text
stringlengths 3
4.46k
| image
imagewidth (px) 1.13k
1.6k
|
---|---|
มรด. 6 : 2566
ระยะที่ 3 การจัดทำแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล
กรณีศึกษา หน่วยงานที่ 1: หน่วยงานดำเนินการตามหลักและแนวปฏิบัติตามนโยบายธรรมาภิบาลข้อมูล ควบคู่ไปกับหลักและแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- กำหนดแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลสำนักงาน โดยแสดงแนวปฏิบัติตามวงจรชีวิตข้อมูล (Data Life Cycle) เพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติควรจัดทำในรูปตาราง เช่น ตารางการจัดเก็บข้อมูล ประเภทข้อมูลและระดับชั้นข้อมูล รวมถึงการพัฒนาเครื่องมือประเภท รายการตรวจสอบ (Checklist) เพื่อใช้กำกับการบริหารจัดการข้อมูล ตาม Subject Area ของหน่วยงาน
- กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องตาม Subject Area ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละกลุ่มมีบทบาทหน้าที่ในขั้นตอนการบริหารจัดการข้อมูลไม่เหมือนกัน
- กำหนดการจัดระดับชั้นข้อมูล (Data classification) และมาตรการควบคุมการเข้าถึงข้อมูล (Data Access Control) โดยจำแนกตามประเภทของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าของข้อมูล / ผู้บังคับบัญชาเจ้าของข้อมูล / บุคคลที่ได้รับมอบหมาย / ผู้ใช้งานภายใน
- กำหนดมาตรฐานระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูล (Data retention) โดยเริ่มจากการจัดกลุ่มและแบ่งประเภทของข้อมูล เพื่อกำหนดระยะเวลาจัดเก็บข้อมูลและกำหนดการทำลายข้อมูล
- ควบคุมความเสี่ยงและบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง เช่น คุณภาพข้อมูล กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดแนวทางในการใช้ข้อมูลและข้อพึงระวังของพนักงาน (Conduct and Awareness)
> เกร็ดความรู้: หน่วยงานมีการจัดทำรายการตรวจสอบ (Checklist) เพื่อประเมินว่า ผู้ปฏิบัติงานมีการดำเนินการตามขั้นตอนหรือไม่ ซึ่งรายการตรวจสอบจะต้องสอดคล้องกับทั้งนโยบายและแนวปฏิบัติธรรมาภิบาลข้อมูล และควบคู่ไปกับหลักและแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
กรณีศึกษา หน่วยงานที่ 2: หน่วยงานมีระบบงานจำนวนมาก มีความซับซ้อน และข้อมูลมีปริมาณมาก จึงต้องหาส่วนงานผู้รับผิดชอบหลัก ซึ่งได้แก่ฝ่ายสารสนเทศ เนื่องจากเป็นผู้ดูแลระบบงานสารสนสนเทศของหน่วยงาน
- กำหนดระบบงานที่มีความสำคัญ เพื่อพิจารณาชุดข้อมูลที่มีการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
- กำหนดข้อมูลชุดที่สำคัญและเลือกมาจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล เพื่อตอบโจทย์กลยุทธ์ด้านองค์กร และเพื่อให้ข้อมูลมีการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี
- กำหนดคณะทำงานในรูปแบบ Agile (ต่อไปจะเรียกว่า ทีม Agile ) ที่ประกอบด้วยเจ้าของข้อมูล และฝ่ายสารสนเทศ ซึ่งต้องมีการประชุมเพื่อรายงานผลและปรับปรุงแนวปฏิบัติทุก 1 เดือน
- สำรวจความพร้อมด้านธรรมาภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงาน โดยทีม Agile
- กำหนดแนวปฏิบัติด้านการบริหารจัดการข้อมูลตามวงจรชีวิตข้อมูล พร้อมระบุหน้าที่ของผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน ประกอบด้วย
- การกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล
- การจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัล
- การจัดทำมาตรฐานข้อมูล (Data Standard)
- การจัดทำ Data Dictionary
- 70 - | |
มรด. 6 : 2566
- การรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- การควบคุมคุณภาพข้อมูลตลอดวงจรชีวิตข้อมูล
- การเชื่อมโยงข้อมูล
- การวัดคุณภาพและกำกับดูแลข้อมูลและรายงานผล
• เวียนแนวปฏิบัติให้หน่วยงานเจ้าข้อมูลทราบ พร้อมสอบถามปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ
ต่าง ๆ เพื่อนำไปปรับปรุงแนวปฏิบัติให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
> เกร็ดความรู้: ในช่วงแรกของการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล หน่วยงานควรเริ่มจากการทำแนวปฏิบัติการ
> บริหารจัดการชุดข้อมูลสำคัญก่อน เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐสำหรับชุด
> ข้อมูลอื่นต่อ ๆ ไป อย่างไรก็ดี ในกรณีที่หน่วยงานมีระบบงานและข้อมูลมีปริมาณมาก ผู้ปฏิบัติงานจึงไม่
> สามารถเลือกชุดข้อมูลที่สำคัญได้ หน่วยงานควรเริ่มจากการคัดเลือกบริการ/ระบบงานที่สำคัญ หรือ
> สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านข้อมูลของหน่วยงาน และคัดเลือกชุดข้อมูลที่สำคัญในบริการ/ระบบงานนั้น
> ๆ จากนั้นจึงกำหนดเจ้าของข้อมูล ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดแนวทางหรือการดำเนินงานด้าน
> ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ระยะที่ 4 การนำร่องกับหน่วยปฏิบัติภายใน
กรณีศึกษา หน่วยงานที่ 1: หน่วยงานเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติการภายในหน่วยงาน โดยจัดให้มี
ผู้แทนฝ่ายงานเป็นผู้ประสานงานในเรื่องกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐกับบุคลากรในหน่วยงาน
• กำหนดวันที่มีผลและประกาศใช้พร้อมกันทั้งหน่วยงาน
• จัดอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรทั้งหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมความ
พร้อมในการปฏิบัติตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และหลักและแนวปฏิบัติที่กำหนด
• จัดให้มีผู้แทนฝ่ายงานเป็นผู้ประสานงานในเรื่องกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และข้อมูล
ส่วนบุคคล ในการบริหารจัดการข้อมูลของฝ่ายงาน โดยจัดอบรมซักซ้อมในรายละเอียดให้แก่ผู้ประสานงาน
เพื่อให้มีความพร้อมสำหรับให้ความช่วยเหลือพนักงานในฝ่าย กรณีที่มีคำถาม/ข้อสงสัยในทางปฏิบัติ
• จัดทำขั้นตอนปฏิบัติในรายละเอียดในเรื่องที่มีความสำคัญ เพื่อช่วยสร้างความชัดเจนในการ
ปฏิบัติตามหลักของกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และแนวปฏิบัติ
• ประสานฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจัดเตรียมเครื่องมือช่วยในการปฏิบัติตามกรอบธรร
มาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
• สร้าง Portal เป็นศูนย์รวมเรื่องเกี่ยวกับกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และการคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคล (PDPA)
> เกร็ดความรู้: การมีผู้ประสานทำให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจในหน้าที่ของตนเองที่ได้รับมอบหมาย
> จึงสามารถดำเนินการได้รวดเร็ว เนื่องจากมีการกำหนดทีมรับผิดชอบที่ชัดเจน ทำให้เห็นภาพรวมของชุด
> ข้อมูลทั้งหมดได้
- 71 - | |
มรด. 6 : 2566
กรณีศึกษา หน่วยงานที่ 2: หน่วยงานมีการสร้างความตระหนักรู้ด้านการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
โดยนำหลักการ Agile มาประยุกต์ใช้
- จัดหลักสูตรอบรมเรื่อง การจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ โดยแบ่งเป็น 3 หลักสูตร ได้แก่
หลักสูตรผู้บริหาร หลักสูตรเจ้าของข้อมูลและผู้ใช้ข้อมูล หลักสูตรพนักงานทั่วไป
- จัดประชุมกับทีม Agile อย่างสม่ำเสมอ
- จัดทำคู่มือประกอบแนวปฏิบัติให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานรับทราบและเข้าใจแนว
ปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล
- ให้เจ้าของข้อมูลและผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวปฏิบัติ
- รวบรวมความเห็น ข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงแนวปฏิบัติต่อไป
> เกร็ดความรู้: หน่วยงานนำหลัก Agile มาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนธรรมาภิบาลข้อมูล โดยการแต่งตั้ง
> ทีม Agile และมอบให้ทีม Agile ไปร่วมจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลกับส่วนงานต่าง ๆ ของหน่วยงาน เพื่อ
> สร้างการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวที่รวดเร็ว ซึ่งเหมาะกับการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่องของแต่ละฝ่ายงานที่
> มีวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน
ระยะที่ 5 การติดตามผลและการปรับปรุงผลการดำเนินงาน
กรณีศึกษา หน่วยงานที่ 1: หน่วยงานมีการกำหนดให้การวัดคุณภาพข้อมูลเป็นมิติหนึ่งในตัวชี้วัด
ความเสี่ยง (Risk Indicator) เพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านคุณภาพข้อมูลให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน
- มีการทำ Data Validation กับหน่วยงานเจ้าของข้อมูล เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
- การประเมินคุณภาพข้อมูล โดยใช้ Control Self-Assessment ที่หน่วยงานกำหนด
- กำหนดให้มีรอบการทบทวนความเหมาะสมของการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ทุกปี
โดยพิจารณาจากปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติ และการพัฒนากฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดให้การวัดคุณภาพข้อมูลเป็นมิติหนึ่งในตัวชี้วัดความเสี่ยง (Risk Indicator) เพื่อเป็น
เครื่องมือในการติดตามคุณภาพข้อมูล ซึ่งจะมีการวัดผลและรายงานต่อผู้บริหารระดับสูงทุกไตรมาส
- ฝ่ายตรวจสอบภายในได้กำหนดแผนตรวจสอบภายในประจำปีที่ครอบคลุมการปฏิบัติตาม
การจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
> เกร็ดความรู้: เมื่อมีการตรวจสอบข้อมูลทั้งภายในและภายนอกกับหน่วยงานที่เชื่อถือได้ จะช่วยลด
> ระยะเวลาในการดำเนินงาน และได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ
- 72 - | |
มรธ. 6 : 2566
กรณีศึกษา หน่วยงานที่ 2: หน่วยงานมีการตรวจสอบคุณภาพตามชุดข้อมูล และเน้นกระบวนการเก็บ
ข้อเสนอแนะจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
- จัดทำรายการสิ่งที่ต้องทำ Checklist เพื่อตรวจสอบว่ามีการดำเนินการครบทุกขั้นตอนหรือไม่
- ประเมินผลขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ
- การประเมินคุณภาพข้อมูลตามชุดข้อมูล (DQA by DGA) เพื่อพิจารณาว่าข้อมูลที่มีอยู่ใน
ปัจจุบันมีความครบถ้วน สมบูรณ์หรือไม่
- รวบรวมข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการดำเนินการบริหาร
จัดการข้อมูล และพัฒนาคุณภาพข้อมูลต่อไป
- ศึกษาเครื่องมือ/ระบบการดำเนินการต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการ
ข้อมูลต่อไป
เกร็ดความรู้: ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลและการนำความเห็นมาปรับปรุงกระบวนการ
จากทั้งภายในและหน่วยงานภายนอก โดยมีการเก็บความเห็น/ข้อเสนอแนะและนำมาปรับปรุงอย่าง
ต่อเนื่อง
สรุป
เมื่อพิจารณาถึงแนวทางสู่การขับเคลื่อนการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลของตัวอย่างหน่วยทั้ง 2
หน่วยงานที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า รูปแบบในการขับเคลื่อนธรรมาภิบาลข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ
ได้แก่ 1) การดำเนินการจากฝ่ายบริหารหน่วยงาน โดยตั้งหน่วยงานกลางเฉพาะขึ้น มีที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่าง
ชัดเจน เพื่อแก้ปัญหาด้านข้อมูลทั้งหน่วยงานให้มีทิศทางและมาตรฐานเดียว (Top-Down) 2) การดำเนินงาน
จากฝ่ายงานในหน่วยงาน (Bottom-UP) โดยเริ่มการขับเคลื่อนจากฝ่ายงานภายในหน่วยงาน เน้นไปที่การมี
ส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล เพื่อแก้ปัญหาด้านข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะและการปรับปรุงกระบวนการ
อย่างสม่ำเสมอ โดยทั้งสองรูปแบบนั้นได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพข้อมูล เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์
รูปแบบในการทำธรรมาภิบาลข้อมูลแบบไหนที่เหมาะสมกับหน่วยงาน หรือควรเริ่มต้นอย่างไร คำถาม
