็ปาไปเกือบบ่ายสอง” เอกชัย กล่าว
ดูคำตอบ ผบ.ทบ.ในอดีต เมื่อถูกถามจะรัฐประหารหรือไม่? หลัง 'อภิรัชต์' ไม่รับประกัน [1]
ผบ.ทอ. ชี้ไม่มีใครอยากรัฐประหาร ย้ำถ้าทุกคนอยู่ในกติกา จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น [2]
ผบ.ทสส.เชื่อไม่มีเหตุจลาจลอีก ชี้ 'ผบ.ทบ.-ผบ.ทอ.' พูดเป็นแผนเผชิญเหตุขั้นสุดท้าย [3]
สำหรับการเข้าแจ้งความครั้งนี้ เอกชัยระบุว่า มีความคาดหวังในกระบวนการยุติธรรมอยู่บ้าง แต่ก็ไม่แน่ใจนักว่าจะหวังได้มากน้อยแค่ไหน สิ่งที่ทำไปนี้ทำไปเพราะต้องการสร้างบรรทัดฐานว่า การพูดในลักษณะที่ว่าการทำรัฐประหารเป็นเรื่องปกตินั้น ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย
“มันเป็นความคิดผิดๆ ของพวกทหารที่มองว่ารัฐประหารมันทำได้ แต่ที่แย่ยิ่งกว่าความคิดของทหารคือ ความคิดของพวกนักการเมืองที่ทำได้แค่โต้ไปโต้มา พูดอยู่ได้ว่ารัฐประหารผิดกฎหมายอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ก็ไม่เห็นออกมาทำอะไรกันเลย ตอนปี 49 ตอนปี 57 พอมีรัฐประหารขึ้นมาก็เงียบกริบแกนนำหายหมด นักการเมืองหายเรียบ แทนที่จะมาคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะล้มล้าง ต่อสู้การรัฐประหาร แต่ก็ทำได้แค่สงครามน้ำลาย ไม่มีอะไรที่เป็นรูปธรรม พูดง่ายๆ มันเก่งแต่ปาก จนถึงวันนี้ก็มีคนออกมาขู่อีก เรารำคาญ คนเสื้อแดงเองก็เหมือนกัน แทนที่จะคิดหาวิธีว่าจะทำไงไม่ให้อภิรัชต์ทำรัฐประหาร อย่างที่ผมทำวันนี้ก็คือการออกมาแจ้งความ ทำไปตามกระบวนการ และถ้ามันเป็นไปตามกระบวนการเขาก็จะถูกดำเนินคดี มันก็อาจจะนำไปสู่การปลดออกจากตำแหน่ง นี่แหละเป็นวิธีหนึ่งที่จะป้องกัน แต่คนเสื้อแดงไม่มีอะไรเลยมีแต่สงครามน้ำลายไปวันๆ” เอกชัย กล่าว
วันเดียวกัน มติชนออนไลน์ [4] รายงานด้วยว่า ผู้สื่อข่าว ได้สอบถามกรณีที่เอกชัย เข้าแจ้งความข้อหากบฎ กับพล.อ.อภิรัชต์ หลังเสร็จสิ้นการประชุมผู้นำเหล่าทัพที่กองบัญชาการกองทัพไทย โดยพล.อ.อภิรัชต์ ให้ความเห็นในเรื่องนี้สั้นๆ ว่า ก็ว่ากันไป และหลังจากเสร็จการสัมภาษณ์พล.อ.อภิรัชต์ ได้เดินเข้าไปไหว้ชื่อของ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ผู้เป็นพ่อ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และหัวหน้าคณะรัฐประหารในปี 2535 หรือคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.) ซึ่งติดอยู่บนผนังรายชื่อผู้เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด นอกจากนี้ก่อนเข้าประชุม พล.อ.อภิรัชต์ ยังได้เดินเข้าไปดูรูป พล.อ.สุนทร ในห้องรับรองนเรศวรอีกด้วย
‘เอกชัย-โชคชัย-วรัญชัย’ รำลึก 12 ปี รหป.49 ขอ ผบ.ทบ.คนใหม่อย่าดูตัวอย่างเลวๆ แล้วทำรัฐประหารอีก [5]
ผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานเพิ่มเติ่มว่า เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2561 เอกชัย และโชคชัย ได้เดินทางไปบริเวณด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อทำกิจกรรมรำลึก 12 ปี รัฐประหารปี 2549 โดยในวันนั้นโชคชัยให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า อยากฝากถึงว่าที่ ผบ.ทบ. คนใหม่คือ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ว่าเมื่อได้เป็น ผบ.ทบ.แล้วอยากได้คิดทำรัฐประหารอีก
“เมื่อท่านได้เป็น ผบ.ทบ. แล้วอย่านำตัวอย่างเลวๆ ของผบ.ทบ. คนก่อน มาทำรัฐประหารอีก ไม่ว่าจะเป็นพ่อของท่านเองพล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ่งเหล่านี้คือตัวอย่างที่เลวสสำหรับคนเป็น ผบ.ทบ. เพราะการรัฐประหารไม่เคยแก้ไขปัญหาทางการเมืองได้” โชคชัย กล่าว
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'เอกชัย หงส์กังวาน', 'โชคชัย ไพบูลรัชตะ', 'อภิรัชต์ คงสมพงษ์', 'ธีระพงษ์ วงษ์รัฐพิทักษ์', 'กบฎ', 'มาตรา 113', 'การรัฐประหาร', 'การขู่รัฐประหาร'] |
https://prachatai.com/print/79223 | 2018-10-19 19:16 | สำรวจเส้นทางรถไฟสายมรณะ-เพื่อให้เรื่องราวของแรงงานเอเชียถูกมองเห็นอีกครั้ง | ในโอกาส 75 ปีการก่อสร้างทางรถไฟไทย-พม่าหรือ 'ทางรถไฟสายมรณะ' เสร็จสมบูรณ์ ญาติมิตรของแรงงานเหล่านั้นได้สำรวจร่องรอยของเส้นทางรถไฟจากบ้านโป่งไปจนถึงด่านเจดีย์สามองค์ ชายแดนไทย-พม่า รวมทั้งประกอบพิธีทางศาสนาแบบฮินดูที่ริมแม่น้ำแควใหญ่ ให้กับดวงวิญญาณของแรงงานก่อสร้างทางรถไฟที่ไม่มีโอกาสได้กลับภูมิลำเนาอีกเลย โดยทางคณะเพิ่งทางจากสถานีรถไฟ จ.ราชบุรี และเพิ่งกลับถึงชายแดนไทย-มาเลเซียที่ด่านปาดังเบซาร์ในวันศุกร์นี้
พ. จันทราเสคาราน ประธานกลุ่มศึกษาทางรถไฟสายมรณะ (DRIG) ให้สัมภาษณ์ถึงการเยือนในโอกาสครบรอบ 75 ปีการก่อสร้างทางรถไฟไทย-พม่า หรือ 'ทางรถไฟสายมรณะ' โดยเรียกร้องให้ทางการไทยสร้างความรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับแรงงานชาวเอเชียที่ถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟไทย-พม่าความยาวกว่า 415 กม. ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากทั้งแรงงานเชลยศึกสัมพันธมิตรและแรงงานชาวเอเชียจากประเทศต่างๆ
000
ตามที่มีข่าวกลุ่มศึกษาทางรถไฟสายมรณะ (Death Railway Interest Group-DRIG) องค์กรภาคประชาสังคมที่มุ่งบันทึก นำเสนอเรื่องความทรงจำของคนงานชาวมาเลเซียที่มาสร้างทางรถไฟได้ ได้นำคณะญาติคนงานสร้างทางรถไฟไทย-พม่า มาย้อนรอยและจดจำประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม โดยผู้ร่วมเดินทางประกอบด้วชาวมาเลเซีย อินเดีย ญี่ปุ่นและไทย รวม 13 คน ซึ่งออกเดินทางมาจากมาเลเซียตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค. และเริ่มเยือนสถานีรถไฟบ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เมื่อ 14 ต.ค. และเริ่มเยือน จ.กาญจนบุรีในวันที่ 15 ต.ค. นั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) [1]
ญาติมิตรแรงงานเอเชียสำรวจเส้นทางรถไฟสายมรณะจนถึงชายแดนไทย-พม่า
คณะผู้ร่วมเดินทางส่วนหนึ่ง ที่เดินทางมารำลึก 75 ปีการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ ถ่ายรูปร่วมกันที่สถานีรถไฟบ้านโป่ง จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2561 โดยที่บ้านโป่งเป็นจุดแรกๆ ที่แรงงานเอเชียและเชลยศึกสัมพันธมิตรเดินทางมาถึงเพื่อเตรียมสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อกับพม่า (ที่มา: DRIG)
แรงงานเชื้อสายทมิฬรวมตัวกันในแคมป์พัก หลังทราบถึงการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2488 ส่วนทหารญี่ปุ่นที่อยู่ด้านหน้าของภาพที่เคยเป็นเจ้าหน้าที่ รปภ. ของสถานีรถไฟ บัดนี้ถูกควบคุมตัวโดยฝ่ายสัมพันธมิตรแทน อย่างไรก็ตามหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 แรงงานสร้างทางรถไฟชาวเอเชียเหล่านี้ก็มักจะอยู่ท้ายแถวเสมอเวลาต้องรับอาหารและยารักษาโรค ขณะที่เจ้าอาณานิคมให้ความสำคัญในการพาเชลยทหารสัมพันธมิตรเดินทางกลับบ้านเป็นลำดับแรกๆ ก่อน (ที่มา: anzacportal.dva.gov.au)
สถูปใหญ่บรรจุกระดูกของแรงงานชาวเอเชียที่เสียชีวิตในช่วงก่อสร้างทางรถไฟ ที่สุสานของวัดถาวรวราราม อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสุสานดอนรัก ที่เป็นที่ฝังศพเชลยสัมพันธมิตร (ที่มา: ประชาไท/แฟ้มภาพ/เมษายน 2557)
อนุสรณ์สถานที่ฝ่ายญี่ปุ่นสร้างไว้ใกล้กับสะพานข้ามแม่น้ำแคว เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 โดยรอบอนุสรณ์สถานมีข้อความจารึกเป็นภาษาต่างๆ ที่เป็นภาษาของแรงงานชาวเอเชียทั้งภาษาจีน ภาษาเวียดนาม ภาษาทมิฬ และภาษามลายู เป็นต้น (ที่มา: ประชาไท/แฟ้มภาพ/มีนาคม 2558)
ต่อมาวันที่ 15 ต.ค. ทางคณะได้เดินทางด้วยรถไฟจากสถานีรถไฟสะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ไปถึงสถานีรถไฟน้ำตกที่ อ.ไทรโยค ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานีสุดท้ายของทางรถไฟสายมรณะที่เปิดใช้งาน ก่อนเดินทางด้วยรถยนต์ไปยัง อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
และในวันที่ 16 ต.ค. ได้สำรวจสภาพเส้นทางรถไฟสายมรณะที่เหลืออยู่ โดยเริ่มจากสถานีด่านเจดีย์สามองค์ ชายแดนไทย-พม่า และเดินทางย้อนกลับมาที่สถานีรถไฟซองกาเลีย เพื่อสำรวจส่วนที่เหลือของสะพานคอนกรีตข้ามห้วยซองกาเลีย ซึ่งเคยใช้เป็นสะพานชั่วคราวในช่วงก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ นอกจากนี้ได้แวะสำรวจบริเวณสะพานรันตี บนทางหลวงหมายเลข 323 ซึ่งใกล้กับสถานีรถไฟนิเกะ จมอยู่ใต้ระดับน้ำของเขื่อนวชิราลงกรณ์
อย่างไรก็ตามทางคณะไม่ได้ไปบริเวณสถานีรถไฟแก่งคอยท่า ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีเปิดการเชื่อมต่อรถไฟไทย-พม่าเมื่อ 75 ปีที่แล้ว เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของ ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี นั้นที่ตั้งปัจจุบันอยู่ห่างจากทางหลวงรวมทั้งชุมชน อีกทั้งยังจมอยู่ใต้ระดับน้ำของเขื่อน
ชาวญี่ปุ่นในไทยทำบุญรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากการสร้างทางรถไฟสายมรณะ [2], 7 มีนาคม 2559
แรงงานผู้รอดชีวิตจากการสร้างทางรถไฟสายมรณะฉลองวันเกิดครบ 100 ปี [3], 12 เมษายน 2560
75 ปีทางรถไฟสายมรณะ-ญาติแรงงานชาวเอเชียหวังให้ในบันทึกไม่ได้มีแค่ฝ่ายตะวันตก [1], 16 ตุลาคม 2561
เยี่ยมลูกชายอดีตแรงงานก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ
โดยในช่วงเย็นวันที่ 16 ต.ค. ทางคณะมาถึง ต.ท่าเสา อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี และยังได้พบกับสมจันทร์ ชาละวันกุมภี วัย 53 ปี บุตรชายของอยู่ ชาละวันกุมภี หรือลุงอยู่ อดีตแรงงานก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งถูกทหารญี่ปุ่นใช้วิธีเกณฑ์คนหนุ่มมาจากเมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซียตั้งแต่อายุ 15 ปี ด้วย โดยหลังสงคราม ลุงอยู่ตัดสินใจอาศัยและมีครอบครัวอยู่ในประเทศไทย และเพิ่งเสียชีวิตไปไม่กี่ปีมานี้
ทั้งนี้จันทราเสคารานกล่าวถึงการได้มีโอกาสพบกับทายาทของแรงงานก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะอีกครั้งว่า "เป็นความรู้สึกที่แปลกประหลาด ไม่ใช่ดีใจหรือเสียใจ พอดีผมพูดภาษาไทยไม่ได้ ส่วนเขาก็พูดภาษามลายูไม่ได้ ต้องสื่อสารกันผ่านล่าม" ขณะที่สมจันทร์จะทำบุญกระดูกอุทิศส่วนกุศลให้กับบิดาในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้้ด้วย
ค.คณะปติ (K. Kanapathy) อายุ 71 ปี ชาวมาเลเซียเชื้อสายทมิฬ จากพอร์ต ดิกสัน รัฐเนกรีเซมบิลัน ประเทศมาเลเซีย ให้สัมภาษณ์ด้วยว่าพ่อและแม่ของเขาถูกเกณฑ์มาจากบริติชมลายาเพื่อมาก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ ต่อมาลุงกับป้าของเขาที่เดินทางมาด้วยได้เสียชีวิตระหว่างที่มาทำงาน โดยหลายปีต่อมาหลังสิ้นสุดสงคราม แม่ได้คลอดเขาที่บริติชมลายา
คณะปติกล่าวว่าเมื่อเขาโตขึ้น เคยเดินทางมาประเทศไทยหลายครั้งแต่ก็มาเฉพาะกรุงเทพฯ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้กลับมารำลึกเส้นทางรถไฟสายมรณะที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกในครอบครัวของเขา โดยในครอบครัวยังคงเก็บธนบัตรญี่ปุ่นที่มีการพิมพ์ใช้ในสมัยสงครามอีกด้วย
เยือนพิพิธภัณฑ์ที่กาญจนบุรีและประกอบพิธีทางศาสนาให้ผู้เสียชีวิต
สำหรับกำหนดการในช่วงท้ายของการเยือนนั้น ในวันที่ 17 ต.ค. ทางคณะได้เยือนพิพิธภัณฑ์ทางรถไฟสายมรณะในตัวเมือง จ.กาญจนบุรี รวมทั้งสุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก และในวันที่ 18 ต.ค. ทางคณะได้ทำพิธีทางศาสนาฮินดูที่ริมแม่น้ำ บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่ ให้กับแรงงานผู้เสียชีวิตจากการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะและไม่มีโอกาสได้กลับภูมิลำเนาหลังสงครามสิ้นสุด โดยจันทราเสคารานอธิบายด้วยว่าพิธีที่ประกอบนั้นเป็นพิธีทางศาสนาฮินดูที่แต่เดิมประกอบที่แม่น้ำคงคาให้กับผู้เสียชีวิต
โดยทางคณะได้เดินทางกลับโดยรถไฟขบวน 31 จากสถานีรถไฟ จ.ราชบุรี ในช่วงเย็นวันที่ 18 ต.ค. ไปยังสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ก่อนเดินทางพรมแดนมาเลเซียที่ด่านปาดังเบซาร์ในวันนี้ (19 ต.ค.)
อนึ่งทางกลุ่ม DRIG ได้เผยแพร่แถลงการณ์ในโอกาสครบรอบ 75 ปีการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ โดยเรียกร้องให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นถึงความจำเป็นในการมีอนุสรณ์สถานและศูนย์ข้อมูลที่เป็นกิจจะลักษณะที่จะทำให้แรงงานชาวเอเชียถูกมองเห็น แม้เวลาจะผ่านมาเนิ่นนาน แต่ทางกลุ่มก็ยังหวังว่าจะได้เห็นข้อเรียกร้องเป็นจริงในขณะที่เหล่าแรงงานผู้รอดชีวิตที่ยังเหลือเป็นกลุ่มสุดท้ายยังไม่จากไป
| ['ข่าว', 'สังคม', 'วัฒนธรรม', 'ต่างประเทศ', 'แรงงานเอเชีย', 'ทางรถไฟสายมรณะ', 'มัลติมีเดีย', 'ทางรถไฟไทย-พม่า', 'มาเลเซีย', 'ชาวมาเลเซียเชื้อสายทมิฬ', 'ประวัติศาสตร์', 'สงครามโลกครั้งที่ 2', 'DRIG', 'ด่านเจดีย์สามองค์', '75 ปีทางรถไฟสายมรณะ'] |
https://prachatai.com/print/79225 | 2018-10-19 20:20 | เปิดคำฟ้องคดี 165 ฅนรักษ์บ้านเกิด จ.เลย เอาผิดเหมืองทอง สร้างผลกระทบสิ่งแวดล้อม | สืบพยานโจกท์คดี 165 ประชาชนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดจังหวัดเลย ฟ้องบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำ ทำธุรกิจสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมขอเรียกค่าเสียหาย และดำเนินการฟื้นฟูเยียวยา ขณะที่ศาลนัดสืบพยานจำเลย 24-26 ต.ค.นี้
19 ต.ค. 2561 เฟสบุ๊กแฟนเพจ เหมืองแร่เมืองเลย V2 [1] รายงานว่า วันนี้ เวลาประมาณ 09.00 น. ประชาชาชน กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย ได้เดินทางมาที่ศาลจังหวัดเลย เนื่องจากศาลจังหวัดเลยได้นัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งเป็นคดีที่ประชาชนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด จำนวน 165 คน ฟ้อง บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ในข้อหาหรือฐานความผิดกระทำละเมิดและเรียกค่าเสียหาย ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ และ พ.ร.บ.การสาธารณสุขฯ
โดยศาลได้นัดสืบพยานโจทก์ ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. 2561 ซึ่งมีตัวแทนชาวบ้านแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 6 คน หน่วยงานราชการ และนักวิชาการ ขึ้นเบิกความต่อศาล โดยมีชาวบ้านประมาณ 100 กว่าคน เดินทางมาให้กำลังใจตัวแทนชาวบ้านทั้ง 6 คน และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และวันนี้เป็นวันสุดท้ายของการสืบพยานฝ่ายโจทก์แล้ว
ตามคำฟ้องระบุว่า โจทก์ทั้ง 165 คน เป็นประชาชนที่มีภูมิลำเนา มีที่ดิน ที่ทำกิน อยู่อาศัย และดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่ บ้านห้วยผุก หมู่ที่ 1 บ้านกกสะทอน หมู่ที่ 2 บ้านนาหนองบง หมู่ที่ 3 บ้านแก่งหิน หมู่ที่ 4 บ้านโนนผาพุงพัฒนา หมู่ที่ 12 และบ้านภูทับฟ้า หมู่ที่ 13 ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
โจทก์ทั้ง 165 คน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมอยู่ในชุมชนข้างต้น ซึ่งอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นมีวิถีสอดคล้องกัน เป็นชุมชนชนบทที่จะต้องพึ่งพาอาศัยความสมบูรณ์และความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สะอาดบริสุทธิ์ปราศจากมลพิษที่จะเป็นอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องด้วนพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำสลับกับภูเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์มีลำห้วยไหลผ่านพื้นที่คือ ห้วยน้ำฮวย ซึ่งเป็นลำน้ำที่เกิดจากต้นน้ำธรรมชาติและป่าน้ำซับซึมที่ไหลจากภูป่าฮวก ภูทับฟ้า และ ภูเหล็ก ลงไปสู่ร่องน้ำสาขา คือร่องป่ายาง ร่องกกมะไฟ ร่องห้วยเหล็ก ร่องนาดินดำ ร่องนายาว ไหลลงสู่ห้วยน้ำฮวยและลงสู่แม่น้ำเลย ดังนั้น การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ส่วนใหญ่จึงยังเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ที่ใช้ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ด้วยลักษณะของพื้นที่ดังกล่าวทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงมีความสำคัญยิ่งต่อโจทก์ทั้ง 165 คน ในการอยู่อาศัยและการดำรงชีวิต
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2549 บริษัททุ่งคำ จำกัด จำเลย ได้เริ่มเข้ามาประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ ในพื้นที่ที่ได้รับประทานบัตร พื้นที่ทำเหมืองและโรงแต่งแร่ของจำเลยดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของชุมชน ซึ่งบริเวณรอบประทานบัตรเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ที่ส่วนมากเป็นพื้นที่ทำนา สวนยางพารา และเลี้ยงสัตว์
การดำเนินกิจการของจำเลยเริ่มจากการขุดเจาะและระเบิดภูเขาภูซำป่าบอนและภูทับฟ้า โดยใช้เครื่องจักรขุดเปิดหน้าดิน ระเบิด ลำเลียงการขนย้าย เก็บกอง ได้ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของฝุ่นละออง เกิดการแพร่กระจายมลพิษ ออกสู่ภายนอกเหมือง เกิดเสียงดังและการสั่นสะเทือนจากการระเบิดในเวลากลางวัน เกิดเสียงดังจากการแต่งแร่ที่ต้องผ่านเครื่องจักรในเวลากลางคืน เกิดกลิ่นเหม็นในขณะมีการเดินเครื่องจักรเพื่อแยกแร่ เกิดการรั่วไหลของสารโลหะหนัก เช่นสารไซยาไนด์ที่ถูกกักเก็บไว้ในบ่อกักเก็บกากแร่ เกิดการแพร่กระจายของสารโลหะหนักอื่นๆเช่น สารหนู แมงกานีส เหล็ก ตะกั่ว ปรอท พื้นที่เหมืองและพื้นที่รอบเหมือง อันเป็นสารพิษที่เกิดจากกระบวนการการทำเหมืองแร่และแต่งแร่ของจำเลยโดยตรง และในฤดูฝนก็ยังเกิดการชะล้างสารโลหะหนักที่ปนเปื้อนอยู่ในกองดินและหินทิ้งไหลลงสู่พื้นที่ราบไปทั่ว
ซึ่งสารพิษดังกล่าวได้แพร่กระจายเข้าสู่พื้นที่เกษตรกรรม นอกจากนี้ ยังมีการแพร่กระจายของสารพิษและโลหะหนัก เช่น โครเมียม นิกเกิล ทองแดง สังกะสี ปรอท ตะกั่ว และสารหนู ได้ปนเปื้อนไปบนพื้นดินและไหลลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ที่โจทก์ทั้ง 165 คน และชาวบ้านที่อาศัยอยู่และใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ในบริเวณรอบเหมือง ซึ่งส่งผลและอาจจะส่งผลให้เกิดการสะสมของสารพิษอยู่ในผลผลิตทางการเกษตร เช่นในเมล็ดข้าว อ้อย หน่อไม้ ผัก ถั่วชนิดต่างๆ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตต่างๆไม่ว่าจะเป็น ปลา กุ้ง หอย ปู หนู กบ เขียด ที่อาศัยอยู่ในลำห้วยสาธารณะ ในลักษณะของห่วงโซ่อาหาร ส่งผลให้โจทก์ทั้ง 165 คน และชาวบ้านได้รับผลกระทบในการดำรงชีวิต เกิดเหตุความเดือดร้อน รำคาญเกินความสมควร และได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกายสุขภาพอนามัย และจิตใจ โดยปรากฏพบว่า มีสารไซยาไนด์ปะปนอยู่ในแหล่งน้ำสาธารณะ มีผลผลิตการเกษตรตกต่ำอย่างผิดปรกติ พบสารพิษในร่างกาย มีมลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง อันตรายจากการใช้ทางสาธารณะประโยชน์ร่วมกับรถบรรทุกของจำเลย
จำเลยในฐานะเจ้าของและผู้ครอบครองเหมืองแร่องคำ บ่อกักเก็บกากแร่ โรงประกอบโลหะกรรมหรือโรงแต่งแร่ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ ส่งผลทำให้ ภูซำป่าบอนและภูทับฟ้า กลายเป็นขุมเหมืองร้าง น้ำในขุมเหมืองปนเปื้อนสารพิษและมีสภาพเป็นกรด บริเวณโดยรอบมีกองหินทิ้งขนาดมหึมา และมีบ่อน้ำเสียปนเปื้อนไซยาไนด์เก็บไว้บริเวณบ่อเก็บกักกากแร่ และสารพิษจำนวนมากที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ และทำให้เกิดมลพิษรั่วไหล และแพร่กระจายออกจากแหล่งกำเนิดมลพิษดังกล่าว เป็นการกระทำละเมิดอันเป็นการกระทำความผิดต่อกฏหมาย ทำให้โจทก์ทั้ง 165 คน ได้รับความเสียหายก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพอนามัย และทรัพย์สินเสียหาย ขาดประโยชน์ในการใข้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้ง 165 คน ซึ่งเป็นตัวแทนของสมาชิกในครอบครัวของโจทก์ และดำเนินการเยียวยาแก้ใขฟื้นฟูความเสียหายแก่โจทก์ทั้ง 165 คน และชุมชนพื้นที่ และแก้ใขฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยโจทก์ทั้ง 165 คน ขอเรียกค่าเสียหายและขอให้จำเลยดำเนินการฟื้นฟูเยียวยา ทั้งนี้ศาลได้นัดสืบพยานจำเลย ในวันที่ 24-26 ต.ค. นี้
| ['ข่าว', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'สิ่งแวดล้อม', 'กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด', 'เหมืองแร่ทองคำ', 'เหมืองแร่เมืองเลย', 'บริษัท ทุ่งคำ จำกัด'] |
https://prachatai.com/print/79224 | 2018-10-19 19:46 | จามะรี เชียงทอง: Marx’s Agrarian Studies | 200 ปี คาร์ล มาร์กซ์ | การนำเสนอของจามะรี เชียงทอง ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เล่าเรื่องงานศึกษาของคาร์ล มาร์กซ์ ต่อสังคมเกษตร ว่าเขามองเรื่องสิทธิในที่ดิน การสะสมทุน และการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรไปสู่สังคมทุนนิยมอย่างไร
จามะรี เชียงทอง: Marx’s Agrarian Studies
จามะรีเริ่มต้นนำเสนอว่านี่เป็นการประยุกต์หัวข้อการพูด เพราะ Agrarian Studies ไม่สามารถเป็นคนๆ เดียวได้ มันมีคนอื่นต่อ และช่วงเวลา 200 ปีก็เป็นช่วงเวลาอันยาวนาน
Agrarian Transition หมายถึงการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรไปสู่สังคมทุนนิยม ส่งผลให้จำนวนประชากรในภาคเกษตรลดลง และในยุคต้นของทุนนิยมยังคงหมายถึงจำนวนกรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นด้วย จริงๆ อันนี้คือ Capital Volume 1 เป็นการมองจากสังคมชนบท Agrarian Studies หมายถึง การศึกษาการเข้าถึงที่ดินในชุมชนชนบท เช่น เข้าถึงปัจจัยการผลิต และการศึกษาความสัมพันธ์ในกระบวนการผลิต ระหว่างชาวนากับเจ้าของที่ดิน ชาวนากับนายทุน หรืออาจรวมไปถึงชาวนากับรัฐด้วยก็ได้
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: Karl Marx มายาหรือวิทยาศาสตร์? | 200 ปี คาร์ล มาร์กซ์ [1]
200 ปี Karl Marx: ธิกานต์ ศรีนารา – ลัทธิมาร์กซ์เข้าสู่อีสานเมื่อไหร่ อย่างไร? [2]
200 ปี Karl Marx : ปวงชน อุนจะนำ เรียนรู้วิกฤตชีวิตมาร์กซ์ พลิกโอกาสต่อสู้ในปัจจุบัน [3]
200 ปี Karl Marx: เก่งกิจ กิติเรียงลาภ–วิพากษ์ Anthropocene ขายวิกฤติธรรมชาติ แยกขาดจากทุนนิยม [4]
200 ปี Karl Marx: สรวิศ ชัยนาม - รักเดือดแดงมาแต่เดิม [5]
ดังนั้นสิ่งที่จะนำเสนอมี 6 ประเด็น ใน 3 ประเด็นแรก เป็นการเปลี่ยนแปลงในอังกฤษ รัสเซีย และบทบาททางการเมืองของชาวนาในฝรั่งเศส ส่วน 3 ประเด็นหลังเป็น Marxism
1. ปี 1818-1883 ใน Capital เล่ม 1 ครึ่งแรก เราจะอ่านไม่เข้าใจและทำให้เราท้อ แต่พอมาตอนหลังมันจะพูดถึงความเปลี่ยนแปลงของอังกฤษ เมื่อพูดถึง Agrarian Transition แล้วอ้างมาร์กซ์นั้นหมายถึงการสะสมทุนขั้นต้นซึ่งหมายถึงกระบวนการล้อมรั้วของเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ในยุโรปเพื่อใช้ในการเลี้ยงแกะเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 18 มีการออกเป็นกฎหมายในประเด็นเรื่องนี้ด้วย เป็นการพูดถึงการที่ชาวนาหลุดออกจากที่ดิน เหลือแต่เพียงแรงงานที่สามารถขายได้ราคาถูก ทำให้นายทุนสามารถตักตวงแรงงานราคาถูกได้ เพราะไม่มีที่จะไป ให้ค่าจ้างเท่าไรก็ต้องขาย ฉะนั้น การสร้างทุนนิยมในช่วงแรกด้วยแรงงานราคาถูกก็ทำให้เกิดกำไรสะสมขึ้นมา
ในกระบวนการที่หลุดออกจากภาคเกษตร ชาวนากลายเป็นกรรมกรในโรงงานหรือบางส่วนก็เป็นกรรมกรในชนบท ส่วนใหญ่พูดถึงกระบวนการล้อมรั้ว แต่มีอีกส่วนที่คนไม่ค่อยพูดถึงคือ domestic system เป็นผู้ผลิตขนาดเล็ก ผลิตในบ้าน หรือเป็นโรงงานขนาดเล็ก ซึ่งเกี่ยวพันกับสิ่งที่เรียกว่า putting out system หรือนายทุนนำปัจจัยการผลิตมาจ้างชาวนาผลิต ถือเป็นการใช้แรงงานชาวนาโดยที่ชาวนาไม่ต้องสูญเสียสิทธิในการใช้ที่ดิน และยังทำให้นายทุนสามารถเข้าถึงแรงงานของชาวนาได้ ประเด็นนี่อยู่ในภาคผนวก ทุนใช้แรงงานในรูปแบบก่อนทุนนิยมหรือไม่ใช่ทุนนิยม
อีกประเด็นหนึ่งของอังกฤษที่คนไม่ค่อยพูดถึง คือ การเกิดขึ้นของชาวนารวย มีพูดอยู่เป็นบทสั้นๆ เท่านั้น จากการที่เจ้าของที่ดินบางรายให้เช่าที่ดินแก่ผู้จัดการฟาร์ม เช่ายาวถึง 99 ปีก็มี ในศตวรรษที่ 14-16 เป็นช่วงที่สินค้าราคาขึ้น บางคน (ขีดเส้นใต้) กลายเป็นเกษตรกรที่มีฐานะดีขึ้น แล้วศตวรรษที่ 18-19 ก็เห็นชัดเจนว่ามีชาวนารวยเกิดขึ้นซึ่งใช้แรงงานจ้าง หรือจ้างชาวนาจนคนอื่นๆ มาร์กซ์ก็พูดทำนองว่า มันอาจเป็น genesis ที่จะเกิดเป็น capitalist farm
2.การศึกษาในรัสเซีย ไม่มีอยู่ใน Capital อาจมีได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรก มาร์กซ์เคยเขียนจดหมายโต้ตอบกับ Vera Zasulich นักวิชาการรัสเซียเกี่ยวกับปฏิกริยาและคำถามของผู้อ่านรัสเซียตอน Capital ตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซียว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมเกษตรรัสเซียเป็นอย่างไร มาร์กซ์ก็พูดคล้ายกับว่า ในรัสเซียมีแนวทางของการทำให้เป็นอุตสาหกรรม จึงต้องคอยให้ชาวนาเปลี่ยนเป็นกรรมกรเสียก่อนเช่นเดียวกับที่เกิดในอังกฤษ แต่เขาพูดในตอนท้ายของจดหมายด้วยว่า แต่ละประเทศมีเส้นทางไม่เหมือนกัน เช่น โรมันโบราณก็อาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเดียวกัน แต่ซาซูริชก็ยังสนใจประเด็นนี้ มันจะเป็นรูปแบบของสังคมนิยมที่ดีได้หรือไม่โดยไม่ต้องผ่านการเป็นทุนนิยมมาก่อน
ทีนี้ในรัสเซียเนื่องจากมาร์กซ์ไม่ค่อยได้เขียนไว้มาก แต่เลนินเขียนเรื่องนี้ไว้ใน Rise of Capitalism ในรัสเซีย ตั้งแต่ปี 1899 บอกว่า มันมีเมืองใหญ่ในรัสเซียแค่ 2 เมืองคือ มอสโคว กับ เซนส์ปีเตอร์สเบิร์ก ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม เลนินบอกว่ามันมีทุนนิยมเกิดขึ้นแล้ว แต่เป็นทุนนิยมในภาคเกษตรกรรมคือ ทำการผลิตเพื่อขาย เกิดสองขั้วทางชนชั้นคือ ชาวนารวยกับชาวนาจน แล้วชาวนาจนก็ต้องขายแรงงานในชนบท สำหรับนัยทางการเมือง นี่คือตอนที่มาร์กซิสต์เริ่มจะขยับมาเป็นนักการเมืองมากขึ้น มีนัยทางการเมืองที่สามารถร่วมกับกรรมกรในเมืองได้
3. การวิเคราะห์ชาวนาฝรั่งเศสในช่วงปี 1848-1850 มาร์กซ์เขียนบทความไว้อันหนึ่งตอนที่ปฏิวัติประชาชนไม่สำเร็จในปี 1848 เป็นปีที่สำคัญสำหรับประวัติศาสตร์ยุโรป มันมีปฏิวัติต่างๆ มากมาย เอาสั้นๆ คือ มีเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองมีการตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล ประชาชนเลือกหลุยส์ โบนาปาร์ต ซึ่งเป็นหลานของนโปเลียนที่ 1 ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีในปี 1848 มาร์กซ์ผิดหวังมาก ในฝรั่งเศสเรียกว่ามีการเลือกตั้งทั่วไปเป็นประเทศแรกในโลก ชาวนามาเลือกนโปเลียน โบนาปาร์ตเยอะเลย คิดถึงผู้เป็นลุงคือ นโปเลียนที่ 1 ที่เคยออกพระราชบัญญัติเกี่ยวกับที่ดินต่างๆ เอื้อประโยชน์ต่อชาวนาคือ เอาที่ดินของขุนนางมาเป็นแบ่งปัน ทีนี้พอผ่านไป 3 ปี เริ่มผิดหวัง เพราะแกก็ขึ้นภาษีกับชาวนา แล้วฝรั่งเศสมีปัญหาทางเศรษฐกิจด้วย รัฐบาลต้องหาเงินพยายามขึ้นภาษีนั่นนี่ แล้วพยายามประนีประนอมกับทุกๆ กลุ่ม ทั้งนายทุน กรรมกร ชาวนา เอาสั้นๆ คือสามปีเริ่มเห็นความไม่ชอบมาพากลของรัฐบาล หลังจากนั้นปี 1852 โบนาปาร์ตประกาศตัวเป็นจักพรรดิ สถาปนาจักวรรดิขึ้นมาอีกครั้งในเดือนธันวาคม
มีอีกบทความหนึ่งเรื่อง Class struggle เขียนในปี 1848-1850 เขียนก่อนโบนาปาร์ตสถาปนาตัวเอง ฉบับแปลอังกฤษเรียกอย่างเหยียดหยามว่า “หลานของลุง” ลุงของเขาคือนโปเลียนที่ 1 แล้วนโปเลียนที่ 1 สถาปนาตัวเองเป็นจักพรรดิหลังจากปฏิวัติไปแล้ว แล้วกลับเอาระบบจักวรรดิมาใช้อีก แล้วนโปเลียนที่ 3 ก็ล้มรัฐธรรมนูญแล้วสถาปนาตัวเองเป็นจักพรรดิอีกในปี 1852 โดยคนค่อนข้างให้การสนับสนุน ทั้งที่ผ่านระบบเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 1848 มาแล้ว ฉะนั้น มาร์กซ์ก็ไม่เห็นพลังในการปฏิวัติของชาวนา ชาวนาไม่สามารถจะมองเห็นปัญหาส่วนร่วม คิดแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง
ทีนี้ก็มาถึง 3 ตอนสุดท้าย คือ อิทธิพลของพวกมาร์ซิสต์ต่างๆ เมื่อมันเริ่มจะเป็นการเมือง งานของเลนินพูดถึงการแตกแยกเป็นสองขั้วระหว่างชาวนารวยกับชาวนาจน ฉะนั้น ธงปฏิวัติจะมีฆ้อนกับเคียว ชาวนาสามารถเป็นพันธมิตรในการปฏิวัติได้ เหมาก็เอาตรงนี้ไปใช้ เช่น ป่าล้อมเมืองให้ความสำคัญกับชาวนา หลังจากที่ตอนแรกหาเสียงกับกรรมกร มีการปฏิวัติสองครั้งโดยชาวนา ซึ่งชาวนาก็เป็นมาร์กซิสต์ ทำให้มีความสนใจศึกษา Agrarian Studies ในมุมมองมาร์ซิสม์ค่อนข้างเยอะมาก แต่ไม่มีเวลาพอจะลงรายละเอียดจึงขอข้ามไป พอถึงปี 1980 คำถามเกี่ยวกับ Agrarian Studies ที่เคยฮิตอยู่พักหนึ่งก็เลิกฮิต จีนก็เปิดประเทศทำการค้าขายกับต่างประเทศ แรงงานชนบทของจีนก็ค่อยๆ เดินทางเข้ามาทำงานในเมืองมากขึ้น กลายเป็นทั้งกรรมกรและแรงงานปกขาว เรียกรวมๆ ว่าคนในเมือง กลายเป็น Urban Studies
ดังนั้นก็มาถึงคำถามว่า โลกาภิวัตน์เป็นจุดจบของมาร์กซิสม์หรือเปล่า บทความของ David Booth ชื่อ Marxism and Development Sociology ก็โยนเรื่อง Agrarian Studies ทิ้ง เพราะมันไม่มีประโยชน์ในการอธิบายอีกต่อไปแล้ว ธุรกิจการเกษตรไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ แต่สามารถใช้เกษตรพันธสัญญาเข้าถึงที่ดินและแรงงานของกรรมกรรายย่อยโดยที่เกษตรกรรายย่อยก็ไม่ได้กลายเป็นกรรมกรในชนบท ยังเป็นชาวนาทำงาการผลิตในที่นาตนเอง นายทุนใหญ่หลายรายก็ไปลงทุนยังต่างประเทศ เช่น เจ้าสัวซีพี จึงมาถึง Agrarian Transition เป็นมาร์กซิสต์รุ่นใหม่ที่พยายามจะศึกษาการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ พูดถึงชาวนาขนาดเล็กในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบอาชีพที่หลากหลาย ทำนาอย่างเดียวไม่พอ ขายก๋วยเตี๋ยว เป็นแรงงานก่อสร้าง อะไรก็ว่าไป
แต่สิ่งที่คนบอกว่าชาวนาทำงานหลากหลายไม่ได้เน้น คือ ประเด็นที่มีความแตกต่างในความหลากหลายของคนรวยกับคนจน ความหลากหลายของชาวนารวยหมายถึงเป็นเจ้าของรถสองแถว ค้าขายผลผลิตทางการเกษตร ขณะที่ความหลากหลายของชาวนาจนคือ ขายแรงงานเพื่อที่จะอยู่ให้รอด ฉะนั้น มันหลากหลายเหมือนกันแต่คนละแนว มีทุนที่แตกต่างกัน ฉะนั้น ความขัดแย้งระหว่างชาวนารวยกับกรรมกรในชนบทของเลนิน ดูเผินๆ เหมือนจะอธิบายได้แต่ก็อธิบายไม่ได้ เพราะชาวนารวยกับชาวนาจนของเราผนวกกับสังคมข้างนอกทั้งหมด ขณะที่เลนินอธิบายเป็นขั้วตรงข้ามราวกับมันเป็นสังคมปิด จึงมาถึงความสนใจของมาร์กซิสต์ที่ไม่ใช่เลนินแล้ว นั่นคือ งาน Agrarian Studies ที่พูดถึงภาคเกษตกรรมพวกขนาดเล็กนั้นมีพื้นที่ที่จะอยู่กับทุนนิยมได้เพราะมีลักษณะบางอันที่แรงงานครัวเรือนทำได้ดี เช่น เก็บผลไม้
ประเด็นสุดท้าย Agrarian Study กับ Marxism ในสังคมไทยอาจแบ่งได้เป็น 1.แนววาทกรรมแบบพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่มาในแนวเลนิน แนวเหมา 2.งานวิชาการแนวเศรษฐศาสตร์การเมือง ที่ฮิตกันอยู่ช่วงหนึ่งในสมัยที่อาจารย์ฉัตรทิพย์ นาถสุภา คุมทีมทำวารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ 3. งานวิชาการแนววัฒนธรรมชุมชน ของ อ.ฉัตรทิพย์เอง 4. หมดยุคสมัยมาร์กซิสต์ เมื่อชาวนากลายเป็นผู้ประกอบการ
พรรคคอมมิวนิสต์เน้นการเคลื่อนไหวในกลุ่มชาวนาจน แต่ก็แผ่วลงไปแล้ว นักวิชาการเศรษฐศาสตร์การเมืองส่วนหนึ่งเอาแนวของเหมามา คือ กึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา เราเป็นทั้งขี้ข้าตะวันตก และขี้ข้าพวกขุนนาง โจมตีรัฐว่ารับใช้นายทุนต่างชาติ จริงๆ ก็ควรจะจบไปแล้วแต่บางคนก็ยังขุดๆ มาอยู่ ทฤษฎีพึ่งพิงบอกว่ากระบวนการพัฒนาในประเทศกำลังพัฒนาพึ่งพิงทุนต่างชาติซึ่งทุนต่างชาติจะดูดซับทรัพยากรและผลกำไรออกไปทำให้ไม่เกิดการพัฒนาที่แท้จริง แต่พอจีนเปิดประเทศเรื่องพวกนี้ก็ซาๆ ลงไป ทุกคนก็อยากเป็นทุนนิยม ไม่มีใครวิพากษ์วิจารณ์ว่าสหรัฐอเมริกาไม่ดีเหมือนก่อน มาถึงงานวิชาการแนววัฒนธรรมชุมชน พูดถึงกรอบคิดวัฒนธรรมชุมชน อ.ฉัตรทิพย์มาในแนววัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนได้แตกสลายไป แต่ในช่วงปี 1980 โดยประมาณ หลังจากยึดพื้นที่มาได้สักพัก วัฒนธรรมชุมชนก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ เวลาวิจารณ์ก็วิจารณ์แรง เช่น ถ้าอยากจะอยู่แบบเดิมๆ ก็ขี่เกวียนมาประชุมสิ ฯลฯ
แต่คำว่า ภูมิปัญญาพื้นบ้าน กลับได้รับการเชิดชู น่าสนใจว่าบางคำอยู่รอดบางคำอยู่ไม่รอด ถ้าจะบอกว่ากระแสวิพากษ์วัฒนธรรมชุมชนเป็น Hegelian dialectic ก็ยังไม่ค่อยแน่ใจ เพราะมันไม่ใช่ antithesis ไม่ใช่คู่ตรงข้าม แต่กระแสโจมตีมาจากหลายที่ สุดท้าย เมื่อชาวนากลายเป็นผู้ประกอบการ ตอนหลังจะเห็นเยอะมากในการอธิบายงานเกี่ยวกับชาวนาศึกษา ที่จริงมันก็ไม่ผิด แต่นักเศรษฐศาสตร์ที่พูดถึงผู้ประกอบการ หรือคอนเซ็ปท์ Entrepreneur แต่เวลาเราพูดเรามักนึกถึงเจ้าของกิจการเล็กๆ แต่ที่มาของศัพท์มันคือ จิตวิญญาณการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือทำการสิ่งเดิมแต่ด้วยวิธีการใหม่ มันมี technical term ของมัน
หนังสือของ Schumpeter มี 4 บทแรกพูดถึงมาร์กซ์ ถ้าเป็นในการเกษตร การใช้เครื่องจักรเป็นแนวการประกอบการ เกษตรกรสมัยใหม่ จริงๆ ใช้คำว่า ผู้ผลิตรายย่อยแบบที่มาร์กซ์พูดก็ได้ ชาวนาทำอะไรหลายอย่าง ไม่ต้องเป็นผู้ประกอบการก็ได้ คนที่ใช้คำว่าผู้ประกอบการ พอชาวนาเป็นผู้ประกอบการกันหมด มันทำให้ไม่เหลือคนจน แต่จริงๆ ไม่ใช่ สาระสำคัญของมาร์ซิสต์คือ คนจน นั่นคือเนื้อหาครึ่งหลังของ Capital Volume 1 พูดเกือบทั้งหมดคือ คนจนที่ทำงานในโรงงาน 14 ชั่วโมง ที่ไม่สามารถโต้แย้งอะไรต่างๆ ได้
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'เศรษฐกิจ', '200 ปี คาร์ล มาร์กซ์', 'จามะรี เชียงทอง', 'คาร์ล มาร์กซ์', 'ชาวนา', 'ที่ดิน', 'Agrarian Studies', 'การปฏิวัติฝรั่งเศส', 'แรงงาน', 'คนจนเมือง', 'เกษตรกร'] |
https://prachatai.com/print/79226 | 2018-10-19 20:59 | มท.1 เซ็นยุบสภาเทศบาลนครอุบลฯ รองนายกเทศมนตรี ระบุยังไม่เห็นคำสั่ง | รมว.มหาดไทย สั่งยุบสภาเทศบาลนครอุบลราชธานี ปมขัดแย้ง ด้านรองนายกเทศมนตรี ระบุยังไม่เห็นคำสั่งอย่างเป็นทางการ เผยมีเพียงแต่การส่งไลน์ต่อๆ กันมาเท่านั้น จ่อเรียกฝ่ายบริหารถกงบฯ
19 ต.ค.2561 ข่าวสดออนไลน์ [1] รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ต.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย มีคำสั่งยุบสภาเทศบาลนครอุบลราชธานี อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โดยระบุว่า เป็นไปตามความเห็นของ ผวจ.อุบลราชธานี ว่า สภาเทศบาลนครอุบลราชธานี มิได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การพิจารณาร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556-2558 ไม่อนุมัติให้กันเงินตามเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และไม่อนุมัติให้จ่ายขาดเงินสะสมให้เป็นไปตามความเหมาะสม มีการลดรายจ่ายหรือลดจำนวนเงินที่ขออนุญาตจ่ายจำนวนมาก
ทำให้ฝ่ายบริหารนำโดย สมปรารถนา วิกรัยเจิดเจริญ นายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี ทำงานไม่ได้ และทำให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี และประโยชน์ในภาพรวม ถือเป็นการใช้อำนาจตามมาตรา 74 แห่งพ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 13) พ.ศ.2542 เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด จึงให้ยุบสภาเทศบาลนครอุบลราชธานี
ในหนังสือระบุด้วยว่า หากผู้ใดประสงค์จะฟ้องโต้แย้งคำสั่งนี้ให้ทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลปกครองในเขตอำนาจศาลภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หรือทราบคำสั่งนี้
ข่าวสดออนไลน์ ยังรายงานด้วยว่า หลังจากนี้ จะมีการสรรหาสภาเทศบาลนครอุบลฯชุดใหม่ ตามคำสั่งคสช.
รองนายกฯ ระบุยังไม่เห็นคำสั่งอย่างเป็นทางการ จ่อเรียกฝ่ายบริหารถกงบฯ
ขณะที่มติชนออนไลน์ [2] รายงานปฏิกิริยาจากฝ่ายบริหารเทศบาลนครอุบลฯ ว่า วันนี้ ประชา กิจตรงศิริ รองนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี เปิดเผยว่า ทางเทศบาลนครอุบลราชธานี ยังไม่เห็นคำสั่งอย่างเป็นทางการ มีเพียงแต่การส่งไลน์ต่อๆ กันมาเท่านั้น จึงยังไม่สามารถแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวได้ ซึ่งอย่างไรก็ตาม ทางเทศบาลนครอุบลฯได้เสนอปัญหาต่อทางจังหวัดไปแล้วหลายครั้ง โดยล่าสุดเมื่อช่วงเดือนกันยายน 2561 ก็ได้นำเสนอปัญหาในเรื่องของการพิจารณาเงินสะสมของสภาเทศบาลนครอุบลฯส่งไปยังจังหวัดผ่านไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สำหรับในเรื่องของการยุบสภาเทศบาลนครนั้นหลังจากได้รับคำสั่งอย่างเป็นทางการแล้ว ทางฝ่ายบริการก็จะมีการประชุมหารือในการดำเนินการในเรื่องของการจะนำเงินมาใช้จ่ายในการพัฒนาต่อไป
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'เทศบาลนครอุบลราชธานี', 'ยุบสภาเทศบาลนครอุบลราชธานี', 'อนุพงษ์ เผ่าจินดา', 'ประชา กิจตรงศิริ'] |
https://prachatai.com/print/79227 | 2018-10-19 21:53 | 'ทรัมป์' ถูกจวกเหตุค้าอาวุธให้ซาอุฯ แม้นักข่าววอชิงตันโพสต์หายในสถานกงสุล | หลังการหายตัวไปของจามาล คาชอกกี เป็นที่เชื่อว่ารัฐบาลซาอุดิอาระเบียคือผู้บงการหรือก่อเหตุสังหาร มีนักวิชาการสหรัฐฯ วิจารณ์เรื่องที่รัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ ยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อซาอุฯ ไม่ยอมลดการค้าอาวุธให้กับประเทศนี้โดยอ้างว่าไม่อยากลดการจ้างงาน ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะภาคส่วนการทหารนั้นสร้างงานเพียงแค่น้อยนิดเมื่อเทียบกับภาคส่วนเศรษฐกิจอื่นๆ
จามาล คาชอกกี (ที่มา: วิกิพีเดีย [1])
จามาล คาชอกกี นักข่าวและบรรณาธิการของวอชิงตันโพสต์ผู้มีสัญชาติซาอุฯ และขอลี้ภัยในสหรัฐฯ หลังจากที่โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน เจ้าชายวัย 33 ปีขึ้นมาเป็นพระราชาธิบดีพระองค์ใหม่ของซาอุฯ เขาหายตัวไปตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. ที่ผ่านมาหลังจากที่เดินทางไปที่สถานกงสุลซาอุฯ ประจำนครอิสตันบูล ในตุรกี โดยล่าสุดมีหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่าเขาถูกสังหารภายในสถานกงสุลซาอุฯ
วิลเลียม ฮาร์ตุง ผู้อำนวยการ (ผอ.) โครงการศึกษาเรื่องอาวุธสงครามและความมั่นคงจากศูนย์เพื่อนโยบายนานาชาติ (CIP) ระบุว่าสหรัฐฯ ควรจะมีท่าทีโต้ตอบซาอุฯ ทั้งทางการเมือง, การทหาร, เศรษฐกิจ และในเรื่องชื่อเสียงหน้าตากรณีการสังหารจามาล คาชอกกี
ทว่าประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ก็ตอบคำถามเกี่ยวกับการตัดการขายอาวุธให้ซาอุฯ ในการให้สัมภาษณ์ต่อรายการ "60 นาที" ของช่องซีบีเอสว่าเขาจะไม่ตัดการค้าอาวุธกับซาอุฯ ที่น่าจะมีมูลค่า 110,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยอ้างว่าเขาไม่ต้องการเสียออเดอร์สินค้าเหล่านี้ซึ่งจะทำให้ชาวอเมริกัน "สูญเสียตำแหน่งงาน"
"พวกเขาสั่งซื้อยุทโธปกรณ์ทางการทหาร ทุกคนในโลกนี้ต้องการคำสั่งซื้อสินค้าพวกนี้ รัสเซียต้องการมัน จีนต้องการมัน พวกเราต้องการมัน ...ผมจะบอกคุณว่าอะไรที่ผมไม่อยากจะทำ โบอิง, ล็อกฮีด, เรย์ธีออน บริษัทเหล่านี้... ผมไม่อยากจะทำให้ตำแหน่งงานลดลง ผมไม่ต้องการจะสูญเสียคำสั่งซื้อเช่นนั้น" ทรัมป์กล่าว และยังกล่าวว่ามีวิธีอื่นที่จะ "ลงโทษ" ซาอุฯ โดยไม่ต้องตัดการค้าอาวุธ
ฮาร์ตุงวิจารณ์ในเรื่องนี้ว่า การค้าอาวุธให้ซาอุฯ ในขณะที่ยังเกิดกรณีของคาชอกกีถือเป็นเรื่องผิดจริยธรรม การเพิ่มการจ้างงานไม่ควรนำมาเป็นข้ออ้างในการติดอาวุธให้กับรัฐบาลฆาตกรที่ไม่เพียงต้องสงสัยว่าเป็นผู้ฆาตกรรมคาชอกกีผู้ถือเป็นพลเมืองสหรัฐฯ ทั้งยังเป็นนักวิจารณ์ที่น่านับถือ แต่ยังมีส่วนในการทำให้พลเรือนในเยเมนเสียชีวิตจำนวนมากจากการแทรกแซงทางการทหารที่ทำให้เกิดสงครามยาวนาน 3 ปีครึ่งแล้ว ซึ่งพลเรือนเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็ถูกสังหารโดยระเบิด เครื่องบินรบ และยุทโธปกรณ์อื่นที่สหรัฐฯ ขายให้
ฮาร์ตุงระบุถึงกรณีคาชอกกีว่า เรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงความโหดเหี้ยมและขาดความยั้งคิดของรัฐบาลภายใต้ประมุขโมอัมเหม็ด บิน ซัลมาน
บทความของฮาร์ตุงในสื่อ FPIF ชี้ให้เห็นว่ามีนักการเมืองสหรัฐฯ ที่เริ่มวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลซาอุฯ หนึ่งในนั้นคือเท็ด ลิว ผู้แทนพรรคเดโมแครตจากแคลิฟอร์เนีย เขาวิจารณ์ว่าการแทรกแซงของแนวร่วมซาอุฯ-สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) "มีลักษณะคล้ายอาชญากรรมสงคราม" มีทั้งเรื่องการโจมตีทางอากาศแบบไม่แยกแยะเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นการโจมตีโรงพยาบาล ตลาดของพลเรือน งานศพ งานแต่งงาน หรือกรณีที่เกิดขึ้นไม่นานนี้คือการโจมตีรถนักเรียนที่มีเด็ก 40 รายบนรถ
ลิวยังพูดถึงการกระทำของซาอุฯ และ UAE ที่ส่งผลกระทบต่อพลเรือนคือการปิดกั้นความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ชาวเยเมนกำลังต้องการอย่างมาก ทำให้ประชาชนมากมายอยู่ในสภาพใกล้อดตาย มีการระบุถึงกรณีการทิ้งระเบิดใส่โรงบำบัดน้ำเสียและโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ของพลเรือนที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคอหิวาต์
ฮาร์ตุงยังวิจารณ์โต้แย้งข้ออ้างของทรัมป์ในเรื่อง "การสร้างงาน" โดยบอกว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับจากการค้าอาวุธจริงๆ นั้นเล็กน้อยมาก วอชิงตันโพสต์ยังเคยระบุว่าสัญญาการค้าอาวุธระหว่างสหรัฐฯ กับซาอุฯ ไม่ได้มีมูลค่าสูง 110,000 ล้านดอลลาร์อย่างที่ทรัมป์อ้าง มันเป็นข่าวปลอมที่รัฐบาลทรัมป์กุขึ้นโดยเอาไปรวมกับตัวเลขสมัยของโอบามา โดยที่มีการทำข้อตกลงใหม่น้อยมาก ในความเป็นจริง สัญญาระหว่างสหรัฐฯ กับซาอุฯ มีมูลค่าอยู่ที่ 14.5 ล้านดอลลาร์ สัญญาที่ทรัมป์ทำร่วมกับซาอุฯ จะช่วยสร้างงานเพิ่มเพียงไม่กี่พันคนเมื่อเทียบกับระบบเศรษฐกิจใหญ่ ที่มีการจ้างงานคนทั้งหมด 125 ล้านคน
บทความของฮาร์ตุงชี้ให้เห็นว่าการซื้อขายทางการทหารสร้างงานได้น้อยเมื่อเทียบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ นอกจากนี้ ฝ่ายที่นำเข้าอย่างซาอุฯ เป็นฝ่ายที่เพิ่มการจ้างงานในบ้านตัวเองมากกว่า โดยที่ซัลมานพูดถึงแผนการเศรษฐกิจซาอุฯ ว่าจะมีการเพิ่มการจ้างงานร้อยละ 50 ในภาคส่วนการนำเข้าอาวุธภายในปี 2573 นอกจากนี้ในเรื่องที่ทรัมป์อ้างว่าจีนกับรัสเซียจะเข้ามาเป็นผู้ค้าอาวุธรายใหญ่ให้ซาอุฯ แทนพวกเขาถ้าหวกเขาลดรับออเดอร์ก็เป็นไปได้ยากและต้องอาศัยระยะเวลายาวนานมากในการที่ซาอุฯ จะเบนเข็มไปหาอาวุธสองประเทศนี้เป็นหลักเพราะพวกเขาพึ่งพาอาวุธของสหรัฐฯ และอังกฤษมานาน
"มีวิธีการอื่นๆ หลายอย่างที่จะส่งเสริมการสร้างงานในสหรัฐฯ ที่ไม่จำเป็นต้องรับเงินเปื้อนเลือดจากรัฐบาลซาอุฯ สภาคองเกรสไม่ควรถูกชักจูงออกจากการทำในสิ่งที่ถูกต้องจากข้ออ้างผิดๆ ในเรื่องที่ว่าการค้าอาวุธระหว่างสหรัฐฯ กับซาอุฯ จะเอื้อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ" ฮาร์ตุงระบุในบทความ
"คดีของจามาล คาชอกกี เป็นเพียงหนึ่งในเหตุผลจำนวนมากที่สหรัฐฯ ควรวางตัวเองออกห่างจากรัฐบาลซาอุฯ และควรจะทำมันในตอนนี้" ฮาร์ตุงระบุในบทความ
เรียบเรียงจาก
‘Jobs’ Are No Excuse for Arming a Murderous Regime, FPIF [2], Oct. 16, 2018
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/Jamal_Khashoggi [3]
| ['ข่าว', 'สิทธิมนุษยชน', 'ต่างประเทศ', 'ความมั่นคง', 'ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ', 'ซาอุดิอาระเบีย', 'สหรัฐอเมริกา', 'จามาล คาชอกกี', '\xa0วิลเลียม ฮาร์ตุง', 'โดนัลด์ ทรัมป์', 'โมอัมเหม็ด บิน ซัลมาน', 'การค้าอาวุธ'] |
https://prachatai.com/print/79228 | 2018-10-19 22:03 | กกต. เผยไม่มีหน้าที่ตรวจสอบ ‘ประยุทธ์’ เล่นเฟสบุ๊ก-ทวิตเตอร์ ชี้ไม่ใช่พรรคการเมือง | เลขาธิการ กกต. ชี้ ประยุทธ์เล่นโซเชียลมีเดียประชาสัมพันธ์ตัวเองได้ เพราะไม่ใช่พรรคการเมือง กกต. ไม่มีอำนาจตรวจสอบ เผยยอดองค์กรลงทะเบียนเสนอชื่อ ส.ว. มีแล้ว 29 องค์กร เตรียมคุย คสช. เรื่องการบริจาค ระดมทุนของพรรคการเมือง
19 ต.ค. 2561 พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ใช้สื่อโซเชียลประชาสัมพันธ์ตัวเอง ในขณะที่คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 13/61 ห้ามไม่ให้พรรคการเมืองหาเสียงผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ว่า กกต.มีหน้าที่ดูแลเฉพาะพรรคการเมือง แต่นายกรัฐมนตรีไม่ใช่พรรคการเมือง จึงไม่ได้อยู่ภายใต้คำสั่งนี้
พ.ต.อ.จรุงวิทย์ เปิดเผยถึงการเปิดรับลงทะเบียนองค์กรที่มีสิทธิแนะนำชื่อบุคคลเพื่อสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ด้วยว่า ได้กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทั่วประเทศ เปิดรับลงทะเบียนองค์กรระหว่างวันที่ 15-24 ต.ค. 2561 ซึ่งปรากฏว่า ในช่วง 4 วันที่ผ่านมา คือ ระหว่างวันที่ 15-18 ต.ค. 2561 มีผู้แทนองค์กรมาลงทะเบียนองค์กร จำนวน 29 องค์กร จาก 14 จังหวัดทั่วประเทศ กทม.มากที่สุด 10 องค์กร รองลง คือ พัทลุง , ศรีสะเกษ , สระแก้ว , นนทบุรี , พิษณุโลก , ลำปาง หนองคาย , นครปฐม , ร้อยเอ็ด , ปทุมธานี , ตราด , ตรัง และกาญจนบุรี จังหวัดละ 1 องค์กร
พ.ต.อ.จรุงวิทย์ กล่าวด้วยว่า สำหรับองค์กที่มีสิทธิลงทะเบียน ประกอบด้วย องค์กรที่กฎหมายจัดตั้ง เช่น สภาทนายความ แพทยสภา อัยการ องค์กรของรัฐต่าง ๆ เป็นต้น และองค์กรที่เป็นนิติบุคคล เช่น สมาคม มูลนิธิ เป็นต้น โดย กกต.เปิดรับลงทะเบียนไม่เว้นวันหยุดราชการ ซึ่งหากพ้นกำหนดแล้วองค์กรที่ไม่ยื่นลงทะเบียนก็ไม่สามารถส่งผู้สมัคร ส.ว.ได้ จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ทุกองค์กรมาลงทะเบียน โดย กกต.จะเร่งประชาสัมพันธ์ให้รับทราบโดยทั่วถึง
“ส่วนที่มีองค์กรมาลงทะเบียนน้อยจะง่ายต่อการฮั้วหรือไม่นั้น ก็ไม่ห่วงในเรื่องนี้ เพราะกฎหมายกำหนดมาตรการป้องกันการฮั้วอยู่แล้ว โดยคนที่มีคะแนนไม่ถึง 10% 4 คนจะให้เลือกใหม่ โดยคนที่ไม่มีคะแนนเลยจะไม่มีสิทธิเลือก นอกจากนี้ยังมีผู้สมัครอิสระที่จะมาสมัครในอนาคตด้วย จึงเชื่อว่าจำนวนผู้สมัครไม่น่าจะน้อย เพราะหน้าที่ ส.ว.ครั้งนี้มีความสำคัญ เนื่องจาก ส.ว.ทั้ง 250 คนร่วมโหวตนายกรัฐมนตรีด้วย” พ.ต.อ.จรุงวิทย์ กล่าว
พ.ต.อ.จรุงวิทย์ กล่าวด้วยว่า สัปดาห์หน้า กกต. จะเสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องการบริจาค ระดมทุนของพรรคการเมืองว่าอะไรบ้างที่ควรเปิดให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมให้ถูกต้อง จะได้ไม่ติดขัดเรื่องข้อกฎหมาย โดยอาจเสนอไปยัง คสช.ให้เป็นข้อยกเว้นหรือไม่ เพราะบางกิจกรรมที่มีความจำเป็นต้องเปิดให้ดำเนินการได้ เพื่อการเดินหน้าสู่การเลือกตั้งที่สุจริต เที่ยงธรรม ทั้งนี้ได้ทราบจากวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีว่ากำลังเตรียมการเรื่องที่ คสช.จะพบกับพรรคการเมือง แม่น้ำห้าสาย รวมถึง กกต. ตามข้อ 8 ในคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 53/60 อยู่แต่ยังไม่ได้กำหนดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร ซึ่งส่วนตัวก็อยากให้เกิดขึ้นโดยเร็ว จะได้มีความชัดเจนในเรื่องการปฏิบัติของพรรคการเมือง
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'กกต', 'ประยุทธ์ จันทร์โอชา', 'โซเชียลมีเดีย', 'คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 13/2561'] |
https://prachatai.com/print/79229 | 2018-10-19 22:58 | กลุ่มโทรคมนาคม-ไอที พบ สนช. ให้ทบทวนกฎหมายไซเบอร์-คุ้มครองข้อมูลส่วนตัว | สมาคมโทรคมนาคม สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศเดินทางเข้ายื่นหนังสือแสดงความกังวลกับร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงไซเบอร์ และร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เหตุหวั่นผลประโยชน์หน่วยงานทับซ้อน อำนาจครอบจักรวาลยิ่งใหญ่เกินราชการ เอกชน ขาดกลไกตรวจสอบและการใช้อำนาจที่ชัดเจน กระทบเอกชนแต่มีเวลาเตรียมตัวน้อย
19 ต.ค. 2561 สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สทค.) และสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศนำโดยเมธา สุวรรณสาร นายกสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ ได้เดินทางไปยังรัฐสภาเพื่อยื่นหนังสือต่อสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่หนึ่ง เพื่อแสดงความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สุรชัยได้ให้ความเห็นว่ากิจการไซเบอร์มีความสำคัญอย่างมาก การตรากฎหมายจะต้องคำนึงถึงเรื่องการคุ้มครองประชาชนและรักษาประโยชน์สาธารณะคู่กันไป ขณะนี้ร่างฯ ดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หากร่างฯ เข้ามายัง สนช. เมื่อไหร่ จะเชิญตัวแทนสมาคมฯ มาร่วมแสดงความเห็นและข้อเสนอแนะตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 ต่อไป (ที่มา: มติชน [1] )
รู้จัก ร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงไซเบอร์ เมื่อความปลอดภัยกับละเมิดสิทธิห่างแค่เส้นเบลอๆ [2]
คนการเมือง 4 พรรคสะท้อน พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ อาจอันตรายต่อ ปชช. กว่าที่คิด [3]
ความคิดเห็นต่อ (ร่าง) พรบ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ...
1. การไม่มีธรรมาภิบาลอย่างร้ายแรงและการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (ม.14 17 18)
เป็นหน่วยงานของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ม.14)
ถือหุ้นหรือเข้าเป็นหุ้นส่วนหรือเข้าร่วมทุนกับนิติบุคคลอื่นในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของส านักงาน (ม.17)
กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสำนักงาน (ม.17)
ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของสำนักงาน รายได้ของสำนักงานตามวรรคหนึ่ง ไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (ม.17)
การที่เป็นหน่วยงานทีทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ไม่ควรจะมีหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ และไม่ควรจะต้องมีการหาแสวงหารายได้และการถือหุ้นกับเอกชน
2. อำนาจและหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติมีมากเกินไป จนเข้าข่ายการผูกขาดรวบอำนาจการบริหารจัดการด้านไซเบอร์ของประเทศทั้งหมดมารวมที่หน่วยงานเดียว
มีอำนาจครอบจักรวาล ผูกขาดความรับผิดชอบในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับไซเบอร์ (ม.16, ม.51-58)
ควรจะแยกหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดทำนโยบาย ให้บริการ กำกับดูแลออกจากกันอย่างเด็ดขาด เพื่อความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ
3. อำนาจหน้าที่ของเลขาธิการ มีอำนาจมากเกินไป สามารถที่จะสั่งการหน่วยงานราชการ หน่วยงานความมั่นคง หน่วยงานของรัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชน (ม.24-31, ม.51-58)
กรณีที่เกิดหรือคาดว่าจะเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง
มีอำนาจสั่งการหน่วยงานของรัฐ (ม.56)
มีอำนาจสั่งการให้บุคคล (แค่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามไซเบอร์) (ม.57)
มีอำนาจสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปในสถานที่ประกอบการ เข้าถึงทรัพย์สินสารสนเทศ ตรวจสอบและยึดเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ โดยไม่ต้องมีหมายศาล (ม.58)
ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเลขาธิการตาม ม.57-58 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 150,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.62-63)
การใช้อำนาจตาม ม.57 และ ม.58 เข้าข่ายการละเมิดสิทธิของประชาชนอย่างร้ายแรง
ความคิดเห็นต่อ (ร่าง) พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ....
