text
stringlengths 3
4.46k
| image
imagewidth (px) 1.13k
1.6k
|
---|---|
DGA
Digital Government Development Agency
มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล
DIGITAL GOVERNMENT STANDARD
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔
DGS 1 - 1 : 2564
ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทาง
ดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – ภาพรวม
DIGITALIZATION: DIGITAL ID - OVERVIEW
เวอร์ชัน ๑.๐
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
สำนักนายกรัฐมนตรี | |
มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล | |
คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล | |
คณะอนุกรรมการสถาปัตยกรรมและมาตรฐานการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล | |
คณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์
ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ | |
คณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยภาครัฐ | |
วิเคราะห์และจัดทำมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล
ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล
เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – ภาพรวม | |
มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้
ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – ภาพรวม ฉบับนี้ สำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จัดทำขึ้นเพื่ออธิบาย
ภาพรวมของการใช้งานดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐที่ครอบคลุมถึงบทนิยาม กฎหมายและแนวปฏิบัติที่
เกี่ยวข้อง แบบจำลองดิจิทัลไอดี ภาพรวมของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล กลุ่มการให้บริการภาครัฐ
รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ดิจิทัลไอดีมีความเข้าใจตรงกัน
โดยพัฒนาตามแนวมาตรฐานของ NIST Special Publication 800-63-3 – Digital Identity Guidelines,
National Institute of Standards and Technology, US Department of Commerce [๑] และ
ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ว่าด้วยแนวทางการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับประเทศไทย – ภาพรวมและอภิธานศัพท์ [๔]
อีกทั้งได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงให้มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลฉบับนี้
มีความครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถนำไปปรับใช้ในทางปฏิบัติได้
มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้
ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – ภาพรวม ฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด
และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒
คณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยภาครัฐ ร่วมกับ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
(องค์การมหาชน)
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)
อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ ๑๐๘ ถนนรางน้ำ
แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทรศัพท์: ๐ ๒๖๑๒ ๖๐๐๐
โทรสาร: ๐ ๒๖๑๒ ๖๐๑๑, ๐ ๒๖๑๒ ๖๐๑๒
E-mail: [email protected]
Website: www.dga.or.th
(๗) | |
คำนำ | |
สารบัญ | |
สารบัญตาราง | |
สารบัญภาพ | |
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล | |
-๒-
"ไอเดนทิตี" (identity หรือ ID) หมายความว่า คุณลักษณะ หรือชุดของคุณลักษณะที่ใช้ระบุตัวบุคคล
ในบริบทที่กำหนด
"ดิจิทัลไอดี" (digital identity หรือ digital ID) หมายความว่า คุณลักษณะ หรือชุดของคุณลักษณะ
ที่ถูกรวบรวมและบันทึกในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งสามารถใช้ระบุตัวบุคคลในบริบทที่กำหนด และสามารถใช้
ทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
"ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน" (identity provider) หมายความว่า บุคคลหรือหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ
ซึ่งทำหน้าที่
(๑) รับลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตน และ
(๒) บริหารจัดการสิ่งที่ใช้รับรองตัวตน สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนที่เชื่อมโยงไอเดนทิตีเข้ากับสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ
โดยที่ตนเองและยืนยันตัวตนอาจบริหารจัดการสิ่งที่ใช้รับรองตัวตนเพื่อใช้ภายในองค์กรหรือ
ใช้ภายนอกองค์กรก็ได้
"ผู้ให้บริการภาครัฐ" (relying party) หมายความว่า หน่วยงานของรัฐที่ให้บริการภาครัฐหรืออนุญาต
ให้เข้าถึงข้อมูลหรือระบบบริการภาครัฐ โดยอาศัยสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนและผลการยืนยันตัวตนหรือ
สิ่งที่ใช้รับรองตัวตนจากผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
"แหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ" (authoritative source) หมายความว่า หน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ
และสามารถเข้าถึงหรือมีข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งทำหน้าที่
(๑) ตรวจสอบข้อมูลหรือสถานะของหลักฐานแสดงตนของผู้ใช้บริการตามการร้องขอจาก
ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน หรือ
(๒) อนุญาตให้ผู้ให้บริการภาครัฐเข้าถึงข้อมูลที่น่าเชื่อถือหรือข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งได้รับความยินยอม
จากผู้ใช้บริการ
"ผู้สมัครใช้บริการ" (applicant) หมายความว่า บุคคลที่ผู้สมัครใช้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตน
กับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