ที่เกิดขึ้นเหล่านี้สามารถหาคำตอบได้ด้วยการลงมือทำจริง โดยตามทฤษฎีนั้นการเริ่มต้นทำธรรมาภิบาลข้อมูล
ต้องเริ่มจากกำหนดกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลและบริกรข้อมูล กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ และจัดทำ
แนวนโยบาย ซึ่งเป็นสิ่งแรกก็จริง แต่เป็นเพียงขั้นตอนเริ่มต้นในการขับเคลื่อนธรรมาภิบาลข้อมูลเท่านั้น แต่สิ่งที่
สำคัญที่สุด นั่นคือการกำหนดเป้าหมายด้านข้อมูล เพื่อให้เห็นประโยชน์จากการนำข้อมูลที่มีไปใช้งาน โดยทุก
คนในหน่วยงานได้มีส่วนร่วม ทำให้หน่วยงานสามารถเพิ่มมูลค่าและรายได้ให้กับหน่วยงาน อีกทั้งช่วยลดต้นทุน
ทำให้เกิดความมั่นใจในกระบวนการทำงานกับการจัดการความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับข้อมูล
บางครั้งการเริ่มต้นทำธรรมาภิบาลข้อมูลจากหน่วยงานของตนเองนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก
ทางเลือกนึงที่น่าสนใจสำหรับการเริ่มต้นนั้นคือการศึกษาตัวอย่างจากหน่วยงานภายนอกที่มีประสบการณ์ใน
การดำเนินการ เพื่อเป็นแบบอย่างในการทำธรรมาภิบาลข้อมูล ให้หน่วยงานสามารถศึกษาและทำความเข้าใจ
แล้วจึงนำไปพัฒนาหน่วยงานในรูปแบบของตัวเอง เพื่อสร้างแนวนโยบายและแนวปฏิบัติของหน่วยงาน เมื่อ
หน่วยงานมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการข้อมูล สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อใช้ให้เกิด
ประโยชน์ต่อหน่วยงาน ตลอดจนมีความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาด้านข้อมูล และรู้วิธีการจัดการกับปัญหานั้นได้
เมื่อนั้นก็จะเห็นถึงประโยชน์ของทำธรรมาภิบาลข้อมูลอย่างเป็นรูปธรรม
- 73 - | |
มรด. 6 : 2566
6. ภาคผนวก
ภาคผนวก ก บทบาท และความรับผิดชอบของผู้มีส่วนได้เสียกับข้อมูล
เพื่อให้หน่วยงานสามารถดำเนินการธรรมาภิบาลข้อมูลและบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างประโยชน์สูงสุด จึงมีการกำหนดบทบาท และความรับผิดชอบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับข้อมูลในแต่ละด้าน ดังนี้
ตารางที่: 11 บทบาท และความรับผิดชอบของผู้มีส่วนได้เสียกับข้อมูล
- 74 - | |
มรด. 6 : 2566
- 75 - | |
มรด. 6 : 2566
- 76 - | |
มรด. 6 : 2566
ภาคผนวก ข เครื่องมือในการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
เครื่องมือสำหรับการจัดทำนโยบายการบริหารจัดการข้อมูล (Data Management Policy Template)
- 77 - | |
มรด. 6 : 2566
เครื่องมือสำหรับการจัดทำแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล (Data Management Guideline Template)
- 78 - | |
มรด. 6 : 2566
เครื่องมือสำหรับการจัดระดับชั้นและการแบ่งปันข้อมูลภาครัฐ (Government Data Classification and Data Sharing Framework)
หลักเกณฑ์การจัดระดับชั้นและการแบ่งปันข้อมูลภาครัฐ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์พิจารณากำหนดระดับชั้นข้อมูลสำหรับทุกชุดข้อมูล (Dataset) ที่แลกเปลี่ยนกันได้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท ซึ่งรวมถึงข้อมูลลับในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐ โดยจะไม่ครอบคลุมเอกสารที่เป็นกระดาษทุกประเภท เพื่อเป็นเครื่องมือประกอบการใช้ดุลพินิจของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจกำหนดระดับชั้นข้อมูล ให้สามารถกำหนดการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลและกำกับดูแลข้อมูลที่มีความอ่อนไหวหรือข้อมูลที่มีการจัดระดับชั้นข้อมูลอย่างเหมาะสมเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล รวมทั้งกำหนดนโยบายการแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐโดยไม่ขัดต่อข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกันในการพัฒนาบริการและนวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในด้านต่าง ๆ
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: มสพร. 8-2565 ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดระดับชั้นและแบ่งปันข้อมูลภาครัฐ
รูปที่ 23: เครื่องมือการจัดหมวดหมู่และระดับชั้นข้อมูล
เครื่องมือการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ร่วมกับ สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) และสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลภาครัฐ (สวข.) ภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) จึงได้จัดทำ แนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ และแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำบัญชีข้อมูล (Data Catalog) พัฒนาระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog : GD Catalog) และขึ้นทะเบียนกับระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐกลางที่ได้มาตรฐานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: มรด. 3-1 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ และ มรด. 3-2 : 2565 มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ
- 79 - | |
มรด. 6 : 2566
*Mandatory Metadata*
รูปที่ 24: เครื่องมือการจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata)
เครื่องมือการประเมินความพร้อมของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance
Readiness Assessment)
การประเมินความพร้อมของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐจะทำให้เราได้ทราบถึงสิ่งที่เราได้ดำเนินการแล้ว
และสิ่งใดบ้างที่ควรจะดำเนินการต่อไป เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ระดับความ
พร้อมของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐถูกใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินความพร้อมของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
ซึ่งประกอบด้วย 5 ระดับดังนี้