1. การไม่มีธรรมาภิบาลอย่างร้ายแรงและการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ของส านักงานคณะกรรมการการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ม.42 44 45)
เป็นหน่วยงานของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ม.42)
ถือหุ้นหรือเข้าเป็นหุ้นส่วนหรือเข้าร่วมทุนกับนิติบุคคลอื่นในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสำนักงาน (ม.44 (4))
ค่าปรับทางปกครอง ถือเป็นรายได้ของสำนักงาน ไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (ม.45 (5))
การที่เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ไม่ควรจะมีหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ และไม่ควรจะต้องมีการหาแสวงหารายได้และการถือหุ้นกับเอกชน
2. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีลักษณะผูกขาดรวบอำนาจทุกอย่างที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การส่งเสริมและสนับสนุน การเสนอกฎหมาย ให้คำปรึกษาและการบังคับใช้กฎหมาย เป็นการขัดหลักธรรมาภิบาลอย่างร้ายแรง
มีอำนาจครอบจักรวาล ผูกขาดความรับผิดชอบในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ม.42-46 ม.63 ม.66-68)
ควรจะแยกหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดทำนโยบาย ให้บริการ กำกับดูแลออกจากกันอย่างเด็ดขาดเพื่อความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ
3. อำนาจหน้าที่ของเลขาธิการ มีอำนาจมากเกินไป สามารถที่จะใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษปรับทางปกครอง บังคับใช้กับหน่วยงานราชการ นิติบุคคลเอกชน และประชาชน (ม.88)
4. สำนักงานมีอำนาจมากครอบคลุมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่สามารถที่จะแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ แต่กลไกการควบคุมตรวจสอบสำนักงานและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานไม่ชัดเจน
5. ไม่มีรายละเอียดและความชัดเจนในกลไกในการบังคับใช้กฎหมายกับหน่วยงานรัฐและเอกชนอย่างเท่าเทียมกัน
6. ยังไม่มีการกำหนดคุณสมบัติของกรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ชัดเจนว่าเป็นผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจในแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
7. ยังไม่มีกลไกการตรวจสอบความเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ
8. ยังไม่มีกลไกที่ชัดเจนในการตรวจสอบความโปร่งใสของคณะกรรมการและสำนักงาน
9. ยังไม่มีกลไกและรายละเอียดในการกำกับและประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของคณะกรรมการ และสำนักงาน
10. การกำหนดระยะเวลาในการบังคับใช้ 180 วัน สั้นเกินไป จะส่งผลกระทบต่อหน่วยงานรัฐและเอกชนเป็นอย่างมาก
11. บทเฉพาะกาลที่กำหนดให้ส านักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ปฏิบัติหน้าที่แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ม.90) และให้ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จนกว่าจะมีการจัดตั้งสำนักงานและแต่งตั้งเลขาธิการ ไม่น่าจะเหมาะสม เพราะการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ได้มีหน้าที่และความเข้าใจในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งจะมีปัญหาการขัดกันแห่งผลประโยชน์เพราะพันธกิจของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ไม่เหมาะที่จะมาทำหน้าที่ผู้กำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งสถานภาพของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นหน่วยงานของรัฐแต่ไม่ใช่ส่วนราชการ ไม่เหมาะสมที่จะมาเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐเหนือหน่วยงานราชการและเอกชน
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'เศรษฐกิจ', 'ความมั่นคง', 'สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สทค.)', 'สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ', 'เมธา สุวรรณสาร', 'พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์', 'พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล'] |
https://prachatai.com/print/79231 | 2018-10-19 23:31 | ใบตองแห้ง: ใครกลัวรัฐประหาร | ผบ.ทบ.คนใหม่ บุตรชายหัวหน้า รสช. 2534 ไม่รับประกัน ว่ากองทัพจะไม่ทำรัฐประหารอีก ท่านประกาศว่าถ้าการเมืองไม่เป็นสาเหตุให้เกิดขัดแย้ง หรือเกิดจลาจลจุดไฟเผาเมืองอีก ก็ไม่มีรัฐประหาร
ไม่รู้ทำไม ฟังแล้วรู้สึกขำ ถึงแม้ไม่เห็นด้วยกับท่านซักอย่าง ข้อแรก ฟังแล้วนึกถึงคำพูดใครบางคน ที่บอกผู้หญิงอย่าแต่งตัวโป๊ ยั่วยุโจรข่มขืน ข้อสอง ไม่รู้สื่อถามทำไม เพราะเรายังอยู่ใต้รัฐประหาร ยังไม่ทันเลือกตั้ง ก็ถามหารัฐประหารอีกแล้วหรือ ข้อสาม ที่เคยถามๆ มา ผบ.ทบ.ทุกรายก็บอกไม่คิดไม่ทำ “รัฐประหารแก้ปัญหาผิดทาง สุดท้ายพูดอย่างทำอย่าง การที่ ผบ.ทบ.คนใหม่ไม่รับประกัน อาจเป็นนิมิตหมายอันดี ว่าพูดตรงไปตรงมา
ข้อสำคัญ ถ้าเกิดรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญ 2560 ถึงแม้ไม่เชียร์ ก็ไม่รู้สึกเสียดายอะไร กับรัฐธรรมนูญที่แทบไม่เหลือความเป็นประชาธิปไตย นอกจากมีเลือกตั้งเป็นพิธี ประชาชนเลือก ส.ส.ได้ 500 คน คสช.ตั้งเอง 250 คน มีสิทธิเท่ากันในการเลือกนายกรัฐมนตรี
ซ้ำยังเป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ยาก แทบแก้ไม่ได้ ต้องเข้าชื่อทั้งรัฐบาล ฝ่ายค้าน และ ส.ว. ต้องขออนุญาตศาลรัฐธรรมนูญก่อนทำประชามติ ล็อกตายขนาดนี้ ถ้าร่างเองฉีกเอง เจ้ามือล้มโต๊ะเอง ประชาชนจะเดือดร้อนไปไย ฉีกแล้วร่างใหม่ ร่าง ยังไงก็ไม่แย่ไปกว่านี้แล้ว
ในทางตรงข้าม ถ้าเกิดรัฐประหารอีกครั้ง มันกลับแสดง ว่ากองทัพและชนชั้นนำภาครัฐ ใช้รัฐธรรมนูญ 2560 แล้วยังแก้ไม่ตก ติดกับ “เสียของ” จนต้องซ่อมใหม่ แล้วก็จะติดกับยิ่งไปกว่าเดิม
รัฐประหารไม่ได้เกิดจากประชาชนก่อความวุ่นวาย รัฐประหาร 19 กันยา 2549 ถ้าจำกันได้ สถานการณ์ตอนนั้นคลี่คลายแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญสั่งเลือกตั้ง 2 เมษาโมฆะ วุฒิสภาเลือก กกต.ใหม่ ทุกพรรคพร้อมใจ จะไปสู่เลือกตั้ง จู่ๆ กองทัพก็ทำรัฐประหาร โดยอ้างพันธมิตรนัดชุมนุมและจะมีม็อบชนม็อบ
รัฐประหาร 2549 ทำให้ขัดแย้งบานปลาย ตั้งตุลาการยุบพรรคไทยรักไทย ใช้ประกาศคณะรัฐประหารตัดสิทธิย้อนหลัง ยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ลิดรอนประชาธิปไตย ให้ ส.ว.มาจากสรรหากึ่งหนึ่ง พร้อมวางกลไก มาตรา 237 กรรมการบริหารพรรคทำผิดคนเดียว ยุบพรรคตัดสิทธิ เหมือนใช้กฎหมายโบราณประหารชีวิต 7 ชั่วโคตร
สกัดกั้นกันทุกทาง พรรคพลังประชาชนยังชนะเลือกตั้ง แต่ก็โดนยุบพรรค ล้มรัฐบาลที่ประชาชนเลือกมา แล้วท่านจะให้ประชาชนยอมรับว่า นี่เป็นกติกาที่ยุติธรรม
การเมืองเป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย ไม่ใช้กติกาที่ขัดหลักนิติรัฐ ถ้าไม่เกิดม็อบมีเส้น ยึดทำเนียบปิดสนามบิน มันก็ไม่เกิดม็อบทวงอำนาจ ยึดราชประสงค์ เรียกร้องยุบสภา จนโดนกระสุนจริง
พรรคเพื่อไทยชนะถล่มทลายอีกครั้ง จนนิรโทษสุดซอย ซึ่งดูเหมือนแต่งตัวยั่ว แต่ก็ยุบสภาคืนอำนาจประชาชนแล้ว ม็อบยังไม่ถอย ยังขัดขวางเลือกตั้งจนเกิดรัฐประหาร ถ้าจะโทษนักการเมือง ก็ลองฟังที่ จาตุรนต์ ฉายแสง ย้อนถาม มองเป็น “ทฤษฎีสมคบคิด” ได้ไหม
วิกฤตการเมืองในช่วง 7 ปี เกิดเพราะกติกา รัฐธรรมนูญ 2550 ไม่เป็นประชาธิปไตย ทำให้แตกแยกไปใหญ่ จนกองทัพกลับมาล้มโต๊ะ เขียนเองฉีกเอง พยายามเขียนใหม่ บวรศักดิ์ร่างให้ก็ฉีกทิ้ง มีชัยร่างอีกทีก็เพิ่มบทเฉพาะกาล 5 ปี เอื้อสืบทอดอำนาจ แบบถอยหลังยิ่งกว่ายุคบิ๊กจ๊อด เทียบได้กับยุคถนอมตั้งพรรคสหประชาไทย
ซึ่งสะท้อนว่าหาทางลงไม่เจอ ร่างรัฐธรรมนูญ 2 ครั้ง ก็ยังไม่มั่นใจ ว่ามีเลือกตั้งแล้วเอาอยู่
ว่าที่จริง รัฐธรรมนูญ 2560 เป็นรัฐธรรมนูญที่ป้องกันรัฐประหารได้ดีที่สุดในโลก อ้าว ก็เอาอำนาจรัฐประหารไปอยู่ในรัฐธรรมนูญแล้วไง ให้ 6 ผบ.เหล่าทัพเป็นกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ควบ ส.ว.โดยตำแหน่ง ทั้งสององค์กรชง ป.ป.ช. ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา ตีความให้คณะรัฐมนตรีตกเก้าอี้ได้
นี่ยังไม่นับการเพิ่มอำนาจองค์กรอิสระ คุมเข้มนักการเมือง ยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ 2550 หลายเท่า
ถ้าอย่างนั้น รัฐประหารจะเกิดได้อย่างไร ก็เกิดเมื่อทุกอย่างไม่เป็นตามคาดหมาย เช่นฝ่ายคัดค้านสืบทอดอำนาจชนะถล่มทลาย หรือแพ้เพราะเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม กรรมการเตะบอลเอง หรือชนะก็จริง แต่บริหารประเทศไม่รอด ล้มลุกคลุกคลาน ถูกต่อต้านถูกขับไล่
ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด วันไหนเกิดรัฐประหาร ก็แปลว่าระบอบรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตย ทำให้เกิดวิกฤต จนไปไม่รอด ต้องฉีกเอง ล้มโต๊ะเอง โดยกองทัพและชนชั้นนำภาครัฐ ก็จะยิ่งติดกับ อับจน ไม่รู้จะวางระบอบการปกครอง ต่อไปอย่างไร
เพราะอย่างนี้ รัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญ 2560 จึงเป็นเรื่องขำๆ ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวสำหรับประชาชน คนมีอำนาจ ต่างหาก ที่จะเข้าสู่ทางตัน
เผยแพร่ครั้งแรกใน: ข่าวสดออนไลน์ [1]
| ["'ใบตองแห้ง' ออนไลน์", 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'ใบตองแห้ง', 'รัฐประหาร', 'อภิรัชต์ คงสมพงษ์'] |
https://prachatai.com/print/79232 | 2018-10-19 23:38 | สุรพศ ทวีศักดิ์: หลักการโลกวิสัยกีดกันศาสนา (?) | ที่มาภาพ www.matichon.co.th/columnists/news_47280 [1]
ผมไม่ค่อยชอบคำแปล “secularism” ว่า “ฆราวาสนิยม” เพราะ “ฆราวาส” เป็นคำบาลีแปลว่า “ผู้ครองเรือน” ซึ่งตรงกันข้ามกับนักบวชผู้สละการครองเรือน ความหมายจึงแคบมาก ผมชอบคำแปล “โลกวิสัย” มากกว่า เพราะความหมายสำคัญของ “secular” บ่งถึงแนวคิด หลักการ แนวปฏิบัติ หรือวิถีคนละอย่างกับ “religion” หรือศาสนา
แนวคิดโลกวิสัยปฏิเสธศาสนาหรือไม่? คำตอบคือ แนวคิดโลกวิสัยปฏิเสธ “อำนาจทางศาสนาที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเสรีภาพและความเสมอภาค” เช่น การนำหลักศาสนามาเป็นหลักการปกครองและการบัญญัติกฎหมายบังคับคนแบบรัฐศาสนายุคกลาง (หรือยุคปัจจุบันก็ตาม) เพราะในรัฐศาสนาเสรีภาพทางศาสนาไม่อาจมีได้จริง เท่ากับเสรีภาพในการใช้ชีวิตตามความเชื่อ ความพึงพอใจ รสนิยม อุดมคติ หรือความใฝ่ฝันของปัจเจกบุคคลไม่อาจมีได้ และเสรีภาพทางความคิดเห็น ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองก็ไม่อาจมีได้เช่นกัน เพราะไม่มีเสรีภาพเสนอแนวคิด หลักการ หรือวิถีปฏิบัติใดๆ ที่แตกต่างหรือตรงกันข้ามกับหลักความเชื่อทางศาสนาของรัฐศาสนานั้นๆ
เช่น ในชุมชนศาสนานับถือพระเจ้าองค์เดียว (monotheism) ยุคโบราณ แม้แต่การบูชารูปเคารพหรือการเปลี่ยนศาสนาก็ถูกปาหินให้ตาย ในรัฐคริสเตียนในยุโรปยุคกลาง เพียงเสนอความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ขัดกับความเชื่อทางศาสนาก็มีโทษถึงตาย รัฐอิสลามก็ไร้เสรีภาพไม่ต่างกัน รัฐพุทธผสมพราหมณ์ ผีในอุษาคเนย์แม้จะมีเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนาต่างๆ ได้ แต่ภายใต้การปกครองที่ชนชั้นปกครองเป็นธรรมราชา สมติเทพ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าอยู่หัว ก็คือระบบศักดินาที่กดขี่ไพร่ ทาส
พูดรวมๆ คือ ทั้งความเชื่อหรือคำสอนและประวัติศาสตร์ของสถาบันทางศาสนาหลักๆ เช่นพราหมณ์ พุทธ คริสต์ อิสลาม ต่างสถาปนาระบบชนชั้น ระบบทาส หรือยอมรับและสนับสนุนระบบชนชั้น ระบบทาสทั้งโยตรงและโดยปริยาย ซึ่งขัดกับหลักการโลกวิสัยโดยพื้นฐาน
การเกิดขึ้นของแนวคิดโลกวิสัยก็เพื่อโต้แย้งการปกครองด้วยหลักความเชื่อทางศาสนาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐศาสนาแบบเข้มข้นที่ใช้หลักความเชื่อทางศาสนาเป็นหลักการปกครอง, การบัญญัติกฎหมายต่างๆ และศาสนจักรหรือผู้นำศาสนามีอำนาจบังคับศรัทธา หรือรัฐศาสนาแบบไม่เข้มข้นที่ใช้หลักความเชื่อทางศาสนาสถาปนาสถานะและอำนาจศักดิ์สิทธิ์ชนชั้นปกครอง แม้ไม่บังคับความเชื่อทางศาสนา แต่ในรัฐศาสนาแบบไม่เข้มข้นอย่างรัฐพุทธผสมพราหมณ์ ผี ก็คือรัฐที่กดขี่เสรีภาพและไม่มีความเสมอภาคเช่นกัน
หลักการโลกวิสัย (secular principles) ที่เสนอขึ้นมาแทนหลักการปกครองแบบศาสนาคือ หลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ศักดิ์ศรีของมนุษย์ และหลักการนี้ก็พัฒนามาเป็นหลักเสรีประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และหลักสังคมนิยมประชาธิปไตย หลักการโลกวิสัยดังกล่าวนี้ปฏิเสธศาสนาเฉพาะ (1) การนำหลักความเชื่อทางศาสนามาเป็นหลักการปกครองและการบัญญัติกฎหมายบังคับคน และ (2) การให้อำนาจรัฐหรืออำนาจทางกฎหมายแก่องค์กรศาสนาต่างๆ ในการปกป้องและสนับสนุนการเผยแผ่ความเชื่อของศาสนานั้นๆ
พูดง่ายๆ คือ ประวัติศาสตร์สังคมมนุษย์ผ่านบทเรียนจากเวลาที่ยาวนานหลายพันปีว่า การปกครองด้วยหลักความเชื่อทางศาสนาและการให้ศาสนาจักรมีอำนาจทางกฎหมาย มันคือการปกครองที่พวกชนชั้นปกครองส่วนน้อยคือกษัตริย์ ขุนนาง นักบวชหรือผู้นำศาสนามีอำนาจกดขี่ เอาเปรียบคนส่วนใหญ่ ภายใต้ระบบเช่นนั้นไม่มีเสรีภาพทางศาสนาและทางอื่นๆ จึงต้องใช้หลักการโลกวิสัยคือหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ศักดิ์ศรีของมนุษย์ อำนาจ เจตจำนง และความยินยอมของประชาชนมาแทนที่ระบบที่กดขี่ในนามศาสนาดังกล่าว
เพื่อให้การปกครองตามหลักการโลกวิสัยเป็นไปได้จริง จึงต้องแยกศาสนจักรจากสถาบันอำนาจรัฐ (separation of church and state) ให้องค์กรของทุกศาสนาเป็นเอกชน ไม่ยกศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติ ถือว่าการนับถือหรือปฏิเสธศาสนาเป็นเสรีภาพส่วนบุคคลที่รัฐไม่ก้าวก่ายแทรกแซง รัฐต้องเป็นกลางทางศาสนา มีหน้าที่รักษาเสรีภาพและความเสมอภาคทางศาสนาเท่านั้น
บางคนมองว่า แนวคิดโลกวิสัยให้ความสำคัญกับการใช้เหตุผล ความเป็นวิทยาศาสตร์ในการอธิบายความจริงเกี่ยวกับโลก ชีวิต คุณค่า ศีลธรรม ความยุติธรรม ระเบียบทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และอื่นๆ ดังนั้นแนวคิดโลกวิสัยจึงกีดกันคำสอนทางศาสนาที่อธิบายความจริงเกี่ยวกับชีวิตและโลก คุณค่า ความดี ศีลธรรมที่ต่างออกไป
มุมมองดังกล่าวไม่ตรงนัก แท้จริงแล้วแนวคิดโลกวิสัยปฏิเสธปฏิเสธเฉพาะการนำเอาหลักความเชื่อทางศาสนามามีอำนาจบังคับคน ความเชื่อทางศาสนาที่ขัดหลักความเสมอภาคทางเพศ สนับสนุนอำนาจเผด็จการ หรือขัดหลักสิทธิมนุษยชนเท่านั้น
คำสอนของพระศาสดา เช่นที่สอนให้รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง ให้อภัยแก่ศัตรู ให้ฝึกฝนปัญญาและกรุณาเพื่ออิสรภาพด้านใน และคำสอนใดๆ อันเป็นแนวปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความอดกลั้น ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่กดขี่บีฑากันในทางสังคม ช่วยให้เคารพความเป็นมนุษย์และสนับสนุนสันติภาพ หรือคำสอนใดๆ เพื่อช่วยให้ปัจเจกบุคคลมีชีวิตที่ดีโดยไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพคนอื่น หลักการโลกวิสัยไม่ได้กีดกันเลย
จริงๆ แล้วหากมองจากจุดยืนหลักการโลกวิสัย การเอาศาสนามาเป็นหลักการปกครองหรือเกี่ยวข้องกับการเมืองต่างหากที่นำไปสู่ปรากฏการณ์ที่ขัดกับหลักคำสอนของพระศาสดาเสียเอง เพราะเมื่อใช้ศาสนาเป็นหลักการปกครองหรือนำศาสนามาเกี่ยวข้องกับการเมือง หรือเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง มักเป็นการสร้างระบบเผด็จการกดขี่ และเติมเชื้อไฟความขัดแย้งให้บานปลายกลายเป็นความรุนแรงบนความเชื่อที่สุดโต่งที่พูดเหตุผลกันไม่รู้เรื่อง
แต่เมื่อแยกศาสนาจากรัฐ-การเมือง ย่อมทำให้การบริหารจัดการในกิจการของรัฐและปัญญาหาต่างๆ ในทางการเมืองสามารถดำเนินไปตามหลักความมีเหตุผล เป็นวิทยาศาสตร์ และเป็นธรรมบนหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ศักดิ์ศรีของมนุษย์ อำนาจ เจตจำนงและความยินยอมของประชาชนได้ และทำให้ศาสนาสามารถเสนอคำสอนของพระศาสดาที่เน้นความรัก การให้อภัย ปัญญากรุณาและอิสรภาพด้านใน หรือมิติด้านจิตวิญญาณให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของปัจเจกบุคคลได้มากกว่า เพราะเรามีเสรีภาพในการศึกษาตีความและประยุกต์ใช้คำสอนของศาสนาได้มากกว่าการไม่แยกศาสนาจากรัฐ ที่การศึกษาตีความศาสนาผูกขาดอยู่กับอำนาจรัฐ ศาสนจักร นักบวช หรือผู้นำศาสนา
คำถามก็คือ เราควรเลือกทางไหนดี ระหว่างการไม่แยกศาสนาจากรัฐที่องค์กรศาสนาต่างๆ มีอำนาจทางกฎหมาย นักบวชและผู้นำทางศาสนาต่างๆ มีอภิสิทธิ์ทั้งในเรื่องสถานะ ยศศักดิ์ งบประมาณสนับสนุนจากรัฐ และมีอำนาจผูกขาดการตีความ ตัดสินถูก ผิดตามหลักศาสนา ขณะเดียวกันศาสนาก็ถูกใช้สนับสนุนอุดมการณ์และกลุ่มผู้ครองอำนาจรัฐฝ่ายอนุรักษ์นิยม กับการแยกศาสนาจากรัฐที่จะเอื้อให้สามารถนำหลักการโลกวิสัยคือ หลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยมาเป็นหลักการปกครองได้จริง และเอื้อให้มีเสรีภาพในการศึกษาตีความคำสอนของพระศาสดาให้มีคุณค่าความหมายต่อชีวิตปัจเจกบุคคล และสนับสนุนสันติภาพทางสังคมอย่างเคารพคุณค่าแห่งสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีของมนุษย์ได้จริง
พูดอีกอย่างคือ การคงระบบที่ไม่แยกศาสนาจากรัฐนั่นแหละที่ทำให้ศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของระบบอำนาจที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและเป็นอุปสรรคต่อความงอกงามของศาสนธรรมเสียเอง การแยกศาสนาจากรัฐจะทำให้ศาสนาหลุดจากการตกเป็นเครื่องมือของระบบอำนาจที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และทำให้ศาสนธรรมมีความหมายต่อชีวิตปัจเจกบุคคลและสังคมสมัยใหม่ได้จริง เราควรเลือกทางไหนดี
| ['บทความ', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'การศึกษา', 'สุรพศ ทวีศักดิ์', 'โลกวิสัย', 'ศาสนา', 'พุทธศาสนา'] |
https://prachatai.com/print/79234 | 2018-10-20 11:58 | ปล่อยตัวบล็อกเกอร์เวียดนามฉายา 'คุณแม่เห็ด' ถูกสั่งเนรเทศไปสหรัฐฯ | เหงียน หงัพ นู ควินห์ บล็อกเกอร์เวียดนามผู้เคยถูกสั่งจำคุก 10 ปี จากการที่เธอเขียนบล็อกวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ได้รับการปล่อยตัวแล้วเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยมีเงื่อนไขให้ออกจากประเทศไปอยู่ที่สหรัฐฯ ถึงแม้ว่าการปล่อยตัวเธอจะเป็นเรื่องน่ายินดี แต่นักสิทธิมนุษยชนก็เตือนว่าไม่ควรให้เครดิตกับรัฐบาลเวียดนามที่ยังลิดรอนเสรีภาพประชาชน โดยมีนักโทษทางความคิดอยู่จำนวนมากและย้ำว่าตัวควินห์เองก็ไม่ควรจะติดคุกตั้งแต่แรกแล้ว
เหงียน หงัพ นู ควินห์ (Nguyen Ngoc Nhu Quynh) นักกิจกรรมและบล็อกเกอร์ชาวเวียดนาม (ที่มาภาพ: hrw.org) [1]
เรดิโอฟรีเอเชียรายงานเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมาว่า เหงียน หงัพ นู ควินห์ (Nguyen Ngoc Nhu Quynh) นักกิจกรรมและบล็อกเกอร์ชาวเวียดนามผู้ใช้ชื่อในเน็ตว่า "มีนาม" หรือ "คุณแม่เห็ด" ได้รับการปล่อยตัวจากคุกในวันพุธและหลังจากนั้นก็เดินทางไปยังสหรัฐฯ
ถึงแม้ว่ากลุ่มสิทธิมนุษยชนจะยินดีกับการที่เธอได้รับการปล่อยตัวแต่ควินห์ก็ต้องกลายเป็นคนพลัดถิ่นและมองว่าเธอกับประชาชนคนอื่นๆ อีกมากกว่า 100 คนไม่ควรจะถูกจับกุมตั้งแต่แรกเพียงเพราะพวกเขาแสดงความคิดเห็น
เพื่อนบ้านของควินห์ในเมืองนาตรังบอกว่ามีเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงไปล้อมบ้านของครอบครัวเธอตลอดวันพุธที่ผ่านมา โดยที่เครือข่ายบล็อกเกอร์เวียดนามระบุทางเพจเฟสบุ๊คว่าควินห์ถูกส่งตัวไปที่สนามบินฮานอยจากที่ก่อนหน้านี้แม่และลูกของเธอบินไปไต้หวันแล้วซึ่งคาดว่าพวกเขาจะได้เจอกันและขึ้นเครื่องต่อไปฮุนสตัน รัฐเท็กซัส พร้อมกัน
กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ กล่าวว่าพวกเขายินดีที่ทางการเวียดนามปล่อยตัวควินห์ และบอกว่าควินห์กับครอบครัวแสดงออกว่าอยากมาที่สหรัฐฯ เรดิโอฟรีเอเชียตั้งข้อสังเกตว่าการปล่อยตัวบล็อกเกอร์รายนี้มีขึ้นไม่นานหลังจากที่เลขาธิการกระทรวงกลาโหม จิม แมตติส กลับจากการเดินทางไปเยือนเวียดนาม
ควินห์ถูกจับกุมตั้งแต่เดือน ต.ค. 2559 และถูกตัดสินจำคุก 10 ปีเมื่อเดือน มิ.ย. 2560 ในข้อหา "โฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐ" ตามกฎหมายอาญามาตรา 88 ของเวียดนาม โดยในช่วงที่เธอถูกคุมขังควินห์ทำการอดอาหารประท้วงหลายครั้ง กรณีของเธอจัดว่าเป็นกรณีนักกิจกรรมชื่อดังที่ถูกตัดสินลงโทษหนักจากการปราบปรามของรัฐบาลพรรคเดียวที่ทำให้เกิดนักโทษการเมืองมากกว่า 100 ราย
นักสิทธิมนุษยชน นิโคลัส เบเควลิน จากองค์กรแอมเนสตีอินเตอร์เนชันแนลกล่าวว่าในขณะที่การปล่อยตัว "คุณแม่เห็ด" ถือเป็นข่าวดี แต่ก็มีนักโทษมากกว่า 100 รายในคุกที่ถูกจับเพียงเพราะพูดในสิ่งที่ตัวเองคิดทั้งในที่สาธารณะ ในบล็อก หรือบนเฟสบุ๊ค
ชอว์น คริสปิน ผู้แทนอาวุโสขององค์กรคณะกรรมการคุ้มครองผู้สื่อข่าว (CPJ) แสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ควินห์ได้รับการปล่อยตัวเช่นกัน แต่ก็กล่าวย้ำกว่าควินห์ไม่ควรจะถูกสั่งจำคุกตั้งแต่แรก อีกทั้งยังแถลงเรียกร้องให้รัฐบาลเวียดนามดำเนินการต่อเนื่องด้วยการปล่อยตัวนักข่าวอื่นๆ ที่ถูกสั่งจำคุกอย่างไม่เหมาะสมในเวียดนาม
ฟิล โรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียของฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวว่าการจับกุมและปล่อยตัวควินห์เป็นส่วนหนึ่งในแผนการของรัฐบาลเวียดนามที่จะสกัดกั้นและสลายการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยภายในเวียดนามด้วยการตั้งเป้าหมายเป็นนักกิจกรรมที่มีชื่อเสียงทีละคนๆ ด้วยข้อหาปลอมๆ ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ใช้ศาลลำเอียงตัดสิน พยายามทำให้พวกเขาหมดหวังหลังถูกคุมขังยาวนาน จากนั้นก็ปล่อยตัวโดยมีข้อแม้ต้องถูกเนรเทศ จากนั้นรัฐบาลก็อ้างเครดิตว่าเป็นผู้ปล่อยตัวพวกเขา โรเบิร์ตสันยังเรียกร้องให้ผู้คนไม่ลืมว่าเวียดนามยังคงเป็นประเทศที่กดขี่และลิดรอนสิทธิของประชาชนอย่างหนักไม่ว่าจะเป็นการปราบปรามคนวิจารณ์รัฐบาลหรือตนที่จัดการชุมนุม
ควินห์เป็นผู้ที่เขียนเว็บล็อกเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการทุจริตคอร์รัปชันมายาวนานสิบปีแล้ว และเมื่อไม่นานนี้ก็วิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลในการอ้างสิทธิเหนือเขตแดนในทะเลจีนใต้ นอกจากนี้ยังเคยวิจารณ์รัฐบาลกรณีการรั่วไหลของของเสียมีพิษจากโรงงานสัญชาติไต้หวันในปี 2559 ที่ทำลายวิถีชีวิตของชาวเวียดนามหลายหมื่นคนที่อาศัยอยู่ใน 4 จังหวัดใกล้ชายฝั่ง ควินห์เคยได้รับรางวัลผู้หญิงกล้าหาญนานาชาติประจำปี 2560 จากรัฐบาลสหรัฐฯ มาก่อน
เรียบเรียงจากVietnamese Blogger Mother Mushroom Released, Exiled to US, Radio Free Asia, 17-10-2018https://www.rfa.org/english/news/vietnam/mushroom-exile-10172018085458.html [2]
| ['ข่าว', 'สิทธิมนุษยชน', 'ต่างประเทศ', 'ไอซีที', 'เหงียน หงัพ นู ควินห์', 'เสรีภาพนการแสดงความคิดเห็น', 'บล็อกเกอร์', 'การเนรเทศ', 'เวียดนาม', 'สหรัฐอเมริกา'] |
https://prachatai.com/print/79235 | 2018-10-20 12:22 | กรมราชทัณฑ์มีแนวคิดให้เขตอุตสาหกรรมเป็นเขตเรือนจำ เพื่อส่งนักโทษฝึกงานสร้างอาชีพ | กรมราชทัณฑ์อยู่ระหว่างศึกษาข้อกฎหมายเพื่อประกาศให้เขตประกอบการอุตสาหกรรมภายนอกที่ใช้เป็นสถานที่ฝึกทักษะอาชีพให้กับผู้ต้องขังเป็นเขตเรือนจำ ส่งนักโทษฝึกงานสร้างอาชีพ ทำงานเต็ม 8 ชม.ต่อวัน ไม่ต้องเสียเวลาไปกลับเรือนจำ ตั้งเป้าลดการทำผิดซ้ำ
20 ต.ค. 2561 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ [1] รายงานว่า พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า กรมราชทัณฑ์อยู่ระหว่างศึกษาข้อกฎหมายเพื่อประกาศให้เขตประกอบการอุตสาหกรรมภายนอก ที่ใช้เป็นสถานที่ฝึกทักษะอาชีพให้กับผู้ต้องขังเป็นเขตเรือนจำ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการฝึกทักษะอาชีพให้กับนักโทษที่มีความประพฤติดี คงเหลือโทษจำคุกน้อย ออกไปทำงานและเข้าพักภายในเรือนนอนหรือหอพักคนงานของสถานประกอบการ โดยไม่ต้องเสียเวลาขนส่งนักโทษเข้าออกเรือนจำ เนื่องจากที่ผ่านมานักโทษที่ออกไปฝึกทักษะอาชีพในสถานประกอบการที่ทำความตกลงกับกรมราขทัณฑ์ ต้องเดินทางไปทำงานในลักษณะเช้าไปเย็นกลับ จึงทำงานได้วันละไม่เกิน 6 ชั่วโมงเพราะต้องกลับเข้าเรือนจำก่อนเวลา 16.00 น. จึงมีความคิดที่จะแก้ระเบียบเรือนจำ เพื่อให้นักโทษได้ฝึกงานอย่างเต็มที่ ซึ่งจะทำให้นักโทษได้รับเงินค่าแรงเก็บสะสมเป็นเงินก้นถุงสำหรับเป็นทุนประกอบอาชีพหลังพ้นโทษได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นแรงจูงใจให้นักโทษกลับตัวเป็นคนดี ไม่กระทำความผิดซ้ำ และไม่เป็นบุคคลเสี่ยงที่จะทำร้ายสังคมอีก
พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวอีกว่า สำหรับเงินส่วนแบ่งจากการฝึกอาชีพ หรือรายได้จากงานบริการ การสร้างผลงานประดิษฐ์ของผู้ต้องขัง ซึ่งมีระเบียบการปันส่วนรายได้ ให้ผู้ต้องขัง 50% ผู้คุม 25% และเรือนจำ 25% ในอนาคตมีความคิดที่จะปรับสัดส่วนให้ผู้ต้องขังได้รับส่วนแบ่ง 70% เพื่อส่งเสริมให้นักโทษที่มีความตั้งใจฝึกฝนทักษะอาชีพมีเงินสะสมสำหรับเป็นทุนประกอบอาชีพหลังปล่อยเพิ่มมากขึ้น
"หากเปรียบนักโทษเป็นคนป่วยของสังคม เรือนจำมีหน้าที่แก้ไขอาการป่วย สร้างงานสร้างอาชีพและสร้างความยอมรับจากสังคม นักโทษหลบหนีก็ต้องตามจับ คนผิดอุกฉกรรจ์ต้องโทษประหารก็ประหาร เป้าหมายคือลดการกระทำความผิดซ้ำ ซึ่งมีตัวเลขชัดเจนว่าในปีแรกหลังปล่อยมีผู้พ้นโทษทำผิดซ้ำกลับเข้ามา 17% ปีที่สอง 25% และปีที่สาม 25% หากคนกลุ่มนี้มีงานทำ มีรายได้เพียงพอ และไม่ถูกครอบครัวหรือสังคมทอดทิ้ง ก็มีโอกาสที่เขาจะกลับตัว อาชญากรที่ได้รับการแก้ไขแล้วควรได้รับโอกาสเพื่อไม่ให้พวกเขาทำผิดซ้ำ" อธิบดีกรมราชทัณฑ์กล่าว
พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวต่อว่าในเรือนจำชั่วคราวบางแห่งมีโรงงานน้ำตาลของเอกชน เข้ามาสร้างอาคารภายในพื้นที่เรือนจำสนับสนุนการฝึกอาชีพ หรือวัดพัชรกิตยาภาราม จ.หนองบัวลำภู เจ้าอาวาสนักพัฒนาก็ส่งเสริมให้ผู้ต้องขังออกไปช่วยสร้างวัดและศาลาการเปรียญ เพื่อสร้างความยอมรับจากสังคม เป็นเรือนจำชั่วคราวที่ให้พระเป็นผู้คุมทางจิตใจโดยแนวคิดเรื่องการส่งผู้ต้องขังออกไปฝึกอาชีพได้รับการตอบรับที่ดีจากภาคสังคมและนิคมอุตาสาหกรรมต่างๆ
ก่อนหน้านี้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือตาม "โครงการประชารัฐ ร่วมสร้างงาน สร้างอาชีพผู้ต้องขัง" ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างกรมราชทัณฑ์ กรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสและคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ต้องขัง ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมด้านทักษะฝีมือ จริยธรรม รวมถึงสร้างรายได้ให้เป็นเงินทุนนำไปประกอบอาชีพภายหลังพ้นโทษ และไม่หวนไปกระทำผิดซ้ำ ทั้งนี้กรมราชทัณฑ์ได้ส่งผู้ต้องขังชั้นดีออกไปฝึกทักษะฝีมือในโรงงานอุตสาหกรรม ได้รับอัตราค่าจ้างวันละ 325 บาทต่อคน
| ['ข่าว', 'เศรษฐกิจ', 'สังคม', 'แรงงาน', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'กรมราชทัณฑ์', 'นักโทษ', 'ผู้ต้องขัง', 'ฝึกอาชีพ', 'แรงงานนักโทษ', 'แรงงานผู้ต้องขัง', 'ฝึกอาชีพผู้ต้องขัง', 'ฝึกอาชีพนักโทษ'] |
https://prachatai.com/print/79230 | 2018-10-19 23:23 | FreeWriteAward3: ถึงเวลา |
1.แม้ใบไม้ยังรู้มีการผลิผลัด จะฝืนสัจธรรมได้อย่างไรหรือ?เมื่อยิ่งอยู่ยิ่งยุ่งเหยิงสุมเพลิงฮือ แล้วจะยื้ออยู่ไยให้ยืดยาวนับแต่วันสิทธิ์ประชาชนถูกปล้นชิง เศรษฐกิจก็ล้มกลิ้งไปทุกก้าวยินไหมคนผู้ลำบากปากขมคาว เขาฝากข่าวประกาศมาว่าทุกข์ทน !
“หายใจเข้าเขาก็เร้าจะเอาดอก หายใจออกเขาก็เร้าจะเอาต้นโอ้หันทิศใดหนอก็มืดมน หนี้ยังล้นทรัพย์ยังไร้ไปทุกทาง”“แม้อยู่บ้านมองมิเห็นจะเป็นบ้าน เห็นแต่รายจ่ายบานอย่างไรบ้างทั้งค่าน้ำค่าไฟสุมหญ้าฟาง ไฟรอจี้คือหนี้ค้างธนาคาร”
ข้าวและแกงก็แข่งขึ้นราคาขาย อดอยากเริ่มขยับขยายไปทุกย่าน“การกินอยู่ใต้เกือกเผด็จการ แม้แต่ข้าวหนึ่งจานก็หนักใจ”ที่อยู่นาอยู่ไร่ไกลปืนเที่ยง แผ่นอกกร้านนั้นก็เพียงจะหม่นไหม้“ราคาผลผลิตต่ำอยู่ร่ำไป ปลูกอะไรก็รวดร้าว..มิพ้นเลย”
2.กระนี้สรรพาวุธยุทโธปกรณ์ จะซื้อต้อนมาเต็มคลังอย่างไรเหวยคงอีกนานศึกนอกจะงอกเงย ศึกปากท้องสิมันเย้ยรอการยุทธกุมบังเหียนบริหารแล้วลงเหว หากยิ่งทำยิ่งล้มเหลว...ก็โปรดหยุดเลิกทุบทึ้งประเทศไทยให้เซทรุด ด้วยอาวุธยุทธภัณฑ์อันเปล่าดาย
คืนประชาธิปไตยให้ประชา คืนความยุติธรรมมาอย่าบุ้ยบ้ายคืนอำนาจให้มวลชนทั้งหญิงชาย คืนการกินอยู่สบายให้บ้านเมืองแม้ใบไม้ยังรู้มีการผลิผลัด ถึงคราวรัฐเขียวคดต้องปลดเปลื้องใครปล่อยปืนยืนอำนาจมานานเนือง ต้องคิดเรื่องที่จะไล่มันได้แล้ว !
หมายเหตุ: 'บทกวี ถึงเวลา' โดย นนทพัทธ์ หิรัญเรือง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 FreeWrite Award ครั้งที่ 3 ในเทศกาลบทกวีประชาชน งาน 42 ปี 6 ตุลา 2519 ประกาศผลเมื่อวันที่ 6 ตุลา 2561 ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
| ['บทความ', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'FreeWriteAward3', 'กวีประชาไท', 'นนทพัทธ์ หิรัญเรือง Freewriteaward'] |
https://prachatai.com/print/79233 | 2018-10-20 00:12 | 3 ปี พ.ร.บ.ชุมนุมฯ: ห้ามเคลื่อนไหว ห้ามชุมนุม ห้ามคิดต่าง คสช. | ก่อนจะมีกฎหมายเฉพาะเจาะจงอย่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 เข้ามา “รับรอง” ให้การใช้สิทธิชุมนุมสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยมีกฎหมายหลายฉบับทั้งประมวลกฎหมายอาญา รวมถึงคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 เข้ามา “จัดการ” การชุมนุมอยู่เเล้ว ภายหลังจากที่พระราชบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้มา 3 ปี ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนขอรวบรวมสถานการณ์การชุมนุมที่เกิดขึ้น เพื่อเเสดงให้เห็นถึงแนวทางการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในการพิจารณาว่า การรวมตัวแบบใดเป็นการชุมนุมที่ต้องห้ามภายใต้ความหมายของกฎหมายฉบับนี้ เเล้วคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่หรือไม่ เเละก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไรกับผู้ถูกดำเนินคดี
“บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
การจํากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎ หมายที่ตราขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น”
เนื้อความดังกล่าวคือบทบัญญัติในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นที่รับรู้รับทราบกันว่าเป็นบทบัญญัติที่รับรองเสรีภาพในการชุมนุมของบุคคลนับแต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อปี 2560
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสนใจว่า การเขียนรับรองเสรีภาพการชุมนุมในรัฐธรรมนูญกับเสรีภาพในการชุมนุมที่มีอยู่จริงของบุคคลทั่วไปนั้นมีความต่างกันลิบลับ ด้วยเหตุที่ “รัฐ” สามารถจำกัดการใช้สิทธิได้อย่างกว้างขว้างหากเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาความมั่นคง ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคล ซึ่งนำมาสู่การกล่าวอ้างว่ากฎหมายที่เป็นพระราชบัญญัติและมีสถานะเช่นพระราชบัญญัติอย่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ 2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ซึ่งบังคับใช้อยู่ก่อนรัฐธรรมนูญ ปี 2560 สามารถจำกัดการใช้สิทธิดังกล่าวของบุคคลได้ ผลของความพยายามที่จะส่งเสียงเรียกร้อง วิพากษ์วิจารณ์ และขอมีส่วนร่วมของบุคคลในหลายกรณีจึงนำมาซึ่งการปิดกั้น ข่มขู่ และถึงขั้นดำเนินคดี
แม้ในทางหลักกฎหมาย ด้วยสถานะของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ซึ่งตราขึ้นเพื่อกำหนดรายละเอียดของการใช้เสรีภาพในการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะทุกรูปแบบ ต้องมีผลเป็นการยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ข้อ 12 ซึ่งห้ามการชุมนุมหรือมั่วสุมทางการเมือง ตามหลักกฎหมายเก่ายกเลิกกฎหมายใหม่ แต่ในทางปฏิบัติพบว่า เจ้าหน้าที่กลับใช้ทั้งกฎหมายและคำสั่งดังกล่าว ควบคุมการใช้เสรีภาพในการชุมนุมของบุคคล โดยเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการพัฒนาของรัฐ และประชาชนทั่วไปที่รวมตัวกันออกมาแสดงความเห็นอยู่เสมอ
เพื่อให้เห็นตัวอย่างของการใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนในพื้นที่จริง และลักษณะการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐที่บังคับใช้กฎหมายอันขาดความชอบธรรมทางการเมืองทั้ง 2 ฉบับ เนื่องจากพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 เองก็ตราขึ้นโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงรวบรวมลักษณะการปิดกั้น คุกคาม ข่มขู่ และดำเนินคดีต่อประชาชน ในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศไทย ภายในช่วงระยะเวลา 3 ปี นับแต่พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ มีผลบังคับใช้ โดยแบ่งการนำเสนอออกเป็นกลุ่มผู้ถูกดำเนินด้วยพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ และกลุ่มผู้ถูกดำเนินคดีด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าวประกอบกับคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 เพื่อให้เห็นถึงความไม่แน่นอนของการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการก่อภาระทางคดีให้กับหลายคนที่ออกมาใช้เสรีภาพของตนจนถึงปัจจุบัน
ใช้กฎหมายที่รับรองเสรีภาพในการชุมนุม ดำเนินคดีและปิดกั้นผู้ออกมาชุมนุมสะท้อนปัญหา
เจตนารมณ์ในการตราพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ขึ้นก็เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การใช้เสรีภาพในการชุมนุมของบุคคลให้ชัดเจนและสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่รัฐให้สัตยาบันไว้ แต่ภายหลังพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ด้วยเหตุที่บทบัญญัติบางส่วนของกฎหมายเองก็ไม่เอื้อต่อการใช้เสรีภาพในการชุมนุม ประกอบกับรัฐบาลจากการรัฐประหารที่ไม่ประสงค์จะเห็นประชาชนออกมาชุมนุม ด้วยเกรง “ความไม่สงบเรียบร้อย” ที่จะนำไปสู่ความไม่มั่นคงของ คสช. จึงทำให้พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ ถูกนำมาใช้ในลักษณะจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งส่วนมากเป็นประชาชนหรือชาวบ้านที่รวมตัวกันแสดงความเห็น ยื่นข้อเรียกร้อง สะท้อนปัญหา หรือคัดค้านการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดของรัฐ กรณีแรกๆ ซึ่งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายสาธารณะของรัฐถูกดำเนินคดีตามพระราชบัญญัตินี้ คือ กลุ่มคัดค้านการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสาร (บขส.) แห่งที่ 1 และแห่งที่ 2 ไปยังสถานีขนส่งแห่งที่ 3 ในจังหวัดขอนแก่น โดยมีประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุม 7 คน ถูกดำเนินคดี [1]เพราะเหตุไม่แจ้งการชุมนุมต่อเจ้าหน้าที่ก่อนการชุมนุม 24 ชั่วโมง และร่วมกันชุมนุมกีดขวางทางเข้าออกหน่วยงานของรัฐ
ภายหลังจากนั้น ในการรวมตัวเพื่อเรียกร้อง หรือตรวจสอบการดำเนินใด ๆ ไม่ว่าของรัฐหรือเอกชนในบางพื้นที่ของภาคอีสาน แกนนำชาวบ้านหรือชาวบ้านบางส่วนซึ่งเข้าร่วม มักถูกดำเนินคดีในข้อหาซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้จัดการชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ เช่น การรวมตัวของชาวบ้านในอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เพื่อคัดค้านการขุดเจาะสำรวจแร่โปเตชในพื้นที่ [2] ไม่ว่าพวกเขาจะออกมาเดินรณรงค์ตามถนนเพื่อประกาศเจตนารมณ์คัดค้านการทำเหมืองโปแตช เนื่องในวันทำพิธีเปิดหลุมขุดเจาะสำรวจแร่หลุมแรกของบริษัท ซึ่งมีผู้ร่วมเดินรณรงค์ 2 คน ถูกดำเนินคดีในข้อหาเป็นผู้จัดการชุมนุมแต่ไม่แจ้งการชุมนุมต่อเจ้าหน้าที่ก่อเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง และถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเปรียบเทียบคนละ 10,000 บาท หรือรวมตัวกันเพื่อติดป้ายคัดค้านโครงการดังกล่าวในที่ดินส่วนบุคคลที่ติดกับที่ดินส่วนบุคคลอีกแปลงหนึ่งซึ่งบริษัทเช่าเพื่อขุดเจาะสำรวจ อันส่งผลให้อชิตพล คู่กะสัง ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ถูกดำเนินคดีในข้อหาเป็นผู้จัดการชุมนุมโดยไม่แจ้งการชุมนุมฯ [3]
กระทั่งการรวมตัวกันตั้งขบวนแห่เพื่อประชาสัมพันธ์งานบุญ “สืบชะตาห้วยโทง” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนเห็นความสำคัญและรักษาแหล่งน้ำ รวมทั้งให้ข้อมูลโครงการพัฒนาขนาดใหญ่โดยเฉพาะเหมืองเเร่โปเเตชที่อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ศตานนท์ ชื่นตา กลุ่มคัดค้านโปแตชที่เข้าร่วมขบวนแห่ประชาสัมพันธ์ ก็ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาเดียวกับกลุ่มคัดค้านโปแตชคนอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ แม้ว่าการแห่บอกบุญ จะเป็นกิจกรรมตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น ซึ่งได้รับการยกเว้นให้ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ หรือแม้แต่การรวมตัวอย่างฉับพลันเพื่อคัดค้านไม่ให้บริษัทขนอุปกรณ์ขุดเจาะสำรวจโปแตชเข้าพื้นที่ ที่ชาวบ้านเองก็ไม่ได้รู้ล่วงหน้าว่าบริษัทจะทำการขนอุปกรณ์ จึงไม่สามารถแจ้งการชุมนุมก่อนเริ่มชุมนุม 24 ชม. ซึ่งทำให้ผู้ร่วมชุมนุม 2 คน คือ สุดตา คำน้อย และกิจตกรณ์ น้อยตาแสง ถูกดำเนินคดี [4]ด้วยข้อหาดังกล่าวเช่นเดียวกัน
ชาวบ้าน “กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด จ.เลย” ซึ่งรณรงค์คัดค้านการทำเหมืองทองคำในพื้นที่อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย มากว่า 10 ปี ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกตำรวจหยิบยกพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ มาดำเนินคดีซ้ำเติมจากที่ถูกดำเนินคดีมาก่อนหน้านี้ทั้งคดีอาญาและแพ่งกว่า 20 คดี จากการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของตนเอง โดยนางพรทิพย์ หงส์ชัย ถูกดำเนินคดี [5]ในข้อหา ไม่แจ้งการชุมนุมต่อเจ้าหน้าที่ก่อนการชุมนุม 24 ชั่วโมง และร่วมกับสมาชิกกลุ่มฯ คนอื่นอีก 6 คน กีดขวางทางเข้าออกและรบกวนการปฏิบัติงานสถานที่ทำการหน่วยงานของรัฐ พร้อมด้วยข้อหาข่มขืนใจผู้อื่น ตามมาตรา 309 ประมวลกฎหมายอาญา จากกรณีที่ชาวบ้านประมาณ 150 คน ติดตามการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาหลวง ในวาระพิจารณาต่ออายุใบอนุญาตใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าสงวนและ สปก. เพื่อทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัท ตามที่ประธานสภาฯ มีหนังสือเชิญ แม้ว่าการเข้าร่วมประชุมดังกล่าวจะเป็นการประชุมตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ ก็ตาม
ในพื้นที่ภาคใต้ก็เช่นเดียวกัน กลุ่มชาวบ้านที่รวมตัวกันออกมาคัดค้านไม่ให้มีการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ และเรียกร้องให้รัฐดำเนินการรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายอย่างรอบด้าน ถูกดำเนินคดีในอย่างน้อย 2 กรณี คือ กรณีคัดค้านการสร้างท่าเรือน้ำลึก ที่อำเภอปากบารา จังหวัดสตูล [6] และกรณีคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา [7]ซึ่งทั้งสองกรณี ชาวบ้านกว่า 20 คน นอกจากจะถูกดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ แล้ว ยังถูกดำเนินคดีตามข้อหาอื่นแห่งประมวลกฎหมายอาญา เช่น บุกรุกสถานที่ราชการในยามวิกาลอีกด้วย
ไม่ต่างกับในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะในพื้นที่ทำเหมืองทอง จังหวัดพิจิตร [8] ที่แม้จะมีคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 72/2559 ออกมาปิดการทำเหมืองทอง แต่ผลกระทบที่ชาวบ้านรอบเหมืองได้รับนอกจากผลกระทบที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีชาวบ้าน 27 คนตกเป็นจำเลย เนื่องจากถูกตัวแทนบริษัทซึ่งสัมปทานเหมืองทองร้องทุกข์ว่า ถูกชาวบ้านข่มขืนจิตใจ ทั้งยังถูกเจ้าหน้าที่กล่าวหาว่า ชุมนุมโดยปกปิดใบหน้า และแกนนำถูกล่าวหาว่า ชุมนุมโดยไม่แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนการชุมนุม และไม่ควบคุมดูแลผู้ชุมนุม จากเหตุการณ์ที่ชาวบ้านเดินเข้าไปดูพื้นที่เหมืองเนื่องจากได้ยินเสียงรถของบริษัทเข้ามา บางคนเพิ่งกลับมาจากไร่นาจึงยังมีหมวกและผ้าปิดหน้าอยู่ แต่ตัวแทนบริษัทระบุว่า กลุ่มชาวบ้านรวมตัวกันเข้าขัดขวางรถขนแร่ แม้ภายหลังบริษัทจะไม่ติดใจเอาความชาวบ้านในข้อหาข่มขืนจิตใจ แต่ศาลยังคงพิพากษาลงโทษในความผิดตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ ให้รอการกำหนดโทษมีกำหนดระยะเวลา 1 ปี
นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ชาวบ้านกลุ่มคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในเขตอำเภอเมืองแพร่ ซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากโครงการ รวมตัวกันปราศรัยคัดค้านการทำเวทีประชาพิจารณ์ เนื่องจากไม่มีโอกาสส่งตัวแทนเข้าร่วมในจำนวนที่เท่ากันกับชุมชนอื่น อีกทั้งยังไม่สามารถเข้ายื่นหนังสือต่อตัวแทนของบริษัทได้ ภายหลังที่เหตุการณ์คลี่คลาย มีแกนนำชาวบ้านถูกดำเนินคดี [9]ตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ 1 คน โดยถูกกล่าวหาว่า ไม่แจ้งการชุมนุมล่วงหน้าฯ และใช้ขยายเครื่องเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
จากกรณีที่ยกมาข้างต้น หากนับรวมถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ยกพระราชบัญญัติดังกล่าวมาข่มขู่ จนชาวบ้านหวาดกลัวที่จะใช้สิทธิเสรีภาพ เช่น กรณีที่ชาวบ้านกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด [10]บำเหน็จณรงค์ไม่พอใจที่ถูกสกัดกั้นไม่ให้เข้าร่วมเวทีรับฟังความเห็นการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล และปีนประตูเพื่อเข้าไปร่วมเวที แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจขู่ว่าจะจับ เนื่องจากผิดพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ ทำให้ชาวบ้านไม่กล้าปีนเข้าไป ก็จะเห็นถึงความย้อนแย้งของการบังคับใช้กฎหมายที่ด้านหนึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อรับรองให้เสรีภาพในการชุมนุมของบุคคลเกิดขึ้นได้จริง แต่บทบัญญัติในพระราชบัญญัติเองกลับไม่รองรับการใช้เสรีภาพในบางลักษณะ เช่น การชุมนุมที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันเพื่อคัดค้านโครงการรัฐและเอกชน หรือนโยบายของรัฐ อีกด้านหนึ่งการบังคับใช้ของเจ้าหน้าที่ก็สกัดกั้นการใช้เสรีภาพในทางปฏิบัติของชาวบ้าน โดยอ้างข้อยกเว้นตามตอนท้ายของมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญปี 2560 ทำให้รัฐไม่สามารถมองเห็นหรือเข้าใจความต้องการที่ชาวบ้านประสงค์จะสื่อสารออกมาผ่านการชุมนุม เมื่อนำกฎหมายที่มีโทษทางอาญามาบังคับใช้อย่างไม่จำเป็นหรือได้สัดส่วน
ศูนย์ทนายความฯ เห็นว่า เนื้อหาหรือข้อเรียกร้องที่ชาวบ้านต้องการสะท้อนเป็นส่วนหนึ่งของการใช้สิทธิในการพัฒนา (Right to development) ของประชาชน ซึ่งเป็นประเด็นร่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่มิใช่เพียงประเทศไทย แต่พบในประเทศกำลังพัฒนาที่รัฐต้องการนำทรัพยากรมาพัฒนาให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ดังนั้นแล้ว ความท้าทายของการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างการใช้เสรีภาพในการชุมนุมของชาวบ้าน ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ กับการดำเนินการของรัฐโดยอ้างสิทธิในการพัฒนาที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนหมู่มาก จึงเป็นเรื่องที่รัฐต้องเปิดกว้างให้คนทุกกลุ่มในสังคมได้เข้าถึงข้อมูล กระบวนการ รวมทั้งแสดงออกคัดค้าน เห็นด้วย หรือขอให้แก้ไขได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะการรับรองให้เสรีภาพในการชุมนุมเกิดขึ้นได้จริง จะทำให้ยุติข้อขัดแย้งได้ดีกว่าการนำกฎหมายมาบังคับใช้โดยไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ ก่อให้เกิดภาระทางคดีแก่ชาวบ้านและยิ่งซ้ำเติมให้ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความยุติธรรมของคนเล็กคนน้อยขยายเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
พระราชบัญญัติการชุมนุมฯ บวก 3/58 รัฐใช้ยาแรงหวังกำหราบการชุมนุม
ก่อนหน้าที่พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ จะมีผลบังคับใช้ การชุมนุม การรวมกลุ่ม หรือแม้แต่การรวมตัวของประชาชนถูกจำกัดด้วยประกาศ คสช.ฉบับที่ 5/2557 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 นับแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา จนกระทั่งวันที่ 1 เมษายน 2558 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เลิกใช้กฎอัยการศึก แต่มีการประกาศใช้คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ออกมาแทนที่โดยที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันคือ ห้ามมิให้บุคคลชุมนุม หรือมั่วสุมกันทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า หลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ตามหลักกฎหมาย ต้องมีผลเป็นการยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ข้อ 12 ซึ่งห้ามการชุมนุมหรือมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ยิ่งไปกว่านั้น คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ยังออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ซึ่งหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ก็ต้องสิ้นสภาพการบังคับใช้ แต่ในทางปฏิบัติ คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับนี้กลับถูกเจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจนำมาใช้ดำเนินคดีต่อบุคคลควบคู่กับพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ ในหลายกรณี จึงเป็นการยากที่ประชาชนจะสามารถคาดเดาได้ว่า การออกมาชุมนุมของตนจะถูกดำเนินคดีหรือไม่ แม้ว่าจะได้แจ้งการชุมนุมหรือดำเนินการอื่นใดตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ แล้วก็ตาม
ความทับซ้อนของการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวพบได้อย่างชัดเจนในการชุมนุมของประชาชน “กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง” [11]ซึ่งผลจากการจัดกิจกรรมเรียกร้องให้รัฐบาลจัดการเลือกตั้งภายในเดือนพฤศจิกายน 2561 หลายครั้งหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร และที่ จ.ชลบุรี ทำให้มีประชาชนกว่า 130 คน ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหา ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 และข้อหาตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ เช่น ร่วมกันชุมนุมจนก่อให้เกิดความไม่สะดวกแก่ประชาชนหรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายการชุมนุมหลัง 18.00 น. โดยไม่ได้รับอนุญาต ฯลฯ ประกอบกับข้อหาอื่น เช่น ชุมนุมโดยกีดขวางทางจราจร ตามพระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ.2522 โฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยมิได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493 พร้อมทั้งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาอย่างการมั่วสุมตามมาตรา 215 และมาตรา 216 ทั้งยังแจ้งข้อกล่าวหาต่อแกนนำหรือบุคคลซึ่งขึ้นเวทีปราศรัยในการชุมนุมว่า กระทำการโดยมิได้อยู่ในความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ หรือแสดงความเห็นโดยไม่สุจริตตามมาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญาอีกด้วย
เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า การแจ้งข้อกล่าวหาต่อผู้ชุมนุมกลุ่มดังกล่าวด้วยกฎหมายควบคุมการชุมนุมทั้งหมด เท่าที่มีบทบัญญัติอยู่ ทั้งคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ และประมวลกฎหมายอาญา เกือบทุกกรณีเจ้าหน้าที่ทหาร เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษโดยตรงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และข้อหาที่ใช้ในการดำเนินคดีเพิ่มมากขึ้นหลังกลุ่มคนอยากเลือกตั้งยังนัดหมายชุมนุมเป็นระยะ ๆ แม้จะถูกดำเนินคดี รวมทั้งผู้ชุมนุมหลายคนถูกดำเนินคดีหลายคดีจากการเข้าร่วมการชุมนุมหลายครั้งในหลายพื้นที่ รวมถึงมีการดำเนินคดีผู้สังเกตการณ์การชุมนุมจากศูนย์ทนายความฯ เจ้าหน้าที่จากหน่วยข่าวกรอง (ภายหลังตำรวจไม่ได้เรียกเข้ารับทราบข้อกล่าวหา) และประชาชนธรรมดาที่ไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุม ทำให้เห็นชัดเจนถึงการพยายามใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมสร้างภาระทางคดี เป้าหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้กับกลุ่มคนอยากเลือกตั้งจนกระทั่งยุติการนัดชุมนุม
เจ้าหน้าที่ยังใช้การแจ้งข้อกล่าวหาที่ทับซ้อนกันของพระราชบัญญัติการชุมนุมฯ และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ในลักษณะเช่นนี้ กับกลุ่มชาวบ้าน นักธุรกิจ และผู้ประกอบอาชีพค้าขายในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ที่รวมตัวกันชุมนุมและชูป้ายข้อความเพื่อสื่อสารให้ คสช. รับรู้ว่าประชาชนระดับรากหญ้ากำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจจากการบริหารประเทศ และนำภาพถ่ายและวิดีโอขณะทำกิจกรรม มาเผยแพร่สู่โซเชียลมีเดีย มีผู้ทำกิจกรรมถูกดำเนินคดีรวม 9 คน [12] บางคนถูกเจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามตัวถึงที่พัก บางคนไม่ทราบว่าถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนการแจ้งข้อกล่าวหา ซึ่งนำไปสู่การพิพากษาลงโทษของศาลในเวลาต่อมา
ส่วนแถบภาคอีสาน ยังไม่พบกรณีที่ประชาชนถูกดำเนินคดีด้วยคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ควบคู่กับพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 แต่พบความพยายามของเจ้าหน้าที่ในการนำมาใช้สกัดกั้นการรวมตัวของชาวบ้าน แม้ว่าการกระทำนั้นจะไม่เข้าลักษณะการชุมนุมก็ตาม เช่น กรณีทหารสั่งให้กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ ระงับการจัดผ้าป่าสามัคคี [13]โดยทหารอ้างว่าคำว่า “ต่อสู้คัดค้าน” ที่พิมพ์อยู่บนซองผ้าป่า “เพื่อระดมทุนในการต่อสู้คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน” ขัดกฎหมายความมั่นคง และผิดพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ จนกลุ่มชาวบ้านต้องเปลี่ยนรูปแบบงานและย้ายไปจัดงานในพื้นที่ส่วนบุคคล ซึ่งก็ยังถูกเจ้าหน้าที่ทหารตามเข้าไปข่มขู่ชาวบ้านว่าอาจผิดกฎหมายอีก
กรณีเช่นนี้ แม้ชาวบ้านจะไม่ถูกดำเนินคดีทั้งตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 หรือพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 แต่ก็ไม่สามารถทำกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ทั้งยังสร้างความหวาดกลัวชาวบ้านที่จะรวมตัวกันทำกิจกรรมต่อไปอีกด้วย
นอกจากนี้ การบังคับใช้พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ ยังก่อให้เกิดความสับสนต่อประชาชนผู้ต้องการใช้เสรีภาพในการชุมนุมมากขึ้นไปอีก เมื่อเจ้าพนักงานรับแจ้งการชุมนุมอาศัยอำนาจตาม มาตรา 19 ( 5 ) พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ หยิบยกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 มาเป็นเงื่อนไขห้ามการชุมนุม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหัวหน้า คสช. หรือผู้ที่รับมอบหมาย เช่น การห้ามเครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนชุมนุม [14] คัดค้านคำสั่งของหัวหน้า คสช. ที่ 3/2559 และ ฉบับที่ 4/2559 รวมทั้งห้ามการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [15] ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 21-22 พ.ค. 61 หรือแม้กระทั่งหยิบยกมากำหนดเป็นเงื่อนไขให้ปฏิบัติตาม เช่น ให้ผู้จัดงานเดินรณรงค์อนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร และผู้จัดกิจกรรม “We Walk เดินมิตรภาพ” [16] ระมัดระวังและควบคุมผู้ร่วมการชุมนุมไม่ให้แสดงป้ายและสัญลักษณ์ต่อต้านการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลและ คสช. มิเช่นนั้นจะเข้าลักษณะการกระทำที่ขัดต่อคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ทั้งที่พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 19 กำหนดให้เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะมีอำนาจหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและผู้ชุมนุม ไม่ได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการพิจารณาหรือกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับประเด็นหรือเนื้อหาของการชุมนุม จึงเป็นการออกคำสั่งโดยไม่มีอำนาจ เพื่อประโยชน์ในการสกัดกั้นการแสดงออกที่เป็นการต่อต้านรัฐบาลและ คสช. อย่างชัดเจน ส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถส่งเสียงเรียกร้องใด ๆ ต่อรัฐบาลและ คสช. ได้ ทั้งที่เป็นผู้ที่ควบคุมและกำหนดนโยบายสาธารณะของประเทศทั้งหมดในสถานการณ์ปัจจุบัน
มีข้อสังเกตด้วยว่า การชุมนุมในสถานศึกษาซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ มาบังคับใช้ แต่ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่กลับใช้คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 มาใช้ดำเนินคดีกับกลุ่มคนบางกลุ่มที่จัดกิจกรรมในมหาวิทยาลัย แม้เนื้อหาของการจัดงานนั้นจะเป็นการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ [17]ซึ่งกำลังรอกระบวนการประชามติ ในปี 2559 ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือการนำเสนอบทความวิชาการและการจัดประชุมในงานประชุมนานาชาติไทยศึกษา [18] (The13th International Conference on Thai Studies) ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งไม่เข้าข่ายเป็นการชุมนุม หรือมั่วสุมทางการเมืองในลักษณะใด การดำเนินคดีทั้งสองนี้ ทำให้นักวิชาการ นักศึกษา นักกิจกรรม และเจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนถูกดำเนินคดีรวม 16 คน
ลักษณะตัวอย่างการใช้ทั้งพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ดำเนินคดีกับบุคคล ตลอดจนปิดกั้นการชุมนุม นอกจากก่อให้เกิดความกังขาว่าสรุปแล้วพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ มีวัตถุประสงค์ของการตราเพื่อรับรองเสรีภาพในการชุมนุมหรือไม่ ยังเห็นได้ชัดเจนว่า รัฐไม่ได้ให้ความสำคัญกับเสรีภาพในการชุมนุมดังที่รัฐธรรมนูญ 2560 ให้การรับรองไว้ ในเมื่อข้อยกเว้นที่พระราชบัญญัตินี้ไม่มีผลบังคับใช้ รัฐยังสามารถนำเอาคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 มาดำเนินการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมได้โดยไม่อิงกับพื้นที่ และขึ้นอยู่กับอำเภอใจของการตีความคำว่า “ชุมนุม หรือมั่วสุมทางการเมือง” มากกว่า 3 ปี ส่งผลให้ปัจจุบัน มีผู้ถูกดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ กว่า 217 คน และถูกดำเนินคดีตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 กว่า 405 คน
อย่างไรก็ตาม แม้ไม่อาจคาดเดาได้ว่าพฤติการณ์แห่งคดีเช่นใดที่จะนำมาสู่การแจ้งข้อกล่าวหาตามคำสั่งและกฎหมายดังกล่าว แต่ผลจากการบังคับใช้และจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้นักวิชาการและกลุ่มภาคประชาสังคมเริ่มนำคำอธิบายการฟ้องร้องคดีลักษณะนี้ว่าเป็นการดำเนินคดีเพื่อปิดปาก (Strategic Lawsuit Against Public Participations) หรือ SLAPPs ซึ่งผู้เริ่มต้นดำเนินคดีอาจเป็นบุคคลทั่วไปหรือเจ้าหน้าที่รัฐก็ได้ แต่มีลักษณะการดำเนินคดีเพื่อหวังผลให้สร้างภาระแก่ผู้ถูกดำเนินคดี หรือเพื่อระงับการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเด็นสาธารณะต่าง ๆ เช่น กรณีของชาวบ้าน นักศึกษา นักกิจกรรม และนักวิชาการข้างต้น ซึ่งออกมาวิพากษ์วิจารณ์ โต้แย้ง เรียกร้อง ตรวจสอบ และรวมตัวเพื่อส่งเสียงถึงรัฐในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ความสำเร็จของการดำเนินคดีลักษณะนี้จึงเกิดขึ้นเมื่อผู้ถูกดำเนินคดีตกอยู่ในภาวะติดพันหรือไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ ก่อภาระทางการเงิน สูญเสียรายได้และเวลา หรือถูกกีดกันมิให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมเพราะเห็นต่าง เป็นต้น
เมื่อ “การชุมนุม” ถูกปิดกั้นโดยกฎหมาย เสียงของประชาชนก็แผ่วเบา
การนำพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 มาใช้จำกัดเสรีภาพในการชุมนุม และเสรีภาพในการแสดงความเห็น ก่อให้เกิดผลกระทบและสร้างภาระให้กับผู้ที่ถูกดำเนินคดีอย่างมากมาย แม้หลายกรณีศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง หรืออัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี แต่ก็มีหลายคดีที่ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกและปรับ โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีโอกาสได้สัมภาษณ์วิรอน รุจิไชยวัฒน์ หรือแม่ไม้ สมาชิกกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด จ.เลย ซึ่งถูกดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ ร่วมกับสมาชิกกลุ่มคนอื่นอีก 6 คน เนื่องจากเข้าร่วมการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาหลวง จังหวัดเลย แม่ไม้บอกเล่าถึงความลำบากในการทำมาหากินระหว่างที่ถูกดำเนินคดีเพียงเพราะเรียกร้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมตรวจสอบการทำเหมืองทองของบริษัทเอกชน ว่าตนต้องมาตามนัดของเจ้าหน้าที่หรือศาลทุกครั้ง แต่ละครั้งต้องหยุดงานจนขาดรายได้ ในขณะที่ต้องส่งเงินให้ลูกซึ่งกำลังเรียนอยู่ในระดับมหาวิทยาลัยด้วย บางครั้งถึงขั้นคิดว่าอยากให้ลูกหยุดเรียนสักระยะหนึ่งเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวที่เพิ่มมากขึ้นจากการถูกดำเนินคดี เฉพาะในคดีดังกล่าว ค่าใช้จ่ายโดยรวมของจำเลยทั้ง 7 คน ซึ่งได้แก่ ค่าเดินทาง ค่าวิชาชีพทนาย ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร รวมแล้วเป็นเงินกว่า 100,000 บาท
เช่นเดียวกับวาสนา เคนหล้า หนึ่งในจำเลยในคดีของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ซึ่งเปิดเผยว่า การประกอบอาชีพค้าขายของเธอได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ย่ำแย่จากการบริหารประเทศของ คสช. จึงออกมาร่วมชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งเธอเห็นว่าเป็นเสรีภาพที่ประชาชนสามารถทำได้ แต่กลับถูกดำเนินคดี และทำให้เธอต้องเดินทางมาตามนัดของพนักงานสอบสวนและอัยการจากจังหวัดอุดรธานีเข้ากรุงเทพฯ หลายครั้ง ในแต่ละครั้งเธอต้องแบกรับค่าใช้จ่ายทั้งค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหาร ไม่ต่ำกว่าครั้งละ 2,500 บาท และเธอต้องปิดร้านอย่างน้อย 2 วัน ทำให้ขาดรายได้อย่างน้อยวันละ 1,000 บาท นอกจากนี้ยังต้องจ้างคนมาเฝ้าบ้านเพื่อเฝ้าของและให้อาหารสัตว์อีกวันละ 300 บาท
นอกจากผลกระทบทางเศรษฐกิจแล้ว ทั้งแม่ไม้และวาสนา ยังเล่าถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับครอบครัวจากการที่ถูกจับจ้องจากเจ้าหน้าที่รัฐด้วยการแวะเวียนมา “เยี่ยม” สอบถามถึงการใช้ชีวิตและเหตุผลในการเข้าร่วมชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้ปิดเหมืองเพื่อฟื้นฟู หรือเรียกร้องการเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการถูกดำเนินคดีอันเนื่องมาจากการใช้เสรีภาพในการชุมนุมนั้น ไม่อาจประเมินหรือคำนวนด้วยตัวเงินได้ทั้งหมด ระหว่างทางของการต่อสู้เพื่อขับเคลื่อนประเด็นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น คัดค้านเหมืองแร่โปเตช โรงไฟฟ้าชีวมวล เหมืองทอง หรือเรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออก การเลือกตั้ง และประชาธิปไตย ของประชาชน ในสถานการณ์ที่บ้านเมืองยังไม่มีประชาธิปไตย นอกจากประชาชนจะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของกฎหมายที่จะนำมาจำกัดเครื่องมือในการเรียกร้องอย่าง “การชุมนุม” แล้ว ท้ายที่สุด สิทธิในการพัฒนาและกำหนดนโยบายสาธารณะในฐานะประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยก็ถูกลดทอนไป จากการที่ความต้องการหรือมุมมองของประชาชนไม่ได้รับการรับฟังด้วยกระบวนการที่ประชาชนเห็นว่าเป็นวิถีทางในระบอบประชาธิปไตย เช่น “การชุมนุม” เลย
เผยแพร่ครั้งแรกใน: ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน http://www.tlhr2014.com [19]
| ['บทความ', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'พ.ร.บ.ชุมนุมฯ', 'ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน'] |
https://prachatai.com/print/79236 | 2018-10-20 12:35 | 'ปลด-ดำเนินคดีอาญา' ทหารพรานทำอนาจารเด็กนักเรียนชายแดนใต้ | กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ชี้แจงกรณีทหารพรานได้กระทำอนาจารเด็กนักเรียน ป.6 ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ให้ออกจากราชการตั้งแต่ 19 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมาแล้ว ควบคุมตัวที่หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 43 จนกว่าพนักงานสอบสวน สภ.หนองจิก จะแจ้งข้อกล่าวหาเพื่อดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายต่อไป
20 ต.ค. 2561 ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า รายงานว่าพันเอก ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เปิดเผยว่าตามที่ได้ปรากฏข้อความในเฟสบุ๊ค ชื่อ Nurul lkwan ลงข้อความเกี่ยวกับอาสาสมัครทหารพรานสังกัดกองร้อยทหารพรานที่ 4306 ได้กระทำอนาจารนักเรียนชั้น ป.6 ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลปุโล๊ะปูโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี และภายหลังได้มีการแชร์ข้อความดังกล่าว จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางนั้น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า ขอชี้แจงให้ทราบดังนี้ 1. พลโท พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้รับทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว และได้สั่งการให้หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 43 ซึ่งเป็นหน่วยต้นสังกัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และสอบสวนเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน หากพบเป็นเรื่องจริงให้ลงโทษทั้งทางวินัยขั้นสูงสุดและดำเนินคดีอาญาโดยไม่มีข้อยกเว้น 2. จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น พบว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เมื่อ 18 สิงหาคม 2561 ภายหลังเกิดเหตุครูประจำชั้นได้นำนักเรียนคนดังกล่าวไปลงบันทึกประจำวันที่ สภ.หนองจิก โดยระบุว่าสงสัยถูกล่วงละเมิดทางเพศ แต่ไม่ได้มีการตรวจร่างกายแต่อย่างใด ทั้งนี้ภายหลังทราบเหตุผู้บังคับกองร้อยทหารพรานที่ 4306 ได้พยายามเข้าไปสร้างความเข้าใจและไกล่เกลี่ยโดยยินยอมจ่ายเงินค่าเสียหายแต่ไม่ได้รายงานให้หน่วยเหนือได้รับทราบจนปรากฏเป็นข่าวดังกล่าว 3. จากพฤติกรรมที่ปรากฏของอาสาสมัครทหารพรานคนดังกล่าวแม้จะอ้างว่าไม่ได้มีการล่วงละเมิดทางเพศแต่ถือเป็นพฤติกรรมที่ขัดกับนโยบายของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 และกฎเหล็กของเจ้าหน้าที่รัฐในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพราะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความยุ่งยากในการแก้ไขปัญหามากยิ่งขึ้น โดยผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้สั่งลงโทษทางวินัยขั้นสูงสุดด้วยการปลดอาสาสมัครทหารพรานคนดังกล่าวออกจากราชการตั้งแต่ วันที่ 19 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา ปัจจุบันได้ควบคุมตัว ณ หน่วยซักถาม หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 43 จนกว่าพนักงานสอบสวน สภ.หนองจิก จะแจ้งข้อกล่าวหาเพื่อดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายต่อไป 4. ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้สั่งการเน้นย้ำไปยังทุกหน่วยให้กำกับดูแล และกวดขันวินัยกำลังพลอย่างเคร่งครัดพร้อมกับขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนช่วยกันตรวจสอบพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐหากพบว่ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมขอให้แจ้งผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารทราบ หรือโทรสายด่วน 1341 หรือแจ้งผ่าน ตู้ ปณ.41 ปณจ.ยะลา 95000 และหากพบมีการกระทำความผิดจริงจะมีมาตรการลงโทษสถานหนัก
| ['ข่าว', 'สังคม', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'ความมั่นคง', 'กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า', 'ทหารพราน', 'ล่วงละเมิดทางเพศ', 'ชายแดนใต้'] |
https://prachatai.com/print/79237 | 2018-10-20 13:02 | ย้ำกรณียาย 65 ตาย ไม่ได้กล่าวหาหมอไม่ยอมรักษา แต่เพราะไร้สิทธิบัตรทอง จึงไม่กล้าไป รพ.อีก | รองประธานชุมชนพูนทรัพย์แจงกรณียายอายุ 65 ปี เสียชีวิตเพราะเป็นคนไทยไร้สถานะ ไม่มีสิทธิบัตรทอง กว่าจะพิสูจน์ว่าเป็นคนไทยและทำบัตรประชาชนได้ก็ล่าช้าจนอาการโรคเข้าระยะสุดท้าย ย้ำไม่ได้พาดพิงหมอไม่รักษาให้ แต่ประเด็นคือการไม่มีบัตรทองทำให้มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นทุกครั้งที่ไปรักษาแถมติดหนี้ค่ารักษา สุดท้ายเลยไม่กล้าไปโรงพยาบาล
20 ต.ค. 2561 น.ส.วิมล ถวิลพงษ์ รองประธานชุมชนใต้สะพาน (ชุมชนพูนทรัพย์) เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร กล่าวถึงกรณีนางไอ๊ วาเส็ง ชาวบ้านชุมชนใต้สะพานพูนทรัพย์ เขตสายไหม อายุ 65 ปี ซึ่งเสียชีวิตด้วยอาการถุงน้ำดีอักเสบและติดเชื้อในกระแสเลือด โดยสาเหตุสำคัญคือนางไอ๊เป็นคนไทยไร้สถานะ ไม่มีบัตรประชาชน ทำให้ไม่มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) กว่าจะพิสูจน์ว่าเป็นคนไทยและทำบัตรประชาชนเพื่อใช้สิทธิบัตรทองก็ได้รับการรักษาล่าช้าจนเสียชีวิต โดยกรณีดังกล่าวมีผู้อ่านข่าวให้ความเห็นว่าถ้ายายไปรับการรักษา แพทย์ก็ต้องให้การรักษาอยู่แล้วนั้น
น.ส.วิมล กล่าวต่อว่า กรณีนี้ต้องขอโทษที่สร้างความไม่สบายใจแก่คุณหมอ เชื่อว่าหมอทุกคนมีจรรยาบรรณ เมื่อคนไข้ถึงมือหมอแล้วจะอย่างไรก็ต้องรักษา อย่างไรก็ดี ประเด็นของเรื่องนี้คือกระบวนการพิสูจน์สัญชาติเพื่อออกบัตรประชาชนที่ล่าช้าทำให้ไม่มีสิทธิบัตรทอง เมื่อไม่มีสิทธิบัตรทองเวลาเข้ารับการรักษาก็จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ทำให้ยายไม่กล้าไปโรงพยาบาล แต่หากยายไอ๊ได้บัตรประชาชนและสิทธิบัตรทองเร็วกว่านี้ ก็จะรับการรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้กล้าไปโรงพยาบาลและได้รับการตรวจรักษาที่ทันท่วงที
น.ส.วิมล กล่าวว่า พอยายไม่มีสิทธิบัตรทอง เวลาไปโรงพยาบาลแม้คุณหมอจะรักษาให้ แต่ถ้าไม่มีสิทธิก็ต้องถูกเรียกเก็บเงิน ซึ่งยายไอ๊และญาติก็เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเขาก็ทำตามระเบียบที่มีอยู่ ถ้าไม่ทำก็จะมีปัญหาอีก ดังนั้นยายไอ๊ก็จะถูกเรียกเก็บเงินทุกครั้งที่ไป ถ้าครั้งไหนเป็นหนักๆ ต้องนอนโรงพยาบาลก็มีค่าใช้จ่าย 5,000-10,000 บาท ตัวยายเองเป็นผู้ป่วยติดเตียง ลูกสาวก็หาเช้ากินค่ำไม่มีเงินไปจ่ายค่ารักษา ครั้งแรกก็ขอเป็นผู้ป่วยสงเคราะห์แต่พอไปครั้งหลังๆ ก็ไม่ได้แล้ว เพราะเป็นคนไร้สถานะ โรงพยาบาลให้เซ็นรับสภาพหนี้จนลูกสาวยายติดหนี้กว่า 20,000 บาท
“ดังนั้นเมื่อไปแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแถมยังติดหนี้อีก นี่จึงเป็นเหตุผลที่ยายกับลูกไม่กล้าไปโรงพยาบาล ไม่ใช่ไปโรงพยาบาลแล้วหมอไม่รักษาให้ แต่เป็นเพราะเขาไม่กล้าไป ยายไอ๊เป็นทั้งเบาหวาน ความดัน คุณหมอบอกเองว่าเป็นโรคที่ต้องติดตามรักษาต่อเนื่อง แต่เมื่อไม่สิทธิบัตรทอง แถมยากจนไม่มีเงินจ่าย ไม่พอยังติดหนี้ค่ารักษาของเดิมไว้อีก จึงทำให้ไม่กล้าไปโรงพยาบาล” น.ส.วิมล กล่าว
น.ส.วิมล ย้ำว่ากรณีดังกล่าวไม่ได้พาดพิงการรักษาหรือจรรยาบรรณของแพทย์ แต่วิพากษ์กระบวนการพิสูจน์สัญชาติเพื่อออกบัตรประชาชนที่ล่าช้า ตอนปี 2555 ยายไปขอทำบัตรประชาชนที่ จ.สุพรรณบุรี พาแม่และญาติๆ ไปเป็นพยานรับรอง เอกสารทุกอย่างก็ครบ แต่นายอำเภอไม่ยอมเซ็นให้บอกว่ากลัวสวมสิทธิ ตอนนั้นยายป่วยแล้วหลายโรค ทั้งอัมพฤกษ์ครึ่งซีก เบาหวาน ความดัน ฯลฯ กว่าจะได้บัตรประชาชนก็ตอนปี 2560 หลังจากนั้นถึงเพิ่งรู้ว่ามีปัญหาถุงน้ำดีอักเสบด้วย อาการระยะสุดท้ายแล้ว ซึ่งถ้ายายได้บัตรประชาชนตั้งแต่ปี 2555 ก็จะมีสิทธิบัตรทองและคงได้รับการตรวจว่ามีโรคอะไรบ้าง
“ถ้าเจอโรคตั้งแต่ 5 ปีก่อนก็คงเข้าสู่กระบวนการรักษาไปแล้ว แต่พอมาเจอเอาระยะสุดท้าย ยายก็เลยไม่รอด” น.ส.วิมล กล่าว
| ['ข่าว', 'สังคม', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'คนไทยไร้สถานะ', 'คนไทยไร้สิทธิ', 'สปสช.', 'สุขภาพ', 'ไอ๊ วาเส็ง'] |
https://prachatai.com/print/79239 | 2018-10-20 14:04 | เสวนานักข่าวชี้ ‘สำนักข่าวเฉพาะทาง’ จะเป็น ‘ทางเลือก’ ฝ่าวิกฤตสื่อมวลชน | เสวนาสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ‘ทางเลือกฝ่าวิกฤตวารสารศาสตร์’ ชี้ ‘สำนักข่าวเฉพาะทาง’ จะเป็น ‘ทางเลือก’ ฝ่าวิกฤตสื่อมวลชน เจาะช่องว่างทางการตลาด ในแพลตฟอร์มที่แตกต่างต่างไป ย้ำเนื้อหา และ คุณค่าข่าวยังเป็นหัวใจสำคัญ
20 ต.ค. 2561 ในงาน เสวนาเรื่อง 'ทางเลือกฝ่าวิกฤตวารสารศาสตร์' การสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2561 หัวข้อ “ทางเลือกทางรอดคนสื่อ ยุค 4.0” จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศราฯ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)
น.ส.บุญลาภ ภูสุวรรณ บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าวไทยพับลิก้า กล่าวว่าจุดเริ่มต้นของการออกมาสำนักข่าวไทยพับลิก้า ขณะนั้นทำงานที่หนังสือพิมพ์ประชาชาชาติธุรกิจ โดยส่วนตัวชอบงานเชิงวิชาการ อยากทำข่าวเศรษฐกิจหนักๆ เชิงข้อมูลใช้อ้างอิงได้ จุดยืนของสำนักข่าวไทยพับลิก้าจึงเน้นทำเรื่องข่าวเจาะทั้งเรื่อง สังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม เป็นภาพใหญ่ไม่ต้องแบ่งเป็นโต๊ะข่าว ทุกวันนี้ก็ยังมีนักข่าว 6 คนและไม่คิดว่าจะขยายใหญ่ไปมากกว่านี้ เพราะเรื่องอื่นๆ ที่เฉพาะทางสามารถหาเอาท์ซอร์สได้จากนักข่าวในสนาม
ทั้งนี้จากเริ่มต้นที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักก็พัฒนามาเรื่อย เน้นทำเรื่องตรวจสอบความไม่โปร่งใส การทุจริต คอรัปชั่น ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะป้องกันตัวเองได้คือเรื่องความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ สามารถอ้างอิงข้อมูลได้ทุกเรื่อง มีเอกสารประกอบ เป็นดาต้าเจอร์นอลิซึม นำข้อมูลที่มีอยู่มากมายมาเล่าแบบใหม่ในแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งเทรนด์ต่อไป ไม่สามารถทำแบบเข้าถึงคนส่วนใหญ่ได้ทั้งหมด ต้องเน้นความเฉพาะด้านเฉพาะทาง
น.ส.บุญลาภ กล่าวว่าที่ผ่านมาไทยพับลิก้า ไม่ได้แค่เสนอข่าวเฉยๆ แต่ได้ผลักดันไปสู่การแก้ปัญหาเช่นเรื่องข่าวหวยที่ใช้เครื่องมือขอข้อมูลพบว่ามีมาเฟียเยอะแยะไปหมด จนต่อมานำไปสู่การรื้อปรับโครงสร้างใหม่ซึ่งยังต้องเกาะติดต่อไป ซึ่งเราไม่เน้นทำเป็นสื่อใหญ่ คิดเล็ก ทำเล็กเจาะเฉพาะทาง สำหรับนักข่าวแล้วเนื้อหาก็ยังเป็นเรื่องสำคัญ ส่วนเรื่องแพลตฟอร์มก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามรูปแบบ
นายนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ บรรณาธิการบริหาร เดอะ แสตนดาร์ด กล่าวว่าเดอะแสตนดาร์ดเกิดจากโอกาสและช่องว่างทางการตลาด ซึ่งกลุ่มผู้อ่านรอข่าวลักษณะนี้ ในขณะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี โดยถือเป็นจุดบรรจบระหว่างความน่าเชื่อถือ และความสร้างสรรค์มีการนำเสนอข่าวด้วยอินโฟกราฟฟิคย่อยข้อมูลยากๆ ให้เข้าใจง่าย คนชอบอ่านอะไรสั้นๆ มีโมชั่นกราฟฟิค เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเดอะแสตนดาร์ด มีพนักงาน 80 คน มีนักข่าวประมาณ 20 คน ซึ่งได้พิสูจน์ตัวในการเป็นสำนักข่าวออนไลน์ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสื่อ เราจะต้องรีอินเว็นท์ตัวเอง ซึ่งเราจะไม่เรียกตัวเองว่า ‘นักข่าว’ แต่เป็น ‘คอนเทนต์ครีเอเตอร์’ นำเสนอหลายแพลตฟอร์มไขว้กันไปหมด ซึ่งต้องมีพื้นฐานทางด้านวารสารศาสตร์ อย่างนักข่าวต้องไลฟ์ เปิดหน้า จัดรายการ ทำได้หลายแพลตฟอร์ม ซึ่งสิ่งที่สถาบันการศึกษายังต้องให้ความสำคัญในการสอนคือศาสตร์ของการเล่าเรื่อง
นายอภิรักษ์ โรจน์อำพร บรรณาธิการบริหารไทยรัฐออนไลน์ กล่าวว่าการพัฒนามาจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ทำให้ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีหลายสิ่งที่ถูกถ่ายทอดมาทางดีเอ็นเอ แต่อีกด้านก็ดูมีอายุทำให้ต้องปรับกันขนานใหญ่ ทั้งวิธีการทำงานและเรื่องอื่นๆ ดังนั้นทั้งทีวีและสื่อสิ่งพิมพ์มีโอกาสรอดยากถ้าไม่ปรับตัว ยกตัวอย่างวิธีคิดเรื่องรายได้ เช่น จากเดิมหนังสือพิมพ์แยกการทำข่าว และการหาโฆษณา แต่ระบบใหม่ออนไลน์ทุกอย่างเป็นเงิน