"ผู้ใช้บริการ" (subscriber) หมายความว่า ผู้สมัครใช้บริการที่ผ่านการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตน
กับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน และได้รับสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนสำหรับใช้ยืนยันตัวตนกับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
"การลงทะเบียน" (enrolment) หมายความว่า กระบวนการที่ผู้สมัครใช้บริการลงทะเบียนเป็น
ผู้ใช้บริการของผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
"การพิสูจน์ตัวตน" (identity proofing) หมายความว่า กระบวนการที่ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
รวบรวมข้อมูลตรวจสอบหลักฐานแสดงตน และตรวจสอบตัวตนของผู้สมัครใช้บริการ
"การยืนยันตัวตน" (authentication) หมายความว่า กระบวนการที่ผู้ใช้บริการยืนยันตัวตน
กับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนว่าเป็นเจ้าของไอเดนทิตีที่กล่าวอ้างด้วยการใช้สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน
"สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน" (authenticator) หมายความว่า สิ่งที่ผู้ใช้บริการครอบครองเพื่อใช้ในการ
ยืนยันตัวตนโดยสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนจะมีปัจจัยของการยืนยันตัวตนอย่างน้อยหนึ่งปัจจัย
"สิ่งที่ใช้รับรองตัวตน" (credential) หมายความว่า เอกสาร วัตถุ หรือกลุ่มข้อมูล ที่เชื่อมโยง
ไอเดนทิตีเข้ากับสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน
"คุณลักษณะ" (attribute) หมายความว่า ลักษณะหรือคุณสมบัติที่ใช้ระบุตัวบุคคล | |
-๑- | |
-๔-
(๗) เก็บรักษาข้อมูลและหลักฐานแสดงตน รวมถึงภาพและเสียง (ถ้ามี) และการบันทึกเหตุการณ์และ
รายละเอียดการทำธุรกรรมเกี่ยวกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล โดยระยะเวลาการเก็บรักษาและ
การทำลายดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ หรือแนวนโยบายที่เกี่ยวข้อง
(๘) ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วย
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(๑๐) ประกาศข้อกำหนดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลทราบ
โดยทั่วกัน
ข้อ ๕ ให้ผู้ให้บริการภาครัฐดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดความต้องการและระบบของหน่วยงานที่ต้องการใช้ดิจิทัลไอดี
(๒) ประเมินความเสี่ยงเพื่อพิจารณาถึงผลกระทบ ระดับความรุนแรง และความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น
ให้ครอบคลุมถึงการยืนยันตัวตนเชิงลึกด้วย
(๓) นำผลการจัดระดับความเสี่ยงเทียบกับระดับความน่าเชื่อถือหรือระดับความน่าเชื่อถือของ
ไอเดนทิตีและระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน
(๔) เลือกรูปแบบ และวิธีการลงทะเบียน การพิสูจน์ตัวตนและยืนยันตัวตนทางดิจิทัล รวมถึงกำหนด
เงื่อนไขให้สอดคล้องตามข้อกำหนดในแต่ละระดับความน่าเชื่อถือตามคู่มือให้บริการภาครัฐ และแจ้งให้ทราบ
ล่วงหน้า
ข้อ ๖ ให้แหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือตรวจสอบข้อมูลหรือสถานะของหลักฐานแสดงตนของ
ผู้สมัครใช้บริการตามการร้องขอจากผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน และส่งผลการตรวจสอบข้อมูลกลับไปยัง
ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๗ ในระยะเริ่มแรก มิให้นำมาตรฐานและหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับผู้พิสูจน์และ
ยืนยันตัวตน ผู้ให้บริการภาครัฐ และแหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ จนกว่าจะพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ประกาศ
นี้มีผลใช้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔
[signature]
(นายดอน ปรมัตถ์วินัย)
รองนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล | |
มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔ | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔
๒.๑๐ การพิสูจน์ตัวตน (identity proofing) หมายความว่า กระบวนการที่ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนรวบรวม
ข้อมูล ตรวจสอบหลักฐานแสดงตน และตรวจสอบตัวตนของผู้สมัครใช้บริการ [๔]
๒.๑๑ การยืนยันตัวตน (authentication) หมายความว่า กระบวนการที่ผู้ใช้บริการยืนยันตัวตนกับ
ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนว่าเป็นเจ้าของไอเดนทิตีที่กล่าวอ้างด้วยการใช้สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน [๔]
๒.๑๒ สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (authenticator) หมายความว่า สิ่งที่ผู้ใช้บริการครอบครองเพื่อใช้ในการยืนยัน
ตัวตน โดยสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนจะมีปัจจัยของการยืนยันตัวตนอย่างน้อยหนึ่งปัจจัย [๔]
๒.๑๓ สิ่งที่ใช้รับรองตัวตน (credential) หมายความว่า เอกสาร วัตถุ หรือกลุ่มข้อมูล ที่เชื่อมโยงไอเดนทิตี
เข้ากับสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน [๔]
๒.๑๔ คุณลักษณะ (attribute) หมายความว่า ลักษณะหรือคุณสมบัติของบุคคล [๔]
๒.๑๕ แหล่งออกหลักฐานแสดงตน (issuing source) หมายความว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดทำข้อมูล
หลักฐานทางดิจิทัลหรือเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานแสดงตน
๓. กฎหมายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
การใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐมีการบัญญัติไว้ในกฎหมายหรือแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๓.๑ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ กำหนดให้มีการกำกับดูแล
การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลให้มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ
ของประเทศและการคุ้มครองผู้บริโภค
๓.๒ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ ในมาตรา ๑๒ (๔)
กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อประโยชน์
ในการอำนวยความสะดวกของการให้บริการประชาชน ซึ่งมีมาตรฐานและแนวทางที่สอดคล้องกัน
ตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด
๓.๓ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก และมาตรการ
ที่กำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
๓.๔ ประกาศสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เรื่อง ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยแนวทางการใช้ดิจิทัลไอ
ดีสำหรับประเทศไทย ดังนี้
๓.๔.๑ ภาพรวมและอภิธานศัพท์ (ขมธอ. ๑๘-๒๕๖๑) เป็นการอธิบายภาพรวมและอภิธานศัพท์เกี่ยวกับ
การใช้งานดิจิทัลไอดีสำหรับประเทศไทย การบริหารความเสี่ยง และการกำหนดระดับความน่าเชื่อถือ
๓.๔.๒ การลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตน (ขมธอ. ๑๙-๒๕๖๑) เป็นการอธิบายข้อกำหนดสำหรับ
ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน ในการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนของผู้สมัครใช้บริการที่ประสงค์
จะทำธุรกรรมออนไลน์ด้วยดิจิทัลไอดี ตามระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี
๓.๔.๓ การยืนยันตัวตน (ขมธอ. ๒๐-๒๕๖๑) เป็นการอธิบายข้อกำหนดสำหรับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
ในการยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการที่ประสงค์จะทำธุรกรรมออนไลน์ด้วยดิจิทัลไอดี ตาม
ระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน
-๓- | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔ | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔
จากรูปที่ ๑ แสดงให้เห็นว่าการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล มีทั้งหมด ๒ กระบวนการหลัก
ได้แก่ (๑) การลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตน (๒) การยืนยันตัวตน ทั้งนี้ ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน ต้องมี
ส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบให้มีความต่อเนื่องและมั่นคงปลอดภัย เช่น การเพิ่ม ปรับปรุง หรือ
ยกเลิกข้อมูลไอเดนทิตีของผู้สมัครใช้บริการและผู้ใช้บริการให้เป็นปัจจุบัน
จากรูปที่ ๑ ด้านซ้าย เป็นกระบวนการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตน ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
(๑) ผู้สมัครใช้บริการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนกับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน โดยผู้พิสูจน์และยืนยัน
ตัวตนอาจตรวจสอบข้อมูลกับแหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
(๒) หากพิสูจน์ตัวตนสำเร็จ ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนจะลงทะเบียนหรือออกสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน และสร้าง
สิ่งที่ใช้รับรองตัวตนให้กับผู้ใช้บริการ
(๓) ผู้สมัครใช้บริการ เปลี่ยนสถานะเป็น ผู้ใช้บริการ
หมายเหตุ ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน ต้องเก็บรักษาสิ่งที่ใช้รับรองตัวตน สถานะของสิ่งที่ใช้รับรองตัวตน และข้อมูลที่
ใช้ในกระบวนการลงทะเบียน ตลอดอายุการใช้งานของสิ่งที่ใช้รับรองตัวตน (เป็นอย่างน้อย)
ส่วนผู้ใช้บริการต้องเก็บรักษาสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน
จากรูปที่ ๑ ด้านขวา เป็นกระบวนการยืนยันตัวตน ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
(๑) ผู้ใช้บริการขอเข้าใช้บริการกับผู้ให้บริการภาครัฐ โดยผู้ให้บริการภาครัฐอาจให้ผู้ใช้บริการยืนยันตัวตน
กับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนแทน (redirect)
(๒) ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนต้องตรวจสอบสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนที่เชื่อมโยงไอเดนทิตีของผู้ใช้บริการ | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔
จะออกสิ่งที่ใช้รับรองตัวตนในรูปแบบดิจิทัล เพื่อใช้ในกระบวนการยืนยันตัวตน เช่น
บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔ | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔ | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔
ทั้งนี้ หากชนิดของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนเป็นอุปกรณ์เข้ารหัสลับ (cryptographic device) ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน FIPS 140-2 (Federal Information Processing Standard Publication 140-2) ตามระดับที่เหมาะสม หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔
(๓) เมื่อผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนตรวจสอบสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนและสิ่งที่ใช้รับรองตัวตน
เรียบร้อยแล้ว ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนจะส่งผลการยืนยันตัวตนให้กับผู้ให้บริการภาครัฐ
เพื่อให้ผู้ให้บริการภาครัฐนำไปใช้พิจารณาอนุญาตเข้าใช้บริการภาครัฐ หรือให้เข้าถึงข้อมูล
หรือระบบต่อไป | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔
๕.๔ กลุ่มการให้บริการธุรกรรมที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่มีความเสี่ยงสูง (Connected Services)
เป็นการให้บริการธุรกรรมที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่มีความเสี่ยงสูง และมีผลผูกพันทาง
กฎหมาย เช่น การขอรับบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว โดยมีแนวทางการพิจารณา
อย่างน้อยดังนี้
(๑) มีการเชื่อมโยงหรือใช้ข้อมูลร่วมกับหน่วยงานภายนอกแห่งอื่น ซึ่งเป็นธุรกรรมที่มีความเสี่ยงสูง