- ระดับ 0 : None หมายถึง ไม่มีธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐหรือมีแต่ไม่ได้ดำเนินการอย่างเป็น
ทางการ นั่นคือ มีการดำเนินงานบางส่วนและไม่มีการประกาศให้ทราบอย่างเป็นทางการ
- ระดับ 1 : Initial หมายถึง ไม่มีการกำหนดมาตรฐานของกระบวนการ นั่นคือ กระบวนการถูก
กำหนดขึ้นมาเฉพาะกิจ (Adhoc) ทำให้แต่ละโครงการหรือบริการมีรูปแบบของกระบวนการที่
แตกต่างกัน และอำนาจในการจัดการและธรรมาภิบาลข้อมูลส่วนใหญ่ถูกดำเนินการโดยฝ่าย
เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายธุรกิจและฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศไม่
สอดคล้องกัน
- ระดับ 2 : Managed หมายถึง เริ่มมีการกำหนดมาตรฐานของกระบวนการเฉพาะแต่ละส่วนงาน
หรือบริการ และมีการกำหนดบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกำกับติดตาม เช่น บริกรข้อมูลและเจ้าของ
ข้อมูล
- ระดับ 3 : Standardized หมายถึง กระบวนการถูกกำหนดเป็นมาตรฐานของหน่วยงาน มีการ
กำหนดส่วนงานกลางในการกำกับและติดตามข้อมูล ซึ่งมาจากบุคคลด้านธุรกิจและเทคโนโลยี
สารสนเทศมีการบังคับใช้นโยบายข้อมูลครอบคลุมทั้งหน่วยงาน มีการติดตาม วิเคราะห์ และ
รายงานคุณภาพข้อมูลหรือความมั่นคงปลอดภัย
- 80 - | |
มรด. 6 : 2566
- ระดับ 4 : Advanced หมายถึง กระบวนการถูกกำหนดเป็นมาตรฐานของหน่วยงาน มีการกำหนดส่วนงานกลางในการกำกับและติดตามข้อมูล ซึ่งมาจากบุคคลด้านธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศมีการบังคับใช้นโยบายข้อมูลครอบคลุมทั้งหน่วยงาน มีการติดตาม วิเคราะห์ และรายงานคุณภาพข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัย
- ระดับ 5 : Optimized หมายถึง มีการดำเนินการสอดคล้องกับระดับ 4 วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (Root Cause) ประกอบไปด้วย ความไม่สอดคล้องในการปฏิบัติงานกับนโยบายข้อมูล (Non-Conformation) คุณภาพข้อมูลที่ต่ำ และความไม่คุ้มทุนในการบริหารจัดการข้อมูล โดยดำเนินการปรับปรุงกระบวนการ กฎเกณฑ์และนโยบายข้อมูล หรือโครงสร้างธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาที่พบจากผลการวิเคราะห์ และให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องและวัตถุประสงค์ที่เปลี่ยนไปของหน่วยงา
- 81 - | |
มรด. 6 : 2566
ตารางที่ 17 ระดับความพร้อมของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
- 82 - | |
มรด. 6 : 2566
เครื่องมือการประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
เครื่องมือการประเมินคุณภาพข้อมูลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐใช้ในการตรวจสอบและควบคุมการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ สามารถนำไปใช้ประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจในเชิงนโยบายและการดำเนินงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มคุณค่าในการให้บริการภาครัฐ และต่อยอดการพัฒนาของประเทศในมิติต่าง ๆ ได้ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้ข้อมูลภาครัฐ ประกอบด้วย
1) แบบตรวจประเมินคุณภาพ (DQA Checklist) เพื่อตรวจสอบกระบวนการเตรียมข้อมูลที่มีคุณภาพ สำหรับ ผู้ประเมินคุณภาพข้อมูล
2) แบบประเมินคุณภาพข้อมูลด้วยตนเอง (DQA Self-Assessment) เพื่อวัดผลลัพธ์ข้อมูล (Data Output) ตามมิติคุณภาพข้อมูล สำหรับ เจ้าของข้อมูล (Data Owner)
3) แบบตรวจประเมินการควบคุมและติดตามคุณภาพข้อมูล (DQC Checklist) ตามกระบวนการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ สำหรับ ผู้ประเมินคุณภาพข้อมูล / เจ้าของข้อมูล (Data Owner)
โดยใช้สำหรับประเมินคุณภาพข้อมูลในประเภทข้อมูลระเบียน (Record) และ/หรือ Tabular Format Data ที่อยู่ใน Database ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญและหน่วยงานภาครัฐมีการใช้งานเป็นประจำ เพื่อส่งเสริมให้มีการนำเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลไปปฏิบัติจริงในหน่วยงาน
คำแนะนำในการใช้งาน
1) ผู้ประเมินคุณภาพข้อมูลควรต้องทำความเข้าใจข้อเสนอแนะสำหรับดำเนินการประเมินคุณภาพข้อมูล และดำเนินการ กรอกรายละเอียดในรายงานคุณภาพ จากนั้นดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพข้อมูลตามรายการในแต่ละมิติของตัวชี้วัดใน DQA Checklist โดยสามารถนำผลจากประเมิน DQA Self-Assessment มาประกอบการตรวจประเมิน และใช้เป็นหลักฐานประกอบใน DQC Checklist
2) เจ้าของข้อมูล (Data Owner) ควรพิจารณาข้อมูลภาพรวมของหน่วยงาน และทำความเข้าใจ DQA Self-Assessment ในส่วนที่ 1 เกณฑ์และคำอธิบาย จากนั้นทำการประเมินคุณภาพข้อมูลในส่วนที่ 2 โดยกรอกค่าคะแนนในแต่ละมิติของตัวชี้วัด (Indicators) จากนั้นให้นำค่าคะแนนที่ได้จากการประเมินไปกรอกใน Sheet การแสดงผล ระบบจะประมวลผลตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพข้อมูลในแต่ละมิติ และจะแสดงผลในรูปแบบ Radar Graph ทั้งนี้ กรุณานำส่งผลการประเมินให้ผู้ประเมินคุณภาพข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตรวจประเมินคุณภาพข้อมูล
3) ผู้ประเมินคุณภาพข้อมูล / เจ้าของข้อมูล (Data Owner) ทำความเข้าใจคำชี้แจงและกรอก DQC Checklist ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ และเจ้าของข้อมูลกรุณาส่งกลับให้ผู้ประเมินผลภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อจัดทำรายงานสรุปผลการตรวจประเมินให้ผู้บริหารรับทราบและดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจัดการคุณภาพข้อมูลของหน่วยงานต่อไป
- 83 - | |
มรด. 6 : 2566
ภาคผนวก ค แนวคิดธรรมาภิบาลข้อมูลจากต่างประเทศ คงไว้
ในส่วนนี้อธิบายแนวคิดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นแนวทางใน
การจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
แนวคิดของ Data Governance Institute (DGI)