ทั้งนี้เรื่องมาร์เก็ตติ้งจะใช้แบบเดิมก็ไม่ได้ ต้องปรับตัวเพื่อรองรับผู้บริโภคซึ่งต้องหาว่าผู้บริโภคต้องการอะไร เรื่องนี้ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยาก จากบิ๊กดาต้าทำให้เรารู้ว่าเราจะไปทางไหน บอกได้ว่าอนาคต จะเกิดอะไรขึ้นแต่ด้วยความเป็นองค์กรข่าว อย่างไรก็ต้องคงคุณค่าความเป็นข่าวให้ได้
นายนิกร จันพรม ผู้ก่อตั้ง เว็บไซต์ 77kaoded.com กล่าวว่านักข่าวหากไม่คิดปรับตัวก็ตาย เวลานี้ต้องสามารถทำงานแบบมัลติฟังก์ชั่น โดยเรื่องสำคัญคือเนื้อหา เพียงแต่เรามาติกับรูปแบบ ซึ่งคิดว่าต้องทำทีวี วิทยุ มีกอง บก. แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเห็นว่าน่าจะดึงสติงเกอร์ในพื้นที่ต่างหวัดมาเป็นพาร์ตเนอร์ลดอำนาจจากส่วนกลาง
“ตอนแรกก็มีคนเป็นห่วงว่า จะมาทำออนไลน์แล้วยังให้นักข่าวสติงเกอร์ อัพข่าวกันเอง จะเกิดปัญหาเละเทะ เกิดการฟ้องร้องอะไรกัน แต่ก็เหมือนกับคนเรียนว่ายน้ำที่หากไม่ลองว่ายก็ว่ายไม่เป็น ต้องโยนลงไปในสาระ ซึ่งก็ต้องระวังเรื่องข่าวเท็จ ข่าวลวง แต่นักข่าว ทำกันมา 10-20 ปี มีประสบการณ์ มีตัวตนในจังหวัดเดินไปไหนใครก็รู้หมด” นายนิกร กล่าว
นายนิกร กล่าวว่าจากที่เปิดเว็บไซต์มาทำให้เห็นว่าเดินทางมาถูกทาง เป็นการปรับโครงสร้างฝ่าวิกฤต ยุคนี้หาคนทำสื่อยาก ซึ่งสิ่งสำคัญคือเรื่องเนื้อหา ส่วนรูปแบบการนำก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ ซึ่งเชื่อว่าแนวทางนี้จะโตขึ้นไปเรื่อยๆ และเป็นชุมชนที่ยึดโยงสังคมเข้าไว้ด้วยกัน
นายนิรันดร์ศักดิ์ บุญจันทร์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วรรณกรรม the paperless กล่าวว่า เริ่มต้นทำเว็บไซต์ด้วยเงิน 7,000 บาท ด้วยต้นทุนสมัยที่เคยทำงานในเซ็คชั่นจุดประกายวรรณกรรม หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และที่บ้านมีหนังสือมากเหมือนเป็นบิ๊กดาต้า ครั้งแรกชวนนักเขียนใหญ่มาร่วมงานทั้ง อาจินต์ ปัญจพรรค์ แดนอรัญ แสงทอง มาร่วมเขียน
“จากที่ได้เปลี่ยนมาทำเว็บไซต์ ทำให้เห็นว่าทำนิตยสารยากกว่า เหนื่อยกว่าเพราะมีหลายขั้นตอน มีภาพ มีคอนเทนต์ แต่พอปรับมาทำเว็บไซต์ ก็ไม่ได้ทำแค่เนื้อหา มีทั้ง แต่งเพลง วิจารณ์หนังสือ ซึ่งให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ระหว่างการทำเว็บไซต์ กับ เนื้อหาในสิ่งพิมพ์ เพราะเว็บไซต์ลงปุ๊บก็รู้ปฏิกิริยาตอบรับ ทำไปก็จะรู้ว่าบางเรื่องเหมาะกับทำพ็อคเก็ตบุ้ค บางเรื่องเหมาะกับทำออนไลน์ ซึ่งบางเรื่องคิดว่าคนไม่สนใจแต่กลับสนใจได้ฟีดแบ็คกลับมาเร็ว” นายนิรันทร์ศักด์ กล่าว
| ['ข่าว', 'สังคม', 'คุณภาพชีวิต', 'ไอซีที', 'สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย', 'สื่อมวลชน', 'บุญลาภ ภูสุวรรณ', 'สำนักข่าวไทยพับลิก้า', 'นครินทร์ วนกิจไพบูลย์', 'เดอะ แสตนดาร์ด', 'อภิรักษ์ โรจน์อำพร', 'ไทยรัฐออนไลน์', 'นิกร จันพรม', '77kaoded.com', 'นิรันดร์ศักดิ์ บุญจันทร์', 'the paperless', 'สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ', 'สถาบันอิศรา', 'องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย'] |
https://prachatai.com/print/79240 | 2018-10-20 15:25 | ผู้พิพากษาอาวุโสห่วงร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ ละเมิดสิทธิประชาชน-หวั่นนักลงทุนต่างชาติหนี | ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ให้สัมภาษณ์สื่อ ห่วง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ ตรวจค้น จับกุมโดยไม่มีหมาย พร้อมทั้งยึดคอมพิวเตอร์-บังคับบอกรหัส ถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน เตือนนักลงทุนหนีเพราะให้เข้าไปล่วงข้อมูลทางธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาลขององค์กรภาคเอกชน
ผู้จัดการออนไลน์ [1] รายงานเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมาว่าที่ศาลอุทธรณ์ ถ.รัชดาภิเษก นายศรีอัมพร ศาลิคุปต์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ ให้สัมภาษณ์ความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ว่า ในต่างประเทศตื่นตัวที่จะป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ จึงทำกฎหมายเพื่อความมั่นคงทางไซเบอร์ขึ้น หลักการเดิมถ้าบุคคลใดหรือองค์กรใดกระทำผิด รัฐมีหน้าที่เข้าตรวจสอบหาเส้นทาง แต่วิธีการยังมีหลักการที่จะคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนด้วยการตรวจสอบถ่วงดุล ถ้าจะขอเข้าค้นต้องผ่านการกลั่นกรองของศาล เหมือนกับการจับกุมตรวจค้นต้องขอหมายศาล เพื่อกลั่นกรองว่าเจ้าหน้าที่มีเหตุสมควรที่ต้องกระทำหรือไม่ ส่วนใหญ่ต้องอ้างว่ามีความผิดเกิดขึ้น เมื่อผิดก็สามารถตรวจค้นมีคดีขึ้นมา
แต่หลักการตามร่างกฎหมายใหม่ คือ ไม่ต้องมีคดี คณะกรรมการเพื่อความมั่นคงทางไซเบอร์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐจะมีอำนาจเยอะ โดยจะมีการตรวจค้น จับกุม ยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยบันทึกความจำ บังคับบอกรหัสเพื่อเปิดข้อมูลได้หมด โดยไม่ต้องผ่านการกลั่นกรองของศาล ไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลโดยฝ่ายตุลาการ ปัญหาคืออำนาจอย่างนี้ ต่างประเทศซึ่งมีการกระทำผิดรุนแรงทางไซเบอร์ เขายังไม่กล้าออกกฎหมายให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้น จับกุม ยึดโดยไม่มีหมายจับหมายค้น คดียังไม่เกิดแค่สงสัยก็สามารถเข้าไปได้หมดทั้งหน่วยงานเอกชน บริษัท ประชาชนทั่วไป เข้าไปยึดเพื่อตรวจสอบแจ้งข้อหาทีหลังโดยไม่ต้องมีหมาย ยึดแล้วเอาข้อมูลไป ระบบนี้ไม่ใช่ระบบสากล ปกติแล้วนิติรัฐจะต้องมีระบบตรวจสอบถ่วงดุล เพราะตัวบุคคลถ้ามีอำนาจมากไปจะทุจริตใช้อำนาจในทางมิชอบได้ ถ้ามองก้าวหน้าไปในทางการเมืองอาจใช้กฎหมายเข้ามาล่วงละเมิดแย่งชิงความได้เปรียบ ซึ่งถือว่าอันตรายมากต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
รู้จัก ร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงไซเบอร์ เมื่อความปลอดภัยกับละเมิดสิทธิห่างแค่เส้นเบลอๆ [2]คนการเมือง 4 พรรคสะท้อน พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ อาจอันตรายต่อ ปชช. กว่าที่คิด [3]กลุ่มโทรคมนาคม-ไอที พบ สนช. ให้ทบทวนกฎหมายไซเบอร์-คุ้มครองข้อมูลส่วนตัว [2]
“อีกอย่างหนึ่งที่ผมเป็นห่วงมาก ก็คือ ถ้าเรามีกฎหมายประเภทนี้ มันจะมีลักษณะให้อำนาจเบ็ดเสร็จของพนักงานเจ้าหน้าที่ Cyber Security ซึ่งมีอำนาจกว้างขวางกว่าตำรวจซึ่งจะต้องขอออกหมายค้นหมายจับ แล้วไม่มีการกลั่นกรองหรือตรวจสอบถ่วงดุลจากฝ่ายตุลาการ จะเกิดปัญหาว่าบุคคลที่เข้ามาทำในตำแหน่งพนักงานรักษาความสงบในไซเบอร์ หรือเจ้าหน้าที่ปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ก็มีโอกาสที่จะกระทำผิด หรือใช้อำนาจที่ล่วงเกินสิทธิเสรีภาพ นอกจากจะเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยตรงแล้ว ยังสามารถที่จะหาผลประโยชน์จากข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าข้อมูลทางราชการหน่วยใดก็ตาม ธนาคารชาติ ธนาคารทุกแห่ง บริษัทใหญ่ๆ บริษัทข้ามชาติซึ่งเข้ามาลงทุน เขาก็กังวลในเรื่องนี้อยู่ ถ้ากฎหมายนี้ผ่านออกไปโดยปราศจากการตรวจสอบถ่วงดุลโดยฝ่ายตุลาการ ปัญหาของชาติจะเกิดขึ้นโดยการลงทุนจากต่างประเทศจะชะงักงันทันที เพราะเขาจะไม่เชื่อในระบบงานยุติธรรมขั้นต้นของไทย ความลับทางการค้ามีมูลค่าเป็นหลายแสนล้าน เขาจะมาเสี่ยงกับประเทศไทยหรือ” นายศรีอัมพร กล่าว
นายศรีอัมพร กล่าวอีกว่า ในขณะที่รัฐมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน สร้างความเชื่อมั่นจากต่างประเทศเข้ามา กฎหมายตัวนี้สร้างอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารมากเหลือเกิน ครอบคลุมความเป็นส่วนตัวของประชาชนทุกคน จะกลายเป็นการปกครองแบบรัฐตำรวจ ในขณะที่เราเป็นนิติรัฐ เรื่องนี้อันตราย การยึดอายัดได้ทุกอย่างโดยไม่ต้องมีคดี คล้ายกับรัสเซียสมัยก่อนล่มสลายที่มีโปลิตบูโร ลักษณะองค์กรคล้ายกัน ตนในฐานะที่เป็นนักกฎหมายที่เคยศึกษา ไม่มีประเทศไหนออกกฎหมายให้คนกลุ่มเดียวมีอำนาจล้นฟ้าไม่มีการตรวจสอบ
ผู้สื่อข่าวถามถึงสหรัฐอเมริกา มี ซีไอเอ หรือ เอฟบีไอ ใช้การตรวจสอบอย่างไร นายศรีอัมพร กล่าวว่า การใช้อำนาจลับผิดกฎหมาย แต่เขาไม่บอก เท่าที่ทราบก็มีการใช้อำนาจลับอยู่ เช่น การดักฟัง ซึ่งตามกฎหมายการดักฟังต้องขออำนาจจากอธิบดีศาลอาญาคนเดียว แต่ร่างกฎหมายไซเบอร์หนักเลย ข้อมูลความเป็นส่วนตัวที่สหรัฐอเมริกาถือมาก ใครจะล่วงละเมิดไม่ได้ แต่องค์กรลับของเขาทำแบบเงียบๆ ที่สหรัฐอเมริกาผ่อนคลายความเข้มงวดนี้หลังเหตุการณ์ 9/11 แต่กฎหมายในอเมริกาหรือประเทศไหนไม่ปรากฏว่าจะให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารเข้าไปจัดการกระบวนการยุติธรรมขั้นต้นโดยไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุล เมื่อตราเป็นกฎหมายแล้วเข้าไปล่วงละเมิดในสิทธิส่วนตัว เขาก็ไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะอ้างว่าทำตามกฎหมาย ประชาชนเอกชนก็ไม่มีโอกาสได้รับการเยียวยาโดยการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้เลย
ส่วนจะคล้ายกับเกาหลีเหนือหรือไม่ นายศรีอัมพร กล่าวว่า คงไม่ถึงขนาดนั้น เพราะเกาหลีเหนือสามารถสอดแนมประชาชนทุกคนได้ แต่ดูภาพใหญ่คล้ายกับว่ารัฐสามารถที่จะสอดแนมเข้าไปในประชาชนทุกคนได้ ลักษณะกฎหมายอย่างนี้ตนเป็นห่วงสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ถูกละเมิดโดยชอบด้วยกฎหมาย และห่วงเรื่องการค้าซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ของประเทศ ประเทศจะเจริญเติบโตได้ ต่างประเทศต้องเข้ามาลงทุน ถ้าหยุดเมื่อไหร่เราตาย และเป็นหน้าตาของประเทศไทย เพราะต่างประเทศจะดูว่าประเทศไหนมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมาก จากรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ค่อนข้างมองประเทศไทยในแง่ลบอยู่แล้ว ถ้ากฎหมายนี้ออกมาจะเป็นการซ้ำเติม กลายเป็นว่าประเทศไทยไม่น่าลงทุน
สำหรับขั้นตอนของร่างกฎหมายในขณะนี้ นายศรีอัมพร กล่าวว่า ขณะนี้กฎหมายอยู่ในขั้นตอนรับฟังความคิดเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วก็ทราบว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็เป็นห่วงในเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุลของเจ้าพนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ที่จะมาเกี่ยวข้องกับเรื่องความมั่นคงทางไซเบอร์ด้วย ตนก็เห็นว่า น่าดีใจที่นายกฯ ให้ความสำคัญต่อประเด็นนี้ สำหรับหน่วยงานที่ริเริ่มเสนอกฎหมายฉบับนี้ คือ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่เข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง ซึ่งก่อนที่หน่วยงานรัฐจะออกกฎหมายใด ก็อยากให้ดูกฎหมายของอารยประเทศด้วย เพราะไม่เช่นนั้นประเทศไทยก็อาจจะถอยหลังเข้าคลองได้
“ถ้าผู้ปกครองหรือรัฐบาลของเราเป็นรัฐบาลที่ดีไม่มีปัญหา เขาก็อาจจะไม่ยอมให้ใช้อำนาจรัฐ แต่ถ้าเราได้ผู้ปกครองหรือรัฐบาลที่มีปัญหาขึ้นมา ประชาชนจะเดือดร้อนมาก ในฐานะผมเป็นประชาชน ผมก็เดือดร้อนด้วยว่า อยู่ดีๆ เขามายึดโทรศัพท์มือถือของท่านไป แล้วก็ไปหาว่าท่านกระทำผิดอย่างไร” นายศรีอัมพร กล่าว
นายศรีอัมพร กล่าวว่า ไม่ควรเร่งรีบออกกฎหมายฉบับนี้ เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องการแก้ไขความมั่นคงของประเทศ แต่เป็นเรื่องใหญ่ระดับชาติ ระดับนานาชาติ ที่ประเทศต่างๆ เขาจะมาคบกับประเทศเราหรือเปล่า ถ้าเรามีกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดสิทธิประโยชน์ทางการค้าอย่างรุนแรง สหรัฐอเมริกาเขาเพ่งเล็งในเรื่องนี้มาก อย่างเช่น ที่สหรัฐอเมริกา ตั้งกำแพงภาษีสูงกับสาธารณรัฐประชาชนจีน สาเหตุหนึ่งเพราะเขาอ้างว่ามีการล่วงรู้หรือเอาข้อมูลในลักษณะนี้ ขณะที่เราก็กำลังที่จะเปิดโอกาสให้มีการโจมตีข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่รัฐได้
เมื่อถามว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่เจ้าหน้าที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอหรือ นายศรีอัมพร กล่าวว่า ข้อเสนอของกระทรวงดิจิทัลฯ คือ ไม่เพียงพอ ไม่สามารถปราบปรามการกระทำผิดได้ทัน แต่ปัญหาการปราบปรามไม่ทัน ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องมาออกกฎหมายใหม่ แต่เป็นเรื่องความสามารถของเจ้าหน้าที่กระทรวงดิจิทัลฯ ไม่เพียงพอ ควรเลิกจ้างไปเลย เพราะคนที่ไม่มีฝีมือไม่ควรมาอยู่ บริษัทต่างๆ เขามีมืออาชีพทั้งนั้นในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ เชื่อว่า เจ้าหน้าที่ไซเบอร์ไทย มีมืออาชีพคนไทยซึ่งเก่งเยอะแยะ แต่ไม่มีโอกาสเข้ารับราชการ จะต้องใช้ระบบกึ่งราชการจ้างบุคคลที่เก่งเข้ามา
“การสืบแทรกกิ้งทางไซเบอร์ว่าใครทำผิดอะไร มันมีร่องรอยอยู่แล้ว และร่องรอยนั้นเป็นร่องรอยที่ประจักษ์ด้วย แม้ว่ามันจะมีการส่งไปยังต่างประเทศหลายแห่ง แล้วถึงกลับเข้ามาไทยก็ตามได้” นายศรีอัมพร กล่าวและว่า ควรแก้ปัญหาเรื่องบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายมากกว่า ไม่ใช่ปัญหาของประชาชนหรือประเทศชาติเลย อันไหนที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วนก็ต้องมีกลไก อย่างน้อยที่สุดต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุล
นายศรีอัมพร กล่าวด้วยว่า ถ้าหากพูดถึงหน่วยงานของรัฐก็พยายามสร้างงานขึ้นมา แล้วสร้างอัตรากำลังขึ้นมา เพื่อมีงบประมาณและภารกิจ แต่การเพิ่มหน่วยธุรการขึ้นมาก็ไม่ได้ทำให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการทำงานด้านเทคโนโลยีระดับสูงได้ มันควรต้องจ้างมืออาชีพ แล้วค่าตอบแทนก็ไม่ควรใช้ตามระบบราชการ ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่มีฝีมือ หรือเราจ้าง Outsource ที่เก่งเข้ามาได้ไม่มีปัญหา ต่างประเทศทำได้ ของเราส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ ไม่มีแนวนโยบายตั้งมืออาชีพ จริงๆ แล้วผู้ปฏิบัติมีความสำคัญ
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สังคม', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'ไอซีที', 'ศรีอัมพร ศาลิคุปต์', 'ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์', 'ศาลอุทธรณ์', 'พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์'] |
https://prachatai.com/print/79241 | 2018-10-20 17:32 | 'เพื่อไทย' ตั้งสาขาพรรคจังหวัดแรกอุดรธานี-หลายพรรคเปิดตัวนักการเมืองหน้าใหม่ | 'เพื่อไทย' ตั้งสาขาพรรคจังหวัดแรกอุดรธานี ลุยให้ครบ 4 ภาค 'ชาติพัฒนา' เปิดตัวนักปีนเขาเอเวอร์เรสของไทยคนแรก-นักธุรกิจ Startup 'ไทรักธรรม' ประกาศสู้ศึกสนามเลือกตั้ง ส่งครบ 350 เขต เปิดตัวดารา ประกาศ กกต.ให้ 'กิจสังคม' สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง 'พลังประชารัฐ' ระบุเสียเปรียบกว่าพรรคอื่นเพราะ 4 รมต. หาเสียงวันธรรมดาไม่ได้
ที่มาภาพ: สำนักข่าวไทย [1]
20 ต.ค. 2561 สำนักข่าวไทย [2] รายงานว่าที่บ้านเลขที่ 444 ม.4 ซอยสุนทรสัจจบูรณ์ ถ.อุดรธานี-กุดจับ ต.บ้านเลื่อม อ.เมือง อุดรธานี ซึ่งเป็นบ้านพักและสำนักงานของนายศราวุธ เพชรพนมพร อดีต ส.ส.อุดรธานี ลูกเขยของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก มีการประชุมจัดตั้งสาขาพรรคเพื่อไทย สาขาลำดับที่ 1 อุดรธานี (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โดยมี พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองหัวหน้าพรรค และนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรค พร้อมอดีต ส.ส.ในพื้นที่อุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียงอีกหลายคนมาร่วมประชุมด้วย รวมทั้งนางอาภรณ์ สาราคำ อดีต ส.ว.อุดรธานี ภรรยานายขวัญชัย สาราคำ หรือไพรพนา นอกจากนี้ ยังเปิดรับสมัครสมาชิกของพรรคเช่นกัน
จากนั้นนายสมัคร บุญปก รองนายก อบจ.อุดรธานี ในฐานะสมาชิกพรรคและเป็นพิธีกรกล่าวเปิดการประชุม ซึ่งครบองค์ประชุม 168 คน และนายศราวุธ ได้รับมอบหมายจากพรรคเป็น ประธานการประชุมร่วมกันพิจารณาชื่อสาขาพรรคว่า สาขาพรรคเพื่อไทย สาขาลำดับที่ 1 อุดรธานี (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ณ สถานที่ตั้งดังกล่าว รวมทั้งเลือกกรรมการบริหารสาขาพรรค และตำแหน่งอื่นๆ เมื่อเลือกเสร็จเรียบร้อย พล.ต.ท.วิโรจน์ ได้มอบเสื้อแจ็คเก็ตพรรคเพื่อไทยให้กรรมการสาขาพรรคเพื่อไทย เพื่อแสดงความยินดี
นายศราวุธ กล่าวว่าการประชุมวันนี้เป็นไปตามมติของกรรมการบริหารพรรคฯ ที่ให้จัดตั้งสาขาพรรคเพื่อไทยให้ครบทั้ง 4 ภาค โดยจังหวัดอุดรธานีเป็นสาขาที่หนึ่ง หน้าที่ของสาขาพรรคจะทำงานตามที่ได้รับมอบหมายให้สอดคล้องกับนโยบายของพรรคเพื่อไทย ส่วน พล.ต.อ.ประชา อดีตรองหัวหน้าพรรคฯ ขณะนี้ตนยังไม่ได้หารือกันว่าจะลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่
ด้าน พล.ต.ท.วิโรจน์ กล่าวว่า พรรคจำเป็นต้องเปิดสาขาพรรคใหม่ รวมทั้งตั้งตัวแทนประจำจังหวัด ซึ่งอุดรธานีเป็นจังหวัดแรกที่รับสมัครสมาชิกเพื่อสาขาพรรค พรุ่งนี้จะไปรับสมัครสมาชิกและเปิดสาขาพรรคที่ จ.เชียงใหม่ ตามด้วยภาคกลาง จ.สมุทรปราการ และภาคใต้ จ.สงขลา โดยสาขาพรรคแต่ละภาคจะต้องมีสมาชิก 500 คนขึ้นไป ส่วนตัวแทนประจำจังหวัดต้อง 100 คนขึ้นไป เท่าที่สังเกตในวันนี้ประชาชนในพื้นที่อุดรธานี และจังหวัดใกล้เคียงให้ความสนใจมาสมัครกัน ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีของพรรคเพื่อไทย
'พรรคชาติพัฒนา' เปิดตัวนักปีนเขาเอเวอร์เรสของไทยคนแรก-นักธุรกิจ Startup
สำนักข่าวไทย [3] รายงานว่านายสุทธิโรจน์ เจริญผล ที่ปรึกษาพรรคชาติพัฒนา พร้อมด้วย นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา โฆษกพรรคชาติพัฒนา ให้การต้อนรับ นายวิฑิตนันท์ โรจนพาณิชย์ คนไทยคนแรกที่ปีนเขาเอเวอร์เรสต์สำเร็จ รวมทั้งนายชัชวาล ปุกหุต นักบริหารหนุ่มคนรุ่นใหม่และนักสร้างแบรนด์ นายปริญญา มานวงศ์ ผู้บริหารบริษัท แอร์ มาเวล ตลอดจนนายกฤษณ์ แสงวิเชียร ผู้บริหารรุ่นใหม่ ธุรกิจสตาร์ทอัพ กลุ่มคนรุ่นใหม่เข้าร่วมสมัครสมาชิกพรรคชาติพัฒนา
นายชลิตรัตน์ กล่าวว่ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนให้ความสนใจในการสมัครสมาชิกพรรคชาติพัฒนา ซึ่งทุกคนถือว่าเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มากด้วยประสบการณ์ เป็นนักธุรกิจ นักคิด นักเขียน และนักวางแผน ซึ่งประสบการณ์ของแต่ละคนมีประโยชน์ในการสร้างนโยบายสู่ประชาชนอย่างแน่นอน และหวังว่าทุกคนจะมาร่วมอุดมการณ์กับพรรคชาติพัฒนา ทำงานเพื่อบ้านเมืองต่อไป
'ไทรักธรรม' ประกาศสู้ศึกสนามเลือกตั้ง ส่งครบ 350 เขต เปิดตัวดารา
เว็บไซต์แนว [4] หน้ารายงานเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมาว่าที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ พรรคไทรักธรรม จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 1/2561 เพื่อเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยมีสมาชิกพรรคมาร่วมงานด้วยการแต่งกายตามท้องถิ่น ร่วมกิจกรรมแนะนำตัว การแสดง 4 ภาค และการเลือกกรรมการบริหารพรรคของพรรคในวันนี้ ใช้เครื่องลงคะแนนแบบอิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผลการลงคะแนนมีมติเลือก นายพีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค เป็นหัวหน้าพรรค พร้อมกรรมการบริหารพรรคอีก 20 คน อาทิเช่น นายวิทิต แลต, นายสิทธิพร นิยม อดีตนักแสดง พร้อมตั้งสภาที่ปรึกษาพรรค และคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส.ของพรรค
ประกาศ กกต.ให้พรรคกิจสังคมสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง
เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา [5] ได้เผยแพร่ประกาศ กกต. ให้พรรคกิจสังคม พรรคการเมืองเก่าแก่อีกพรรคของไทย สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง เนื่องจากมีสมาชิกเหลือไม่ถึง 5,000 คน ซึ่งนายทองพูล ดีไพร หัวหน้าพรรคกิจสังคม มีหนังสือแจ้งยืนยันการเป็นสมาชิกพรรคเหลือเพียง 8 คน และในการประชุม กกต.เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา มีมติเอกฉันท์ให้ประกาศพรรคกิจสังคม สิ้นสภาพการเป็นพรรคการเมือง
พรรคกิจสังคม ก่อตั้งเมื่อปี 2517 โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จดทะเบียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2525 อดีตมีนักการเมืองที่มีชื่อเสียงหลายคนอาทิ พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา, นายมนตรี พงษ์พานิช, นายสุวิทย์ คุณกิตติ, ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน
'พลังประชารัฐ' ระบุเสียเปรียบกว่าพรรคอื่นเพราะ 4 รมต. หาเสียงวันธรรมดาไม่ได้
ข่าวสดออนไลน์ [6] รายงานว่านายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกกลุ่มสามมิตร กล่าวถึงกรณที่นายจตุพร พรหมพันธ์ ประธานปช. ระบุว่า หาก 4 รัฐมนตรีไม่ลาออกจะถือว่าการเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม ว่าการเลือกตั้งจะบริสุทธิ์ยุติธรรมหรือไม่ขึ้นอยู่ที่พี่น้องประชาชนจะเป็นคนตัดสิน
โดยมี กกต.ดูแลจัดการเลือกตั้งเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติรรม จึงไม่เกี่ยวกับ 4 รัฐมนตรีว่าจะลาออกหรือไม่ อย่าไปกดดัน เพราะทราบดีว่าอะไรควรไม่ควร และได้ยืนยันอย่างชัดเจนแล้วว่าจะลาออกเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งตนเชื่อว่าอีกไม่นาน คงจะใช้เวลาสะสางงานสำคัญที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลโดยเฉพาะงานภาคอุตสาหกรรมและพานิชย์ที่เป็นหัวใจหลักของประเทศอยู่ในขณะนี้ ดังนั้น คงต้องให้ความเป็นธรรมกับ 4 รัฐมนตรีด้วย
นายธนกร กล่าวว่าขณะนี้ทุกพรรคการเมืองลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชนด้วยวิธีการต่างๆ ตามกรอบกฎหมาย แต่ก็เป็นที่รับรู้กันอยู่แล้วว่าเป้าหมายคือการหาเสียง ซึ่งคสช.เองก็อะลุ่มอล่วยไม่ได้เข้มข้นอะไรมากนัก ดังนั้นการที่ 4 รัฐมนตรียังไม่ลาออกตนมองว่าทุกพรรคการเมืองได้เปรียบพรรคพลังประชารัฐด้วยซ้ำไป เพราะ 4 รัฐมนตรีซึ่งเป็นแกนนำพรรคพลังประชารัฐนั้นสามารถลงพื้นที่รับฟังปัญหาพี่น้องประชาชนได้เฉพาะวันหยุดคือเสาร์อาทิตย์เท่านั้น ขณะที่พรรคอื่นสามารถลงพื้นที่ทำกิจกรรมทางการเมืองได้ทุกวัน อย่างไรก็ตามอยากให้ทุกฝ่ายเล่นการเมืองอย่างสร้างสรรค์ อย่าสาดโคลนโจมตีกันเลย เอาเวลาไปคิดนโยบายที่เป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชนจะดีกว่า
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'การเลือกตั้ง', 'พรรคเพื่อไทย', 'พรรคชาติพัฒนา', 'พรรคไทรักธรรม', 'พรรคกิจสังคม', 'พรรคพลังประชารัฐ'] |
https://prachatai.com/print/79238 | 2018-10-20 13:29 | พบกองทุนหมู่บ้าน จ.เพชรบูรณ์ เรียกเก็บเงินค่าดำเนินการ-ค่าประกันความเสี่ยง |
เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมาว่าเมื่อเวลา 10.00 น. ที่กองทุนหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ นายวรกานต์ ยอดเกตุ และนายไสว จันทร์ผึ้ง พนักงานพัฒนากองทุนหมู่บ้าน สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 3 ได้เข้าตรวจสอบตามข้อร้องเรียนของสมาชิกกองทุนในกรณีเรียกเก็บดอกเบี้ยจากสมาชิก ทั้งที่เป็นโครงการปลอดดอกเบี้ยตามนโยบายรัฐบาล โดยผู้ร้องแจ้งว่ากองทุนหมู่บ้านเรียกเก็บเงิน ร้อยละ 1 เป็นค่าดำเนินการ และเรียกเก็บเงิน ร้อยละ 6 ของเงินกู้เป็นค่าประกันความเสี่ยง หลังจากการสอบถามทั้งสองฝ่าย ได้ข้อสรุปว่ามีการเรียกเก็บเงินจริง จึงให้ทั้งสองฝ่ายไปตกลงไกล่เกลี่ยว่าจะดำเนินการกับเงินที่เรียกเก็บมาอย่างไร ระหว่างการเจรจาทั้งสองฝ่ายก็มีการโต้เถียงกันอย่างรุนแรง เกือบจะมีการลงไม้ลงมือแต่เหตุการณ์ก็ผ่านไปได้ด้วยดี
ต่อมาเจ้าหน้าที่จาก สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 3 ได้สอบถามข้อเท็จจริงจากทั้งสองฝ่ายในกรณีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามโครงการเพิ่มความเข็มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวประชารัฐ ของปี 2559 งบประมาณจำนวน 500,000 บาท (ห้าแสนบาท) ซึ่งทางกองทุนหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลพุเตย ได้จัดทำโครงการบริการชุดโต๊ะจีนให้เช่า ดำเนินการระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน 2559 – 20 มิถุนายน 2559 จัดซื้ออุปกรณ์โต๊ะจีน จำนวน 9 รายการ ส่งมอบและเบิกจ่ายงบประมาณเป็นที่เรียบร้อย แต่ทางผู้ร้องแจ้งว่าไม่มีของหรือของไม่ครบตามรายการที่จัดซื้อ เจ้าหน้าจึงขอให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินการตรวจนับสิ่งของตามรายละเอียดการจัดซื้อ ปรากฏว่า ในขณะตรวจนับเก้าอี้พบส่วนหนึ่งเขียนชื่อของ บริการให้เช่าโต๊ะเก้าอี้เอกชนรายหนึ่ง และพบเก้าอี้ใหม่ยังไม่ได้แกะใช้เลยจำนวนหนึ่ง กรรมการกองทุนแจ้งว่าเป็นของอีกโครงการจัดซื้อมาไว้ก่อนแต่โครงการยังไม่อนุมัติ และโต๊ะกลมที่พบก็อยู่ในสภาพชำรุดใช้การไม่ได้ ในส่วนของถ้วยจานและอุปกรณ์อื่นไม่พบในสานที่เก็บของของกองทุน เจ้าหน้าที่สำนักงานหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 3 จึงได้เรียกคณะกรรมการตรวจรับมาให้ถ้อยคำ พร้อมบันทึกถ้อยคำผู้ร้องและกรรมการกองทุน เสนอให้หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและดำเนินการตามระเบียบต่อไป
ตัวแทนของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลพุเตย ผู้ร้องเรียนกล่าวว่าตนเองได้ส่งเรื่องร้องเรียนดังกล่าวไปหลายหน่วยงานด้วยกัน แม้แต่หน่วยงานที่ใกล้ที่สุด คือ อำเภอวิเชียรบุรี ตนเองก็ร้องเรียนไป ก็ไม่ปรากฏว่ามีหน่วยงานไหนออกมาตรวจสอบ จนกระทั้ง สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 3 แจ้งว่าจะมาตรวจสอบตนเองจึงได้เตรียมเอกสารและข้อมูลไว้แจ้งให้ทราบ และมีแนวร่วมหลายคนที่ถูกข่มขู่ด้วยวิธีการต่างๆ จนถอนตัวไปไม่มาร่วมให้ข้อมูลในวันนี้ และตนเองก็ดีใจที่ได้ทำความดีเพื่อชาติร่วมกันป้องกันปราบปรามการทุจริต เพื่อประโยชน์ของชาติบ้านเมือง
หลังตรวจสอบ นายวรกานต์ ยอดเกตุ พนักงานพัฒนากองทุนหมู่บ้าน สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 3 ได้กล่าวว่าในส่วนของสำนักงานมีหน้าที่กำกับติดตาม ตรวจสอบ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน จึงได้แจ้งให้ทางกรรมการกองทุนหมู่บ้านได้ดำเนินการจัดหาวัสดุที่ไม่ครบหรือไม่เป็นไปตามที่ระบุในการจัดซื้อจัดจ้างมาเพิ่มภายใน 30 วัน หลังจากนั้นจะมาตรวจสอบติดตามอีกครั้ง ในส่วนของเรื่องการกระทำผิดระเบียบเป็นเรื่องของหน่วยงานที่รับผิดชอบจะกำกับติดตาม
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สังคม', 'คุณภาพชีวิต', 'โครงการประชารัฐ', 'กองทุนหมู่บ้าน', 'โครงการประชารัฐกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง', 'เพชรบูรณ์'] |
https://prachatai.com/print/79242 | 2018-10-20 20:44 | เก่งกิจ กิติเรียงลาภ: ชีวิต แรงงาน และความคิดเรื่องส่วนรวมใน Paris Manuscript | 200 ปี คาร์ล มาร์กซ์ | 200 ปี คาร์ล มาร์กซ์ ที่เชียงใหม่ 'เก่งกิจ กิติเรียงลาภ' นำเสนอหัวข้อ 'ชีวิต แรงงาน และความคิดเรื่องส่วนรวมใน Paris Manuscript' พร้อมแนะนำงานของ 'มาร์กาเร็ต เฟย์' ที่ชี้ว่าตลอดศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมานักทฤษฎีการเมืองอ่าน 'Paris Manuscript' แบบเรียงลำดับผิดไปจากต้นฉบับของมาร์กซ์ ซึ่งทำให้ประเด็น 'wage of labor' หายไปจากแกนหลักของเล่ม แล้วทำให้ธรรมชาติของมนุษย์และความแปลกแยกกลายเป็นประเด็นหลักแทน
26 กันยายน 2561 ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการจัดเสวนาทางวิชาการ "200 ปี Karl Marx (1818-2018) Marx and Marxism ความท้าทาย หรือ สิ่งที่ตายแล้ว" 26 กันยายน 2561 ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยมีวิทยากรคือ รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, รศ.ดร. จามะรี เชียงทอง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผศ.ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
200 ปี คาร์ล มาร์กซ์ [1]
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: Karl Marx มายาหรือวิทยาศาสตร์? | 200 ปี คาร์ล มาร์กซ์ [2], 10 ต.ค. 2561
จามะรี เชียงทอง: Marx’s Agrarian Studies | 200 ปี คาร์ล มาร์กซ์ [3], 19 ต.ค. 2561
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ: ชีวิต แรงงาน และความคิดเรื่องส่วนรวมใน Paris Manuscript
คลิปอภิปรายชีวิต แรงงาน และความคิดเรื่องส่วนรวมใน Paris Manuscripts โดยเก่งกิจ กิติเรียงลาภ
ช่วงถาม-ตอบ "200 ปี Karl Marx (1818-2018) Marx and Marxism ความท้าทาย หรือ สิ่งที่ตายแล้ว"
อยากเกริ่นว่า ที่มาของการอ่าน Paris Manuscripts คือ ผมเริ่มเรียนวิชามาร์กซิสม์ที่จุฬาฯ อ.สุชาย ตรีรัตน์ ในเวลาที่เรียนก็ทำรายงานเรื่อง Louis Althusser (หลุยส์ อัลธูแซร์) เรารู้กันว่าอัลธูแซร์เป็นมาร์กซิสม์โครงสร้างนิยม (Structuralism) ประเด็นสำคัญคือเขาไม่พอใจคำอธิบายของพวกที่เราเรียกรวมๆ ว่า Western Marxism เริ่มต้นตั้งแต่ György Lukács เขาบอกว่าพวกนี้มีความเป็น Humanism , Essentialism และเป็น Historicism ฉะนั้นงานของอัลธูแซร์เล่มหนึ่งพูดถึงเรื่องนี้โดยตรงชื่อ For Marx มีข้อเสนอก็คือ งานของมาร์กซ์ไม่สามารถถูกอ่านในฐานะที่เป็นองค์รวมทั้งหมดที่ต่อเนื่องได้ อัลธูแซร์บอกว่ามันมี epistemological break การแตกหักทางญาณวิทยา พูดง่ายๆ ว่า อัลธูแซร์บอกว่างานของมาร์กซ์สามารถแบ่งได้เป็นมาร์กซ์หนุ่มกับมาร์กซ์แก่ ซึ่งประเด็นนี้ผมจะอภิปรายต่อไป ฉะนั้น Paris Manuscripts ถูกมองโดยพวกโครงสร้างนิยมหรืออัลธูแซเรียนว่าเป็น “มาร์กซ์หนุ่ม” ซึ่งไม่ใช่มาร์กซ์จริงๆ เป็นมาร์กซ์ก่อนที่จะเป็นมาร์กซิสม์
ผ่านมาประมาณ 20 ปี ผมสนใจว่า ภายหลังจากอัลธูแซร์แล้วมีประเด็นอะไรบ้างที่พวกมาร์กซิสต์พยายามจะพัฒนาต่อไป ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ อะไรคือภาววิทยาในงานของมาร์กซ์ มาร์กซ์มอง ontology หรือ being ยังไง ซึ่งพูดถึงตรงนี้อาจพูดได้ว่า คนในแต่ละเจนเนอเรชันก็มีสิทธิจะตีความมาร์กซ์ตามแต่แต่ละยุคสมัย แต่โจทย์หนึ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือ เราจะหาทางเปลี่ยนแปลงสังคมได้ยังไง ผมเลือกอ่านงาน Paris Manuscripts ของมาร์กซ์ เพราะส่วนหนึ่งต้องใช้สอน ทุกปีที่จะต้องสอนก็จะอ่านใหม่ทุกครั้ง การอ่านใหม่ทุกครั้งก็ทำให้พบว่า สิ่งที่อัลธูแซร์คิดอาจจะไม่จริง ผมเกิดข้อสงสัย การบรรยายในครั้งนี้จึงจะเป็นการอภิปรายว่าทำไมผมจึงไม่เห็นด้วยกับอัลธูแซร์
ชื่อเต็มของ Paris Manuscripts ก็คือ Economic and Philosophic Manuscripts มันเป็นงานเขียนชิ้นหนึ่งของมาร์กซ์ที่เขียนตอนอยู่ปารีส เมื่อดูสารบัญของเล่มนี้แบ่งออกเป็นสมุด 3 เล่ม งานชิ้นนี้ไม่ได้เขียนจนเสร็จ เขาไม่เคยเขียนงานชิ้นนี้เลยตลอดชีวิต เดี๋ยวจะเล่าภายหลังว่าถูกพิมพ์โดยใคร งานของมาร์กซ์ชิ้นนี้ ไม่ว่าจะเป็น Western Marxism หรือ Structural Marxism ต่างก็ตีความคล้ายกันคือ มองว่ามาร์กซ์มีตอนหนุ่มกับตอนแก่ พวก Western Marxism นั้นสนใจ young Marx ความสนใจนี้ให้ความสำคัญกับการศึกษามาร์กซ์ในฐานะที่เป็นนักปรัชญา พวกนี้ได้ข้อสรุปว่า มาร์กซ์หนุ่มเป็นเฮเกลเลียน ยังไม่แตกหักออกจากความคิดจิตนิยมของเฮเกล จนกระทั่งมาร์กซ์ได้อ่านฟอยเออร์บาค ทำให้มาร์กซ์กระโดดหลุดออกจาก เฮเกลเลียน ไปสู่สิ่งที่เรียกว่า วัตถุนิยม งานที่เป็นมาร์กซ์หนุ่มถูกชื่นชมและโต้แย้งตลอดศตวรรษที่ 20 ถือว่าเป็นงานสำคัญมากๆ
ประวัติศาสตร์ของการพิมพ์ Paris Manuscripts งานชิ้นนี้เริ่มเขียน 1844 ใช้เวลาเขียนสามสี่เดือน อยู่ในฐานะที่เป็นร่าง มาร์กซ์ยังเขียนไม่จบและไม่ได้คิดจะพิมพ์ หลังจากที่มาร์กซ์ตาย Paris Manuscripts ก็หายไป ไม่มีใครรู้ว่าต้นฉบับอยู่ไหน สุดท้ายมีการไปค้นพบต้นฉบับนี้ในปี 1927 โดยรัฐบาลโซเวียต หลังจากนั้นก็มีการตีพิมพ์ในภาษาเยอรมันในปี 1932 และมีการแปลภาษาอังกฤษซึ่งตีพิมพ์ในปี 1959 พูดง่ายๆ ถ้ามองในแง่นี้ Paris Manuscripts ถูกอ่านตั้งแต่ทศวรรษ 1930 โดยนักวิชาการที่พูดภาษาเยอรมันก่อน จากนั้นตามมาโดยพวกที่พูดภาษาอังกฤษ หลังจากนั้นก็มีการแปลและพิมพ์อีกหลายครั้ง
มาถึงประเด็นสำคัญที่จะพูด ผมอยากชี้ให้เห็นว่ามีงานศึกษา Paris Manuscripts อยู่หลายช่วงเวลา เพราะมันฮิตขึ้นมาหลายช่วง ช่วงแรก หลังจากที่มีการพิมพ์เป็นภาษาเยอรมันแล้ว ซึ่งมีอิทธิพลกับพวกมาร์กซิสต์จำนวนหนึ่ง ทั้งเยอรมัน ฝรั่งเศส หรือที่พูดภาษาอังกฤษ ช่วงต่อมาในทศวรรษ 1960-1970 การอ่าน Paris Manuscripts อยู่ภายใต้อิทธิพลของอัลธูแซร์คือคิดว่างานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Young Marx ฉะนั้นยังไม่ใช่มาร์กซ์จริงๆ มาร์กซ์จริงๆ ต้องเป็นมาร์กซ์ที่ mature แล้ว ถ้ายังเป็นเฮเกลเลี่ยนอยู่ยังไม่ใช่มาร์กซิสม์ หลังจากนั้นตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมาเกิดการรื้อฟื้นการอ่าน Paris Manuscripts ขึ้นมาใหม่อีก ผมเรียกว่าเป็นการอ่านแบบ hypertextual อ่านแบบนี้พิเศษมาก เพราะนับตั้งแต่มีการพิมพ์งานของมาร์กซ์ออกมาแล้ว ไม่มีใครเคยเห็นต้นฉบับลายมือของ Paris Manuscripts จริงๆ
มันมีความน่าสนใจในการอ่านแบบหลังสุดนี้ คือ ทศวรรษ 1980 มีนักวิชาการคนหนึ่งชื่อ Margaret Fay (มาร์กาเร็ต เฟย์) เขาอยากรู้ว่ามาร์กซ์เขียนอะไรจริงๆ ก็เลยบินไปเนเธอร์แลนด์ที่เก็บต้นฉบับ Paris Manuscripts เอาไว้ แล้วก็พบอะไรที่น่าประหลาดใจมากสำหรับการอ่านงานชิ้นนี้ หลังจากเฟย์เรียนจบปริญญาเอกแล้วเผอิญตายไป ทำให้ต้นฉบับลายมือของมาร์กซ์ไม่ได้รับการพูดถึงอีก คนที่มาพูดถึงเรื่องนี้อีกครั้งคือ Gary Tedman (แกรี่ เท็ดแมน) ในศตวรรษที่ 21 เราจะมาวิเคราะห์ต้นฉบับลายมือของมาร์กซ์ว่าทำให้เราเห็นอะไรได้บ้าง
วิธีการของการตีความ Paris Manuscripts ที่มีอิทธิพลมากคือ งานเขียนของ György Lukács (จอร์จ ลูคัส) เขาเขียนหนังสือเล่มนี้โดยยังไม่ได้อ่าน Paris Manuscripts แต่เขาเป็นต้นธารของมาร์กซิสม์แบบมนุษย์นิยม ถ้าสรุปโดยย่อเขาบอกว่า ธรรมชาติมนุษย์ในที่นี้คือ แก่นที่แท้จริงของความเป็นมนุษย์ซึ่งถ้าจะบรรลุแก่นอันนี้ต้องปลดปล่อยมนุษย์ออกจากสิ่งที่ผิดพลาดของสังคม พูดง่ายๆ สังคมทุนนิยมมันทำให้แก่นหรือรูปแบบที่แท้จริงของมนุษย์ผิดเพี้ยนไป งานของลูคัสมีอิทธิพลต่อศตวรรษที่ 20
ทีนี้งานของ Erich Fromm (อีริค ฟอร์มม์) บอกว่า แก่นของมนุษย์ในความคิดของมาร์กซ์เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นอดีตหรือปัจจุบันก็ตาม แต่ทั้งหมดมันถูกลดทอนบิดเบือนไป การที่เราจะรื้อฟื้นมาร์กซิสม์แบบมนุษย์นิยมขึ้นมาในโลกภาษาอังกฤษเป็นเรื่องยากเย็น จากความเป็นจริงที่ว่า Paris Manuscripts เพิ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษทีหลังภาษาอื่น พูดง่ายๆ ว่า ฟอร์มม์เห็นความสำคัญของ Paris Manuscripts มาก และชี้ให้เห็นว่าถ้าไม่มีการแปลมันเป็นภาษาอังกฤษ การรื้อฟื้น Marxism ที่เป็น Humanism จริงๆ นั้นจะเกิดไม่ได้ อันนี้เป็นการตีความของพวก humanist
อัลธูแซร์ได้พูดประเด็นปัญหานี้ในหนังสือของเขา อย่างน้อย 2 เล่ม ประเด็นสำคัญก็คือ มาร์กซ์ที่เป็นมาร์กซ์หนุ่มที่พวกลูคัสและฟอร์มม์อ่านไม่ใช่มาร์กซ์จริงๆ เพราะมาร์กซ์จริงๆ ต้องเป็นวิทยาศาสตร์ ถ้ายังเชื่อใน “แก่น” ของมนุษย์อันนี้เป็น metaphysic หรืออภิปรัชญา เชื่อในสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ มาร์กซ์จริงๆ ต้องเป็นวิทยาศาสตร์ต้องพิสูจน์ได้ ทีนี้จุดร่วมสำคัญของพวก humanist และ structuralism ซึ่งเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนานมีอยู่ 3 ประเด็น
1. พวกเขาเชื่อว่ามาร์กซ์แบ่งออกได้เป็น 2 ช่วงเวลา คือ Young Marx กับ Old หรือ Mature Marx คราวนี้ทั้งสองกลุ่มเห็นพ้องต้องกันว่า Young Marx เป็น humanism อัลธูแซร์เกลียด humanism เลยบอกว่า Young Marx ไม่ใช่ Marx
2. พวก humanism บอกว่ามาร์กซ์ตัวจริงต้องเป็น Young Marx หรืออย่างน้อย Young Marx ก็เป็นฐานของ Old Marx
3.ทั้งสองพวกเห็นพ้องกันว่า แก่นแกนความคิดของมาร์กซ์ใน Young Marx ซ์คือ ธรรมชาติมนุษย์ และ ความแปลกแยก หรือ Human Nature and Alienation
การอภิปรายของผมจะโต้แย้งการตีความแบบนี้ การเขียนในสมุดโน้ตของมาร์กซ์แบ่งเป็น 3 คอลัมน์ บางพาร์ทแบ่งเป็น 2 คอลัมน์ การแบ่งเป็นคอลัมน์ต่างๆ เป็นการแบ่งตามหัวเรื่องของ Adam Smith (อดัม สมิธ) เขาแย่งระหว่างทุน แรงงาน เจ้าที่ดิน มาร์กซ์ก็แบ่งคอลัมน์ตามนี้เลย พาร์ทแรงของโน้ตนี้ เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการโควท The Wealth of Nation ของสมิธ โดยโควทไปก็วิจารณ์ไป และมาร์กซ์ใช้ศัพท์บางส่วนของเฮเกลในการวิจารณ์สมิธ ส่วนที่เป็นสองคอลัมน์ มาร์กซ์ตัดเรื่องเจ้าที่ดินออก ตัดเรื่องค่าเช่าที่ดินออก เหลือแค่แรงงาน กับ ทุน เท่านั้น เดี๋ยวจะอภิปรายต่อว่ามีความหมายยังไง
เฟย์บอกว่า เวลาเราอ่านต้นฉบับจริงๆ แบ่งได้เป็น 3 ส่วนสำคัญ ส่วนแรกคือ แกนหลักของสมุดบันทึก แกนหลักอันนี้จัดวางเนื้อหาของการเขียนเป็น 3 คอลัมน์โดยที่มีคอลัมน์หนึ่งที่ยืนพื้นตลอดตั้งแต่ต้นจนจบนั่นคือ ‘ค่าแรงของแรงงาน’ นอกนั้นมีการตัดออกเป็นช่วง ส่วนที่หลังคือส่วนเสริม ส่วนสำคัญของมันก็คือยังใช้วิธีการแบ่งคอลัมน์เหมือนกัน แต่มีรายละเอียดที่แตกต่างออกไป
เท็ดแมนซึ่งทำงานต่อจากเฟย์ก็ไปตามหาต้นฉบับนี้จากเนเธอร์แลนด์ แล้วถอดแต่ละหน้าออกมาให้ดูเลย ต้นฉบับจริงจะแบ่งเป็น 3 คอลัมน์ คือ ค่าแรงของแรงงาน กำไรของทุน ค่าเช่าของที่ดิน หลังจากที่เหลือ 2 คอลัมน์ก็จะตัดเรื่องค่าเช่าออก วิธีการเขียนเนื้อหาของมาร์กซ์จะเป็นลักษณะนี้โดยตลอดทั้งเล่ม
ถ้าเราอ่านด้วยวิธีการแบบที่เฟย์และเท็ดแมนเสนอจะพบว่าประเด็นแกนกลางของมันคือ อดัม สมิธ ไม่ใช่ เฮเกล ส่วนชีทที่มาร์กซ์เขียนเพิ่มเข้าไปประกอบนั้นพูดประเด็นเรื่องเฮเกล ประเด็นธรรมชาติมนุษย์และการแปลกแยก ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า ไม่ว่าใครก็ตามที่ศึกษา Paris Manuscripts เรียกได้ว่ามาร์กซิสม์ทุกสำนักจะเห็นว่าส่วนสำคัญไม่ได้อยู่ที่ อดัม สมิธ ทุกคนล้วนสนใจเฮเกลและประเด็นธรรมชาติมนุษย์ ยกตัวอย่างหนังสือ The Marx and Engels reader โดย Robert Tucker คัดสรรงานของมาร์กซ์หลายชิ้นที่สำคัญมารวมเล่ม น่าสนใจว่าพอเปิด Paris Manuscripts ทักเกอร์ตัดแกนหลักออก เหลือแต่ส่วนเสริมที่พูดประเด็นเรื่องธรรมชาติมนุษย์และความแปลกแยก
กลับมาที่สารบัญของการพิมพ์ Paris Manuscripts พบว่า การเรียงพิมพ์เป็นการเรียงพิมพ์ที่ใช้วิธีการไม่ตรงกับต้นฉบับลายมือของมาร์กซ์ เพราะต้นฉบับแบ่งออกเป็น 3 คอลัมน์ และ 3 คอลัมน์นี้ต้องอยู่ในหน้าเดียวกันเสมอถึงจะอ่านรู้เรื่อง การเรียงพิมพ์อันใหม่ จะเริ่มต้นโดยเรื่องแรงงาน ไล่จากทุกหน้าจนจบเรื่องแรงงาน พอเริ่มบทกำไรของทุนก็ร่ายยาวไปจนจบ ค่าเช่าที่ดินก็ร่ายยาวไปจนจบ เฟย์ตั้งคำถามว่า คนที่เอามาพิมพ์ทำไมถึงไม่พิมพ์แบบที่มาร์กซ์ดีไซน์ไว้ เฟย์บอกว่า มาร์กซ์จงใจที่จะให้ 3 ส่วนนี้อยู่ด้วยกันในหน้าเดียวกันเพราะมันต้องอ่านไปด้วยกัน ไม่ใช่การอ่านเป็นก้อนๆ นั่นหมายความว่า ทั้งเล่มที่พิมพ์นั้นเรียงผิดหมดเลย การเรียงผิดทำให้การแบ่งหัวข้อและวิธีการอ่านผิดพลาด ถ้าพูดแบบแรงที่สุด ไม่ว่า Western Marxism อีริค, ฟอร์ม, อัลทูแซร์ หรือคนอื่นๆ ตลอดศตวรรษที่ 20 อ่าน Paris Manuscript ผิดหมด
ผลของการเรียงพิมพ์ที่ผิดไปจากต้นฉบับลายมือ 1. มีการไล่เรียงคอลัมน์ต่างๆ ลงมาเสมือนว่ามันต่อกันในแต่ละแผ่น ทั้งที่จริงๆ แผ่นหนึ่งต้องอ่านพร้อมกันสามคอลัมน์ 2.พอใช้วิธีการเรียงพิมพ์แบบนี้ทำให้หัวข้อหลักของเล่มนี้ที่ชื่อว่า wage of labor หายไปจากส่วนอื่นๆ ทั้งหมด เพราะถือว่ามันจบแล้วตั้งแต่สิบหน้าแรก ทั้งที่จริงแล้วหัวข้อ wage of labor คือแกนกลางของโน้ตบุ๊กทั้ง 3 เล่ม 3.มันทำให้หัวข้อที่เป็นเรื่องของความแปลกแยกของแรงงานเป็นหัวข้อเฉพาะที่แยกออกไป ทั้งที่จริงๆ มันเป็นหัวข้อที่ต่อกับ wage of labor 4.การพิมพ์ใหม่ตัดหัวข้อทั้งสามอันออกไป ทำให้การตีความ Paris Manuscripts ถูกมองว่าไม่ได้โจมตีอดัม สมิธ ทั้งที่จริงๆ มาร์กซ์จงใจใช้ category ของอดัม สมิธ เพื่อจะโจมตีอดัม สมิธ และเสนออะไรบางอย่าง กลายเป็นว่าการเรียงพิมพ์นี้ทำให้ประเด็นธรรมชาติของมนุษย์และความแปลกแยก กลายเป็นประเด็นหลักของหนังสือ
ข้อเสนอของเฟย์คืออะไร 1.ในปี 1844 มาร์กซ์หลุดออกจากเฮเกลไปแล้ว สิ่งที่มาร์กซ์พยายามทำคือ ข้ามให้พ้นอดัม สมิธ แต่มาร์กซ์ยังคงใช้ category ของอดัม สมิธ อันหนึ่งเรื่อง labor เข้ามาเพื่อพัฒนาทฤทษฎีของตัวเอง 2. เรื่อง Alienation และ Human Nature เป็นประเด็นย่อย 3.โจทย์ของงานเขียนชิ้นนี้จึงเป็น Political Economy ไม่ใช่เรื่องปรัชญา เพราะก่อนหน้านี้คนตีความว่าเป็นงานทางปรัชญาหมด 4.ใน Paris Manuscripts อธิบายคอนเซ็ปท์เรื่อง labor ในฐานะที่เป็น potentiality เป็นศักยภาพ มาร์กซ์ไม่ได้ใช้คำว่า essence หรือแก่นสาร แต่การตีความของพวก humanist Marxist ทั้งหมดรวมถึงอัลธูแซร์ด้วยมักเห็นว่า ลูคัส อีริคก็พูดเหมือนกันหมดว่าเป็น essence บอกว่า human nature คือ given หรือถูกให้มาแล้ว เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว ฉะนั้น มาร์กซ์ไม่ได้พูดว่า human nature เป็นอะไรอย่างชัดเจน นอกจากการระบุว่า human nature คือ potentiality
เราเรียนรู้อะไรจาก Paris Manuscripts ของมาร์กซ์ ผมคิดว่า 1.มาร์กซ์ไม่ได้บอกว่าแกนกลางของทฤษฎีมาร์กซิสต์คือประเด็นเรื่อง Human Nature แต่มันคือประเด็นเรื่องศักยภาพ เพราะคอนเซ็ปท์เรื่อง labor คือการสร้างสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เราจะรู้ได้ยังไงว่าขอบเขตของ labor มันอยู่ตรงไหน ถ้ามันมีขอบเขตจริงๆ ต้อง create สิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวมัน แต่นี้เราไม่รู้ว่าขอบเขตมันอยู่ตรงไหน ไม่รู้ว่า ontology อยู่ตรงไหน มันครีเอทสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน 2.มาร์กซ์นิยาม labor ได้น่าสนใจมาก มาร์กซ์บอกว่า communism is the process of becoming คือ กระบวนการของการที่เราจะกลายเป็นอย่างอื่น ซึ่งมาร์กซ์บอกว่าในนั้นรวมเอา potentiality และ sense ประสาทสัมผัสต่างๆ ของมนุษย์เข้าไปด้วย รวมเอา life หรือชีวิตทั้งหมด ไม่ใช่ชีวิตในฐานะที่ถูกลดทอนกลายเป็นเครื่องจักรหรือการผลิตมูลค่า 3. การปลดปล่อยหรือการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่คอมมิวนิสม์ จึงไม่ใช่การย้อนกลับไปเป็นมนุษย์หรือแกนกลางของมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ แต่การเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่คอมมิวนิสม์ คือ การปลดปล่อยชีวิตทั้งหมด มาร์กซ์ใช้คำว่า expression of live การทำให้ชีวิตทั้งหมดมัน express ได้ หรือทำให้ศักยภาพทั้งหมดของชีวิตนั้น express ได้ 4.ในแง่นี้ทุนจึงไม่ได้หมายความถึงการควบคุมกระบวนการผลิตอย่างเดียว แต่ทุนเป็นกระบวนการของการดูดกลืนชีวิตทั้งหมดของมนุษย์เข้าไปอยู่ภายใต้ตัวมัน ชีวิตทั้งหมดจึงไม่ใช่เรื่องของความแปลกแยก เพราะความแปลกแยกเป็นเรื่องของ essence
แต่ถ้าอ่านจะพบว่ามาร์กซ์ใช้คำว่า existence หรือการดำรงอยู่ การดำรงอยู่แต่อาจไม่อยู่ในรูปของ essence ก็ได้ การปลดปล่อยจากทุนจะทำให้เรา exist หรือดำรงอยู่ในโลกได้ ครอบคลุมศักยภาพทั้งหมดที่ express ได้ที่เป็นไปได้ในโลก สิ่งที่พูดทั้งหมดคือ พาร์ทเกือบสุดท้ายของหนังสือ มาร์กซ์เรียกสิ่งเหล่านี้ว่า communism เพราะฉะนั้น สิ่งที่ผมเรียนรู้จาก Paris Manuscripts ก็คือ คอนเซ็ปท์เรื่อง labor ไม่ใช่เรื่องของแก่น แต่เป็นเรื่องของศักยภาพที่มนุษย์ใช้ในการเปลี่ยนตัวเอง เปลี่ยนโลก รวมถึงการปลดปล่อย life องค์รวมทั้งหมด เพื่อที่จะมุ่งไปสู่สภาวะของ communism ซึ่งผมแปลว่าสภาวะของส่วนรวม หมายความว่า life ของเราไม่สามารถ exist ได้ถ้าเราไม่อยู่ในโลกร่วมกับคนอื่น ฉะนั้น คอนเซ็ปท์ communism ในนี้มันจึงดูโรแมนติกมาก และมาร์กซ์ก็พูดหลายคำมากว่า เราต้องมี enjoyment ของการมีชีวิต ถ้าเราไม่ enjoy แสดงว่า potentiality ของ life ของเราไม่สามารถที่จะ express หรือแสดงออกในโลกได้ แสดงว่าเราถูกทำให้ไม่ exist
ผมแปลพาร์ทหนึ่งของมาร์กซ์มา เขาบอกว่า การยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลคือการปลดแอกอย่างสมบูรณ์ของประสาทสัมผัส การรับรู้โลก และความสามารถทั้งหมดของมนุษย์ มาร์กซ์บอกว่า communism หรือการปลดแอกออกจากทุนนิยมหมายถึง liberation of sense การปลดปล่อยผัสสะในการรับรู้โลกทั้งหมดของมนุษย์ให้อิสระ รวมถึงความสามารถด้วย ซึ่งมาร์กซ์ใช้หลายคำมีคำว่า potentiality ด้วยหรือการปลดปล่อยศักยภาพให้สมบูรณ์แบบด้วย แต่คำว่าสมบูรณ์แบบก็เป็นคำที่มีปัญหา ในแง่ที่ว่าศักยภาพไม่มีวันสมบูรณ์แบบ มีแต่จะพัฒนาไปเรื่อยๆ เพราะฉนั้น การปลดปล่อยนี้ทำให้มนุษย์สามารถที่จะมองโลกด้วยสายตาของความเป็นมนุษย์ น่าสนใจว่า ในต้นฉบับลายมือใส่เครื่องหมายคำพูดในคำว่า “มนุษย์” ไว้ด้วยทุกคำ ซึ่งยังเป็นปัญหาอยู่ว่าหมายถึงอะไร ตอนจบมาร์กซ์บอกว่า สัมผัสทั้งหมดที่มนุษย์มีจะเชื่อมต่อโดยตรงกับปฏิบัติการของการเป็นนักคิดที่มองโลกอย่างเป็นองค์รวม พูดง่ายๆ ว่า ผัสสะทั้งหมด ความรับรู้โลกทุกสิ่งสามารถ express ได้อย่างเป็นองค์รวม ถ้าผัสสะของมนุษย์มีความสำคัญ เราจะบอกได้อย่างไรว่าอะไรคือแก่นแกนของความเป็นมนุษย์ที่เป็นศูนย์กลาง
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'เศรษฐกิจ', 'แรงงาน', '200 ปี คาร์ล มาร์กซ์', 'เก่งกิจ กิติเรียงลาภ', 'Karl Marx', 'Margaret Fay', 'Paris manuscripts', 'มัลติมีเดีย', 'มาร์กซิสต์', 'เสวนา', 'ปรัชญาการเมือง'] |
https://prachatai.com/print/79243 | 2018-10-21 02:31 | สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 15-21 ต.ค. 2561 | พนักงาน-ผู้ประกอบการ 'เกาะสิมิลัน' นัดยื่นหนังสือ เห็นผลกระทบอาจถูกเลิกจ้าง/รัฐบาลเกาหลีใต้ระบุแรงงานผิดกฎหมาย 36% เป็นคนไทย/กสทช.ห่วง 'เน็ต 5G' ทำคนตกงาน กระทบกลุ่มผลิต-การเงิน-การแพทย์/ก.แรงงานตั้งศูนย์ช่วยเหลือ "ผีน้อย" ในเกาหลีใต้กลับไทย จ่อเพิ่มโควตาไปทำงานถูก กม. รวม 1.5 หมื่นอัตรา/ก.ล.ต.ปั้น "บริษัทเกษียณสุข" สร้างนายจ้างส่งเสริมลูกจ้างให้มีเงินเกษียณเพียงพอ/เครือข่ายพยาบาลเรียกร้องดำเนินคดีตำรวจเมาขับให้ถึงที่สุด/‘การบินไทย’ ออกคำสั่งห้าม 4 นักบินให้สัมภาษณ์ หลังกรณีดังดีเลย์กว่า 2 ช.ม.
‘การบินไทย’ ออกคำสั่งห้าม 4 นักบินให้สัมภาษณ์ หลังกรณีดังดีเลย์กว่า 2 ช.ม.
กรณีคณะนักบินการบินไทย เที่ยวบิน TG 971 ซูริก-กรุงเทพฯ วันที่ 11 ต.ค.2561 ดีเลย์กว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง ต้นเหตุเกิดจากนักบินไม่ยอมนำเครื่องขึ้น เพราะที่นั่งของคณะนักบินที่จะโดยสารกลับ (Deadhead pilot) ไม่ได้นั่งในชั้นธุรกิจหรือเฟิร์สต์คลาสตามสิทธิ ปล่อยผู้โดยสารกว่า 300 คนนั่งรอ จนสุดท้ายผู้โดยสารสามี-ภรรยาคู่หนึ่ง ซึ่งได้จองที่นั่งชั้นบิซิเนสคลาสและได้รับการอัพเกรดเป็นชั้นเฟิร์สต์คลาส ต้องยอมสละที่นั่งให้ ทั้งนี้เที่ยวบิน TG 971 ตามตารางการบินจะต้องบินกลับด้วยเครื่องบินโบอิ้ง B777-300ER แต่ด้วยเครื่องบิน B777-300ER เสียที่ซูริก ขากลับจึงต้องใช้เครื่องบิน B747-400 ไปรับผู้โดยสารจากซูริกกลับกรุงเทพฯ พร้อมพานักบินชุดที่ขับเครื่องบินที่จอดเสียที่ซูริกกลับมาด้วย เพราะตามหลัก นักบินไม่สามารถขับข้ามแบบได้ ซึ่งเครื่องบิน B747 มีชั้นเฟิร์สต์คลาส ขณะที่ B777 ไม่มีชั้นเฟิร์สต์คลาส และนายสถานีการบินที่ซูริกได้อัพเกรดผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วในชั้นบิซิเนสคลาสเป็นชั้นธุรกิจ จากนั้นเกิดเหตุการณ์ตามที่เป็นข่าว โดยล่าสุดการบินไทยออกแถลงการณ์ชี้แจง โดยขอโทษผู้โดยสารเที่ยวบินที่ ทีจี 971 ซูริก-กรุงเทพฯ และตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงนั้น
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม แหล่งข่าวจากบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) กล่าวว่าขณะนี้มีคำสั่งภายในไปยังพนักงาน ผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ห้ามให้สัมภาษณ์ และห้ามเปิดเผยข้อมูล เพื่อไม่ให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์แบบโต้กันไปมา โดยนักบินที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 4 คนในเรื่องดังกล่าวไม่ขอให้ข้อมูลใดๆกับสื่อมวลชน เนื่องจากนายสนอง มิ่งเจริญ นายกสมาคมนักบินไทยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเสมือนเป็นตัวแทนนักบินไปแล้ว และนาวาอากาศตรีจักรี จงศิริ ครูการบินและนักบินการบินไทย มีการโพสต์เฟซบุ๊กจักรี ดารารัตน์ จงศิริ ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแทนนักบินไปแล้วเช่นกัน
แหล่งข่าวจากบริษัท การบินไทย กล่าวต่อว่า เรื่องที่เกิดขึ้นถือเป็นความผิดพลาดในการสื่อสารภายใน เพราะเมื่อเปิดขายตั๋วสำหรับเที่ยวบินที่ไม่มีชั้นหนึ่ง(เฟิร์สต์คลาส) แล้วนำเครื่องบินที่มีชั้นเฟิร์สต์คลาสมาทำการบินแทน ในการอัพเกรดที่นั่งให้กับผู้โดยสารที่ซื้อชั้นธุรกิจ(บิสซิเนส) มาเป็นชั้นเฟิร์สต์คลาสไม่ได้มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนว่าต้องดำเนินการอย่างไร และควรต้องบล็อคที่นั่งดังกล่าวคือไม่ต้องเปิดให้บริการไว้หรือไม่ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในเที่ยวบินดังกล่าวคือมีการเปิดที่นั่งชั้นเฟิร์สต์คลาสให้กับผู้โดยสารชั้นบิสซิเนสขึ้นมานั่ง แต่การบริการยังได้รับแบบชั้นธุรกิจ อย่างไรก็ตามในส่วนของนักบินที่ต้องการนั่งชั้นเฟิร์สต์คลาสกลับนั้น เป็นนักบินที่เรียกว่า นักบิน passive หรือนักบินโดยสารกลับ ไม่ใช่นักบิน Active หรือนักบินที่ปฏิบัติงานบนเครื่องบินดังกล่าว ปกติบนเครื่องบินมีห้องนอนของลูกเรือและนักบิน ถ้าไม่มีห้องนอน ให้ต้องสำรองที่นั่งไว้ให้ ถ้าเป็นนักบินกำหนดเป็นชั้นเฟิร์สต์คลาส แต่ถ้าเครื่องบินไม่มีที่นั่งชั้นเฟิร์สต์คลาสต้องเป็นชั้นธุรกิจ ซึ่งในส่วนนักบินที่ไม่ได้ปฏิบัติงานบนเครื่องไม่ได้มีระเบียบที่ระบุว่าต้องสำรองที่นั่งในชั้นเฟิร์สต์คลาส
“ในเรื่องนี้คงต้องรอดูผลการสอบข้อเท็จจริง แต่ละคนคงมีเหตุผลของตัวเอง เมื่อมีการปล่อยที่นั่งชั้นเฟิร์สต์คลาสไปให้กับผู้โดยสารไปหมดแล้ว นักบินเองน่าจะนั่งชั้นบิซิเนสกลับมาได้ ซึ่งการที่นักบินและนายสถานีต่อรองเรื่องที่นั่งชั้นเฟิร์สต์คลาสโดยนำผู้โดยสารมาเป็นตัวประกันทำให้การบินล่าช้าจึงเป็นเรื่องไม่สมควร การทำธุรกิจการบินนั้นเรื่องนี้สำคัญมาก”แหล่งข่าวกล่าว
ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 20/10/2561 [1]
เครือข่ายพยาบาลเรียกร้องดำเนินคดีตำรวจเมาขับให้ถึงที่สุด
เพจพยาบาลลูกจ้างวิชาชีพชั่วคราว กระทรวงสาธารณสุข โพสต์ข้อความเรียกร้องให้ กระทรวงสาธารณสุขออกมาดำเนินการแก้ปัญหา กรณีร้อยตำรวจเอกขับรถชนรถพยาบาลที่จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้พยาบาลเสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บสาหัส 1 คน ด้วยการเอาผิดตามกฎหมายผู้กระทำผิดเมาแล้วขับ และกรณีนี้ต้องได้รับการลงโทษอย่างถึงที่สุด พร้อมเรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุขออกกฎหมาย คุ้มครองและดูแลให้เกิดสิทธิ และประโยชน์ของผู้ที่เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ ขณะปฏิบัติหน้าที่ เช่นเดียวกับข้าราชการหน่วยอื่นเช่นตำรวจหรือทหาร หากภายใน 15 วันไม่มีความคืบหน้า เครือข่ายพยาบาลทั้งหลายจะเดินทางเข้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือกับนายกรัฐมนตรีโดยตรง
ทั้งนี้ส่วนความคืบหน้าการดำเนินคดีกับ ร้อยตำรวจเอกเดชา เปรียบสม รองสารวัตรป้องกันและปราบปราม สถานีตำรวจภูธรประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ที่แม้ว่าจะยังปฏิเสธข้อหาเมาแล้วขับ และไม่ยอมให้ตรวจแอลกอฮอล์หลังเกิดเหตุ เพราะอ้างว่ามีอาการบาดเจ็บบริเวณหน้าอกนั้น ขณะนี้ได้ตั้งพนักงานสอบสวนคดีนี้ใหม่รวม 6 คน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด
ขณะที่อาการของ นางสาวจรวยพร ปาประโคน พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลประโคนชัย ที่บาดเจ็บสาหัสต้องผ่าตัดสมอง ล่าสุดตอบสนองและรับรู้การสื่อสารได้ แต่ยังต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ส่วนหญิงตั้งครรภ์ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่นั่งมาในรถพยาบาลที่เกิดอุบัติเหตุนั้น แพทย์ได้ทำคลอดตั้งแต่วันที่เกิดเหตุปลอดภัยทั้งแม่และลูก
ด้านมูลนิธิเมาไม่ขับ มองว่า การที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ไม่แจ้งข้อหาเมาแล้วขับ กับผู้กองที่ขับรถยนต์ชนรถพยาบาลจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิตตั้งแต่วันเกิดเหตุ เข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ เพราะกฎหมายฉบับใหม่ ระบุว่าชัดเจนว่า ตำรวจสามารถสันนิษฐานว่าคนขับรถดื่มสุราใส่ในสำนวนส่งฟ้องศาลได้ทันที ถ้าถูกปฏิเสธตรวจแอลกอฮอล์
สำหรับเหตุการณ์นี้ นายสุรสิทธิ์ ผู้จัดการมูลนิธิเมาไม่ขับ อยากให้เป็นกรณีตัวอย่างในการทำหน้าที่ของตำรวจประจำอยู่ด่านตรวจว่า ควรจะตรวจแอลกอฮอลล์ตั้งแต่แรก เพื่อไม่ให้ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์ว่าเลือกปฏิบัติจนทำให้เกิดการร้องขอความเป็นธรรม
ที่มา: PPTV36, 20/10/2561 [2]
ก.ล.ต.ปั้น "บริษัทเกษียณสุข" สร้างนายจ้างส่งเสริมลูกจ้างให้มีเงินเกษียณเพียงพอ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมกับพันธมิตร จัดโครงการ "บริษัทเกษียณสุข" เป็นหัวใจหลักส่งเสริมลูกจ้างให้มีเงินใช้อย่างเพียงพอหลังเกษียณ โดยใช้ประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างเต็มที่ เน้นให้ลูกจ้าง "ออมเต็มพิกัด จัดแผนเป็น เห็นเงินเพียงพอ" เปิดรับสมัครบริษัทเข้าร่วมโครงการจนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2561
นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต.เปิดเผยว่า ก.ล.ต.ให้ความสำคัญกับสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพราะเป็นกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตลาดทุนโดยไม่รู้ตัว ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนกว่า 3 ล้านคน จากนายจ้างเกือบ 18,000 บริษัท จากผลสำรวจเมื่อปีที่ผ่านมาพบว่าร้อยละ 60 ของสมาชิกที่เกษียณอายุได้รับเงินก้อนวันเกษียณไม่ถึง 1 ล้านบาท สวนทางกับงานวิจัยที่บอกว่า หากต้องการมีเงินใช้จ่ายอย่างเพียงพอสำหรับใช้ชีวิตหลังเกษียณ ต้องมีเงินขั้นต่ำสุดอย่างน้อย 3 ล้านบาท ดูแล้วน่าเป็นห่วง
โดยสาเหตุที่ทำให้สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีเงินไม่ถึงเป้าหมาย เป็นเพราะสมาชิกยังไม่เห็นความสำคัญและไม่รู้ว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินที่จะต้องสะสมเพื่อให้มีพอไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณ ทำให้สมาชิกหักเงินสะสมต่อเดือนน้อย บางรายลาออกจากกองทุนระหว่างทาง ที่สำคัญสมาชิกยังเลือกนโยบายลงทุนที่ให้ผลตอบแทนไม่มากพอที่จะทำให้เงินออมเติบโตจนถึงระดับเพียงพอสำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณ
"หัวใจสำคัญก็คือจะทำอย่างไรให้สมาชิกมีความรู้สึกเป็นเจ้าของในเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของตนเองว่าเงินก้อนนี้เป็นของเรา เป็นเงินออมที่ต้องสะสมในทุก ๆ เดือน ถ้าสมาชิกรู้สึกเป็นเจ้าของจะเห็นความสำคัญ ก็จะหาความรู้เรื่องวิธีบริหารให้เงินก้อนนี้งอกเงย จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากนายจ้างที่จะต้องสนับสนุน หาโอกาสให้ความรู้ มีนโยบายการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เลือกหลากหลาย ดังนั้น เพื่อให้สัมฤทธิ์ผล ก.ล.ต. และพันธมิตรจึงได้ร่วมกันจัดโครงการบริษัทเกษียณสุขขึ้นมา เพื่อให้ความรู้และเครื่องมือการสื่อสารแก่นายจ้าง สำหรับนำไปดูแลลูกจ้างของตัวเอง ให้ออมเต็มพิกัด จัดแผนเป็น เห็นเงินเพียงพอ เพราะเชื่อมั่นว่าผู้ที่เข้าใจและใกล้ชิดกับลูกจ้างที่สุดคือตัวนายจ้างเอง" นายรพี กล่าว
โครงการบริษัทเกษียณสุข เป็นความร่วมมือของ ก.ล.ต.ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน และ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่ให้บริการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ขณะนี้เปิดรับสมัครบริษัทที่มีสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากกว่า 100 คนขึ้นไปเข้าร่วมโครงการ ซึ่งในปีแรกตั้งเป้าหมายว่าจะมีนายจ้างเข้าร่วมโครงการ 100 บริษัท บริษัทที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ www.happyPVD.com/company ภายใน 15 พฤศจิกายน 2561
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, 19/10/2561 [3]
เสียงพยาบาลส่งถึง สธ. เรียกร้องสิทธิเยียวยาอุบัติเหตุรถส่งต่อผู้ป่วย
จากกรณีรถพยาบาลฉุกเฉินประสบอุบัติเหตุระหว่างส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลประโคนชัยไปยังโรงพยาบาลบุรีรัมภ์ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตเป็นพยาบาล โดยเพจพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการโพสต์เชิญชวน ให้พ่อแม่พี่น้องชาวประโคนชัยญาติสนิทมิตรสหานชาวประโคนชัย ไปยื่นหนังสือกับนายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องสิทธิสวัสดิการ ที่พึงจะต้องได้รับ และ ความยุติธรรม เพราะเมื่อได้ดูบทสัมภาษณ์ของท่านปลัด แล้ว คงไม่ต้องไปกระทรวง เพราะในเรื่องมาตรการและการเยียวยา นั้น มีการดำเนินการมา 5-6 ปีแล้วแต่ก็ไม่ได้มีความคืบหน้าอะไรเลย
ล่าสุดเพจพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการโพสต์เพื่อเรียกร้องให้มีการคุ้มครองในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งใจความตอนหนึ่ง คือขอเรียกร้องสิทธิ์ให้มีการเยียวยา และเพิ่มสวัสดิการแก่พยาบาลที่เสียชีวิต 3 ข้อ คือ 1.เนื่องจากตายในหน้าที่ ขอให้มีการปูนบำเหน็จเป็นชำนาญการพิเศษเลยได้หรือไม่ 2.เงินทดแทน เป็นสวัสดิการ คือ เงินเดือนสุดท้ายที่ได้รับ × อายุราชการที่จะเกษียณ มอบให้เป็นก้อนไปเลยค่ะ และ 3.ธงชาติคลุม เป็นเกียรติประวัติแก่ตระกูล เชิดชูคุณงามความดี เหรียญกล้าหาญขอได้ไหม
ความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2561 นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าในเรื่องข้อเสนอต่างๆนั้น ขณะนี้เรามีการดูแลเต็มที่ เรื่องความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงแต่พยาบาลแต่ความปลอดภัยของทุกวิชาชีพถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งในการเสนอระเบียบต่างๆ รวมทั้งข้อเสนอทั้ง 3 ข้อเข้ามาเพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบการดูแลนั้นเป็นเรื่องที่ดี ก็ยินดีรับทุกข้อเสนอมาไว้พิจารณา ซึ่งเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2561 ได้มีโอกาสพบกับ นายกสภาการพยาบาลและตัวแทนพยาบาล นายกสภากายภาพบำบัด และนายกสภาเทคนิคการแพทย์ ก็ได้มีการพูดคุยในเรื่องความปลอดภัยดังกล่าว และได้เชิญด้วยวาจาว่าควรมีการเข้ามาพูดคุยกันเพื่อหามาตรการดูแลความปลอดภัยร่วมกันทุกวิชาชีพ ซึ่งตนพร้อมรับทุกข้อเสนอมาปรับปรุง ซึ่งทุกคนก็เห็นด้วยในหลักการ คาดว่าภายใน 1 เดือนนี้ต้องมีการทำหนังสือเชิญและสรุปรายละเอียดข้อเสนอออกมาได้
ที่มา: มติชนออนไลน์, 19/10/2561 [4]
ก.แรงงานตั้งศูนย์ช่วยเหลือ "ผีน้อย" ในเกาหลีใต้กลับไทย จ่อเพิ่มโควตาไปทำงานถูก กม. รวม 1.5 หมื่นอัตรา
พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังประชุมหารือแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานไทยถูกหลอกลวง และลักลอบไปทำงานในสาธารณรัฐเกาหลี ว่า วันนี้ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือเพื่อรับทราบความคิดเห็น แนวทางการดำเนินการและข้อเสนอแนะ เพื่อบูรณาการและสร้างความร่วมมือเตรียมพร้อมเรื่องการรองรับคนไทยที่จะเดินทางกลับจากสาธารณรัฐเกาหลี และเตรียมการขยายตลาดแรงงานใน 3 ประเด็น คือ 1. มาตรการรองรับแรงงานที่สมัครใจกลับประเทศ การให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่แรงงานไทยที่จะสมัครใจรายงานตัวกลับประเทศ 2. การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดส่งแรงงานไทยเข้าไปทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และ 3. การสร้างความร่วมมือในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการลักลอบไปทำงานในสาธารณรัฐเกาหลี
พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า กระทรวงแรงงานมีแผนการดำเนินการ ดังนี้ 1. การรับแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากสาธารณรัฐเกาหลี โดยตั้งศูนย์ช่วยเหลือดูแลแรงงานในสาธารณรัฐเกาหลี พร้อมประชาสัมพันธ์ให้แรงงานไทยในสาธารณรัฐเกาหลีเข้าร่วมโครงการ ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือแก่แรงงานไทยที่เดินทางกลับจากสาธารณรัฐเกาหลี ณ ด่านตรวจคนหางานสุวรรณภูมิ และด่านตรวจคนหางานดอนเมือง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ความช่วยเหลือตามความประสงค์ของแรงงานไทยแต่ละราย และตั้งศูนย์จัดหางานเพื่อเตรียมตำแหน่งงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งจัดฝึกอบรมเพิ่มทักษะด้านภาษาเกาหลีให้แก่แรงงานไทยที่เดินทางกลับมาประเทศไทยอีกด้วย
"ขณะนี้มีตำแหน่งงานรองรับในประเทศจำนวน 62,174 อัตรา มี 10 อันดับงานได้แก่ งานธุรการ งานอื่นๆ บัญชี การขาย จัดซื้อ บุคคล/ฝึกอบรม ท่องเที่ยว และคอมพิวเตอร์/ไอ ที ตำแหน่งงานต่างประเทศ 45,000 อัตรา แบ่งเป็นแถบเอเชีย 30,000 อัตรา ได้แก่ ไต้หวัน 15,000 อัตรา สาธารณรัฐเกาหลี 6,000 อัตรา ญี่ปุ่น 5,000 อัตรา และประเทศอื่นๆ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง/มาเก๊า 4,000 อัตรา แถบตะวันออกกลาง 5,500 อัตรา ได้แก่ อิสราเอล 5,000 อัตรา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) และคูเวต 500 อัตรา แถบยุโรป 7,000 อัตรา ได้แก่ สวีเดน 3,000 อัตรา ฟินแลนด์ 2,000 อัตรา ประเทศอื่นๆ เช่น อังกฤษ โปรตุเกส รัสเซีย 2,000 อัตรา นอกจากนั้นยังมีแถบอื่นๆ เช่น แอฟริกา อเมริกา ออสเตรเลียและโอเชียเนีย เป็นต้น อีก 2,500 อัตรา ได้แก่ แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ 2,500 อัตรา" พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าว
พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า 2. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดส่งแรงงานไทยเข้าไปทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยขอเพิ่มโควตาในการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีภายใต้โครงการ EPS จากเดิม 5,000 อัตรา เพิ่มเป็น 15,000 อัตรา ขอขยายอายุของแรงงานไทยจากเดิมไม่เกิน 39 ปี เป็นไม่เกิน 45 ปี ขอให้ทางการสาธารณรัฐเกาหลีเพิ่มสัดส่วนการคัดเลือกแรงงานหญิงไทยเข้าไปทำงานมากขึ้น ขอขยายระยะเวลาการทำงานในสาธารณรัฐเกาหลี ที่เดิม 9 ปี 8 เดือน เป็น 14 ปี (ทำงานได้ครั้งละ 4 ปี 8 เดือน สามารถเดินทางไป-กลับ ได้ 3 รอบ) และขอลดขั้นตอนระยะเวลาการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม (CID) และ 3. การป้องกันการลักลอบไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลี โดยจัดตั้งทีมเฝ้าระวังและตอบโต้ เฟซบุ๊ก/ไลน์/เว็บไซต์ และใช้สายตรวจออนไลน์คอยตรวจสอบผู้ที่มีพฤติกรรมหลอกลวง หรือลักลอบส่งคนหางานไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลี และจัดตั้งชุดเฝ้าระวังที่สนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง
รัฐบาลให้ความสำคัญในการเร่งแก้ไขปัญหาแรงงานไทยลักลอบเดินทางไปทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีอย่างเข้มงวดและจริงจัง เพราะเป็นประเทศที่มีแรงงานไทยทำงานอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากได้รับค่าจ้างสูงประมาณ 55,844 บาทต่อเดือน และนายจ้างเกาหลีมีความต้องการจ้างแรงงานไทย เนื่องจากมีฝีมือและมีวินัย โดยมีนโยบายให้การดูแลแรงงานไทยทั้งหมดไม่ว่าถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมาย มีการเตรียมการให้แรงงานใหม่ตอบโจทก์ความต้องการของนายจ้างเกาหลี พร้อมทั้งดำเนินมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการลักลอบทำงานหรือถูกหลอกไปทำงาน อย่างไรก็ตาม แรงงานไทยที่ต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการไปทำงานต่างประเทศ หรือแจ้งเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือที่กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, 18/10/2561 [5]
กสทช.ห่วง 'เน็ต 5G' ทำคนตกงาน กระทบกลุ่มผลิต-การเงิน-การแพทย์
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ สำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า เทคโนโลยี 5G มีความสำคัญกับการพัฒนาประเทศไทย ในอนาคต แต่หลังจากการประชุมองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) พบว่า การเข้ามาของ 5G ทั้งการใช้เทคโนโลยี IOT หรือ AI คนจะตกงาน 10-30% ถือเป็นข้อห่วงใยของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ถึงแม้จะไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในกลุ่มอุตสาหกรรม รัฐบาลจะเพิ่มองค์ความรู้ให้คนกลุ่มนี้ได้อย่างไร หลายๆ ประเทศต้องคิดว่าถ้าคนกลุ่มนี้ตกงาน ต้องใช้เงินเท่าไหร่
เมื่อ 5G เข้ามาในไทยจะกระทบภาค การผลิตในไทย 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1.ภาคการผลิต ที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมหมวดใช้แรงงานถึง 30-40% ที่ใช้ภาคการผลิต 2.ภาคการเงินการธนาคาร โดยธนาคารจะต้องปิดตัวลงเรื่อยๆ และ 3.ภาคการแพทย์ สาธารณสุข ที่จะต้องปิดตัวลงเช่นกัน นอกจากนี้ภาคการท่องเที่ยวก็กระทบเช่นกัน
ทั้งนี้สิ่งที่จะผลักดันให้เกิด 5G คือรัฐบาลไม่ใช่ผู้ให้บริการหรือโอเปอเรเตอร์เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง รัฐบาลจะต้องเข้ามาช่วย เกิดการสร้างงาน สร้างเงิน สร้างอาชีพ 5G จะมาหนุนภาคอุตสาหกรรม เกิดการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจในภาครวมประเทศ
นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาฯ กสทช. กล่าวว่า กสทช.จะช่วยสนับสนุนคลื่นความถี่ โดยมีราคาเริ่มต้นที่ถูกลง และเปิดประมูลคลื่นความถี่ในย่านต่ำพร้อมกับคลื่นความถี่สูง ยกตัวอย่าง ประเทศเยอรมนี เกาหลี อิตาลี ประมูลคลื่นใหม่ ถูกลง ทั่วโลกใช้วิธีเดียวกันคือ ประเมินราคาจาก ทั่วโลก ในการประมูลคลื่นความถี่รูปแบบการประมูลจะเอาหลายคลื่นมาประมูลพร้อมกัน ซึ่งกสทช.ยังมีเวลาคิดอีก 2 ปีกว่า
ที่มา: แนวหน้า, 18/10/2561 [6]
สปส.แจงผู้ประกันตนชราภาพได้รับเงินครบ ไร้กังวล
นายอนันต์ชัยอุทัยพัฒนาชีพ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการจัดเก็บเงินสมทบกรณีชราภาพมาตั้งแต่วันที่ 31ธันวาคม 2541 และกฎหมายประกันสังคมกำหนดให้ผู้ประกันตนทุกคนที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพหรือบำเหน็จชราภาพตามเงื่อนไขการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนแต่ละคนนั้น ว่า กรณีผู้ประกันตนที่มีการจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน และกรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ทายาทของผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตายส่วนกรณีผู้ประกันตนที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน โดยจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน จะเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพโดยแยกเป็นกรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ ส่วนกรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ เท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน
“การจ่ายเงินสมทบรายเดือนกับกองทุนประกันสังคมนอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ระหว่างการทำงานแล้ว เมื่อถึงวัยเกษียณก็ยังคงอุ่นใจได้ว่ามีเงินออมชราภาพไว้เป็นหลักประกันในชีวิต เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายประกันสังคมที่กำหนดให้จ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเป็นบำนาญรายเดือนให้แก่ผู้ประกันตนไปตลอดชีวิต เพื่อให้ผู้ประกันตนมีเงินพอเลี้ยงชีพทุกเดือนไปจนตลอดชีวิต ทั้งนี้หากสำนักงานประกันสังคมจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียวหรือที่เรียกว่าบำเหน็จ ให้แก่ผู้ประกันตนแล้วผู้ประกันตนทยอยใช้เงินดังกล่าวทุกเดือนในอัตราเดียวกับการรับเงินบำนาญเงินบำเหน็จดังกล่าวจะใช้ได้ประมาณ 5 ปีเท่านั้น”เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าว
ที่มา: คมชัดลึก, 16/10/2561 [7]
รัฐบาลเกาหลีใต้ระบุแรงงานผิดกฎหมาย 36% เป็นคนไทย
รัฐบาลเกาหลี เผยจำนวนแรงงานที่ไม่มีเอกสารการทำงานและอาศัยอยู่เกินอายุวีซ่าประจำเดือน ส.ค. พบแรงงานไทยที่เป็นแรงงานผิดกฎหมายร้อยละ 36 ขณะที่แรงงานจากจีนเป็นแรงงานที่ผิดกฎหมายเพียงแค่ร้อยละ 6 เท่านั้น
กระทรวงยุติธรรมเกาหลีใต้ แถลงการณ์ตัวเลขแรงงานผิดกฎหมายเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ระบุว่าปัจจุบันเกาหลีใต้มีแรงงานผิดกฎหมายทั้งหมด 335,433 คน ซึ่งมีแรงงานชาวไทยที่เข้ามาแบบกฎหมายอยู่ถึงร้อยละ 36 ของจำนวนแรงงานที่ผิดกฎหมายทั้งหมด
ในรายงานของกระทรวง ยังระบุว่า ปัจจุบันเกาหลีใต้มีคนไทยอาศัยอยู่ถึง 188,206 คน และกว่าร้อยละ 65 หรือประมาณ 120,000 เป็นแรงงานที่ไม่มีเอกสารการทำงานและอาศัยอยู่ในเกาหลีใต้เกินอายุวีซ่า ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2016 ทางเกาหลีใต้ได้ส่งแรงงานไทยที่ไม่มีเอกสารการทำงานกลับแล้วกว่า 20,000 คน
นอกจากนี้แรงงานจากคาซัคสถานทั้งหมด 30,525 คน พบว่าเป็นแรงงานที่ผิดกฎหมายถึง 1 ใน 3 ของแรงงานทั้งหมด ขณะที่แรงงานจากจีนที่มีกว่า1 ล้านคน พบว่าเป็นแรงงานที่ผิดกฎหมายเพียงร้อยละ 6.7 เท่านั้น
นายชอง จี ฮุน ตัวแทนพรรครัฐบาล กล่าวว่า ชาวต่างชาติจำนวนมากเข้ามายังเกาหลีใต้กับโปรแกรมยกเว้นวีซ่าและเข้ามาตั้งรกรากอย่างผิดกฎหมายเพื่อทำงานหาเงิน นายซองยังเรียกร้องให้รัฐบาลเกาหลีใต้เร่งแก้ไขและหาทางออกให้กับปัญหาดังกล่าวอย่างเร็วที่สุดด้วย
ปัจจุบันเกาหลีใต้มีแรงงานผิดกฎหมายคิดเป็นร้อยละ 14.5 ของจำนวนชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเกาหลีใต้ที่มีอยู่ 2.3 ล้านคน ซึ่งทั้งนี้เกือบร้อยละ 53 ของแรงงานผิดกฎหมายในเกาหลีใต้เข้าประเทศมาในโปรแกรมยกเว้นวีซ่าที่ทางเกาหลีใต้ยกเว้นให้แก่ประเทศต่างๆ
ที่มา: VoiceTV แปลจาก Korea Times, 16/10/2561 [8]
พนักงาน-ผู้ประกอบการ 'เกาะสิมิลัน' นัดยื่นหนังสือ เห็นผลกระทบอาจถูกเลิกจ้าง
บริษัทนำเที่ยวหมู่เกาะสิมิลัน นัดหยุดให้บริการลูกค้า นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ หลังจากมีมติร่วมกัน ทำให้พนักงาน ลูกจ้าง คนขับรถโดยสาร และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหมู่เกาะสิมิลัน นัดรวมตัวกันที่บริเวณ โรงยิมเอนกประสงค์ โรงเรียนพระราชทานทับละมุ ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา เวลา 14.00 น.วันที่ 15 ต.ค. 2561 นี้ เพื่อยื่นหนังสือความเดือดร้อนให้แก่ทางเจ้าหน้าที่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ที่ถูกผลกระทบเนื่องจากอาจต้องถูกเลิกจ้างงานและว่างงานหากมีการปรับตัวของบริษัททัวร์นำเที่ยว
ที่มา: บ้านเมือง, 15/10/2561 [9]
| ['ข่าว', 'เศรษฐกิจ', 'สังคม', 'แรงงาน', 'คุณภาพชีวิต', 'สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์'] |
https://prachatai.com/print/79244 | 2018-10-21 02:45 | 'ฟรานซิส ฟุกุยามะ' ให้สัมภาษณ์สื่อระบุ 'สังคมนิยมจะต้องกลับมา' | ผู้เขียนหนังสือ 'จุดจบของประวัติศาสตร์' (The End of History and the Last Man) ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางและถูกมองว่าเป็นการบรรยายถึงชัยชนะของ 'เสรีนิยมประชาธิปไตย' ในยุคสงครามเย็น กล่าวให้สัมภาษณ์ต่อนิตยสารเดอะนิวสเตทส์แมนของอังกฤษว่าประชาธิปไตยโลกกำลังประสบปัญหาในเรื่องความไม่เสรีซึ่งเป็นไปตามที่เขาระบุไว้ในบทหนึ่งของหนังสือ และเขายอมรับว่าสิ่งที่คาร์ล มาร์กซ์ พูดไว้เกี่ยวกับปัญหาความไม่เท่าเทียมในการกระจายผลผลิตเป็นการคาดการณ์ได้ถูกต้อง
ฟรานซิส ฟุกุยามะ นักทฤษฎีทางการเมืองผู้ที่เคยเขียนถึงเรื่อง 'จุดจบของประวัติศาสตร์' (The End of History and the Last Man) ที่มาภาพ: Fronteiras do Pensamento (CC BY-SA 2.0) [1]
สื่อนิวสเตทส์แมนระบุว่าประวัติศาสตร์กำลัง 'ตามชำระ' ฟรานซิส ฟุกุยามะ นักทฤษฎีทางการเมืองผู้ที่เคยเขียนถึงเรื่อง 'จุดจบของประวัติศาสตร์' ในช่วงหลังสงครามเย็นใหม่ๆ ระบุว่า จุดสิ้นสุดของวิวัฒนาการทางการเมืองอาจจะเป็นการปลดแอกทางเสรีนิยมประชาธิปไตยจากโลกตะวันตก แต่ผ่านมา 26 ปี หลังจากที่เขาระบุถึงเรื่องนี้ไว้ ก็เกิดปรากฏการณ์ที่โลกกำลังประสบกับการเมืองในแบบที่ไร้เสรีภาพแพร่กระจายไปในหลายแห่งของโลก ซึ่งเขาจะเขียนถึงเรื่องนี้ไว้ในหนังสือเล่มใหม่ที่ชื่อ "Identity: The Demand for Dignity and the Politics of Resentment" (อัตลักษณ์ : ความต้องการศักดิ์ศรีและการเมืองแห่งความไม่พอใจ)
อย่างไรก็ตาม ฟุกุยามะให้สัมภาษณ์โต้ตอบนักวิจารณ์ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้เขาเคยพูดถึงไว้ในหนังสือเช่นกันโดยเฉพาะในบทสุดท้ายที่ชื่อ 'มนุษย์คนสุดท้าย' (The Last Man) ที่เกี่ยวกับภัยที่จะเกิดกับประชาธิปไตย "สิ่งที่ผมพูดไว้เมื่อตอนนั้น (ปี 2535) คือว่าปัญหาของประชาธิปไตยสมัยใหม่ได้ให้สันติภาพและความมั่งคั่งแก่ผู้คนก็จริง แต่ผู้คนต้องการมากกว่านั้น... เสรีนิยมประชาธิปไตยไม่ได้แม้แต่จะให้นิยามไว้เลยว่าชีวิตที่ดีคืออะไร มันปล่อยให้เป็นเรื่องของปัจเจก คนที่รู้สึกแปลกแยก ไร้เป้าหมายในชีวิต และนั่นทำให้ทำไมการเข้าร่วมกับกลุ่มอัตลักษณ์ต่างๆ ทำให้พวกเขารู้สึกได้ถึงความมีชุมชนในระดับหนึ่ง" ฟุกุยามะกล่าว
ถึงแม้ว่าฟุกุยามะจะมีเชื้อสายญี่ปุ่นแต่เขาก็เกิดในสหรัฐฯ และนิยามตัวเองว่าเป็นคนอเมริกันเต็มตัว เขาเคยศึกษาด้านปรัชญาการเมืองกับอลัน บลูม ผู้ที่ในยุคนั้นเป็นกลุ่มขบวนการอนุรักษ์นิยมใหม่ และยังเป็นศิษย์ของพอล วูล์ฟโฟวิตซ์ ขณะทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาลในสมัยโรนัลด์ เรแกน และจอร์จ ดับเบิลยู บุช อย่างไรก็ตามมีหลายเรื่องที่ฟุกุยามะไม่เห็นด้วยกับอาจารย์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำสงครามอิรัก การลดการกำกับดูแลเรื่องการเงิน และนโยบายที่ไร้ประสิทธิภาพของผู้นำยุโรป เขาบอกว่านโยบายที่เน้นชนชั้นนำผลออกมาแล้วคือหายนะมันจึงเข้าใจได้ว่าทำไมคนถึงไม่พอใจ
หนังสือ 'จุดจบของประวัติศาสตร์' แสดงความคิดเห็นคัดค้านแนวคิดของมาร์กซิสต์ จากเรื่องที่คาร์ล มาร์กซ์ ระบุว่าคอมมิวนิสม์จะเป็นอุดมการณ์สุดท้ายของมนุษยชาติ และเมื่อนิวสเตทส์แมนถามฟุกุยามะว่าเขารู้สึกอย่างไรกับการผุดขึ้นอีกครั้งของฝ่ายซ้ายสังคมนิยมในสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ฟุกุยามะก็ระบุว่ามันขึ้นอยู่กับว่าผู้ถามนิยามสังคมนิยมว่าอย่างไร ถ้าหากเป็นสังคมนิยมในแง่ของความเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตฟุกุมายะมอองว่ามันจะไม่เป็นผล แต่ถ้าเป็นสังคมนิยมในแง่ของโครงการกระจายทรัพยากร การกระจายรายได้และความมั่งคั่งให้มีความเสมอภาคมากขึ้น มันควรจะกลับมาแน่ๆ
ฟุกุมายะชี้ว่าการปล่อยให้ตลาดขาดการกำกับดูแลจะส่งผลหายนะมากมายหลายทาง เช่นเป็นการทำลายสหภาพแรงงาน ลดอำนาจการต่อรองของคนทำงานทั่วไป ทำให้เกิดชนชั้นคณาธิปไตยไม่กี่คนที่ใช้อำนาจทางการเมืองอย่างล้นเหลือ และในแง่ของการเงินก็ส่งผลให้เกิดวิกฤตทางการเงิน ในสหภาพยุโรปก็เกิดการใช้นโยบายรัดเข็มขัดปรับลดงบประมาณรัฐจากแนวทางของเยอรมนีที่ส่งผลเสียอย่างหนักต่อยุโรปใต้ และในแง่นี้เองที่ฟุกุยามะบอกว่าสิ่งที่มาร์กซ์เคยพูดไว้เป็นเรื่องจริง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการผลิตแบบล้นเกินความต้องการ การทำให้คนงานยากจนและเกิดภาวะขาดแคลน
แต่ฟุกุยามะก็มองว่าสิ่งที่จะมาเป็นปฏิปักษ์กับเสรีนิยมประชาธิปไตยนั้นไม่ใช่สังคมนิยม แต่เป็นโมเดลทุนนิยมโดยรัฐของรัฐบาลจีนโดยอ้างว่าจีนจะเหนือกว่าถ้าหากทำให้เกิดเสถียรภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้ สิ่งที่ท้าทายคือรัฐบาลจะจัดการกับปัญหาเศรษฐกิจอย่างไร ฟุกุยามะกล่าวอีกว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดสงครามระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นได้สูงว่าจะเกี่ยวกับประเด็นความขัดแย้งต่อพื้นที่ไต้หวัน หรือเรื่องของเกาหลีเหนือ หรืออาจจะมาจากการเผชิญหน้ากันถ้าหากเกิดการยกระดับข้อพิพาทพื้นที่ทะเลจีนใต้
อย่างไรก็ตามฟุกุยามะก็บอกกับผู้รักเสรีนิยมประชาธิปไตยทั้งหลายว่าขอให้ใจเย็นลงก่อนและอย่าเพิ่งคิดไปเองว่า 'ประชาธิปไตยในแบบที่ไม่เสรี' จะถึงขั้นกลายเป็น 'จุดจบทางประวัติศาสตร์ใหม่'
เรียบเรียงจาก
Francis Fukuyama interview: “Socialism ought to come back”, New States Man, 17-10-2018https://www.newstatesman.com/culture/observations/2018/10/francis-fukuyama-interview-socialism-ought-come-back [2]
ข้อมูลเพิ่มเติมจากhttps://en.wikipedia.org/wiki/The_End_of_History_and_the_Last_Man [3]
| ['ข่าว', 'ต่างประเทศ', 'จุดจบของประวัติศาสตร์', 'ฟรานซิส ฟุกุยามะ', 'เสรีนิยมประชาธิปไตย', 'สังคมนิยม', 'การเมืองเรื่องอัตลักษณ์', 'สหรัฐอเมริกา', 'จีน'] |
https://prachatai.com/print/79245 | 2018-10-21 12:01 | นักเศรษฐศาสตร์ชี้หากเลื่อนเลือกตั้ง จะทำเศรษฐกิจชะลอตัวลงอีก | คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต ประเมินตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/2561 และขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย หากมีเลื่อนการเลือกตั้งจาก 24 ก.พ. 2562 อีกจะส่งผลกระทบทำให้ภาคการลงทุนและเศรษฐกิจชะลอตัวลงมากในช่วงไตรมาส 4/2561-ไตรมาส 1/2562
ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
21 ต.ค. 2561 ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ประเมินถึงเศรษฐกิจไทยไตรมาสสี่และแสดงความเห็นถึงศักยภาพในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทยในอนาคตว่าอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้จะมีอัตราการเติบโตลดลงเนื่องจากผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและประเทศคู่ค้ามีการปรับการคาดการณ์เศรษฐกิจจีนเติบโตลดลงจากระดับ 6.7% ในปีนี้เป็น 6.2% และอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็ถูกปรับลดลงจาก 2.7% เป็น 2.5% ผลกระทบสงครามการค้าเริ่มส่งผลต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกจากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 3.9% ลดลงเหลือ 3.7% และปริมาณการค้าโลกชะลอตัวลงชัดเจนขึ้นในไตรมาส 4 ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวสูงขึ้นโดยค่าเฉลี่ยอาจขึ้นไปแตะระดับ 80 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น รวมทั้งต้นทุนทางการเงินเพิ่มสูงขึ้นจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ราคาสินทรัพย์ทางการเงินโดยเฉพาะสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวลดลง
โดยคาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 เทียบกับระยะเวลาเดียวกันกับปีที่แล้วจะอยู่ที่ 4.2-4.3% ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับการเติบโตครึ่งปีแรก (เทียบไตมาส 1 ขยายตัว 4.9% ไตรมาส 2 ขยายตัว 4.6%) การที่เศรษฐกิจยังคงขยายตัวได้มากกว่า 4% เป็นผลจากการเร่งรัดการลงทุนภาครัฐ อัตราการใช้กำลังการผลิตในหลายอุตสาหกรรมปรับตัวสูงขึ้นและสูงกว่า 70% ไม่ต่ำกว่า 5 รายอุตสาหกรรมทำให้การลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวต่อเนื่อง ความชัดเจนเรื่องการเลือกตั้งและกิจกรรมการเลือกตั้งส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นในภาพรวม ภาคส่งออกและภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดี
ผศ.ดร.อนุสรณ์ ระบุว่าอย่างไรก็ตามหากการจัดการเลือกตั้งไม่เสรีและไม่เป็นธรรมจะส่งผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจและทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนสั่นคลอน ไม่มั่นใจต่ออนาคตของประเทศ รวมทั้งอาจนำไปสู่การเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจในอนาคต การเลื่อนการเลือกตั้งไปเรื่อยๆ ก็จะสร้างปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมืองไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน การจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมรวมทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยและออกแบบให้รัฐบาลมีเสถียรภาพจึงมีความสำคัญต่อประเทศและคุณภาพชีวิตของประชาชน หากมีเลื่อนการเลือกตั้งจาก 24 ก.พ. 2562 อีกจะส่งผลกระทบทำให้ภาคการลงทุนและเศรษฐกิจชะลอตัวลงมากในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ต่อเนื่องถึงไตรมาส 1 ปีหน้า
การจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในไตรมาส 4 ปีนี้ต่อเนื่องไปถึงไตรมาส 1 ปีหน้า การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมจะนำมาสู่เสถียรภาพทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง ส่งผลดีต่ออัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนและเศรษฐกิจไทยในอนาคต ไม่ควรวิตกกังวลการเคลื่อนไหวทางการเมืองจะนำมาสู่ความขัดแย้งเผชิญหน้าหรือวิกฤตการณ์ทางการเมือง การไม่ปลดล็อคทางการเมืองต่างหากจะสร้างปัญหาและนำไปสู่ความรู้สึกว่ามีการจัดการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม การกดทับสิทธิเสรีภาพต่างหากที่จะสร้างปัญหาความขัดแย้งรุนแรงและทำให้ปัญหามีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ส่วนการเคลื่อนไหวหลังการเลือกตั้งเพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่อยู่บนพื้นฐานหลักการประชาธิปไตยจะนำประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่สอดคล้องกับพลวัตเศรษฐกิจการเมืองโลกมากกว่าซึ่งจะส่งผลบวกต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาว ระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงและมีเสถียรภาพจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้ดีกว่าสิทธิประโยชน์พิเศษทั้งหลายที่มอบให้นักลงทุนต่างชาติ และระบบนิติรัฐ ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจจะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยให้แข็งแกร่งขึ้น
ผศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวอีกว่าเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจอย่างยิ่งที่ความสามารถในการแข่งขันของไทยล่าสุดปี 2561 ปรับตัวลดลงทั้งที่รัฐบาลชุดนี้มีการเร่งรัดโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ Hard Infrastructure จำนวนมาก แต่ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพิ่มเติม ดูแลทางด้านสาธารณสุข การศึกษา และ สิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นเพราะล่าสุดมีอันดับที่ลดลง นอกจากนี้โครงสร้างพื้นฐานที่เป็น Soft Infrastructure ต้องพัฒนาให้ดีขึ้น ทั้งระบบนิติรัฐ ระบบกฎหมาย การแก้ปัญหาการคอร์รัปชันและสถาบันในระบอบประชาธิปไตย ในระยะยาวแล้วเศรษฐกิจไทยจะต้องเติบโตบนฐานนวัตกรรมและผลิตภาพเนื่องจากการขยายตัวของแรงงานและทุนมีข้อจำกัดและเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประเทศไทยนั้นยังลงทุนทางด้านนวัตกรรมน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'เศรษฐกิจ', 'สังคม', 'คุณภาพชีวิต', 'อนุสรณ์ ธรรมใจ', 'การเลือกตั้ง'] |
https://prachatai.com/print/79246 | 2018-10-21 12:20 | สปสช.ประกาศกองทุนสุขภาพตำบลฉบับใหม่ หนุนท้องถิ่น-อปท.ร่วมดูแลสุขภาพประชาชน | สปสช.หนุน อปท.ทั่วประเทศ ปี 2562 รุก 'กองทุนสุขภาพท้องถิ่นระดับตำบล' ขับเคลื่อนใช้ 'ประกาศหลักเกณฑ์ดำเนินงานกองทุนฉบับใหม่' แก้ปัญหา อุปสรรค สอดคล้องการดำเนินงานในพื้นที่ เน้นสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ร่วมดูแลสุขภาพประชาชน
21 ต.ค. 2561 นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า “กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่” เป็นกลไกสำคัญภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มุ่งให้เกิดการดูแลสุขภาพประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม โดยขับเคลื่อนตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา เน้นสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในพื้นที่ มีหลายพื้นที่ได้ดำเนินการจนประสบผลสำเร็จ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงได้มีการออก “ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561” ลงนามโดย ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นการแก้ไขประกาศฉบับเดิม และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ประกาศฉบับนี้มีเนื้อหาสอดคล้องกับมาตรา 47 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และแนวทางดำเนินการโดยกระทรวงมหาดไทย มุ่งส่งเสริมบทบาทกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นฯ ทั้งประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุข จัดทำแผนสุขภาพชุมชน ส่งเสริมสุขภาพให้มีมาตรการและกติกาทางสังคม พัฒนการบริหารจัดการกองทุนให้มีธรรมาภิบาล สร้างความเป็นเจ้าของกองทุน และจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อกับสุขภาพของคนในชุมชน
พร้อมสนับสนุนแนวทางดำเนินกิจกรรมกองทุนใน 5 ประเภท คือ 1.การจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข 2.การจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคขององค์กรหรือกลุ่มประชาชน หรือหน่วยงาน 3.การจัดบริการสาธารณสุขของศูนย์เด็กเล็กหรือศูนย์ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหรือคนพิการในชุมชน 4.สนับสนุนค่าใช้จ่ายบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพของ อปท.ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับกองทุน และ 5.สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์
นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่าสาระสำคัญของประกาศฉบับใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม อาทิ ปรับถ้อยคำให้ชัดเจนและเอื้อต่อการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนมากขึ้น, เพิ่มวงเงินค่าครุภัณฑ์ที่ต้องใช้ในโครงการขององค์กรหรือกลุ่มประชาชนเป็น 10,000 บาท, ยกเลิกการกำหนดบทยุบเลิกกองทุน เป็นการใช้มาตรการทางบริหารกำกับ ติดตามและกระตุ้นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง, นำรายได้ตามขนาด อปท.มาเป็นเกณฑ์กำหนดอัตราสมทบ, ยกเลิกกำหนดวงเงินไม่เกินร้อยละ 15 ในการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เพื่อลดการมีเงินคงเหลือในกองทุน, และการยกเลิกการกำหนดอัตราชดเชยค่าบริการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care: LTC) เพื่อไม่ให้เป็นข้อจำกัดเกี่ยวกับอัตราชดเชยและรองรับกรณีมีการเพิ่มวงเงินในการสนับสนุนในอนาคต โดยให้เป็นดุลยพินิจของคณะอนุกรรมการ LTC เป็นต้น
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในประกาศกองทุนฯ ฉบับใหม่นี้ เป็นไปตามความเห็นและข้อเสนอแนะจากอนุกรรมการตรวจสอบ สปสช., สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และข้อเสนอจากกระบวนการรับฟังความเห็น 4 ภาคร่วมกับ อปท. โดยมีคณะทำงานจัดทำข้อเสนอปรับปรุง และได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย คณะอนุกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
“ประกาศกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในระดับท้องถิ่นฯ ฉบับนี้ เชื่อว่าจะส่งผลให้ อปท.ทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีความชัดเจนในทางปฏิบัติและเป็นไปทิศทางเดียวกัน รองรับการเบิกจ่ายกองทุนให้ดำเนินไปอย่างถูกต้อง นำไปสู่การสร้างประโยชน์ด้านสุขภาพให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นฯ จากนี้ไป จะเป็นส่วนสำคัญของการสร้างความร่วมมือระหว่างท้องถิ่นและชุมชนในอนาคต เพื่อร่วมดูแลสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทั่วประเทศต่อไป” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
| ['ข่าว', 'สังคม', 'คุณภาพชีวิต', 'สปสช.', 'กองทุนสุขภาพท้องถิ่นระดับตำบล', 'สุขภาพ', 'อปท.', 'ท้องถิ่น'] |
https://prachatai.com/print/79247 | 2018-10-21 13:41 | 'Promised Land ประเทศเทา' หนังสือชุดภาพถ่ายในดินแดนแห่งความไม่คลี่คลาย | บทสัมภาษณ์สั้นกับ ธิติ มีแต้ม และ ปฏิภัทร จันทร์ทอง กลุ่มช่างภาพ Realframe ผู้ทำหนังสือรวมความเรียงและบทสัมภาษณ์พร้อมชุดภาพถ่าย ‘Promised Land ประเทศเทา’ ด้วยสายตาของ photojournalism ผู้เห็นสภาวะความไม่คลี่คลายทั้งในและนอกประเทศ ในยามประชาธิปไตยสลัว
ภาพจาก Realframe
หนังสือปกแข็งหนาเกือบนิ้วครึ่ง รูปขาวดำเสี้ยวหน้าของทหารหนุ่มจ้องมองผ่านแนวกั้นด้วยดวงตาดำสนิทพร้อมประกายเล็กสว่างวาบที่นัยน์ตาคือหน้าปกของหนังสือเล่มนี้
‘Promised Land ประเทศเทา’ คือหนังสือรวมความเรียงและบทสัมภาษณ์พร้อมชุดภาพถ่าย ของ ธิติ มีแต้ม ร่วมแจมภาพและบรรณาธิการภาพโดย ปฏิภัทร จันทร์ทอง ในฐานะสมาชิก ‘Realframe’ ที่พวกเขาให้คำจำกัดความว่า คือหนังสือ “ภาพถ่ายและบทสนทนายามประชาธิปไตยสลัว” รวม 15 เรื่อง โดยมีภาพถ่าย 178 หน้า จากทั้งหมด 432 หน้า
เนื้อหาไล่เรียงตั้งแต่เรื่องชาวทิเบตอพยพ / หนึ่งปีหลังแผ่นดินไหวเนปาล / รัฐประหารอียิปต์ / ชีวิตผู้ลี้ภัยชาวพม่าและการมาเยือนไทยของ ‘เดอะ เลดี้’ / คนหนุ่มแห่งปาตานี / ในนามแม่เหยื่อกระสุนในเขตอภัยทาน / ชีวิตรักของภรรยาชายขับแท็กซี่ที่พุ่งชนรถถัง / กัญชาทางการแพทย์ / บันทึกการบาดเจ็บล้มตายและการหยัดยืนของสามัญชนตั้งแต่บนถนนถึงเรือนจำฯ / ปิดท้ายด้วยเรื่อง “อำลา มหากาฬ” โดยบรรณาธิการภาพ
ประชาไทชวนคุยกับ ธิติ มีแต้ม และ ปฏิภัทร จันทร์ทอง ถึงที่มาที่ไปของหนังสือเล่มนี้ รวมทั้งแนวคิดเบื้องหลังวิธีการเลือกและร้อย 15 เรื่องราวรวมทั้งรูปภาพเข้ามาอยู่ในเล่ม
ธิติ มีแต้ม: ประเทศเทา สภาวะไม่คลี่คลาย วาทกรรมที่ครอบงำในสังคมที่ขาดการค้นคว้าข้อมูลความจริง
ธิติ มีแต้ม (แฟ้มภาพ)
จุดเริ่มต้นอาจตั้งแต่ตอนเราทำข่าวรายวัน มีโอกาสได้เดินทางไปอียิปต์ตอนช่วงหลังรัฐประหาร หลังจราจลใหม่ๆ ไม่ได้เห็นสภาวะตอนจราจลแต่เห็นสภาวะที่บ้านเมืองไม่ปกติ มีรถถังจอดทุกมุมเมือง นี่เป็นเรื่องหนึ่งที่จุดประกายความเป็นสื่อที่มองออกไปนอกบ้านตัวเอง ซึ่งเกิดหลังการสลายชุมนุมปี 53 แต่เหตุการณ์ในปี 53 ก็อยู่ในใจเรามานาน เรามีภาพที่บันทึกไว้แล้ว มีเรื่องที่สะสมมาจากในกระบวนการค้นหาความจริง
เมื่อเรากลับไปดูงานทั้งหมดที่ทำ เราก็เห็นว่าที่ยังไม่คลี่คลายไม่ได้มีแค่ไทยแต่มีที่อื่นด้วย เราเลยคิดว่าถ้าพูดถึงประเทศเทา มันคือความไม่คลี่คลาย ความย้อนแย้งของสังคม ไมใช่แค่ประเทศไทย ประเทศอื่นเองก็ประสบปัญหาไม่ต่างกัน บ้านเมืองถูกกระทำอะไรบางอย่างโดยผู้มีอำนาจ ผู้คนลุกขึ้นต่อสู้ ผู้คนบาดเจ็บล้มตาย
คำว่า Promised Land ในมุมมองของผู้มีอำนาจก็อาจหมายถึงคำสัญญาว่าจะปกครองบ้านนี้เมืองนี้ แต่ในสายตาของประชาชนชนที่อยู่ใต้อำนาจก็หมายถึงคำสัญญาที่จะมีชีวิตอยู่ เพื่อต่อสู้ เพื่อทำสิ่งที่มุ่งมั่นตั้งใจให้สำเร็จอย่างกรณีแม่น้องเกดเขาก็สัญญาว่าจะต้องทวงความเป็นธรรมให้กับลูกสาว
นอกจากนี้เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในบ้านเราตั้งแต่ 6 ตุลา 19, พฤษภา 35, หรือการสลายการชุมนุม นปช. ในปี 53 แม้จะมีการจัดงานรำลึก แต่เรามองว่ามันคือแค่การจัดงานรำลึกแล้วก็ผ่านไป เราเลยชื่นชม อ.ธงชัย และอ. พวงทอง ที่ลุกขึ้นมาบอกว่าเหยื่อในเหตุการณ์ 6 ตุลา เขามีชื่อ มีตัวตนอยู่จริงๆ และสิ่งนี้จะนำไปสู่จุดเริ่มต้นของกระบวนการยุติธรรม เพียงแต่กระบวนการยุติธรรมในเชิงโครงสร้างก็ยังเป็นสิ่งที่เราต้องรอต่อไป และเราก็ยังอยากให้มันมีความหวังเมื่อมองถึงอนาคต
เช่นเดียวกับลุงนวมทอง ซึ่งกลายเป็นฮีโร่ของฝ่ายประชาธิปไตย แต่สำหรับเราเขาไม่ใช่แค่สัญลักษณ์ เราอยากทำความรู้จักเขาในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่มีคนรักมีครอบครัว และเมื่อเราได้ทำความรู้จักพวกเขาเหล่านี้จริงๆ ทั้งลุงนวมทอง หรือทั้งเหยื่อในเหตุการณ์ความรุนแรงหรือจากความอยุติธรรมของรัฐ มันอาจจะทำให้ความรู้สึกขมขื่นนั้นหายไป และแทนที่ด้วยการมีสายตาที่สามารถมองเห็นปัญหาเชิงโครงสร้าง
หรืออย่างเรื่องกัญชา แม้อาจจะดูโดดกว่าเรื่องอื่นในแง่ที่มันไม่ใช่การเมืองบนท้องถนน แต่เราคิดว่ามันคือภาพสะท้อนของสิทธิในการเข้าถึงการรักษาของประชาชน ที่แม้ว่าวิทยาศาสตร์จะพิสูจน์ว่ากัญชาสามารถรักษาโรคได้แต่ทำไมประชาชนยังไม่สามารถเข้าถึง มันเต็มไปด้วยวาทกรรมทางศีลธรรมว่ามันคือยาเสพติด ซึ่งสังคมไทยไปไม่พ้นจากเรื่องนี้ สื่อเองก็เช่นกันที่ผลิตซ้ำวาทกรรมแบบเดิมทั้งที่ประเทศที่เจริญแล้วเปลี่ยนกฎหมายให้กัญชากลายเป็นของที่สามารถใช้ได้ เพื่อการรักษา เพื่อสันทนาการในไทยความรู้เกี่ยวกับกัญชาก็หาได้ง่ายนิดเดียว แต่คนก็ยังถูกวาทกรรมครอบงำไว้ มันสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยขาดการค้นคว้าหาข้อมูลและความจริง ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องกัญชา แต่คือเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองทั้งหมดที่ผ่านมาด้วย
ปฏิภัทร จันทร์ทอง: ใม่ใช่แค่ภาพผู้หญิงร้องไห้ แต่คือคนที่เรารู้ว่าเขาเผชิญความลำบากอะไรในชีวิตมาบ้าง
ปฏิภัทร จันทร์ทอง (แฟ้มภาพ)
ในฐานะเป็นบรรณาธิการภาพ วิธีทำงานคือจะเริ่มจากการอ่านงานของป่าน (ธิติ มีแต้ม) ก่อน จะมีชุดรูปซึ่งป่านโยนมาให้เราเป็นคนเลือก ส่วนใหญ่ก็จะจัดวางลำดับรูปตามการเล่าเรื่อง และเรียงตามจังหวะอารมณ์ หรือรูปไหนต้องเอามาอยู่ในหน้าคู่กัน อย่างเรื่อง ‘เบื้องหน้าเราๆ ท่านๆ’ ซึ่งพูดถึงสถานการณ์การเมือง การชุมนุม นปช., กปปส. การชุมนุมต้านรัฐประหาร ส่วนใหญ่เราจะเลือกรูปเรียงตามไทม์ไลน์ แต่จะมีบ้างที่ดึงเอารูปมาเทียบกัน เช่น วิธีที่ทหารปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมที่ต่อต้านและสนับสนุน ก็จะเห็นความต่างอยู่
มีเรื่องหนึ่งซึ่งเราสนใจก็เลยถ่ายรูปและเขียนสั้นๆ ด้วย คือเรื่อง ‘อำลา มหากาฬ’ ปกติเราเป็นช่างภาพข่าว ซึ่งวิธีการทำงานของช่างภาพข่าวนั้นจะไม่ได้ใช้เวลานานมากกับคนที่เราไปถ่าย และอาจจะไม่ได้คุยกับคนเหล่านั้น เพราะด้วยเงื่อนไขของความเป็นข่าวที่ต้องมีเดดไลน์ เป็นข่าววันนี้ พรุ่งนี้ก็อาจเปลี่ยนเป็นเรื่องอื่น แต่ในประเด็นนี้เราได้มีโอกาสลงไปพูดคุยกับคนที่ได้รับผลกระทบด้วย และไปอยู่หลายครั้ง บางครั้งก็ไปคุยแบบไม่ถ่ายรูปก็มี ซึ่งทำให้เรารู้สึกว่ามันมีความแตกต่างระหว่างการไปถ่ายรูปเขาอย่างเดียว กับการไปคุยกับเขาด้วย
แน่นอนว่ารูปที่ออกมาเราบอกไม่ได้ชัดเจนว่ามันจะเป็นรูปที่ดีกว่า ลึกกว่า แต่มันทำให้เราอินกับเรื่องที่เขาเผชิญจริงๆ ในรูปที่เราถ่ายเขา มันอาจเป็นรูปของผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังร้องไห้ แต่จริงๆ เรารู้จักเขากว่านั้น เรารู้ว่าเขาเผชิญกับความยากลำบากอะไรในชีวิตมาบ้าง มันทำให้เราเห็นเขาเป็นมนุษย์ไม่ใช่เป็นแค่วัตถุของการถ่ายภาพ
5 พิกัด หนังสือ Promised Land ประเทศเทา ในงานหนังสือที่ศูนย์ฯสิริกิติ์ 17-28 ต.ค.นี้ ได้แก่....E 02 P.S. Publishing - โซน Plenary HallO 29 สำนักพิมพ์คมบาง - โซน C1N 02 Bookscape - โซน C1S 39 ฟ้าเดียวกัน - โซน C2S 39 Illuminations editions - โซน C2.สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกไปที่งาน สามารถสั่งซื้อได้ที่เพจ Realframe และ Thiti Driver View - Photography ราคาหนังสือ 500 บาท (ส่ง ems +50 บาท).ดูรายละเอียดหนังสือที่นี่ www.facebook.com/314651441979641/posts/1747508912027213/
| ['ข่าว', 'สังคม', 'วัฒนธรรม', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'ธิติ มีแต้ม', 'ปฏิภัทร จันทร์ทอง', 'Realframe', 'Promised Land', 'ประเทศเทา', 'ภาพถ่าย', 'หนังสือ'] |
https://prachatai.com/print/79248 | 2018-10-21 15:34 | โพลระบุประชาชนเห็นว่า 'ประยุทธ์' เล่นโซเชียลเพื่อวัดความนิยม-หวังผลทางการเมือง | สวนดุสิตโพลเผยประชาชนกว่า 42% เห็นว่า 'ประยุทธ์' เล่นโซเชียลเพื่อวัดความนิยม-หวังผลทางการเมือง 42.92% เห็นว่าเป็นการหาเสียงเพราะใกล้เข้าสู่ช่วงเลือกตั้ง
21 ต.ค. 2561 สำนักข่าวไทย [1] รายงานว่าสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนในหัวข้อประชาชนคิดอย่างไร กับ "เพจ นายกรัฐมนตรี" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้เปิดตัวเพื่อเป็นช่องทางสื่อสารกับประชาชนทั้ง เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม โดยสำรวจความเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,165 คน ระหว่างวันที่ 17- 20 ต.ค. 2561
โดยประชาชนร้อยละ 42.75 เห็นว่า เป็นการหยั่งเสียง วัดความนิยม หวังผลทางการเมือง ร้อยละ 24.67 เห็นว่ามีทั้งกระแสตอบรับที่ดีและคัดค้าน และร้อยละ 23.47 เห็นว่าเป็นสิทธิ์ของนายกฯ ทุกคนสามารถมีได้ในโลกยุคออนไลน์ส่วนประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการเปิดเพจนายกฯ นั้น ร้อยละ 51.60 เห็นว่าสามารถติดต่อแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ หรือปัญหาต่างๆได้สะดวก รวดเร็ว รองลงมาเห็นว่า มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นเสนอแนวคิดและความต้องการของประชาชน และรับรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวเห็นการทำงานของนายกฯ
อย่างไรก็ตาม ประชาชนร้อยละ 42.92 เห็นว่าการเปิดเพจนายกฯ เป็นการหาเสียง เพราะใกล้เข้าสู่ช่วงเลือกตั้ง และเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้ดี และเป็นการประชาสัมพันธ์ผลงาน เพื่อสร้างคะแนนนิยม ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 39.45 เห็นว่าพลเอกประยุทธ์ ควรวางตัวอย่างเป็นกลาง ยุติธรรมใช้อำนาจในทางที่ถูกต้องและเหมาะสม ในช่วงที่จะมีการเลือกตั้งในช่วงต้นปีหน้า และขอให้ตั้งใจทำงานปฎิบัติหน้าที่ตามปกติ จนกว่าจะหมดวาระ เดินหน้าตามโรดแมป และสานต่อนโยบายที่วางไว้
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สังคม', 'คุณภาพชีวิต', 'สวนดุสิตโพล', 'โพล', 'ประยุทธ์ จันทร์โอชา', 'การเลือกตั้ง'] |
https://prachatai.com/print/79249 | 2018-10-21 16:00 | เสวนาเชิงปฏิบัติการ 'Self Defense Lab' ฝึกป้องกันตัวเอง-ช่วยเหลือผู้อื่นหากถูกคุกคามทางเพศ | รวมพลังทีมเผือกคึกคักกว่า 100 ชีวิต กิจกรรมทีมเผือก “Self Defense Lab ปฏิบัติการเผือก เพื่อเพื่อนรอด เราปลอดภัย” ฝึกป้องกันตัวเอง-ช่วยเหลือผู้อื่นหากถูกคุกคามทางเพศ พร้อมเปิด 5 วิธีเผือกช่วยเพื่อนรอดจากการถูกคุกคามทางเพศ ด้านภาคีเครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง เล็ง จัดทำชุดความรู้เผยแพร่ในโรงเรียน หลังพบนักเรียนมัธยมตกเป็นเป้าหมาย พร้อมเตรียมจัดทำวีดีโอ ให้ความรู้ประชาชนบนรถ บขส. เปิดตัวเลข 1 ปีก่อตั้งทีมเผือกมีสมาชิกเพิ่มกว่า 500 คน ระบุสร้างพลังให้คนกล้าพูด-กล้าช่วยผู้ถูกคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น ด้าน 'ซินดี้' วอนทุกฝ่ายในสังคมเข้าร่วมเป็นทีมเผือกเป็นหูเป็นตายับยั้งภัยคุกคามทางเพศ
21 ต.ค. 2561 ที่ Crossover Gym ภาคีเครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง ประกอบด้วย องค์การแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย, แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ ภายใต้สมาคมเพศวิถี, มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เครือข่ายสลัมสี่ภาคร่วมกับโครงการ “Don’t tell me how to dress” จัดกิจกรรมทีมเผือก “Self Defense Lab ปฏิบัติการเผือก เพื่อเพื่อนรอด เราปลอดภัย” เพื่อร่วมเรียนรู้แนวทางในการช่วยเหลือตนเอง ช่วยเหลือบุคคลอื่นจากการถูกคุกคามทางเพศ และการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากการเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ที่ถูกคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ถือเป็นการแสดงพลังของทีมเผือก ที่จะไม่เงียบ ไม่นิ่งเฉย เพราะการถูกคุกคามทางเพศไม่ใช่เรื่องไกลตัว นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัวทีมเผือกจากประชาชนทั่วประเทศกว่า 100 คนด้วย
นางสาวรุ่งทิพย์ อิ่มรุ่งเรือง ผู้จัดการฝ่ายโครงการและนโยบาย องค์การแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย กล่าวถึงสถานการณ์และความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาการคุกคามทางเพศบนรถโดยสารสาธารณะว่าที่ผ่านมาเรามักจะเห็นว่าสถานการณ์การถูกคุกคามทางเพศบนรถสาธารณะ คนที่ถูกคุกคามไม่กล้าที่จะตอบโต้กับสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งในหลายเหตุการณ์คนที่อยู่รอบข้างสามารถช่วยเหลือการคุกคามเหล่านั้นได้ จึงตั้งทีมเผือกขึ้นมา เพื่อสร้างความตระหนักให้กับผู้โดยสารรถขนส่งสาธารณะ ให้มีความตื่นตัวกับการถูกคุกคามทางเพศ และ ยังสามารถหยุดการคุกคามทางเพศ หรือ ช่วยเหลือ คนที่ถูกคุกคามทางเพศได้ รวมถึงการสอดล่องดูแลพฤติกรรมการคุกคามทางเพศในระบบสาธารณะ โดยหลังจากมีการจัดตั้งทีมเผือกเห็นได้ชัดว่าประเด็นเหล่านี้มีการนำเสนอผ่านสื่อมากขึ้น ขณะเดียวกันผู้ที่ถูกคุกคามก็กล้าพูดมากขึ้น กล้าตอบโต้ และไม่นิ่งเฉยอย่างน้อยทำให้ผู้คนเห็นว่าเรื่องการถูกคุกคามทางเพศไม่ใช่เรื่องน่าอาย
“ยังมีตัวชี้วัดที่ดี หรือเป็นสัญญาณบวก เพราะเพจเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิงของเราเปิดมาได้หนึ่งปีมีผู้ติดตามมากกว่า 5,000 คน และในจำนวนนี้มีคนเข้าร่วมสมัครเป็นสมาชิกกรุ๊ปทีมเผือกเพื่อร่วมกิจกรรมต่างๆ ในการป้องกันการคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะมากกว่า 500 คนเลยทีเดียว รวมไปถึงเรายังได้ทำงานร่วมกับเครือข่ายอื่นๆ อย่างแคมเปญ “Don’t tell me how to dress” ของคุณซินดี้ สิรินยา บิชอพ ซึ่งการได้ร่วมทำงานกับกลุ่มอื่นๆที่ประเด็นคล้ายๆ กัน ทำให้เสียงของทีมเผือกของพวกเราดังขึ้น และสามารถที่จะขยายผลเพื่อสร้างความตระหนักของคนในสังคม ชักชวนสังคมให้เป็นหูเป็นตาไม่นิ่งดูดาย” น.ส.รุ่งทิพย์ กล่าว
น.ส.รุ่งทิพย์ กล่าวว่ากิจกรรมต่อจากนี้จะนำเรื่องนี้เข้าไปขยายต่อที่โรงเรียน เพราะต้องการให้เด็กนักเรียนโดยเฉพาะระดับมัธยมที่ถือว่าตกเป็นเป้าของการคุกคามมากได้เข้าใจว่าการคุกคามทางเพศคืออะไร เพราะเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในแฟนเพจเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิงของเราที่สมาชิกส่งเข้ามาจำนวนหนึ่งจะเกิดกับเด็กวัยรุ่นเด็กนักเรียนที่ต้องใช้การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ โดยเด็กๆหลายคนที่ถูกคุกคามไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าสิ่งนั้นคือการคุกคามทางเพศ เราจึงอยากให้คนรุ่นใหม่ในสังคมมีความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องนี้ หรือถ้าเจอเหตุการณ์สามารถเข้าไปแทรกแซงได้อย่างไรและในระดับไหนที่เราสามารถทำได้ป้องกันตนเองได้หรือช่วยเหลือคนอื่นที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นได้
ด้านนางสาววราภรณ์ แช่มสนิท ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ กล่าวว่ากิจกรรมในวันนี้มุ่งจัดขึ้นสำหรับผู้ติดตามเพจ “เมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง” และเป็นสมาชิก “ทีมเผือก” ของเครือข่ายเมืองปลอดภัยฯ โดยสมาชิกทีมเผือกคือกลุ่มคนสมัครเข้ามาเป็นจิตอาสา ที่จะช่วยกันสอดส่องป้องกันปัญหาการคุกคามทางเพศบนขนส่งสาธารณะ เราจึงชักชวนคนเหล่านี้มาเรียนรู้วิธีเผือก หรือการเข้าแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือผู้ถูกคุกคามที่ได้ผล ไฮไลท์ของกิจกรรม คือ การเรียนรู้เทคนิคและวิธีการสังเกตสถานการณ์รอบตัวว่ามีภัยคุกคามทางเพศหรือไม่ ถ้ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับคนอื่น เราจะเข้าไปแทรกแซงได้อย่างไร และถ้าเกิดขึ้นกับตัวเราเอง เราจะจัดการอย่างไร
“ที่สำคัญ นอกจากเผยแพร่วิธีการป้องกันตัวเองหรือช่วยเหลือผู้อื่นแล้ว เป้าหมายในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ของเครือข่ายเมืองปลอดภัยฯ คือ กระตุ้นให้คนในสังคมตระหนักว่าการคุกคามทางเพศเป็นพฤติกรรมที่เลวร้ายและสังคมไม่ยอมรับ ผู้ที่ถูกคุกคามไม่ต้องจำยอม มันมีวิธีการที่เราจะปกป้องตัวเองหรือขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างได้ ขณะที่คนรอบข้างก็ต้องไม่นิ่งเฉย ต้องช่วยกันสอดส่องและเข้าแทรกแซงถ้าทำได้ ที่สำคัญ ผู้ที่คิดจะฉวยโอกาสคุกคามทางเพศคนอื่น คนเหล่านี้ต้องรับรู้ว่าสังคมไม่ยอมรับพฤติกรรมของเขา และสังคมจะไม่นิ่งเฉย เราจะทำให้คนที่คิดจะคุกคามผู้อื่นต้องยั้งคิดและเลิกพฤติกรรมดังกล่าว”
น.ส.วราภรณ์ กล่าวว่า นอกจากการรณรงค์กับผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะแล้ว เครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิงยังผลักดันให้หน่วยงานที่กำกับดูแลและจัดบริการขนส่งสาธารณะมีนโยบายและมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการคุกคามทางเพศด้วย โดยมีหลายหน่วยงานตอบรับว่าจะร่วมมือกันแก้ปัญหาเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ที่จะเปิดพื้นที่ให้เครือข่ายฯ เข้าไปอบรมพนักงานประจำรถทัวร์เรื่องการสอดส่องดูแลและช่วยเหลือผู้โดยสารที่ถูกคุกคาม โดยเครือข่ายฯ กำลังจัดทำคู่มือหยุดการคุกคามทางเพศ ทั้งที่เป็นเล่มและแบบออนไลน์ เพื่อให้พนักงานสามารถเรียนรู้เทคนิควิธีการต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ ทางเครือข่ายฯ กำลังผลิตสื่อรณรงค์สำหรับผู้โดยสาร ในรูปแบบวิดีโอสำหรับฉายบนรถโดยสารของ บขส. โดยวิดีโอชุดนี้มุ่งสร้างความเข้าใจปัญหาการคุกคามทางเพศรูปแบบต่าง ๆ และสื่อว่าผู้ประสบเหตุไม่ควรนิ่งเฉย สามารถป้องกันตนเอง ตลอดจนแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือจากพนักงาน และร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้
ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ ยังกล่าวถึงกฎหมายที่เอาผิดกับผู้คุกคามทางเพศด้วยว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายดำเนินการกับผู้คุกคามทางเพศอย่างชัดเจน แต่ขณะนี้เรามีตัวอย่างของประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งมีความก้าวหน้า มีการออกกฎหมายเรื่องการคุกคามทางเพศโดยเฉพาะ ที่ระบุถึงพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น การผิวปากแซว การพูดแซว การแต๊ะอั๋ง การสะกดรอยตาหรือตามตื้อ ทำให้ผู้ที่ตกเป็นเป้าการคุกคามรู้สึกไม่ปลอดภัย ซึ่งกฎหมายของฟิลิปปินส์มีบทลงโทษที่ชัดเจน จากตัวอย่างนี้ เครือข่ายเมืองปลอดภัยฯ จึงจะผลักดันเรื่องกฎหมายเรื่องการคุกคามทางเพศในประเทศไทยให้เป็นรูปธรรมด้วยเช่นกัน
ขณะที่ น.ส.สิรินยา บิชอพ หรือ ซินดี้ นักแสดงและนางแบบชื่อดัง กล่าวถึงการทำงานร่วมกันทีมเผือกว่า ตนได้รับเชิญให้เข้ามาเป็นส่วนร่วมหนึ่งของทีมเผือกและเป็นอีกหนึ่งส่วนร่วมในกิจกรรมนี้ ตนเชื่อว่ากิจกรรมการสอนวิธีป้องกันตัวเองให้กับผู้หญิงหากถูกคุกคามทางเพศจะทำให้ผู้หญิงอยู่ในสังคมไทยได้ปลอดภัยมากขึ้น และการนำทีมเผือกกว่า 100 คนมาร่วมฝึกด้วยในวันนี้ก็จะยิ่งเป็นการติดอาวุธให้ทีมเผือกกลายเป็นทีมสนับสนุนในการเข้าไปช่วยเหลือผู้คนที่ถูกคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างเข้มเข็งมากยิ่งขึ้น
“ซินดี้คิดว่าเราจะต้องทำให้คนตระหนักถึงเรื่องนี้มากขึ้น ทำให้คนที่จะทำพฤติกรรมคุกคามทางเพศหยุดความคิดและการกระทำของเขาให้ได้ และทำให้ผู้หญิงที่อยู่ในสถานการณ์ที่ตัวเองรู้สึกอึดอัด หรือกลัวสามารถมั่นใจที่จะขอความช่วยเหลือได้ และชอบมีคำกล่าวที่ซินดี้ได้ยินมาตลอดคือ ก็แต่งตัวแบบนั้นจึงทำให้เขาคุกคามทางเพศ ซึ่งซินดี้มองว่าปัญหาของการคุกคามทางเพศมันไม่ได้อยู่ที่ว่าผู้หญิงจะแต่งตัวอย่างไร แต่ปัญหาเกิดจากผู้ชายที่คิดว่าจะฉวยโอกาสคุกคามทางเพศในรถสาธารณะอย่างไรมากกว่า นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องของมายาคติ ในเรื่องอำนาจที่ผู้ชายที่คิดว่ามีอำนาจเหนือกว่าผู้หญิง ดังนั้นจึงต้องแก้ไขที่ความคิดด้วย ทำอย่างไรให้เกิดเท่าเทียมกันในสังคม” นักแสดงและนางแบบชื่อดังกล่าว
น.ส.สิรินยา ยังกล่าวถึงทางออกของปัญหาการคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะ ว่า จะต้องมาจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ทุกคนในสังคมต้องมีส่วนร่วมในการที่จะแก้ไข และต้องคิด หรือ วางแผน ไว้ล่วงหน้าว่าถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นกับเราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร พนักงานในระบบขนส่งก็เช่นกันที่จะต้องให้ความร่วมมือตรงนี้แต่ที่ง่ายที่สุดตอนนี้อยากชวนให้ทุกคนร่วมเป็นทีมเผือกกันเยอะๆ มาช่วยกันสอดส่องและส่งเสียงและแสดงพลังในการแก้ปัญหานี้ร่วมกันให้เยอะๆ
ด้านนายกิตติเชษฐ์ มายะการ ครูฝึกจาก ทีม JDT Defensive ผู้เชี่ยวชาญการระวังป้องกันภัยและการป้องกันตัว กล่าวว่า วิธีการป้องกันตัวเองที่ง่ายที่สุด ถ้าถูกคุกคามทางเพศคือต้องรู้จักวิธีการขอความช่วยเหลือที่ได้ผล เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่ถูกคุกคามทางเพศ มักจะไม่กล้าขอความช่วยเหลือ ทำให้ผู้ลงมือได้ใจและคุกคามอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เห็นว่าทุกสถานที่ทุกเวลามีโอกาสมีความเสี่ยงในการถูกคุกคามทางเพศได้หมด ทั้งรถเมล์ รถตู้ รถไฟฟ้า ดังนั้นเราควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมคนรอบๆตัวด้วยว่ามีพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือไม่ เช่น ลอบมองเราบ่อยๆ มีการเข้ามากระชิดตัว มาเบียด หรือ นำอวัยวะมาถูไถเราหรือไม่ ซึ่งหากเกิดเหตุแบบนี้เกิดขึ้น ควรมีท่าทีแสดงออกถึงความไม่ยินยอม และขอความช่วยเหลือทันที
ครูฝึกจาก ทีม JDT Defensive ผู้เชี่ยวชาญการระวังป้องกันภัยและการป้องกันตัวกล่าวเพิ่มเติมว่า และสำหรับประชาชนทั่วไปหากเราสังเกตเห็นผู้หญิงที่กำลังถูกคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะแล้วไม่กล้าร้องขอความช่วยเหลือก็อยากให้พวกเราแสดงตัวเป็นทีมเผือกเพื่อช่วยหยุดเหตุการณ์การคุกคามที่เกิดขึ้นได้โดยมี 5 วิธีในการเผือกง่ายๆ ดังนี้ 1.ตะโกนส่งเสียงเมื่อเราเห็นพฤติกรรมการคุกคามที่เกิดขึ้นตรงหน้าถ้าเราตะโกนเสียงดังๆ จะทำให้ผู้ที่กำลังก่อเหตุตกใจและหยุดพฤติกรรมการคุกคามได้ 2.หยิบมือถือขึ้นมาถ่าย เมื่อผู้ที่กำลังก่อเหตุรู้ว่าตนเองกำลังถูกถ่ายคลิปจะเกิดความกลัวและหยุดพฤติกรรมได้ ซึ่งการถ่ายคลิปวีดีโอยังสามารถใช้เป็นหลักฐานในการเอาผิดผู้ก่อเหตุได้อีกช่องทางหนึ่งด้วย 3.แจ้งพนักงานรถโดยสาร ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีเผือกสำหรับพลเมืองดีที่อยากช่วย แต่ไม่มั่นใจในการเข้าไปแทรกแซงด้วยตัวเองเราก็สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ไปจัดการแทนเราได้ 4.ทำเป็นเนียนว่ารู้จักผู้ถูกกระทำ การแกล้งทำเป็นเนียนว่ารู้จักกับผู้ที่ถูกกระทำจะสามารถเบี่ยงเบนความสนใจจากผู้กระทำและเรายังสามารถดึงเอาผู้ถูกกระทำออกมาจากสถานการณ์นั้นได้อย่างแนบเนียนด้วย 5.เอาตัวเข้าแทรก ถ้าหากเรามั่นใจว่าสามารถรับมือกับผู้กระทำได้เราก็สามารถนำตัวเข้าแทรกเพื่อขู่ให้กับผู้กระทำหวาดกลัวและหยุดพฤติกรรมการคุกคามได้อีกช่องทางหนึ่งด้วย
“นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับเล็กๆ สำหรับการป้องกันตนเองของผู้หญิงที่เสียเปรียบในเรื่องของขนาดตัว และ แรงที่สู้กับผู้ชายนั้น เรา สามารถพกอุปกรณ์ในการป้องกันตัวเองได้ ในกรณีที่ต้องเดินทางไปยังสถานที่เปลี่ยวๆ เพราะอุปกรณ์ป้องกันตัวเองบางอย่าง เช่น ปากกาหรือไฟฉายที่เป็นอุปกรณ์ที่ไม่ผิดกฎหมายสามารถพกติดตัวได้ และสามารถใช้งานตามปกติได้จริง เพียงแต่วัสดุถูกออกแบบมาให้แข็งแรงสามารถใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันตัวเองได้ โดยในกรณีของไฟฉาย สามารถใช้ส่องไปที่ตาคนร้ายเพื่อให้ตาพร่ามัว ทำให้เราสามารถวิ่งหนีได้และหากจวนตัวจริงๆเราก็สามารถนำปากกาทิ่มไปที่จุดสำคัญของคนร้ายและเรารีบวิ่งหนีจากคนร้ายเพื่อไปขอความช่วยเหลือจากคนอื่นได้” นายกิตติเชษฐ์กล่าว
ด้าน น.ส.ปิยะมาศ แซ่ปัง หนึ่งในสมาชิกทีมเผือก เล่าถึงประสบการณ์ในการให้ความช่วยเหลือผู้ถูกคุกคามทางเพศว่า ส่วนตัวไม่เคยเข้าไปช่วยโดยตรงแบบเปิดเผย แต่จะใช้สายตาทำให้อีกฝ่ายรู้ตัวว่า เรารู้นะคุณทำอะไรอยู่ เรามองคุณอยู่นะ แต่ไม่ถึงขั้นปะทะหรืออะไร ซึ่งเหตุการณ์หนึ่งที่จำได้ คือ นั่งอยู่บนรถเมลแล้วสังเกตว่ามีนักศึกษาผู้หญิงคนหนึ่ง ทำสีหน้าไม่ค่อยดี เหมือนคนไม่สบายใจจะร้องไห้ แต่ผู้ชายที่ยืนอยู่ข้างหลังทำหน้าปกติ เลยตัดสินใจลุกให้ผู้หญิงคนนั้นนั่ง เพราะคาดการณ์ว่าจะต้องมีอะไรเกิดขึ้นแน่ จากนั้นผู้ชายคนนั้นก็ลงรถเมล์ในป้ายต่อไปทันที ซึ่งสาเหตุที่ตัดสินใจช่วย เพราะไม่ให้เขาถูกลวนลามไปมากกว่านี้
“เห็นว่าแคมเปญของทีมเผือกดี และควรมี สังคมไทยไม่ควรเฉยกับเรื่องนี้ แต่ต้องตื่นตัว และจริงจัง อย่าคิดว่าผู้หญิงโดนลวนลามก็แค่นั้น อย่ากลัวที่จะพูด อย่ากลัวที่จะช่วย หรือ เผือกช่วยเขา เพราะตอนเราโดนเราก็ไม่กล้าพูด เรื่องพวกนี้ เชื่อว่ามีเกิดขึ้นมาตลอด ซึ่งการจัดกิจกรรมแบบวันนี้จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันว่าเจออะไร มีรูปแบบไหนบ้าง วิธีการป้องกันเป็นแบบไหน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นเวลาที่เจอเหตุการณ์แบบนี้ ว่าควรจะทำอย่างไร”สมาชิกทีมเผือกกล่าว
น.ส.ปิยะมาศ กล่าวว่า หลังจากนี้ ตนจะใช้วีธีการถ่ายคลิป หากพบเจอเหตุการณ์คุกคามทางเพศเกิดขึ้น เพื่อที่จะได้มีหลักฐานชัดเจน เพราะนอกจากเป็นการป้องกันตัวเราแล้วว่าเราไม่ได้กล่าวหาใคร ยังสามารถใช้เป็นหลักฐานในการแจ้งความได้ด้วย เพราะไม่อยากให้เรื่องจบตรงที่ไล่คนที่ลวนลามลงจากรถแล้วจากไป ซึ่งรู้สึกว่าไม่แฟร์กับคนถูกกระทำ แต่อยากให้มีการดำเนินคดีทางกฎหมายกับคนเหล่านี้ด้วย
ทั้งนี้ในงานดังกล่าวยังมีการฝึกเทคนิคการ “เผือก” และการป้องกันตัวเบื้องต้น การใช้อาวุธในร่างกาย การหนีออกจากสถานการณ์ และเทคนิคการแก้สถานการณ์ เช่น การถูกลวนลามแบบยืน การโดนฉุดแขน การโดนจี้ จากครูฝึกทีม JDT Defensive ผู้เชี่ยวชาญการระวังป้องกันภัยและการป้องกันตัวระดับประเทศ ให้กับทีมเผือกกว่า 100 คนที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย
| ['ข่าว', 'สังคม', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'ภาคีเครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง', 'การคุกคามทางเพศ', 'ทีมเผือก', 'สิทธิสตรี'] |
https://prachatai.com/print/79250 | 2018-10-21 17:59 | 'นิธิ เอียวศรีวงศ์' สมัครสมาชิก 'อนาคตใหม่' หวังเห็นลูกหลานอยู่ในสังคมที่เป็นธรรม | 'นิธิ เอียวศรีวงศ์' สมัครสมาชิก 'อนาคตใหม่' หวังเห็นลูกหลานอยู่ในสังคมที่เป็นธรรม 'พลังธรรมใหม่' เตือน 'รัฐบาล-เพื่อไทย' หยุดแบ่งแยกประชาชน 'เพื่อไทย' จัดประชุมสมาชิกพรรคเพื่อตั้งสาขาและเลือกตั้งคณะกรรมการสาขาพรรคลำดับที่ 2 จ.เชียงใหม่ 'พลังประชารัฐ' พร้อมจับมือทุกพรรคตั้งรัฐบาล ยังไม่เคาะจะเสนอชื่อใครเป็นนายก 'อลงกรณ์' ขอเสียงสมาชิกพรรคสนับสนุนเป็นหัวหน้า 'ประชาธิปัตย์'
21 ต.ค. 2561 ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และคอลัมนิสต์ชื่อดัง เดินทางไปที่ศูนย์ประสานงานพรรคอนาคตใหม่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งในวันนี้ (21 ต.ค.) พรรคอนาคตใหม่ได้ทำการเปิดศูนย์ประสานงานพรรคอนาคตใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เวลา 15.00 น. ที่ผ่านมา ตั้งอยู่ที่เลขที่ 136/23 หมู่ 10 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดย ศ.ดร.นิธิได้สมัครเข้าร่วมสมาชิกพรรคด้วยตัวเองและเขียนข้อความระบุว่า "ด้วยความหวังว่าลูกหลาน จะได้มีชีวิตในประเทศและสังคมที่มีความเป็นธรรม"
ทั้งนี้ ศ.ดร.นิธิ เป็นนักคิด นักเขียน และศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ชาวไทย ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นจากสภาวิจัยแห่งชาติ, รางวัลฟูกูโอกะ และรางวัลศรีบูรพา อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยก่อนหน้านี้มีนักวิชาการชั้นนำหลายคน สมัครเป็นสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ รวมถึง ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
'พลังธรรมใหม่' เตือน 'รัฐบาล-เพื่อไทย' หยุดแบ่งแยกประชาชน
นายทศพล แก้วทิมา โฆษกพรรคพลังธรรมใหม่ กล่าวว่าโครงการไทยนิยมยั่งยืนของรัฐบาลเป็นโครงการประชานิยมประเภทหนึ่งที่หวังเพียงคะแนนนิยมจากประชาชน ซึ่งทางฝั่งรัฐบาลในตอนนี้ก็ผันมาเล่นการเมืองแน่นอนแล้ว ตนก็อยากจะเตือนว่าโครงการไทยนิยมไม่ใช่โครงการที่จะแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนได้อย่างยั่งยืน รัฐต้องยอมรับว่าไม่สามารถอุ้มประชาชนไว้ได้ตลอด ส่วนตัวตนไม่ขัดขวางสวัสดิการที่รัฐทำให้ประชาชน เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่ประชาชนได้รับประโยชน์ แต่รัฐต้องตอบให้ได้ว่า เงินงบประมาณที่ใช้ไปในโครงการนี้สามารถทำให้ประชาชนพ้นจากความยากจนได้อย่างไรบ้าง
ในขณะนี้เป็นห่วงสถานการณ์การเมืองที่ทุกฝ่ายมุ่งเอาชนะกันในการเลือกตั้ง ไม่คำนึงถึงประเทศ ทั้งฝั่งพรรคใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทย ก็มุ่งที่จะแบ่งประชาชนระหว่างเรื่องประชาธิปไตยและเผด็จการ โดยการบีบให้เลือกเพียงแค่ 2 ขั้วในส่วนของพรรคทหารของรัฐบาลก็ เอาความยากจนของประชาชนมาแสวงหาคะแนนเสียงให้ได้มากที่สุด ซึ่งถือว่าไม่จริงใจกับประชาชน
"พรรคการเมืองทุกพรรคต้องเอาอดีตที่ผ่านมาๆ เป็นบทเรียนในอนาคต เพราะจากคำพูดของ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ที่ระบุว่าปฏิวัติไม่เกิดถ้าการเมืองไม่เป็นต้นเหตุจลาจล ก็แสดงให้เห็นว่าที่ผ่านมาการเมืองเป็นปัญหาของประเทศ ดังนั้นการที่พรรคการเมืองมุ่งแต่จะเอาชนะ แบ่งแยกประชาชน หลังการเลือกตั้งปัญหาจะเกิดซ้ำๆประเทศก็จะเดินหน้าต่อไม่ได้เหมือนอดีตที่เคยเป็นมา"นายทศพลกล่าว
'เพื่อไทย' จัดประชุมสมาชิกพรรคเพื่อตั้งสาขาและเลือกตั้งคณะกรรมการสาขาพรรคลำดับที่ 2 จ.เชียงใหม่
ที่ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ล้านนา เลขที่ 121/3 หมู่3 ตำบลแม่ปูคา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทยจัดการประชุมสมาชิกพรรค เพื่อจัดตั้งสาขาพรรค และเลือกตั้งคณะกรรมการสาขาพรรคเพื่อไทย สาขาลำดับที่ 2 จังหวัดเชียงใหม่ (ภาคเหนือ) โดยมีพลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยแกนนำและอดีต ส.ส.ของพรรคเข้าร่วมอย่างพร้อมหน้า เช่น นายจาตุรนต์ ฉายแสง, นางลดาวัลย์ วงศ์ศรีวงศ์ นายรังสรรค์ มณีรัตน์, นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์, นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ, นายสามารถ แก้วมีชัย อดีต ส.ส.เชียงราย, นายนพคุณ รัฐผไท อดีต ส.ส.เชียงใหม่, นายวิทยา ทรงคำ อดีต ส.ส.เชียงใหม่, นายประสิทธิ์ วุฒินันชัย อดีต ส.ส.เชียงใหม่ และนายสงวน พงษ์มณี อดีต ส.ส.ลำพูน เป็นต้น
ขณะเดียวกัน มีประชาชนจำนวนมากที่นำเอกสารหลักฐานมายื่นสมัคร เพื่อเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย แล้วใช้สิทธิ์ เข้าร่วมการประชุม และเลือกตั้งคณะกรรมการสาขาพรรค ลำดับที่ 2 จังหวัดเชียงใหม่ ด้วย ซึ่งตำแหน่งคณะกรรมการ ที่จะมีการเลือกตั้งในครั้งนี้ โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายบุญธรรม บุญหมื่น เป็นหัวหน้าสาขาพรรค ส่วนตำแหน่งต่างๆ ได้แก่ นางวิทยาลักษณ์ สามใจ รองหัวหน้าสาขาพรรค, นางสาวสกาวเดือน เวชสัมพันธ์ เลขานุการสาขาพรรค, นางพันชญา สุภาพ รองเลขานุการสาขาพรรค, นางสาวอรวรรณ จันระวังยศ เหรัญญิกสาขาพรรค, นายประวิทย์ วงศ์อ้าย นายทะเบียนสาขาพรรค, ว่าที่ร้อยตรีจักราวุฒิ ไชยาโฆษกสาขาพรรค และนายจิรพงษ์ วรรณะกลาง กรรมการสาขาพรรค
ทั้งนี้ พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า การประชุมสมาชิกพรรค เพื่อจัดตั้งสาขาพรรค และเลือกตั้งคณะกรรมการสาขาพรรคเพื่อไทย สาขาลำดับที่ 2 จังหวัดเชียงใหม่ (ภาคเหนือ) ในวันนี้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ที่จะตั้งสาขาพรรคให้ครบทั้ง4ภาคของประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและสามารถส่งตัวแทนลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ได้ครบทุกเขต ทุกภาค ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่นั้น ยังคงเป็นเมืองหลวงของพรรคเพื่อไทยเช่นเดิม
ขณะที่นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย และแคนดิเดตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า สาขาพรรคและคณะกรรมการสาขาพรรคเป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะผลักดันและสนับสนุนการทำงานของพรรคในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือถือเป็นพื้นที่สำคัญที่ประชาชนให้การสนับสนุนพรรคมาตลอด และเชื่อมั่นว่าจะยังคงให้การสนับสนุนเช่นเดิมในการผลักดันให้พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.เข้าไปทำหน้าที่ในสภา เพราะตัวแทนของพรรครู่ปัญหาของประชาชนเป็นอย่างดีและมีปัญญาความสามารถที่จะช่วยแก้ไขปัญหาให้ได้ หากได้รับโอกาสและการสนับสนุน
'พลังประชารัฐ' พร้อมจับมือทุกพรรคตั้งรัฐบาล ยังไม่เคาะจะเสนอชื่อใครเป็นนายก
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะว่าที่หัวพรรคพลังประชารัฐ นำทีมแกนนำพรรคพลังประชารัฐ ทั้งนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าที่รองหัวหน้าพรรค และนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ว่าที่เลขาธิการพรรค ลงพื้นที่พบปะเครือข่าย SME ภาคการเกษตร เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิดต่อยอดธุรกิจเกษตรที่ Lemon Me Farm จังหวัดนครปฐม โดยมีการแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้ประกอบการและกลุ่มเกษตรกรการเกษตร โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวทางการแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า รวมถึงการขยายตลาดเพิ่มขึ้นในการสั่งซื้อออนไลน์ ผ่านผู้ประกอบการระหว่างประเทศรายใหญ่อย่างอาลีบาบา กรุ๊ป ทั้งนี้ นายสนธิรัตน์ กล่าวกับเกษตรกรว่า วันนี้ไม่ต้องมีพิธีการต้อนรับใดๆ เพราะไม่ได้มาในนามรัฐมนตรี ถือว่า ไม่มีตำแหน่ง แต่มาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเกษตรกร พร้อมขอให้ทุกคนใช้ช่วงเวลานี้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
หลังการแลกเปลี่ยนความเห็นกับเกษตรกร นายอุตตม กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่าดีใจที่กลุ่มเกษตรกรมีความคิดหัวก้าวหน้า มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าการเกษตร ซึ่งภาครัฐเองก็มีส่วนสนับสนุนเพื่อนำไปสู่เป้าหมายเกษตรกรสมัยใหม่ หรือ Smart Farmer พร้อมทั้งมีการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการหาตลาดเพิ่มเติมทั้งในประเทศและต่างประเทศและย้ำว่าหากกลุ่มเกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันเหนียวแน่นมากขึ้นก็จะมีพลัง และการรับฟังในวันนี้ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
นายอุตตม ยังให้สัมภาษณ์ถึงการวิพากษ์วิจารณ์ชื่อพรรคพลังประชารัฐ ที่คล้ายกับนโยบายของรัฐบาล ว่าไม่สามารถห้ามใครได้ แต่เชื่อว่าคนไทยจะสามารถตัดสินได้เอง คนพูดมีสิทธิ์พูด ส่วนคนฟังก็มีสิทธิ์ฟังเช่นกัน ส่วนการดำเนินการของพรรคพลังประชารัฐในตอนนี้ก็ให้ผู้มีอุดมการณ์จัดการกันไป
เมื่อถามถึงกรณีนายชวน ชูจันทร์ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค ระบุว่า จะเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคเพียงชื่อเดียวนั้น นายอุตตม กล่าวว่า ก็เป็นหลักการเดิมที่ต้องหารือกัน ขณะนี้พรรคยังไม่เกิดขึ้น จึงไม่อยากพูดเรื่องการเมือง แต่เมื่อถึงเวลาก็จะหารือกันอีกครั้ง
ด้านนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะว่าที่เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินงานพรรคพลังประชารัฐ ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้เป็นพรรคที่สมบูรณ์ หากคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ให้การรับรองเรียบร้อยแล้ว พรรคก็จะเร่งประชุมโดยเร็วที่สุด ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างเตรียมการและเน้นการทำงานให้ประชาชนได้ประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ
นายสนธิรัตน์ เชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งหน้าจะได้รัฐบาลผสม ซึ่งพรรคพลังประชารัฐพร้อมจับมือทุกพรรค ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อชาติ หรือพรรคเพื่อไทย แต่ต้องดูว่าพรรคอื่นๆ จะมาจับมือด้วยหรือไม่ ซึ่งพรรคพลังประชารัฐ สร้างขึ้นมาเพื่อก้าวข้ามความเป็นพรรคเป็นพวก และหวังว่าการเลือกตั้งที่จะถึงนี้จะสร้างความสามัคคี แต่ทุกฝ่ายต้องหยุดใช้วาทกรรม ก้าวข้ามความขัดแย้ง และไม่ว่าผลการเลือกตั้งออกมาเป็นอย่างไร ตนพร้อมยอมรับ แต่สิ่งสำคัญตอนนี้ คือ ทำพรรคและทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ส่วนคนที่จะมาร่วมงานนั้น ขออย่าเรียกว่าถูกดูดมา แต่อาจเป็นเพราะองค์ประกอบของพรรคมีความสมบูรณ์
เมื่อถามถึงกระแสข่าวว่าพรรคจะเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะพูดถึงการเสนอชื่อนายกฯ ส่วนกระแสข่าวที่เกิดขึ้นก็ต้องไปถาม พล.อ.ประยุทธ์ ด้วยว่าคิดเห็นอย่างไร พร้อมร่วมด้วยหรือไม่ แต่ตอนนี้ยังไม่การหารือหรือเทียบเชิญใดๆ ทั้งนี้การเสนอชื่อบุคคลที่จะเป็นนายกฯ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะผู้นำประเทศต้องเป็นที่เชื่อมั่นของประชาชน มีความน่าเชื่อถือและประสบการณ์ ไม่ใช่ใครจะมาเป็นก็ได้ และต้องถามความเห็นประชาชนด้วย แต่ถ้าเทียบแล้วไม่มีใครเหมาะสมก็อาจจะเสนอชื่อนายอุตตม สาวนายน ว่าที่หัวพรรคพลังประชารัฐ แต่ยืนยันว่าไม่มีการเสนอชื่อนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นนายกฯ
'อลงกรณ์' ขอเสียงสมาชิกพรรคสนับสนุนเป็นหัวหน้า 'ประชาธิปัตย์'
นายอลงกรณ์ พลบุตร ผู้สมัครเข้ารับการหยั่งเสียงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 3พร้อมทีมงานประชาธิปัตย์ยุคใหม่ เดินทางแถลงแสดงจุดยืนนโยบายวิสัยทัศน์ต่อสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ภาคใต้ทุกจังหวัด ที่โรงแรมเอเชี่ยน อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อนำเสนอจุดยืนประชาธิปไตยนโยบายปฏิรูปพรรค และวิสัยทัศน์การเมืองสีขาว สร้างจุดเปลี่ยนประชาธิปัตย์ จุดเปลี่ยนภาคใต้ จุดเปลี่ยนประเทศไทย โดยมีสมาชิกพรรคสนใจเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก
นายอลงกรณ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า ประชาธิปัตย์ต้องปฏิรูปพรรคครั้งใหญ่ เพื่อกลับมาเป็นหลักของประชาธิปไตยและประเทศชาติ แม้จะพ่ายแพ้มายาวนานถึงวันนี้เป็นเวลา 27ปี ที่ไม่เคยชนะในการเลือกตั้งทั่วไป แต่ต้องไม่ท้อแท้สิ้นหวัง โดยเฉพาะสมาชิกพรรคในภาคใต้ เป็นฐานกำลังสำคัญของพรรค ถ้าสมาชิกพรรคสนับสนุนตนเป็นหัวหน้าจะนำประชาธิปัตย์สู่ชัยชนะที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการยกระดับภาคใต้สู่ยุคใหม่ ที่ต้องแข่งคิดแข่งบริหารและต้องซื่อสัตย์สุจริต ขับเคลื่อนด้วยการเมืองสีขาว ปลอดคอรัปชั่นและยึดประโยชน์ประเทศชาติเป็นที่ตั้ง ขณะเดียวกันก็ต้องปฏิรูปพรรคสร้างศักยภาพใหม่
ที่มาเรียบเรียงจาก มติชนออนไลน์ [1] บ้านเมือง [2] เชียงใหม่นิวส์ [3] สำนักข่าวไทย [1] [4] [2] [5]
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'การเลือกตั้ง', 'พรรคพลังธรรมใหม่', 'พรรคเพื่อไทย', 'พรรคพลังประชารัฐ', "พรรค'ประชาธิปัตย์", 'พรรคอนาคตใหม่', 'นิธิ เอียวศรีวงศ์'] |
https://prachatai.com/print/79251 | 2018-10-21 19:17 | ‘วันพยาบาลแห่งชาติ’ พยาบาลไทยยังเผชิญอุปสรรคการทำงาน 'เสี่ยงชีวิต-ภาระงานหนัก' | ‘21 ต.ค. วันพยาบาลแห่งชาติ’ พบพยาบาลไทยยังเผชิญอุปสรรคการทำงาน ทั้งเสี่ยงชีวิต-ภาระงานหนัก เรียกร้องกรณีเสียชีวิตในหน้าที่ให้ 'ปูนบำเหน็จ-มีเงินทดแทน-ธงชาติคลุมร่าง-เหรียญกล้าหาญ' หลังพยาบาลวัย 25 ปี ถูกตำรวจขับรถชนเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ในรถฉุกเฉิน ภาคธุรกิจออกแคมเปญ ‘นางฟ้ายังอยู่ยาก’ สะท้อนวิกฤตภาระงานหวังสมทบทุนกองทุนช่วยเหลือพยาบาลผู้ประสบภัยจากการปฏิบัติงาน ‘สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย’ เชิญชวนสมัครสมาชิกสร้างความเข้มแข็งให้วิชาชีพ ชี้พยาบาลไทยนั้นก็ต้องการความมั่นคงปลอดภัยเช่นมนุษย์คนหนึ่งด้วยเหมือนกัน
21 ต.ค. 2561 เนื่องในวันพยาบาลแห่งชาติ (21 ต.ค.) (รวมทั้งยังเป็นวันทันตสาธารณสุข) หลายจังหวัดหลายโรงพยาบาลได้จัดกิจกรรมตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา อาทิเช่น กรุงเทพฯ [1] เชียงใหม่ [2] หนองคาย [3] ร้อยเอ็ด [4] นราธิวาส [5] และ โรงพยาบาลตำรวจ [6] เป็นต้น โดยนอกเหนือจากการสดุดีเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีแล้ว ก็ยังมีการเชิดชูเกียรติพยาบาลผู้เสียสละ มอบใบประกาศเกียรติคุณแด่พยาบาลและทันตสาธารณสุขในแต่ละจังหวัด
ทั้งนี้วิชาชีพพยาบาลในประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหานานานัปการ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหนักมีชั่วโมงการทำงานยาวนาน ค่าตอบแทนน้อยเมื่อเทียบกับการทำงานในภาคเอกชน ชีวิตไม่มั่นคงหากยังไม่ได้บรรจุราชการ รวมทั้งการเสี่ยงชีวิตในขณะปฏิบัติหน้าที่
สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย ได้รวบรวมข้อมูล 'ตาย พิการ เจ็บป่วยระยะยาว' ของผู้ประสบอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข จากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2560 พบว่ามีอุบัติเหตุรวม 178 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บรวม 392 คน ผู้เสียชีวิตรวม 49 คน ในจำนวนนี้เป็นพยาบาลเสียชีวิตถึง 4 คน (ข้อมูล ณ ปี 2560)
อาชีพ 'พยาบาล' คนคาดหวังสูง แต่กลับถูกทำร้ายบ่อยครั้ง [7]'สหภาพพยาบาล' ระบุ 'งานหนัก-เงินน้อย-สวัสดิการต่ำ' วอนเพิ่มสิทธิ์บรรจุข้าราชการ [8]
ตัวอย่างความสูญเสียของบุคลากรด้านสาธารณสุขในรอบไม่กี่ปีมานี้
สภาพรถพยาบาลของหน่วยกู้ภัยลือชาท่าวังทอง นำผู้ป่วยไปส่งที่ จ.อุทัยธานี ประสบอุบัติเหตุระหว่างกลับ จ.พะเยา เมื่อเดือน ก.ย. 2561 เหตุการณ์นี้มีพยาบาลเสียชีวิต 2 คน เจ้าหน้าที่กู้ภัย 1 คน ที่มาภาพ: ชมรมนักขับรถฉุกเฉิน ประเทศไทย [9]
ก.พ. 2555 นายนิพนธ์ มนตรี อายุ 22 ปี บุรุษพยาบาลโรงพยาบาลเขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว ถูกยิงเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ในห้องฉุกเฉิน เหตุจากคนร้ายไม่พอใจที่สอบประวิติภรรยานาน
ก.พ. 2557 น.ส.วิไลวรรณ แก้วเขียว อายุ 25 ปี พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด เสียชีวิตเนื่องจากรถโรงพยาบาลร้อยเอ็ดได้เกิดอุบัติเหตุขณะกำลังนำส่งผู้ป่วยไปยังศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พลิกคว่ำ เหตุการณ์นี้ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 4 ราย
ก.ค. 2558 น.ส.น้ำฝน แมลงทับ เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ โรงพยาบาลบ้านใหม่ไชยพจน์ จ.บุรีรัมย์ เสียชีวิตเนื่องจากรถพยาบาลประสบอุบัติเหตุขณะนำผู้ป่วยส่งต่อไปโรงพยาบาลบุรีรัมย์
ก.ย. 2560 น.ส.เปมิกา ผาเหลา อายุ 35 ปี พยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลเขมราฐ จ.อุบลราชธานี ประสบอุบัติเหตุจนเสียชีวิต ขณะขับรถส่วนตัวเพื่อร่วมวิ่งการกุศลที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยก่อนเสียชีวิตโพสต์ข้อความว่า “เข้าเวรต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงไม่รู้จะไปวิ่งการกุศลไหวมั้ย”
พ.ย. 2560 นางมณี ขอจ๋วนเตี๋ยว พยาบาลวิชาชีพ อายุ 59 ปี เสียชีวิตภายหลังจากประสบอุบัติเหตุรถตู้พยาบาล ชนต้นไม้ไหล่ทางขณะเดินทางกลับจากรีเฟอร์ผู้ป่วยโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
ธ.ค. 2560 นางสุมาลี แคนยุกต์ อายุ 39 ปี พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรัษฎา จ.ตรัง ประสบอุบัติเหตรถส่วนตัวเกิดเสียหลักชนกับราวสะพาน และพลัดตกลงไปในคลองข้างทางจนทำให้เสียชีวิต เจ้าหน้าที่ตำรวจสันนิษฐานว่า ขณะที่นางสุมาลีกำลังขับรถมุ่งหน้าเพื่อไปเข้าเวรในช่วงดึก แต่มีฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมหลายจุดไม่มีไฟฟ้าแสงสว่างบนถนน
ก.ย. 2561 น.ส.พัชลิตา หงษา อายุ 20 ปี และ นางอังสุมาลิน รักชาติ อายุ 43 ปี พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพะเยา และนายพงศ์พิสุทธิ์ ศรีพรม อายุ 22 ปี เจ้าหน้าที่กู้ภัยลือชาท่าวังทอง เสียชีวิตหลังรถพยาบาลของหน่วยกู้ภัยลือชาท่าวังทอง นำผู้ป่วยไปส่งที่ จ.อุทัยธานี ประสบอุบัติเหตุระหว่างกลับ จ.พะเยา
ต.ค. 2561 น.ส.สุดารัตน์ เชื่อมาก อายุ 25 ปี พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน (รพ.สต.) เขาคอก ซึ่งอยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่บนรถฉุกเฉินระหว่างการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลประโคนชัยไปยังโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ถูกตำรวจยศ ร.ต.อ. สภ.ประโคนชัย ขับรถปิกอัพชนรถฉุกเฉินจนเสียชีวิต เหตุการณ์นี้ยังมีผู้บาดเจ็บอีกหลายราย
เรียกร้องกรณีเสียชีวิตในหน้าที่ให้ 'ปูนบำเหน็จ-มีเงินทดแทน-ธงชาติคลุมร่าง-เหรียญกล้าหาญ'
พิธีฌาปนกิจศพ น.ส.สุดารัตน์ เชื่อมาก พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน (รพ.สต.) เขาคอก เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2561 ที่มาภาพ: เฟสบุ๊คพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว กระทรวงสาธารณสุข [10]
จากกรณีล่าสุดที่ตำรวจยศ ร.ต.อ. สภ.ประโคนชัย ขับรถปิกอัพชนรถฉุกเฉินที่อยู่ระหว่างการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลประโคนชัยไปยังโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ทำให้ น.ส.สุดารัตน์ เชื่อมาก อายุ 25 ปี พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน (รพ.สต.) เขาคอก ซึ่งอยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายราย เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมา
ต่อมาเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2561 ไทยรัฐออนไลน์ [11] รายงานว่า เฟสบุ๊คพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว กระทรวงสาธารณสุข [12] ได้มีการโพสต์เพื่อเรียกร้องให้มีการคุ้มครองในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งใจความตอนหนึ่ง เรียกร้องสิทธิให้มีการเยียวยา และเพิ่มสวัสดิการแก่พยาบาลที่เสียชีวิต 3 ข้อ คือ 1. เนื่องจากตายในหน้าที่ ขอให้มีการปูนบำเหน็จเป็นชำนาญการพิเศษเลยได้หรือไม่ 2. เงินทดแทน เป็นสวัสดิการ คือ เงินเดือนสุดท้ายที่ได้รับ × อายุราชการที่จะเกษียณ มอบให้เป็นก้อน และ 3. ธงชาติคลุม เป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูล เชิดชูคุณงามความดี และเหรียญกล้าหาญ นอกจากนี้ยังขอเรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุขออกมาดำเนินการ แก้ไขปัญหาภายใน 15 วันหากไม่มีความคืบหน้า เหล่าพยาบาลทั้งหลายจะเดินทางเข้าทำเนียบเพื่อยื่นหนังสือกับนายกรัฐมนตรี โดยตรง ส่วนประเด็นที่ต้องการจะเรียกร้องให้เกิดขึ้นต่อสังคมคือ 1. การเอาผิดตามกฎหมายของผู้กระทำผิดเมาแล้วขับ เช่นกรณีนี้ ต้องได้รับการลงโทษ อย่างถึงที่สุด 2. การเยียวยาผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต จากการ นำส่งหรือโดยสารบนรถพยาบาล ที่เกิดอุบัติเหตุต้องเป็นธรรม 3. กระทรวงต้องออกกฎหมาย คุ้มครองและดูแลให้เกิดสิทธิ และประโยชน์ของผู้ที่เสียชีวิตหรือบาดเจ็บขณะปฏิบัติหน้าที่ เช่นเดียวกับ ข้าราชการหน่วยอื่นเช่นตำรวจหรือทหาร
1 ต่อ 15 นางฟ้ายังอยู่ยาก! โฆษณาสะท้อนวิกฤตภาระงานวิชาชีพพยาบาลและคุณภาพชีวิตพยาบาล
ทั้งนี้ช่วงเดือน ต.ค. 2561 บริษัทสุข ไดมอนด์ (Sook Diamond) ได้ปล่อยแคมเปญโฆษณาตัวใหม่ ชุด ‘นางฟ้ายังอยู่ยาก’ เพื่อสื่อสารกับสังคมในลักษณะเป็นอีกเสียงหนึ่งที่ ‘ขอพูดแทนพยาบาล’ เพราะมีความเข้าใจและเห็นใจพยาบาลที่กำลังแบกรับศึกหนักทั้งจากภาระงาน และความคาดหวังของสังคม คาดสะท้อนวิกฤตภาระงานวิชาชีพพยาบาลและคุณภาพชีวิตพยาบาล
ศุกร์สิริ อิสรชาญวาณิชย์ กรรมการผู้จัดการบริษัทสุข ไดมอนด์ กล่าวว่าตัวเลข 1 ต่อ 15 เป็นตัวเลขที่ใช้เพื่อการสื่อสาร มีที่อ้างอิงจากข้อมูลมาตรฐานทั่วไป การดูแลผู้ป่วยที่นอนในโรงพยาบาล อัตราส่วนพยาบาล 1 คน ควรรับผิดชอบดูแลผู้ป่วย 4 คน หรือ 4 เตียงแต่จากข้อมูลของหลายแห่ง เช่น จากการแถลงของผู้อำนวยการโรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่มีข่าวพยาบาลดูแลผู้ป่วยไม่ดี แล้วถูกถ่ายคลิปเผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่า ที่โรงพยาบาลแห่งนั้น พยาบาล 1 คน ต้องดูแลผู้ป่วยถึง 12-15 คน ซึ่งถ้าจะให้ดีควรดูแลเพียง 2 -3 คน ตัวเลขนี้สอดคล้องกับข้อความในหน้าเพจเฟสบุ๊คของสหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย ที่ระบุว่ามาตรฐานพยาบาล 1 คน ต่อคนไข้ไม่เกิน 4 คน ต่อเวร แต่ในความจริงเขาจะได้รับกันคนละ 10-20 คน ต่อเวร เพราะคนไข้มีจำนวนมาก และปกติพยาบาลควรทำงานเดือนละ 22 วัน แต่บางคนต้องทำงาน 31 วัน 31 เวร เกิดปัญหาล้าและเกิดความผิดพลาดได้
แม้ว่าอาชีพพยาบาลจะเป็นงานที่ทำเพื่อหารายได้เลี้ยงชีพ แต่ด้วยลักษณะงานมีความแตกต่างจากอาชีพอื่นตรงที่จะอาศัยเพียงความรู้และทักษะการปฏิบัติงานเท่านั้นยังไม่พอ แต่ยังต้องอาศัยความกรุณาปราณีที่มาจากหัวใจ ซึ่งไม่สามารถจะใช้อะไรมาเค้นบังคับให้เกิดขึ้นได้ ดังเพลงมาร์ชพยาบาลที่มีเนื้อร้องประโยคแรกว่า "อันความกรุณาปราณี จะมีใครบังคับก็หาไม่ หลังมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจจากฟากฟ้าสุลาลัยสู่แดนดิน"
ใครๆ จึงมักเปรียบว่าพยาบาลเป็นเหมือน ‘นางฟ้า’ สำหรับผู้ป่วย แต่จากสถานการณ์ที่รับรู้กันโดยทั่วไป ทำให้พยาบาลไม่มีความสุขและอยู่ในวิชาชีพได้ยาก แม้มีใจรักและอยากที่จะดูแลผู้ป่วย แต่หลายคนก็มองหาโอกาสที่จะเปลี่ยนงาน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงเป็นที่มาของวลี ‘1 ต่อ 15 นางฟ้ายังอยู่ยาก’
ศุกร์สิริกล่าวต่อว่า แม้ว่าส่วนใหญ่พยาบาลทำงานด้วยความตั้งใจและยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอยู่แล้ว แต่ในยุคที่เราทุกคนมีกล้องถ่ายรูปในโทรศัพท์มือถือ และมีโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางสื่อสารความพอใจและไม่พอใจ แพร่กระจายไปสู่วงกว้างอย่างรวดเร็ว ทำให้พยาบาลยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นซึ่งตนเคยเป็นพยาบาลมาก่อน และตอนที่เป็นพยาบาลจบใหม่เคยอยู่เวรให้การรักษาคนไข้ผิดพลาด คนไข้ไส้ติ่งแตกต้องผ่าตัดใหญ่และหยุดการเรียนไปหนึ่งปี ถ้าเป็นสมัยนี้อาจจะโดนฟ้องไปแล้ว
สำหรับแคมเปญโฆษณานี้ เตรียมการมาระยะหนึ่งแล้วเพื่อเผยแพร่ในช่วงวันพยาบาลแห่งชาติ 21 ต.ค. 2561 ทางบริษัทได้จัดทำเครื่องประดับเพชรแท้รูปดอกปีบ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพยาบาลไทยออกสู่ตลาด โดยทุกชิ้นที่ขายได้จะหักเงิน 500 บาท มอบให้สภาการพยาบาลสมทบทุนกองทุนช่วยเหลือพยาบาลผู้ประสบภัยจากการปฏิบัติงาน
"แคมเปญนี้ มีวิดีโอโฆษณา 3 ตัวต่อเนื่องกัน มีเป้าหมายสูงสุดที่การสื่อสารกับสังคมให้รับรู้และตระหนักถึงภาระงานที่พยาบาลกำลังแบกรับอยู่ และอยากให้พยาบาลรู้ว่ามีคนอีกมากที่เข้าใจพวกเขา ส่วนการแก้ไขปัญหาใหญ่ๆ นั้นฝ่ายที่เกี่ยวข้องคงมีการดำเนินการไป แต่เราก็ทำในกำลังของเรา โดยเราใช้เพชรแท้ เป็นสัญญะเพื่อปลุกเร้าระบบคุณค่าบางอย่างที่เราและพยาบาลและอาจจะรวมถึงคนทั่วไปด้วยที่จะเกิดความรู้สึกร่วมกัน และโฆษณาตัวหนึ่งจะสื่อสารกับพยาบาลด้วยว่า ถ้าจะอยู่ในวิชาชีพนี้ให้มีความสุข พยาบาลจะทำอย่างไร รอติดตามชมทางโซเชียลมีเดียต่างๆ หากได้ชมแล้วถูกใจก็ช่วยแชร์กันไปมาก ๆ ค่ะ" กรรมการผู้จัดการบริษัทสุข ไดมอนด์ กล่าวตอนท้าย
‘สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย’ เชิญชวนสมัครสมาชิก
นอกจากนี้ เนื่องในวันพยาบาลแห่งชาติ (21 ต.ค.) สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย (Nurses Union of Thailand - NUOT) ได้เชิญชวนผู้ทำงานด้านสาธารณสุขทั้งรัฐและเอกชน สมัครเป็นสมาชิกสหภาพฯ โดยระบุว่า
สองมือของพยาบาลนั้น คอยปกป้องคุ้มครองชีวิตคนไข้ตลอดเวลา เพื่อให้ชีวิตคนไข้ปลอดภัย ในชีวิตงานการพยาบาลนั้นกระทำเพื่อเรียกร้องคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยตลอดเวลา
การที่พยาบาลไทยต้องแบกรับภาระงานที่หนักเกินจำนวนพยาบาลที่มีอยู่ ดูแลผู้ป่วยหนัก ซับซ้อน จำนวนมาก มีความเครียด กดดัน ภายใต้ความคาดหวังที่เต็มเปี่ยมของทุกฝ่าย
สังคมจะรับรู้หรือไม่พยาบาลไทยนั้นต้องทำหน้าที่ดูแลคุ้มครองชีวิตคนไข้ในทุกมิติของความเป็นมนุษย์ ต้องทำหน้าที่คาบเกี่ยวกับวิชาชีพอื่น ต้องทำงานในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย .......ในสภาวะการทำงานที่หนักเกิน ต้องทำงานในยามวิกาลเป็นเวลายาวนานหลายชั่วโมง เวลาการพักผ่อนไม่เพียงพอ ต้องเผชิญเชื้อโรคร้ายที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน ต้องเผชิญความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยทั้งด้านกายภาพ ด้านสังคม
พยาบาลไทยทำหน้าที่ดูแลชีวิตมนุษย์ด้วยสุจริตใจ สิ่งที่ได้เสนอแนะเพื่อการแก้ไข เปลี่ยนแปลงนั้น เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อดีผู้รับบริการอย่างแน่นอน พยาบาลไทยต้องการมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ต้องการแรงจูงใจในการทำงาน ต้องการคงอยู่ในวิชาชีพเพื่อปกป้องคุ้มครองชีวิตคนไข้ให้ปลอดภัย แต่ถึงอย่างไรพยาบาลไทยนั้นก็ต้องการความมั่นคงปลอดภัยเช่นมนุษย์คนหนึ่งด้วยเหมือนกัน # 21 ตุลาคม 2561 # มาสมัครสมาชิก# สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย เพื่อรวมพลังพยาบาลที่เดือดร้อนจากสภาพการทำงานในปัจจุบัน
ใบสมัครออนไลน์คลิ๊กที่นี่ [13]
ทั้งนี้สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทยยืนยันว่าจะเป็นอีกองค์กรที่มาช่วยสนับสนุนให้ พยาบาลมีพลังในการขอสิทธิ์ต่อรอง เจรจา และอธิบาย กับต้นสังกัดทั้งระดับองค์กร กระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาลในการประเมินการทำงาน การให้ค่าตอบแทน ในเรื่องเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ การพัฒนาความก้าวหน้า การคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของพยาบาล ความปลอดภัยในการทำงาน และจัดอัตราพยาบาลต่อคนไข้ตามมาตรฐาน มีหลักประกันความมั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดีพร้อมที่จะให้บริการเพื่อความสุขของสังคม
| ['รายงานพิเศษ', 'สังคม', 'แรงงาน', 'คุณภาพชีวิต', 'พยาบาล', 'คนทำงานภาคสาธารณสุข', 'สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย'] |
https://prachatai.com/print/79252 | 2018-10-21 19:59 | หมายเหตุประเพทไทย #232 เพราะรักมันซับซ้อน |
ประภาภูมิ เอี่ยมสม และคำ ผกา พูดถึงซีรีส์ 'It's complicated เพราะรักมันซับซ้อน' ผลงานกำกับของมนิตย์ สนับแน่น และ ที่เพิ่งฉายจบทาง Line TV [1] สะท้อนรูปแบบครอบครัวสมัยใหม่ที่มากกว่าผัวเดียวเมียเดียว ตั้งแต่ Asexual ที่ไม่ต้องการมีความสัมพันธ์กับใคร ไปจนถึงการมีคนรักหลายคนที่เรียกว่า Polyamory โดยซีรีส์ที่พูดถึงรูปแบบครอบครัวที่แหวกขนบละครไทยเรื่องนี้ ได้รับการตอบรับจากกลุ่มผู้ชมพอสมควร พร้อมชวนคิดต่อว่าในชีวิตจริงว่าจะสามารถคุ้มครองทางกฎหมายให้กับรูปแบบครอบครัวที่มีความหลากหลายนี้ได้อย่างไร ทั้งสิทธิการก่อตั้งครอบครัว การเลี้ยงดูบุตร มรดก ฯลฯ
ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่เฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/maihetpraphetthai [2]หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai [3]
| ['ข่าว', 'สังคม', 'วัฒนธรรม', "It's complicated เพราะรักมันซับซ้อน", 'เพศวิถี', 'ละคร', 'มัลติมีเดีย', 'ครอบครัว', 'ละครไทย', 'ประภาภูมิ เอี่ยมสม', 'LGBT', 'Polyamory', 'Asexual', 'สราวุธ มาตรทอง', 'หมายเหตุประเพทไทย'] |
https://prachatai.com/print/79253 | 2018-10-22 03:05 | เยอรมนีและสหภาพยุโรปประณามซาอุฯ กรณีอ้างว่า 'จามาล คาชอกกี' เสียชีวิต 'จากการชกต่อย' | จากกรณีนักข่าววอชิงตันโพสต์ จามาล คาชอกกี เสียชีวิตหลังหายตัวไปในสถานทูตซาอุฯ ในตุรกี ทางการซาอุดิอาระเบียอ้างว่าเขาเสียชีวิตจากเหตุชกต่อยเป็นเหตุให้นานาชาติไม่พอใจเรียกร้องให้มี "ความโปร่งใส" ในการสืบสวนคดีมากกว่านี้ ขณะที่สหภาพยุโรปบอกว่าการเสียชีวิตของคาชอกกีนับเป็นการละเมิดอนุสัญญากรุงเวียนนา ปี 2506 ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล อย่างร้ายแรงด้วย
จามาล คาชอกกี (ที่มา: วิกิพีเดีย) [1]
แองเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีและเฮย์โก มาส รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของเยอรมนีออกแถลงการณ์ร่วมกันเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมาระบุว่า "ข้อมูลที่ให้มาเกี่ยวกับลำดดับเหตุการณ์ที่สถานกงสุล(ซาอุฯ)ในอิสตันบูลไม่เพียงพอ" จากที่ก่อนหน้านี้ในวันที่ 19 ต.ค. ทางการซาอุฯ กล่าวว่าจามาล คาชอกกี นักข่าววอชังตันโพสต์เสียชีวิต 'จากการชกต่อย' ภายในสถานกงสุลซาอุฯ ซึ่งทางการซาอุฯ เพิ่งจะออกมายอมรับว่าคาชอกกีเสียชีวิตแล้วหลังจากที่เขาหายตัวไปตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค.