DGI (Thomas, 2009) เป็นหน่วยงานที่ให้แนวทางและแนวปฏิบัติในธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ โดย
หน่วยงานต่าง ๆ จากทั่วโลกสามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง DGI เสนอธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
ซึ่งมี 10 องค์ประกอบ และถูกจัดกลุ่มเป็น 3 หมวด ดังนี้
1) กฎเกณฑ์ (Rules of Engagement)
- องค์ประกอบที่ 1 วิสัยทัศน์และภารกิจ (Vision and Mission)
- องค์ประกอบที่ 2 เป้าหมาย การวัดธรรมาภิบาล/การวัดความสำเร็จ และยุทธศาสตร์การ
จัดหาเงินทุน (Goals, Governance Metrics / Success Measures, Funding Strategies)
- องค์ประกอบที่ 3 นิยามข้อมูลและกฎเกณฑ์ (Data Definitions and Rules)
- องค์ประกอบที่ 4 สิทธิในการตัดสินใจ (Decision Rights)
- องค์ประกอบที่ 5 ความสามารถในการตรวจสอบได้และการรับผิดชอบในผลของการ
ดำเนินการ (Accountabilities)
- องค์ประกอบที่ 6 การควบคุมความเสี่ยง (Control)
2) โครงสร้างธรรมาภิบาลและบุคลากร (People and Organizational Bodies)
- องค์ประกอบที่ 7 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Data Stakeholders) คือ บุคลากรของหน่วยงานที่มี
ส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูล เช่น บุคคลที่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูล ใช้ข้อมูล และกำหนดกฎเกณฑ์
และความต้องการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระดับบริหาร (Executive
Stakeholders) จะถูกกำหนดให้เป็นคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance
Council) เพื่อทำหน้าที่ดูแลภาพรวมของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ กำหนดนโยบายข้อมูล
และแก้ไขปัญหา
- องค์ประกอบที่ 8 สำนักงานธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Office) คือ กลุ่มคนที่
ทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนกลุ่มบุคคลอื่น ๆ ที่ดำเนินการเกี่ยวกับธรรมาภิบาลข้อมูล
ภาครัฐ เช่น สนับสนุนการสื่อสารระหว่างบุคคลในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลข้อมูล
ภาครัฐ สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งข้อมูล ให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
- องค์ประกอบที่ 9 บริกรข้อมูล (Data Stewards) คือ บุคคลที่อยู่ในคณะกรรมการบริกร
ข้อมูล (Data Stewardship Council) ทำหน้าที่ร่างนโยบายข้อมูล ระบุมาตรฐานที่จะใช้
และอาจให้คำแนะนำต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล
3) กระบวนการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (The Process of Governing Data)
- องค์ประกอบที่ 10 กระบวนการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ประกอบด้วย กำหนดเป้าหมาย
และยุทธศาสตร์ เตรียมแผนงาน วางแผนงานและงบประมาณ ออกแบบแผนดำเนินการ
ประกาศใช้แผนดำเนินการ ธรรมาภิบาลข้อมูล และติดตามการดำเนินงาน/วัดผลการ
ดำเนินงาน/รายงานผลการดำเนินงาน
- 84 - | |
มรด. 6 : 2566
แนวคิดของ Data Management Association International (DAMA International)
DAMA International (Henderson et al., 2017) เป็นองค์กรอิสระที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูล
เข้าด้วยกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาแนวคิด และแนวปฏิบัติใน
การบริหารจัดการข้อมูล โดยธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักของการบริหารจัดการ
ข้อมูล วัตถุประสงค์ของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เป็นการตรวจสอบเพื่อให้ทราบแน่ชัดว่าข้อมูลต่าง ๆ มีการ
บริหารจัดการอย่างถูกต้องตรงตามนโยบาย และแนวทางปฏิบัติอย่างดีที่สุด รวมถึงมีการปฏิบัติตาม
กฎระเบียบ ซึ่งธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐที่ดีต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน มุ่งเน้นการลดความ
เสี่ยง ทั้งด้านความปลอดภัยของข้อมูล รักษาความเป็นส่วนบุคคล หรือปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อให้
ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ สำหรับเป้าหมายของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อทำให้หน่วยงานสามารถบริหาร
จัดการข้อมูลในลักษณะของทรัพย์สินได้ โดยนำเสนอหลักการ นโยบาย กระบวนการ กรอบธรรมาภิบาลข้อมูล
และบริหารจัดการข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการข้อมูลทุกระดับ DAMA International ได้
กล่าวถึง โครงสร้างของบุคลากรที่รับผิดชอบในธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐและกระบวนการธรรมาภิบาลข้อมูล
ภาครัฐ ดังนี้
1) โครงสร้างของบุคลากรที่รับผิดชอบในธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ประกอบด้วย
- คณะกรรมการขับเคลื่อนธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance Steering
Committee) เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการขับเคลื่อนให้เกิดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ โดยมี
หน้าที่รับผิดชอบในธรรมาภิบาล สนับสนุน และระดมทุนของกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่
คณะกรรมการจะเป็นผู้บริหารระดับสูงของแต่ละหน่วยงานมาดำเนินงานร่วมกัน
- คณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Council) เป็นกลุ่มบุคคลที่ริเริ่ม
และยกระดับการบริหารจัดการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐภายในหน่วยงาน ซึ่งคณะกรรมการ
จะเป็นผู้บริหารจากฝ่ายงานต่าง ๆ ทั้งจากฝ่ายบริหารและฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศรวมไป
ถึงระดับหัวหน้างาน ทำหน้าที่จัดทำและตัดสินใจในเชิงนโยบาย
- สำนักงานธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Office) มีหน้าที่ในการนิยามข้อมูลและ
มาตรฐานข้อมูลในภาพรวมของทั้งหน่วยงาน โดยประสานงานกับบริกรข้อมูล (Data