'ทรัมป์' ถูกจวกเหตุค้าอาวุธให้ซาอุฯ แม้นักข่าววอชิงตันโพสต์หายในสถานกงสุล [2]
ทางการเยอรมนีแถลงว่าพวกเขาขอประณามอาชญากรรมที่เกิดขึ้นอย่างหนักที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ซาอุฯ มีความโปร่งใสมากกว่านี้เกี่ยวกับสภาพการณ์การเสียชีวิตของคาชอกกีและเบื้องหลังของเหตุการณ์และบอกว่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรถูกนำมาลงโทษ มีการตั้งคำถามต่อมาสในเรื่องของการค้าอาวุธให้กับซาอุฯ มาสกล่าวว่าตราบใดที่ยังคงมีการสืบสวนและยังไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ในกรณีคาชอกกีพวกเขาก็จะไม่มีการตัดสินใจในเชิงสนับสนุนข้อตกลงให้มีการส่งออกอาวุธไปยังซาอุฯ
เฟเดริกา โมเกรินี ผู้แทนระดับสูงด้านการต่างประเทศของสหภาพยุโรปเรียกร้องให้มีการสืบสวนกรณีการเสียชีวิตของคาชอกกีอย่างละเอียด โปร่งใส และเชื่อถือได้ โมเกรินีกล่าวอีกว่าการเสียชีวิตของคาชอกกีเป็นปัญหาที่ชวนให้รู้สึกไม่สบายใจอย่างมาก มันเป็นการละเมิดอนุสัญญากรุงเวียนนา ปี 2506 ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล อย่างน่าตระหนกด้วย
นอกจากนี้ทางการประเทศอื่นๆ ยังพูดถึงกรณีคาชอกกีในทำนองที่เรียกร้องให้มีการสืบสวนให้กระจ่าง โดยที่ ไครสเทีย มอร์ริสัน รัฐมนตรีต่างประเทศของแคนาดากล่าวว่าคำอธิบายสภาพการณ์เสียชีวิตของคาชอกกีโดยทางการซาอุฯ นั้นฟังดูไม่สอดคล้องกันและขาดความน่าเชื่อถือ ขณะที่นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย สก็อต มอร์ริสัน กล่าวว่าซาอุฯ ควรให้ความร่วมมือตุรกีในการสืบสวนคดีนี้
โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เคยกล่าวว่าคำอธิบายของซาอุฯ น่าเชื่อถือและ "เป็นก้าวแรกที่สำคัญ" อย่างไรก็ตามเมื่อนักข่าวถามถึงเรื่องนี้อีกครั้งทรัมป์ก็บอกว่าเขายังไม่พอใจกับแค่การไล่เจ้าหน้าที่ทางการซาอุฯ ออกในกรณีนี้ แต่ต้องการให้มีคำตอบในเรื่องนี้ด้วย ทั้งนี้ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาทรัมป์ก็ตอบคำถามเกี่ยวกับกรณีคาชอกกีในเชิงขู่ว่าจะคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อซาอุฯ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาซาอุฯ เป็นผู้ซื้ออาวุธรายใหญ่จากสหรัฐฯ และเล่นบทเป็นพันธมิตรสหรัฐฯในการต่อต้านอิหร่านและกลุ่มติดอาวุธ
โฆษกสหประชาชาติกล่าวว่า เลขาธิการสหประชาชาติ อันโตนิโอ กูแตร์เรส ต้องการให้มีการสืบสวนอย่างโปร่งใสในกรณีการเสียชีวิตของคาชอกกีเช่นกัน
คาชอกกี เป็นนักข่าวและบรรณาธิการของวอชิงตันโพสต์ผู้มีสัญชาติซาอุฯ หลังจากที่โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน เจ้าชายวัย 33 ปีขึ้นมาเป็นพระราชาธิบดีพระองค์ใหม่ของซาอุฯ เขาก็ขอลี้ภัยในสหรัฐฯ คาชอกกีหายตัวไปตั้งแต่ 2 ต.ค. ที่ผ่านมาหลังจากที่เดินทางไปที่สถานกงสุลซาอุฯ ประจำนครอิสตันบูล ในตุรกี ท่ามกลางการตั้งข้อสังเกตและการนำเสนอหลักฐานว่าเขาอาจจะถูกทารุณกรรมและถูกสังหารภายในสถานกงสุลซาอุฯ จนกระทั่งเมื่อไม่นานนี้ทางการซาอุฯ ประกาศว่าเขาเสียชีวิตภายในสถานกงสุล แต่ก็อ้างว่าคาชอกกี "ถูกบีบคอเสียชีวิตหลังจากเกิดการต่อสู้ชกต่อย"
เรียบเรียงจากJamal Khashoggi: Germany and EU condemn Saudi explanation of death, The Guardian, 21-10-2018https://www.theguardian.com/world/2018/oct/21/jamal-khashoggi-germany-and-eu-condemn-saudi-explanation-of-death [3]
ข้อมูลเพิ่มเติมจากhttps://en.wikipedia.org/wiki/Jamal_Khashoggi [4]
| ['ข่าว', 'สิทธิมนุษยชน', 'ต่างประเทศ', 'ซาอุดิอาระเบีย', 'สหภาพยุโรป', 'เยอรมนี', 'จามาล คาชอกกี', 'การอุ้มหาย', 'อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล'] |
https://prachatai.com/print/79254 | 2018-10-22 11:17 | ค้านร่าง พ.ร.บ. ซุปเปอร์บอร์ดสุขภาพแห่งชาติ เขาค้านอะไรกัน | หลัง ร่าง พ.ร.บ. คณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. .... ผ่านมติคณะรัฐมนตรี เกิดเสียงค้านจากหลายฝ่ายทั้งภาคประชาชน อดีตรองเลขาธิการ สปสช. รวมทั้งการตั้งข้อสังเกตจากหน่วยงานรัฐ เรื่องขาดการมีส่วนร่วม-รวบอำนาจ-ซ้ำซ้อน-เพิ่มต้นทุน
‘ซุปเปอร์บอร์ด’ มาได้ไง
กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอ ร่าง พ.ร.บ. ซุปเปอร์บอร์ดสุขภาพแห่งชาติ หรือร่าง พ.ร.บ. คณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญของคือการตั้งคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายสุขภาพของประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในการเข้าถึงระบบสุขภาพที่ดี ซึ่งนั้นหมายถึงการรวมกองทุน 3 ระบบได้แก่ บัตรทอง, ประกันสังคม, ข้าราชการ มาไว้ในความดูแลของ ซุปเปอร์บอร์ด
สถานะตอนนี้
ร่าง พ.ร.บ. ซุปเปอร์บอร์ดนี้ได้รับการอนุมัติโดยมติ ครม. ไปเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 61 หลังจากนี้ส่งกฤษฎีกาพิจารณา ก่อนส่ง สนช.พิจารณาต่อไป
ขาดการมีส่วนร่วม-รวบอำนาจ-ซ้ำซ้อน-เพิ่มต้นทุน
ภาคประชาชน [1]
- มาตรา 3 ของ พ.ร.บ.นี้ระบุว่า นโยบายด้านระบบสุขภาพใด ขัดหรือแย้งกับนโยบายด้านระบบสุขภาพตาม พ.ร.บ.นี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ หมายความว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้คือกฎหมายใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับด้านระบบสุขภาพของไทย
- สัดส่วนคณะกรรมการ จากเดิม 30 คน มีภาคประชาชน 5 คน กลายเป็น 45 คน มีภาคประชาชน 3 คน จึงมีแนวโน้มว่าจะพิทักษ์ผลประโยชน์ของตนเอง มากกว่าผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม
- คณะกรรมการสภาหอการค้าที่ถูกเลือกให้อยู่ในซุปเปอร์บอร์ดนี้ คือตัวแทนจากกลุ่มบริษัทยาข้ามชาติ ซึ่งที่ผ่านมามีบทบาทในการคัดค้านนโยบายด้านสุขภาพต่างๆที่จะเป็นประโยชน์กับประชาชนมาตลอด
หน่วยงานรัฐ [2]
ในการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ หน่วยงานต่างๆ ท้วงติงในหลายประเด็น เช่น
- กระทรวงการคลังและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นว่าคณะกรรมการมีจำนวนมากเกินไปอาจส่งผลต่อการปฏิบัติงานและสร้างภาระเบี้ยประชุม
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า การกำหนดให้คณะกรรมการเสนอแนะต่อ ครม.เพื่อพิจารณากำหนดมาตรการทางการเงินหรือการคลังอาจกระทบต่อการบริหารจัดการงบประมาณแผ่นดิน
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมายฉบับนี้จะมีผลกระทบต่อร่าง พ.ร.บ.แร่, พ.ร.บ.โรงงาน และ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือไม่
- สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเห็นว่า อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติกับคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติมีความคล้ายคลึงกัน
- สำนักงาน ก.พ.ร.มีความเห็นว่า ยังไม่ชัดเจนว่าเมื่อมีกฎหมายนี้แล้วประชาชนจะมีชีวิตที่ดีขึ้นจากการเสนอกฎหมายนี้อย่างไร
นพ. ชูชัย ศรชำนิ อดีตรองเลขธิการ สปสช. [3]
- แทนที่จะทำให้เกิดความเรียบร้อยกลับจะก่อให้เกิดความอลหม่านของระบบ เพราะแต่ละระบบ (บัตรทอง. ประกันสังคม, ข้าราชการ) มีบอร์ดของตัวเอง เมื่อมีซุปเปอร์บอร์ดขึ้นมา ก็ต้องเพิ่มขั้นรายงานเข้าไปที่ซุปเปอร์บอร์ด ในเชิงกฎหมายเกิดการก้าวก่ายหรือเข้าไปแทรกแซงกัน รวมทั้งนโยบายการจัดสรรงบประมาณ
- การมีซุปเปอร์บอร์ดจะเพิ่มต้นทุนการบริหารจัดการ ทั้งในรูปของตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน คือค่าเบี้ยเลี้ยงต่างๆ ส่วนต้นทุนที่ไม่ใช่เงินก็คือค่าเสียโอกาสเนื่องจากมีขั้นตอนเพิ่มขึ้นมา
ข้อเสนอภาคประชาชน
- ไม่ต้องตั้งซุปเปอร์บอร์ด เสนอให้ใช้โครงสร้างคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีองค์ประกอบของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างการเป็นผู้อภิบาลระบบ (Regulator) และการเป็นผู้จัดบริการ (Provider) หากต้องการให้นโยบายเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตรา 9 และ 10 เขียนเรื่องการรวมกองทุนทั้ง 3 ระบบไว้อยู่แล้ว แต่ยังไม่ถูกนำไปปฏิบัติ
- สนับสนุนให้กระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่เป็นผู้อภิบาลระบบ (Regulator) อย่างสมบูรณ์ โดยแยกหน่วยบริการทั้งหมดออกจากกระทรวงสาธารณสุข ให้มีการบริหารจัดการภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นในหลายพื้นที่ เช่น รพ.บ้านแพ้ว รพ.เทศบาลเมืองอุดรธานี และ รพ.เมืองภูเก็ต เป็นต้น
- จัดชุดสิทธิประโยชน์ตามหลักการ SAFE
ภาควิชาการเคยทำงานหาข้อสรุปร่วมกันออกมาเป็นหลักการ SAFE เพื่อลดความเหลื่อมล้ำแก้ปัญหาเรื่องภาระงบประมาณโดยหลักการ SAFE แบ่งเป็นปิ่นโต 3 ชั้น ชั้นแรกคือสิทธิประโยชน์จำเป็นซึ่ง 3 ระบบได้เท่ากันหมด ชั้นที่สองคือสิทธิประโยชน์เสริม เป็นส่วนที่แต่ละระบบจ่ายตามข้อกำหนด และชั้นที่สามคือสิทธิประโยชน์แบบพิเศษซึ่งประชาชนแต่ละคนจ่ายเอง
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สังคม', 'คุณภาพชีวิต', 'ระบบหลักประกันสุขภาพ', 'หลักการ SAFE', 'ซุปเปอร์บอร์ด', 'ร่าง พ.ร.บ. คณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ'] |
https://prachatai.com/print/79255 | 2018-10-22 13:40 | วงสื่อถกหาทางรอด แนะผลิตเนื้อหา 'พรีเมียม' มองหา 'โมเดลธุรกิจใหม่' สร้างความน่าเชื่อถือ | สัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ในหัวข้อ 'ทางรอดคนสื่อ' แนะผลิตเนื้อหา 'พรีเมียม' มองหา 'โมเดลธุรกิจใหม่' เร่งสร้างความน่าเชื่อถือ โอกาสรอดของสื่อไทยในวันที่ต้องเผชิญภาวะความปั่นป่วน
22 ต.ค.2561 การสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2561 ในหัวข้อ “ทางรอดคนสื่อ” เมื่อวันที่ 19 พ.ย.ที่ผ่านมา จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศราฯ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)
สุทธิชัย หยุ่น ในฐานะ content creator
สุทธิชัย หยุ่น ในฐานะ content creator กล่าวว่า วิกฤติความเปลี่ยนแปลงในแวดวงสื่อมวลชน ที่ผ่านมาซึ่งหลายคนไม่ได้ปรับตัวเพราะคิดว่า พายุผ่านมาก็คงจะผ่านไป เขาก็คงจะอยู่ที่เดิม แต่ไม่ได้เป็นเช่นนั้น พายุไม่ได้สนใจว่าใครเป็นนายทุน บก.ข่าว โปรดิวเซอร์ พิธีกร รวมถึงคนทำข่าวที่น่าจะเป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่ต้องรู้ตัวว่าจะเกิดวิกฤติเพราะหน้าที่เขาคือเตือนภัยคนอื่นต้องรู้แต่ต้น
อย่างไรก็ตาม การจะถามว่าทางรอดของสื่อคืออะไรนั้น แต่ละคนจะต้องไปตัดสินใจเอง ไม่มีใครจะไปบอกได้คุณว่าต้องทำอะไร เปรียบเทียบเหมือนเวลาคุณหิวน้ำก็ไม่ใช่ต้องจูงคุณไปที่น้ำแล้วบอกว่าต้องกินน้ำ ถ้าไม่บังคับก็ไม่กิน การสร้างคอนเทนต์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ จะต้องไม่ใช่เหมือนแบบที่คุณเคยทำมา ต้องหาว่ากลุ่มคนรับสารของตัวเองต้องการอะไร
“ผมเคยเปรียบเทียบเสมอว่าองค์กรสื่อเหมือนอยู่ในเรือเอี้ยมจุ๋น แล่นอยู่ในพายุ ผุพัง รั่วหลายจุด ผู้โดยสารเยอะกอดกันอยุ่ในเรือหวังว่าพายุจะผ่านไป อย่างนี้ไม่รอดแน่นอน ไม่มีเรือลำไหนไรอดในพายุดิสรัปชั่น จึงแนะนำให้กระโดดออกจากเรือหาเรือชูชีพ หากโชคดีก็เจอกันวันข้างหน้า หากโชคไม่ดีก็ตัวใครตัวมัน ซึ่งเรือชูชีพเล็กรับไม่ได้ทุกคน ต้องเฉพาะคนที่พร้อมจะปรับตัว” สุทธิชัย กล่าว
วงคุยสมาคมนักข่าวฯ คาดอนาคต AI เข้ามาช่วยในทำข่าว แนะใช้จริยธรรมนำ [1]
เสวนานักข่าวชี้ ‘สำนักข่าวเฉพาะทาง’ จะเป็น ‘ทางเลือก’ ฝ่าวิกฤตสื่อมวลชน [2]
สุทธิชัย กล่าวว่า การจะอยู่รอดได้เร่ิมแรกต้องเร่ิมเปลี่ยน ทั้งการสร้างคอนเทนต์ ที่คิดว่าต้องทำได้ดีกว่าคนอื่นๆ ซึ่งต้องขยัน ต้องเหนื่อย ต้องเรียนรู้ทุกวัน ต้องทดลอง ยอมเหนื่อย และไม่มีใครจะไปรู้คำตอบว่ารอดหรือไม่รอด นอกจากตัวคุณเอง การเปิดสื่อใหม่ต้องเลิกคิดแบบเก่าว่าจะต้องมีกล้องกี่ตัว ต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ ต้องเข้าใจโค้ดดิ้ง
ปัจจุบัน รายได้ของหนังสือพิมพ์บางแห่งเกินครึ่งมาจากซับสคริปชั่น ซึ่งต้องไปดูว่าทำไมคนยอมจ่าย ทั้ง วอลล์สตรีท นิวยอร์คไทม์ นิวยอร์คเกอร์ เพราะหาอ่านที่อื่านไม่ได้ คุณภาพเนื้อหาเขาสุดยอดแต่คุณภาพสื่อของเรายังไม่ถึง บิ๊กตู่พูดอะไรก็เขียนเหมือนกัน รูปเดียวกัน แล้วเขาจะมาอ่านของคุณทำไม เพราะเขารู้มาตั้งแต่เมื่อวานแล้ว เราจึงต้องสร้างคอนเทนต์ให้สุดยอด ทำข่าวแบบรูทีนไม่มีทางรอด ไม่มีใครยอมจ่ายเพราะหาอ่านที่ไหนก็ได้ คนที่จะจ่ายตังซื้อมีนะ หากเขาหาอ่านที่อื่นไม่ได้ เพราะต่อไปอีกปีสองปี A.I. ก็ทำข่าวรูทีนได้หมด
พีระพงษ์ เตชะทัตตานนท์ ผู้จัดการด้านงานสร้างสรรค์และสื่อสารสาธารณะ สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ซึ่งทำงานด้าน Data Journalism กล่าวว่า หากถามถึงทางรอดของสื่อมีสองแง่คือ 1.ทางรอดทางด้านธุรกิจ ซึ่ง 3-5 ปีที่ผ่านมามีการล้มหายไปเยอะ 2.ทางรอดในแง่ความน่าเชื่อถือ ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหาหนักขึ้นเรื่อยๆ
ทั้งนี้ Data Journalism เกิดขึ้นมานาน 200 ปี เพราะเรื่องของความไม่เชื่อ นักข่าวไม่เชื่อว่าคนมีอำนาจในเวลานั้นพูดตรงกับความจริงหรือไม่เขาจึงไปหาข้อมูลและมานำเสนอว่าสิ่งที่ผู้นำพูดไม่เป็นความจริง ด้วยการลงรายละเอียดเกือบ 7 หน้า ในหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่ง หาเปรียบเทียบ ข่าวสืบสวนสอบสวนก็หมือนจิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่ถูกนำเสนอให้เห็นภาพ แต่ Data Journalism นั้นเหมือนการนำเลโก้จากทะเลข้อมูลมาต่อเรียงกันให้เห็นภาพ
พีระพงษ์ กล่าวว่า หัวในสำคัญอยู่ที่การเล่าเรื่อง เรื่องที่มีคุณค่าต้องเกิดจากนักข่าวที่มีคุณภาพ ยกตัวอย่างเรื่อง Data Journalism ที่คนรีทวีตกันเยอะ เช่นการปกัหมุดว่าส่วนในในแผนที่ที่พลเรือน ทหาร ถูกสังหารในสังคราม หรือ ของไทยพับลิก้า เรื่องเมรุที่ไหนค่าใช้จ่ายสูง นำไปสู่เรื่องธุรกิจงานศพ
สำหรับการทำงานนั้น นักข่าวด้าน Data Journalism ของ หนังสือพิมพ์ เดอะการ์เดียนมีแค่ 3 คน ก่อนหน้านี้เมื่อ 200 ปี ที่แล้ว คนทำต้องถึกนั่งย่อยข้อมูล แต่ปัจจุบัน จุดเปลี่ยนคือเทคโนโลยี ทั้งในเรื่องแผนที่ วิชวลไลซ์ บิ๊กดาต้า ซึ่งต้องทำงานกันเป็นทีม ทั้งนักข่าว นักออกแบบไม่สามรถทำคนเดียวได้ ถามว่านักข่าวถึงขั้นต้องเขียนโค้ดเป็นหรือไม่ ก็ไม่ถึงขั้นนั้นเพราะวิศวกรที่จบมาเขียนโค้ดได้เงินเดือน 6-8 หมื่นบาทหากนักข่าวเขียนโค้ดเป็นจะมาทำข่าวไหม
พีระพงษ์ กล่าวว่า ตัวอย่างที่สามารถทำเป็น Data Journalism ได้ คือ การจัดซื้อจัดจ้าง การก่อสร้างๆต่าง ๆ ที่หากนำมาย่อยวิเคราะห์ก็จะเห็นว่าปัญหาของบ้านเราอยู่ที่ธุรกิจก่อสร้างผูกขาดอยู่ที่แค่ไม่เจ้า ทำให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่นได้ง่าย ส่วนถามว่า Data Journalism จะเป็นทางรอดของสื่อในแง่ธุรกิจไหมก็อาจไม่ใช่คำตอบเพราะการทำมีต้นทุนสูง แต่ก็จะสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือให้สื่อ
อย่างไรก็ตาม วันนี้ไม่ใช่แค่จะต้องทำให้สื่อรอด แต่ต้องทำให้สังคมรอดไปพร้อมสื่อด้วย อย่างการทำข่าวเชิงข้อมูลนี้ก็จะเป็นการทั้งเพิ่มคุณค่า และ ความน่าเชื่อถือ และทำไปใครก็ลอกข่าวไม่ได้ ถือเป็นการช่วยยกระดับสื่อ แต่อยู่ที่ต้องช่วยกันสร้างระบบนิเวศให้เกิดขึ้นควบคู่กันไปด้วยเหมือนอยากให้เด็กแข็งแรงแต่ไม่สร้างสนามกีฬาก็เป็นไปไม่ได้
ชนวัฒน์ วาจานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัททีวีบูรพา จำกัด กล่าวว่า ในฐานะคนทำสารคดีซึ่งเป็นที่นิยมในลำดับสุดท้าย ต้องไปต่อท้าย รายการประกวดร้องเพลง เกมโชว์ และอื่นๆ ทำให้เราต้องเปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหม่ จนตัวเลขรายได้จากปี 2016 ที่อยู่ 180 ล้านบาท และลดลงไปในปี 2017เหลือ 150 ล้านบาท แต่ปี 2018 กลับเพิ่มขึ้นมา 180 ล้านและสิ้นปีคาดว่าจะได้ 200 ล้าน โตขึ้น 35 %
ทั้งนี้ ถามว่าทำไมทำสารคดีธุรกิจถึงโตได้ เพราะต้องเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ จากลิขสิทธิ์เป็นของผู้จ้าง เป็นลิขสิทธิ์เป็นของเรา รวมทั้งผลิตงานระดับ “พรีเมียม” ลึก กว้าง ละเมียดละไม ซึ่งทีวีบูรพาเก่งเรื่องดราม่า เล่าให้คนร้องไห้ได้ ยิ่งเป็นเรื่องจริงผลกระทบยิ่งสูง ซึงจะหยิบจุดนี้มาเป็นจุดแข็งทางธุรกิจ
ชนวัฒน์ กล่าวว่า เดิม รายการกบนอกกะลาที่เคยขายโฆษณาได้เต็ม แต่ปัจจุบันเหลือไม่ถึง 20 % 2-3 ปีที่ผ่านมา เหมือนพายุยังไม่หยุดพัด เราเลยต้องกระจายความหลากหลาย กระจายความเสียง เป็นธุรกิจต่างๆ 1 สร้างสรรค์เนื้อหารายการ 2. ธุรกิจดิจิตอล 3 มีเดีย 4. IMC และ 5 ตลาดนอกประเทศ เพราะเดิมตลาดในประเทศเราอยู่ลำดับสุดท้ายแต่ไปต่างประเทศสารคดีไม่ใช่ลำดับสุดท้าย
“เปรียบเหมือนกับอูเบอร์ ถามว่าทุกคนเลิกขึ้นรถจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งด้วยการว่าจ้างไหม ก็ไม่ แต่คนเลิกขึ้นแท็กซี่เพราะมีทางเลือกบิสซิเนสโมเดลใหม่ คนก็ใช้บริการแบบใหม่ได้ อยู่ที่ความต้องการของคน ซึ่งเราใช้คนไม่ต้องเหมือนกัน อย่างงานคอนเทนต์เราต้องการคนแบบเชิงลึก ผลิตสารคดีสวยงามมาตรฐานระดับโลก IMC ต้องการคนครีเอทีฟ ซึ่งเราต้องพัฒนาตัวเองเป็นงานยากกว่าเดิมซึ่งเราต้องรับสภาพ” ชนวัฒน์ กล่าว
จักรพงษ์ คงมาลัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท มูนช็อท ดิจิตอล จำกัด ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้าน Content Marketing กล่าวว่า ทางรอดทางธุรกิจต้องไปพร้อมกับความน่าเชื่อถือของข่าว ซึ่งธุรกิจไม่ควรจะพึ่งพิงเพียงแต่โฆษณา ต้องเปิดโมเดลธุรกิจใหม่ๆ หากต้องขายของก็ต้องขาย แต่ก็มีการท้วงว่านักข่าวจะมาขายของได้อย่างไร แต่ขณะเดียวกันจะมารอเม็ดเงินโฆษณาอย่างเดียวก็ลำบากเพราะผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลข่าวสารหลายทาง
อย่างไรก็ตาม เวลานี้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ต้องไปดูว่าการใช้เวลาของผู้บริโภคทุกวันนี้ใช้เวลาไปกับอะไรส่วนใหญ่ ทางรอดยังอาจอยู่ที่การลดขนาดองค์กร อย่าให้คนส่วนใหญ่ในองค์กรไปอยู่กับแพลตฟอร์มที่ตายแล้ว เพราะทุกวันนี้พฤติกรรมคนเปลี่ยนไป อยู่กับหน้าจอมือถือ คนทำงานจึงต้องมีทักษะหลาย รวมไปถึงการเติบโตของไมโครมีเดีย สื่อที่เจาะนิชมาร์เก็ต นำเสนอเรื่องราวที่ตัวเองถนัด
ธีระพงษ์ เจียมเจริญ จาก Nanami Animation กล่าวว่า การจะ “รอด” ได้คนในวงการสื่อจะต้อง 1. รู้จักตัวเองก่อน 2.ต้องมีการปรับตัว สู่อุตสาหกรรมใหม่เพราะสิ่งที่มาดิสรัปคุณจะกระทบกับสื่อเก่าทั้งหมด อย่างการทำงานของบริษัทการจะออกแบบการ์ตูน สติกเกอร์สักชุดจะต้องทำการวิจัยดูความต้องการ ความพอใจและนำมาปรับปรุงต่อไป ปัจจุบันสื่อไม่ได้มีแค่รูปแบบเดิมๆ มีทั้ง เกมส์ การ์ตูน มีอาชีพ อย่างเกมแคสเตอร์ เกมสตรีมเมอร์ ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่แต่ละคนมีค่าตัวแพง
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'ไอซีที', 'สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย', 'สื่อมวลชน', 'สุทธิชัย หยุ่น', 'พีระพงษ์ เตชะทัตตานนท์', 'ชนวัฒน์ วาจานนท์'] |
https://prachatai.com/print/79256 | 2018-10-22 14:31 | เปิดขายบัตรแล้ววันนี้! กับเวที TEDxYouth@Bangkok เวทีที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนไอเดีย ให้กับอนาคตของประเทศชาติ | TEDxBangkok เราอยากเชิญชวนทุกคนมาร่วมเรียนรู้ 10 วิชาใหม่ ๆ ในรูปแบบทอล์คและการแสดงจากเด็ก ๆ ผู้มาถ่ายทอดวิชาและประสบการณ์ที่คุณไม่เคยได้เรียนในห้องเรียนที่ไหนมาก่อน บนเวทีที่เราเนรมิตให้กลายเป็น “สนามเด็กเล่า” สนามที่เด็ก ๆ มีโอกาสได้ “ปล่อยของ” และแชร์ไอเดียอันควรค่าแก่การเผยแพร่ ให้โลกได้รู้ว่าเด็กก็มีดีไม่แพ้ผู้ใหญ่ และเด็กทุกคนคู่ควรแก่การให้ความสำคัญ
ลงทะเบียนเป็นผู้ชมและนักเรียนของเราได้แล้วที่: http://go.eventpop.me/TEDxYouthBangkok2018 [1]
แล้วพบกันที่สนามเด็กเล่า “TEDxYouth@Bangkok” วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายนนี้ เวลา 12.00-18.00 น. ณ โรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์ ชั้น 3
| ['TED'] |
https://prachatai.com/print/79257 | 2018-10-22 14:42 | ยูนิเซฟร้องไทยลงทุนเพิ่มในการพัฒนาเยาวชน | ผู้บริหารยูนิเซฟเยือนไทยพร้อมเรียกร้องให้เพิ่มการลงทุนในการพัฒนาเยาวชนอย่างเร่งด่วน เผยสถิติแรงงานปี 60 ร้อยละ 15 ของเยาวชนช่วงอายุ 15-24 ปี หรือ 1.3 ล้านคนในไทย ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะใดๆ โดย 2 ใน 3 คือเยาวชนหญิง ชี้หากไม่มีการลงทุนในภาคการศึกษา/อบรมทักษะ อย่างเร่งด่วน ประชากรนับล้านจะไม่ได้รับการเตรียมพร้อมและกลายเป็นแรงงานไร้ฝีมือในอนาคต
ภาพ เฮนเรียตตา เอช โฟร์ ผู้อำนวยการบริหาร องค์การยูนิเซฟ ได้กล่าวให้แรงบันดาลใจกับเหล่าเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ Generation Unlimited: เยาวชนกล้าคิด สะกิดสังคม เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา (ภาพ:ยูนิเซฟ/2018/สุขุม ปรีชาพานิช)
22 ต.ค.2561 องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย รายงานว่า เฮนเรียตตา เอช. โฟร์ ผู้อำนวยการบริหาร องค์การยูนิเซฟ สรุปการเยือนประเทศไทยพร้อมเรียกร้องให้ประเทศไทยเพิ่มการลงทุนในการพัฒนาเยาวชนอย่างเร่งด่วน ระหว่างการเยือนประเทศไทย โฟร์ ยังได้เข้าร่วมเวที เยาวชนกล้าคิด สะกิดสังคม (Generation Unlimited) ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งนักนวัตกรรมรุ่นใหม่ทั่วประเทศมารวมตัวกันในเวทีประชุมสามวันเพื่อออกแบบแนวทางแก้ปัญหาอันจะยกระดับการเรียนรู้และการพัฒนาเยาวชน
“ประเทศไทยกำลังเผชิญความท้าทายสำคัญเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งนับเป็นโอกาสสำคัญเช่นกันว่า จะสนับสนุนการเติบโตของกลุ่มประชากรเยาวชนของประเทศให้ดีที่สุดอย่างไร ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายต้องทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มการลงทุนในเด็กและเยาวชน เพื่อก้าวไปสู่วิสัยทัศน์ประเทศไทย 4.0” โฟร์ กล่าว
จากสถิติแรงงานปี 2560 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ประมาณร้อยละ 15 ของเยาวชนช่วงอายุ 15-24 ปี (ประมาณ 1.3 ล้านคน) ในประเทศไทย ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะใดๆ โดยสองในสามของเยาวชนเหล่านี้คือเยาวชนหญิง หากไม่มีการลงทุนอย่างเร่งด่วนในภาคการศึกษาหรือการอบรมทักษะ ประชากรนับล้านจะไม่ได้รับการเตรียมพร้อมและกลายเป็นแรงงานไร้ฝีมือในอนาคต อันเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าและเสถียรภาพของประเทศไทย
ระหว่างการเยือนประเทศไทยเป็นเวลา 5 วันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โฟร์ ยังได้พบปะผู้นำภาคธุรกิจชั้นนำหลากหลาย พร้อมกล่าวต่อไปว่า “ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการช่วยออกแบบแนวทางเพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ และภาคเอกชนเองก็ควรเริ่มลงทุนในการส่งเสริมการศึกษาและสร้างเสริมศักยภาพของเยาวชน เพื่อช่วยให้พวกเขากลายเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต ซึ่งยูนิเซฟยินดีที่จะร่วมมือกับภาคเอกชนในการร่วมกันหาแนวทางในการเพิ่มการลงทุนในการพัฒนาเด็กและเยาวชนต่อไป”
และเนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี ขององค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย นางโฟร์ได้เข้าเฝ้าและทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุด (Life-Time Achievement Award) แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเทิดพระเกียรติที่ทรงอุทิศพระองค์ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กและเยาวชนในประเทศไทยโดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่ขาดโอกาส โดยได้เข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลดังกล่าว ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตเมื่อวันจันทร์ที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ในระหว่างการมาเยือน โฟร์และโธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ยังได้เข้าพบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือเรื่องการมอบโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะแก่เด็กและเยาวชน เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่พวกเขาในการสร้างอนาคตที่ดีสำหรับตนเองและประเทศไทย โดยทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องที่จะเสริมพลังความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มากขึ้น
โฟร์กล่าวถึงการเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า “ดิฉันยินดีอย่างมากที่ได้ทราบว่ายูนิเซฟและรัฐบาลไทยต่างมีวิสัยทัศน์ร่วมกันในเรื่องของความจำเป็นในการลงทุนในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มากขึ้น การลงทุนในด้านต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาเด็กปฐมวัย การศึกษาและทักษะ จะช่วยเตรียมความพร้อมให้กับเด็กและเยาวชนนับล้าน ๆ คนในประเทศไทยสำหรับตลาดแรงงานในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยได้ก้าวหน้า เลื่อนฐานะเป็นประเทศรายได้สูงต่อไป”
ในวันสุดท้ายของการมาเยือนประเทศไทย โฟร์ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมงานงาน “Art for the Future” ซึ่งประกอบไปด้วยสตรีทอาร์ต งานจิตรกรรม และกราฟฟิตี้เพื่อเด็ก ๆ บนถนนเจริญกรุง ซึ่งศิลปินหนุ่มสาวจำนวน 16 คนได้มาร่วมกันเรียกร้องให้ประชาชนไทยมาร่วมกันแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อเด็กทุกคนในประเทศไทย โดยงานศิลปะดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของงานครบรอบ 70 ปี องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย นอกจากนี้ ภายในงานนางโฟร์ได้พูดคุยกับตัวแทนเยาวชนจากโครงการยูรีพอร์ต ประเทศไทย ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่สนับสนุนโดยองค์การยูนิเซฟ เพื่อรับฟังเสียงและรวบรวมความคิดเห็นจากเยาวชน ผ่านการส่งโพลสำรวจออนไลน์และกิจกรรมภาคสนามต่าง ๆ
| ['ข่าว', 'เศรษฐกิจ', 'การศึกษา', 'แรงงาน', 'คุณภาพชีวิต', 'เยาวชน', 'ยูนิเซฟ', 'เฮนเรียตตา เอช. โฟร์'] |
https://prachatai.com/print/79258 | 2018-10-22 17:58 | ภาค ปชช.อีสาน เสนอ 'รัฐสวัสดิการ' เป็นนโยบายของพรรคการเมือง | ภาคประชาชนเตรียมนำเรื่อง รัฐสวัสดิการ กรณีบำนาญแห่งชาติและสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า เสนอให้พรรคการเมืองทุกพรรคนำไปเป็นนโยบาย การทำงานร่วมกับนักวิชาการทั้งในระดับชาติ ภาค สร้างช่องทางการสื่อสารต่อสาธารณะและภาคีความร่วมมือในส่วนภาครัฐที่ดำเนินการจากระบบสงเคราะห์สู่รัฐสวัสดิการ
22 ต.ค.2561 ศูนย์ข่าวผู้บริโภคภาคอีสาน รายงานว่า เมื่อวันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านทมา ที่ห้องประชุมชั้น 1 โรงแรมอำนวยสุข ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น สภาผู้ชมผู้ฟังรายการ ภาคอีสานและคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน(กป.อพช.) ร่วมกันจัดรับฟังความคิดเห็นตามบริบทและสถานการณ์กลุ่มประเด็นสังคมและคุณภาพชีวิต “รัฐสวัสดิการกับความเป็นไปได้ในสังคมไทย กรณีบำนาญแห่งชาติและสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า” มีผู้เข้าร่วมจำนวน 30 คน จากจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด หนองคาย สกลนคร สุรินทร์ ในเครือข่ายแรงงานนอกระบบ สตรี ผู้สูงอายุ ชุมชนแออัด ศูนย์เด็กเล็ก ผู้บริโภค สภาองค์กรชุมชน สวัสดิการชุมชนและหน่วยรับเรื่องร้องเรียนตามมาตรา 50(5) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับเคลื่อนรัฐสวัสดิการ การจัดทำข้อเสนอต่อไทยพีบีเอสและการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนรัฐสวัสดิการให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
ในการจัดงานครั้งนี้มีการให้ความรู้ในเนื้อหาบำนาญแห่งชาติกับผู้เข้าร่วม โดยมีกิจกรรมเรียนรู้ 4 เรื่องคือ วงจรชีวิตแบบไทยนิยม จะเลือกอะไร ฝ่ามายาคติ บำนาญแห่งชาติ ช่วงท้ายของกิจกรรมมีการระดมสมองแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ 1) ข้อกังวลต่อการขับเคลื่อนประเด็นรัฐสวัสดิการกับความเป็นไปได้ในสังคมไทย กรณีบำนาญแห่งชาติและสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า : ความจริงใจของรัฐบาลที่จะดำเนินการ, การคอรัปชั่น, ประชาชนเข้าไม่ถึงข้อมูล 2) ข้อเสนอต่อไทยพีบีเอส : เพิ่มจำนวนสมาชิกสภาผู้ชมผู้ฟังรายการ ร่วมกับสำนักงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะ, มีรายการที่นำเสนอเรื่องความเหลื่อมล้ำ ผลักดันสู่รัฐสวัสดิการ, เสนอต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นนโยบายของท้องถิ่น ,ให้พรรคการเมืองนำไปเป็นนโยบายของพรรค, การมีส่วนร่วมของภาคีหุ้นส่วนต่อไทยพีบีเอส 3)ข้อเสนอต่อไทยพีบีเอส :การนำเสนอเรื่องความเหลื่อมล้ำ รัฐสวัสดิการเป็นระยะๆ กระตุ้นหน่วยงานรัฐผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง
ประมวลความเห็น: เราจะมีรัฐสวัสดิการได้ยังไง? [1]
ชีวิตยามเกษียณ (3): ‘ชีวิตดี’ เกิดจนตาย รัฐสวัสดิการเป็นไปได้ในชาตินี้ [2]
ปฏิวัติ เฉลิมชาติ คณะจัดงานในวันนี้กล่าวว่าในความคิดเห็นของตนเรื่องรัฐสวัสดิการกับความเป็นไปได้ในสังคมไทย ยังต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจร่วมกัน ว่าเป็นเรื่องสิทธิ มองว่ารัฐสวัสดิการ คือการให้รัฐเข้ามาจัดสรรสวัสดิการขั้นพื้นฐานในด้านต่างๆ เพื่อดูแลพลเมืองในการดำเนินชีวิตและตอบสนองความต้องการพื้นฐานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข ในสิ่งที่จำเป็น เช่นการศึกษา สาธารณสุข ที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย เป็นต้น แต่ด้วยปัญหาของสังคมที่เป็นอยู่เป็นความไม่เป็นธรรมขนาดใหญ่ของระบบทุนที่คุกคามเรา การให้กลุ่มทุนสร้างรายได้ สะสมทุนง่ายขึ้น ครอบครองปัจจัยการผลิต ประชาชนต้องเลี้ยงชีพด้วยการขายแรงงาน คน 50 เปอร์เซ็นที่เป็นรากหญ้าใช้เงินหมดไปกับค่ากิน ไม่มีสิทธิไปซื้อความบันเทิงด้านอื่นๆ ได้ ดังนั้นหากมีการเก็บภาษีที่ดิน ภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สิน ภาษีอสังหาริมทรัพย์ ภาษีหุ้น นำมาทำบำนาญ, เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้าได้ เป็นการใช้มาตรการทางภาษีหรือตัวกฎหมายเข้ามากำกับกลไกตลาด ส่งผลให้ทุนที่สร้างมูลค่าส่วนเกิน อัตรากำไรของนายทุนลดลง เป็นเรื่องความยุติธรรมเพื่อให้คนเข้าถึงสิ่งจำเป็นถ้วนหน้า
รายงานระบุด้วยว่า มีการให้ข้อมูลกับเครือข่ายภาคประชาชนในกลุ่มเป้าหมายที่ขยายจากกลุ่มเดิมเพื่อสร้างการรับรู้ การสร้างแกนนำที่จะช่วยกันพูดเรื่องนี้ให้มากขึ้นและในช่วงระยะเวลาก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ภาคประชาชนเตรียมที่จะนำเรื่อง รัฐสวัสดิการ กรณีบำนาญแห่งชาติและสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า เสนอให้พรรคการเมืองทุกพรรคนำไปเป็นนโยบายของพรรค การทำงานร่วมกับนักวิชาการทั้งในระดับชาติ ภาค , การสร้างช่องทางการสื่อสารต่อสาธารณะ, สร้างภาคีความร่วมมือในส่วนภาครัฐที่ดำเนินการจากระบบสงเคราะห์สู่รัฐสวัสดิการต่อไป
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'คุณภาพชีวิต', 'บำนาญแห่งชาติ', 'เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า', 'รัฐสวัสดิการ', 'กป.อพช.'] |
https://prachatai.com/print/79260 | 2018-10-22 20:08 | คสช. แจ้งความเอกชัย-โชคชัย เหตุกล่าวหา ผบ.ทบ. ผิดข้อหากบฏ | ฝ่ายกฎหมาย คสช. แจ้งความเอกชัย หงส์กังวาน และโชคชัย ไพบูลย์รัชตะ คู่หูนักกิจกรรม ข้อหาแจ้งความเท็จ หลังทั้งสองแจ้งความ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. คนใหม่ว่าผิดข้อหากบฏ เพราะไม่รับประกันว่าจะไม่รัฐประหาร ด้านเอกชัยโต้ผ่านเฟสบุ๊ก คสช. ยิ่งฟ้องยิ่งเสียภาพลักษณ์
ภาพเอกชัย (เสื้อแดง) และโชคชัย (เสื้อยืดสีดำด้านหลังเอกชัย) ขณะเดินทางไปทำเนียบรัฐบาลเมื่อ 24 ส.ค. 2561 (ที่มา: Banrasdr Photo)
22 ต.ค. 2561 ไทยโพสท์ [1]รายงานว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ฝ่ายกฎหมายแจ้งความดำเนินคดีกับเอกชัย หงส์กังวาน และโชคชัย ไพบูลย์รัชตะ นักกิจกรรมทางการเมือง ที่สถานีตำรวจลาดพร้าว ในข้อหาแจ้งความเท็จตามความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 172 และ 173
การฟ้องเกิดขึ้นหลังเอกชัยและโชคชัยแจ้งความดำเนินคดีกับ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และเลขาธิการ คสช. ในข้อหากระทำผิดข้อหากบฏตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 เมื่อ 19 ต.ค. ที่ผ่านมา กรณีที่ พล.อ.อภิรัชต์ พูดถึงเรื่องการเมืองเมื่อ 17 ต.ค. ว่าถ้าไม่มีการเมืองหรือเหตุจลาจลก็จะไม่เกิดการรัฐประหารยึดอำนาจ
ไทยโพสท์รายงานว่า ทาง คสช. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าพฤติการณ์ของเอกชัยและโชคชัยทำให้ภาพลักษณ์ของกองทัพได้รับความเสียหาย เพราะในวันที่ พล.อ.อภิรัชต์ให้สัมภาษณ์นั้นเป็นวันประชุมหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก เท่ากับกล่าวหาว่า พล.อ.อภิรัชต์จะนำกองทัพทำการรัฐประหาร หลังจากนี้พนักงานสอบสวนจะเชิญเอกชัยและโชคชัยมาให้ปากคำต่อไป
ในเฟสบุ๊กของเอกชัยเขียนไว้ว่า การฟ้องตนและโชคชัยยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของกองทัพเสียหาย
ที่ผ่านมา เอกชัยและโชคชัยเป็นนักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวด้านการเมืองอย่างต่อเนื่อง เอกชัยนั้นเคยถูกทำร้ายจนข้อมือหักมาแล้วเมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา
‘เอกชัย’ แจ้งข้อหา ‘กบฏ’ กับ ‘อภิรัชต์’ ตำรวจถาม ‘คุณเป็นผู้เสียหายเหรอ’ [2]
‘เอกชัย-โชคชัย-วรัญชัย’ รำลึก 12 ปี รหป.49 ขอ ผบ.ทบ.คนใหม่อย่าดูตัวอย่างเลวๆ แล้วทำรัฐประหารอีก [3]
ซ่อมทหารเกณฑ์จนตายถึงปกปิดนาฬิกาหรู เอกชัยทวงถามทำไม พล.อ.ประยุทธ์ เพิกเฉย [4]
อีกแล้ว! เอกชัยถูกดักตีเลือดอาบหน้าบ้าน หลังกลับจากทำเนียบรัฐบาลทวงถามเรื่องนาฬิกาหรู [5]
เอกชัย โดนสาดน้ำปลาร้าใส่ระหว่างเดินไปมอบของขวัญวันเกิดให้ประวิตร [6]
สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 มีใจความว่า ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
ความผิดแจ้งความเท็จตามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 172 173 มีใจความดังนี้
มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 172 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 173 ผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาว่า ได้มีการกระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'คุณภาพชีวิต', 'กระบวนการยุติธรรม', 'เอกชัย หงส์กังวาน', 'โชคชัย ไพบูลย์รัชตะ', 'คสช.', 'พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์', 'รัฐประหาร'] |
https://prachatai.com/print/79262 | 2018-10-22 22:08 | วงถกชี้ ใช้เงินประกันตัวคือปัญหา แนะทำ ก.ม. ใหม่ให้ศาลวัดความเสี่ยงแทน | วงเสวนาพูดคุยประเด็นหลักเกณฑ์การปล่อยตัวชั่วคราว ว่าด้วยคณิตศาสตร์การประกันตัว กฎหมายให้เท่าเทียม เจ้าหน้าที่ขอเท่าทุน คุกจึงขังคนจนหลายหมื่น ไม่มีเงินประกันทำคนยอมสารภาพ กองทุนยุติธรรมพิพากษาก่อนศาล เสนอปรับฐานคิด แก้กฎหมาย-ข้อบังคับเรื่องประกันตัว แต่มีข้อท้าทายทุกอย่าง โครงการประเมินความเสี่ยงคือพัฒนาการลดความเหลื่อมล้ำที่ดี แต่ทำไมไม่ทำต่อ
(ภาพจากเว็บไซต์รณรงค์ change.org [1])
เมื่อ 19 ต.ค. 2561 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดเสวนาวิชาการ หัวข้อ "ลดความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม : ปัญหาการกำหนดหลักประกันในการปล่อยตัวชั่วคราวตามข้อกำหนดประธานศาลฎีกากับหลักความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญและแนวทางในการเเก้ไข"
ในงานมีอรรถพล ใหญ่สว่าง ประธานมูลนิธิอัยการ กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ รองเลขาธิการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และอดีตอัยการสูงสุด โสพล จริงจิตร รองเลขาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ภาวิณี ชุมศรี ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ผศ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล และ รศ.ปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ. เป็นวิทยากร ดำเนินรายการเสวนาโดยเพียรรัตน์ ลีลาพงศธร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ.
ดูวิดีโอย้อนหลังได้ใน Facebook ไม่มีใครติดคุกเพราะจน [2]
คณิตศาสตร์การประกันตัว กฎหมายให้เท่าเทียม เจ้าหน้าที่ขอเท่าทุน คุกจึงขังคนจนหลายหมื่น
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (ที่มา: Facebook/ต้องไม่มีใครติดคุกเพราะจน [3])
ปริญญากล่าวว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 29 วรรคสองระบุว่า ในคดีอาญา ศาลต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยไม่มีความผิด หากคดียังไม่ถึงที่สุด จะกระทำต่อจำเลยเยี่ยงผู้กระทำผิดไม่ได้ แต่ข้อบังคับของศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกหลักประกันหรือหลักประกันในการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาจำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2548 ที่ออกมามีการกำหนดอัตราประกันตัวในวรรค 5 เช่น ในคดีที่มีโทษจำคุกแต่ไม่มีโทษอื่นที่หนักกว่าจำคุกรวมอยู่ด้วย มีวงเกินประกันไม่เกิน 20,000 บาท ต่อระวางโทษจำคุกหนึ่งปี ถ้าจำคุก 20 ปีก็ 400,000 บาท แล้วคนไม่มีเงินประกันตัวจะทำอย่างไร แปลว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 29 ไม่จริง เพราะตามหลักแล้วคนจะติดคุกเพราะว่าถูกตัดสินว่ามีความผิด
แม้ข้อบังคับประธานฎีกาฯ ในวรรค 4 จะระบุว่าให้ศาลพิจารณาว่าจะให้ปล่อยตัวชั่วคราวได้โดยมีหรือไม่มีประกัน และให้คำนึงถึงความน่าเชื่อถือผู้ขอประกัน หลักประกัน และฐานะของผู้ต้องหาหรือจำเลยด้วย แต่ในทางปฏิบัติ ศาลมักมองข้ามข้อ 4 แล้วไปพิจารณาหลักประกันตามข้อ 5 เลย คำถามก็คือผู้พิพากษามีสิทธิกำหนดเงินประกันแค่ไหน เรื่องเงินคือความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม คนไม่มีเงินจะติดคุกก่อนถูกตัดสินคดี ในขณะที่คนมีเงิน และมั่นใจว่าจะติดคุกแน่ๆ ก็ทิ้งเงินประกันแล้วหนีคดีได้ คำถามคือ วิธีการประกันตัวเช่นนี้ได้ผลหรือไม่
ภาวิณี ชุมศรี (ที่มา: Facebook/ต้องไม่มีใครติดคุกเพราะจน [3])
ภาวิณีกล่าวว่า ฐานคิดของหน่วยงานรัฐจะตั้งหลักว่าจะทำอย่างไรถ้าคนได้ประกันตัวหลบหนีขึ้นมา ไม่รู้ว่าหน่วยงานรัฐจะมีการเช็คหรือไม่ว่าให้ประกัน ต้องมีความรับผิดชอบ ทำให้ยากในการใช้ดุลพินิจประกันตัวแบบไม่มีหลักทรัพย์ เข้าใจฝ่ายเจ้าหน้าที่ว่าถ้าประกันตัวแบบไม่มีหลักทรัพย์แล้วใครจะรับผิดชอบเมื่อมีการหลบหนี ถ้ามีหลักทรัพย์ อย่างน้อยก็ยังบังคับหลักทรัพย์ได้ ในกรณีที่ประกันตนออกมาแล้วหลบหนีจะทำอย่าง เห็นว่าควรไปเน้นกระบวนการจับกุมให้กลับมาสู่การพิจารณาคดีในศาลได้ ไม่จำเป็นต้องเพิ่มโทษกับผู้หลบหนี เพราะหากไม่มาศาลตามนัดแล้วศาลออกหมายจับก็เท่ากับหมดสิทธิ์ประกันตัว ส่วนตัวเห็นว่าเป็นการลงโทษแล้ว
อรรถพลกล่าวว่า ต้องยอมรับความจริงว่าหลักกฎหมายที่คนเสมอภาคในทางกฎหมายนั้นเป็นไปไม่ได้ เช่น ในคดีขับรถประมาท ตัวแปรในการพิจารณาว่าติดคุกหรือไม่ก็คือการชดใช้ค่าเสียหาย แล้วคำถามคือ คนจนสามารถชดใช้ค่าเสียหายได้หรือไม่ได้ ถ้าไม่ได้ก็ติดคุก ทั้งนี้ก็มีความพยายามในการเปลี่ยนแปลงเรื่องการปล่อยตัวชั่วคราวอยู่ ประมาณปีเศษๆ ที่แล้วมีการพูดถึงการปล่อยตัวชั่วคราวด้วยเงื่อนไขว่าให้ติดกำไลอิเลกทรอนิกส์ติดตามตัว
อรรถพล ใหญ่สว่าง (ที่มา: Facebook/ต้องไม่มีใครติดคุกเพราะจน [3])
กรณีข้อบังคับประธานศาลฎีกาที่มีการกำหนดจำนวนเงินประกันในข้อ 5 นั้น อรรถพลกล่าวว่เาป็นไปเพื่อกำหนดเพดานไม่ให้เกินจำนวนที่ตั้งไว้ คิดว่าเป็นเพราะสมัยก่อนมีกลุ่มนายคนที่ทำธุรกิจเป็นนายประกันและได้ประโยชน์จากการให้กู้เงินประกันจำนวนมาก บ้างมีข่าวลือว่ามีการจัดคิวบริษัทในการจ่ายเงินประกัน อีกหนึ่งเหตุผลคือการประกันหลายครั้งไม่ดูโทษหนักโทษเบา เคยเจอคดียักยอกทรัพย์ที่ตัดสินจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท แต่ศาลเรียกเงินประกัน 5 ล้านบาท เพราะไปดูค่าเสียหายแล้วประเมินว่าจำนวน 100 ล้านบาท จึงเรียกเอาเงินประกัน 5 ล้านบาท ซึ่งศาลเองก็ไม่ผิดที่เรียกเช่นนั้นก็เพราะว่ากลัวจะมีการหลบหนี
คำสั่งประธานศาลฎีกาที่ออกมาก็เป็นไปเพื่อสร้างเพดานในการเรียกเงินประกัน แต่ 600,000 บาทหรือ 800,000 บาทก็อาจถูกมองว่าเยอะเกินไป ในต่างประเทศมีตัวอย่างเรื่องการกำหนดเงื่อนไขโดยไม่ต้องใช้หลักประกัน เช่นใช้กำไลติดตามตัวหรือให้อยู่แต่ในบ้านถ้านำมาแก้ไขในประเด็นนี้ คิดว่าคนจน คนรวยจะมาได้เปรียบเสียเปรียบกันน่าจะน้อยลงถ้าเปิดหลักเกณฑ์นี้ แต่ต้องไปแก้ที่กฎหมายเสียก่อน
โสพลกล่าวว่า ความเป็นคนจนมันรันทดสลดใจทุกอย่าง สังคมกำลังเอาสถานะทางเศรษฐกิจมาบังคับกระบวนการยุติธรรม เป็นการกล่อมเกลาทางสังคมว่ารวยดีกว่าจน ต้องรวยไว้ก่อน เพราะจะมีอภิสิทธิ์ในสังคมดีกว่าคนอื่น ตั้งคำถามกระบวนการยุติธรรมกำลังทำแบบนั้นกับสังคมหรือเปล่า อัตราโทษที่เท่ากันไม่ได้หมายความว่าเราจะเท่ากันในทางทรัพย์สิน แต่ละคนกินข้าวมื้อละไม่เท่ากัน สิ่งนี้คือสิ่งที่คนในกระบวนการยุติธรรมต้องถกกันให้ชัดเจน
โสพล จริงจิตร (ที่มา: Facebook/ต้องไม่มีใครติดคุกเพราะจน [3])
โสพลกล่าวต่อไปว่าระบบกฎหมายเองก็มีปัญหา ประเทศนี้มักอยากทำให้ความผิดหลายอย่างเป็นคดีอาญา การทำให้ความผิดเป็นโทษอาญาน้อยลงก็ทำให้การปล่อยตัวและการประกันตัวน้อยลงตามไปด้วย ปัจจุบันเหลือผู้ต้องขังระหว่างรอศาลชั้นต้นพิพากษาจำนวน 50,000 คน จากเมื่อก่อนที่มี 80,000 คน ถือว่าลดลงแต่จำนวน 50,000 คนก็เป็นหน้าที่ของคนจ่ายภาษีที่ต้องไปเลี้ยงข้าว จะทำอย่างไรให้การพูดคุยนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ กสม. มีหน้าที่เสนอแนะแก้ไขกฎหมายเพื่อเป็นประโยชน์แก่สิทธิมนุษยชน หากมีข้อเสนอแนะมีการชี้แจงได้ ส่วนตัวเสนอว่าอาจต้องยกเลิกข้อบังคับที่เป็นยี่ต๊อกไปเสีย และทำให้ศาลกล้าใช้ดุลพินิจมากขึ้น
ความหวังและข้อท้าทาย กับเสนอปรับฐานคิด แก้กฎหมาย-ข้อบังคับเรื่องประกันตัว
ปริญญากล่าวว่า สำหรับข้อเสนอที่เคยมีนั้นก็คือการพิจารณาความเสี่ยงว่าจำเลยจะหนีหรือไม่ ถ้าความเสี่ยงต่ำก็ให้ปล่อยตัวชั่วคราว รายที่หนีแน่นั้นก็ปล่อยไม่ได้ แต่กลุ่มที่ก้ำกึ่งก็ต้องประเมินความเสี่ยงกัน โดยมีเป้าหมายว่าจำเลยจะมาขึ้นศาลหรือไม่ มีปัจจัยพิจารณาหลายตัว แต่สิ่งทีทำได้เลยคือการปฏิบัติตามข้อบังคับประธานศาลฎีกาฯ ข้อที่ 4 ก่อน
ส่วนในประเด็นว่าใช้เงินเป็นหลักประกันจะขัดกับรัฐธรรมนูญ ม.29 วรรคสองหรือ ม 27 ที่บอกว่าทุกคนเสมอกันในทางกฎหมายหรือไม่นั้นต้องดูว่าจะทำอย่างไรกับข้อบังคับได้หรือไม่ ถ้าขัดกันแล้วจะทำอย่างไรต่อ ในทางหลักการ ถ้าเป็นคำสั่งฝ่ายบริหารก็ว่ากันที่ศาลปกครอง แต่ถ้าเป็นข้อบังคับประธานศาลฎีกาที่ขัดศาลรัฐธรรมนูญจะขึ้นศาลใดได้ แต่ตั้งข้อเสังเกตว่าวิธีพิจารณาความอาญาเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2477 ต่อมาจึงมีการบัญญัติหลักการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์หากยังไม่มีคำตัดสินจากศาลเมื่อปี 2492 แต่ วิ.อาญา เดิมไม่มีการอนุวัติปรับตามพัฒนาการ
ปริญญาเสนอให้แก้ข้อบังคับประธานศาลฎีกาฯ และ วิ.อาญา ทำให้การใช้เงินเป็นหลักประกันเป็นเรื่องทำไม่ได้ แต่ในกรณีหลังนั้นยากกว่า เพราะต้องไปขึ้นกับการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในขณะที่ส่วนแรกนั้นขึ้นอยู่กับประธานศาลฎีกาจะเห็นว่าต้องทบทวนหรือปรับแก้อย่างไร แต่หลักการคือรัฐธรรมนูญเป็นใหญ่ ไม่ใช่ตุลาการเป็นใหญ่ ถ้าจะทบทวนข้อบังคับจากฝ่ายตุลาการไม่ได้ก็ไม่ใช่หลักการปกครองตามกฎหมายที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
ภาวิณีกล่าวในประเด็นการแก้ไขกฎหมายและข้อบังคับว่า กระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้นศาลปกครองไม่รับ ส่วนศาล รัฐธรรมนูญ ถ้าบังเอิญว่าฟ้องได้จริง ศาลจะวินิจฉัยอย่างไร อีกประการหนึ่งคือ คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญคือที่สุดแล้ว ถ้าศาลตัดสินว่าไม่ขัดก็เท่ากับว่าต้องใช้ตัวกฎหมายนี้ตลอดไป
ทนายสิทธิฯ ชี้ ไม่มีเงินประกันทำคนยอมสารภาพ กองทุนยุติธรรมพิพากษาก่อนศาล
ภาวิณีกล่าวว่า ผลกระทบที่มากไปกว่าการเสียโอกาสหากไม่ได้ประกันตัว คือ หลายคนตัดสินใจรับสารภาพถ้าศาลไม่อนุญาตประกันตัว ไม่มีเงินประกันตัวหรือไม่มีทางเลือก แล้วรอลดโทษ บางคดีมีความก้ำกึ่งที่สามารถพิสูจน์ได้ เช่น ความผิดคดีอาญามาตรา 112 หลายคนก็ตัดสินใจรับสารภาพเพราะหลักทรัพย์ประกันสูง การพิจารณาก็นานแทบจะเท่าระยะเวลาจำคุก เผลอๆ รับสารภาพอาจจะพ้นโทษเร็วเสียกว่า แบบนี้ถือว่าเป็นการทำให้จำเลยกลายเป็นผู้ผิดไปก่อนแล้ว
จากประสบการณ์การทำงานพบว่าคนจนมีโอกาสขอปล่อยตัวชั่วคราวน้อยกว่า เพราะเวลาจะขอประกันตัวตอนถูกฝากขังก็จะถูกเจ้าหน้าที่ถามต่อว่าข้อหาอะไร หลักทรัพย์ประมาณเท่านี้ จะประกันด้วยอะไร เงินสด ตำแหน่ง ที่ดินหรือเอกสาร หลายคนพอเห็นว่าต้องเป็นหลักทรัพย์ก็จอดแล้ว หรือไม่เช่นนั้นก็กู้มา ท้ายที่สุดศาลอาจจะไม่ให้ เงินที่กู้หรือของที่จำนอง จำนำก็ต้องไปเอาเงินมาไถ่คืน ชดใช้ดอกเบี้ยกันไป ด้วยความที่ส่วนตัวช่วยคดีคนที่ไม่มีทรัพย์สินเงินทองเยอะ ก็จะได้คุ้นเคยกับคนที่ไม่มีหลักทรัพย์ประกันตัว ก็ได้แนะนำให้ไปขอกองทุนยุติธรรม หรือใครมีสักเล็กน้อยก็จะไปเช่าหลักทรัพย์ สมัยนี้คือการไปทำสัญญากับบริษัทประกันที่ขึ้นทะเบียนกับศาล การจ่ายเงินก็ไม่ง่าย ต้องมีคนค้ำประกันที่มีเงินเดือนเป็นหลักฐาน
ทนายความจากศูนย์ทนายสิทธิฯ กล่าวอีกว่า ผู้ขอประกันตัวมีอุปสรรคอื่นนอกเหนือจากดุลพินิจศาล การขอกองทุนยุติธรรมก็มีอุปสรรคและเงื่อนไขต่างๆ ทั้งเรื่องการใช้เวลานานซึ่งก็เข้าใจได้ว่าต้องใช้เวลากลั่นกรอง แต่การพิจารณานั้นยิ่งกว่าศาล มีการดูทั้งข้อกล่าวหา ที่มาที่ไปของครอบครัวว่ามีความประพฤติอย่างไร ผู้ขอต้องกลับไปดูแลครอบครัวไหม และพิจารณาความถูกผิดในข้อกล่าวหา กองทุนจะตัดสินไปก่อนว่าถูกหรือผิดแม้จะยังไม่มีการพิสูจน์หลักฐาน เป็นอีกเรื่องที่ต้องคุยกันหนัก
โครงการประเมินความเสี่ยง: พัฒนาการลดความเหลื่อมล้ำที่ดี (แต่ไม่ทำต่อ)
ปกป้อง ศรีสนิท (ที่มา: Facebook/ต้องไม่มีใครติดคุกเพราะจน [3])
ปกป้องกล่าวว่า แนวปฏิบัติเรื่องการกำหนดหลักประกันตัวที่ดูตามข้อหา ไม่ได้ดูตามฐานะเป็นการมองความเสมอภาคที่ผิด กลายเป็นว่าถ้ามีเงินก็ประกันตัวได้ จะทำให้คนมีเงินหรือรู้จักข้าราชการได้สิทธิ์ปล่อยตัวชั่วคราว ในฝรั่งเศส การปล่อยตัวชั่วคราวไม่กำหนดทรัพย์สินเลยเพราะการใช้เงินเป็นการเลือกปฏิบติไม่เป็นธรรม ให้ศาลประเมินตามกรณี หากมีความเสี่ยงพฤติกรรมหลบหนีก็สั่งขัง บางกรณีที่เป็นคดีที่ไม่กระทบสังคมมาก ผู้ขอประกันตัวมีที่อยู่ ที่ทำงานเป็นหลักแหล่ง มีลูกที่ต้องเลี้ยงก็ปล่อยตัว แต่กำหนดเงื่อนไขเ ช่นให้มารายงานตัวต่อศาลหรือรายงานตัวต่อตำรวจก่อนไปทำงาน
ปกป้องพูดถึงโครงการประเมินความเสี่ยงและกำกับดูแลในชั้นปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งเป็นโครงการทดลองในบางศาล ที่สำนักงานศาลยุติธรรมให้ความสำคัญเมื่อต้นปี 2560 หรือที่เรียกอีกชื่อว่า “โครงการปล่อยฟรีไม่มีประกัน” ที่ทดลองให้ศาลพิจารณาข้อมูลส่วนตัว ประวัติที่เกี่ยวกับกับคดีของผู้ต้องหาหรือจำเลย เพื่อวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือว่า หากปล่อยตัวไปแล้วจะปฏิบัติตามคำสั่งของศาล แล้วตีความออกมาเป็นระดับความเสี่ยง โครงการดังกล่าวดำเนินการไปหนึ่งปี พบว่าคนที่เข้าโครงการฯ มีอัตราหลบหนีพอๆ กันกับระบบเก่าที่เรียกเงิน เรียกหลักประกัน ถือว่ามาถูกทาง เพราะแสดงให้เห็นแล้วว่าคนจะหนีก็หนีอยู่แล้ว ตนเห็นด้วยและคิดว่าควรจะขยายขอบเขตออกไป แต่ก็เสียดายที่โครงการจะถูกชะลอ
หลายคนอาจตั้งข้อสังเกตว่าโครงการเช่นนี้ทำให้ผู้พิพากษาเสียเวลา แทนที่จะใช้บัญชีแบบเดิมกำหนดอัตราประกันตัวไม่กี่นาที แต่คิดว่าการสร้างระบบใหม่ที่ต้องใช้เวลาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เกิดความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมายเป็นเรื่องที่คุ้มค่า ตนเข้าใจคนทำงานศาลว่าต้องการหลังพิงในกรณีที่มีการปล่อยตัว เพราะหากปล่อยตัวแล้วหนีก็เสี่ยงที่จะโดนร้องเรียน จึงจำเป็นต้องหาหลังพิงใหม่ และระบบประเมินความเสี่ยงปล่อยตัวชั่วคราวคือหลังพิงที่คิดว่าน่าเชื่อถือ บัญชีหรือยี่ต๊อกที่เป็นหลังพิงเดิมทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม
ภาวิณีกล่าวว่า เท่าที่ฟังมาก็พบว่าโครงการประเมินความเสี่ยงฯ ดีอยู่แล้ว เจ้าของโครงการก็บอกว่าดี แต่งงว่าทำไมไม่ใช้ต่อ กลายเป็นนโยบายที่มีความไม่แน่นอน จะแก้ไขได้ถ้ากำหนดเป็นกฎหมาย จะได้มีเจ้าหน้าที่ มีงบประมาณ มีการอธิบายเนื้อหาและกระบวนการดำเนินการ แต่กฎหมายก็ไม่ได้ออกง่ายๆ แม้ในช่วงที่มีสภาปกติ สังเกตว่ากฎหมายที่คุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาในคดีอาญาออกยากมาก แต่กฎหมายหน่วยงานรัฐมาจำกัดอาชญากรรม แก้ปัญหาต่างๆ กลับออกง่ายมาก
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'โสพล จริงจิตร', 'ปริญญา เทวานฤมิตรกุล', 'ภาวิณี ชุมศรี', 'กระบวนการยุติธรรม', 'ปกป้อง ศรีสนิท', 'อรรถพล ใหญ่สว่าง', 'ไม่มีใครติดคุกเพราะจน', 'การปล่อยตัวชั่วคราว', 'ประกันตัวชั่วคราว', 'เงินประกันตัวไม่พอ', 'กองทุนยุติธรรม'] |
https://prachatai.com/print/79263 | 2018-10-22 22:22 | อรรถวิชช์ตั้งเงื่อนไข 'พลังประชารัฐ' หากมุ่งต่อท่ออำนาจ คสช. "จะคบกันลำบาก" | อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ กล่าวในวงเสวนาที่จุฬาฯ เตือนพรรคพลังประชารัฐเรียนรู้ประวัติศาสตร์พรรคการเมืองต่อท่ออำนาจในอดีต หากไม่เจอรัฐประหารตัวเองก็เจอระบบส้นตีนแห่งชาติ พร้อมตั้งเงื่อนไขร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐได้ ถ้านโยบายตรงกันเช่นกระจายอำนาจ เลือกตั้งผู้ว่าฯ แต่ถ้าพลังประชารัฐมุ่งต่ออำนาจ คงคบกันลำบาก พร้อมห่วง 250 ส.ว.ที่ คสช. ตั้งหากไม่เคารพเสียงสภาผู้แทนราษฎรที่ประชาชนเลือกมา จะพากันบรรลัยหมด ชี้ถ้ากองทัพหากเลิกเล่นบทคนกลางหันมายุ่งการเมืองจะวงแตก เกิดวังวนรัฐประหารไม่รู้จบ
ในการเสวนา "บทเรียนในอดีตสู่การพัฒนาในอนาคต" เป็นส่วนหนึ่งของงานเสวนา 42 ปี 6 ตุลาฯ จุฬาฯ มองอนาคต เมื่อวันที่ 14 ต.ค. ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมเกษม สุวรรณกุล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอนหนึ่ง อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเตือนการสืบทอดอำนาจของ คสช. และตอบคำถามเรื่องเงื่อนไขในการร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐว่า
"มาถึงวันนี้ พรรคใหม่ล่าสุด พรรคพลังประชารัฐ เสียดายต้องชวนเขามาพูดด้วย ผมว่าเป็นการต่อท่ออำนาจรัฐบาลนั่นแหละ ทำไมถึงพูดแบบนี้ครับ ก็เพราะในพรรคเดียวกันมีถึง 4 รัฐมนตรี แล้วเป็นรัฐมนตรีที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่ด้วยไม่ออกครับ ไม่รู้ว่าจะเป็นพรรคของ พล.อ.ประยุทธ์ หรือเปล่า เพราะท่านยังไม่แสดงท่าทีการเมืองใด to be fair ครับ แต่ที่แน่ๆ 4 รัฐมนตรีอยู่ในพรรคนี้ไม่ออก แล้วชื่อพรรคไปคล้องจองกับนโยบายรัฐด้วยสิ ประชารัฐครับ เสียดายน้องน่าจะเอามา
ผมว่าประวัติศาสตร์สอนอะไรเยอะเหมือนกันนะครับว่า ความล้มเหลวในการตั้งพรรคการเมืองที่ต่อท่ออำนาจ สุดท้ายแล้วมันไม่เจอการทำรัฐประหารตัวเอง หรือกลุ่มอำนาจใหม่ทำรัฐประหาร มันก็จะเจอระบบส้นตีนแห่งชาติ ก็คือเจอประชาชนนี่แหละครับ ทีนี้ปัญหาก็คือว่าเมื่อเรียนรู้กับมันแล้ว ทำไมยังเดินหน้าต่อ ก็ต้องฝากเตือนไว้ว่าต้องมีความระมัดระวัง
ทีนี้ผมขอย้อนรอยนิดหนึ่ง ผมมีความแตกต่างกับหลายคนที่นั่งในนี้ ถ้าพรรคพลังประชารัฐ ฟังดีๆ นะครับ ถ้าพรรคพลังประชารัฐได้จำนวน ส.ส. ส่วนหนึ่ง แล้วไม่ได้ขี้โกงเลือกตั้ง จะไปร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐได้ไหม คำตอบคือ ถ้านโยบายคุณกับผมตรงกันร่วมรัฐบาลได้ เช่น ผมอยากให้มีเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในหลากหลายจังหวัด ไปสู่การกระจายอำนาจ ลดทอนอำนาจราชการส่วนภูมิภาคลง แล้วเกิดการกระจายอำนาจ ถ้าคุณคิดเหมือนผม แล้วคุณมาจากการเลือกตั้ง ผมไม่เกี่ยง ผมชัดเจนนะครับ แต่ถ้าคุณทำลักษณะเป็นพรรคต่อท่ออำนาจ แล้วไม่เคารพเสียงข้างมากในสภา อันนี้เรื่องใหญ่ คบกันลำบากครับ
แปลว่าอะไรครับ อย่าลืมว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ท่านสวม 2 หมวก วันนี้ไม่รู้จะมาเป็นแคนดิเดตผู้ถูกเสนอชื่อในการเป็นายกรัฐมนตรีโดยพรรคพลังประชารัฐหรือเปล่า ผมไม่ก้าวล่วง แต่หมวกส่วนหนึ่งที่ท่านมีในขณะนี้คือหัวหน้า คสช.