Stewards) บริกรข้อมูลด้านเทคนิค (Technical Data Stewards) และเจ้าของข้อมูล (Data
Owner)
- ทีมบริกรข้อมูล (Data Steward Team) กลุ่มบุคคลที่มุ่งเน้นการดำเนินงาน และกำหนด
มาตรฐานในการบริหารจัดการตามองค์ประกอบของการบริหารจัดการข้อมูลอย่างน้อยหนึ่ง
องค์ประกอบ กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องประกอบไปด้วยบริกรข้อมูล (Data Stewards) บริกร
ข้อมูลด้านเทคนิค (Technical Data Stewards) และนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst)
- คณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงาน (Local Data Governance
Committee) ในหน่วยงานขนาดใหญ่อาจมีส่วนงานที่ดูแลเกี่ยวกับธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
โดยเฉพาะที่อยู่ภายใต้การทำงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล
2) กระบวนการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เริ่มตั้งแต่การวางแผนไปจนถึงการดำเนินธรรมาภิบาล
อย่างต่อเนื่อง มีรายละเอียดดังนี้
- 85 - | |
มรด. 6 : 2566
- การวางแผนธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ โดยการกำหนดเป้าหมาย หลักการ นโยบาย กลยุทธ์
และประเด็นปัญหาในธรรมาภิบาล มีการประเมินความพร้อมของหน่วยงาน เตรียมการสำหรับ
การบริหารการเปลี่ยนแปลง และดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย และระยะเวลาที่กำหนด
- ดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลให้เป็นไปตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เช่น การกำหนด
มาตรฐานข้อมูล
- ดำเนินการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในหน่วยงานให้สอดคล้องกับแผนงานที่ได้กำหนดไว้
ภาคผนวก ง กรณีศึกษาธรรมาภิบาลข้อมูลจากต่างประเทศ
ในส่วนนี้กล่าวถึงกรณีศึกษาธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของหน่วยงานต่างประเทศ ซึ่งเป็นการ
ประยุกต์ใช้แนวคิดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ โดยมีรายละเอียดดังนี้
กรณีศึกษาของประเทศออสเตรเลีย
ประเทศออสเตรเลียมีหน่วยงานกลางในธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อกำหนดมาตรฐานในการจัดเก็บ
การใช้ การเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงาน และการบริหารจัดการข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในประเทศออสเตรเลีย
อย่างไรก็ตามหน่วยงานภาครัฐบางส่วนมีการกำหนดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของหน่วยงานเอง เช่น
Workplace Gender Equality Agency และ Australian Institute of Health and Welfare ซึ่งมี
รายละเอียด ดังนี้
1) หน่วยงานกลางในธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
ประเทศออสเตรเลียมีการจัดตั้ง Data Governance Australia (DGA) เพื่อธรรมาภิบาล
ข้อมูล และสร้างความเชื่อมั่นให้กับหน่วยงานต่าง ๆ (ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน) ในการแลกเปลี่ยน
ข้อมูลโดยไม่ผิดข้อกฎหมาย ซึ่งจะทำให้การดำเนินการของภาครัฐและภาคเอกชนที่ใช้ข้อมูลเป็นไปได้
ด้วยดี DGA ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2559 โดยคณะกรรมการบริหารเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับข้อมูล
จากหลากหลายองค์กร ได้แก่ มหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานเอกชน
เป้าหมายของ DGA คือการสร้างมาตรฐานในกระบวนการเก็บ การใช้ และการบริหารจัดการ
ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในประเทศออสเตรเลีย โดยทำหน้าที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
และการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานกับผู้ที่เป็นสมาชิก ซึ่งหน่วยงานที่เป็นสมาชิกจะได้รับการ
อบรมเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อกำหนดในธรรมาภิบาล การ
แลกเปลี่ยนข้อมูลโดยไม่ขัดกับข้อกำหนด กฎหมาย หรือนโยบายที่ถูกกำหนดโดยรัฐบาลกลาง
ออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังมีการให้บริการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสมาชิก โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับแนวโน้ม
ธรรมาภิบาลข้อมูลจากต่างประเทศอีกด้วย โดยประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับมี 7 ข้อ ดังนี้
- การสนับสนุนจากรัฐบาล โดยหน่วยงานที่เป็นสมาชิกจะได้รับการดูแลในเรื่องที่สำคัญ
เกี่ยวกับข้อมูล ได้แก่ ความเป็นส่วนบุคคล ความปลอดภัยจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต การ
ควบคุมและดูแลข้อมูล การใช้ และความเสี่ยงในการใช้งานข้อมูล
- มาตรฐานและคู่มือการใช้งาน มีการจัดทำคู่มือและมาตรฐานให้ศึกษาเพื่อทำให้สมาชิก
สามารถดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลได้เป็นอย่างดี
- 86 - | |
มรด. 6 : 2566
- เครื่องหมายความไว้วางใจของ DGA โดยสมาชิกจะได้รับการดูแลจนกระทั่งได้ตาม
มาตรฐานของ DGA ซึ่งการมีมาตรฐาน DGA จะทำให้สมาชิกเป็นที่ยอมรับจากสมาชิกอื่น ๆ
ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีมาตรฐานเดียวกันเป็นไปได้ด้วยดี
- มาตรฐานของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ มาตรฐานของ DGA เป็นที่ยอมรับจาก
มหาวิทยาลัยในเรื่องธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
- หลักสูตร มีการกำหนดหลักสูตรการศึกษาต่าง ๆ ที่จะช่วยให้สมาชิกมีความเข้าใจใน
ธรรมาภิบาลรวมถึงหลักปฏิบัติในธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
- กิจกรรม มีกิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจในเรื่องธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐให้กับสมาชิก
สามารถเข้าร่วมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
- งานวิจัยและบทความ สมาชิกสามารถอ่านบทความและงานวิจัยที่วิเคราะห์ธรรมาภิบาล
ข้อมูลภาครัฐ รวมถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของโลกด้วย
อย่างไรก็ตามพันธกิจของหน่วยงานกลางเน้นในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเป็นหลัก แต่ไม่ได้เน้น
ในเรื่องของโครงสร้างธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐที่ชัดเจน ทั้งนี้โครงสร้างธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐจะ
ขึ้นอยู่กับแต่ละหน่วยงาน ซึ่งได้อธิบายไว้ในหัวข้อ ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของ Workplace
Gender Equality Agency และ Australian Institute of Health and Welfare
2) ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของหน่วยงาน Workplace Gender Equality Agency (WGEA)
WGEA มีหน้าที่ในการส่งเสริมและปรับปรุงความเสมอภาคกันทางเพศในสถานที่ทำงานใน
ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้ดำเนินงานเรื่องความเสมอภาคกันทางเพศในสถานที่ทำงาน โดยการร่วมมือ
กับนายจ้างเพื่อให้คำปรึกษา แนะนำช่วยเหลือนายจ้างเรื่องความเสมอภาคทางเพศ เป้าหมายในการ
สร้างกรอบธรรมาภิบาลของหน่วยงานนี้ คือ การให้หน่วยงานมีนโยบายและขั้นตอนการจัดการข้อมูล
ที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน สนับสนุนให้เกิดการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและกลายเป็นส่วนหนึ่ง
ของการปฏิบัติงาน โดยมีธรรมาภิบาลเพื่อควบคุมการบริหารจัดการข้อมูลตลอดทั้งระบบบริหารและ
กระบวนการจัดการข้อมูลหรือวงจรชีวิตข้อมูล ได้แก่ การวางแผน การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และ
การเปิดเผย ทั้งนี้แนวคิดของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของหน่วยงานได้ร่างแบบศึกษามาจากกรอบ
ธรรมาภิบาลของ DGI และกรอบการบริหารจัดการข้อมูลของ DAMA International กรอบธรรมาภิ
บาลของหน่วยงานประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่
- บุคลากร มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจน ประกอบด้วย ของบริกรข้อมูล
(Data Stewards) และบริกรข้อมูลด้านเทคนิค (Technical Data Stewards) รวมไปถึง
บุคลากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
- ธรรมาภิบาลและการปกครอง มีสาระสำคัญคือกลยุทธ์และเป้าหมายทางธุรกิจของ
หน่วยงานตลอดจนขอบเขตการทำงาน นอกจากนี้ยังได้กำหนดกิจกรรมการจัดการและการ
สนับสนุนทรัพยากรของหน่วยงานด้วย
- ระบบการดำเนินการ ประกอบด้วย นโยบาย ขั้นตอนความปลอดภัย อุปกรณ์ โปรแกรม
คอมพิวเตอร์ แอปพลิเคชัน และเครื่องมือต่าง ๆ ที่สนับสนุนการจัดการข้อมูลที่มี
- 87 - | |
มรด. 6 : 2566
ประสิทธิภาพ รวมไปถึงมาตรฐานในการดำเนินงานเพื่อทำให้เกิดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
โดยมีกลุ่มบุคลากรจำนวนหนึ่งทำหน้าที่สร้างมาตรฐาน และดำเนินงานเกี่ยวกับมาตรฐาน
ของข้อมูล นอกจากนี้ บุคลากรกลุ่มนี้ต้องมีการวัดมาตรฐานของข้อมูลในปีที่ผ่านมา และต้อง
มีการตรวจสอบการดำเนินการข้อมูลของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอีกด้วย
3) ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของหน่วยงาน Australian Institute of Health and Welfare
(AIHW)
AIHW เป็นหน่วยงานที่ให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับสุขภาพและสวัสดิการของออสเตรเลีย
นอกจากนี้ยังสนับสนุนการพัฒนานโยบาย โครงการด้านสุขภาพและสวัสดิการของประเทศ
ออสเตรเลีย
- ภาพรวมของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของ AIHW ได้แก่
- คำอธิบายของแนวคิดหลักในการจัดการข้อมูล
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลของ AIHW
- โครงสร้างและบทบาทของการจัดการข้อมูล
- ภาพรวมของนโยบายขั้นตอนและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อมูล AIHW
- ระบบและเครื่องมือที่สนับสนุนการจัดการข้อมูล
- แนวทางการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
- แนวคิดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล ธรรมาภิบาลและจัดการ
ข้อมูล การลงทะเบียนข้อมูล มาตรฐานเมทาดาตา คู่มือเกี่ยวกับนโยบาย หลักเกณฑ์ และ
วิธีการในการดำเนินการ และเครื่องมือที่จะใช้ในการทำงาน
- ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของ AIHW มีรายละเอียด ดังนี้
- กฎหมาย นโยบายที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ มีการระบุถึงกฎหมาย
ภายนอกหน่วยงานที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการดำเนินธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของ
AIHW นอกจากนี้ยังระบุถึงนโยบายการใช้ข้อมูลของหน่วยงาน
- โครงสร้างและบทบาทของ AIHW ในการจัดการข้อมูล มีการกำหนดบทบาทที่ชัดเจน
ภายในหน่วยงาน ตั้งแต่ บอร์ดบริหาร ไปจนถึงบุคลากรที่ทำงานกับข้อมูลโดยตรง
รวมไปถึงผู้ตรวจสอบข้อมูล
- นโยบายข้อมูลและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ระบุถึงการดำเนินงานเกี่ยวกับข้อมูล
ภายใน AIHW นอกจากนี้ยังได้ระบุถึง Data Linkage ซึ่งระบุถึงการเชื่อมโยงข้อมูล
ระหว่างหน่วยงาน ว่าต้องมีมาตรฐานตามที่หน่วยงานกลางกำหนด
- ระบบ AIHW และเครื่องมือเพื่อสนับสนุน ระบุถึงมาตรฐานและเครื่องมือใน
ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
โดยสรุปแล้ว ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของประเทศออสเตรเลียเป็นส่วนสำคัญให้เป็นประเทศที่ติด
อันดับ 1 ใน 3 ของ Global E-Government Index ทั้งนี้หลายหน่วยงานในประเทศออสเตรเลียมีการเปิดเผย
ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐสู่สาธารณะ ซึ่งสามารถนำไปเป็นแนวทางในการกำหนดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
ของประเทศไทย
- 88 - | |
มรด. 6 : 2566
กรณีศึกษาของประเทศเกาหลีใต้
ในการพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ สำหรับระบบการให้บริการบำเหน็จบำนาญแห่งชาติของประเทศเกาหลี