ส.ว. จำนวน 250 คน หลายคนอาจจะยังไม่ทราบนะครับ ส.ว. จำนวน 250 คน ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ภายใน 5 ปีแรกนี้ เขาให้ ส.ว. มาเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีได้ด้วยนะ ปกติแล้ว ส.ส. 500 คนที่มาจากการเลือกตั้งเป็นคนเลือก ใช่หรือเปล่า เราเลือกพรรคไหนชอบพรรคไหนใครเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีก็เลือกครับ แต่คราวนี้คำถามพ่วงรัฐธรรมนูญเขาถามว่าเอาไหม ถ้าให้ ส.ว.เลือกด้วย 250 คน
ส.ว. 250 คนมาจากไหน 200 คน มาจากการหยิบโดย คสช. สรรหา อีก 50 คนก็ คสช. หยิบเหมือนกัน หยิบจากไหนรู้ไหมครับ หยิบจากที่ กกต.จะประกาศเลือก ส.ว. เลือกมา 200 คน แล้วเขาหยิบ 50 หมายความว่าทั้ง 250 ใครเลือกครับ คสช. เลือกครับ สิ่งหนึ่งที่จะอันตรายที่สุด และเป็นการต่อท่อที่อันตรายมากๆ คือ ถ้าในขณะนั้นหัวหน้า คสช. ตัดสินใจไม่เคารพเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากประชาชน แล้วหักเหลี่ยมเลยครับ พรรคการเมืองจับตัวได้เรียบร้อย เกินจากครึ่งของสภาผู้แทนราษฎร บอก ส.ว. ไม่ให้ยกมือให้ แบบนี้บรรลัยเยือนไหมครับ บรรลัยกันหมดครับ
ผมพูดชัดเจนครับ ผมไม่ได้รังเกียจทหาร เพราะทหารเป็นอาชีพเสียสละเพื่อชาติบ้านเมือง ทหารก็เป็นอาชีพสำคัญ ผมไม่เคยรังเกียจสักอาชีพ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน ใครเป็นก็ได้ ใครไปตั้งพรรคการเมืองมาแบบไหนก็ได้ ถ้าอุดมการณ์ลงกัน นโยบายลงกัน เดินได้เลย แต่สิ่งที่จะปวดหัวคือการเอาสถาบันความมั่นคงทหารนี่แหละ เมื่อเอาสถาบันทหารมาปนกับสถาบันการเมืองแบบนี้วงแตก เพราะประวัติศาสตร์เมื่อสักครู่ที่เล่ามา ตั้งแต่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ถอนม ประภาส จนถึงสุจินดา คราประยูร มันบอกเราครับว่าถ้าเอาสถาบันทหารกับสถาบันการเมืองปนกันแบบทีเรียกว่าหาจุดแตกต่างไม่ได้ ความเสียหายของบ้านเมืองจะมาถึง แล้วถ้ามาถึงวันนั้น มันจะเป็นเหตุการณ์ที่เราจะไม่มีคนกลางอีกแล้ว คนกลางขณะนี้คือรัฐบาลนี้ คสช. ครับ แต่วันนี้คนกลางเลิกเป็นคนกลางแล้วกลายเป็นผู้เล่นมันจะเกิดอะไรขึ้นครับ วัฏจักรวังวนของการทำรัฐประหารไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้น"
บทเรียนในอดีตสู่การพัฒนาในอนาคต | อภิปราย 6 พรรค [คลิป] [1], 16 ต.ค. 2561
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'พรรคประชาธิปัตย์', 'พรรคพลังประชารัฐ', 'คสช.', 'อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี', 'มัลติมีเดีย', 'เสวนา', 'การเมืองไทย', 'สืบทอดอำนาจ', 'รัฐธรรมนูญ 2560'] |
https://prachatai.com/print/79264 | 2018-10-23 00:25 | BRN ย้ำตัวบุคคลไม่สำคัญเท่าหลักการเจรจา หลัง รบ.ไทยเปลี่ยนหัวหน้าทีมคุย | เตรียมเปิดตัวหัวหน้าเจรจาไทยคนใหม่ และผู้อำนวยความสะดวกจากมาเลย์คนใหม่ ขณะที่ 'มหาธีร์' เดินทางมาพบกับ พล.อ.ประยุทธ์ 24-25 ต.ค.นี้ ด้าน BRN แถลง 5 ข้อ และย้ำตัวบุคคลไม่สำคัญเท่าหลักการเจรจา วันนี้ผบ.ทบ.ลงพื้นที่ตำบลทรายขาว ปัตตานี ชูสังคมพหุวัฒนธรรม ส่วนที่รือเสาะ จนท.คุมตัว อดีต ปธ.สภานักศึกษา ม.รามคำเเหง
ภาพประกอบจาก เฟสบุ๊กแฟนเพจ 'Free Voice' ซึ่งเป็นภาพส่วนหนึ่งที่ นักศึกษานักกิจกรรม สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี (PerMAS) จัดกิจกรรม เนื่องในวันสันติภาพสากล เมื่อวันที่ 21 ก.ย.ที่ผ่านมา บริเวณหน้าตึก 19 หรือ อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
22 ต.ค.2561 ความคืบหน้าของกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายเเดนใต้ หลังเมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดเผยว่ามีการเปลี่ยน หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายเเดนใต้ เป็น พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ นั้น
'ประวิตร' ถกแก้ปัญหาชายแดนใต้ เปลี่ยนหัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุข [1]
เตรียมเปิดตัวหัวหน้าเจรจาไทย-ผู้อำนวยความสะดวกจากมาเลย์คนใหม่
เสกสรรค์ กิตติทวีสิน รายงานทางมติชนออนไลน์ [2]ว่า ช่วง 24-25 ต.ค.นี้ ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย จะเดินทางมาพบกับ พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งมาครั้งนี้ มีเรื่องการบ้านการถกการเจรจาสันติสุขที่มาเลเซียในฐานะผู้อำนวยความสะดวก ระหว่างรัฐบาลไทยกับมาราปาตานี โดยมาเลเซียจะนำ ตัน สรี อับดุล ราฮิม บิน โมห์ด นูร์ ผู้อำนวยความสะดวกคนใหม่ หรือ New Facilitator มาเปิดตัว จากที่มีข่าวออกมาว่า เพิ่งเดินทางมาคุยกับคนในรัฐบาลบ้างแล้ว เพื่อให้การพบกันของสองนายกฯเป็นไปอย่างราบรื่น ส่วนรัฐบาลไทยจะเปิดตัว พล.อ.อุดมชัย หัวหน้าคณะเจรจาสันติสุขคนใหม่
BRN แถลง 5 ข้อ และย้ำตัวบุคคลไม่สำคัญเท่าหลักการเจรจา
ขณะที่ บีบีซีไทย [3] รายงานท่าทีจากอีกหนึ่งกลุ่มสำคัญคือแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี หรือ JABATAN PENERANGAN - BRN ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา 5 ข้อ ประกอบด้วย
1. บีอาร์เอ็นไม่ปฏิเสธในวิถีทางการเมืองในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในปาตานี ตามที่ทางบีอาร์เอ็นได้ออกแถลงการณ์ไปแล้วเมื่อ วันที่ 10 เม.ย. 2560
2. รูปแบบการเจรจาที่ทางบีอาร์เอ็นต้องการ มีดังนี้
a) คู่ขัดแย้งที่ต่อสู้ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีความเห็นชอบต้องกันโดยปราศจากการบีบบังคับหรือสภาวะกดดันจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
b) กระบวนการเจรจาจะต้องเป็นไปตามหลักสากล ในความหมายที่ว่าจะต้องมีฝ่ายที่สาม นั่นก็คือองค์กรระหว่างประเทศที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงเข้าร่วม เช่น กลุ่มประสานงานระหว่างประเทศ (International Contact Group) กลุ่มผู้สังเกตการณ์ หรือกลุ่มที่มีลักษณะใกล้เคียง
c) ผู้อำนวยความสะดวกหรือผู้ไกล่เกลี่ยในกระบวนการเจรจาจะต้องมีความเป็นธรรม ไม่เอนเอียง ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง มีความน่าเชื่อถือ และผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ
3. กรอบโครงสร้างและโรดแมปพร้อมทั้งรูปแบบของกระบวนการเจรจา รวมไปถึงหน้าที่และข้อกำหนด (terms of reference) ของผู้อำนวยความสะดวกหรือผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องถูกกำหนดโดยคู่ขัดแย้งหลักและเป็นที่เห็นชอบร่วมกันของทั้งสองฝ่าย
4. ในบริบทความขัดแย้งที่ปาตานี คู่ขัดแย้งหลักก็คือฝ่ายรัฐบาลไทยและขบวนการบีอาร์เอ็น ดังนั้นกระบวนการในการแก้ไขความขัดแย้งจะต้องเกี่ยวโยงจากทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตามข้อเสนอและความปรารถนาของแนวร่วมผู้สนับสนุน (constituency) และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ในปาตานี ถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ในการที่จะต้องมีหลักประกันต่อรูปแบบหรือวิธีการที่ดีและมีประสิทธิผล
5. บีอาร์เอ็นเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ณ ปาตานี ให้เรียนรู้จากบทเรียนของกระบวนการเจรจาที่ผ่านมา และสามารถที่จะนำวิธีการที่ดีที่ก่อประโยชน์มากที่สุดและที่เกี่ยวข้องกับการหนุนเสริมที่จะช่วยในเรื่องการพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ บีบีซีไทย ยังสัมภาษณ์ อับดุล การีม คาลิด โฆษกของ BRN ถึงการเปลี่ยนหัวหน้าคณะพูดคุยของทางรัฐบาลไทยว่า "ผมไม่ให้ความสำคัญกับตัวบุคคล ทางบีอาร์เอ็น ให้ความสนใจกับรูปแบบ วิธีการเจรจามากกว่า ที่จะต้องมาระดมความคิด มาสร้างร่วมกัน หาแนวทางที่ดี ที่เหมาะสม ชอบธรรม ถ้าเราไม่มานั่งโต๊ะคุย ดีไซน์ร่วมกัน ผู้ไกล่เกลี่ยคนไหนก็ไม่มีผล ... ถ้ารัฐบาลไทยกับบีอาร์เอ็นมาคุยกัน ใครก็ได้มาเป็น facilitator (ผู้อำนวยความสะดวก)"
ผบ.ทบ.ลงพื้นที่ตำบลทรายขาว ปัตตานี ชูสังคมพหุวัฒนธรรม
วันนี้ (22 ต.ค.61) ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า) รายงานว่า เมื่อเวลา 10.45 น. ที่มัสยิดนัจมุดดีน หมู่ที่ 4 บ้านควนลังงา ต.ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก/รอง ผอ. กอ.รมน. พร้อมด้วย พล.ท.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4/ ผอ.กอ.รมน.ภาค 4, พล.ต.ท.รณศิลป์ ภู่สาระ ผู้บัญชาการกองกำลังตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้, ไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เดินทางลงพื้นที่ เพื่อพบปะผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ในการนี้ผู้นำศาสนาได้มีการสวดดูอาร์ขอพร พระเจ้า เพื่อให้พรกับผู้บัญชาการทหารบก และคณะได้ได้เดินทางต่อไปยังวัดทรายขาว โดยมี สมาน ศรีปูเต๊ะ กำนันตำบลทรายขาวเป็นผู้แทนพี่น้องประชาชนกล่าวต้อนรับและบรรยายสรุปประวัติความเป็นมาของตำบลทรายขาว ซึ่งเป็นหนึ่งชุมชนพหุวัฒนธรรมที่มีความเข้มแข็ง พี่น้องประชาชนทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมานานหลายร้อยปี
จากนั้น ผบ.ทบ.ได้กล่าวกับพี่น้องประชาชนที่มาร่วมต้อนรับในโอกาสเดินทางลงพื้นที่ตำบลทรายขาว ถือเป็นตำบลที่มีลักษณะพิเศษ เป็นพื้นที่ที่ทุกคนต้องมาเยือน เพราะคนที่นี่มีความยิ้มแย้มแจ่มใส ชาวไทยพุทธชาวไทยมุสลิมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข มีจุดเด่นเป็นศูนย์รวมจิตใจของทั้งสองศาสนาคือวัดทรายขาวและมัสยิดนัจมุดดีน วันนี้นับเป็นโอกาสที่ดีที่ได้มาเยือนและชมคัมภีร์อัลกุรอาน รวมถึงเยี่ยมชมวัดทรายขาวแห่งนี้ สำหรับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ได้มีการเน้นย้ำให้ภาคราชการต้องทำงานเพื่อดูแลประชาชน เชื่อว่าทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จะร่วมใจกันดูแลประชาชนให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขถึงแม้ว่าจะนับถือต่างศาสนา แต่ทุกคนอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารอย่างเท่าเทียมกันนอกจากนี้ยังเน้นย้ำให้ส่วนราชการทุกฝ่ายอยู่กับพี่น้องประชาชนให้มากขึ้น อย่าทิ้งประชาชนเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจและฝ่ายพลเรือนจะต้องใส่ใจดูแลประชาชนมากขึ้น ขอให้ตำบลทรายขาวแห่งนี้เป็นต้นแบบเพื่อการขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆต่อไป นอกจากนี้ยังกล่าวกับพี่น้องประชาชนชาวตำบลทรายขาวอีกด้วยว่า หากได้เดินทางมาที่ตำบลทรายขาวอีกครั้ง จะขอไปเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆในพื้นที่ตำบลทรายขาวในโอกาสต่อไป
รือเสาะ : จนท.คุมตัว อดีต ปธ.สภานักศึกษา ม.รามคำเเหง
Wartani [4] รายงานว่า วันนี้ (23 ต.ค.61) เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจทหาร ไปหาที่ร้านขายน้ำอ้อยของ อับดุลยาเล หะยีดอเลาะ ตั้งอยู่ข้างๆ สวนกาญจณารือเสาะ จ.นราธิวาส หลังจากนั้นก็ได้นำตัวไปโรงพัก
สำหรับ อับดุลยาเล หะยีดอเลาะ ซึ่งเคยเป็นอดีต ประชาสัมพันธ์ กลุ่มนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้(PNYS) เเละอดีตประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี2556
Wartani รายงานต่อว่า สักพักก็พากลับมาค้นที่บ้าน แล้วบอกกับญาติว่าจะพาไปนรา ในฐานะผู้ต้องสงสัยพอเวลาประมานบ่ายโมง มีทหารมาหาที่บ้านอีก ให้นำเสื้อผ้าไปให้เปลี่ยนและซื้อข้าวไปด้วยพอญาติไปถึงค่ายก็ปรากฎว่าแบเลไม่อยู่แล้ว เขาพาไปที่อื่นแล้ว ทางญาติมาช้า 5 นาที เจ้าหน้าที่คนนึงกล่าว
Wartani รายงานย้ำด้วยว่า หากมีความคืบหน้าจะรายงานเพิ่มเติมต่อไป
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'ความมั่นคง', 'อภิรัชต์ คงสมพงษ์', 'พหุวัฒนธรรม', 'การเจรจา', 'BRN', 'อับดุลยาเล หะยีดอเลาะ', 'คณะพูดคุยสันติสุข', 'ชายแดนใต้', 'มหาธีร์ โมฮัมหมัด'] |
https://prachatai.com/print/79261 | 2018-10-22 20:36 | 'อภิสิทธิ์' แนะทุกฝ่ายย้อนดูตัวเองอย่าสร้างเงื่อนไข หลัง ผบ.ทบ.ไม่รับประกันรัฐประหาร | ปม ผบ.ทบ.ไม่รับประกันรัฐประหาร 'อภิสิทธิ์' ชี้พล.อ.อภิรัชต์ คงมองเหตุการณ์ 2 ครั้งที่ผ่านมาที่มีการรัฐประหาร เพราะภาวะบ้านเมืองไม่สงบ ชี้แทนที่จะไปคาดคั้นท่าน ผบ.ทบ. ทุกคนก็ย้อนกลับมาดูในส่วนของตัวเองก่อนว่ามีอะไรบ้างที่เราจะสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้มันเกิดขึ้นอีกได้
22 ต.ค.2561 จากกรณีที่วันที่ 17 ต.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์การเมือง โดยยืนยันว่า ความเป็นนกลางขึ้นอยู่กับมุมมองของใคร ซึ่งเรามั่นใจว่าเราเป็นกลาง ขณะที่คำถามที่ ผบ.ทบ. มักถูกถามคือ สถานการณ์ในปัจจุบันจะนำไปสู่การรัฐประหารอีกหรือไม่ นั้น ผบ.ทบ.ได้ชี้แจงว่าถ้าวันนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ตัดสินใจ บ้านเมืองจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งได้คาดหวังอย่างยิ่งว่า เหตุการณ์รุนแรงในประเทศจะไม่เกิดขึ้นอีกเพราะกองทัพไม่มีวันชนะประชาขน ขณะที่ประชาชนออกมาเผาบ้าน ออกมาทำระเบิด ท่านนั้นแหละที่ทำให้ประเทศพ่ายแพ้ "ผมมั่นใจว่าถ้าการเมืองไม่เป็นต้นเหตุการจลาจล ก็ไม่มีอะไร" ผบ.ทบ. กล่าว นั้น
ดูคำตอบ ผบ.ทบ.ในอดีต เมื่อถูกถามจะรัฐประหารหรือไม่? หลัง 'อภิรัชต์' ไม่รับประกัน [1]
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (22 ต.ค.61) ในรายการ 'ต้องถาม อภิสิทธิ์' ทางสถานีโทรทัศน์ช่องฟ้าวันใหม่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในรายการถึงประเด็นดังกล่าวด้วยว่า ท่าน (ผบ.ทบ.) คงมองเหตุการณ์ 2 ครั้งที่ผ่านมาที่มีการรัฐประหาร คือ ภาวะบ้านเมืองไม่สงบ ไม่ปกติ
"ผมเป็นคนหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับคำพูด คนพูดแล้วมันต้องรักษาคำพูด ทีนี้ถ้าเราอยากได้แบบสบายใจกันนะ ก็ไปถามท่าน ท่านก็ตอบว่าผมรับประกันว่าไม่มี แต่คนที่เคยรับประกันไม่มี 2 ครั้งแล้ว อย่างน้อยนะที่จำได้ในประวัติศาสตร์ ก็สุดท้ายก็ไม่สามารถรักษาคำพูดตัวเองได้ ผมก็เลยมีความรู้สึกว่า ก็ที่ท่านพูดท่านก็ดูจากประวัติศาสตร์ และท่านก็จะไม่ พูดง่ายๆ ก็ทำอะไรซึ่งต่อไปวันข้างหน้าท่านผิดคำพูด ก็เท่านั้น แต่ถามว่าสนับสนุนให้มีรัฐประหารอีกไหมนี่ ผมว่าคนส่วนใหญ่ก็คงไม่ล่ะครับ คงไม่มีใครอยากหรอกเพราะว่ามันก็มีปัญหาอื่นๆ ที่ตามมาเยอะ โดยเฉพาะช่วงนี้ต้องพูดนิดหนึ่งคนรู้สึกมากขึ้นในระยะหลังนี่ ก็เพราะว่าการรัฐประหารที่มาหยุดยั่งสถานการณ์ คนจะเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยก็แล้วแต่ มันก็ยังเป็นเหตุผลที่ไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของตัวคนทำรัฐประหาร เพราะฉะนั้นสมัย คมช. ท่านนายกสุรยุทธ์ พล.อ.สนธิ ก็แยกกันไปชัดเจน แต่บังเอิญพอมาตอนนี้ มันเริ่มขมวดเข้ามาว่าคนทำรัฐประหารจะมาเล่นต่อ ตรงนี้มันก็เลยทำให้เกิดความรู้สึกกังวลมากยิ่งขึ้น ว่าสุดท้ายที่บอกว่าหยุดยั่งตรงนั้น แล้วทำไมมันถึงเกี่ยวพันมาต่อเนื่องมาจนถึงขณะนี้ซึ่งก็ยาวนานพอสมควร 4 ปีกว่า จะ 5 ปี"
"ถ้าสังคมไม่อยากให้เกิดรัฐประหารขึ้นอีก แทนที่จะไปคาดคั้นท่าน ผบ.ทบ. มาช่วยกันดีกว่า...เรื่องสำคัญมันง่ายว่าไปชี้นิ้วว่าคุณก็เป็นสาเหตุคุณก็เป็นสาเหตุ ทุกคนมีส่วนร่วมพาบ้านเมืองมาทั้งนั้น ถ้าเราไม่อยากให้มันเกิดขึ้นอีก ทุกคนก็ย้อนกลับมาดูในส่วนของตัวเองก่อนว่ามีอะไรบ้างที่เราจะสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้มันเกิดขึ้นอีกได้" อภิสิทธิ์ กล่าว
อภิสิทธิ์ กล่าวว่า การรัฐประหารมันสามารถหยุดเหตุการณ์ตรงนั้นได้ การตัดเชื้อต้องดูว่าจะปฏิรูปอะไรบ้าง ส่วนเรื่องข่าวดูด ความเหมาะสมเรื่องการอยู่ในอำนาจ ใครจะแพ้ชนะมีความสุ่มเสี่ยง วันนี้ต้องสร้างทางใหม่ยึดหลักการประชาธิปไตยที่แท้จริงและยั่งยืนด้วย ซึ่งตนไม่สนับสนุนนายกฯคนนอก แต่ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มาอยู่ในบัญชีพรรคใดพรรคหนึ่ง เสียงที่มาจากการเลือกตั้ง 250 เสียงเอา ก็ถือมีความชอบธรรมตามระบบ
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'อภิรัชต์ คงสมพงษ์', 'ผบ.ทบ.', 'รัฐประหาร', 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ'] |
https://prachatai.com/print/79265 | 2018-10-23 08:52 | กวีประชาไท: อยากให้ความจริงเป็นเพียงความฝัน | ฝัน...เธอบอกฉันรักกันไหมที่รัก อยากหยุดพักปักใจไว้ใกล้ฉันสิ้นฟ้ามหาสมุทรสุดนิรันดร แม้ตะวันดับเดือนลับอับสายตา
ความจริง...เธอเก็บใจไว้ให้ใครอื่น ฉันขมขื่นตื่นเพ้อละเมอหาเช้าสายบ่ายเย็นกินข้าวเคล้าน้ำตา หลายเวลาอมทุกข์สุขมลาย
ฝัน...เธอเด็กน้อยห้อยโหนโผนปีนป่าย นอกกอดก่ายยายป้าน้าสมหมายพ่อสมบูรณ์แม่การุญคุ้นรอบกาย มีพี่ชายคลายทุกข์สุขสมปอง
ความจริง...เธอหิวโหยห้อยหาอาหาร ฟ้าบันดาลขานไขใจหม่นหมองน้ำตาอาบสองแก้มแต้มเจิ่งนอง พ่อแม่ผองสองเธอหนีลี้ไป
ฝัน...ผืนแผ่นดินถิ่นนาท้องฟ้ากว้าง ทุ่งรวงทองมองอ้างว้างสว่างใสเธอทำสวนชวนทำนาหากำไร หวังเติบใหญ่ใจแข็งแกร่งมั่นคง
ความจริง...น้ำล้ำเข้านาฟ้ามืดคล้ำ เธอเพลี่ยงพล้ำกล้ำกลืนคืนพิศวงพายุร้ายขย้ำกรายหมายปลดปลง ยากยืนยงคงเดิมเสริมฤทัย
ฝัน...เห็นขลิบทองต้องตาท้องฟ้ากว้าง สุดสล้างสร้างสรรค์พลันหลงใหลเสรีภาพปลาบปลื้มดื่มด่ำใจ เธอแจ่มใสวัยซนล้นคะนอง
ความจริง...เหมือนถูกอัดมัดขัดกับบ่วง เวลาล่วงบ่วงรัดอกกลัดหนองรอวันแตกแยกยับขับเรืองรอง เธอเราสองร้องขอท้อวางวาย
ฝัน...ของฉันเป็นเม็ดทรายท้ายชายหาด ไม่ดื่นดาษวาดลวดลายผึ่งผายซัดเซาะเลาะลอยลิ่วปลิววอดวาย ซุกซอกหายย้ายลับหาดขลาดหวาดกลัว
อยากปันฝันของฉันผันความจริง สรรพสิ่งจริงแท้แปรแลสลัวจะทอถักรักร้าวคราวหม่นมัว ล้อมรอบรั้วมิดชิดติดตราตรึง
| ['บทความ', 'สังคม', 'วัฒนธรรม', 'ปลายนา ฤดูฝน', 'กวีประชาไท'] |
https://prachatai.com/print/79267 | 2018-10-23 10:21 | ใบตองแห้ง: ถ้าเพื่อไทยแยกพรรค | 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวว่าเพื่อไทยจะแยกพรรค จัดตั้งพรรคเครือข่าย โดยใช้คณิตศาสตร์เลือกตั้ง ทำให้ได้ ส.ส.เพิ่มขึ้น ซึ่งมีคำถามมากมาย ทำได้จริงหรือ
คำตอบคือ ทำได้จริงครับ แม้ยังไม่แน่ว่าควรทำจริงไหม เพราะมีข้อเสียหลายอย่าง แต่ในทางทฤษฎี ทำได้
ระบบเลือกตั้งจัดสรรปันส่วนผสมของมีชัย อธิบายคร่าว ๆ ว่า หลังเลือกตั้ง ส.ส. 350 เขตแล้ว ให้นำคะแนนทั้งประเทศมารวมกัน คิดจำนวน ส.ส.ที่แต่ละพรรคพึงได้ สมมติมีผู้มาใช้สิทธิ 35 ล้านคน ก็เอา 500 หาร เป็นสัดส่วน 70,000 คะแนน ได้ ส.ส. 1 คน แล้วสมมติเพื่อไทยได้คะแนนทั้งประเทศ 14 ล้านเสียง ก็จะได้ ส.ส. 200 คน แต่ถ้าได้ ส.ส.เขตแล้ว 190 คน ก็จะได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์เพิ่มเพียง 10 คน
ความคิดแยกพรรคมาจากสมมติฐานที่ว่า ส.ส.เขตเพื่อไทยส่วนใหญ่จะได้คะแนนไม่ถึง 70,000 เพราะดูฐานคะแนนปี 2554 ส่วนใหญ่ได้คะแนนไล่เลี่ย 50,000 มีไม่กี่คนชนะล้นหลาม ประกอบสถานการณ์การเมือง 4 ปี ที่รัฐแย่งชิงมวลชนอย่างหนัก ก็ประเมินหยาบ ๆ ได้ว่า ส.ส.ส่วนใหญ่น่าจะชนะด้วยคะแนนประมาณนี้
ดังนั้น ถ้าตั้งตุ๊กตาว่าแยกอีกพรรค รวบรวมเฉพาะ ส.ส.เขตที่มั่นใจว่าชนะแน่ในภาคอีสาน ภาคเหนือตอนบน สมมติตัวเลขกลม ๆ 175 คน พวกมีความเสี่ยงไม่ต้องไป คุณก็จะเห็นพรรคการเมืองอีกพรรค ซึ่งชนะ 175 เขต แต่คะแนนรวมประเทศ อาจได้แค่ 10.5 ล้านเสียง เพราะชนะแค่คนละ 5-6 หมื่นคะแนน คำนวณตามระบบควรได้ ส.ส.แค่ 150 คน แต่รัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ได้ ส.ส.เขตเท่าไหร่ ก็ถือว่าได้ไปเลย 175 คน
ส่วนพรรคที่สอง รวบรวมคนที่มีลุ้น ได้ก็ดี แพ้ก็ไม่เป็นไร คนที่จะได้ที่ 2 ที่ 3 ทั่วประเทศ อาจชนะ ส.ส.เขตบ้าง ส่วนใหญ่ไม่ชนะ แต่คะแนนรวมประเทศ จะได้ราว 3.5 ล้านเสียง
ซึ่งเมื่อนำมาคำนวณตามระบบจัดสรรปันส่วนผสม แม้การที่พรรคแรกมี ส.ส.เขตล้น จะทำให้ระบบคำนวณปั่นป่วน ต้องใช้ตัวหารสูงขึ้น จนพรรคที่สองได้ ส.ส.ไม่ถึง 50 คน แต่อย่างไรก็ได้มากกว่า 25 คน โดยอาจได้ถึง 40 คน จาก 200 ก็ขยายเป็น 215 ด้วยประการฉะนี้
แต่แน่ละ นี่เป็นทฤษฎีคณิตศาสตร์ล้วน ๆ ซึ่งความเป็นจริงทางการเมือง ไม่สามารถล็อกเป๊ะ ๆ ได้ เช่น ไม่สามารถแยกคะแนน 14 ล้านเป็น 10.5 และ 3.5 ล้านได้ดังใจ การแยกหลายพรรคลงสมัครจะทำให้มวลชนสับสนจนตัดคะแนนกันเองหรือไม่ ฯลฯ (แต่ความสับสนเรื่องเบอร์ ไม่เป็นไร เพราะระบบมีชัยต่างเขตต่างเบอร์ทำสับสนอยู่แล้ว)
ยิ่งกว่านี้ การแยกพรรคจะทำให้มีปัญหา “ธงนำ” การมีพรรคหนึ่งมุ่ง ส.ส.เขต อีกพรรคมุ่งกวาดปาร์ตี้ลิสต์ทั่วประเทศ (ซึ่งน่าจะเป็นเพื่อไทยเดิม เพราะหาเสียงง่ายกว่า) ในทางการตลาด ถามว่าพรรคไหนคือแบรนด์เนม พรรคไหนจะชูเป้าเป็นพรรคอันดับหนึ่ง ชิงความชอบธรรมจัดตั้งรัฐบาล เพราะอย่าลืมว่าที่ประชาชนจะเลือกเพื่อไทย ไม่ใช่แค่ต้านเผด็จการ หากยังหวังให้เป็นรัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แม้ครั้งนี้เป็นไปได้ยากมาก เพราะรัฐธรรมนูญให้ ส.ว.แต่งตั้งร่วมเลือกนายกฯ ก็ไม่ควรยกธงขาวก่อน
การที่เพื่อไทยจะมีพรรคสำรองเพราะกลัวถูกยุบ เป็นที่เข้าใจได้ แต่ไปถึงแยกพรรค โดยอาจถึงขั้นทิ้งเพื่อไทยเป็นพรรครอง แม้เป็นไอเดียที่เซียนคณิตศาสตร์ยังทึ่ง ก็ต้องคำนึงถึงผลดีผลเสียทางการเมืองให้รอบด้านก่อน
เผยแพร่ครั้งแรกใน: ข่าวหุ้นธุรกิจ www.kaohoon.com [1]
| ["'ใบตองแห้ง' ออนไลน์", 'การเมือง', 'การเลือกตั้ง', 'ใบตองแห้ง', 'พรรคเพื่อไทย'] |
https://prachatai.com/print/79266 | 2018-10-23 09:12 | FreeWriteAward3: อคน-ผ่านประเทศในความหมาย-ไร้อนาคต |
ประเทศนี้ไม่มีชั้น ไม่มีคนบนสวรรค์ในสยามประเทศนี้ไม่มีพระราม ไม่จำเป็นต้องมีพราหมณ์ประเพณี
ประเทศนี้ไม่มีกบฎ ไม่มีกฏเกณฑ์ให้ใครกดขี่ประเทศนี้ไม่มีอั้งยี่ ไม่จำเป็นต้องมีกระบอกปืน
ประเทศนี้ไม่มีเส้นแบ่ง ไม่มีภูมิภาคแห่งความขมขื่นประเทศนี้ไม่มีชาติถูกกวาดกลืน ไม่จำเป็นต้องมีผืนปริมณฑล
จนรถถังแหกคูประตูค่าย มาค้าขายนาฏกรรมความฉ้อฉลประเทศในความหมายเหมือนร่ายมนตร์ ประชาชนก็ฉิบหายแต่นั้นมา
มีแต่คนสิ้นหวังคนคลั่งแค้น คลอนแคลนหวั่นสะดุดหัวหลุดบ่ามีแต่คนถูกปิดหู,ปิดตา และบรรดาอคนให้อลเวง
อาละวาดวางเท่เป็นเทวดา ใช้อำนาจอาชญาเข้ากุมเหงกำแหงเหี้ยนไม่เอียนอายน้ำลายตัวเอง เอาลิ้นโง่เขลาละเลงแผ่นดินราน
สิทธิเสรีภาพถูกปราบเรียบ สงบเงียบงกงัน,ปีผันผ่านห้าปี มันสนุกสุขสำราญ เสมือนปานโลกันตร์กัปสำหรับเรา
เปลี่ยนเมืองเคยเห็นเป็นป่าช้า พลเมืองเปลี่ยนมาเป็นแมงเม่าคนทุกข์คนยากมากลำเนา ล้วนบินเข้ากองไฟ,มันไม่แล
จวบรถถังจอดทำเนียบรัฐบาล อคน,พลสามานย์ยังแหนแห่ประเทศนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปร ประเทศนี้ไม่มีแน่อนาคต
ประเทศนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปร ไม่มีประเทศนี้แน่อนาคตประเทศนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปร ประเทศนี้ไม่มีแน่อนาคต ประเทศนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปร ประเทศนี้ไม่มีแน่อนาคต !
หมายเหตุ: 'บทกวี อคน-ผ่านประเทศในความหมาย-ไร้อนาคต' โดย เมฆครึ่งฟ้า (ดานุชัช บุญอรัญ) ได้รับรางวัลชนะเลิศ FreeWrite Award ครั้งที่ 3 ในเทศกาลบทกวีประชาชน งาน 42 ปี 6 ตุลา 2519 ประกาศผลเมื่อวันที่ 6 ตุลา 2561 ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
| ['บทความ', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'กวีประชาไท', 'FreeWriteAward3', 'เมฆครึ่งฟ้า', 'ดานุชัช บุญอรัญ'] |
https://prachatai.com/print/79269 | 2018-10-23 12:00 | เอกชัยโต้ หลัง คสช.แจ้งความ เหตุกล่าวหา ผบ.ทบ. กบฎ ระบุ ไม่ใช่ผู้เสียหาย | เอกชัยโต้กรณี คสช. แจ้งความข้อเขาและโชคชัย ไพบูลย์รัชตะ ในข้อหาแจ้งความเท็จเหตุไปแจ้งความ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ.คนใหม่ข้อหากบฏ ระบุ ไร้สาระ คสช. กองทัพ ไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะฟ้องแค่ตัว ผบ.ทบ. เชื่อ แจ้งความกลับป้องกันคนอื่นแห่ฟ้องตาม ตอนนี้ทั้งเอกชัยและโชคชัยมี 5 คดีรวมเรื่องนี้
เอกชัย หงส์กังวาน
23 ต.ค. 2561 สืบเนื่องจากกรณีที่ฝ่ายกฎหมายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แจ้งความดำเนินคดีกับเอกชัย หงส์กังวาน และโชคชัย ไพบูลย์รัชตะ นักกิจกรรมทางการเมือง ในข้อหาแจ้งความเท็จ กรณีที่ทั้งสองไปแจ้งความดำเนินคดีกับ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และเลขาธิการ คสช. ในข้อหากระทำผิดข้อหากบฏตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 เมื่อ 19 ต.ค. ที่ผ่านมา กรณีที่ พล.อ.อภิรัชต์ พูดถึงเรื่องการเมืองเมื่อ 17 ต.ค. ว่าถ้าไม่มีการเมืองหรือเหตุจลาจลก็จะไม่เกิดการรัฐประหารยึดอำนาจนั้น
คสช. แจ้งความเอกชัย-โชคชัย เหตุกล่าวหา ผบ.ทบ. ผิดข้อหากบฏ [1]
ล่าสุด เอกชัยให้ข้อมูลกับประชาไทว่ายังไม่มีการดำเนินการใดๆ ต่อหลังถูกแจ้งความ ตามกระบวนการคือตำรวจรับแจ้งความแล้วจึงออกหมาย ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะส่งหมายเรียกมาเมื่อไหร่ เมื่อนับรวมคดีล่าสุดแล้วตนและโชคชัยโดนคนละ 5 คดี ส่วนตัวเอกชัยมีคดีโพสท์ลามกอนาจารเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2560 กรณีเล่าประสบการณ์และความสัมพันธ์ในเรือนจำ คดีที่ 2-4 เป็นคดีชุมนุมของคนอยากเลือกตั้งที่สกายวอล์คสี่แยกปทุมวัน ที่หน้ากองทัพบกและที่หน้าอาคารองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น)
เอกชัยเห็นว่าการแจ้งความกลับมีสาเหตุเพื่อป้องกันคนอื่นเอาเอกชัยและโชคชัยเป็นเยี่ยงอย่าง ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระเพราะเขาและโชคชัยแจ้งความดำเนินคดีกับ พล.อ.อภิรัชต์ แต่การที่ คสช. หรือกองทัพมาแจ้งความกลับนั้นก็ไม่สามารถทำได้เพราะไม่ใช่ผู้เสียหาย
“มันก็ชัดเจนอยู่แล้วเพราะก่อนหน้านี้เพราะเรื่องนี้เขาปรี๊ดมากเลยนะ สมมติว่าถ้าเราฟ้องไปแล้วเขาไม่ทำอะไรเลย เดี๋ยวมันจะมีคนที่ฟ้องเพิ่ม แล้วมันจะทำให้เรื่องบานปลาย ฉะนั้น แน่นอนเขาต้องจัดการก่อนด้วยการแจ้งความเรากลับเพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นมาเลียนแบบตามเรา เดี๋ยวปล่อยให้ไอ้สองตัวนี้ฟ้องไปเดี๋ยวคนอื่นจะแห่เอาอย่างแล้วทำตาม เขาก็จะเดือดร้อน”
“ไร้สาระมากกว่า เพราะวันที่ผมแจ้งความคือผมแจ้งความอภิรัชต์ ไม่ได้พูดถึงกองทัพหรือ คสช. เลย แต่เมื่อวานคนที่มาแจ้งความ ไม่ว่าจะกองทัพหรือ คสช. ก็ตามแต่ ผมไม่ได้แจ้งความ คสช. หรือกองทัพ ดังนั้นคุณไม่ใช่ผู้เสียหาย คุณมีสิทธิอะไรมาแจ้งความผม แล้วการที่คุณมาอ้างว่าผมแจ้งความอภิรัชต์ทำให้กองทัพเสียหายเนี่ยมันเกี่ยวกันตรงไหน เหมือนครูล่วงละเมิดทางเพศเด็กแล้วผู้ปกครองไปแจ้งความครู แล้วโรงเรียนจะมาอ้างว่าการที่คุณมาแจ้งความครูทำให้โรงเรียนเสียหาย มันไม่เกี่ยวกันเลย คุณไม่ใช่ผู้เสียหาย คุณแจ้งไม่ได้”
เมื่อถามว่ามีการข่มขู่เอกชัยหรือไม่ เจ้าตัวบอกว่าทราบอยู่แล้วว่ามีคนติดตามมาแต่ไหนแต่ไร
“ของผมคนติดตามอยู่แล้วแต่ไหนแต่ไร ผมรู้ใครเข้าออกบ้านผม วินมอเตอร์ไซค์ปากซอยก็สายตำรวจทั้งนั้น เวลาผมเข้าออกซอยเขาก็รายงานให้หน่วยของเขาเป็นที่รู้กัน ตามอย่างนี้อยู่แล้ว ไม่ใช่เพิ่งมา” เอกชัยระบุ
สำหรับ เอกชัย นอกจากถูกเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบไปหาที่บ้านพักเป็นประจำช่วงที่เขาทำกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองแล้ว เขายังเคยถูกบุคคลผู้เห็นต่างทางการเมืองกับเขา คือ ฤทธิไกร ชัยวรรณศาสน์ ดักทำร้ายร่างกายที่บริเวณป้ายรถเมล์ปากซอยเข้าบ้านของเขา จนมีการแจ้งความดำเนินคดีและ ฤทธิไกร ถูกศาลพิพากษาจำคุก 6 เดือน ปรับ 20,000 บาท และเนื่องจากให้การรับสารภาพมีเหตุให้บรรเทาโทษกึ่งหนึ่ง คงเหลือโทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 10,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี อีกด้วย
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'เอกชัย หงส์กังวาน', 'โชคชัย ไพบูลย์รัชตะ', 'คสช.', 'อภิรัชต์ คงสมพงษ์', 'คนอยากเลือกตั้ง'] |
https://prachatai.com/print/79268 | 2018-10-23 10:29 | สุรพศ ทวีศักดิ์: เมืองที่ไร้ความหมาย | ที่มาภาพ https://prachatai.com/journal/2015/04/58803 [1]
นึกย้อนชีวิตวัยเด็กในชนบทอีสาน หมู่บ้านของผมยังไม่มีโรงเรียน พี่สาวเพิ่งเข้าเรียน ป.1 ต้องเดินเท้าไปเรียนที่โรงเรียนอีกหมู่บ้านหนึ่ง ผ่านสะพานเดินเท้าข้ามลำน้ำพะเนียงที่ไหลลงสู่ลำน้ำพองเขื่อนอุบลรัตน์ หน้าฝนน้ำท่วมสะพานทุกปี เด็กๆ ต้องขาดเรียนเป็นเวลานานๆ
เมื่อหมู่บ้านไม่มีโรงเรียนก็ไม่มีสัญญะของรัฐ เช่นไม่มีธงชาติ แน่นอนว่าคนชนบทอย่างเราไม่รู้จักรัฐ (state) ในความหมายนามธรรมอยู่แล้ว อำนาจรัฐเพียงอย่างเดียวที่เราสัมผัสได้ชัดเจนคือ ในฤดูลงแขกเก็บเกี่ยวและนวดข้าว จะมีการเลี้ยงเหล้าสาโทที่ทำจากภูมิปัญญาชาวบ้านเอง ช่วงเวลานี้เองมีตำรวจจากอำเภอจะเข้าจับกุมชาวบ้านที่ทำเหล้าสาโท
เมื่อได้ยินเสียงร้องไห้ของผู้หญิงและเด็กๆ เราต่างรู้กันว่าเสียงนั้นดังมาจากบ้านที่ตำรวจค้นเจอแป้งเหล้า ผมและเพื่อนๆ ก็จะวิ่งไปมุงดู หลายๆ ครั้งมีการเถียงกันระหว่างชาวบ้านกับตำรวจว่านี่เป็นแป้งข้าวหมากไม่ใช่แป้งเหล้า แต่ก็มักจบลงที่ชาวบ้านเป็นฝ่ายจ่ายค่าปรับ ซึ่งต้องหยิบยืนเงินญาติมิตรตามมีตามเกิดจ่ายกันไป
ตำรวจจึงเป็นสัญญะแรกของรัฐที่เรารู้จักและ “กลัว” ตลอดชีวิตวัยเด็กในหมู่บ้านชนบท ผมไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ข่าวว่าตำรวจจับโจรขโมยวัว ควาย (ซึ่งเกิดขึ้นบ่อย) ของชาวบ้านเลย พ่อแม่จึงมักขู่ลูกๆ ที่ดื้อหรือไม่เชื่อฟังว่า “ระวังตำรวจจะมาจับมึง” ความกลัวตำรวจไม่ใช่เพราะว่าเราเป็นโจร แต่เพราะอำนาจรัฐได้เข้าไปทำให้การทำเหล้าสาโทเลี้ยงญาติมิตรเพื่อนฝูงในฤดูลงแขกเกี่ยวข้าวนวดข้าว อันเป็นวิถีชีวิตปกติของชาวบ้านกลายเป็นเรื่องที่ผิด จนต้องคอยระวังและหลบหลีก ปัจจุบันหมู่บ้านที่ผมพูดถึงมีสะพาน ถนนลาดยางเข้าถึง มีวัด โรงเรียนที่แสดงสัญญะของรัฐ เช่นธงชาติ ธงธรรมจักร ธงตราสัญลักษณ์ รูปเคารพของผู้ปกครองและอื่นๆ สัญญะเหล่านั้นดูเหมือนจะสื่อความหมายว่า ชาวบ้านเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ แต่เป็นส่วนหนึ่งภายใต้ความจงรักภักดีและเชื่อฟังรัฐ เพราะถูกทำให้เชื่อว่า (ผู้มีอำนาจ) รัฐได้ให้ความคุ้มครองและสร้างความเจริญรุ่งเรือง ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ทุกคน ความหมายดังกล่าวนี้มาจาก “เมืองหลวง” หรือเป็นความหมายที่สร้างขึ้นจากเมืองหลวงที่แผ่ไปครอบคลุมทั่วทุกหมู่บ้าน
ความหมายที่ว่า ประชาชนเป็นหนึ่งเดียวกับรัฐภายใต้ความจงรักภักดีและเชื่อฟัง (ผู้มีอำนาจ) รัฐ ย่อมเป็นความหมาย “ศักดิ์สิทธิ์” ที่แสดงผ่านสัญญะต่างๆ ของรัฐ เช่นชาวบ้านบางคน (ตามที่เป็นข่าว) กระทำไม่เหมาะสมต่อสัญญะของรัฐ ถ้าเขาไม่ถูกจำคุกข้อหาหมิ่นผู้มีอำนาจรัฐ เขาก็จะกลายเป็นคนวิกลจริต (หรือพูดอีกอย่างว่า “เพราะเป็นคนวิกลจิตจึงอาจพ้นผิดได้”)
แต่ปัญหาซับซ้อนก็เกิดขึ้นเสมอๆ เมื่อชาวบ้านต้องการต่อรองกับรัฐในความหมายที่พวกเขาสร้างขึ้น เช่นในความหมายที่พวกเขาต้องการอิสรภาพในการปกครองตนเอง ต้องการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศผ่านกระบวนการประชาธิปไตย เป็นต้น ปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นมาตั้งแต่อดีตกาลนานไกล ไม่ว่าจะเป็นกบฏผู้มีบุญ (หรือกบฏผีบุญ) การเป็นแนวร่วมต่อสู้เพื่อการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ การเรียกร้องสิทธิในที่ทำกิน การปกป้องสิทธิในสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตที่ถูกละเมิดโดยอำนาจรัฐ อำนาจทุนและอื่นๆ เรื่อยมาถึงการลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิเลือกตั้งในยุคปัจจุบัน ก็ล้วนแต่ถูกปราบปรามอย่างรุนแรงจากอำนาจรัฐ
ดังภาพประกอบบทความข้างต้น เป็นภาพข่าวชายชาวขอนแก่นผูกผ้าแดงรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในวันครอบรอบ 5 ปีสลายการชุมนุมเลือด 10 เมษายน 2553 เขาบอกกับผู้สื่อข่าวประชาไทว่า “ผมเห็นเพื่อนผมตาย สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ถ้าผมทำผิด เอาไประหารได้เลย” ตำรวจถามว่า “ได้ดื่มเหล้าสี่สิบดีกรีมาหรือไม่” เขาตอบว่า “ไม่ว่าเขาจะดื่มเหล้าสี่สิบหรือไม่ ก็ยังยืนยันในสิ่งที่กระทำอยู่ดี”
จะเห็นว่า “เหล้า” ยังคงเป็นเครื่องมือในการอธิบายของฝ่ายอำนาจรัฐต่อ “ความหมายที่ชาวบ้านสร้างขึ้น” เหล้าสาโทที่สร้างความหมายของวิถีชีวิตบ้านๆ ลงแขกเกี่ยวข้าวนวดข้าวกลายเป็นสิ่งที่ผิดในอดีต เหล้าสี่สิบดีกรีถูกใช้อธิบายความหมายของการสื่อสารว่า “ที่นี่มีคนตาย” ให้กลายเป็นเรื่องไร้สาระของคนเมาหรือขาดสติเพราะฤทธิ์สุรา
ในทางกายภาพของชนบทเปลี่ยนแปลงไปมากจากที่ผมเห็นในวัยเด็ก แต่ก็ไม่เปลี่ยนแปลงไปมากเท่าเศษเสี้ยวความเจริญทางกายภาพของ “เมืองหลวง” แต่ผมอดสงสัยไม่ได้ว่า มุมมองจากอำนาจรัฐอันมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหลวง กับมุมมองคนระดับชาวบ้านธรรมดาที่ถูกพิพากษาอย่างดูแคลนมาตลอด แบบไหนมีความเป็นอารยะมากขึ้นกว่ากัน?
คำพูดที่ชายชาวชนบทผู้ผันตัวเองมาเป็นกรรมกรในเมืองหลวงบอกว่า “ผมเห็นเพื่อนผมตาย สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ถ้าผมผิดเอาไปประหารได้เลย” สะท้อนความพยายามต่อสู้เพื่อสร้าง “ความหมาย” ในแบบที่มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์เคยบอกว่า “ประชาชนมีหน้าที่ทางศีลธรรมที่จะไม่เชื่อฟังกฎหมายที่อยุติธรรม” และนั่นก็คือความกล้าหาญทางศีลธรรมที่กรรมกรคนหนึ่งจะทำได้ภายใต้อำนาจเผด็จการทหาร
บางคนอาจมองว่าผมกำลังยกย่องคนระดับชาวบ้านเกินจริง แต่ถ้าลองคิดไล่เรียงดูมันมีตัวอย่างมากมายที่คนระดับชาวบ้านธรรมดาลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ทำกิน สิทธิปกป้องสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตชุมชน รวมทั้งแสดงความล้าหาญทางศีลธรรมในการร่วมเคลื่อนไหวต่อสู้ต่อสู้ทางการเมืองระดับชาติ หรือต่อต้านเผด็จการในบริบทที่พวกเขาสามารถจะทำได้ ขณะเดียวกันก็มีตัวอย่างนับไม่ถ้วนของคนชั้นกลางในเมืองที่ดูถูกชาวบ้านเหล่านั้นว่าไม่รู้เรื่องประชาธิปไตย แต่พวกตนกลับสนับสนุนรัฐประหาร
แน่นอนว่า ถ้าให้คนระดับชาวบ้านที่มาผูกผ้าแดงเพื่อส่งเสียงบอกให้คนเมืองหลวงรู้ว่า “ที่นี่มีคนตาย” มานั่งเถียงแนวคิดประชาธิปไตยกับคนมีการศึกษาดี พวกเขาคงเถียงสู้ไม่ได้ พอๆ กับที่พวกเขาไม่มีโอกาสได้เข้าไปทำงานร่วมกับเผด็จการหรือรับใช้เผด็จการเหมือนบรรดาสื่อ นักวิชาการ ปัญญาชน อธิการบดี ดร. หรือ ศ.ดร.ทั้งหลายที่มักจะพูดเสมอๆ ว่าปัญหาประชาธิปไตยเกิดจากชาวบ้านไร้การศึกษาถูกนักการเมืองหลอก
คนระดับชาวบ้านธรรมดาต่างหากที่พยายามสร้างความหมายแบบอารยะมากกว่า และพยายามสื่อสารกับสังคมว่า “ที่นี่มีคนตาย” ก็เพื่อที่จะทำให้การตายของประชาชนเป็นสิ่งที่มีความหมายว่า พวกเขาถูกฆ่าตายจริงๆ ถูกฆ่ากลางเมืองหลวง โดยการล้อมปราบของฝ่ายอำนาจรัฐครั้งแล้วครั้งเล่าในประวัติศาสตร์การต่อสู้เรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตย แต่บรรดาคนที่ฆ่าและคนมีอำนาจสั่งสลายการชุมนุมที่นำมาสู่การฆ่าก็ยังลอยนวล เมื่อความถูกต้องชอบธรรมหรือสิ่งที่ควรจะเป็นที่คนระดับชาวบ้านธรรมดาหรือที่ประชาชนผู้รักเสรีภาพและประชาธิปไตยพยายามต่อสู้ยืนยันให้มัน “มีความหมาย” ถูกทำให้ “ไร้ความหมาย” โดยอำนาจที่ไม่เป็นประชาธิปไตย สังคมนี้ก็เป็นเสมือนต้องอำนาจมนต์(ปืน)สะกดให้อยู่กับสภาวะไร้ความหมาย คือสภาวะที่แทบทุกสิ่งไม่ได้มีความหมายเป็นจริงอย่างที่พูดหรืออย่างที่อำนาจรัฐต้องการให้ประชาชนเชื่อ
เช่น เมื่อเขียนรัฐธรรมนูญให้มี “นายกฯคนนอก” ได้ มันไม่ได้มีความหมายว่าประเทศนี้จะมี “คนนอก” ที่เป็นใคร มาจากคนระดับไหน กลุ่มไหนก็ได้ที่ไม่ได้ลงเลือกตั้งจะมีสิทธิ์ถูกเสนอชื่อให้ ส.ส.และ สว.โหวตให้เป็นนายกฯ ได้ แต่เป็นการเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางให้ “คนใน” ของเครือข่ายอำนาจฝ่ายอนุรักษ์นิยมเข้ามาผูกขาดการครองอำนาจรัฐเท่านั้น
พูดรวมๆ คือ พวกเขาสอนให้ประชาชนรู้หน้าที่ แต่ตัวเองทำผิดหน้าที่ พวกเขาสอนให้ประชาชนทำความดี เป็นคนดี แต่พวกเขาเป็นโจรปล้นสิทธิ เสรีภาพ และอำนาจของประชาชน พวกเขาสอนประชาชนให้ท่องคำว่าธรรมาภิบาลเหมือนสวดมนต์ แต่ระบบอำนาจของพวกเขาตรวจสอบไม่ได้ พวกเขาฉีกกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่สอนประชาชนให้เคารพกฎที่พวกเขาเขียนขึ้น ฯลฯ
ภายใต้ความเป็นจริงเช่นนี้ สิ่งที่พวกเขาพูดว่า ศีลธรรม ความยุติธรรม ความเสมอภาคทางกฎหมาย สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย ความสุข ประโยชน์ส่วนรวม ฯลฯ ล้วนแต่ไร้ความหมาย หรือไม่มีความหมายตามกรอบคิด (concept) ของสิ่งเหล่านั้นจริงๆ
ในเมืองที่ไร้ความหมายนี้ แม้แต่การพูดในเรื่องที่ผิดกฎหมายก็ไม่ได้มีความหมายเป็นการผิดกฎหมาย แต่กลายเป็นถูก เช่นที่พูดๆ กันว่า “ถ้ามีจราจลก็เกิดรัฐประหารอีก” ซึ่งเท่ากับบอกว่า “หากมีเงื่อนไขให้ทำผิดกฎหมาย (รัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญมีโทษประหารชีวิต)ก็จะทำหรือทำได้” ในสังคมนี้ กลุ่มคนที่มีอำนาจปืนเท่านั้น ที่สามารถพูดล่วงหน้าหรือบอกเป็นนัยยะว่าจะทำผิดกฎหมายร้ายแรงได้โดยไม่ผิด
ส่วนประชาชนทั่วไปแค่พูด เขียน โพสต์ แชร์ความจริงก็ติดคุก หรืออยู่ในประเทศนี้ไม่ได้
ความประหลาดของสยาม-ไทยก็คือ บรรดาชนชั้นนำฝ่ายอนุรักษ์นิยมไม่สามารถปฏิเสธการเลือกตั้ง เสรีภาพ ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนได้จริง สิ่งที่พวกเขาพยายามทำมาตลอดคือทำให้คำต่างๆ เหล่านั้นไม่มีความหมายตามกรอบคิดของมันจริงๆ หรือพยายามกลบเกลื่อน เบี่ยงเบน บิดเบือนให้มันมีความหมายตามพวกเขาต้องการด้วยการใช้เล่ห์เพทุบายต่างๆ นานา
แต่ยิ่งนานวัน โดยเฉพาะในโลกยุคอินเทอร์เน็ตอย่างปัจจุบันที่พวกเขาไม่สามารถควบคุม ปิดกั้นความคิดของประชาชนได้จริง ยิ่งพวกเขาพยายามทำให้เสรีภาพ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนไม่มีความหมายตามกรอบคิดของมัน และพยายามให้มีความหมายแบบที่พวกเขาต้องการ ถึงที่สุดแล้วมันนำมาสู่ภาวะไร้ความหมายทั้งของเสรีภาพ ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนเอง และความหมายที่พวกเขาพยายามสร้างขึ้นหรือต้องการให้เป็นจริงก็กลายเป็นสิ่งที่ไร้ความหมายไปด้วย
พูดให้ชัดคือ พวกเขากำลังทำให้ความหมายที่พวกตนพยายามสร้างขึ้นกลายเป็นเพียงความวิปริตผิดเพี้ยนของระบบคิด ตรรกะเหตุผล หลักการ ความชอบธรรม และอื่นๆ เมื่อพูดอย่างถึงที่สุดก็คือ ความวิปริตผิดเพี้ยนที่พวกเขาสร้างขึ้นนั่นแหละคือความหมายที่แท้จริงที่พวกเขาสร้างขึ้น แต่มันก็ไม่อาจทำให้ความหมายของเสรีภาพ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ความยุติธรรมที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการกลายเป็นสิ่งไร้ความหมายได้จริง เพราะยังมีประชาชนที่พยายามปกป้องความหมายที่ถูกต้องและความเป็นไปได้ของเสรีภาพ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนอยู่ตลอดเวลา
อำนาจแห่งเมืองมายา หรือเมืองสร้างมายาของความหมาย เมืองที่พยายามทำให้สิทธิ เสรีภาพ และอำนาจของประชาชนไร้ความหมาย จึงไม่ใช่อำนาจที่จีรังยั่งยืนจริง หากแต่นับวันจะผุพังและเสื่อมมนต์ขลังไปตามการเพิ่มขึ้นของแสงสว่างที่ทำให้ประชาชน “รู้แจ้ง” ความจริง และเท่าทันกลลวงของพวกเขามากขึ้นทุกวันๆ
| ['บทความ', 'การเมือง', 'สุรพศ ทวีศักดิ์', 'ชนบท'] |
https://prachatai.com/print/79270 | 2018-10-23 15:46 | ศาลนัดตรวจพยานฯ ต้นปีหน้า คดี 'ชัยวัฒน์' ฟ้องนักวิชาการด้านกระเหรี่ยง ข้อหาหมิ่นประมาทฯ | มูลนิธิผสานวัฒนธรรม แจ้งว่า ศาลจังหวัดมีนบุรี นัดตรวจพยานหลักฐาน 28 ม.ค. 2562 คดี ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร กล่าวหาอดีต ผอ.สำนักอุทยานแห่งชาติ และนักวิชาการอิสระด้านกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยง ข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
ซ้าย วุฒิ บุญเลิศ หรืออาจารย์วุฒิ และนักวิชาการอิสระด้านกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยง ส่วน ขวา คือชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ปัจจุบันเป็น ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 และที่ปรึกษาหน่วยเฉพาะกิจปฏิบัติการพิเศษผู้พิทักษ์อุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า (พญาเสือ) และอดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
23 ต.ค.2561 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม รายงานว่า เมื่อวันที่ 2 ส.ค. ที่ผ่านมา พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง สมัคร ดอนนาปี อดีต ผอ.สำนักอุทยานแห่งชาติ และ วุฒิ บุญเลิศ หรืออาจารย์วุฒิ และนักวิชาการอิสระด้านกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยง เป็นจำเลย ข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ต่อศาลจังหวัดมีนบุรี เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.6246/2561
โดยเมื่อวันที่ วันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา ศาลนัดสอบคำให้การจำเลยและนัดพร้อม ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้เสียหาย คู่กรณีในคดีดังกล่าวได้แต่งตั้งทนายความส่วนตัวและยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ และคำร้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 2 ล้านบาท ศาลอนุญาต
ศาลสอบถามว่าจำเลยทั้งสองจะให้การอย่างไร จำเลยทั้งสองได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดและพร้อมที่จะต่อสู้คดีจนถึงที่สุด เพราะข้อความที่ได้โพสต์และแชร์ข้อความผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย (Facebook) ว่า “ไร่ชัยราชพฤกษ์ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติพื้นที่สำรวจถือครองตามมติครม.30 มิ.ย.41 รวม 100 ไร่ การตรวจสอบและร้องเรียนโดยกรมป่าไม้ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2559 อธิบดีกรมป่าไม้ (นายชลิศ สุรัสวดี) ได้มีหนังสือรายงานไร่ชัยราชพฤษ์ระบุชัดว่าไร่ชัยราชพฤกษ์มีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ายางน้ำกลัดเหนือและป่ายางน้ำกลัดใต้ ตำบลสองพี่น้องอำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี อยู่ในพื้นที่การสำรวจถือครองตามมติ ครม. 30 มิ.ย.41 มีนายไพโรจน์ ลิ้มลิขิตอักษรเป็นผู้ถือครองเนื้อที่ประมาณ 73 ไร่(พิกัด47P057298E1418060N(DATUMWGS84)ซึ่งกรมป่าไม้ต้องทวงคืนพื้นที่แต่อธิบดีกรมป่าไม้กลับเพิกเฉยไม่สั่งการใดๆให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายรวมทั้งยังขัดคำสั่ง คสช.64/2557 ข้อ3.ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบติดตามผลคดีป่าไม้และดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกทำลาย ให้คืนสภาพป่าไม้ให้สมบูรณ์ดังเดิม โดยประสานงานกับหน่วยงานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งภาคประชาชนและองค์กรชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการอย่างจริงจัง” ซึ่งจะต้องถูกลงโทษตามข้อ4 “เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดปล่อยปละละเลยหรือเข้าไปมีส่วนร่วมกับการกระทำความผิดตามกรณีดังกล่าวข้างต้นจะต้องถูกดำเนินการทั้งทางวินัยและทางอาญาอย่างเด็ดขาดโดยทันที” ผมจึงเรียกร้องให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการตามคำสั่ง คสช.ที่ 64/2557ต่ออธิบดีกรมป่าไม้กับพวกฯโดยด่วนที่สุดต่อไป” นั้นเป็นการกระทำโดยสุจริต เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ในฐานะประชาชนที่ต้องการเรียกร้องให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายหากพบว่าการครอบครองไร่ชัยราชพฤกษ์ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลจะให้คู่ความทั้งสองฝ่ายตรวจพยานหลักฐานพยานหลักฐาน ทนายความจำเลยทั้งสองได้แถลงว่าจำเลยทั้งสองประสงค์จะนำสืบพยานเอกสารจำนวนมากซึ่งอยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอก จึงขอให้ศาลกำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐานออกไปอีกหนึ่งนัด เพื่อให้คู่ความทั้งสองต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงกำหนดวันนัดสืบพยานหลักฐานในวันที่ 28 ม.ค. 2562 เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ซึ่งมูลนิธิฯได้มอบหมายทนายความช่วยเหลือคดีแก่วุฒิ บุญเลิศ ตามคำร้องขอ กล่าวว่า "คดีนี้เป็นคดีที่มีการแจ้งความโดย ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร เจ้าทุกข์ แต่ไม่มีชื่อชัยวัฒน์ปรากฎในข้อความที่โพสต์เผยแพร่ออกไปแต่อย่างใด ก่อนหน้านี้วุฒิ บุญเลิศ ได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อพนักงานอัยการเจ้าของสำนวน ว่าตนไม่ได้โพสต์ข้อความที่ชัยวัฒน์อ้างว่าหมิ่นประมาทแต่อย่างใด ไม่มีพยานหลักฐานใดแสดงว่าในช่วงวันเวลาดังกล่าวตนได้มีการเผยแพร่ด้วยการโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทชัยวัฒน์ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนข้อความที่ตนโพสต์เป็นเนื้อความที่เกิดจากการตรวจสอบของสื่อมวลชนและเป็นที่รับรู้มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะมาก่อนหน้านี้แล้วเกี่ยวกับไร่ชัยราชพฤกษ์ จึงน่าสงสัยว่าจะเป็นการกลั่นแกล้งและการใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริตต่อวุฒิ บุญเลิศ หรือไม่”
“วุฒิ บุญเลิศ เป็นนักวิชากการอิสระด้านกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยง ทำงานในเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม และมีภูมิลำเนาที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ที่ช่วยรณรงค์เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนชองกลุ่มชาติพันธ์ุกระเหรี่ยงในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานมาโดยตลอด จนปู่โคอี้ มีมี เสียชีวิตไปก่อนที่จะได้รับความเป็นธรรมเมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา นอกจากนี้เมื่อปี พ.ศ. 2559 เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้รับโล่รางวัลและประกาศจากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ว่าเป็นองค์กรที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิชุมชน" พรเพ็ญ กล่าว
สำหรับ ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ปัจจุบันเป็น ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 และที่ปรึกษาหน่วยเฉพาะกิจปฏิบัติการพิเศษผู้พิทักษ์อุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า (พญาเสือ) และอดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
ส่วน สมัคร ดอนนาปี อดีต ผอ.สำนักอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น [1]และอีกหลายสำนักข่าวรายนงานตรงกันว่า ชัยวัฒน์ ได้แถลงผลคำพิพากษาของศาลจังหวัดตาก คดีอาญา กรณี สมัคร ดอนนาปี จำเลย ในฐานความผิด พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ว่า การแถลงข่าวในครั้งนี้เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง สืบเนื่องจากคณะเจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจปฏิบัติการพิเศษผู้พิทักษ์อุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า ได้ประสานหน่วยงานต่างๆ ทั้ง กองกำลังรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดตาก ทหาร ตำรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท) ศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์ป่า (ศปก.พป.) กรมป่าไม้ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เข้าร่วมตรวจสอบบ้านพักตากอากาศบริเวณเขามิสก๊อก อ.วังเจ้า จ.ตาก เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเคยต้องคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำคุกจำเลย(นางสวนีย์ ปิยะวี) 4 เดือน ปรับ 20,000 บาทโทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปีและให้จำเลยพร้อมบริวารออกจากที่เกิดเหตุ โดยเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2560 ชัยวัฒน์ เป็นผู้แจ้งความกล่าวโทษซึ่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรวังเจ้า ได้ทำความเห็นสั่งฟ้อง และพนักงานอัยการจังหวัดตากได้เป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดตาก ตามพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ม.54 ห้ามมิให้ผู้ใด ก่อสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า หรือกระทำการ ใดๆอันเป็นการทำลายป่า หรือเข้ายึดถือ หรือครอบครองป่า เพื่อตนเองหรือผู้อื่น คดีอาญาหมายเลขดำที่ 300/2561 ศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันพุธที่ 26 ก.ย. 2561 เวลา 13.30 น. ทั้งนี้ศาลจังหวัดตากมีคำพิพากษาให้ สมัคร ดอนนาปี จำเลย มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ม.54 ให้จำคุก 3 เดือนปรับ 5,000 บาทโทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้เป็นเวลา 2 ปีโดยให้จำเลยและบริวารออกนอกพื้นที่
| ['ข่าว', 'สิทธิมนุษยชน', 'สิ่งแวดล้อม', 'ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร', 'สมัคร ดอนนาปี', 'วุฒิ บุญเลิศ', 'หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา', 'มูลนิธิผสานวัฒนธรรม'] |
https://prachatai.com/print/79271 | 2018-10-23 16:44 | หน่วยงานรัฐญี่ปุ่นรายงานจำนวนพนักงานพิการเกินจริง 3,700 คน | หลังรัฐบาลญี่ปุ่นตั้งคณะทำงานตรวจสอบพบหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลได้รายงานจำนวนพนักงานพิการมากเกินจริง 3,700 คน นับจนถึงเดือน มิ.ย. 2560
ที่มาภาพประกอบ: Nikkei Asian Review [1]
23 ต.ค. 2561 สืบเนื่องจากกรณีเมื่อเดือน ส.ค. 2561 ที่รัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่าเจ้าหน้าที่หลายพันคนในหน่วยงานราชการ 27 แห่ง ของญี่ปุ่นถูกคำนวณผิดว่าเป็นผู้พิการ โดยปีงบประมาณ 2560 รัฐบาลได้กำหนดโควต้าคนทำงานที่เป็นผู้พิการไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2.3 สำหรับภาครัฐ และร้อยละ 2.0 สำหรับภาคเอกชน แต่เมื่อแก้ไขตัวเลขเจ้าหน้าที่รัฐบาลทุพพลภาพตามความเป็นจริงแล้ว สัดส่วนจะลดลงจากร้อยละ 2.49 เหลือเพียง 1.19 เท่านั้น
ซึ่งในครั้งนั้นสมาคมผู้ทุพพลภาพญี่ปุ่น (Japan Council on Disability) ออกแถลงการณ์ระบุว่าเรื่องนี้สะท้อนให้ว่าจริงๆ แล้วรัฐบาลไม่ต้องการจ้างงานผู้พิการ ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติ
ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2560 NHK WORLD-JAPAN [2] รายงานว่าคณะทำงานตรวจสอบพบหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลได้รายงานจำนวนพนักงานพิการมากเกินจริง 3,700 คน นับจนถึงเดือน มิ.ย. 2560 โดยคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยทนายความและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เริ่มการตรวจสอบประเด็นนี้เมื่อเดือน ก.ย. 2051 หลังจากที่มีการเปิดเผยรายงานเท็จเรื่องการจ้างงานผู้พิการ โดยสำนักงานสรรพากรมีการแจ้งเท็จมากที่สุด 1,103 คน รองลงมาคือกระทรวงสาธารณูปโภคการคมนาคมและการท่องเที่ยว 629 คน กระทรวงยุติธรรม 512 คน และกระทรวงกลาโหม 332 คน
รายงานการตรวจสอบนี้ชี้ว่าบรรดาหน่วยงานของรัฐบาลได้ตีความกฎหมายแบบตามใจชอบและปฏิบัติเช่นนี้ต่อเนื่องมาหลายปี ทั้งนี้มี 28 กระทรวงและหน่วยงานที่รายงานจำนวนเกินจริงหรือคิดเป็นกว่าร้อยละ 80 ของหน่วยงานที่ถูกตรวจสอบ คณะทำงานชุดนี้ระบุว่าสถานการณ์อยู่ในขั้นเลวร้ายอย่างมาก ทั้งยังเรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่นป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเช่นนี้อีกและให้ทางกระทรวงชี้แนะหน่วยงานอื่นๆ เพื่อทำให้แน่ใจว่าจะมีผู้ทุพพลภาพจำนวนมากขึ้นมีงานทำ
ที่มาเรียบเรียงจากJapan apologizes for routinely padding data of disabled hires to meet quota (Global Times, 28/8/2018) [3]Panel: Disabled govt. staff rolls padded by 3,700 (NHK WORLD-JAPAN, 21/10/0218) [2]
| ['ข่าว', 'แรงงาน', 'ต่างประเทศ', 'ญี่ปุ่น', 'คนพิการ', 'การจ้างงานคนพิการ'] |
https://prachatai.com/print/79274 | 2018-10-23 23:52 | 'สามัญชน' จี้ ผบ.ทบ.แถลงยืนยัน 'รัฐประหารจะไม่เกิดขึ้น' | ขบวนการสามัญชน ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ ผบ.ทบ. แถลงยืนยันว่าการรัฐประหารจะไม่เกิดขึ้น เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อคำพูดที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศดังที่กล่าวมา รวมขอให้สามัญชนทั่วประเทศร่วมกันสร้างประชาธิปไตย และร่วมกันปลดอาวุธ คสช. เพื่อยุติการแทรกแซงทางการเมืองของกองทัพ
23 ต.ค.2561 จากกรณีที่วันที่ 17 ต.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์การเมือง โดยยืนยันว่า ความเป็นนกลางขึ้นอยู่กับมุมมองของใคร ซึ่งเรามั่นใจว่าเราเป็นกลาง ขณะที่คำถามที่ ผบ.ทบ. มักถูกถามคือ สถานการณ์ในปัจจุบันจะนำไปสู่การรัฐประหารอีกหรือไม่ นั้น ผบ.ทบ.ได้ชี้แจงว่าถ้าวันนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ตัดสินใจ บ้านเมืองจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งได้คาดหวังอย่างยิ่งว่า เหตุการณ์รุนแรงในประเทศจะไม่เกิดขึ้นอีกเพราะกองทัพไม่มีวันชนะประชาขน ขณะที่ประชาชนออกมาเผาบ้าน ออกมาทำระเบิด ท่านนั้นแหละที่ทำให้ประเทศพ่ายแพ้ "ผมมั่นใจว่าถ้าการเมืองไม่เป็นต้นเหตุการจลาจล ก็ไม่มีอะไร" ผบ.ทบ. กล่าว นั้น
'อภิสิทธิ์' แนะทุกฝ่ายย้อนดูตัวเองอย่าสร้างเงื่อนไข หลัง ผบ.ทบ.ไม่รับประกันรัฐประหาร [1]
ดูคำตอบ ผบ.ทบ.ในอดีต เมื่อถูกถามจะรัฐประหารหรือไม่? หลัง 'อภิรัชต์' ไม่รับประกัน [2]
ล่าสุดวันนี้ (23 ต.ค.61) ขบวนการสามัญชน ออกแถลงการณ์ `กองทัพต้องยุติการแทรกแซงทางการเมือง และการรัฐประหาร’ โดยเรียกร้องให้ ผบ.ทบ. แถลงยืนยันว่าการรัฐประหารจะไม่เกิดขึ้น เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อคำพูดที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศดังที่กล่าวมา รวมถึงเรียกร้องต่อสามัญชนทั่วประเทศ ให้ร่วมกันประกาศว่าให้ทุกคนได้ยินว่า “พอกันที การรัฐประหาร และรัฐทหาร" เราจะร่วมกันสร้างประชาธิปไตย และร่วมกันปลดอาวุธ คสช. เพื่อยุติการแทรกแซงทางการเมืองของกองทัพ
แถลงการณ์ของขบวนการสามัญชน ระบุว่า การให้สัมภาษณ์ดังกล่าวทำให้ประเทศเกิดความเสียหาย ย้อนแย้งกับการเดินหน้าสู่การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 ก.พ. 2562 ทำให้ประชาชนในสังคมไทยรวมทั้งนานาประเทศเกิดความไม่เชื่อมั่น สับสน และมองเห็นแนวโน้มในการเกิดการรัฐประหาร โดยอ้างถึงสถานการณ์ทางการเมือง อันแสดงถึงการไม่ยุติบทบาทในการแทรกแซงทางการเมือง ทั้งยังขัดแย้งกับความพยายามของสังคมที่จะนำพาประเทศกลับคืนสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่อำนาจสูงสุดมาจากประชาชน ไม่ใช่มาจากการรัฐประหาร ความรุนแรงและกำลังอาวุธ
นอกจากนี้ การให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.อภิรัชต์ ยังเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญา มาตรา 113 ที่ระบุว่า "มาตรา 113 ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ(1) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ(2) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ(3) แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักรผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต" อีกด้วย
สามัญชนเห็นว่า การรัฐประหาร 13 ครั้ง ที่ผ่านมา ตลอดระยะเวลากว่า 86 ปี ทำให้เกิดการฉีกรัฐธรรมนูญถึง 19ฉบับ ได้หยุดยั้งพัฒนาการทางสังคม การเมือง และวัฒนธรรม ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย บั่นทอนหลักการประชาธิปไตยฐานราก อำนาจการตัดสินใจกระจุกตัวที่ส่วนกลางผ่านกลไกราชการ รวมศูนย์อำนาจการจัดสรรทรัพยากรไว้ที่ส่วนกลาง เอื้อประโยชน์แก่บริษัทนายทุนใหญ่ที่เข้าร่วมกับผู้มีอำนาจ เปิดโอกาสในการคอรัปชั่นมากขึ้นโดยปราศจาการตรวจสอบจากประชาชน
สำหรับ สามัญชนนั้น เป็นการรวมกลุ่มของคนธรรมดาคนเล็กคนน้อยในสังคมไทย ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมและได้รับผลกระทบจากผลพวงการพัฒนาประเทศที่ไม่คำนึงถึงสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งระบบการเมืองที่ไม่เห็นหัวคนจนและการรัฐประหาร พวกเราเชื่อว่า การสร้างประชาธิปไตยจากรากฐาน เคารพสิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียมเป็นธรรม จะเป็นพื้นฐานการพัฒนาที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับทุกคนในประเทศนี้ เราจึงมิอาจยอมรับวงจรของการรัฐประหารของการเมืองไทยได้อีก
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'อภิรัชต์ คงสมพงษ์', 'ผบ.ทบ.', 'รัฐประหาร', 'ขบวนการสามัญชน'] |
https://prachatai.com/print/79272 | 2018-10-23 17:26 | มาแล้ว! MV 'ประเทศกูมี' แร็ปสะท้อนสังคมการเมือง กับฉากหลัง 6 ตุลา 19 | ศิลปินฮิปฮอปกลุ่ม Rap Against Dictatorship เปิดมิวสิควิดีโอ 'ประเทศกูมี' กับไรม์คมๆ บาดลึกสังคมการเมือง โดยมีฉากหลังเป็นภาพเหตุการณ์จำลอง 6 ตุลา 19
23 ต.ค.2561 ภายหลังจาก เมื่อวันที่ 14 ต.ค. ที่ผ่านมายูทูบบัญชีชื่อ "Rap Against Dictatorship" เผยแพร่เพลง 'ประเทศกูมี' โดย ศิลปินฮิปฮอปกลุ่ม RAD หรือ Rap Against Dictatorship
ล่าสุดวันนี้ (23 ต.ค.61) ยูทูบบัญชีดังกล่าวเผยแพร่มิวสิควิดีโอประกอบเพลงแล้ว โดยมีฉากหลังเป็นการจำลองภาพการแขวนคอในเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519
นอกจากนี้ มิวสิควิดีโอดังกล่าวยังขึ้นข้อความตอนท้ายด้วยว่า "การแบ่งแยกประชาชนออกเป็นฝักเป็นฝ่าย คือไม้ตายของอำนาจรัฐที่ฝักใฝ่เผด็จการ เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น อำนาจทั้งหมดของประชาชนจะถูกพรากจากไป ด้วยความระลึกถึง ทุกชีวิตที่ตกเป็นเหยื่อจากอาชญากรรมโดยรัฐทุกเหตุการณ์ All people unite"
ส่วนภาพที่เป็นฉากหลังจำลองในมิวสิควิดีโอนี้ เป็นภาพที่ถูกถ่ายโดย นีล ยูเลวิช (Neal Ulevich) ช่างภาพ AP ซึ่งภาพดังกล่าวได้รางวัลพูลิตเซอร์ปี 1977 [1] หรือ พ.ศ.2520 ด้วย ผู้ถูกแขวนขอนั้น คาดว่าหนีออกมาจากการล้อมปราบในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
'ประเทศกูมี' อะไรบ้าง ฟังแร็ปสะท้อนสังคมการเมือง กลุ่ม RAD [2]
40 ปีผ่าน เจอข้อมูลใหม่ 6 ตุลา! คนถูกแขวนคอสนามหลวงมีมากกว่า 2 คน [3]
'โครงการบันทึก 6 ตุลา' พิพิธภัณฑ์ออนไลน์ที่จะพูดถึง 6 ตุลาทุกเดือน [4]
รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโครงการ “บันทึก 6 ตุลา” ระบุว่า เช้าวันนั้นมีคนถูกแขวนคอที่สนามหลวงอย่างน้อย 5 คน และเมื่อต้นปีนี้ รศ.ดร.พวงทอง ได้เขียนบทความเพื่อตามหาชายที่ถือเก้าอี้ฟาดใส่ร่างของเหยื่อที่ถูกแขวนคอ เนื่องจากตรวจสอบภาพแล้วเขายังเกี่ยวข้องให้เหตุการณ์สำคัญๆ ช่วงเช้าวันนั้นหลายเหตุการณ์ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : พวงทอง ภวัครพันธ์ุ: บันทึกการตามหา The Chair Man [5])
สำหรับเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ นั้น สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ เขียนตอนหนึ่งไว้ใน เว็บไซต์บันทึก 6 ตุลา (https://doct6.com/learn-about/how [6]) ว่า
"วันที่ 6 ตุลาคม 2519 นั้น เป็นวันที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่า ได้เกิดกรณีนองเลือดครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลและกลุ่มฝ่ายขวาหลายกลุ่มร่วมมือกันก่อการสังหารหมู่นักศึกษาประชาชน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใจกลางพระนคร จนทำให้มีผู้เสียชีวิตฝ่ายประชาชนอย่างน้อย 41 คน และบาดเจ็บ 145 คน การก่อการสังหารครั้งนี้ได้กลายเป็นข่าวแพร่ไปทั่วโลก แต่ที่น่าประหลาดใจที่สุดก็คือ การก่อกรณีนองเลือดครั้งนี้ ไม่มีการจับกุมฆาตกรผู้ก่อการสังหารเลยแม้แต่คนเดียว ในทางตรงข้ามนักศึกษาประชาชนที่เหลือรอดจากการถูกสังหารจำนวน 3,094 คน กลับถูกจับกุมทั้งหมดภายในวันนั้นเอง และถึงแม้ว่าในระยะต่อมา ผู้ถูกจับกุมจะได้รับการประกันตัวออกมาเป็นส่วนใหญ่ แต่สุดท้ายก็ยังมีเหลืออีก 27 คน ถูกอายัดตัวเพื่อดำเนินคดี เป็นชาย 23 คน และหญิง 4 คน จนท้ายที่สุด จะเหลือ 19 คน ซึ่งตกเป็นจำเลย ถูกคุมขังและดำเนินคดีอยู่เกือบ 2 ปีจึงจะได้รับการปล่อยตัว ส่วนผู้ก่อการสังหารซึ่งควรจะเป็นจำเลยตัวจริงนั้นไม่มีรัฐบาลหรือผู้กุมอำนาจครั้งไหนกล่าวถึงอีกเลย แม้กระทั่ง พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีสมัยที่ปล่อยผู้ต้องหา 6 ตุลาฯ ทั้ง 19 คนนี้ก็ได้กล่าวว่า แล้วก็ให้แล้วกันไป ลืมมันเสียเถิดนะ เหมือนกับว่าจะให้ลืมกรณีฆาตกรรมดังกล่าวเสีย มิให้กล่าวถึงคนร้ายในกรณีนี้อีก
จริงอยู่ประเทศด้อยพัฒนาเช่นประเทศไทย มีคดีอิทธิพลจำนวนมากที่ทางการไม่กล้าแตะต้อง และจับคนร้ายไม่ได้ แต่คดีอิทธิพลเหล่านั้นแตกต่างจากคดี 6 ตุลาฯ เพราะการก่ออาชญากรรมในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เป็นเหตุการณ์กลางเมืองที่เปิดเผยจนได้รับรู้กันทั่วโลก รวมทั้งผู้ต้องหาที่เปิดเผยโจ่งแจ้งก็มีอยู่มาก แต่คนเหล่านี้นอกจากจะไม่ถูกจับกุมตามกฎหมายแล้ว ยังได้ความดีความชอบในฐานะที่เป็นผู้พิทักษ์ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อีกด้วย ปัญหาในกรณีนี้ก็คือ อิทธิพลอะไรที่อยู่เบื้องหลังกลุ่มฆาตกรซึ่งผลักดันให้ผู้ก่ออาชญากรรมลอยนวลอยู่ได้เช่นนี้? และนักศึกษาผู้ตกเป็นเหยื่อของการฆาตกรรมได้ก่อความผิดร้ายแรงเพียงใดหรือ จึงต้องถูกลงโทษอย่างรุนแรงเช่นนี้?