ใต้ (National Pension Service of South Korea) (Kim, H. Y., & Cho, J. S., 2017) ได้กำหนด
ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ โดยมี 4 องค์ประกอบ ดังนี้
1) วัตถุประสงค์ (Objective)
ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐขนาดใหญ่มีความต้องการเพื่อสร้างมูลค่าทางธุรกิจแบบใหม่ ซึ่งจะ
ช่วยให้บริการของข้อมูลขนาดใหญ่สามารถบรรลุเป้าหมาย
2) ยุทธศาสตร์ (Strategy)
- การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Information Protection) ได้แก่ นิยามระดับของ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกำหนดอุปกรณ์สำหรับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- ระดับคุณภาพข้อมูล (Data Quality Level) ได้แก่ ความพร้อมใช้ของผลการวิเคราะห์ที่
ได้รับจากข้อมูลขนาดใหญ่ ความเชื่อมั่นในผลการวิเคราะห์ ข้อมูลขนาดใหญ่มีความสัมพันธ์
กับวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์หรือสิ่งที่ต้องการทำนาย และความสามารถในการผลักดัน
ให้มีการนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ในสถานการณ์จริง
- การเปิดเผยข้อมูลและความรับผิดชอบ (Data Disclosure and Responsibility) ได้แก่ การ
กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าของข้อมูล การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่
เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการข้อมูล และการกำหนดขอบเขตของการเปิดเผยข้อมูล
3) ส่วนประกอบ (Component)
- โครงสร้างของการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Organization) บุคคลที่อยู่ภายใน
โครงสร้างนี้มีบทบาทและความรับผิดชอบในการบริหารจัดการข้อมูล การบริหารจัดการ
ความมั่นคงปลอดภัย และการบริหารจัดการคุณภาพข้อมูล
- การจัดทำมาตรฐานและแนวปฏิบัติ (Standardization and Guideline) เช่น แนวปฏิบัติใน
การกำหนดโครงสร้างข้อมูลและวิธีการประมวลผลข้อมูล
- นโยบายข้อมูลและกระบวนการเกี่ยวกับข้อมูล (Policy and Process) เช่น การควบคุมดูแล
และการวัดประสิทธิภาพจากการดำเนินงานเกี่ยวกับข้อมูล
4) โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure)
โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับข้อมูลขนาดใหญ่ต้องการทรัพยากรด้าน
การคำนวณ (ซีพียู แรม) และอุปกรณ์แบบใหม่ ในการลงทุนด้านทรัพยากรและอุปกรณ์ต้องมี
ความเหมาะสมกับระดับการบริการและการบำรุงรักษาที่ได้รับ นอกจากนี้ต้องมีการควบคุมและ
ตรวจความสอดคล้องกันระหว่างการดำเนินการ (ตั้งแต่ การรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอผลการวิเคราะห์) กับนโยบายข้อมูลที่กำหนดไว้
กรณีศึกษาของสหราชอาณาจักร
สหราชอาณาจักรมีประเทศและหน่วยงานที่ดำเนินการธรรมาภิบาลข้อมูลและบริหารจัดการข้อมูลดังนี้
1) Scottish Government's Data Linkage มีการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐอย่าง
มีประสิทธิภาพและมีความน่าเชื่อถือเพื่อประโยชน์ในการบริการสาธารณะในด้าน
- การแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ
- 89 - | |
มรด. 6 : 2566
- การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ
- การเผยแพร่ข้อมูลทั่วไปแก่สาธารณชน
- วิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ด้วยวิธีใหม่ ๆ (Data Innovation)
2) British Academy เน้นธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของผู้มีส่วนได้เสียกับข้อมูล เพื่อ
- การบริหารจัดการข้อมูล
- การจัดการเกี่ยวกับบุคคลที่มีส่วนได้เสียกับข้อมูล
- การกำหนดมาตรการและแนวปฏิบัติเกี่ยวข้อง
- การสร้างความโปร่งใสและตรวจสอบได้
จากผลการศึกษาแนวคิดและกรณีศึกษาจากต่างประเทศสรุปได้ว่า ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐเป็นหนึ่ง
ในองค์ประกอบหลักของการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อมุ่งเน้นการลดความเสี่ยง ทั้งด้านความปลอดภัยของ
ข้อมูล รักษาความเป็นส่วนบุคคล หรือปรับปรุงกระบวนการเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ สามารถเชื่อมโยง
แลกเปลี่ยน และเปิดเผยข้อมูลได้
- 90 - | |
มรด. 6 : 2566
บรรณานุกรม
Askham, N. (2016). Squaring the circle: Using a data Governance framework to support data
quality. Experian Information Solutions, Inc.
Askham, N., Cook, D., Doyle, M., Fereday, H., Gibson, M., Landbeck, U., Lee, R., Maynard, C.,
Palmer, G., & Schwarzenbach, J. (2013). THE SIX PRIMARY DIMENSIONS FOR DATA
QUALITY ASSESSMENT: Defining Data Quality Dimensions. em360tech. [Online] 2013.
Australian Institute of Health and Welfare. (2014). Data Governance Framework. Retrieved
from https://www.aihw.gov.au/getmedia/0d59ee71-9abe-4806-8e87-
ce9de81974d3/AIHW-data-Governance-framework.pdf.aspx
Cupola, P., Earley, S., & Henderson, D. (2014). DAMA-DMBOK2 Framework.
Henderson, D., Earley, S., Sebastian-Coleman, L., Sykora, E., & Smith, E. (2017). DAMA guide to
the data management body of knowledge. Second Edition. Technics Publications.
Intra-governmental Group on Geographic Information (IGGI). (2005). The Principles of Good
Data Management. The Office of the Deputy Prime Minister.
Kim, H. Y., & Cho, J. S. (2017, June). Data Governance Framework for Big Data
Implementation with a Case of Korea. In Big Data (BigData Congress), 2017 IEEE
International Congress on (pp. 384-391). IEEE.
Malinowski, E., & Zimányi, E. (2009). Advanced Data Warehouse Design. Springer Berlin
Heidelberg.
Thomas, G. (2009). How to use the DGI data Governance framework to configure your
program. Data Governance Institute, 17.
- 91 - |