เงื่อนงำของการสังหารโหดนี้ได้รับการคลี่คลายในตัวเองขั้นหนึ่งในเย็นวันนั้นเอง เมื่อคณะทหารกลุ่มหนึ่งในนามของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้กระทำการรัฐประหารยึดอำนาจล้มเลิกการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ล้มรัฐบาลที่ได้มาจากการเลือกตั้งตามวิถีทางรัฐสภาและฟื้นระบอบเผด็จการขวาจัดขึ้นมาปกครองประเทศแทน ถ้าหากว่าการสังหารหมู่เมื่อเช้าวันที่ 6 ตุลาคม คือการก่ออาชญากรรมต่อนักศึกษาผู้รักความเป็นธรรมแล้ว การรัฐประหารเมื่อเย็นวันที่ 6 ตุลาคม คือ การก่ออาชญากรรมต่อประเทศชาติ เพราะเป็นการทำลายสิทธิประชาธิปไตยของประชาชนทั้งชาติ ที่ได้มาจากการเสียสละเลือดเนื้อและชีวิตของวีรชน 14 ตุลาคม 2516 เมื่อโยงการรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ครั้งนี้เข้ากับการสังหารโหดที่เกิดขึ้นในวันเดียวกัน จะทำให้มองเห็นภาพการเคลื่อนไหวของพลังปฏิกิริยาที่ร่วมมือกันก่ออาชญากรรมได้ชัดเจนขึ้น"
หมายเหตุ ประชาไท ดำเนินการแก้ไขเนื้อหาบ้างส่วนไปเมื่อ 20.40 น. ของวันที่ 23 ต.ค.61
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'แร็ป', 'ประเทศกูมี', 'Rap Against Dictatorship', 'เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519', 'เพลง', 'วัฒนธรรมป็อบ'] |
https://prachatai.com/print/79273 | 2018-10-23 19:17 | กกต.รับลูก 'ประวิตร' สอบ 'ทักษิณ' บงการครอบงำ-ชี้ผิดยุบพรรค 'เพื่อไทย' โต้ไม่เกี่ยวกัน | เลขาธิการ กกต. ระบุขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลพยานหลักฐาน ความเคลื่อนไหวของ 'ทักษิณ' ว่าเข้าข่ายครอบงำพรรคเพื่อไทยหรือไม่ ชี้หากเข้าข่ายความผิดจะส่งผลให้พรรคการเมืองนั้นถูกยุบพรรค ด้านรักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทยโต้ 'ทักษิณ' เคลื่อนไหวไม่เกี่ยวพรรค
23 ต.ค.2561 ภายหลังปรากฎการณ์ที่ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค สื่อของญี่ปุ่น [1] ถึงการเลือกตั้งใหญ่ในประเทศไทยที่คาดว่าจะจัดขึ้นภายในเดือน ก.พ.-พ.ค. 2562 โดยระบุว่า การปกครองโดยทหารอาจถึงจุดจบ หากฝ่ายประชาธิปไตยได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรมากกว่า 300 ที่นั่ง จาก 500 ที่นั่ง รัฐบาลจะกลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย ไม่สามารถผ่านงบประมาณ และยังต้องเจอกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่วุฒิสภาไม่มีส่วนในการลงคะแนน รัฐบาลก็จะล่มในไม่กี่สัปดาห์ นั้น
วานนี้ (22 ต.ค.61) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตอบผู้สื่อข่าวถึงการให้สัมภาษณ์ของ ทักษิณ ดังกล่าว ว่า ขนาด ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ อยู่ต่างประเทศยังพูดถึงพรรคของเขาเลย และถามว่าพูดแบบนั้นผิดหรือไม่ ต้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณา แต่เราคงไม่ไปสั่ง กกต.เพราะเราสั่งเขาไม่ได้ ให้เขาทำของเขาเอง
กกต.รับลูก 'ประวิตร' สอบ 'ทักษิณ' บงการครอบงำ-ชี้ผิดยุบพรรค
สำหรับท่าที่ของฝั่ง กกต. ต่อกรณีตรวจสอบความเคลื่อนไหวของทักษิณ ว่าเข้าข่ายครอบงำพรรคเพื่อไทยหรือไม่ นั้น ล่าสุดวันนี้ (23 ต.ค.61) พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการ กกต. ว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลพยานหลักฐานทั้งจากภาพถ่าย คลิป และข่าว รวมถึงความเห็นของบุคคลต่างๆ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ การจะเข้าข่ายครอบงำพรรคหรือไม่นั้น กกต.จะพิจารณาว่าพรรคการเมืองนั้นขาดความเป็นอิสระในการดำเนินกิจกรรมหรือไม่ หากเข้าข่ายความผิดจะส่งผลให้พรรคการเมืองนั้นถูกยุบพรรค
ส่วนกรณีการเปิดรับสมัครองค์กรที่จะเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) พ.ต.อ.จรุงวิทย์กล่าวว่า ยังคงเปิดรับสมัครอยู่ซึ่งในวันที่ 24 ตุลาคมจะเป็นวันสุดท้าย ล่าสุดมีองค์กรที่เข้ามาสมัครแล้ว 152 องค์กร โดยในส่วนของกรุงเทพมหานครจะมีองค์กรมาสมัครมากที่สุด คาดว่าในวันพรุ่งนี้ (24 ต.ค.) จะมีองค์กรต่างๆ เข้ามาสมัครเป็นจำนวนมาก
'เพื่อไทย' โต้ 'ทักษิณ' เคลื่อนไหวไม่เกี่ยวพรรค
ด้านฝั่งพรรคเพื่อไทย วันนี้ พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรค กล่าวถึงกรณี กกต. ออกมาระบุถึงการตรวจสอบความเคลื่อนไหวของ ทักษิณ ที่อาจจะเข้าข่ายครอบงำพรรคเพื่อไทยและอาจจะทำให้พรรคนั้นโดนยุบได้ ว่า คงไม่มีอะไร เพราะทักษิณ ก็ไม่ได้มีตำแหน่งหรือเกี่ยวข้องกับทางพรรคเพื่อไทย ส่วนการแสดงความคิดเห็นนั้นตนมองว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่รักและห่วงใยบ้านเมือง ซึ่งเป็นสิทธิของคนไทยทุกคน โดยที่ทักษิณ ไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวกับพรรค ส่วนที่มีอดีต ส.ส.เดินทางไปพบที่ต่างประเทศนั้นอาจจะเป็นเพราะสมาชิกของพรรคบางคนที่ยังเคารพนับถือเป็นการส่วนตัว ซึ่งในการพบปะเยี่ยมเยือนนั้นเป็นการส่วนตัว ทางพรรคไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารพรรคก็พร้อมชี้แจงกับ กกต. ในเรื่องนี้พร้อมยอมรับพรรคเพื่อไทยมีความระมัดระวังอย่างมาก เพราะทราบว่าถูกจับจ้องอยู่ ยืนยันไม่มีการแตกพรรคย่อยหรือพรรคสาขา มีเพียงพรรคการเมืองเดียว ส่วนจะจับขั้วกับพรรคการเมืองอื่นจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่นั้น ต้องดูผลคะแนนเสียงหลังการเลือกตั้ง
เมื่อถามว่า มองอย่างไรกับกรณีที่พล.อ.ประวิตร ให้สัมภาษณ์ระบุถึง "พรรคเขา และ พรรคเรา" พล.ต.ท.วิโรจน์ กล่าวว่า ในความหมายของ พล.อ.ประวิตร คำว่าพรรคเรา คงหมายถึงพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ซึ่งก็เป็นพรรคที่พร้อมสนับสนุนรัฐบาลอยู่แล้ว ตนคิดว่าการเมืองใกล้ถึงช่วงเลือกตั้งก็คงเป็นเช่นนี้ เป็นเรื่องธรรมดา
เรียบเรียงจาก ข่าวสดออนไลน์ [2] ไทยรัฐออนไลน์ [3] ผู้จัดการออนไลน์ [4]และโพสต์ทูเดย์ [5]
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'ทักษิณ ชินวัตร', 'กกต.', 'ยุบพรรค', 'พรรคเพื่อไทย', 'ประวิตร วงษ์สุวรรณ', 'วิโรจน์ เปาอินทร์'] |
https://prachatai.com/print/79278 | 2018-10-24 02:38 | สังหารหมู่ชาวไร่อ้อยฟิลิปปินส์ 9 ราย หลังเข้ายึดที่ดินปฏิรูปคืนจากนายทุน | เกิดเหตุกลุ่มติดอาวุธยิงถล่มชาวไร่อ้อยฟิลิปปินส์ที่ลงมือปฏิรูปที่ดินจนมีผู้เสียชีวิต 9 ราย ในจำนวนนี้ 3 รายถูกเผาร่าง ตำรวจฟิลิปปินส์ระดมกำลังคอมมานโดตามหาตัวคนร้ายแต่ก็ยังจับใครไม่ได้ ขณะที่กลุ่มเกษตรกรเชื่อว่าน่าจะเป็นฝีมือบริษัทใหญ่เจ้าของที่ดินเดิมที่ไม่พอใจ หลังจากกลุ่มเกษตรกรเข้ายึดที่ดินที่เคยอยู่ภายใต้นโยบายปฏิรูปที่ดินของรัฐบาลอากีโนเมื่อทศวรรษ 1980 แต่ตกไปอยู่ในมือนายทุน
สภาพของที่เกิดเหตุ หลังเกิดเหตุสังหารหมู่เกษตรกรฟิลิปปินส์ 9 ราย ที่มาของภาพ: Facebook/Bombo Radyo Bacolod [1]
เจ้าหน้าที่ตำรวจฟิลิปปินส์เปิดเผยว่าเมื่อคืนวันเสาร์ที่ 20 ต.ค. เกิดเหตุกลุ่มติดอาวุธกว่า 40 คน เปิดฉากยิงใส่กลุ่มเกษตรกรผู้ที่ทำการเข้าครอบครองที่กินนอกเมืองซาไกในเขตภาคกลางของฟิลิปปินส์ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย รวมถึงมีการเผาร่างของผู้เสียชีวิต 3 ราย มีเกษตรกร 4 รายรอดชีวิตจากการโจมตีในครั้งนี้ซึ่งมี 2 รายที่เป็นผู้เยาว์
ตำรวจฟิลิปปินส์แถลงอีกว่าผู้รอดชีวิตทั้งหมดอยู่ภายใต้การคุ้มครองของตำรวจและมีการจัดกำลังหน่วยคอมมานโดไล่ล่าตัวผู้ก่อเหตุยิงใส่เกษตรกรแล้ว
กลุ่มเกษตรกรที่ถูกยิงในครั้งนี้เป็นสมาชิกของสมาพันธ์คนงานไร่อ้อยแห่งชาติฟิลิปปินส์ ที่เริ่มทำการเข้าครอบครองพื้นที่ไร่มาตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกบนที่ดินซึ่งเคยอยู่ภายใต้การจัดการของนโยบายปฏิรูปที่ดินจากทางการฟิลิปปินส์เมื่อราว 30 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นนโยบายการจัดสรรที่ดินให้กับเกษตรกรอิสระรายย่อย โดยที่ดินที่เกษตรกรเข้าไปจัดการในครั้งนี้เป็นที่ดินว่างเปล่าภายใต้บริษัทไร่อ้อยที่ชื่อ ฮาเซียนดา นีน (Hacienda Nene) โดยพื้นที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการจัดสรรที่ดิน
จากการสืบสวนของตำรวจพบว่าในช่วงที่เกิดเหตุเกษตรกรกำลังพักผ่อนอยู่ในเต็นท์ของตนเอง มีคนติดอาวุธประมาณ 40 ราย ลอบเข้ามาโจมตีพวกเขาโดยไม่รู้ตัว คนที่รอดชีวิตวิ่งหนีกระจัดกระจายและไปหลบซ่อนอยู่ในที่ต่างๆ รายงานของตำรวจระบุอีกว่าผู้เสียชีวิตที่ถูกเผาร่างเป็นหญิงทั้ง 3 คน
คริสตินา ปาลาเบย์ ประธานกลุ่มสิทธิมนุษยชนการะปะตันพูดถึงเหตุโจมตีในครั้งนี้ว่าทั่ง "โหดเหี้ยมและหน้าด้าน" รวมถึงเรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของฟิลิปปินส์ดำเนินการสืบสวนอย่างเป็นอิสระต่อเหตุการณ์สังหารหมู่ในครั้งนี้
กลุ่มสหภาพเกษตรกรฟิลิปปินส์กล่าวหาว่าบุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัยของบริษัทฮาเซียนดาอยู่เบื้องหลังการสังหารในครั้งนี้ ขณะที่ทางบริษัทยังไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นใดๆ ต่อเหตุการณ์
จอห์น บูลาลาเคา ผู้บังคับการตำรวจในท้องที่บอกว่าหน่วยคอมมานโดยังคงตามหาตัวผู้ก่อเหตุแต่ยังไม่สามารถระบุตัวได้ว่าเป็นใคร
นโยบายปฏิรูปที่ดินมีขึ้นในสมัยของประธานาธิบดี คอราซอน อากีโน ที่ทำการจัดสรรที่ดินใหม่ราว 80,000 ล้านตารางเมตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจากความยากจน โดยมีการต่ออายุการปฏิรูปสองครั้ง รัฐบาลฟิลิปปินส์ประกาศว่าเมื่อปีที่แล้วมีการจัดสรรที่ดินไปอีก 50,000 ล้านตารางเมตร อย่างไรก็ตามในขั้นตอนการจัดสรรที่ดินนั้นเกิดปัญหาตรงที่เจ้าของที่ดินพยายามต่อต้านทำให้พื้นที่ทำกินทางการเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในมือกลุ่มทุนตระกูลและบรรษัทใหญ่ๆ
ในสมัยของรอดริโก ดูเตอร์เต มีการเปิดทางให้ผู้นำฝ่ายซ้ายอย่าง ราฟาเอล มาริอาโน ผู้ที่เคยเป็นตัวแทนเกษตรกรในสภาฟิลิปปินส์ และเป็นผู้นำกรมปฏิรูปการเกษตร ซึ่งมาริอาโนสัญญาว่าจะเป็นผู้นำในการจัดสรรที่ดิน แต่ทว่าเขาไม่ได้รับการอนุมัติจากสภาจึงถูกแทนที่ตำแหน่งในเวลาต่อมา
เรียบเรียงจาก
Ambush in Philippines Kills Farmers Occupying Plantation Land, The New York Times [2], 21-10-2018
9 farmers killed at Negros Occidental hacienda, Rappler [3], 21-10-2018
| ['ข่าว', 'สิทธิมนุษยชน', 'คุณภาพชีวิต', 'ต่างประเทศ', 'ฐานทรัพยากร', 'อาชญากรรม', 'เกษตรกร', 'ที่ดิน', 'ไร่อ้อย', 'เกษตรกรไร้ที่ดิน', 'ปฏิรูปที่ดิน', 'สมาพันธ์คนงานไร่อ้อยแห่งชาติฟิลิปปินส์', 'ฟิลิปปินส์'] |
https://prachatai.com/print/79277 | 2018-10-24 01:48 | เชลซี แมนนิง พูดถึงการต่อสู้นับตั้งแต่ถูกคุมขังจนกระทั่งได้รับการผ่าตัดแปลงเพศ | เชลซี แมนนิง หญิงข้ามเพศอดีตเจ้าหน้าที่ทหารอเมริกันที่เป็นผู้เปิดเผยปฏิบัติกองทัพสหรัฐฯ ในอิรักให้กับวิกิลีกส์ ได้โพสต์ภาพหลังพักฟื้นหลังจากการผ่าตัดแปลงเพศผ่านทางทวิตเตอร์พร้อมกับข้อความเกี่ยวกับการต่อสู้ฝ่าฟันกว่าจะได้รับการผ่าตัดตามที่เธอต้องการ
เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2561 เชลซี แมนนิง ผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกเนื่องจากเปิดโปงข้อมูลการกระทำของกองทัพสหรัฐฯ ในสงครามอิรักต่อวิกิลีกส์เผยแพร่ภาพของตัวเองขณะพักฟื้นหลังผ่าตัดแปลงเพศพร้อมข้อความผ่านทวิตเตอร์ [1]ว่า "หลังจากเกือบ 10 ปีของการต่อสู้ ผ่านทั้งเรือนจำ ทั้งศาล การอดอาหารประท้วง และกับบริษัทประกัน ในที่สุดฉันก็ได้รับการผ่าตัดแปลงเพศแล้วในสัปดาห์นี้"
แมนนิงเคยอดอาหารประท้วงสภาพการคุมขังเธอมาก่อนขณะถูกลงโทษจำคุกที่เรือนจำลีเวนเวิร์ธ โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะทางเรือนจำกีดกันไม่ให้เธอได้รับบริการทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการแปลงเพศจนทำให้เกิดความทุกข์ใจทางเพศสภาพ แต่ในเวลาต่อมาแมนนิงก็ได้รับการลดโทษจากบารัค โอบามา ในช่วงก่อนที่โอบามาจะหมดวาระประธานาธิบดี จนทำให้เธอได้ออกจากคุกก่อนกำหนด หลังจากนั้นแมนนิงก็กลายเป็นหนึ่งในนักกิจกรรมที่ต่อสู้ทั้งในเรื่องความเป็นธรรมทางสังคมและเรื่องเพศสภาพ
ที่มา: Twitter/Chelsea E. Manning [1]
สื่อนิวส์วีครายงานว่าทวีตของเธอได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ติดตามและผู้ที่สนับสนุนเธอ มีผู้ใช้งานทวิตเตอร์รายหนึ่งระบุว่าเขารู้สึกภาคภูมิใจในตัวเธอและมองว่าเธอเป็นแรงบันดาลใจสำหรับเหล่านักกิจกรรมเพื่อความเป็นธรรมในสังคม รวมถึงมีผู้ที่อวยพรให้เธอพักฟื้นตัวเองได้เร็วและขอบคุณสิ่งที่เธอทำให้กับมนุษยชาติ
อย่างไรก็ตามแมนนิงก็ยังพูดถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับกลุ่มคนข้ามเพศ โดยเป็นผลมาจากจากรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ ในกรณีล่าสุดที่รัฐบาลทรัมป์พยายามจำกัดนิยามเพศสภาพทางกฎหมายในแบบเคร่งครัดขึ้นในแบบที่ "เปลี่ยนแปลงไม่ได้" โดยระบุให้ต้องถูกกำหนดโดยอวัยวะเพศที่มีมาแต่กำเนิด ซึ่งมีคนวิจารณ์ว่าเป็นการลดเลือนตัวตนของกลุ่มคนข้ามเพศ
"กฎหมายไม่ได้เป็นสิ่งที่จะมากำหนดตัวตนของพวกเรา พวกเราเองต่างหากที่จะกำหนดตัวตนของพวกเรา มันเป็นทั้งอาวุธของพวกเรา ทั้งแหล่งพักพิงของพวกเรา พลังงานของพวกเรา สิ่งเยียวยาของพวกเรา ความจริงของพวกเรา พวกเราจะก้าวเดินต่อไป พวกเราจะต่อสู้ต่อไป การมีตัวตนอยู่คือกฎหมายอย่างเดียวของพวกเรา" แมนนิงกล่าว
แมนนิงเคยต้องโทษจำคุก 35 ปี จากการเผยแพร่เอกสารของทางการให้กับวิกิลีกส์ 700,000 ฉบับ รวมถึงวิดีโอของเฮลิคอปเตอร์กองทัพสหรัฐฯ สังหารพลเรือน เธอถูกลงโทษด้วยข้อหา 20 ข้อหา แต่ก็ได้รับการยกฟ้องข้อหาช่วยเหลือศัตรู หลังจากนั้นเธอก็เปิดเผยตัวเองว่าเป็นคนข้ามเพศในปี 2556 เธอได้ออกจากคุกเมื่อเดือน พ.ค. 2560 จากคำสั่งของโอบามา ในตอนนั้นเธอบอกว่าเป็นครั้งแรกที่เธอจะได้เห็นอนาคตขอตัวเองในฐานะคนที่ชื่อเชลซี อีกทั้งยังบอกว่าเธอหวังว่าบทเรียนของเธอจะทำให้เธอทำงานเพื่อช่วยให้ชีวิตของคนอื่นดีขึ้นได้
เรียบเรียงจากCHELSEA MANNING TWEETS PHOTO FROM HOSPITAL BED AFTER GENDER AFFIRMATION SURGERY, Newsweek [2], 22-10-2018
| ['ข่าว', 'สิทธิมนุษยชน', 'ต่างประเทศ', 'เชลซี แมนนิง', 'วิกิพีเดีย', 'สหรัฐอเมริกา', 'LGBT', 'สิทธิทางเพศ'] |
https://prachatai.com/print/79279 | 2018-10-24 13:07 | ถกธุรกิจสือ 4.0 'เทพชัย' ห่วงติดกับดักรายได้ลืมหน้าที่หมาเฝ้าบ้าน | ธุรกิจสือ 4.0 เนื้อหาต้องดี ตอบสนองคนอ่าน 'เทพชัย' ห่วงติดกับดักรายได้ลืมหน้าที่หมาเฝ้าบ้าน ชี้ความอยู่รอดของสื่อไม่สำคัญเท่าความอยู่รอดของสังคม
24 ต.ค.2561 การสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2561 ในหัวข้อ “ธุรกิจสื่อ ยุค 4.0” เมื่อวันที่ 19 พ.ย.ที่ผ่านมา จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศราฯ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)
วงสื่อถกหาทางรอด แนะผลิตเนื้อหา 'พรีเมียม' มองหา 'โมเดลธุรกิจใหม่' สร้างความน่าเชื่อถือ [1]
วงคุยสมาคมนักข่าวฯ คาดอนาคต AI เข้ามาช่วยในทำข่าว แนะใช้จริยธรรมนำ [2]
เสวนานักข่าวชี้ ‘สำนักข่าวเฉพาะทาง’ จะเป็น ‘ทางเลือก’ ฝ่าวิกฤตสื่อมวลชน [3]
ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง นักวิชาการด้าน Digital content Marketing กล่าวว่า จากในอดีตที่คนเสพข่าวทางโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์แต่ยุคปัจจุบัน มีทางเลือกมากมายมหาศาล อยากจะเสพอะไรก็ได้จะ อ่านหนังสือ จะดูคลิปวีดีโอ หรืออื่นๆ ดังนั้นอย่าไปบอกว่าวีดีโอเป็นสื่อที่ดีที่สุด แต่อาจดีกับคนบางกลุ่ม และอาจไม่ดีกับคนบางกลุ่ม
อย่างไรก็ตาม ถามว่าสื่อทุกชนิดจะต้องไปแข่งขันในยุคดิจิตอล รายได้มาจากไหนก็มาจากการเข้าถึงกลุ่มคนอ่าน ซึ่งทราฟฟิคที่คนติดตามมาที่สุดไม่ใช่สื่ออย่าง ไทยรัฐ หรือสื่ออื่นๆ แล้ว แต่คือ เฟสบุ้ค และ กูเกิล ซึ่ง สมมติไปลงโฆษณาเพจไทยรัฐคนดูล้านคน ก็ไม่รู้ว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายของเขาไหม แต่หากซื้อผ่านเฟสบุ้คจะสามารถเลือกได้อย่างละเอียด นี่คือสิ่งที่น่ากลัว ธุรกิจเอ็สเอ็มอี มีเงินพอจะซื้อแอดโวเทอเรียลสื่อ แต่ทำไมไม่ซื้อ มาซื้อเฟสบุ้ค เพราะเขาได้ทราฟฟิคที่มีคุณภาพ
ณัฐพัชญ์ กล่าวว่า ทางออกคือการคิดโมเดลธุรกิจใหม่ ซึ่งแบบเดิมอาจไปได้แต่ไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะทำให้คุณรอดชีวิตได้ ทางออก ดังจะเห็นว่าสื่อทุกวันนี้พยายามปั๊มทราฟฟิคให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยการพาดหัวข่าวเรียกแขก คลิกเบท ซึ่งถึงจะได้ทราฟฟิคเพิ่ม แต่สุดท้าย เครดิตของสื่อก็จะหายไป ดังนั้นสิ่งสำคัญคือเนื้อหาของสื่อจะต้องดี ที่สำคัญการจะพัฒนาสินค้าไปขายนั้นไม่ใช่เพียงแค่จะไปเร่ขาย แต่ต้องรู้ความต้องการของคนดูก่อนว่าเขาอยากได้อะไร ที่ผ่านมาไม่มีทางเลือกแต่ทุกวันนี้มีทางเลือกมากขึ้น ซึ่งต้องไปดูว่าทำไม คนทำเฟส เพจ ยูทูบ ถึงเวอร์ค เพราะเขามีวิธีการเล่าเลื่องแบบใหม่ที่ไม่น่าเบื่อ
ณัฐพัชญ์ กล่าวว่า สื่อต้องทบทวนตัวเองด้วยว่าการอยู่รอดของสื่อคืออะไร คือจะทำให้ธุรกิจรอดหรือเพื่อการเปลี่ยนประเทศไปสู่สิ่งที่ควรจะเป็น ซึ่งการอยู่รอดโมเดลธุรกิจต้องดี เข้าใจที่มารายได้ สินค้า รายได้ ซัพพลายเชนทั้งหมด คนทำสื่อก็ต้องโพสต์เฟสบุ้คเป็น ตัดวีดีโอเป็น ทำได้หลายอย่าง ซึ่งในวันที่ถามว่าองค์กรจะอยู่รอดแบบไหน เราเคยไปถามเด็กมหาวิทยาลัยที่ทำสื่อผ่านยูทูบได้เงินเดือนเป็นแสนบางหรือไม่ หรือเรายังอยู่กับภาพจำเดิมๆ ในหลายทศวรรษที่ผ่านมาต้องทำอย่างนี้เท่านั้น
เทพชัย หย่อง กรรมการจริยธรรม สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องเหนือบ่ากว่าแรงกับการปรับตัวของสื่อให้เข้ากับเทคโนโลยี แต่เป็นห่วงเวลานี้ที่มีการพูดถึงทางรอดของสื่อซึ่งอาจไม่สำคัญ เท่ากับความอยู่รอดของสังคมมากกว่า เราควรให้ความสำคัญกับบทบาทของสื่อต่อสังคมว่าควรจะเป็นไปอย่างไร เพราะปัจจุบันมีความท่าทายอย่างมาก
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นในยุคที่หลายสื่อกำลังปรับตัวเข้าสู่ออนไลน์ โดยมีสื่อหนึ่งผู้บริหารชุดใหม่กำหนดรายได้ให้กับคนเขียนข่าวโดย 25 วิว ได้ 1 บาท ถามว่าสิ่งที่นักข่าวคนนั้นจะโพสต์คืออะไร คำตอบก็คือโพสต์สิ่งที่คนเห็นแล้วจะต้องกดเข้ามาดู ซึ่งจะทำให้สื่อเปลี่ยนจากการทำหน้าที่หมาเฝ้าบ้าน คอยตรวจสอบ การทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงแทนประชาชนก็จะลดลง เมื่อติดกับรายได้ก็จะกระทบไปถึงความพยายามยกระดับสื่อสารมวลชน
เทพชัย กล่าวว่า ต้องยอมรับบทบาทของสื่ออยู่ตรงที่เป็นไกลไกตรวจสอบอำนาจรัฐ ต้องมีความรู้ จริยธรรม เหมือนนักข่าวชาวซาอุดิอาระเบีย ที่เสียชีวิต คนที่จะเข้าไปเจาะ หรือเปิดโปงเรื่องนี้ ควรเป็นใคร ซึ่งก็เป็นบทบาทของสื่อสารมวลชนที่ต้องทำหน้าที่เปิดโปงนำความจริงเปิดเผยต่อสังคม ต้องอาศัยองค์กรสื่อ และคนทำข่าวที่มุ่งมั่นที่จะทำข่าวแบบนี้
“องค์กรสื่อจะอยู่รอดต้องถามว่าอยู่รอดไปเพื่ออะไรก่อน เป้าหมายเพื่ออยู่รอดทางธุรกิจไม่มีความหมายเท่าอยู่รอดเพื่อมีบทบาทช่วยสร้างสรรค์สังคม ซึ่งการอยู่รอดทางธุรกิจมีทางเลือกเยอะ แต่ต้องอยู่รอดและตอบโจทย์สังคมด้วย ต้องมีวิธีบริหารจัดการ พัฒนาบุคลากรพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ ซึ่งคนไม่ดูข่าวก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแตกต่างจากในอดีต แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันจะออกแบบยังไงให้คนหันมาดูมากขึ้น“ เทพชัย กล่าว
สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ด้านยุทธศาสตร์ สื่อสาธารณะ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าวว่า การจะปรับเปลี่ยนต้องเริ่มตั้งแต่การออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย โดยมองไปที่ผลลัพธ์ที่จะได้ แล้วค่อยย้อนกลับมาดูว่าขั้นตอนที่จะเดินหน้าไปสู่จุดนั้นว่าต้องทำอย่างไร ไม่ใช่เริ่มจากการตั้งต้นไปตามระบบซึ่งไม่รู้ว่าสุดท้ายปลายทางจะได้ผลลัพธ์ออกมาอย่างไรนี่คือปัญหา
อย่างไรก็ตาม หากเราไม่มีระบบคิด เราก็จะเดินไปตามรูทีน ซึ่งในทางปฏิบัติเราไม่จำเป็นต้องเดินหน้าไปตาม หนึ่ง สอง สาม สี่ ถ้าเรามีสเตรติจิกส์ที่ดี เราต้องมองเห็นภาพรวม เดิมเราเห็นมุมตัวเองเล็กๆ และทำส่วนของเราให้ดีที่สุด ก็ไม่ทำให้เปลี่ยนแปลงได้ ต้องมองทั้งอุตสาหกรรม ให้ครบองค์ประกอบว่าเราจะทำเพื่ออะไร สำหรับสื่อสาธารณะอุดมการณ์ใช่ แต่สำหรับวิธีการอาจต้องปรับ รู้จักการเปลี่ยนแปลง ยืดหยุ่น
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'เศรษฐกิจ', 'สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย', 'สื่อมวลชน', 'ณัฐพัชญ์\xa0วงษ์เหรียญทอง', 'เทพชัย หย่อง', 'สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล'] |
https://prachatai.com/print/79283 | 2018-10-24 15:03 | ผู้อพยพฮอนดูรัสหลักพันปักหลักชายแดนเม็กซิโก หวังหนีจน-ตาย สู่สหรัฐฯ | ผู้อพยพชาวฮอนดูรัสหลายพันคนเคลื่อนขบวนเป็นคาราวานอพยพจากฮอนดูรัส มุ่งหน้าสู่สหรัฐฯ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศ จะสกัดกั้นผู้อพยพเหล่านี้ ทางผู้อพยพรวมตัวกันอีกครั้งที่ชายแดนกัวเตมาลา-เม็กซิโก ข้อมูลปี 2559 ระบุ ผู้อพยพมีจำนวนร้อยละ 13.5 ของประชากรสหรัฐฯ เอเชียมากเป็นอันดับหนึ่ง
ขบวนผู้คนพร้อมธงทีมฟุตบอลฮอนดูรัส(ซ้าย) และธงที่คาดว่าเป็นธงชาติฮอนดูรัสที่อยู่แถวที่สอง (ที่มา: Facebook: Honduras NO TE Rindas [1])
23 ต.ค. 2561 สื่อเอ็นดีทีวีรายงานว่ามีขบวนคาราวานผู้อพยพจากฮอนดูรัส ประเทศในภูมิภาคอเมริกากลางเดินขบวนทางไกลและกำลังต่อแพเพื่อข้ามฝั่งแม่น้ำไปยังเม็กซิโก คลื่นมนุษย์ดังกล่าวกระตุ้นให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ โต้ตอบเรื่องนี้โดยบอกว่าจะมีการใช้ "ความพยายามอย่างเต็มที่" ในการสกัดกั้นฝูงชนที่จะข้ามแดนเข้ามาทางตอนใต้ของสหรัฐฯ
ทางการเม็กซิโกทำการปิดกั้นสะพานข้ามฝั่งระหว่างกัวเตมาลากับเม็กซิโก ทำให้ผู้อพยพแก้ปัญหาด้วยการต่อแพชั่วคราวเพื่อข้ามฝั่งแทนและรวมตัวกันอีกครั้งในเม็กซิโกเมื่อ 22 ต.ค. ที่ผ่านมา ข้อมูลของผู้บัญชาการตำรวจเม็กซิโกซึ่งเฝ้าจับตามองกลุ่มผู้อพยพอย่างใกล้ชิดระบุว่า ยังมีผู้อพยพราว 3,000 คน ที่ยังคงเดินขบวนเป็นคาราวานภายในเม็กซิโก ขณะที่ผู้อพยพรวมถึงผู้หญิงและเด็กจำนวนมากยังคงติดอยู่ที่ชายแดนตรงสะพานโดยหวังว่าจะสามารถเข้าสู่เม็กซิโกได้อย่างถูกกฎหมาย โดยทางการเม็กซิโกยืนกรานว่าคนที่รออยู่ที่สะพานควรจะยื่นเรื่องขอลี้ภัยเป็นรายบุคคลถึงจะเข้าสู่ประเทศได้
อย่างไรก็ตาม ผู้อพยพแสดงความตั้งใจอย่างแรงกล้าในการที่จะข้ามเขตแดนจากเม็กซิโกเป็นระยะทางอย่างน้อย 3,000 กม. ไปจนถึงชายแดนสหรัฐฯ
มีผู้อพยพรายหนึ่งชื่ออาร์รอน ฮัวเรซ อายุ 21 ปี ที่มาพร้อมกับลูกและเมียเดินทางด้วยความยากลำบากเพราะกำลังบาดเจ็บ แต่เขาก็บอกว่า "ไม่มีใครจะหยุดพวกเราได้ หลังจากสิ่งที่พวกเราต้องฟันฝ่ามา" ผู้อพยพอีกรายหนึ่งชื่อ เอ็ดวิน จีโอวานนี เอนาโมราโด เป็นชาวนาผู้ที่ถูกคุกคามจากกลุ่มแกงค์อาชญากรขู่กรรโชกทรัพย์ เขาบอกว่าถึงจะเหนื่อยแต่ก็มีความสุขพวกเขาได้ผนึกกำลังร่วมกันและมีความเข้มแข็ง
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วกลุ่มคาราวานชาวฮอนดูรัสเริ่มเดินขบวนออกจากเมืองซานเปโดรซูลาไปทางตอนใต้ 700 กม. ตามคำเรียกร้องบนโซเชียลเน็ตเวิร์คของนักการเมืองฝ่ายซ้ายและนักกิจกรรมของฮอนดูรัส บาร์โตโล ฟูเอนเตส ผู้ที่อยู่พรรคการเมืองเดียวกับอดีตประธานาธิบดีมานูเอล เซลายา ที่ถูกรัฐประหารโค่นล้มไปเมื่อหลายปีก่อน
ทั้งนี้ ทางฟูเอนเตสระบุว่า เขาเพียงเอาโปสเตอร์ทางโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ชวนให้ผู้คนออกมา "เดินขบวนอพยพ" พร้อมทั้งคำขวัญที่ว่า "พวกเราไม่ได้ออกมาเพราะพวกเราต้องการ แต่เพราะพวกเราถูกขับไล่โดยความรุนแรงและความยากจน" มาโพสท์ใหม่บนเพจเฟสบุ๊กเท่านั้น เขาระบุกับซีเอ็นเอ็น [2]ว่าเขาถูกรัฐบาลกล่าวหาเป็นแพะรับบาปกรณีคาราวานใหญ่ครั้งนี้ แต่รัฐบาลกลับมองข้ามความย่ำแย่ของชีวิตที่ความจนและความรุนแรงคร่าชีวิตคนเป็นแสนในฮอนดูรัส
ผู้เดินขบวนอพยพราว 3,000-5,000 รายพากันยกขบวนไปที่กัวเตมาลาซึ่งผู้นำกัวเตมาลาเปิดเผยว่ามีชาวฮอนดูรัสอพยพเข้าเมืองมากกว่า 5,000 ราย แต่ยังคงมีอีกราว 2,000 รายที่ไม่กลับบ้าน
ในวันที่ 20 ต.ค. ที่ผ่านมา ทางการเม็กซิโกได้เปิดพรมแดนให้กับผู้หญิงและเด็กเข้าประเทศได้หลังจากที่พวกเขาออกันอยู่บนสะพานแออัดที่ไปด้วยฝูงชน ทางการเม็กซิโกเปิดให้ผู้อพยพเข้าไปอยู่ในที่พักพิงของเมืองทาปาชูลาผู้อพยพบางส่วนทนรอไม่ไหวเริ่มต่อแพข้ามมาสู่ตลิ่งโคลนฝั่งเม็กซิโกด้วยตัวเองโดยที่เจ้าหน้าที่ไม่เข้าไปขัดขวางพวกเขา แต่ผู้นำกัวเตมาลาและฮอนดูรัสต่างก็วิจารณ์ในเรื่องนี้หลังประชุมร่วมกันว่าเป็นการ "ละเมิดพรมแดนและความเชื่อมั่นระหว่างประเทศ"
ทั้งนี้ผู้นำฮอนดูรัสยอมรับว่าปัญหาทางสังคมมีส่วนทำให้มีผู้อพยพจำนวนมากจริง และผู้อพยพเองก็บอกว่าการเดินขบวนอพยพใหญ่ในครั้งนี้ไม่ได้มีแรงจูงใจทางการเมือง เอ็ดการ์ อะกีลาร์ บอกว่าแรงจูงใจในการเดินขบวนใหญ่มาจากเรื่อง "ความอดอยาก ปัญหาภัยแล้ง มันเป็นเรื่องการทำเพื่อความกินดีอยู่ดี เพื่อชีวิตที่ดีกว่า มันไม่ใช่เรื่องการเมือง" ผู้อพยพอีกคนหนึ่งชื่อจาเล็ดบอกว่าเพราะในฮอนดูรัสไม่มีงานทำ ไม่มีการศึกษา ไม่มีอะไรดี และข้าวของก็มีแต่แพงขึ้น
สื่อเอ็นดีทีวีระบุอีกว่าปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ชาวฮอนดูรัสแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าในที่อื่นคือปัญหาจากแกงค์อาชญากรรมที่ใช้ความรุนแรง การวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮอนดูรัสระบุว่ามีอัตราการฆาตกรรมเกิดขึ้นกับชาวฮอนดูรัส 43 คนต่อ 100,000 คน ทำให้ฮอนดูรัสกลายเป็นประเทศที่มีความรุนแรงสูงที่สุดในโลก
ผู้อพยพมีจำนวนร้อยละ 13.5 ของประชากรสหรัฐฯ เอเชียมากเป็นอันดับหนึ่ง
ข้อมูลเมื่อปี 2561 ของศูนย์วิจัย Pew Research Center ให้ข้อมูลว่า มีผู้อพยพเข้าสหรัฐฯ เฉลี่ยปีละมากกว่าหนึ่งล้านคน ข้อมูลในปี 2559 พบว่าอัตราส่วนของผู้อพยพมีสัดสว่นเป็นร้อยละ 13.5 เมื่อเทียบกับประชากรสหรัฐฯ ทั้งประเทศ โดยทั่วประเทศมีผู้อพยพที่เข้ามาอย่างไม่ถูกกฎหมายราว 11 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 24.5 องจำนวนผู้อพยพทั้งหมดที่มีทั้งสิ้น 44.7 ล้านคน
ข้อมูลจากที่เดียวกันแสดงให้เห็นว่า ในปี 2559 ผู้อพยพส่วนใหญ่ (ร้อยละ 26) กำเนิดที่ประเทศเม็กซิโก รองลงมาคือจีนที่นับรวมทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวันและฮ่องกง (ร้อยละ 6) และอินเดียในสัดส่วนเท่ากัน แต่หากประเมินตามภูมิภาคจะพบว่า ผู้อพยพส่วนใหญ่มาจากภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก (ร้อยละ 27) ส่วนอเมริกากลางและใต้อยู่ที่ร้อยละ 8 และ 7 ตามลำดับ
ในทางเชื้อชาติ ผู้อพยพที่เป็นชาวเอเชียมีจำนวนแซงหน้าชาวฮิสแปนิกตั้งแต่ปี 2553 ทาง PEW Research Center คาดการณ์ว่าในปี 2598 ชาวเอเชียนจะเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดของผู้อพยพเข้าสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38 ตามาด้วยชาวฮิสแปนิกที่ร้อยละ 31 คนขาวร้อยละ 20 และคนดำร้อยละ 9
เรียบเรียงจาก
Thousands Of Migrants March At Least 3,000 Kilometres To Reach US, NDTV [3], Oct. 22, 2018
Key findings about U.S. immigrants, PEW Research Center [4], Sep. 14, 2018
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'คุณภาพชีวิต', 'ต่างประเทศ', 'ผู้อพยพ', 'ฮอนดูรัส', 'เม็กซิโก', 'สหรัฐอเมริกา', 'แกงค์อาชญากรรม', 'ปัญหาความยากจน'] |
https://prachatai.com/print/79282 | 2018-10-24 14:54 | จากเยอรมันถึงไทย ถกบทเรียนการขับเคลื่อนนโยบายแรงงานในวิถีทางการเมือง | 'อดีต ผอ.ฟรีดริค เอแบร์ท' ย้ำในระบอบ ปชต. พรรคการเมืองเป็นพลังสำคัญแต่ไม่เพียงพอ สหภาพแรงงานต้องเข้มแข็งด้วย 'แล' ชี้พรรคฯตอบโจทย์คนละส่วนกับขบวนการแรงาน 'ศักดินา' ย้ำงานใหญ่เรา คือ การจัดตั้ง 'นภาพร' ปักธงเป็นประชาธิปไตยแม้มีข้อจำกัดแต่ก็ดีกว่าเผด็จการ 'สุนี' ระบุขบวนแรงงานสู้ทางการเมืองมาตลอด แต่มีจังหวะสะดุดที่เผด็จการทำลายขบวน
เมื่อวันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่ลานอาคารอเนกประสงค์ นิคมรถไฟ กม. 11 จตุจักร กรุงเทพมหานคร มีการจัดเสวนาวิชาการเรื่อง “การขับเคลื่อนนโยบายแรงงานในวิถีทางการเมือง : บทเรียนจากประวัติศาสตร์ ประสบการณ์จากเยอรมนี” ในงานเฉลิมฉลอง 25 ปี แห่งการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ร่วมเสวนาโดย ดร.สเตฟาน โครบอท อดีตผู้อำนวยการมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ศาสตราภิชานแล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการแรงงาน รศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สุนี ไชยรส อาจารย์จากวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมี อรพิน ลิลิตวิศิษฎ์วงศ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
'อรพิน' ตั้งโจทย์แรงงานอยู่ตรงไหนในเลือกตั้ง ก.พ.62
อรพิน กล่าวว่า หากย้อนไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว อาจารย์นภาพรได้พูดในงานเสวนา “แรงงานไม่มีประวัติศาสตร์” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ใหญ่ที่สุดของภาคแรงงานว่า ขบวนการแรงงานได้เข้าไปร่วมเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่ไม่ได้เป็นผู้กำหนดทิศทางหลัก อีกทั้งขบวนการแรงงานก็ยังถูกตั้งคำถามว่ามีความเชื่อมั่นในการขับเคลื่อนนโยบายแรงงานแค่ไหน เพราะขบวนการแรงงานยังขาดจุดร่วมในเชิงเอกภาพเหมือนในอดีต
การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในกุมภาพันธ์ 2562 ในปีหน้า เราเห็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองออกมาเรื่อยๆ ขณะเดียวกันนโยบายแรงงานมีแค่ไหน ขบวนการแรงงานไปอยู่ที่พรรคไหนบ้าง เหล่านี้ถือเป็นความท้าทายในปัจจุบัน ท่ามกลางที่ภาคแรงงานทั่วโลกถูกเร่งรัดผ่านการจ้างงานใหม่ๆ บทบาทการต่อรอง อำนาจทางการเมืองจะมีมากน้อยเพียงใด
วันนี้เราจะสนทนากันในเรื่องนี้ โดยเริ่มจากอดีตก่อน คือ บทเรียนจากเยอรมัน จากในต่างประเทศที่เป็นต้นแบบรัฐสวัสดิการ เป็นต้นแบบสหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง และต่อมาจะเป็นการมองไปข้างหน้ากับบริบทปัจจุบันในประเทศไทย มองการเลือกตั้งที่จะมาถึง โยงกับการขับเคลื่อนนโยบายแรงงานในวิถีการเมืองในอนาคตจะเป็นอย่างไร
'อดีต ผอ.ฟรีดริค เอแบร์ท' ย้ำในระบอบ ปชต. พรรคการเมืองเป็นพลังสำคัญแต่ไม่เพียงพอ สหภาพแรงงานต้องเข้มแข็งด้วย
ดร.สเตฟาน โครบอท กล่าวว่า สถานะผมเป็นทั้งสมาชิกพรรคการเมือง เป็นทั้งนักสหภาพแรงงาน แต่ผมจะใช้จุดยืนความเป็นนักสหภาพแรงงาน ไม่ใช่สมาชิกพรรคการเมืองมามีอิทธิพลสำหรับการตอบคำถามนี้หากถามว่าอะไรคือบทเรียนของขบวนการแรงงานเยอรมัน
คำตอบที่ชัดเจน คือ เหตุผลเพราะพรรคการเมืองมาแล้วก็ไป บางครั้งเข้มแข็งบางครั้งอ่อนแอ บางครั้งก็เป็นรัฐบาล บางครั้งก็เป็นฝ่ายค้าน แต่ที่ต้องมั่นคง คือ สหภาพแรงงานต้องดูแลผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน ไม่ว่าพรรคไหนจะมาหรือจะไป จุดยืนเรา คือ ต้องดูแลผู้ใช้แรงงาน จะเป็นรัฐบาลหรือจะไม่เป็น กระทั่งพรรคการเมืองอาจสนับสนุนนโยบายสหภาพแรงงานหรือไม่สนับสนุนก็ตาม แต่ในฐานะที่เป็นสหภาพแรงงาน เราต้องไม่ผูกติดกับพรรคการเมือง นี้เป็นประสบการณ์ที่สำคัญมาก
ผมเห็นว่าพรรคการเมืองไม่ควรเข้ามาควบคุมสหภาพแรงงาน แต่หากว่าสหภาพแรงงานจะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในพรรคใดพรรคหนึ่ง นี้เป็นเรื่องที่น่ายินดี ในระบอบประชาธิปไตยพรรคการเมืองเป็นพลังสำคัญแต่ไม่เพียงพอ ซึ่งต้องการสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งด้วย ทั้ง 2 องค์กร ถือเป็นกลุ่มหรือสถาบันที่สำคัญ แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เพราะเราไม่ใช่สังคมเดิมอีกแล้ว สังคมเดิมอาจเป็นคนที่ทำงานในภาคเกษตรหรือโรงงาน ไม่ใช่มีอิสระเสรี ในอดีตคนทำงานไม่มีอิสระเสรี การยกระดับความเป็นอยู่ คือ ต้องมองหาว่าใครจะเข้ามาอุปถัมภ์หรือช่วยเหลือตนเองได้ คนๆนี้ก็อาจช่วยบางคนได้แต่ช่วยทุกคนไม่ได้ เช่นเดียวกับเรื่องสหภาพแรงงาน ก็ไม่ควรมองหาคนมาช่วยเหลือเรา อาจช่วยแค่ครั้งคราวได้แต่ไม่ใช่ระยะยาวที่สำคัญเราต้องเข้าใจว่าเราอยู่ในสังคมยุคใหม่แล้ว ไม่ใช่ผู้อุปถัมภ์ เราต้องช่วยตนเอง ต้องพึ่งพาตนเองได้ เราต้องเข้มแข็งต้องมีสมาชิก ต้องมีองค์กรที่เข้มแข็งในสถานประกอบการในโรงงาน อันนี้คือความท้าทายหลักพวกเรามีตัวอย่างในเยอรมันที่ผลิตรถยนต์ BMW โรงงานนี้อยู่ที่เยอรมันก็ยังผลิตโดยใช้เครื่องจักรแบบเดิม และคนงาน 80 % เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า อาจไม่มีสหภาพแรงงาน แต่คนยังเป็นคนเดิมที่ไปซื้อของห้างสรรพสินค้า แต่ในปัจจุบันคนซื้อสินค้าออนไลน์ มาส่งสินค้าถึงบ้าน สถานการณ์นี้เกิดขึ้นแทบทุกประเทศทั่วโลก ทางออก คือ เราต้องมีสหภาพแรงงานในกิจการต่างๆในยุคใหม่นี้ที่สำคัญที่สุด
'แล' ชี้พรรคการเมืองตอบโจทย์คนละส่วนกับขบวนการแรงาน
ศาสตราภิชานแล กล่าวว่า จริงๆ แล้วต้องเข้าใจว่าพรรคการเมืองเป็นสถาบันทางสังคมชนิดหนึ่ง บทบาทของพรรคการเมืองก็ย่อมแตกต่างกัน เยอรมันมีประสบการณ์ประชาธิปไตยมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนประเทศไทยยังล้มลุกคลุกคลานมาแต่ปี 2475 ยังมั่นคงไม่ได้ อย่างที่คุณโครบอทบอก นอกจากพรรคการเมืองกับสหภาพแรงงานจะแตกต่างกัน พรรคการเมืองกับขบวนการแรงงานก็ตอบโจทย์คนละโจทย์ เอาง่ายๆ เรามีผู้นำแรงงานไปทำงานพรรคการเมืองเยอะ แต่ไม่มีซักคนเดียวที่ประสบความสำเร็จไปจากแรงงาน เพราะคู่ปรับเราคือทุน แต่พอไปอยู่ในพรรคการเมือง ทุนคือระบบอุมถัมภ์ จึงไม่สามารถไปสร้างความนิยมได้ ถ้าคุณเก่งสู้กับทุนในพรรคการเมือง คุณจะไม่มีความหมายเลย เพราะคุณยังต้องพึ่งทุน มันตอบโจทย์คนละโจทย์ ถ้าถามว่าประสบการณ์เยอรมันกับไทย ก็จะพบว่าห่างไกลกันมาก เราจึงต้องสร้างพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันที่สำคัญ เราไม่สามารถเอาพรรคการเมืองไปสร้างความเข้มแข็งให้ขบวนการแรงงานได้ ขบวนการแรงงานก็ยังไม่สามารถสร้างพรรคการเมืองได้
ทุกครั้งที่เราได้อะไรมา เราจะได้ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมือง เช่น การออกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ที่เป็นที่มาของกฎหมายแรงงาน หรือการออกกฎหมายประกันสังคม ก็ออกยุคพลเอกชาติชาย ก็ไปหาความนิยมจากผู้นำแรงงาน เพราะอำนาจทางการเมืองไม่เข้มแข็ง ทำให้การกำหนดอิทธิพลทางการเมือง ขึ้นอยู่กับจังหวะทางการเมือง เมื่อประวัติศาสตร์คือแบบนี้ เราจะเรียนรู้จากเยอรมันได้มากแค่ไหน จึงต้องเรียนรู้มากกว่านี้ คนงานมักได้อะไรเกิดขึ้นมาในช่วงล้มลุกคลุกคลาน เมื่อรัฐเผด็จการออกตัวเต็มที่ ดังนั้นก็ต้องทำให้สอดคล้องกับประชาคมโลกต่างๆ ที่ ILO ออกกฎมา ประกาศคณะปฏิวัติ 103 หรือการออกกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ก็เกิดขึ้นช่วงปี 2515 เป็นช่วงยุคปลายเผด็จการที่ง่อยเปลี้ย กฎหมายประกันสังคมก็เกิดตอนเปรมหลุดตำแหน่ง ชาติชายกลัวคุมไม่ได้ก็เข้าหาสายแรงงาน เผด็จการมีหลายยุคในการเปลี่ยนผ่าน ผมว่าจังหวะพวกนี้มันสำคัญ
ช่วงนี้เผด็จการกำลังลอกคาบ หรือช่วงยิ่งลักษณ์ 300 บาท ก็เป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน ซื้อใจแรงงาน ผมมองว่าถ้าคนงานฉวยโอกาสก็จะได้โอกาสอะไรบ้าง แต่ก็ต้องถามความเป็นเอกภาพ และเราจะแลกเปลี่ยนอะไรกับพรรคการเมือง เพราะนี้คือคำถามที่พรรคการเมืองจะถามเราแน่ และผู้นำแรงงานที่ไปร่วม นั่งฟัง หรือแค่เอาไปเป็นสัญลักษณ์
ประสบการณ์ที่ผ่านมา คือ พรรคการเมืองตอบโจทย์คนละส่วนกับขบวนการแรงาน ตราบใดที่เรายังไม่เป็นเอกภาพ โครงสร้างการเมืองยังพึ่งทรัพยากรอื่นๆไม่ใช่ทรัพยากรจำนวนคน โอกาสที่คนงานจะได้อะไรก็มีน้อย แต่หลังจากเลือกตั้งแล้วจะจริงจังแค่ไหนก็อีกเรื่องหนึ่ง หากเราไม่เป็นเอกภาพ การเมืองก็อาจไม่ตอบสนองเรา และประชาคมระหว่างประเทศ รัฐธรรมนูญต่างๆ เกิดจากการกดดันจากภายนอก ปัญหาคือ ภายนอกจะฟังเราแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับความเป็นเอกภาพของคนงานไทยที่จะดึงความสนใจจากพรรคการเมืองและประชาคมระหว่างประเทศ นี้คือเงื่อนไขแรกที่ทำให้ปรากฎก่อนในเรื่องอื่น หากลองทบทวนย้อนไปก่อนปี 2516 มาวันนี้เรามีอะไรเกิดขึ้นมาก เช่น ประกันสังคม ถามว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นถือเป็นนโยบายที่เป็นแก่นกลางของพรรคใดพรรคหนึ่งหรือไม่ เพราะที่เราได้มา ไม่ได้มาจากอุดมการณ์พรรคการเมืองใดๆ การเข้าไปมีส่วนร่วมทางกระบวนการเมืองสำคัญแต่ไม่ใช่พรรคการเมือง
ผมเห็นว่าสิ่งที่ทำให้ขบวนการแรงงานอ่อนแอ คือ สหภาพแรงงานแบบสถานประกอบการ สหภาพที่ต้องเป็นเฉพาะคนในเท่านั้น ที่เป็นกับดักทำให้สหภาพแรงงานเติบโตไม่ได้ เพราะเน้นความก้าวหน้าในหน้าที่การงานเป็นหลักประกัน การทำงานสหภาพแรงงานจึงต้องกล้อมแกล้มไป ไปสุดลิ่มทิ่มประตูไม่ได้ โครงสร้างสหภาพแรงงานแบบชนชั้นจึงเกิดไม่ได้ กฎหมายแรงงานกำหนดให้กรรมการสหภาพแรงงานต้องเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ อำนาจการต่อรองสัมพันธ์กับการขึ้นเงินเดือนและเลื่อนขั้นที่เป็นข้อจำกัดอย่างมาก ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับขบวนการแรงงานไทย
ศักดินา : งานใหญ่เรา คือ การจัดตั้ง
ศักดินา กล่าวว่า ถ้าถามถึงความสัมพันธ์ระหว่างขบวนการแรงงานกับการเมือง ต้องมาดูก่อนว่าขบวนการแรงงานมีหลายประเภท ตอนนี้เราสนใจทางการเมืองมากพอหรือไม่ ทางเยอรมันมีเป้าหมายชัดเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่สหภาพแรงงานไทยทำเรื่องค่าจ้างเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่ใช่เรื่องการเมือง แต่ในอดีตก็มีความสนใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำนโยบายออกมา แต่ก็ต้องดูว่าขบวนการแรงงานช่วงนั้นนำด้วยแนวคิดใด อย่างเยอรมันเป็นอิสระ อังกฤษขึ้นกับพรรคการเมือง แต่ในไทย ไม่ว่าจะตั้งพรรคโดยตรงหรือมีอิทธิพลกับพรรคการเมืองต่างๆ แต่ก็มีเงื่อนไขว่า สหภาพแรงงานต้องเข้มแข็ง มีสมาชิกเยอะ พรรคแรงงานมาจากสมาชิก แต่ไม่จำเป็นเสมอไปว่าต้องมีพรรคตนเอง อย่างในเยอรมันก็ผลักดันผ่านพรรรคการเมืองอื่นและคนงานก็เลือก แต่ขบวนการแรงงานต้องเข้มแข็งก่อน หากถามว่าในอดีตเป็นอย่างไร หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เราสร้างองค์กรใต้ดิน สหอาชีวะกรรมกร มีสมาชิกเยอะ เป็นฐานสำคัญของพรรคสหชีพ ที่สนับสนุนอาจารย์ปรีดี นี้คือพรรคคนงานในการบริหารประเทศ แต่ขบวนการแรงงานจะไปได้ในสังคมประชาธิปไตยเท่านั้น การผลักดันในยุคสมัยอื่นๆก็ยาก
ในยุค 14 ตลา คือ ยุคทองของขบวนการแรงงาน มีพรรคสังคมนิยมต่างๆ พรรคพลังใหม่ แต่ไม่ใช่พรรคที่ตั้งโดยคนงาน แต่ตอบสนองเพื่อผู้ใช้แรงงาน แต่สุดท้ายก็ต้องขึ้นกับบรรยากาศบ้านเมืองที่เป็นประชาธิปไตย แต่ขบวนการแรงงานต้องชัดเจนก่อน แค่ปากท้องหรืออยากเปลี่ยนแปลงประเทศ
วันนี้มี 2 พรรค ที่ประกาศว่าอยากทำประเด็นแรงงาน คือ พรรคพี่สมศักดิ์ สังคมประชาธิปไตยไทย และอนาคตใหม่ ที่ดึงคนงานไป ยิ่งพรรคไหนประกาศนโยบายแรงงานมาก ยิ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะสนใจประเด็นแรงงาน การเลือกตั้งในปีหน้า 24 กุมภาพันธ์ 2562 แต่รัฐธรรมนูญยังอัปลักษณ์ ซึ่งไม่คิดว่าจะมี เพราะที่ผ่านมามีรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ดีที่สุด แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้กลับดึงประเทศถอยหลัง
รัฐธรรมนูญแบบนี้ทำให้ 2 พรรคนี้ไปต่อได้ยากมาก เพราะออกแบบระบบแบบใหม่ที่ไม่เอื้อ เดิมมีปาร์ตี้ลิสต์กับเขต ที่ส่งเสริมนโยบาย แต่พอรวมในบัตรเดียว เรื่องนโยบายจะหายไป ไปเน้นที่ตัวบุคคลแทน พูดง่ายๆ คือ ดูดเอาคนที่จะได้เสียงไป โอกาสที่พรรคจะมีนโยบายดีๆจึงยาก ต้องส่ง สส.ให้ครบทุกเขตเพื่อปาร์ตี้ลิสต์ มันยากมากที่พรรคแรงงานจะผ่านขวากหนาม แต่หลายครั้งการขับเคี่ยวอยากได้เสียงก็เป็นโอกาสของเรา ขบวนการแรงงานต้องเสนอนโยบายที่ชัดเจน บอกเลยว่าทำแบบนี้จะได้เสียงจากแรงงาน แต่แบบนี้ก็ไม่ยั่งยืนเป็นประชานิยม ขบวนการแรงงานควรสร้างจิตสำนึกทางชนชั้นร่วมกัน สังคมที่ไม่มีสำนึกร่วมชนชั้นจะไม่มีพลัง เพราะไม่ได้เลือกนโยบายแรงงานเป็นหลัก และต้องเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ ล้มรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะไปต่อไม่ได้ในสังคมประชาธิปไตย
งานใหญ่เรา คือ การจัดตั้ง ตอนนี้แรงงานเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานแค่ 1.5 % จาก 40 ล้านคน เพื่อสร้างพลังจึงต้องหาทางจัดตั้งที่เหมาะสม เอาพี่น้องมาอยู่ในขบวนแรงงาน ต่อมาคือสำนึกคนงาน เช่น สังคมประชาธิปไตย รัฐสวัสดิการ ความเสมอภาค เท่าเทียม ทำตรงนี้ให้ชัดเจน ให้คนงานทุกคนเห็นตรงกัน พรรคการเมืองเอาทุน คนงานต้องเสนอชุดความคิดตนเองออกมาให้ได้
ผมมีความหวังและเชื่อมั่นในขบวนการแรงงาน ที่ต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อชัยชนะข้างหน้าต่อจากนี้
นภาพร : เป็นประชาธิปไตยแม้มีข้อจำกัดแต่ก็ดีกว่าเผด็จการ
รศ.ดร.นภาพร กล่าวว่า คุณโครบอทพูดในฐานะสมาชิกพรรคการเมืองและสหภาพแรงงาน ดิฉันขอพูดในฐานะที่เห็นขบวนการแรงงานไทยมา 30 ปี 10 ปีแรกเป็น NGOs ที่ทำงานด้านแรงงาน 20 ปีหลังเป็นนักวิชาการ แต่ยังคลุกคลีกับขบวนการแรงงาน ถามว่าเห็นอะไรบ้างจากประวัติศาสตร์ที่เราเฝ้าดูมา
บทเรียนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบาย คือ ไม่มีกลไกทางการเมืองในการขับเคลื่อน อย่างข้าราชการมีกระทรวง มีกรม คนงานไม่มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับชนชั้นนำ ไม่เหมือนนายจ้างหรือนายทุน แต่สิ่งที่คนงานมี คือพลัง ถ้ารวมกันได้ แต่รวมไม่ได้ก็กระจัดกระจาย จริงๆคนงานมีเครือข่ายสนับสนุน เช่น สื่อมวลชน นักศึกษา คนจนที่ไม่ใช่คนงาน นักวิชาการ ข้าราชการที่ดี มีองค์กรพัฒนาเอกชน แต่อาจจะไม่ใช่การสนับสนุนในช่วงเดียวกัน มาเป็นระยะๆ กระทั่ง ILO ออกกฎหมายให้เราขับเคลื่อนได้ การรวมพลังคนงานก็จะมีความสัมพันธ์แต่ละยุคขึ้นอยู่กับวิถีทางการเมือง
อย่างที่อาจารย์ศักดินาพูดเรื่องยุคประวัติศาสตร์ 2499-2500 คนงานรวมกันได้ มีพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฉบับแรก แต่พอวิถีการเมืองเปลี่ยน การรวมพลังไม่ง่าย แต่เรามีข้าราชการ มี ILO ทำให้ช่วงเผด็จการ ยังสามารถผลักดันให้รัฐบาลออกประกาศคณะปฏิวัติ 103 มีกองทุนเงินทดแทน มีสมาคมลูกจ้าง
แต่ยุคที่คนงานแสดงพลังค่อนข้างมาก คือ ยุคทอง 14 ตุลาคม 2516 ถึง 6 ตุลาคม 2519 มาถึงปัจจุบัน หลังช่วง 2519 เป็นทั้งประชาธิปไตยและเผด็จการ เช่น 2521-2534 เป็นประชาธิปไตย 2535-2549 เป็นประชาธิปไตย 2550-2557 เป็นประชาธิปไตย เผด็จการช่วงสั้นๆ เช่น 6 ตุลาคม 2519 19 กันยายน 2549 จนกระทั่งหลังปี 2557 ยาวเลย ยังไม่กลับสู่ประชาธิปไตย
ในช่วงประชาธิปไตย เราผลักดันสำเร็จหลายอย่าง เช่น ประกันสังคม 2533 ลาคลอด 2536 หลัง 2536 ขับเคลื่อนสุขภาพความปลอดภัย หลังจากนั้นขยายประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ ขยายไปยังกลุ่มแรงงานข้ามชาติ กระทั่งยุคยิ่งลักษณ์ค่าจ้าง 300 บาท
ถ้าถามว่ายุคปัจจุบันเป็นอย่างไร เราพยายามทำให้วิถีการเมืองเป็นประชาธิปไตยให้ได้ก่อน ไม่อย่างนั้นจะทำอะไรลำบาก ไม่ว่าอย่างไรระบอบประชาธิปไตยที่มีข้อจำกัดยังเอื้อมากกว่าเผด็จการที่ดูดี ซึ่งมองว่าแย่กว่า เอาตรงนี้ให้ได้ก่อน ส่วนอื่นค่อยว่ากัน
สำหรับในประเด็นร่วม รัฐวิสาหกิจมีประเด็นร่วม คือ แปรรูป และรัฐวิสาหกิจก็ช่วงชิงเรื่องนี้นำเสนอออกมาก่อน ปี 2557 ก็ไปร่วมกับกปปส. ที่ไปทำวิจัยมา พบว่า ไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ล้มรัฐบาล แต่อยากเผยแพร่ประเด็นรัฐวิสาหกิจ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ ไม่ถูกสื่อสารมายังสาธารณะเลย
มองว่ารัฐวิสาหกิจมีประเด็นที่จะผลัก แต่ทางเอกชนยังไม่เห็น อาจมีบางกลุ่ม ความไม่มั่นคงในการจ้างงานจากไทยแลนด์ 4.0 การใช้เทคโนโลยี การลดสภาวะโลกร้อนจากสภาวะการผลิต ในส่วนเอกชนต้องหาประเด็นก่อน
ส่วนพรรคการเมืองที่จะช่วยแรงงานก็มีน้อย เสียงเป็นกลุ่มก้อนก็ไม่ง่าย สำหรับตนเองยังไม่เห็นว่ามีพรรคไหนที่ชัดเจนพอที่ทางแรงงานจะเลือกหรือสนับสนุนพรรคนี้ ยังไม่เห็น สิ่งที่ควรทำ คือ ยึดประเด็นเราและไปผลักดัน แต่อย่าไปปักใจ เพราะที่ผ่านมาไม่ค่อยมีที่จะเห็นตรงนั้น
ต่อมาคือสำนึกความเป็นชนชั้นแรงงานก็ต้องสร้างขึ้นมา และทำอย่างไรเราถึงทำให้สาธารณชนมาสนับสนุนแรงงานด้วย เพราะตัวเราเองก็มีข้อจำกัด อย่างกลุ่มแรงงานที่ขึ้นเวที กปปส. จะพูดประเด็นแรงงาน คนมาชุมนุมก็ไม่อยากฟัง เบื่อหน่าย นอกจากเราจะรวมกันเองแล้ว ทำอย่างไรให้ประเด็นแรงงานเป็นประเด็นสาธารณะ อาศัยหลายๆฝ่าย
หากเราพึ่งพรรคไหนไม่ได้ เป็นไปได้ไหมที่จะสร้างพรรคแรงงานขึ้นมา สร้างได้แต่ต้องใช้เวลา เพราะต้องสร้างฐานมวลชนก่อน หากยังไม่ลงเลือกตั้งก็สร้างฐานให้แน่นก่อน หาจุดศูนย์กลางในการรวมขบวนก่อน เพื่อพัฒนาไปสู่พรรคการเมืองของแรงงานจริงๆ
ต้องฝากความหวังไว้ที่รุ่นกลาง รุ่นใหม่ ส่วนรุ่นเก่าก็เป็นพี่เลี้ยง ยังมีพลัง เป็นพลังบริสุทธิ์กับคนงานอยู่ ขบวนการแรงงานรอดไม่รอดจะขึ้นอยู่กับคนรุ่นนี้ แต่เป็นห่วงว่าผู้นำรุ่นกลางใหม่จะอยู่ได้นานขนาดไหน ขาดความมั่นคงในการทำงาน มีโอกาสถูกเลิกจ้าง
ส่วนองค์กรที่จะสนับสนุนขบวนการแรงงาน ที่เห็นอยู่ คือ พิพิธภัณฑ์แรงงานที่เป็น NGOs ที่จัดเวทีมาแลกเปลี่ยนเรื่องนี้ และดึงนักวิชาการ สื่อมวลชนมาสนับสนุนได้ แต่ก็ไม่รู้จะอยู่ได้นานขนาดไหน ยึดโยงกับแรงงาน เหมือนรัฐบาลกับพรรคการเมืองที่ยึดโยงประชาชน ว่าแรงงานจะสนับสนุนพิพิธภัณฑ์ขนาดไหน
ส่วนการเลือกตั้งมีความสำคัญแน่นอน เพราะเป็นประชาธิปไตยแม้มีข้อจำกัดแต่ก็ดีกว่าเผด็จการ แต่ยึดโยงประชาชน เผด็จการไม่ยึดโยงประชาชนเพราะไม่ผ่านการเลือกตั้งมา
สุนี : ขบวนแรงงานสู้ทางการเมืองมาตลอด แต่มีจังหวะสะดุดที่เผด็จการทำลายขบวน
สุนี กล่าวว่า คุณโครบอทตั้งคำถามว่า จะเป็นพรรคการเมืองก็ได้ ไม่เป็นก็ได้ แต่ต้องขึ้นกับความเข้มแข็งของแต่ละขบวนแรงงาน เพราะขบวนแรงงานได้ต่อสู้ทางการเมืองมาตลอด แต่เราสะดุดเป็นช่วงๆ แต่ช่วงประชาธิปไตยยาวอยู่ แต่ก็มีจังหวะสะดุดที่เผด็จการได้ทำลายขบวนการแรงงาน
ในช่วง 2475 พรรคเสรีไทย พรรคสหชีพ แรงงานไทยมีบทบาทตลอด เราไม่ใช่กลุ่มผลประโยชน์แค่ค่าจ้าง แต่โดนขบวนการเผด็จการสกัด ก่อนเกิด 14 ตุลาคม 2516 ป้าน้อยก็เป็นผู้นำสหภาพแรงงานยุค 14 ตุลา เผด็จการได้สะสมปัญหาและเกิดการลุกขึ้นสู้ และขบวนการแรงงานก็ใช้โอกาสนี้พัฒนาขบวนการตนเอง ที่พิสูจน์ตนเองมาตลอด ต่อสู้มากกว่าเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ เข้าร่วมขบวนชาวนา นักศึกษา แต่ไม่ได้ยกระดับไปสู่พรรคการเมืองจริงจัง
อาจารย์บุญสนองถูกฆ่า กรรมกรถูกจับ สิ่งที่อยากให้เห็น คือ เราคือใคร เราตรวจสอบตัวเราเอง สิ่งที่เราต้องการไม่ใช่แค่สหภาพแรงงาน วันนี้เราได้สู้ ชนะไม่ชนะว่ากันไป 3 ประสานไม่เต็มรูป ขบวนการแรงงานก็เข้าไปเคลื่อนไหวหลายกลุ่ม สถานการณ์ทางชนชั้นแรงงานกับทุนดำรงอยู่ ไม่ว่าอย่างไรคนงานก็ไม่จำนนแค่ค่าจ้างแรงงานอยู่แล้ว มีกฎหมายไม่เป็นธรรมจำนวนมาก ขบวนการแรงงานเติบโตขึ้นมา ทั้งในรูปพรรคแรงงานและไม่ใช่พรรคแรงงาน หากไม่สะดุด ถูกจับ จะเติบโตมากกว่านี้
สิ่งที่เราเรียนรู้ คือ เราจำเป็นต้องศึกษาประวัติศาสตร์ ทั้งเรื่องดีและล้มลุกคลุกคลาน เราต้องมีพลังกับพรรคการเมือง ไม่ใช่ให้การเมืองมาเป็นพลังหรือกดดันเรา จริงๆแล้วเราไม่ควรหมดหวัง พลังขบวนการแรงงาน คือ พลังความหวังที่สู้มายาวนาน ตอน 14 ตุลาพิสูจน์มาแล้ว เราไม่ได้แค่ต้องการเลือกตั้งหรือมีรัฐธรรมนูญ แต่เราเรียกร้องสิทธิเสรีภาพความเป็นธรรม
มาถึงโจทย์วันนี้ ไม่เอาเลือกตั้งก็ได้ ก็กลับตาลปัตร เราจำเป็นอย่างยิ่งต้องปกป้องให้มีการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญที่รังเกียจ เพราะหากเราไม่เอาเลือกตั้งก็เข้าทางเผด็จการ ใครพร้อมเข้าพรรคการเมืองที่ชอบ ใครไม่พร้อมก็มาผลักดันนโยบาย นี้คือการสร้างฐานอนาคต ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ การปล่อยให้ใครเล่นไปแบบนี้จะเป็นผลลบ
ประการต่อมา เราคือองค์กรภาคประชาชน ขบวนการแรงงานไม่สามารถหลีกหนีจากสถานการณ์การพัฒนาต่างๆได้ ทั้งชนบท นักเรียนนักศึกษา ขบวนแรงงานต้องไปกับสังคม แม้ไม่เป็นกองหน้าแต่ต้องเป็นกำลังหลัก เช่น ต่อสู้เรื่องที่ดิน ทิศทางการพัฒนาทำให้ผู้คนมารวมหัวกันมากขึ้น เช่น โครงการขนาดใหญ่ EEC ทำให้ขบวนการแรงงานมาสุมหัวมากขึ้นกับกลุ่มที่ทำเรื่องที่ดิน ต่อรองกับพรรคการเมือง ให้การศึกษากับสังคม ใครพร้อมจะเข้าพรรคการเมืองไหนก็ไปเถอะ เราสู้ตามลำพังไม่ได้
หากเราคิดว่า เราคือการเมืองภาคประชาชน คือภาคประชาสังคมที่ตรวจสอบรัฐบาล จะอิสระไม่อิสระ ไม่ดีก็ออกมา พร้อมจะสร้างฐานขบวนการแรงงาน จิตสำนึกจะมาพร้อมกับขบวนการต่อสู้ สรุปบทเรียนเป็นระยะๆ บทเรียนสำคัญ คือ วิเคราะห์สถานการณ์แต่ละช่วงตามความเป็นจริง การเลือกตั้งไม่มีสูตรสำเร็จ ใช้พลังพี่น้องไปสร้างอำนาจต่อรองให้มีการเลือกตั้งโดยไว
โจทย์ร่วมกัน คือ รัฐบาลคุกคามทุกกลุ่ม ขบวนการแรงงานต้องสร้างพลัง ขบวนการสหภาพแรงงานไม่สามารถรองรับได้ภายในเพียงขบวนแรงงานกันเอง วันนี้สถานการณ์เปลี่ยนแปลง มีการจ้างงานรูปแบบอื่นๆ การแย่งชิงทรัพยากร การเอาเปรียบแรงงาน ขบวนการแรงงานจำเป็นต้องสร้างรูปแบบและการเคลื่อนไหวในการรับมือ สร้างแนวร่วมกับกลุ่มอื่นๆ ต้องสู้ในประเด็นเร่งด่วนที่ถูกคุกคาม หลายสหภาพถูกเลิกจ้าง ไม่ฝากความหวังกับพรรค และเปิดตนเองสร้างฐานการเมืองภาคประชาชนที่ใหญ่ขึ้น
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'แรงงาน', 'พรรคการเมือง', 'สหภาพแรงงาน', 'เยอรมนี', 'พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย', 'สเตฟาน โครบอท', 'แล ดิลกวิทยรัตน์', 'ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา', 'นภาพร อติวานิชยพงศ์', 'สุนี ไชยรส', 'การขับเคลื่อนนโยบายแรงงาน', 'ขบวนการแรงงาน'] |
https://prachatai.com/print/79284 | 2018-10-24 17:10 | 'ประยุทธ์' ตั้ง 'พุทธิพงษ์' อดีตแกนนำ กปปส. เป็นโฆษกรัฐบาลแทน 'สรรเสริญ' | 'พล.อ.ประยุทธ์' แต่งตั้ง 'พุทธิพงษ์' รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อีกตำแหน่งหนึ่ง แทน 'พล.ท.สรรเสริญ' เตรียมไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
24 ต.ค.2561 สื่อหลายสำนักรายงานตรงกันว่า เมื่อเวลา 15.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เปิดเผยว่า ได้แต่งตั้ง พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อีกตำแหน่งหนึ่ง โดยในส่วนของ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เตรียมไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้อยู่ในระหว่างขั้นการดำเนินการ
“ผมก็อยากเปลี่ยนบรรยากาศของตนเองบ้างเหมือนกันแต่มันเปลี่ยนไม่ได้ จะให้ใครไปชี้แจงแทนนายกฯโดยตรงก็ไม่ได้ ผมก็คือตัวผม จะเห็นได้ว่าระยะที่ผ่านมาอารมณ์เย็นเป็นที่สุด ที่ผ่านมาเปิดดูในโซเชียลจะโมโห แต่เดี๋ยวนี้ก็ไม่โมโห เพราะไอ้คนว่าก็คนเดิมนั่นแหละ ผมก็ให้สัมภาษณ์แบบเดิมเพียงแต่ทำหน้าที่ชี้แจงแทน พล.ท.สรรเสริญ ..ก็ไปทำหน้าที่รักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ก็แบ่งงานกันไปยังช่วยกันไปเหมือนเดิม เพียงแต่ว่าทำงานด้วยกันรัฐบาลเดียวกันใครอยู่ตรงไหนก็เหมือนกัน เพียงแต่วิธีการนำเสนออาจจะได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ลุคใหม่หน่อย ไม่เบื่อหน้านายกฯ เบื่อหรือยัง จะได้หาคนมาชี้แจงแทนนายกฯ” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
ต่อคำถามที่ว่า พล.ท.สรรเสริญ จะรั้งตำแหน่งรักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์อยู่หรือไม่ นั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “ก็จะแยกหน้าที่กันไปเลย แบ่งหน้าที่กันใหม่ เป็นการภายในได้อยู่แล้ว ไม่ต้องไปออกคำสั่งอะไรใหม่หรอก คุยกันแล้วไม่มีปัญหาอะไร ทางพล.ท.สรรเสริญ ก็สามารถจะชี้แจงได้เหมือนกัน ถ้าสงสัยตรงนี้ไปถามตรงโน้นก็ได้ พูดแบบนี้เดี๋ยวนักข่าวก็ไปบอกว่าถูกขึ้นหิ้ง”
ต่อกรณีคำถามว่า เป็นการกลยุทธ์การให้ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาล หรือไม่นั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า พุทธิพงษ์ พูดภาษาง่ายๆ บางทีทหารพูดเป็นทางการ ทั้งนี้ พล.ท.สรรเสริญ ไม่ได้บกพร่องอะไรเพียงแต่เปลี่ยนบรรยากาศเท่านั้นเอง เมื่อถามว่า เป็นเพราะใกล้เลือกตั้งหรือไม่ ถึงได้ให้คนที่เชี่ยวชาญ การเมือง อย่างพุทธิพงษ์ เข้ามาทำหน้าที่โฆษกรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวปฏิเสธว่า “ไม่เกี่ยวๆ การเมืองก็คือการเมือง”
(ที่มา ข่าวสดออนไลน์ [1] มติชนออนไลน์ [2]และ ไทยโพสต์ [3])
สำหรับ พุทธิพงษ์ นอกจากที่ก่อนหน้านี้เขาเพิ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองของรัฐบาลนี้แล้ว เขายังเป็นหนึ่งในว่าที่คณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ เป็น 1 ใน 4 ทหารเสือของ กปปส. ซึ่งยังมีคดีความซึ่งถูกฟ้องในข้อหากบฎ , อั้งยี่ ซ่องโจร และขัดขวางการเลือกตั้งอยู่ รวมทั้งเขายังเป็นผู้เสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ เปิดช่องทางโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะ เฟสบุ๊กแฟนเพจ ชื่อ "ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha" ซึ่งขณะนี้มียอดกดถูกใจกว่า 3.7 แสน
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์', 'สรรเสริญ แก้วกำเนิด', 'ประยุทธ์ จันทร์โอชา'] |
https://prachatai.com/print/79285 | 2018-10-24 19:25 | อีสานโพ้นทะเล แต่งงานข้ามแดน มองพ้นเรื่องเงิน-ความรัก คือสังคมคาดหวังแม่ที่ดี-ลูกกตัญญู | นักวิชาการระบุการแต่งงานข้ามชาติก่อเกิดชนชั้นใหม่ที่ท้าทายต่อชนชั้นเดิมในสังคม ผู้หญิงถูกคาดหวังให้เลี้ยงลูกและกตัญญูต่อพ่อแม่ ส่วนกฎหมายไทยที่อ้างว่าปกป้องคุ้มครองผู้หญิงแท้จริงคือการลดทอนสิทธิผู้หญิงหรือไม่? พร้อมด้วยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหญิงลาวที่มาแต่งงานกับชายไทย บางส่วนกลายเป็นกำลังสำคัญทำงานเกษตรเคมี
เมื่อวาน (23 ต.ค. 61) ในงานขอนแก่นเมนิเฟสโต้ ได้จัดงานฉายหนังสารคดีเรื่อง “Heartbound - A Different Kind of Love Story” / "เมืองแห่งหัวใจ - รักที่แตกต่าง" (2018) พร้อมฟังเสวนาในหัวข้อ “อีสานโพ้นทะเล : การย้ายถิ่นและการแต่งงานข้ามแดนในทัศนะใหม่” โดยมีวิทยากรคือ ศิริจิต สุนันต๊ะ ประธานหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาพหุวัฒนธรรม (นานาชาติ) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล พัชรินทร์ ลาภานันท์ ประธานหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสาขาวิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ฯ ม.ขอนแก่น ทันตา เลาวิลาวัณยกุล ประธานเครือข่ายสุขภาพชาติพันธุ์ และผู้ประสานงานมูลนิธิส่งเสริมโอกาสผู้หญิง (EMPOWER) และ คชษิณ สุวิชา สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มรภ.ร้อยเอ็ด ดําเนินการเสวนาโดย ศิวกร ราชชมภู นศ.คณะมนุษยศาสตร์ฯ ม.ขอนแก่น
จากซ้ายไปขวา คชษิณ สุวิชา, ทันตา เลาวิลาวัณยกุล, ศิวกร ราชชมภู, ศิริจิต สุนันต๊ะ และ พัชรินทร์ ลาภานันท์
การแต่งงานข้ามชาติเพื่อยกระดับสถานะทางเศรษฐกิจของทั้งครอบครัว
ศิริจิต สุนันต๊ะ ประธานหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาพหุวัฒนธรรม (นานาชาติ) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล อธิบายว่า การเคลื่อนย้ายของผู้หญิงจากภาคอีสานผ่านการแต่งงานกับชาวต่างชาติ ทำให้ผู้หญิงเหล่านี้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมข้ามพรมแดม ในมุมของวิชาการเรียกว่าเป็นการข้ามชาติ โดยผู้ปฏิบัติการคือกลุ่มผู้เสียเปรียบที่ไม่ได้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูง ผ่านกระบวนการข้ามชาติโดยการแต่งงานซึ่งมีลักษณะเฉพาะทางเพศภาวะและชนชั้น และผู้หญิงเหล่านี้ก็ไม่ได้ข้ามชาติเพียงคนเดียวแต่พาเอาครอบครัว ชุมชุน ของเขาข้ามชาติไปด้วย เพราะเขายังมีพันธะ ภาระต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลูก พ่อแม่ หรือญาติคนอื่นๆ และอย่างที่ทราบว่ารัฐไทยยังไม่มีประสิทธิภาพในการกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง
ในหนังเองนำเสนอพื้นที่พัทยา ซึ่งเป็นพื้นที่แห่งโอกาส และเป็นพื้นที่ข้ามชาติที่ผู้หญิงอีสานสามารถข้ามชาติได้โดยไม่ต้องข้ามพรมแดน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสำเร็จ
พัชรินทร์ ลาภานันท์ ประธานหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสาขาวิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ฯ ม.ขอนแก่น เสนอว่า การแต่งงานข้ามชาติในช่วงหลัง ค.ศ. 2000 เป็นต้นมามีข้อถกเถียงว่า พื้นที่ข้ามชาติแบบพัทยา ไม่ใช่พื้นที่ที่หลายคนไปเพื่อจะไปขายบริการอีกต่อไป แต่ไปเพื่อใช้พื้นที่นี้เป็นโอกาสในการสร้างสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และในที่สุดถ้ากลายเป็นความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนยาวนาน ชีวิตเขาและครอบครัวก็จะเปลี่ยนไป
ทันตา เลาวิลาวัณยกุล ประธานเครือข่ายสุขภาพชาติพันธุ์ และผู้ประสานงานมูลนิธิส่งเสริมโอกาสผู้หญิง (EMPOWER) กล่าวว่า ในบริบทของไทยผู้หญิงถูกคาดหวังจากสังคม จากวัฒนธรรม ว่าต้องเป็นคนอ่อนหวาน ทำงานบ้านได้ ดูแลคนอื่นเป็น จากการที่ตนทำงานกับพนักงานบริการมากว่า 20 ปี พบว่า 80% เป็นแม่และเป็นผู้นำครอบครัว หลายคนทำอาชีพนี้เพื่อต้องการยกสถานะตัวเอง
"เราต้องยอมรับว่าเมืองไทยมีชนชั้น การเป็นชนชั้นล่างจะทำงานให้ตายยังไงก็ยังอยู่ในชนชั้นเดิม และคนชนชั้นนี้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆ ได้เท่ากับคนชนชั้นกลาง เช่น สิทธิการศึกษา สิทธิด้านสุขภาพ สิทธิความรู้ข้อมูลต่างๆ เพราะฉะนั้นทำอย่างไรจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตทั้งครอบครัวได้ หลายคนจึงตัดสินใจเข้าสู่อาชีพนี้ เพราะอาชีพนี้ให้โอกาสกับชีวิตเขา ทำให้เขายังมีเวลาตอนกลางวันที่จะดูแลลูกได้ หรือหาข้อมูลการศึกษาได้ มีกำลังทรัพย์มากพอจะยกฐานะตัวเองและครอบครัวได้ วันหนึ่งถ้าเขาได้แต่งงานไปอยู่ต่างประเทศ เขาก็จะได้เป็นแรงงานต่างประเทศที่ถูกกฎหมาย ไม่ต้องเป็นแรงงานเถื่อน ไม่ต้องหลบหนี ค่าเงินที่เยอะกว่าก็สามารถเอากลับมาดูแลครอบครัวได้อีก” ทันตาอธิบาย
การแต่งงานข้ามชาติก่อเกิดชนชั้นใหม่ที่ท้าทายต่อชนชั้นเดิมในสังคม
พัชรินทร์ กล่าวถึงการแต่งงานข้ามชาติว่าโยงกับประเด็นชนชั้นได้อย่างไร โดยเธออธิบายว่า งานที่ทำพยายามเสนอว่าผู้หญิงอีสานที่แต่งงานกับฝรั่ง ไม่ว่าเขาจะใช้ชีวิตอยู่เมืองไทยหรือต่างประเทศ ผู้หญิงเหล่านี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์การก่อตัวของชนชั้นใหม่ในสังคมไทย ข้อสรุปนี้มาจากการมองว่าผู้หญิงเหล่านี้มีวิถีชีวิตอย่างไร มีรูปแบบการบริโภคอย่างไร ประสบการณ์ชีวิตเป็นอย่างไร
"หากเป็นสมัยก่อนที่คนอีสานนิยมไปทำงานที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย เมื่อเข้าไปในหมู่บ้านเห็นบ้านหลังใหญ่เราก็จะรู้ว่าหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านซาอุฯ คือมีแรงงานชายไปทำงานที่ซาอุฯ แล้วเอาเงินกลับมาสร้างบ้าน แต่ตอนนี้เมื่อเข้าไปในหมู่บ้านแล้วเห็นบ้านสวยๆ เราก็จะบอกว่า อันนี้คือบ้านเมียฝรั่ง หรือเป็นหมู่บ้านเขยฝรั่ง
“ลักษณะบ้านที่เขาอยู่ก็จะเหมือนหมู่บ้านจัดสรรในเมือง มีข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่เหมือนหมู่บ้านในชนบท แต่ขณะเดียวกันคนเหล่านี้ก็ไม่ได้มีประสบการณ์ชีวิตเหมือนชนชั้นกลางในเมือง เขามีโอกาสหลายอย่างที่ชนชั้นกลางในเมืองไม่มี เช่น การไปซัมเมอร์ที่ประเทศตะวันตก อันนี้คือข้อเสนอที่เราวิเคราะห์ว่าปรากฎการณ์นี้ทำให้เกิดชนชั้นใหม่ในไทยที่ท้าทายต่อชนชั้นในหมู่บ้านและในสังคมไทยด้วย” พัชรินทร์กล่าว
ภาพบรรยากาศการฉายหนังสารคดี Heartbound - A Different Kind of Love Story
แต่งงานข้ามชาติมองพ้นเรื่องเงินและความรัก แต่บทบาทแม่ที่ดี-ลูกกตัญญูคือสิ่งที่สังคมคาดหวังกับผู้หญิง
พัชรินทร์ กล่าวต่อว่า เมื่อพูดเรื่องการแต่งงานของหญิงไทยกับฝรั่ง จะเกิดคำถามว่าทำไมถึงเกิดความสัมพันธ์แบบนี้ คำตอบมักจะอยู่ที่เรื่องเงินไม่ก็ความรัก แต่หากเราลองคิดถึงการแต่งงานในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน เช่น คนไทยด้วยกัน การแต่งงานอาจจะมีเงื่อนไขหลายอย่างมาก เรามักรีบด่วนสรุปว่าที่แต่งงานเพราะอยากได้เงิน แต่เราไม่มองให้ก้าวพ้นกรอบคิดอันนี้ที่ครอบงำความคิดเราอยู่ หากตั้งคำถามต่อ เงินเหล่านี้ผู้หญิงเอาไปทำอะไร นั่นคือเลี้ยงลูก แล้วพ่อของลูกไปไหน ทำไมผู้หญิงที่แต่งงานแล้วชีวิตแต่งงานไม่ประสบความสำเร็จ ภาระการเลี้ยงลูกจึงตกเป็นของผู้หญิง อันนี้คือเรื่องบทบาทหน้าที่ที่สังคมคาดหวังต่อผู้หญิง
“ดิฉันศึกษาหมู่บ้านที่อุดร เวลาถามน้องๆ ที่แต่งงานไปแล้วเขาจะพูดอยู่สองเรื่องคือ เรื่องเลี้ยงลูก กับอยากเป็นลูกกตัญญูเลี้ยงพ่อแม่ คำถามคือผู้หญิงต้องเลี้ยงพ่อแม่ถึงกตัญญูหรือ แล้วผู้ชายล่ะ คำถามนี้โยงไปถึงเรื่องของ Gender norms ว่าบทบาททางเพศในสังคมไทยเป็นอย่างไรบ้าง อยากชวนคิดให้ไกลไปกว่าสิ่งที่เรารับรู้กันว่าไม่เงินก็ความรัก ความสัมพันธ์เรื่องการแต่งงานนี้ซับซ้อนกว่านั้น” พัชรินทร์กล่าว
ประเด็นที่สองที่พัชรินทร์เสนอคือ อยากชวนคิดว่าในที่สุดแล้ว บทบาทความสัมพันธ์หญิงชายในสังคมไทยเป็นอย่างไร ทำไมถึงทำให้เกิดปรากฏการณ์แบบนี้ เนื่องจากมีข้อสังเกตอย่างหนึ่งหลังจากคุยกับผู้ชายในหมู่บ้าน ลึกๆ แล้วเขารู้สึกว่าเขาถูกท้าทายความเป็นชาย แต่เขาจะมีชุดคำอธิบายที่บอกว่าเพราะอะไรเขาถึงยอมรับว่าผู้หญิงที่ไปแต่งงานข้ามชาติแบบนี้ต้องการชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจที่จะศึกษาต่อ เพื่อทำความเข้าใจปรากฎการณ์การแต่งงานข้ามชาติแบบนี้แล้วย้อนกลับมามองสังคมไทยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเพศภาวะ และ บทบาททางเพศ (Gender norms)
พัชรินทร์สรุปว่า ดังนั้นเราจะสรุปได้อย่างไรว่าการที่ผู้หญิงแต่งงานกับผู้ชายที่อยู่ในประเทศที่พัฒนากว่านั้นเป็นเพียงแค่ปัญหาทางเศรษฐกิจ การมองโดยรัฐ โดยมิติทางสังคม วัฒนธรรม หรือเงื่อนไขอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกันและเป็นตัวอธิบายปรากฏการณ์ ถ้าเราลืมกรอบคิดเรื่องพวกนี้เราก็จะไม่สามารถทำความเข้าใจปรากฏการณ์ได้
กฎหมายไทยปกป้องคุ้มครองหรือลดทอนสิทธิของผู้หญิง?
ทันตา ผู้ประสานงานมูลนิธิส่งเสริมโอกาสผู้หญิง กล่าวถึงประเด็นด้านกฎหมายของเมืองไทยนั้นปกป้องและคุ้มครองผู้หญิงจริงอย่างที่ถูกเขียนไว้หรือไม่ ให้สิทธิในเนื้อตัวร่างกายแก่ผู้หญิงจริงรึเปล่า
ทันตากล่าวว่า ในสังคมไทยผู้หญิงมักถูกคาดหวังเสมอให้เป็นลูกที่ดี แต่งงานกับคนที่ดี มีลูก เป็นแม่ที่ดี ในขณะเดียวกันหากมีการหย่า ผู้หญิงต้องรอ 300 กว่าวันเพื่อพิสูจน์ว่าตัวเองไม่ท้องแล้วจึงแต่งงานใหม่ได้ ในขณะที่ผู้ชายหย่าแล้วแต่งใหม่ได้เลย หรือผู้หญิงไม่สามารถทำหมันเองได้ถ้าสามีไม่ได้เซ็นอนุญาต ถ้าผู้หญิงทำนิติกรรมต้องมีสามีเซ็น แต่ถ้าสามีทำนิติกรรมสามีเซ็นเองได้เลย แปลว่าผู้หญิงเป็นเจ้าของตัวเองหรือไม่
“กฎหมายบอกว่าปกป้องผู้หญิง แต่กฎหมายกำลังมีมุมมองต่อผู้หญิงว่าเราเป็นเพศที่อ่อนแอ จนกระทั่งไม่รู้เรื่อง ตัดสินใจเองไม่ได้รึเปล่า อันนื้คือความล้าหลังอย่างหนึ่งที่บีบคั้นบทบาทผู้หญิงในสังคมที่ลุกขึ้นมาต่อสู้ แรงงานหญิง 1 ใน 3 เป็นแรงงานนอกระบบที่ไม่มีสวัสดิการรองรับ งานวิจัยจากจุฬาบอกว่าหากคุณเกษียณคุณต้องมีเงินอย่างน้อย 1 ล้านบาทมารองรับ ถ้าคุณเป็นชนชั้นแรงงานคุณจะเอาเงินที่ไหนมาเก็บ เงินเดือนชนดือน แถมยังเป็นหนี้ด้วย คุณอายุ 60 ปีคุณก็ยังต้องทำงาน อันนี้คือสิ่งที่สังคมบีบคั้นผู้หญิงในประเทศตัวเอง” ทันตากล่าว
ทันตาระบุว่า จึงไม่แปลกใจที่ทำไมผู้หญิงถึงพยายามยกสถานะตัวเอง แต่เมื่อผู้หญิงเหล่านี้ออกนอกกรอบ คนที่ว่าผู้หญิงเหล่านี้ก็คือผู้หญิงด้วยกันในสังคม จึงอยากให้ผู้หญิงในสังคมเห็นใจและเข้าใจกันมากขึ้นกว่านี้ ไม่ต้องบอกว่าใครเป็นผู้หญิงดีหรือไม่ดี ไม่ว่าผู้หญิงคนนั้นจะมีเซ็กส์เพื่ออะไรก็แล้ว มันเป็นสิทธิของเขา ไม่ควรมีกฎหมายมากำหนดเซ็กส์ของผู้ใหญ่ว่าเซ็กส์แบบนี้ถูก แบบนี้ผิด ตราบใดยังมีกฎหมายแบบนี้อยู่ ผู้หญิงก็จะไม่มีสิทธิในเนื้อตัวของตัวเอง
ทันตากล่าวอีกว่า การเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นเรื่องปกติ มนุษย์แสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับชีวิตตัวเองอยู่แล้ว เราพยายามมองหาความก้าวหน้าในชีวิต แต่วิถีที่จะแสวงหาความก้าวหน้าของแต่ละคนไม่เหมือนกัน โอกาสของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
“กลุ่มเราพยายามเรียกร้องที่จะล้มกฎหมายการค้าประเวณี (พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี) เพราะเป็นกฎหมายที่ไม่ให้ประโยชน์ใดๆ กับใครเลย นอกจากมีไว้เอื้อให้เจ้าหน้าที่คอร์รัปชั่นเท่านั้นเอง มีกฎหมายอาญา กฎหมายสถานบริการ กฎหมายคุ้มครองเด็ก คุ้มครองผู้หญิงดูแลอยู่แล้ว ถ้ายังมีกฎหมายนี้อยู่ผู้หญิงสถานบริการก็ไม่สามารถเข้าสู่กฎหมายแรงงานได้ ไม่สามารถเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย หนีไม่พ้นการถูกหาประโยชน์จากการขายบริการทางเพศ สถานบริการก็ไม่ควรได้ผลประโยชน์หรือฉกฉวยโอกาสจากผู้หญิงเหล่านี้ ดังนั้นกฎหมายการค้าประเวณีต้องเอาออก เพื่อป้องกันการค้ามนุษย์” ทันตากล่าวทิ้งท้าย
สถิติผู้หญิงการศึกษาสูงแต่งงานข้ามชาติสูงขึ้น จากคุณสมบัติการเข้าเมืองที่มากขึ้น
พัชรินทร์ ตั้งข้อสังเกตว่า ปัจจุบันการเป็นพลเมืองผ่านการแต่งงานในหลายประเทศโดยเฉพาะในยุโรปเริ่มมีปัญหามาก เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป มีเงื่อนไขมากมาย หลายประเทศเริ่มทำนโยบายสร้างเงื่อนไขข้อกำหนดว่ากว่าจะได้วีซ่าแต่งงานต้องทำอะไรบ้าง เช่น สอบภาษาผ่าน ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากนโยบายสมัยก่อนที่สามารถแต่งงานก่อนแล้วค่อยไปเรียนภาษา เรียนวัฒนธรรม ดังนั้นช่วงหลังนี้เราอาจต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น
ศิริจิต กล่าวว่าจากการสังเกตของตน การแต่งงานข้ามชาติน่าจะเลยจุดที่พีคที่สุดมาแล้ว สิ่งที่ต้องจับตามองคือจะพัฒนาไปอย่างไรในอนาคต คนที่แต่งงานไปแล้ว อายุมากขึ้น จะเป็นอย่างไร หากอยากกลับมาใช้ชีวิตบั้นปลายที่ไทย ทำได้ไหม อีกอันคือกลุ่มของลูกที่เกิดเมืองไทย โตเมืองไทย ติดตามแม่ไปตอนยังไม่โตมาก หรือลูกที่เกิดที่นั่น มีความสัมพันธ์อย่างไร สื่อสารกับลูกได้มากน้อยแค่ไหน
นอกจากนี้มีการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของผู้หญิงไทยไทย ซึ่งเรามักติดภาพว่าเป็นผู้หญิงอีสาน แต่ปรากฏว่าผู้หญิงที่แต่งงานไปก็ศึกษาสูงขึ้น เนื่องจากเกณฑ์การเข้าเมืองมีข้อจำกัดเรื่องคุณสมบัติมากขึ้น อีกส่วนคือผู้หญิงที่จบปริญญาตรีไม่ใช่ว่าอยู่เมืองไทยแล้วสบาย โอกาสในความก้าวหน้าก็ไม่ได้มีอยู่จริง หลายคนจึงมองว่าต่างประเทศเป็นโอกาสที่ดี
เปรียบเทียบแต่งงานข้ามชาติ เมื่อหญิงลาวมาแต่งกับชายไทยในพื้นที่ชายแดนอีสาน
คชษิณ สุวิชา สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มรภ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า ไม่ได้ทำงานโดยตรงเรื่องผู้หญิงที่ไปแต่งงานกับชายยุโรป แต่งานตนเกี่ยวกับประเด็นคนลาวที่ข้ามมาอยู่ในพื้นที่ชายแดนอีสาน ผู้หญิงจากลาวเข้ามาแต่งงานกับคนไทยในพื้นที่ชายแดนตำบลละไม่ต่ำกว่า 70-80 คน สิ่งที่เหมือนกันคือสังคมไทยมองว่าการแต่งงานข้ามชาตินั้น ผู้หญิงส่วนใหญ่จะถูกมองว่าผ่านการเป็นพนักงานบริการมาก่อน ซึ่งจริงๆ แล้วมีผู้หญิงหลายคนที่ไม่ได้ทำงานนี้
คชษิณ อธิบายว่า ถ้าศึกษาประวัติศาสตร์จะพบว่าการเข้ามาของคนลาวในพื้นที่ประเทศไทย แบ่งหลักๆ คือ ก่อนจะเกิดสงครามในลาว ซึ่งเข้ามาไทยทั้งหญิงชายผ่านระบบเครือญาติ เช่น การมาเยี่ยมญาติ พบเจอหนุ่มหรือสาวที่ถูกใจก็แต่งงาน กลุ่มที่สองคือช่วงลี้ภัยสงครามในลาว กลุ่มนี้คาดหวังว่าจะได้ลี้ภัยในประเทศไทย หรือให้ UNHCR (ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ) ส่งไปที่ประเทศอื่น สองกลุ่มนี้รวมๆ แล้วจะอายุประมาณ 50 ปลายๆ ถึง 70 ปี มีทั้งที่ได้สัญชาติและไม่ได้สัญชาติ จึงเข้าไม่ถึงบริการต่างๆ กลุ่มต่อมาเข้ามาในช่วงเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง ‘เปลี่ยนสนามรบให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจ’ จะมีกลุ่มผู้หญิงเข้ามาค่อนข้างมาก ชายแดนเปลี่ยนเป็นพื้นที่พัฒนาด้านการเกษตร ผู้หญิงเข้ามาเป็นภาคบริการ มีการแต่งงานกับชายไทย ซึ่งจากการลงพื้นที่พบว่า ผู้หญิงลาวที่มาแต่งงานกับชายไทยนั้นไม่ได้ผ่านเพียงอาชีพพนักงานบริการ แต่ในภาคการเกษตร หรืออาชีพต่างๆ ก็มีหลากหลายเช่นกัน
คชษิณกล่าวถึงประเด็นที่สองที่มีความเหมือนคือ คนแถวชายแดนส่วนใหญ่มองว่าผู้หญิงลาวแต่งงานมาเกาะผู้ชายกิน เป็นเหตุผลทางเศรษฐกิจ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เป็นเรื่องนั้นเสียทีเดียว ผสมเรื่องความรักด้วยก็มี บางคนอาจจะมีคนรวยมาจีบ แต่เขาก็ตัดสินใจแต่งงานกับคนที่ไม่ได้รวยเพราะรัก หรือผสมกับเรื่องการอยากออกจากพื้นที่ตรงนั้นก็มาก เพราะมองว่าพื้นที่ตรงนั้นตัวเองโดนคุกคาม
เมื่อพูดถึงบทบาทและความคาดหวังของผู้หญิงของสังคมไทยที่มีต่อผู้หญิงลาวที่มาแต่งงาน คชษิณอธิบายว่า คือความคาดหวังว่าอยากได้ลูกสะใภ้ดี มีการงานทำ ไม่มาเกาะผู้ชายกิน ซึ่งตอนลงพื้นที่กลับกลายเป็นคนละเรื่อง โดยพบว่าบทบาทของผู้หญิงลาวที่แต่งงานกับชายไทยคือการลุกขึ้นมาจัดการเศรษฐกิจในครอบครัว ภายใต้การทำหน้าที่ภรรยา ดูแล ช่วยเหลือสามีคนไทย ดูแลพ่อแม่ และญาติสามี ขณะที่ฝั่งญาติสามีก็มักจะมองว่าเธอไม่ใช่ผู้หญิงที่ดีมาก่อนแต่จะมาแสวงหาผลประโยชน์
ปัญหาที่พบ คชษิณเล่าว่า ส่วนใหญ่แล้วหญิงลาวเหล่านี้เข้าเมืองผิดกฎหมาย เมื่อท้องแล้วจึงไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในการฝากครรภ์ ท้ายสุดก็มีเด็กที่ไม่โตตามมาตรฐาน หรือเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคปากแหว่ง และหญิงเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็จะทำงานที่ยากลำบาก สกปรก อันตราย เพราะพวกเขาไม่ได้จบสูง ไม่มีทักษะ กลุ่มผู้หญิงกลุ่มนี้กลายเป็นกำลังสำคัญของชุมชนเรื่องภาคเกษตร เช่น ไปทำงานในภาคเกษตรที่มีสารเคมีอันตราย
“อาทิตย์ก่อนผมทำประเด็นเรื่องตรวจสารเคมีในร่างกายของกลุ่มผู้หญิงเหล่านี้ 30 กว่าคน ครึ่งต่อครึ่งเลือกปะปนสารเคมี ดังนั้นถ้าจะบอกว่าเขามาเกาะผู้ชายกิน เขามาแล้วไม่ได้ทำประโยชน์อะไร ไม่ได้แล้ว เพราะตอนนี้เขตพื้นที่แถวชายแดนก็จะทำเป็นเขตพื้นที่เศรษฐกิจ และกลุ่มนี้ต่างหากที่เป็นกลุ่มเสียสละมาทำงานพัฒนาประเทศของเรา และบางครั้งสามีเองต่างหากที่ไม่ได้ทำอะไร และผู้หญิงลาวเหล่านี้คือคนที่กลับไปเอาเงินเอาข้าวจากลาวมาสนับสนุน” คชษิณกล่าว
คชษิณได้เสนอว่า นโยบายของรัฐเรื่องการจัดการกับคนที่ไม่ใช่สัญชาติไทย โดยเฉพาะลาว พม่า กัมพูชา เรื่องการจับกุม จำกัด ส่งกลับ หรือติดคุกติดตาราง อยากให้รัฐลองทบทวน และน่าจะให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นที่ปลอดภัย เชิญชวนให้เขาได้ทำกิจกรรม ออกมาสู่พื้นที่สาธารณะ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพสังคมไทย ถ้าทุกคนที่อยู่ชายแดนได้พัฒนาตัวเอง มีคุณภาพชีวิตที่ดี เข้าถึงสวัสดิการ มีความเข้มแข็ง ถ้าทุกคนเข้มแข็ง นั่นหมายถึงความเข้มแข็งของสังคมไทยด้วย
| ['ข่าว', 'เศรษฐกิจ', 'สังคม', 'วัฒนธรรม', 'การศึกษา', 'คุณภาพชีวิต', 'การแต่งงานข้ามแดน', 'การแต่งงานข้ามชาติ. อีสานโพ้นทะเล', 'คชษิณ สุวิชา', '\xa0ทันตา เลาวิลาวัณยกุล', '\xa0ศิวกร ราชชมภู', '\xa0ศิริจิต สุนันต๊ะ', 'พัชรินทร์ ลาภานันท์', 'บ้านเขยฝรั่ง', 'บ้านเมียฝรั่ง', 'อีสาน', 'เพศสภาวะ. บทบาททางเพศ', 'พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี'] |
https://prachatai.com/print/79286 | 2018-10-24 19:33 | ดู 3 การสอบของ ม.6 ที่อยู่ในช่วงเลือกตั้ง พบ คนโหวตหน้าใหม่มีถึง 5.6 ล้าน | ในขณะที่การเลือกตั้งยังไม่ลงวันเป็นทางการว่าจะออกวันใดในระหว่าง 24 ก.พ. - 9 พ.ค. 2562 ในระหว่างนั้นก็มีการสอบถึง 3 สนามที่นักเรียน ม.6 ต้องไปสอบกันเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย ด้าน สทศ. ที่จัดสอบ GAT/PAT ช่วง 23-26 ก.พ. ที่คาดว่าจะทับวันเลือกตั้ง ระบุ ถ้าทับจริงละพิจารณาอีกที ด้านนายกฯ สั่งรองนายกฯ แก้ไขกับศึกษาธิการ เครือข่ายจับตาการเลือกตั้งพบ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุ 18 ปีที่ไม่เคยสัมผัสการเลือกตั้งมาก่อนมีสูงเกือบ 5.6 ล้านคน
ภาพนักศึกษาร่วมกิจกรรมเข้าคูหาจำลอง ต้านรัฐประหาร เมื่อปี 2557
24 ต.ค. 2561 สืบเนื่องที่มีการนำเสนอว่าการทดสอบวัดความถนัดทั่วไป (GAT) และความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT) ประจำปีการศึกษา 2562 มีกำหนดสอบในวันที่ 23-26 ก.พ. 2562 ซึ่งอาจตรงกับวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่มีการคาดการว่าจะมีขึ้นในวันที่ 24 ก.พ. 2562 นั้น
แนวหน้า [1]ได้รายงานว่าสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. ผู้จัดสอบ ได้ให้ข้อมูลว่า กรณีจะมีการเลื่อนการสอบ GAT/PAT หรือไม่นั้น จะมีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปหากมีการยืนยันวันเลือกตั้งว่าจะเป็นในวันที่ 24 ก.พ. 2562 อย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้ ทาง สทศ. ตระหนักถึงความสำคัญในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส.ส. เนื่องจากคุณสมบัติของผู้เข้ารับการทดสอบต้องเป็นนักเรียนชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า หรือสูงกว่า ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ถือเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ด้านเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล [2]ระบุในวันนี้ (24 ต.ค. 2561) ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ว่าขณะนี้รัฐบาลกำลังดูอยู่ โดยให้วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ไปดูร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการว่าจะหาทางออกกันอย่างไร ถ้ามีปัญหาอะไรต่างๆ ก็ต้องแก้ปัญหากันให้ได้ เพราะเกี่ยวกับเรื่องราชกฤษฎีกา กำหนดวันเลือกตั้งที่ยังไม่ออกมา
รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 มาตรา 268 ระบุว่า ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้แล้วเสร็จภายใน 150 วัน หลังจาก พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง , พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง , พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. มีผลบังคับใช้
จนเมื่อ 12 ก.ย. 2560 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.) ถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ ที่ประชุม สนช. ลงมติให้ พ.ร.ป. ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 90 วันหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา แปลว่าระยะเวลาเตรียมเลือกตั้ง 150 วันจะเริ่มนับตั้งแต่ 11 ธ.ค. 2561 การเลือกตั้งจะขึ้นได้อย่างเร็วสุด 24 ก.พ. 2562 ช้าที่สุดไม่เกินวันที่ 9 พ.ค. 2562 ตามกรอบ 150 วัน
โปรดเกล้าฯ พ.ร.ป.ส.ส. - ส.ว. แล้ว ไทม์ไลน์หลังจากนี้เป็นอย่างไร [3]
ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการสอบของนักเรียนชั้น ม.6 นอกจาก GAT/PAT ดังนี้
สอบวิชาเฉพาะ จัดสอบโดยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) วันที่ 9 มี.ค. 2562 (เฉพาะผู้ที่ต้องใช้ในการสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ผ่านระบบรับตรงของ กสพท.)
สอบ O-NET วันที่ 2-3 มี.ค. 2562 (การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน)
สอบ 9 วิชาสามัญ วันที่ 16-17 มี.ค. 2562 (ข้อสอบที่ผู้สอบจะนำไปใช้ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ TCAS)
(ข้อมูลจาก admissionpremium.com [4])
ข้อมูลจากเครือข่ายสังเกตการณ์การเลือกตั้ง WeWatch ให้ข้อมูลว่าจำนวนคนที่มีสิทธิอายุครบ 18 ปี แล้วแต่ไม่เคยได้เลือกตั้ง มีจำนวนมากถึง 5,616,261 คน คิดเป็นร้อยละ 11 ของผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด โดยจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน้าใหม่ที่ไม่เคยเลือกตั้งระดับประเทศมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 1,928,143 คนในปี 2556
คนรุ่นใหม่กับการเลือกตั้งที่(อาจ)จะเกิดขึ้น 24 กุมภาพันธ์ 2562 [5]
WeWatch ระบุว่า คนจำนวนร้อยละ 11 เหล่านั้นคือคนที่ไม่เคยสัมผัสบรรยากาศการเลือกตั้ง การหาเสียง การรณรงค์ การเข้าคูหา และ การนับคะแนน ซึ่งทั้งหมด คือบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตย ที่คนรุ่นใหม่ยังไม่เคยได้สัมผัสเข้าไปมีส่วนร่วม เป็นการเสียโอกาสในการเรียนรู้ประสบการณ์การเลือกตั้งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'การศึกษา', 'เลือกตั้ง', 'GAT/PAT', '9 วิชาสามัญ', 'สอบ กสพท.', 'สอบ O-NET'] |
https://prachatai.com/print/79287 | 2018-10-24 19:34 | ครม. ไฟเขียวอนุมัติตั้ง 'กระทรวงอุดมศึกษาฯ' | ครม.อนุมัติตั้ง 'กระทรวงอุดมศึกษาฯ' ชี้ไม่ใช่การตั้งกระทรวงใหม่ แต่เป็นการบูรณาการหลายกระทรวงมารวมกันและตั้งเป้าหมายขึ้นมาเป็นกระทรวง พร้อมจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีนายกฯ เป็นประธาน
ภาพประกอบจาก sci.rmutt.ac.th
24 ต.ค.2561 สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แถลงหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมครม.มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่..) พ.ศ. … สำหรับการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม โดยหลังจากนี้จะมีการส่ง ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หลังจากนี้ไปจะมีการออก ร่าง พ.ร.บ.อีกหลายตามมา อาทิ ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบการตั้งกระทรวง โดยตนคาดว่าสนช.จะใช้เวลาพิจารณาร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งกระทรวงใหม่นี้ประมาณ 2 เดือน แล้วเราจะได้เห็นกระทรวงการอุดมศึกษาฯเกิดขึ้น สำหรับการตั้งกระทรวงใหม่นี้ได้รวม 4 หน่วยงาน คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยเป็นการปฏิรูปการบริหารราชการที่เน้นทำงานร่วมกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคม การปฏิรูปกฎระเบียบต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับนวัตกรรม และการปฏิรูประบบงบประมาณ โดยจะให้ด้านการวิจัยในเรื่องสำคัญๆ ต้องเป็นงบประมาณผูกพัน
รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าวอีกว่า ในกระทรวงใหม่นี้จะแบ่งเป็น 4 กลุ่มงาน คือ กลุ่ม 1ว่าด้วยนโยบายด้านการวิจัย ด้านเงินทุนหรือกองทุนการวิจัย กลุ่มที่ 2 เป็นการแปรสภาพกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ไปเป็นสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม กลุ่มที่ 3 ว่าด้วยการวิจัยด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มที่ 4 ว่าด้วยมหาวิทยาลัย กระทรวงใหม่นี้จะสร้างความเชื่อมโยงระหว่างการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม ตั้งแต่ระดับนโยบายไปจนถึงระดับปฏิบัติ ซึ่งจะสามารถสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือการเตรียมความพร้อมประเทศสู่ศตวรรษที่ 21 ตามแนวนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ให้บรรลุผล
ก้าวอีกขั้นดันกระทรวงใหม่ “การอุดมศึกษา” รมว.วิทย์ยันสำเร็จรัฐบาลนี้ [1]
สุวิทย์ กล่าวว่า นอกจากนี้จะจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กชอว.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยเป็นซูเปอร์บอร์ดที่อยู่เหนือกระทรวงดังกล่าว ทำหน้าที่ดูแลนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการอุดมศึกษา การวิจัยของทั้งประเทศทางวิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำว่าการจัดตั้งกระทรวงนี้ต้องตอบโจทย์ให้การวิจัยใหม่ๆถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ตอบโจทย์ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อนำมาเป็นนวัตกรรมเชิงเศรษฐกิจและสังคม
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า เรื่องร่างพ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงฯ ก็เป็นสาระที่พูดคุยกันในที่ประชุม ครม.ว่านี่ไม่ใช่การตั้งกระทรวงใหม่ แต่เป็นการบูรณาการหลายกระทรวงมารวมกันและตั้งเป้าหมายขึ้นมาเป็นกระทรวง ซึ่ง สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ก็บอกว่านี่เป็นตัวอย่างของการทำงานร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ในส่วนข้อห่วงใยของกลุ่มสภาวิชาชีพก็ได้มีการแก้ไขไปให้ก่อนหน้านี้แล้ว ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ..ที่ผ่าน ครม.ไปก่อนหน้านี้ และกระบวนการจากนี้ก็จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาที่ประชุม สนช. ต่อไป
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ [2] และโลกวันนี้ [3]
| ['ข่าว', 'การศึกษา', 'วิทยาศาสตร์', 'กระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม', 'คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม'] |
https://prachatai.com/print/79288 | 2018-10-24 20:08 | ระ ระ เร็ว! 'เอกชัย' เปิด จม.จาก ตร. แจ้งยุติสอบสวนคดีฟ้องข้อหา ‘กบฏ’ กับ ‘อภิรัชต์’ | 'ยุติคดีนี้รวดเร็วมาก โดยใช้เวลาเพียง 4 วัน' เอกชัย เผย ตร.ส่งหนังสือ แจ้งยุติการสอบสวนคดีฟ้องข้อหา ‘กบฏ’ กับ ‘พล.อ.อภิรัชต์’ ระบุไม่มีมูลความผิด
23 ต.ค.2561 ความคืบหน้า กรณีเมื่อวันที่ 19 ต.ค.ที่ผ่านมา เอกชัย หงส์กังวาน และโชคชัย ไพบูลย์รัชตะ สองนักกิจกรรมทางการเมือง แจ้งความกับ พล.อ.อภิรัชตะ คงสมพงษ์ ในข้อหา ‘กบฎ’ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 หลังจากให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค. ที่ถามว่าในอนาคตจะมีการทำรัฐประหารอีกหรือไม่ ว่า “หากการเมืองไม่เป็นเหตุให้เกิดจลาจล ก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น” นั้น
ล่าสุดวันนี้ เอกชัย โพสต์หนังสือตอบจาก สน.ลาดพร้าว แจ้งความคืบหน้าผลการดำเนินการของพนักงานสอบสวน 3 ประเด็น 1. พนง.สอบสวน สน.ลาดพร้าวได้ทำการราบรวมพยานหลักฐานแล้วพิจารณาเห็นว่าเรื่องดังกล่าว ไม่มีมูลความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.113 2. กองบังคับการตำรวจนครบาล 4 พิจารณาแล้วเห็นควรยุติการสอบสวน และ 3. ข้อเสนอแนะ กรณีคำสั่งยุติการสอบสวนดังกล่าว ไม่ตัดสิทธิในการดำเนินารฟ้องร้องคดีดังกล่าวต่อศาลด้วยตนเอง
เอกชัย ระบุด้วยว่า วันที่พวกเราแจ้งความ ตำรวจบอกจะเชิญ วาสนา นาน่วม มาให้การเพิ่มเติม และอาจเชิญตนมาให้การเพิ่มเติมอีก แต่ยังไม่ทันสอบสวนเพิ่มเติม สน.ลาดพร้าว ก็อ้างการพิจารณาพยานหลักฐานเสร็จ ทั้งที่ยังไม่มีการเชิญ วาสนา นาน่วม และ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ มาให้การ
‘เอกชัย’ แจ้งข้อหา ‘กบฏ’ กับ ‘อภิรัชต์’ ตำรวจถาม ‘คุณเป็นผู้เสียหายเหรอ’ [1]
คสช. แจ้งความเอกชัย-โชคชัย เหตุกล่าวหา ผบ.ทบ. ผิดข้อหากบฏ [2]
เอกชัยโต้ หลัง คสช.แจ้งความ เหตุกล่าวหา ผบ.ทบ. กบฎ ระบุ ไม่ใช่ผู้เสียหาย [3]
"วันจันทร์ คสช. ส่งเจ้าหน้าที่มาที่ สน.ลาดพร้าว เพื่อแจ้งความกลับพวกเราฐานแจ้งความเท็จ ทั้งที่พวกเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนี้ วันอังคาร สน.ลาดพร้าว รีบออกหนังสือนี้แจ้งว่า อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ไม่ผิดตาม ม.113 เพื่อให้สอดคล้องกับการแจ้งความของ คสช สน.ลาดพร้าว ยุติคดีนี้รวดเร็วมาก โดยใช้เวลาเพียง 4 วัน" เอกชัย ระบุในโพสต์ดังกล่าว
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ฝ่ายกฎหมายแจ้งความดำเนินคดีกับเอกชัย และโชคชัย ที่ สน.ลาดพร้าว ในข้อหาแจ้งความเท็จตามความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 172 และ 173 หลังทั้งคู่เข้าฟ้องเอาผิด พล.อ.อภิรัชต์ โดย ไทยโพสต์ [4]รายงานว่า ทาง คสช. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าพฤติการณ์ของเอกชัยและโชคชัยทำให้ภาพลักษณ์ของกองทัพได้รับความเสียหาย เพราะในวันที่ พล.อ.อภิรัชต์ให้สัมภาษณ์นั้นเป็นวันประชุมหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก เท่ากับกล่าวหาว่า พล.อ.อภิรัชต์จะนำกองทัพทำการรัฐประหาร
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'เอกชัย หงส์กังวาน', 'อภิรัชตะ คงสมพงษ์', 'ม.113'] |
https://prachatai.com/print/79290 | 2018-10-25 01:21 | 'หมวดเจี๊ยบ' เปิดแคมเปญ 'พลิก..ลายพราง' ชูบันได 4 ขั้น ปฏิรูปกองทัพเลิกยุ่งการเมือง | ร.ท.หญิงสุนิสา เปิดตัวแคมเปญ "พลิก..ลายพราง" ยกบันได 4 ขั้น ปฏิรูปกองทัพ เพื่อสิ่งที่ดีกว่า 1. เลิกปฏิวัติและหยุดแทรกแซงการเมือง 2. เลิกบังคับเกณฑ์ทหาร แล้วเปลี่ยนไปใช้วิธีสมัครใจ 3. เลิกใหญ่เทอะทะ แต่ปรับโครงสร้างให้สอดคล้องกับภารกิจของกองทัพสมัยใหม่ และ 4. เลิกละเมิดสิทธิมนุษยชน
24 ต.ค.2561 ที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศ FCCT อาคารมณียาเซ็นเตอร์ ร.ท.หญิงสุนิสา ทิวากรดำรง สมาชิกพรรคเพื่อไทย จัดกิจกรรมเปิดตัวแคมเปญ "พลิก..ลายพราง" ปฏิรูปกองทัพ เพื่อสิ่งที่ดีกว่า
ข่าวสดออนไลน์ [1] รายงานว่า ในการเปิดตัวแคมเปญมี พล.อ.อ สมชัย พละวงศ์ อดีตรองผู้บัญชาการอากาศโยธิน และ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล อดีตประธานสภานิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมแสดงความเห็น โดยวัตถุประสงค์ต้องการเปิดพื้นที่รับฟังความเห็นประชาชน ต่อมุมมองที่มีต่อกองทัพไทยในปัจจุบัน
ร.ท.หญิงสุนิสา ที่ผ่านมาเห็นว่าการทำงานหรือระบบของกองทัพไทย ยังไม่สอดคล้องกับยุคสมัย โดยเฉพาะวัฒนธรรมการเกณฑ์ทหาร ควรจะเปิดรับสมัครมากกว่าการบังคับเกณฑ์ทหาร เพราะมีคนจำนวนมากไม่พร้อมและไม่เต็มใจที่จะเข้ารับการฝึก
ถ้ากองทัพได้คนที่สมัครใจมาเป็นทหาร ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กองทัพ และจะเป็นการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า เพราะแต่ละปีกองทัพต้องเสียงบประมาณจำนวนมากในการฝึกทหารเกณฑ์
แคมเปญนี้จึงเป็นการผลักดันการปฏิรูปกองทัพ เพื่อพลิกโฉมกองทัพให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายคือ ยุทธการซีโฟร์ คือ No Coup No Conscript No Cellulite และ No Censorship หรือ “บันได 4 ขั้น” เพื่อพลิกโฉมกองทัพให้เลิกพฤติกรรม 4 ข้อ คือ 1. เลิกปฏิวัติและหยุดแทรกแซงการเมือง 2. เลิกบังคับเกณฑ์ทหาร แล้วเปลี่ยนไปใช้วิธีสมัครใจ 3. เลิกใหญ่เทอะทะ แต่ปรับโครงสร้างให้สอดคล้องกับภารกิจของกองทัพสมัยใหม่ เหมือนคนที่มีรูปร่างสเลนเดอร์ ไร้ไขมันส่วนเกิน และ 4. เลิกละเมิดสิทธิมนุษยชน
ร.ท.หญิงสุนิสา กล่าวอีกว่า แนวคิดของการปฏิรูปกองทัพของตนเองนั้นสอดคล้องกับนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่ต้องการจะปฏิรูปกองทัพ ซึ่งแคมเปญ “พลิก…ลายพราง” นี้จะเปรียบเสมือนเวทีที่จะเปิดรับฟังความเห็นของคนไทยทุกคน หรือแม้แต่ทหารที่อยากจะเสนอความคิด ก็สามารถร่วมส่งความคิดเห็นได้ เพราะแคมเปญนี้จะเปิดรับความเห็นในระยะยาว และหลังจากการเปิดตัวแล้วจะเดินสายเปิดเวทีรับฟังความเห็นทั่วประเทศ
ต่อกรณีคำถามที่ว่า กังวลหรือไม่การเปิดแคมเปญดังกล่าวจะถูกจับตาจากกองทัพ นั้น ร.ท.หญิงสุนิสากล่าวว่า ไม่รู้สึกกังวล เพราะเราต้องการรับฟังเสียงของประชาชนจริงๆ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศและการปฏิรูปกองทัพ
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'สิทธิมนุษยชน', 'ความมั่นคง', 'สุนิสา ทิวากรดำรง', 'พลิก..ลายพราง', 'ปฏิรูปกองทัพ', 'การเกณฑ์ทหาร'] |
https://prachatai.com/print/79289 | 2018-10-24 23:30 | ลุงกำนันมาแล้ว 'เดินคารวะแผ่นดิน' เริ่มพรุ่งนี้ ย้ำแจ้งกกต. ถือว่า คสช.อนุญาต | พรรครวมพลังประชาชาติไทย เริ่ม “ปฏิบัติการเดินคารวะแผ่นดิน” วันแรก 25 ต.ค.นี้ เวลา 9.30 น. ชวนประชาชนร่วมกันเป็นเจ้าของพรรค เลขาธิการพรรคฯ ย้ำ ทำหนังสือแจ้ง กกต.ไปแล้ว ถือว่าได้รับอนุญาตจาก คสช. ชู "อุดมการณ์ข้อแรกของพรรคเราคือ เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์"
ที่มา เฟสบุ๊กแฟนเพจ Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ) [1]
24 ต.ค.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ เมื่อเวลา 18.00 น.ที่ผ่านมา เฟสบุ๊กแฟนเพจ 'ACT PARTY [2]' ของพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) โพสต์ภาพพร้อมข้อความว่า เริ่มแล้ว “ปฏิบัติการเดินคารวะแผ่นดิน” วันแรก 25 ต.ค.2561 เวลา 9.30 น. ถวายสัตย์ปฏิญาณหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 1 จากนั้นเดินเชิญชวนประชาชนร่วมกันเป็นเจ้าของพรรค ด้วยการสมัครเป็นสมาชิกพรรค และรับฟังปัญหาพี่น้องประชาชน
วอยส์ออนไลน์ [3] รายงานว่า ทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง เลขาธิการพรรค รปช. แถลงหลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เห็นชอบรับจดแจ้งตั้งพรรคการเมืองว่า โดยที่ประชุมพรรคเห็นชอบทำกิจกรรม 'เดินหน้าปฏิบัติการคารวะแผ่นดิน' เตรียมเดินทั่วประเทศ
โดยเดินทำความเคารพสักการะของศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านเมือง พร้อมไปหาประชาชนรับฟังปัญหา และเปิดรับสมัครสมาชิพรรคให้มาร่วมเป็นเจ้าของพรรค เพื่อให้ประชาชนเป็นเจ้าของพรรคที่แท้จริงโดยกิจกรรมเดินหน้าปฏิบัติการคารวะแผ่นดินจะเริ่มในวันที่ 25 ต.ค. นี้ เวลา 09.00 น. โดยคณะกรรมการบริหารพรรคและผู้ร่วมจัดตั้งพรรคนำโดย ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล หัวหน้าพรรคจะทำพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 1 เชิงสะพานพุทธ พร้อมกล่าวคำปฏิญาณของพรรค
ทวีศักดิ์ ระบุว่า หลังทำพิธีแล้ว จะเริ่มเดินสายพบประชาชนในวันเดียวกันคือไปพบประชาชนที่ย่านวรจักร ลักษณะการเดินจะไปมาอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยไม่เดินกลางถนน จะเดินบนฟุตบาท ไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย ส่วนวันต่อไปก็วางแผนจะออกเดินในลักษณะนี้โดย
วันที่ 26 ต.ค. เดินสายสุขุมวิท
วันที่ 27 ต.ค. ถนนเยาวราช
วันที่ 28 ต.ค. อ.แม่สอด จ.ตาก
วันที่ 29 ต.ค. ถนนสีลม
วันที่ 30 ต.ค. ย่านสาทร - บางรัก
วันที่ 31 ต.ค. ย่านประตูน้ำ
วันที่ 1 พ.ย.จะไป จ.จันทบุรี ไปเริ่มพิธีกรรมถวายสักการะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
"อุดมการณ์ข้อแรกของพรรคเราคือ เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์" ทวีศักดิ์ ระบุ
ทวีศักดิ์ ระบุว่า การเดินคารวะแผ่นดินครั้งนี้ พรรคมีมติให้ สุริยะใส กตะศิลา ผู้ร่วมจัดตั้งพรรค รปช. เป็นแม่งานทำกิจกรรมเดินคารวะแผ่นดิน เพราะ สุริยะใส ชำนาญการประสานกับบุคลากรของพรรคในพื้นที่ต่างๆ มาก อีกทั้งมีวิสัยทัศน์ทางการเมืองเป็นคนรุ่นใหม่ค่อนเก่าไม่ล้าสมัย เพื่อนำคนรุ่นใหม่ของพรรคทำงานต่อไป ทั้งนี้การจัดทำกิจกรรมของพรรคได้ทำหนังสือแจ้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไปแล้ว ซึ่งถือว่าได้รับอนุญาตจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มั่นใจว่าการดำเนินการจะเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ยืนยันพรรคการเมืองใดเดินไปแนวทางเดียวกับอุดมการณ์ของพรรค ก็พร้อมร่วมงานกันได้
สำราญ รอดเพชร ผู้ร่วมจัดตั้งพรรค รปช. ระบุว่า วันที่ 9 พ.ย.นี้ จะมีการเปิดที่ทำการพรรค ถนนรัชดาภิเษก ในเวลา 09.09 น. โดยจะเชิญพรรคการเมืองต่างๆ มาร่วมงาน ในวันที่ 10 พ.ย. พร้อมกับจะเดินคารวะแผ่นดินที่ อ.เบตง จ.ยะลา เดินขึ้นมาถึงภาคกลาง โดยจะดูสถานการณ์ทางการเมืองอีกครั้ง และทันทีที่ปลดล็อกพรรคการเมืองคาดว่าในกลางเดือน พ.ย.นี้ พรรคจะเปิดปราศรัยใหญ่ทันที
| ['ข่าว', 'การเมือง', 'พรรครวมพลังประชาชาติไทย', 'สุเทพ เทือกสุบรรณ', 'คสช.'] |
https://prachatai.com/print/79291 | 2018-10-25 10:20 | กวีประชาไท: คารวะแผ่นดิน! |
“มาๆ เราจะสร้างประวัติศาสตร์เพื่อชาติเพื่อแผ่นดินถิ่นที่อยู่เพื่อใครเพื่อตัวกูของกูทุกวันนี้ใครก็รู้กูหน้าด้าน”
“เดินพวกเราออกเดินตามถนนปะปนพี่น้องเคาะประตูบ้านเคยทำสำเร็จมาแว้วไม่ทันนานบริจาคกันหลายล้านพี่น้องไทย”
ฝันสูงจะสร้างสาขาพรรคทุกจังหวัดบริหารจัดกิจกรรมทันสมัยพูดอะไรทำไม่ได้ก็ช่างปะไรพูดใหม่ทำใหม่คนขี้ลืม
เคยไหมตระบัดสัตย์เพื่อชาติโกหกแล้วร้องไห้ใครก็ปลื้มเป่านกหวีดเรียกทหารเดี๋ยวก็ลืมห้าปียืมคำพระ “คนโกหกไม่ทำชั่ว ไม่มี”
เดินไปเถอะจะลองดูหมู่หรือจ่าเดี๋ยวนี้หนาคนไม่บ้าแล้วนะพี่หรือว่าบ้าไม่บ้าหรอกพ่อคนดีไม่กี่วันนี้จะคอยดูเดินคารวะแผ่นดิน.
| ['บทความ', 'การเมือง', 'วัฒนธรรม', 'คารวะแผ่นดิน', 'สุเทพ เทือกสุบรรณ', 'กวีประชาไท'] |
https://prachatai.com/print/79293 | 2018-10-25 10:34 | กรณี Christine Blasey Ford VS Brett Kavanaugh จากความรุนแรงทางเพศสู่สิทธิพลเมือง | จากกรณีที่ Kavanaugh (ทำงานสอนที่ ม.สแตนฟอร์ด, แคลิฟอร์เนีย) ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าดำรงตำแหน่งในศาลสูงอันทรงเกียรติแห่งสหรัฐฯถูก Dr.Ford (อ.ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาคลินิค ที่ ม.พาโล อัลโต, แคลิฟอร์เนีย) กล่าวหาถึงการกระทำความผิดทางเพศที่เกิดขึ้นมานานกว่าสามทศวรรษ (เหตุการณ์เกิดขึ้นในปี 1982) ข้อกล่าวหาดังกล่าวกลายเป็นประเด็นการเมืองเรื่องเพศอย่างมีนัยยะสำคัญอีกครั้งหนึ่งของสหรัฐฯ ที่นำมาซึ่งการสืบสวน และการขึ้นให้การของทั้งคู่อย่างโปร่งใสต่อสาธารณชนผ่านการเผยแพร่ออนไลน์แบบเรียลไทม์
การนำเสนอข่าว และการเผยแพร่การไต่สวนสู่สาธารณชน มีผู้หญิงจำนวนมากเข้ามาแสดงความคิดเห็นและเอ่ยอ้างถึงคำว่า “สิทธิพลเมือง” (civil right) ทำให้ฉันได้ย้อนระลึกถึงประเด็นสิทธิพลเมืองในวิชาปรัชญาสตรีนิยมระดับ ป.เอก ที่ธรรมศาสตร์ กับอ.ผู้สอนสองท่าน ในภาคการศึกษาที่ผ่านมา ในห้องเรียนเราได้ถกเถียง แลกเปลี่ยนกันว่า เมื่อกล่าวถึงสิทธิพลเมืองในบ้านเรา เราคิดถึงอะไร? อ.ท่านแรกกล่าวถึง ห้องน้ำไร้เพศ ที่ควรเป็นสถานที่ที่ทุกคน ทุกเพศสามารถเข้ามาใช้บริการได้อย่างเสมอภาค ในขณะที่ อ.อีกท่าน กล่าวว่า สิทธิพลเมืองคือ สิทธิที่จะเดินไปไหนมาไหนในยามค่ำคืนได้อย่างปลอดภัย โดยที่ความเห็นนี้ได้จากการตกผลึกมาจากประสบการณ์ของตนเองในการเดินกลับเข้าซอยบ้านยามวิกาล ซึ่งหากเข้าทางหลังซอยจะย่นระยะทางการเดินให้สั้นกว่ามาก แต่มืดมากกว่านัก ในขณะที่ด้านหน้าซอยสว่างไสวกว่า แต่ต้องเดินไกลกว่า แต่ไม่ว่ามืดหรือสว่าง กลางวันหรือกลางคืน ผู้หญิงก็ควรมีหลักประกันในการสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัย ในขณะที่ฉันได้แต่รับฟังไว้ และเก็บไปครุ่นคิด...... จนกระทั่งภาพการขึ้นให้การของ Dr.Ford ปรากฏขึ้นเต็มหน้าสื่อออนไลน์ ทำให้คำว่า สิทธิพลเมือง กลับเข้ามาสู่ห้วงความคิดของฉันอีกครั้งหนึ่ง กล่าวคือ ในแง่หนึ่งสิทธิพลเมือง สะท้อนให้เห็นภาพของการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ไปสู่การเมืองในระดับที่ใหญ่กว่า และห่างไกลตัวเรามากกว่า แต่ทว่าเราคุ้นชินกับมันเสียเหลือเกิน นั่นคือ “ประชาธิปไตย” (democracy) ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง สิทธิพลเมืองกลับสัมพันธ์อย่างแยกขาดไม่ได้กับ “เรื่องราวของปัจเจก” (auto-biography) ที่เป็นหน่วยความสัมพันธ์ที่เล็กที่สุดทางสังคมการเมือง
ทั้งสามประเด็นนี้ประสานเชื่อมโยงกันอย่างไร ผ่านการเรียนรู้กรณีความรุนแรงทางเพศที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯสู่ประเทศไทย?
"ประชาธิปไตย" เป็นศัพท์แสงทางการเมือง การปกครองที่เราคุ้นเคยกันมานานแสนนาน ซึ่งมักสื่อให้เห็นถึงสิทธิของปัจเจกในด้านต่างๆ แล้วสำหรับประเทศไทย สิทธิพลเมือง คืออะไร? สิทธิการเลือกตั้ง, สิทธิในการเข้าถึงการศึกษา, สิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ฯลฯ สิทธิที่เราในฐานะพลเมืองยังคงดิ้นรนกันอย่างแสนสาหัสกับการทำความเข้าใจระบบรัฐสวัสดิการ และการพยายามสร้างนโยบายระบบรัฐสวัสดิการ ที่วางอยู่บนพื้นฐานของการเข้าถึงการบริการ อำนวยความสะดวกอย่างเท่าเทียมโดยรัฐ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างแห่งเพศ วัย ชนชั้น หรือชาติพันธุ์ อันเป็นสิทธิพื้นฐานที่พลเมืองแห่งรัฐสามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีเงื่อนไข
กรณีของ Dr.Ford พิสูจน์ให้เราได้เห็นอย่างชัดเจนว่า ประชาธิปไตย ที่มีรากฐานของการปฏิบัติอย่างเสมอภาค เท่าเทียมแห่งความเป็นมนุษย์นั้น ถึงเวลาที่ควรต้องกลับมาพิจารณากันใหม่ เมื่อ “ความแตกต่างแห่งความเป็นเพศ" (sexuated difference : แนวความคิดของนักปรัชญาฝรั่งเศส Luce Irigaray) คือ ปราการด่านแรกที่ทำให้ สิทธิพลเมืองของผู้หญิงแตกต่าง และห่างไกลไปจากสิทธิพลเมืองในทางการเมือง (รัฐศาสตร์)
ความแตกต่างแห่งเพศ หรือร่างกายแห่งความเป็นหญิงที่แตกต่างจากชายเป็นเป้าหมาย หรือจุดกำเนิดของความรุนแรง และการล่วงละเมิดทางเพศที่เราพบเห็นอย่างดาษดื่นในสังคม ดังนั้นกรณีความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดขึ้นกับ Dr.Ford จึงเป็นก้าวสำคัญของการต่อสู้เพื่อ สิทธิพลเมือง ของผู้หญิง คือ การตระหนักถึงการมีสิทธิในการมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัย และใช้ชีวิตได้โดยปราศจากความกลัว ที่เธอดำรงอยู่กับมันด้วยความเงียบมากว่า 36 ปี
ในประเทศไทย เมื่อกรณีความรุนแรงทางเพศถูกผลักให้เป็นคดีอาญา เป็นอาชญากรรม หรือเป็นคดีสะเทือนขวัญ ในกรณีที่เหยื่อถูกกระทำอย่างโหดเหี้ยม ทารุณจนเสียชีวิต มิพักต้องกล่าวถึงมิติเชิงประเพณี วัฒนธรรมที่สร้างตราบาป (stigmatize) ให้กับผู้หญิง ได้กดทับซ้ำซ้อนให้เธอต้องปิดปากเงียบ และกักขังให้เธอต้องถูกกัดกร่อนจากตราบาปนั้นเพียงลำพัง เนื่องจากเหยื่อมีราคาที่ต้องจ่ายอย่างประเมินค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นมิได้ ทั้งชีวิตส่วนตัว เวลา และทรัพย์สิน หากเธอเลือกที่จะสู้เพื่อเรียกคืนความยุติธรรมให้กับตนเอง
อีกทั้งมิติเชิงกฎหมายที่ไม่เอื้อให้กับเหยื่อ เนื่องจาก ผู้ถูกกล่าวหามีกฎหมายคุ้มครองจนกว่าผู้กล่าวหา (ผู้หญิง) ต้องรวบรวมหลักฐานต่างๆมาเพื่อพิสูจน์ตนเองว่าถูกกระทำ หรือถูกละเมิดทางเพศ เช่น ร่องรอยการต่อสู้ การไม่สมยอม ซึ่งในหลายกรณีเหยื่อจำต้องยินยอม เพื่อรักษาชีวิต รักษาหน้าที่การงาน รักษาชื่อเสียง ฯลฯ จากที่กล่าวมาทำให้เห็นว่ากฎหมายได้ละเลยมิติความสัมพันธ์แห่งอำนาจระหว่างเพศ ชนชั้น อายุ อาชีพ การศึกษา ในสถานการณ์จริง ทำให้การเข้าถึงความช่วยเหลือในเชิงกฎหมายเป็นไปได้ยาก และเป็นทางเลือกที่มักไม่ถูกเลือก ดังนั้นบันทึกการแจ้งความหรืออัตราการเกิดความรุนแรงทางเพศในสังคมจึงไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่า ประชาธิปไตย ที่มุ่งเน้นความเท่าเทียมบนความเหมือนกันของมนุษย์ ก่อให้เกิดการมืดบอดต่อประเด็นความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศในชีวิตผู้หญิง อีกทั้งยังผลักให้ประเด็นสำคัญนี้กลายเป็นเพียงประเด็นส่วนตัว หรือกลายเป็นความรุนแรงทางเพศระหว่างหญิง-ชายเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงสิทธิพลเมืองสู่การรับรู้และความเข้าใจในระดับปัจเจกได้เลย ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องยกระดับความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศจากความรุนแรงในมิติเชิงวัฒนธรรมและกฎหมาย ไปสู่การตระหนักรู้สิทธิพลเมืองของผู้หญิงในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการเมืองประชาธิปไตย
การนำแนวความคิดของอิริกาเรย์ที่เริ่มพิจารณาจากเบ้าหลอมของความแตกต่างแห่งเพศ มาสนทนาร้อยเรียงกับประสบการณ์เรื่องเล่าความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศในกรณี Dr.Ford ได้เปิดหน้าต่างใหม่ของการเขยิบวิธีคิดในประเด็นความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศ ไปสู่ ประเด็นสิทธิพลเมือง อันจะเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงแห่งสิทธิพลเมืองในการมีชีวิต ใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย และเท่าเทียมกันอย่างแท้จริงในสังคมประชาธิปไตย
ประสบการณ์ความรุนแรงและการถูกล่วงละเมิดทางเพศของ Dr.Ford ที่เก็บงำอย่างเงียบงันมาเกือบครึ่งชีวิต มาสู่การให้ปากคำและถ้อยแถลงในการเปิดเผยเรื่องราวแห่งความเจ็บปวด อับอายต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการนี้ (สำหรับฉัน Kavanaugh คือคนที่ต้องอายมากกว่า) ทำให้ฉันต้องกลับมานั่งทบทวนอย่างหนักในเรื่องราวของเธอ สิ่งที่ Dr.Ford กระทำนั้นเป็นมากกว่าความกล้าหาญ แต่เป็นก้าวสำคัญของการนำประสบการณ์ความรุนแรงทางเพศที่เกิดขึ้นกับเธอมาขับเคลื่อนสู่ความเป็นประชาธิปไตยทางการเมืองด้วยการผลักให้ประเด็นความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศกลายเป็นประเด็นสิทธิพลเมือง ซึ่งท้ายที่สุดมีคุณูปการกับทุกเพศ
ฉันได้เรียนรู้ความกล้าหาญของผู้หญิงคนหนึ่งผ่านการเขียนชีวิตของเธอ ด้วยคำให้การแห่งความเจ็บปวด ความกลัว และด้วยราคามหาศาลที่เธอต้องจ่าย แต่เธอก็ “ยืนหยัด” ที่จะต่อสู้ เพื่อเรียกร้อง ทวงคืนความเป็นธรรมให้กับตัวเธอเอง (และเพื่อคนอื่นๆ) จากจุดยืนของเธอ
เราเรียนรู้อะไรจากประสบการณ์ความรุนแรงและการถูกล่วงละเมิดทางเพศของเธอ? เราควรต้องหันกลับมาปรับโหมด “การฟัง” ของเรา เพื่อค่อยๆเรียนรู้ว่าเรา “ได้ยิน” สิ่งที่เธอต้องการสื่อสารกับเราและโลกใบนี้หรือไม่ อย่างไร เราควรต้องปรับคลื่นความคิดในการรับฟังเรื่องราว ประสบการณ์ส่วนตัว (ที่บ่อยครั้งรุนแรง เจ็บปวด และเป็นเรื่องต้องห้าม) ของผู้หญิง เราควรต้องจูนคลื่นการฟังให้ลึกและชัดเจนมากไปกว่าความอยากรู้อยากเห็นเรื่องราวอื้อฉาวทางเพศของคนๆหนึ่งอย่างผิวเผิน หรือการตั้งคำถามอย่างตื้นเขินว่า เรื่องที่เธอเล่านี้เกิดขึ้นจริงหรือไม่
คำให้การจากประสบการณ์ความรุนแรงและการถูกล่วงละเมิดทางเพศของ Dr.Ford ก่อให้เกิดการตระหนักรู้และต่อสู้ร่วมกัน (consciousness raising) ทางการเมืองในประเด็นสิทธิพลเมืองของผู้หญิง นี่คือพลังของการเมืองเรื่องส่วนตัว (personal is political) จากการต่อสู้ในระดับปัจเจกเคลื่อนไปสู่การเมืองระดับมหภาค โดยมีสิทธิพลเมืองเป็นเดิมพัน ด้วยการทำให้ทุกเพศตระหนักถึงความรุนแรงในการใช้ชีวิตอย่างทั่วถึง และจุดประกายความคิดของหน้าที่พลเมืองที่เริ่มจากเลือดเนื้อและชีวิตของเรามากกว่าหน้าที่พลเมืองที่ไกลตัว ในทางรัฐศาสตร์เท่านั้น (ทว่าปฏิเสธไม่ได้ว่าจำต้องดำเนินควบคู่กันไป) และนี่คือพลังของการเมืองเรื่องส่วนตัวที่เขยิบมาสู่ความก้าวหน้าทางความคิดต่อสิทธิพลเมืองของทุกเพศในการมีชีวิต และใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย อันเป็นสิทธิพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยที่ประเทศไทยยังคงติดกับดับแห่งความรุนแรงทางเพศระหว่างชาย-หญิงเท่านั้น
| ['บทความ', 'การศึกษา', 'สิทธิมนุษยชน', 'ต่างประเทศ', 'กรณี Christine Blasey Ford', 'Brett Kavanaugh', 'ความรุนแรงทางเพศ', 'สิทธิพลเมือง', 'วัจนา เสริมสาธนสวัสดิ์', 'กลุ่มปรัชญาสตรีนิยม'] |
https://prachatai.com/print/79292 | 2018-10-25 10:25 | เหตุผลเท่านี้พอไหม? ที่จะมีหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี | มีการวิพากษ์ว่าแนวคิดการมีหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี โดยการปรับหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี หรือเพิ่มให้มีหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี ด้วย ไม่มีเหตุผล ผู้เขียนซึ่งเห็นด้วยกับหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี และไม่ปฏิเสธหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี จึงหาเหตุผลมาอธิบายประกอบความเห็นว่า ทำไมเห็นด้วยกับหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี ดังนี้
1. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (Quqlification Framework) ของหลักสูตร
ผู้เขียนได้เคยเขียนบทความเพื่อความเข้าใจ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (Quqlification Framework) เรื่อง “ชำแหละ TQF :HEd” เพื่ออธิบาย NQF ต้นแบบ คือ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ (National Quatifications Framework :NQF) ที่เริ่มพัฒนาปี ค.ศ. 1990 ในกลุ่มประเทศสหราชอาณาจักร 3 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ เวลล์ และไอร์แลนด์เหนือ เนื่องจากทั้ง 3 ประเทศมีหลักสูตรการศึกษานับเป็นร้อยหลักสูตร แต่ไม่มีการเทียบระดับของหลักสูตรเหล่านั้น ดังนั้น จึงมีการกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ
1) เพื่อจัดกลุ่มของวุฒิการศึกษาเป็น 8 กลุ่ม หรือ 8 ระดับ (level)
2) เพื่อให้นายจ้าง (ผู้ใช้) รู้ว่าวุฒิการศึกษาใด มีความรู้ ความสามารถ และการยอมรับในระดับ (level) ใด
3) เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดสรรเงินสนับสนุนของรัฐ
4) เพื่อกำหนดจำนวนหน่วยกิตของกรอบวุฒิในแต่ละระดับ ( level)
NQF จึงเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่าง QCA ของอังกฤษ DCELLS ของเวลส์ และ CCEA ของไอร์แลนด์เหนือ
ส่วนกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป ได้ร่วมกันจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งสหภาพยุโรป (European Qualification Framework :EQF) ในปี ค.ศ. 2008 โดยกำหนดคุณวุฒิให้มีจำนวน 8 ระดับ (level) เช่นเดียวกับ NQF โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ
1) เพื่อเอื้อประโยชน์ในการตีความวุฒิการศึกษา
2) เพื่อใช้อ้างอิงวุฒิหรือระดับของการศึกษา
3) เพื่อใช้เทียบโอนหน่วยกิตระหว่างหลักสูตรระหว่างสถาบันและระหว่างประเทศ ทั้งในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและสหภาพอาณาจักร
ปัจจุบันได้มีการกำหนดกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ในหลายประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อาฟริกาใต้ สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ ฮ่องกง มาเลเซีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ยูเครน สวิส ฯลฯ
กรอบคุณวุฒิจะอธิบายการเรียนรู้ในระบบ (Formal Learning) ในด้านระดับคุณวุฒิ (level) ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning outcomes) หน่วยกิต (Credit) มาตรฐานหน่วยกิต (Unit Standard) รวมทั้งการรับรองการเรียนรู้จากนอกระบบ (Informal Learning) และการเรียนรู้ตามอัธยาศัย (Non - formal Learning) ด้วย
วุฒิปริญญาตรี ของประเทศไทยถูกกำหนดไว้ในระดับ 6 จากการจัดระดับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ 1-8 ระดับ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒินานาชาติ โดยการจัดระดับกรอบคุณวุฒินั้นไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรปริญญาตรี 3 ปี หรือ 4 ปี หรือ 5 ปี ต่างก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มระดับปริญญาตรี คือระดับ 6 ทั้งสิ้น
ดังนั้น ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรครูปริญญาตรีจากต่างประเทศ จึงสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากคุรุสภาเพื่อประกอบวิชาชีพครูในประเทศไทยได้ ไม่ว่าจะจบหลักสูตรครูปริญญาตรี 3 ปี หรือ 4 ปี มีแต่คนไทยเท่านั้นที่ต้องเรียนหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี จึงจะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูในประเทศไทย เท่ากับว่าหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี ของไทย เทียบได้แค่ หลักสูตรครูปริญญาตรี 3 หรือ 4 ปี ของต่างประเทศ เท่านั้น
2. โครงสร้างหลักสูตรและจำนวนหน่วยกิต หลักสูตรครูปริญญาตรีของประเทศกลุ่มยุโรปและหลักสูตรครูปริญญาตรีของไทย
ดร.ธนกร แก้ววิลาส ได้เขียน “การปรับระบบอุดมศึกษาสู่ความเป็นสากล: เรียนรู้จากการปฏิรูประบบอุดมศึกษาในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ตามปฏิญญาโบโลญญ่า (Bologna Declaration) ว่า เป้าหมายหลักของกระบวนการโบโลญญ่าได้แก่ ปรับระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้สอดคล้องกัน ทำให้การศึกษาของแต่ละประเทศสามารถเปรียบเทียบกันได้
1) สร้างระบบหน่วยกิตแบบยุโรปหรือที่เรียกว่า European Credit Transfer System (ECTS)
2) ขจัดปัญหาการโยกย้ายที่เรียนที่เกิดจากระบบการศึกษาที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ
รูปแบบและระยะเวลาการศึกษาที่ประมาณการไว้ในการศึกษาหลักสูตรนั้น ๆ ดังนี้
1) Bachelor Degree ระบบ 6 ภาคการศึกษา หรือ 8 ภาคการศึกษา หรือ 7 ภาคการศึกษา จำนวนหน่วยกิต ECTS - Bachelor: 180 - 240
2) Master Degree ระบบ 4 ภาคการศึกษา หรือ 3 ภาคการศึกษา หรือ 2 ภาคการศึกษาจำนวนหน่วยกิต ECTS Master: 90 - 140
ส่วนหลักสูตรครูในประเทศฟินแลนด์ กำหนดให้เรียนทั้งทฤษฎีและปฎิบัติไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต(ECTS) จากจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรปริญญาโท ของหลักสูตรครูประจำชั้นและครูประจำวิชา (300 ECTS) และหลักสูตรปริญญาตรีครูอนุบาล (180 ECTS) ทั้งนี้การฝึกปฏิบัติในวิชาครูสำหรับหลักสูตรครูประจำชั้น และครูประจำวิชา จะเป็นการฝึกสอนจำนวน 20 ECTS และ 25 ECTS สำหรับหลักสูตรครูอนุบาล
การให้หน่วยกิตตามระบบ ECTS คำนวณจากค่าเฉลี่ยภาระงานของนักศึกษา (workload) ทั้งในและนอกชั้นเรียน โดย 1 หน่วยกิต หมายถึง ภาระงาน 25-30 ชั่วโมง
สรุป ใน 1 ปีการศึกษา ถ้านักศึกษาเรียนเต็มเวลา นักศึกษาจะได้หน่วยกิต 60 ECTS (30 ECTS ต่อภาคการศึกษา เวลาเรียน 1,500 - 1,800 ชั่วโมงต่อปี)
การกำหนดหน่วยกิตตามระบบการศึกษาไทย คือ 1 หน่วยกิต บรรยายในชั้นเรียน 1 ชั่วโมง และศึกษาด้วยตนเองนอกชั้นเรียน อีก 2 ชั่วโมง หากเป็นปฏิบัติ 1 หน่วยกิต ปฏิบัติในชั้นเรียน 2 ชั่วโมง และศึกษาด้วยตนเองนอกชั้นเรียน อีก 1 ชั่วโมง ดังนั้นไม่ว่าเป็นการเรียนบรรยายหรือปฏิบัติ 1 หน่วยกิต เทียบได้กับการเรียน 3 ชั่วโมง โดยมีเวลาเรียนภาคการศึกษาปกติไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
การเทียบหน่วยกิต ECTS กับหน่วยกิตการศึกษาของไทย กมลชนก ใจดี ได้เขียนอธิบายใน “ประสบการณ์เรียนแลกเปลี่ยนที่สวีเดน” สรุปความว่า “หนึ่งเทอมจะแบ่งเป็นสองช่วง หนึ่งวิชาจะมี 15 ECTs หรือ 7.5 ECTs (7.5 ECTs = 5.25 หน่วยกิตบ้านเรา) หนึ่งเทอมลงได้ไม่เกิน 30 ECTs หรือ 21 หน่วยกิต ช่วงแรกเรียน 15 ECTs เรียนอาทิตย์ละ สองวัน หรือ สามวัน บางสัปดาห์วันเดียวก็ยังมีวันเรียนน้อยอย่างนี้ อย่าคิดว่าว่างนะ คือต้องอ่านหนังสือ T_T เวลาเรียนที่แท้จริงของเค้าคือ 40 ชม.ต่อสัปดาห์ เพราะถ้าเรียนครั้งหนึ่ง 3 ชม. ที่เหลือต้องอ่านหนังสือ ค้นคว้า วิจัย ฯลฯ”
ข้อสังเกตุจากบันทึกของ กมลชนก ใจดี คือ เรียนอาทิตย์ละ สองวัน สามวัน บางสัปดาห์ เรียนวันเดียวโดยกำหนดเวลาเรียนสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง ต่อการเรียน 21 หน่วยกิต หมายถึง การคิดหน่วยกิต ECTS ของระบบการเรียนเน้นการเรียนนอกชั้นเรียนมากกว่าในชั้นเรียน
การเทียบเคียงหน่วยกิต สามารถเทียบเคียงหน่วยกิตของไทย TCTS (Thai Credit Transfer System) กับ ECTS ตามเกณฑ์การเทียบเคียง 7.25 ECTS = 5.25 TCTS โดยหลักสูตร Bachelor Degree 180 ECTS เทียบได้กับ 130.345 TCTS โดยหากหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี (จำนวน 4 ปี เท่ากับหลักสูตรครูปริญญาตรีของสิงคโปร์ ) จะลดหน่วยกิตลง 1/5 คือ 32 หน่วยกิต จากหน่วยกิตรวม 160 หน่วยกิต ของหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี ตามเกณฑ์คุรุสภา จะเหลือหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 128 หน่วยกิต (เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ที่กำหนด 120 หน่วยกิต)
ดังนั้น จึงไม่ยากที่กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (Thai Qualification Framework: TQF) หลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี จะกำหนดหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 131 หน่วยกิต เพื่อให้สอดคล้องและเทียบเคียงได้กับ 180 ECTS ตามมาตรฐานหลักสูตรกลุ่มประเทศยุโรป
3. การเปิดหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี เป็นหลักสูตรใหม่ ส่งผลกระทบต่อ คณบดีและอาจารย์ ที่สอนหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี หรือไม่
หลักสูตรผลิตครูปริญญาตรี 5 ปี เริ่มใช้ในประเทศไทยเมื่อปีการศึกษา 2547 ดังนั้น หากคำนวนจากการเรียนตามหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี นิสิตนักศึกษา จะสำเร็จการศึกษา ปี พ.ศ. 2552 หากศึกษาต่อเนื่องจะสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาโท 2 ปี และปริญญาเอก 3 ปี ซึ่งคงจะสำเร็จการศึกษาเร็วที่สุดใน ปี พ.ศ.2558 จึงเชื่อได้ว่า คณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ รวมทั้งคณาจารย๋ในคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ในปัจจุบันทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ ล้วนเป็นผลผลิตของหลักสูตรครูปริญาตรี 4 ปี ทั้งสิ้น และหากหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี ไม่มีคุณภาพ จะสะท้อนถึงคุณภาพของนิสิตนักศึกษาในคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ในปัจจุบันโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากรายงานของ Sir Michael แห่งบริษัท McKinsey & Company เรื่อง ระบบโรงเรียนคุณภาพระดับโลกขึ้นมาสู่ความเป็นโรงเรียนคุณภาพชั้นนำได้อย่างไร (How the World Best-Performing School Systems Come Out on Top) ได้รายงานผลการวิจัยสำคัญจากการเก็บข้อมูลในรัฐเทนเนสซี่ ซึ่งให้นักเรียนอายุ 8 ปี ที่เรียนอยู่ในระดับปานกลาง 2 คน โดยคนหนึ่งเรียนกับครูที่สอนเก่ง (high-performing teacher) ส่วนอีกคนเรียนกับครูที่สอนไม่เก่ง (low-performing teacher) พบว่าภายใน 3 ปี ผลการเรียนของนักเรียนทั้งสองคน มีความแตกต่างกันมากกว่า 50 เปอร์เซ็นไทล์
ดังนั้น หลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี จึงเชื่อได้ว่าจะมีคุณภาพ จากการบริหารของคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนโดยคณาจารย์ในคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ ที่ผ่านการเรียนหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี เช่นกัน
4. การวิจัยเปรียบเทียบคุณภาพระหว่างครูที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี กับหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี จะมีผลวิจัยที่ไม่น่าเชื่อถือ (unbelievable)
จากการที่มีข้อเสนอให้มีการทำวิจัยเปรียบเทียบคุณภาพครูหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี กับครูหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี ผู้เขียนเชื่อว่านักวิจัยสามารถอธิบายได้ว่า แม้จะมีการทำการวิจัย เปรียบเทียบ ผลการวิจัยก็จะไม่น่าเชื่อถือ(unbelievable) ไม่ว่าผลวิจัยจะออกมาว่าครูหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี ดีกว่าครูหลักสูตรฯ 4 ปี หรือครูหลักสูตรฯ 4 ปี ดีกว่าครูหลักสูตรฯ 5 ปี เนื่องจากตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับทั้งสองหลักสูตร อาทิ โครงสร้างหลักสูตร จำนวนปีที่ใช้ในการศึกษา นิสิตนักศึกษา กระบวนการเรียนการสอน ระยะเวลาที่เปิดสอนคนละช่วงเวลา คุณภาพของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี คุณภาพของอาจารย์ผู้รับผิดชอบการสอน ล้วนเป็นตัวแปรที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่มีความสัมพนธ์กันแต่อย่างใดทั้งสิ้น
ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงจากหลักสูตรการผลิตครูปริญญาตรี 4 ปี เป็นหลักสูตรการผลิตครูปริญญาตรี 5 ปี เมื่อ พ.ศ. 2547 ก็คงไม่มีผลการวิจัยสนับสนุนเช่นกัน ด้วยเหตุผลคือ ไม่มีประเทศใดในโลกที่มีหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี ด้วยตรรกะดังกล่าวจึงไม่สามารถทำการศึกษาเปรียบเทียบได้
จึงเชื่อได้ว่า การวิจัยเปรียบเทียบระหว่างหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี กับหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี กับหลักสูตรครูปริญญาตรีของต่างประเทศ ไม่สามารถทำได้ และการจะวิจัยเปรียบเทียบระหว่างหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี กับหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปีในประเทศไทย ผลวิจัยจะไม่น่าเชื่อถือ(unbelievable) ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้วเช่นกัน
5. วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่แตกต่างจากวิชาชีพชั้นสูงอื่น เพราะครูจะต้องมีสมรรถนะ(competency)ในการถ่ายทอดความรู้ เนื่องจากนักเรียนแต่ละคนต่างก็มีความแตกต่างกัน (individual difference)
การผลิตครูคุณภาพ อยู่ที่การจัดเนื้อหาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่นำไปสู่สมรรถนะของความเป็นครู มากกว่าการยัดเยียดเนื้อหาวิชาให้เรียนมากๆ เพราะคนในศตวรรษที่ 21 ต้องการคนที่มีทักษะ (skill) ไม่ใช่มีแต่ความรู้ (knowledge/content) แต่ทำไม่ได้ ต้องมีประสบการณ์ (experience) ด้วยการลงมือกระทำ ถ้าได้ทำบ่อยๆ จะเกิดความคิดในการแก้ปัญหา (solve problem) ทำให้มองกว้าง มองไกล มองลึก มองรอบ คือมีวิสัยทัศน์ (vision) และปัญญา (wisdom) ก่อให้เกิดความชำนาญคือทักษะ (skill) ระหว่างการทำบ่อยๆ จะเกิดการเรียนรู้ (learning) การเกิดปัญญา (wisdom) ต้องเกิดจากประสบการณ์ในการทำสิ่งใหม่ที่หลากหลาย แต่ไม่ใช่การกระทำซ้ำสิ่งเดิมๆ คนเป็นครูไม่ใช่แค่มีทักษะ (skill) แต่ต้องสามารถใช้ทักษะและปัญญาในการถ่ายทอดได้ด้วย ความสามารถนั้นเรียกว่า สมรรถนะ (competency) สถาบันผลิตครูจึงต้องมีเป้าหมายการสร้างครูที่มีสมรรถนะ (competency)
เบนจามิน แฟรงคลิ้นท์ (Benjamin Franklin) ได้กล่าวถึงการสอนของครูไว้ว่า “บอกฉัน ฉันจะลืม สอนฉัน ฉันจะจำ แต่ถ้าให้ฉันทำ ฉันจะเรียนรู้” (Tell me and I forgot. Teach me and I remember. Involve me and I learn.)
การผลิตครูคุณภาพในอนาคต จึงไม่น่าจะอยู่ที่จำนวนปีของหลักสูตร แต่อยู่ที่กระบวนการจัดการเรียนรู้ ในการสร้างทักษะให้นักเรียน ทั้ง ทักษะด้านความรู้ (Hard Skills) และทักษะด้านอารมณ์ (Soft Skills) ที่นำไปสู่การมีสมรรถนะ (competency)
นอกจากเหตุผล 5 ประการ ในการควรมีหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี ข้างต้นแล้ว หลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี ยังมีความแตกต่างกับหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี และหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี สาขาอื่น 2 ประการ ดังนี้
1. ความแตกต่างของปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา ของหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี กับ หลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี ทั้งของผู้ปกครองและนิสิตนักศึกษา ในด้านค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ตอบแทน ดังนี้
ผลเสีย ของการมีหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี
- ด้านสถาบันผลิตครู การเปิดสอนหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี จะมีรายรับลดลงจากเดิมที่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี จำนวน 1/5เท่า ของค่าลงทะเบียนหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี เฉลี่ยปีละ 20,000 บาท ต่อนิสิตนักศึกษา 1 คน สมมติหนึ่งรุ่นมีนิสิตนักศึกษา 100 คน รายรับจะลดลง 2,000,000 บาท ต่อปี
- ด้านนิสิตนักศึกษา ที่ได้รับการบรรจุเป็นครู หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี จะได้รับเงินเดือนๆละ 15,050 บาท ส่วนผู้ที่บรรจุเป็นครู หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี จะได้รับเงินเดือนๆละ 15,800 บาท ทำให้มีรายได้ต่อเดือนลดลง 750 บาท รวมรายรับลดลงปีละ 9,000 บาท ต่อ 1 คน
ผลดี ของการมีหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี
- ด้านผู้ปกครอง การเรียนหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี จะลดค่าใช้จ่ายจากค่าลงทะเบียนเรียนเฉลี่ยอย่างต่ำปีละ 20,000 บาท รวมค่าใช้จ่ายอื่น ค่าที่พัก อาหาร ค่าเดินทาง ฯลฯ เฉลี่ยอย่างต่ำเดือนละ 10,000 บาท รวมปีละ 120,000 บาท รวมลดค่าใช้จ่าย เฉลี่ยปีละ 140,000 บาท ต่อ 1 คน
- ด้านนิสิตนักศึกษา การเรียนหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี โดยไม่ต้องเรียนปีที่ 5 และได้เริ่มทำงานก่อน 1 ปี หากได้รับการบรรจุเป็นครูจะได้รับเงินเดือนๆละ 15,050 บาท รวมปีละ 180,600 บาท ต่อ 1 คน
จากการเปรียบเทียบผลดีและผลเสียข้างต้น การมีหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี และหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี จึงเป็นทางเลือกของผู้ผลิต (producer) คือสถาบัน และผู้บริโภค (consumer) คือนิสิตนักศึกษา และผู้ปกครอง
ส่วนคุณภาพบัณฑิตของปริญญาตรีทั้งสองหลักสูตร จะถูกกำกับมาตรฐานด้วยการทดสอบของคุรุสภา เพื่อการรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ด้วยข้อทดสอบมาตรฐานเดียวกัน
2. นิสิตนักศึกษาหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี จะเสียเปรียบนิสิตนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี สาขาอื่น ที่มีความประสงค์จะประกอบอาชีพครูภายหลังสำเร็จการศึกษาหลักสูตร 4 ปี สามารถเรียนหลักสูตรปริญญาโท 2 ปี รวมเวลาเรียน 6 ปี ในขณะที่ผู้เรียนหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี ถ้าเรียนหลักสูตรปริญญาโท 2 ปี จะต้องใช้เวลาเรียนรวม 7 ปี และหากผู้เรียนหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี ไม่สามารถเข้าสู่วิชาชีพครู ต้องเข้าสู่ตำแหน่งงานอื่น จะได้รับอัตราเงินเดือนเท่ากับ ปริญญาตรี 4 ปี คือ 15,050 บาท เท่านั้น
ส่วนความกังวลว่า จะทำหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี ไม่ทันเปิดเรียนปีการศึกษา 2562 เนื่องจากยังไม่มีเกณฑ์รับรองปริญญาของคุรุสภาของคุรุสภา และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ของ สกอ. นั้น ผู้เขียนพบข้อมูลเกี่ยวกับการใช้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ดังนี้
"ประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ (อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 (7) และมาตรา 20(1)) แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและ บุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546) ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 13 กรกฎาคม 2549 เล่ม 123 ตอนที่ 66 ง" ได้ประกาศใช้ภายหลังจากที่มีหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี ที่เปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 คือประกาศใช้หลังการเปิดสอนตามหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปีแล้ว 2 ปี ส่วนประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี) ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม 2554 ได้ประกาศใช้ภายหลังที่มีหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี ที่เปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 โดยประกาศใช้หลังการเปิดสอนตามหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี แล้ว 7 ปี
กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้ง 2 ฉบับ ข้างต้น มีการประกาศใช้บังคับ ภายหลังการเปิดรับนิสิตนักศึกษาหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี แล้ว 2 ปี และ 7 ปี ตามลำดับ
ดังนั้น หากรัฐบาลมีนโยบายที่จะให้เปิดหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี ปีการศึกษา 2562 ก็สามารถทำได้ โดยจัดทำหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี คู่ขนานไปกับการออกกฎหมายทั้ง 2 ฉบับของคุรุสภา และ สกอ. ส่วนหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี ก็ใช้ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิเดิม หรือหากต้องการจะปรับปรุงกรอบมาตรฐานคุณวุฒิใหม่ ก็สามารถทำได้คู่ขนานกันไปเช่นกัน
ส่วนการกำหนดโครงสร้างหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี ก็ควรต้องครอบคลุมมิติของการผลิตครูคุณภาพ ด้านเนื้อหา (knowledge) ด้านความเป็นครู (pedagogy) ด้านการสอน (didactic) ด้านการวิจัย (research) ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี (innovation & technology) ด้านการฝึกประสบการณ์ในโรงเรียนแต่ละปีการศึกษา (schooling experience, teaching assistance, practicum 1 & 2) ด้านการรู้เรื่องทางภาษาอังกฤษ (english literacy) ด้านกิจกรรมการเรียนในรายวิชา และด้านกิจกรรมเสริมความเป็นครู เพื่อเพิ่มทักษะด้านความรู้ (Hard Skills) และทักษะด้านอารมณ์ (Soft Skills) สู่การมีสมรรถนะ (competency) วิชาชีพครู
ด้วยเหตุผล 5 ประการ ข้อดีข้อเสีย และความเห็นประกอบข้างต้น ผู้เขียนจึงสนับสนุนความคิด ให้มีทั้งหลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี และหลักสูตรครูปริญญาตรี 5 ปี ส่วนสถาบันใดจะผลิตครูหลักสูตรแบบใดหรือผลิตครูหลักสูตรทั้งสองแบบ ตามความแตกต่างของวิชาเอกก็เป็นไปตามความเชื่อและปรัชญาการผลิตครูของสถาบันนั้นๆ โดยแต่ละฝ่ายไม่ควรปิดกั้นความเชื่อผู้อื่นด้วยความเชื่อของตนเอง
เกี่ยวกับผู้เขียน: รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก เป็นคณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
| ['บทความ', 'สังคม', 'การศึกษา', 'สมบัติ นพรัก', 'หลักสูตรครูปริญญาตรี 4 ปี', 'คุรุสภา', 'สกอ.'] |
https://prachatai.com/print/79294 | 2018-10-25 10:58 | พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์: “อเมริกันจิม เวบบ์โมเดล”&ไทยแลนด์ | ไม่ว่าจะพยายามที่จะเป็นประชาธิปไตยแบบฉบับไทยๆ กันมากเพียงใดก็ตาม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ไทย เป็นประเทศหนึ่งในจำนวนประเทศจำนวนมากทั่วโลก และเรามีสมบัติของความเป็นมนุษย์เหมือนกับคนทั้งโลก มีเลือดเนื้อ มีความรู้สึกทุกข์ รู้สึกสุข ร้อนหนาวเหมือนมนุษย์ทุกคนบนโลกนี้
นี่คือความเป็นสากลของความเป็นมนุษย์ที่เหมือนกัน ซึ่งก็คงพิสูจน์ได้ในที่สุดว่า ความพยายามใดๆ ในการยึดกุมอำนาจประชาชน ท้ายที่สุดก็คงจะไม่เป็นผล อย่างเช่น การกระทำหรือความพยายามของคสช. ณ เวลานี้ ท้ายที่สุดก็จะประสบกับความล้มเหลวและปลาสนาการไป ประวัติศาสตร์โลก ได้บอกกล่าวเราไว้มากกมายหากจะย้อนกลับไปดู
อำนาจนิยมมิอาจอยู่ทนทาน การปรองดอง สมัครสมานสามัคคีอยู่ร่วมกันอย่างสันติ คือ สิ่งที่มนุษย์คาดหวัง มนุษย์ได้พยายามค้นหาแนวทางปรองดองดังกล่าว จนกลายเป็นฉันทามติของสังคม อย่างแรก คือกติกาประชาธิปไตย อย่างที่สอง คือการเคารพต่อความแตกต่างหลากหลาย ท่ามกลางกระแสทุนนิยม
ท้ายที่สุดมันได้พิสูจน์ให้เห็นว่า นวัตกรรมหรือธุรกิจต่างๆ จะอยู่ได้ ก็ด้วยความแตกต่างจากคนอื่น โลกยุคดิจิตัล 4.0 จึงเต็มไปด้วยความหลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้คนเป็นตัวของตัวเอง วิถีชีวิตและหลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นวัตรปฏิบัติของมนุษย์กำลังเปลี่ยนไป อย่างไม่มีวันหวนคืน ความหลากหลายและเสรีภาพนี้เองเป็นตัวสร้างนวัตกรรม
การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมตามแบบวิถีประชาธิปไตยคือแนวทางหนึ่งที่ได้รับการยอมรับและพิสูจน์แล้วว่า เป็นวิธีการที่ทำให้คนในสังคมอยู่ด้วยกันอย่างสันติ ความขัดแย้งที่รุนแรงมีน้อย
ในโลกสมัยใหม่นี้ อเมริกาเป็นผู้นำทางด้านแนวทางเสรีประชาธิปไตย และอเมริกายังคงเดินหน้า โปรโมททุนนิยมเสรีประชาธิปไตยเหมือนเมื่อยุคหลายสิบปีมาแล้ว
รัฐบาลอเมริกันซึ่งนิยมประชาธิปไตย จึงรู้ไส้รู้พุงรัฐบาลไทยเป็นอย่างดีตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร หรือมาจากการเลือกตั้ง
การรัฐประหารที่นำประเทศเดินย้อนยุคได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เป็นการนำประเทศเดินย้อนยุคและค่อนข้างไร้ค่าในสายตาของตะวันตก ด้วยเหตุนี้ แทนที่จะไปหาผู้นำประเทศ (หรือคือผู้นำรัฐประหาร) ของไทย นายกลิน ที. เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย จึงเลือกเข้าพบผู้บริหารและแกนนำพรรคเพื่อไทยในโอกาสพ้นตำแหน่ง โดยเอกอัคราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย พร้อมกับระบุว่า ได้เน้นย้ำความสำคัฐของการที่ประเทศไทยจะก้าวไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย หวังว่าจะนำไปสู่การเลือกตั้งในเร็ววัน และหวังว่าคนไทยจะได้เลือกรัฐบาลอย่างเสรี (https://voicetv.co.th/read/S17FwgFt7 [1])
หมายความว่ารัฐบาลอเมริกันรู้ว่าอะไรเกิดขึ้น อะไรเป็นอะไรในเมืองไทย รัฐบาลอเมริกันไม่ทิ้งเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่มีประเทศไทยเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในภูมิภาค การณ์นี้มิใช่ไทยเป็นบัพเฟอร์โซนระหว่างจีนกับสหรัฐฯ แต่ไทยยังเป็นพันธมิตรประชาธิปไตยและเป็นแนวร่วมเชิงสิทธิมนุษยชนของภาคีเครือข่ายประเทศโลกตะวันตก อาการตีสองหน้ามิใช่เรื่องแปลกของฝ่ายอเมริกันที่เคยทำพฤติกรรมที่ว่านี้ในพม่ามาก่อน ก่อนหน้าพม่าจะเปลี่ยนประเทศเป็นประชาธิปไตยดังปัจจุบัน
เป็นวิธีการเดียวกันกับ “จิม เวบบ์โมเดล” นั่นเอง (จิม เวบบ์ เป็นสว.อเมริกัน รัฐเวอร์จิเนีย) โดยต้องไม่ลืมว่าในช่วงสองทศวรรษมานี้ สหรัฐฯ มีการแทรกแซงการเมืองประเทศกลุ่มละตินอเมริกาน้อยลงไปมาก อาจเป็นด้วยปัญหาเศรษฐกิจรัดตัว outsource คู่สัญญาต่างๆ ที่เคยรับงานรัฐบาลอเมริกันในละตินอเมริกาหรืออเมริกากลางต่างเพิกถอนดีลธุรกิจในภูมิภาคนี้ไปหากินยังประเทศตะวันออกกลางและยุโรปตะวันออกเสียมากกว่าแล้ว
เครือข่ายดังกล่าวเชื่อมโยงธุรกิจล็อบบี้ยีสต์ในสหรัฐโดยตรง จึงกระทบต่อธุรกิจล็อบบี้โดยตรง ซึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอง ก็นับว่าธุรกิจล็อบบี้ของอเมริกันได้รับผลกระทบอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะจากสถานการณ์ในเวียดนาม กัมพูชา หรือแม้แต่พม่า นี้เท่ากับปลดเส้นทางทำมาหากินของนักล็อบบี้ที่ตามปกติแล้วมักเข้าหานักการเมืองฝ่ายรัฐบาลหรือแม้แต่ฝ่ายค้าน โดยรวมก็คือ ผ่านนักการเมือง นั่นเอง
ธุรกิจล็อบบี้เป็นงานที่ถูกต้องตามกฎหมายอเมริกัน สำหรับประเทศไทย ช่วงการครองอำนาจของ คสช. เป็นยุคทมิฬมืดของล็อบบี้ยีสต์อเมริกัน ดีลการซื้อขายยุทโธปกรณ์ของอเมริกันไม่ค่อยได้เกิดขึ้นมากนัก บริษัทยุทโธปกรณ์อเมริกันแทบไม่เคยมีโอกาสแข่งขันตามแนวตลาดเสรีจากกฎกติกาแบบแฟร์ๆ ของไทย หากแต่ผู้ที่ได้ดีลไป กลับเป็นดีลลักษณะคอนเนกชั่นส่วนตัวของ“ขาใหญ่” ของทั้งสองประเทศคือไทยและสหรัฐฯ
ประจวบกับช่วงหลังที่ไทยหันหน้าไปหาจีน จึงทำให้แทบไม่เกิดดีลใดๆ ในธุรกิจค้ายุทธภัณฑ์ระหว่างไทยกับบริษัทอเมริกันเลย นี้ยังรวมถึงดีลสินค้าเชิงโครงการขนาดใหญ่ของรัฐด้วย บริษัทอเมริกันตกอยู่ในสภาพสูญเสีย วงการล็อบบี้ยิสต์ที่แคปิตัลฮิลล์ชะงักไปพักใหญ่ๆ แล้ว
ธุรกิจล็อบบี้ เป็นงานปกติของเอกชนอเมริกัน ในช่วงนักการเมืองไทยเรืองอำนาจ พวกเขายังได้รับอานิสงส์กันอยู่บ้างจากนักการเมืองและนักธุรกิจไทยที่เข้าใจกลเกมของงานล็อบบี้ อันนี้ไม่ใช่ความผิดของนักการเมืองไทยหรือพวกอเมริกันล็อบบี้ยีสต์แต่อย่างใด เพราะมันเป็นงานรูทีนที่แสนจะธรรมดาๆ หากแต่รัฐบาลชุดปัจจุบัน ไม่มีความเข้าใจเรื่องงานล็อบบี้ในสหรัฐฯ เอาเลยมากกว่า อาการหรือภาวะกดดันจากฝ่ายการเมืองอเมริกันจึงออกมาแบบโจ่งครึมแบบนี้ นั่นคือเป็นการกระทำอย่างอิสระของคนของรัฐบาลอเมริกันอย่างนายกลิน ที เดวีส์ เอกอัครชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย นั่นเอง
เพราะฝ่ายอเมริกันเชื่อว่า ดีลกับนักการเมืองไทยนั้นได้ใจกว่าคนของรัฐบาลคสช. ที่แทบไม่เข้าใจกระบวนงานล็อบบี้ในอเมริกาเอาเลย “จิม เว็บบ์โมเดล”จึงถูกนำมาใช้อีกครั้งหลังจากใช้โมเดลนี้ที่พม่าจนได้ผลสำเร็จมาแล้วก่อนหน้านี้
และก็น่าคิดว่า แนวทางของท่านเอกอัคราชทูต กลิน ที เดวีส์ (ที่บุกไปเจอแกนนำพรรคเพื่อไทย) เป็นเพียงบันใดขั้นแรกของการสร้างแรงกดดันของรัฐบาลอเมริกันต่อรัฐบาลเผด็จการทหารของไทย ถ้าตามขั้นตอนของ “จิม เว็บบ์โมเดล”แล้วหลังจากนี้ นักการเมืองอเมริกันหรืออเมริกันคองเกรสคนสำคัญๆ จะเริ่มทยอยเดินทางไปเหยียบแผ่นดินสยาม กันมากขึ้น เช่น ต่อไปอาจไปเจอกับทีมของพรรคอนาคตใหม่อย่างธนาทร เป็นต้น ขอให้จับตาดูดีๆ จนกว่าสยามประเทศจะเดินหน้าเข้าสู่โหมดการเลือกตั้งอีกครั้ง
ขอย้ำว่า ขั้นตอนหรือกระบวนการที่ว่านี้เป็นขั้นตอนหรือจารีตการเมืองอเมริกันตามปกติ งานล็อบบี้นั้นเดินตามจารีตทุนปกติของอเมริกันอยู่แล้ว เป็นพลังขับเคลื่อนในรูปแบบธรรมดา ไม่ใช่รูปแบบใหม่ๆ แต่อย่างใด ใครๆ ซึ่งเป็นกลุ่มผลประโยชน์ในไทยใดๆ ก็ตาม สามารถเข้าถึงได้
พลังผลักดันโดยทุนจารีตการเมืองอเมริกันแบบนี้ จึงอาจได้ชื่อว่า เป็นพลังสำคัญที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยในอนาคต กล่าวคือ ผลักดันเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยแบบสากล (ที่ไม่ใช่รูปแบบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่กลุ่มคสช.มักอ้างอยู่เสมอๆ)
ปฏิกิริยาในเบื้องแรกของ กลิน ที เดวีส์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย จึงไม่ควรถูกมองข้าม หากแต่ต้องจับตาดูกันดีๆ นับแต่นี้...
| ['บทความ', 'การเมือง', 'ต่างประเทศ', 'พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์'] |
https://prachatai.com/print/79295 | 2018-10-25 11:52 | ศาลสั่งลดเงินค่าเสียหาย-ชดเชย กรณี 'ราวน์อัพ' ก่อมะเร็งชายชาวแคลิฟอร์เนีย | ผู้พิพากษาศาลแคลิฟอร์เนียตัดสินให้มอนซานโตยังมีความผิดกรณียาฆ่าหญ้า 'ราวน์อัพ' ก่อมะเร็งต่ออดีตคนงานดูแลสนามหญ้า แต่ก็สั่งลดเงินค่าชดเชยและค่าเสียหาย 211 ล้านดอลลาร์ ทนายผู้เสียหายระบุ ถึงการปรับลดเงินค่าเสียหายจะไม่เป็นธรรม แต่ก็ยินดีที่ศาลไม่ยอมรับข้อเรียกร้องของมอนซานโตให้มีการพิจารณาคดีใหม่อีกครั้ง
ข้อมูลจากสื่อประชาสัมพันธ์ของมอนซานโตระบุว่าเริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์ราวด์อั้พมาตั้งแต่ทศวรรษ 1970 (ที่มา: YouTube/Monsanto Company [1])
25 ต.ค. 2561 จากกรณีของเดอเวย์น จอห์นสัน อดีตคนดูแลสนามหญ้าผู้สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการทำให้บรรษัทเคมีภัณฑ์ยักษ์ใหญ่อย่างมอนซานโตจ่ายค่าเสียหายกรณียาฆ่าหญ้าก่อมะเร็งได้ มอนซานโตพยายามเรียกร้องให้ศาลเปิดการพิจารณาคดีนี้ใหม่อีกครั้งหลังจากที่เมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมาศาลแคลิฟอร์เนียสั่งปรับพวกเขาทั้งค่าชดเชยและค่าเสียหายรวม 289 ล้านดอลลาร์ (ราว 9,500 ล้านบาท)
เมื่อวันที่ 22 ต.ค. ที่ผ่านมา ผู้พิพากษาศาลในแคลิฟอร์เนียยังคงคำตัดสินเดิมเอาไว้ แต่มีการปรับลดค่าชดเชยและค่าเสียหายลงรวมแล้วเหลือ 78 ล้านดอลลาร์ (ราว 2,500 ล้านบาท) ก่อนหน้านี้คณะลูกขุนได้ขอให้ผู้พิพากษาศาลสูงจากซานฟรานซิสโก ซูซานน์ โบลานอส เคารพในคำตัดสินเดิมเมื่อเดือน ส.ค. หลังจากที่มอนซานโตขอให้มีการพิจารณาคดีใหม่
ยื่นฟ้อง 'ราวด์อัพ' ก่อมะเร็ง ศาลแคลิฟอร์เนียตัดสินให้จ่ายค่าเสียหาย-ชดเชย [1]
ทนายความและโฆษกประจำตัวของจอห์นสัน โจทก์ผู้ยื่นฟ้องเปิดเผยว่า ถึงแม้การปรับลดเงินชดเชยและเงินค่าเสียหายลงจะเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผล แต่พวกเขาก็ยินดีที่ศาลยังคงไม่เปลี่ยนแปลงคำตัดสินเดิม โดยที่ทีมของจอห์นสันจะพิจารณาว่าจะเคลื่อนไหวต่อไปอย่างไร
ทางด้านนักวิจารณ์มอนซานโตอย่างสมาคมผู้บริโภคออร์แกนิคแสดงความยินดีที่ผู้พิพากษาไม่กลับคำตัดสินเช่นกัน
หนึ่งในผลิตภัณฑ์ยี่ห้อราวน์อัพ (ที่มา: flickr/David Mulder [2])
ถึงแม้ว่ามอนซานโตจะเคยแถลงว่ายากำจัดวัชพืชของพวกเขา "ปลอดภัยถ้าหากใช้งานตามที่กำกับไว้" แต่รัฐแคลิฟอร์เนียและองค์กรเพื่อการวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์การอนามัยโลก (WHO) ก็จัดให้สารไกลโฟเซตซึ่งเป็นวัตถุดิบของราวน์อัพมีความเป็นไปได้ที่จะก่อมะเร็งในคน อย่างไรก็ตามฝ่ายกำกับดูแลของประเทศตะวันตกก็ยังคงอนุญาตให้เกษตรกรใช้ยากำจัดวัชพืชตัวนี้
ทีมทนายของจอห์นสันกล่าวว่าพวกเขาคณะลูกขุนในการพิจารณาคดีครั้งนี้ "ทำตามกฎหมายโดยตรงตามตัวอักษร" และพวกเขายินดีที่ผู้พิพากษารับฟังเสียงของคณะลูกขุนถึงแม้ว่าจะถูกปิดกั้นไปบ้าง นอกจากนี้ ทีมทนายยังบอกอีกว่าพวกเขากำลังพิจารณาในเรื่องที่มีการลดเงินค่าชดเชยและค่าเสียหายว่าจะมีการเสนอเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้หรือไม่
ทางด้านเบเยอร์ บริษัทเคมีภัณฑ์จากเยอรมนีที่ควบรวมกิจการของมอนซานโตเมื่อไม่นานนี้แถลงว่าการพิจารณาของศาลเป็นไปทิศทางที่ถูกต้องแล้ว แต่พวกเขาก็ยังเชื่อว่าคำตัดสินลงโทษพวกเขา "ได้รับการเกื้อหนุนโดยหลักฐานที่เสนอในที่พิจารณาคดี" หรือเป็นไปตามกฎหมาย นอกจากนี้พวกเขายังมีแผนที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์แคลิฟอร์เนียต่อไป
สื่อคอมมอนดรีมส์ระบุว่า ไม่ว่าผลในขั้นสุดท้ายจะออกมาเป็นอย่างไรก็ตามแต่คดีของจอห์นสันถือเป็นครั้งแรกที่เปิดให้ผู้ป่วยมะเร็งเรียกร้องความรับผิดชอบจากบรรษัทเคมีภัณฑ์ได้ ในเดือน ก.ค. ที่ผ่านมาผู้พิพากษาจากทางการกลางของสหรัฐฯ ระบุว่าจะมีการพิจารณาคดีที่คล้ายกันอีกจำนวนมาก องค์กรไรท์ทูโนวของสหรัฐฯ เปิดเผยว่ามีกรณีโจทก์ฟ้องร้องในเรื่องที่ผลิตภัณฑ์ทำให้คนป่วยราว 8,000 กรณี
จอห์นสัน เคยให้สัมภาษณ์ต่อสื่อก่อนหน้านี้ว่าเขาหวังว่ามอนซานโตจะเข้าใจถึงสิ่งที่จะสื่อถือการที่คนอเมริกันและคนทั่วโลกไม่ได้ขาดความรู้อีกต่อไปแล้ว พวกเราสามารถค้นหาข้อมูลเองได้ และเขาหวังว่าเรื่องนี้จะส่งผลสะเทือนทำให้ผู้คนใส่ใจถึงสิ่งรอบตัวว่ามีอะไรปนเปื้อนอยู่ในสิ่งที่พวกเขากิน รวมถึงสิ่งที่พวกเขาฉีดพ่นในฟาร์ม
เรียบเรียงจาก
Judge Upholds Landmark Monsanto Verdict, But Slashes Punitive Damages by $211 Million, Common Dreams [3], Oct. 23, 2018
| ['ข่าว', 'คุณภาพชีวิต', 'ต่างประเทศ', 'สิ่งแวดล้อม', 'เดอเวย์น จอห์นสัน', 'มอนซานโต', 'ราวด์อัพ', 'ยาฆ่าหญ้า', 'ยากำจัดศัตรูพืช', 'สารก่อมะเร็ง', 'ไกลโฟเสต', 'แคลิฟอร์เนีย', 'สหรัฐอเมริกา'] |