(๒) ใช้ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก โดยเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็น
ผู้ดำเนินการเอง ณ ขณะนั้น หรือมีการมอบอำนาจ
(๓) การลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนครั้งแรก ต้องมีการพบเห็นต่อหน้า หรือเสมือนพบเห็นต่อหน้า
โดยดำเนินการต่อหน้าเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบและผ่านการอบรม
(๔) ยืนยันช่องทางการติดต่อ เช่น หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออีเมล
๖. การบริหารความเสี่ยงของดิจิทัลไอดี (Digital Identity Risk Management)
๖.๑ ภาพรวม (Overview)
ความเสี่ยงของการใช้ดิจิทัลไอดีตามมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลฯ ฉบับนี้ แบ่งออกเป็น ๒ ด้าน ดังนี้
(๑) การพิสูจน์ตัวตนผิดพลาด เช่น ผู้สมัครใช้บริการแอบอ้างไอเดนทิตีของบุคคลอื่นในการลงทะเบียน
(๒) การยืนยันตัวตนผิดพลาด เช่น ผู้ที่กล่าวอ้างใช้สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนที่ไม่ใช่ของตนในการเข้าใช้
บริการภาครัฐ
การประเมินความเสี่ยงในกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตน เพื่อช่วยให้สามารถเลือกใช้
เทคโนโลยีหรือกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการบรรเทาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยวิธีการสำคัญ
ในการประเมินความเสี่ยงดังกล่าว คือ การใช้วิธีการพิสูจน์ตัวตนและวิธีการยืนยันตัวตนที่มี
ความเข้มงวดสอดคล้องกับระดับผลกระทบและโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น
๖.๒ ระดับความน่าเชื่อถือ (Assurance Levels)
ผู้ให้บริการภาครัฐต้องกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของแต่ละบริการตามผลการประเมิน
ความเสี่ยง ซึ่งแบ่งระดับความน่าเชื่อถือออกเป็น ๒ ด้าน ดังนี้
๖.๒.๑ ระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี (Identity Assurance Level: IAL)
ระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี คือ ระดับความเข้มงวดในกระบวนการพิสูจน์ตัวตนของ
ผู้สมัครใช้บริการ ซึ่งการกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตีที่เหมาะสมจะช่วยลดโอกาส
ของการพิสูจน์ตัวตนผิดพลาด โดยระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ดังนี้
(๑) ระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี ระดับที่ ๑ (IAL1)
มีการรวบรวมข้อมูลเพื่อระบุตัวตน เพื่อพิจารณาและตรวจสอบหลักฐาน
แสดงตนหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ ไม่มีข้อกำหนดในการแสดงตนและตรวจสอบตัวบุคคล
โดยผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน เหมาะสำหรับบริการภาครัฐที่มีความเสี่ยงต่ำ
-๑๑- | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔
(๒) ระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี ระดับที่ ๒ (IAL2)
กำหนดให้มีการรวบรวมข้อมูลเพื่อระบุตัวตน พิจารณาหลักฐานแสดงตน
โดยผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน และต้องตรวจสอบกับแหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือว่า
ไอเดนทิตีที่กล่าวอ้างมีอยู่ในโลกแห่งความจริง รวมถึงตรวจสอบผู้สมัครใช้บริการว่าเป็น
เจ้าของไอเดนทิตีที่กล่าวอ้าง การพิสูจน์ตัวตนที่ระดับ IAL2 สามารถทำได้ทั้ง
แบบพบเห็นต่อหน้า หรือแบบไม่พบเห็นต่อหน้า
ทั้งนี้ ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนที่รองรับระดับ IAL2 สามารถส่งผลการยืนยันตัวตน
ให้กับผู้ให้บริการภาครัฐที่ให้บริการที่ต้องการระดับ IAL1 ได้ หากผู้ใช้บริการ
ให้ความยินยอม เหมาะสำหรับบริการภาครัฐที่มีความเสี่ยงปานกลางถึงความเสี่ยงสูง
(๓) ระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี ระดับที่ ๓ (IAL3)
เพิ่มความเข้มงวดให้กับข้อกำหนดที่ระดับ IAL2 ด้วยการพิจารณาหลักฐาน
แสดงตนเพิ่มเติมและการตรวจสอบข้อมูลชีวมิติ เพื่อป้องกันการปลอมตัวเป็นบุคคลอื่น
การหลอกลวงการลงทะเบียนซ้ำ หรือความเสียหายอื่น ๆ การพิสูจน์ตัวตนที่ระดับ IAL3
สามารถทำได้เฉพาะแบบพบเห็นต่อหน้า ซึ่งรวมถึงแบบเสมือนพบเห็นต่อหน้า
ทั้งนี้ ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนที่รองรับระดับ IAL3 สามารถส่งผลการยืนยันตัวตน
ให้กับผู้ให้บริการภาครัฐที่ให้บริการที่ต้องการระดับ IAL1 และ IAL2 ได้ หากผู้ใช้บริการ
ให้ความยินยอม เหมาะสำหรับบริการภาครัฐที่มีความเสี่ยงสูง
๖.๒.๒ ระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator Assurance Level: AAL)
ความปลอดภัยในการยืนยันตัวตนจะขึ้นอยู่กับจำนวนของปัจจัยของการยืนยันตัวตน
โดยแบ่งสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนได้เป็น ๒ แบบ ดังนี้
(๑) การยืนยันตัวตนแบบปัจจัยเดียว (single-factor authentication)
เป็นการยืนยันตัวตนที่ใช้สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนเพียง ๑ ปัจจัย เช่น ผู้ใช้บริการแสดงรหัสผ่าน
ในการเข้าระบบ ซึ่งรหัสผ่านเป็นสิ่งที่ผู้ใช้บริการรู้
(๒) การยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย (multi-factor authentication)
เป็นการยืนยันตัวตนที่ใช้สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนตั้งแต่ ๒ ปัจจัยขึ้นไปที่แตกต่างกัน
เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในการยืนยันตัวตนแต่ละครั้ง เช่น ผู้ใช้บริการแสดงรหัสผ่าน
เข้าระบบ ซึ่งรหัสผ่านเป็นสิ่งที่ผู้ใช้บริการรู้ และแสดงรหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว
ที่ได้รับผ่านทางหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้บริการมี
จำนวนและประเภทของปัจจัยของการยืนยันตัวตนมีผลกับระดับความน่าเชื่อถือของ
สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน โดยระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน คือ ระดับความเข้มงวด
ในกระบวนการยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ ซึ่งการกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน
ที่เหมาะสมจะช่วยลดโอกาสของการยืนยันตัวตนผิดพลาด แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ดังนี้
-๑๒- | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔
(๑) ระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน ระดับที่ ๑ (AAL1)
กำหนดให้ผู้ใช้บริการต้องยืนยันตัวตนแบบปัจจัยเดียวเป็นอย่างน้อย หรือหากต้องการ
ความมั่นคงปลอดภัยที่สูงขึ้น สามารถยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัยได้ และต้องเป็น
โพรโทคอลที่มีความปลอดภัย (secure authentication protocol) เหมาะสำหรับ
บริการภาครัฐที่มีความเสี่ยงต่ำ
(๒) ระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน ระดับที่ ๒ (AAL2)
กำหนดให้ผู้ใช้บริการต้องยืนยันตัวตนแบบ ๒ ปัจจัยที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจเป็น
(๑) สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนหลายปัจจัย เช่น อุปกรณ์ OTP แบบหลายปัจจัย (multi-factor OTP
device) ซึ่งจะสร้างรหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียวหลังจากตรวจสอบลายนิ้วมือของผู้ใช้บริการ
หรือ (๒) สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนแบบปัจจัยเดียว อย่างน้อย ๒ สิ่งที่เป็นปัจจัยต่างกัน เช่น
รหัสผ่าน (something you know) ควบคู่กับการใช้ OTP ผ่านหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่
(something you have) โดยโพรโทคอลที่ใช้รับส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้บริการและ
ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนต้องเป็นโพรโทคอลที่มีความปลอดภัย เหมาะสำหรับบริการภาครัฐ
ที่มีความเสี่ยงปานกลางถึงความเสี่ยงสูง
(๓) ระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน ระดับที่ ๓ (AAL3)
กำหนดให้ผู้ใช้บริการต้องยืนยันตัวตนแบบ ๒ ปัจจัยขึ้นไปที่แตกต่างกัน โดยมี
ปัจจัยหนึ่งเป็นกุญแจที่ผ่านเกณฑ์วิธีการเข้ารหัสลับ (cryptographic protocol)
ซึ่งผู้ใช้บริการต้องพิสูจน์ว่าตนครอบครองกุญแจนั้น และต้องพิสูจน์ว่าตนครอบครอง
ปัจจัยของการยืนยันตัวตนดังกล่าว ผ่านโพรโทคอลที่มีความปลอดภัยในการใช้รับส่งข้อมูล
ระหว่างผู้ใช้บริการและผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน และต้องมีการเข้ารหัสข้อมูลส่วนบุคคลหรือ
ข้อมูลอ่อนไหว (sensitive data) รวมถึงสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนเพื่อป้องกันการปลอมแปลง
เหมาะสำหรับบริการภาครัฐที่มีความเสี่ยงสูง
๖.๒.๓ ข้อกำหนดของการเลือกระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตีและระดับความน่าเชื่อถือของ
สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน
ในการเลือกระดับความน่าเชื่อถือสามารถทำแยกจากกันได้ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น
ในการให้บริการของหน่วยงานของรัฐ อย่างไรก็ตาม มีข้อจำกัดเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของ
ผู้ใช้บริการที่ใช้ลงทะเบียนกับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน และสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนที่จะป้องกัน
การเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวจากบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตต้องมีความสอดคล้องกัน ดังนั้น ต้องมี
การจัดกลุ่มการใช้ระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี และระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน
บางระดับ เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ ดังตารางที่ ๑
-๑๓- | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔ | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔
ตารางที่ ๒ เกณฑ์การพิจารณาระดับผลกระทบที่เป็นไปได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาด | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔
๖.๓.๓ กำหนดระดับโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น (likelihood levels)
ใช้วิธีการพิจารณาระดับโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะเกิดผลกระทบที่สามารถเกิดขึ้นได้ในแต่ละด้าน ดังตารางที่ ๓
ตารางที่ ๓ เกณฑ์การพิจารณาโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔
จากนั้น พิจารณาความหมายของแต่ละระดับความเสี่ยง ดังตารางที่ ๕
ตารางที่ ๕ ความหมายของแต่ละระดับความเสี่ยง | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔
จากรูปที่ ๔ สามารถเชื่อมโยงผลการประเมินความเสี่ยง เพื่อนำมาพิจารณาระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตีที่เหมาะสม และสรุปได้ดังตารางที่ ๖ ดังนี้
(๑) กรณีที่ผลกระทบที่เป็นไปได้ด้านในด้านหนึ่งอยู่ในระดับสูง ให้กำหนดเป็น ระดับ IAL3
(๒) กรณีที่ผลกระทบด้านความปลอดภัยของบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง ให้กำหนดเป็น ระดับ IAL3
(๓) กรณีที่ผลกระทบด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง ให้กำหนดเป็น ระดับ IAL2
(๔) กรณีที่ผลกระทบด้านความเสียหายต่อการดำเนินงานขององค์กรหรือต่อผลประโยชน์สาธารณะหรือการเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือความปลอดภัยของบุคคล หรือการละเมิดทางแพ่งหรือทางอาญาอยู่ในระดับต่ำ ให้กำหนดเป็น ระดับ IAL2
(๕) กรณีที่นอกเหนือจากนี้ ให้กำหนดเป็น ระดับ IAL1
ตารางที่ ๖ การจัดระดับความเสี่ยงเทียบกับระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตีของผลกระทบ | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔ | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔
ตารางที่ ๗ การจัดระดับความเสี่ยงเทียบกับระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนของผลกระทบ | |
มรด. ๑ - ๑ : ๒๕๖๔ | |
DGA
มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล
DIGITAL GOVERNMENT STANDARD
มรด. ๑ - ๒ : ๒๕๖๔
DGS 1 - 2 : 2564
ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงาน
ทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ -
การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย
DIGITALIZATION: DIGITAL ID - IDENTITY PROOFING AND
AUTHENTICATION
เวอร์ชัน ๑.๐
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
สำนักนายกรัฐมนตรี | |
มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล
ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการ
และการดำเนินงานทางดิจิทัล
เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ –
การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย
มรด. ๑ - ๒ : ๒๕๖๔
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ ชั้น ๑๗
เลขที่ ๑๐๘ ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐
หมายเลขโทรศัพท์: ๐ ๒๖๑๒ ๖๐๐๐ โทรสาร: ๐ ๒๖๑๒ ๖๐๑๑, ๐ ๒๖๑๒ ๖๐๑๒
ประกาศโดย
คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔ | |
คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ประธานกรรมการ
นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย)
กรรมการ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
- ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
- เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
- เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
- เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
กรรมการและเลขานุการ
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
ผู้ช่วยเลขานุการ
เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
(๒) | |
คณะอนุกรรมการสถาปัตยกรรมและมาตรฐานการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ประธานอนุกรรมการ
นายสมคิด จิรานันตรัตน์
อนุกรรมการ
- ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข
- ผู้แทนกรมการปกครอง
- ผู้แทนกรมบัญชีกลาง
- ผู้แทนกรมศุลกากร
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
- ผู้แทนสำนักงบประมาณ
- ผู้แทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
- ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย
- ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสถาปัตยกรรมและมาตรฐานการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
อนุกรรมการและเลขานุการร่วม
- ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
- ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
- ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
ผู้ช่วยเลขานุการ
เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
(๓) | |
คณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์
ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒
ประธานกรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภุชงค์ อุทโยภาศ | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รองประธานกรรมการ
นายวิบูลย์ ภัทรพิบูล | สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี | มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน | สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์<br>และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
นายพณชิต กิตติปัญญางาม | สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่
นายมารุต บูรณรัช | ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
นางสาวปณิศา เหลืองวรเมท | สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
นางสาวพลอย เจริญสม | สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
นายศุภโชค จันทรประทิน
นางบุญยิ่ง ชั่งสัจจา | สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
นายณัฏฐา พาชัยยุทธ | สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
นายพัชโรดม ลิมปิษเฐียร | สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
นางสาวพัชรี ไชยเรืองกิตติ
นางสาวสุภร สุขะตุงคะ | สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
นางสาวพลอยรวี เกริกพันธ์กุล | สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
นายทรงพล ใหม่สาลี | สำนักงานสถิติแห่งชาติ
นางกาญจนา ภู่มาลี
กรรมการและเลขานุการ
นางสาวอุรัชฎา เกตุพรหม | สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
(๔) | |
DGA
มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล
DIGITAL GOVERNMENT STANDARD
มรด. ๑ - ๒ : ๒๕๖๔
DGS 1 - 2 : 2564
ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงาน
ทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ -
การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย
DIGITALIZATION: DIGITAL ID - IDENTITY PROOFING AND
AUTHENTICATION
เวอร์ชัน ๑.๐
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
สำนักนายกรัฐมนตรี | |
มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล
ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการ
และการดำเนินงานทางดิจิทัล
เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ –
การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย
มรด. ๑ - ๒ : ๒๕๖๔
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ ชั้น ๑๗
เลขที่ ๑๐๘ ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐
หมายเลขโทรศัพท์: ๐ ๒๖๑๒ ๖๐๐๐ โทรสาร: ๐ ๒๖๑๒ ๖๐๑๑, ๐ ๒๖๑๒ ๖๐๑๒
ประกาศโดย
คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔ | |
คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ประธานกรรมการ
นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย)
กรรมการ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
- ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
- เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
- เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
- เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
กรรมการและเลขานุการ
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
ผู้ช่วยเลขานุการ
เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
(๒) | |
คณะอนุกรรมการสถาปัตยกรรมและมาตรฐานการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ประธานอนุกรรมการ
นายสมคิด จิรานันตรัตน์
อนุกรรมการ
- ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข
- ผู้แทนกรมการปกครอง
- ผู้แทนกรมบัญชีกลาง
- ผู้แทนกรมศุลกากร
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
- ผู้แทนสำนักงบประมาณ
- ผู้แทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
- ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย
- ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสถาปัตยกรรมและมาตรฐานการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
อนุกรรมการและเลขานุการร่วม
- ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
- ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
- ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
ผู้ช่วยเลขานุการ
เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
(๓) | |
คณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์
ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒
ประธานกรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภุชงค์ อุทโยภาศ | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รองประธานกรรมการ
นายวิบูลย์ ภัทรพิบูล | สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี | มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน | สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์<br>และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
นายพณชิต กิตติปัญญางาม | สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่
นายมารุต บูรณรัช | ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
นางสาวปณิศา เหลืองวรเมท | สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
นางสาวพลอย เจริญสม | สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
นายศุภโชค จันทรประทิน
นางบุญยิ่ง ชั่งสัจจา | สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
นายณัฏฐา พาชัยยุทธ | สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
นายพัชโรดม ลิมปิษเฐียร | สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
นางสาวพัชรี ไชยเรืองกิตติ
นางสาวสุภร สุขะตุงคะ | สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
นางสาวพลอยรวี เกริกพันธ์กุล | สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
นายทรงพล ใหม่สาลี | สำนักงานสถิติแห่งชาติ
นางกาญจนา ภู่มาลี
กรรมการและเลขานุการ
นางสาวอุรัชฎา เกตุพรหม | สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
(๔) | |
DGA
มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล
DIGITAL GOVERNMENT STANDARD
มรด. ๑ - ๒ : ๒๕๖๔
DGS 1 - 2 : 2564
ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงาน
ทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ -
การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย
DIGITALIZATION: DIGITAL ID - IDENTITY PROOFING AND
AUTHENTICATION
เวอร์ชัน ๑.๐
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
สำนักนายกรัฐมนตรี | |
มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล
ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการ
และการดำเนินงานทางดิจิทัล
เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ –
การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย
มรด. ๑ - ๒ : ๒๕๖๔
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ ชั้น ๑๗
เลขที่ ๑๐๘ ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐
หมายเลขโทรศัพท์: ๐ ๒๖๑๒ ๖๐๐๐ โทรสาร: ๐ ๒๖๑๒ ๖๐๑๑, ๐ ๒๖๑๒ ๖๐๑๒
ประกาศโดย
คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔ | |
คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ประธานกรรมการ
นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย)
กรรมการ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
- ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
- เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
- เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
- เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
กรรมการและเลขานุการ
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
ผู้ช่วยเลขานุการ
เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
(๒) | |
คณะอนุกรรมการสถาปัตยกรรมและมาตรฐานการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ประธานอนุกรรมการ
นายสมคิด จิรานันตรัตน์
อนุกรรมการ
- ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข
- ผู้แทนกรมการปกครอง
- ผู้แทนกรมบัญชีกลาง
- ผู้แทนกรมศุลกากร
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
- ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
- ผู้แทนสำนักงบประมาณ
- ผู้แทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
- ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย
- ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสถาปัตยกรรมและมาตรฐานการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
อนุกรรมการและเลขานุการร่วม
- ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
- ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
- ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
ผู้ช่วยเลขานุการ
เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
(๓) | |
คณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์
ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒
ประธานกรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภุชงค์ อุทโยภาศ | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รองประธานกรรมการ
นายวิบูลย์ ภัทรพิบูล | สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี | มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน | สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์<br>และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
นายพณชิต กิตติปัญญางาม | สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่
นายมารุต บูรณรัช | ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
นางสาวปณิศา เหลืองวรเมท | สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
นางสาวพลอย เจริญสม | สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
นายศุภโชค จันทรประทิน
นางบุญยิ่ง ชั่งสัจจา | สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
นายณัฏฐา พาชัยยุทธ | สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
นายพัชโรดม ลิมปิษเฐียร | สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
นางสาวพัชรี ไชยเรืองกิตติ
นางสาวสุภร สุขะตุงคะ | สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
นางสาวพลอยรวี เกริกพันธ์กุล | สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
นายทรงพล ใหม่สาลี | สำนักงานสถิติแห่งชาติ
นางกาญจนา ภู่มาลี
กรรมการและเลขานุการ
นางสาวอุรัชฎา เกตุพรหม | สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
(๔) | |
คณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยภาครัฐ
ที่ปรึกษา
ประธานคณะทำงาน
คณะทำงาน
คณะทำงานและเลขานุการ
(๕) | |
วิเคราะห์และจัดทำมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล
ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล
เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย
(๖) | |
มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นข้อกำหนดและแนวทางในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของผู้ใช้บริการที่ต้องการใช้บริการภาครัฐด้วยดิจิทัลไอดี เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ดิจิทัลไอดีมีความเข้าใจตรงกัน โดยพัฒนาตามแนวมาตรฐานของ
- NIST Special Publication 800-63A – Digital Identity Guidelines – Enrollment and Identity Proofing, National Institute of Standards and Technology, US Department of Commerce [๒]
- NIST Special Publication 800-63B – Digital Identity Guidelines – Authentication and Lifecycle Management, National Institute of Standards and Technology, US Department of Commerce [๓]
- ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยแนวทางการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับประเทศไทย – การลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตน [๕]
- ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยแนวทางการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับประเทศไทย – การยืนยันตัวตน [๖]
อีกทั้งได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงให้มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลฉบับนี้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถนำไปปรับใช้ในทางปฏิบัติได้
มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย ฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการจัดทำร่างร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ คณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยภาครัฐ ร่วมกับ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)
อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ ๑๐๘ ถนนรางน้ำ
แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทรศัพท์: ๐ ๒๖๑๒ ๖๐๐๐
โทรสาร: ๐ ๒๖๑๒ ๖๐๑๑, ๐ ๒๖๑๒ ๖๐๑๒
E-mail: [email protected]
Website: www.dga.or.th
(๗) | |
คำนำ
การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลของภาครัฐ เป็นการวางรูปแบบร่วมกันเพื่อสร้างขั้นตอนการทำงาน พัฒนาบริการให้เป็นรูปแบบดิจิทัลแบบครบวงจร สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้ โดยมีการนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการทำงาน เป็นกลไกในการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการภาครัฐแก่ประชาชน เป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ประชาชนในการขอรับบริการจากภาครัฐ ช่วยลดความผิดพลาด ยกระดับการทำงานของภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลตั้งแต่ต้นจนจบได้อย่างสมบูรณ์ นำไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่ไร้กระดาษ (paperless) ซึ่งกระบวนการหลักของการดำเนินงานทางดิจิทัลของภาครัฐเริ่มตั้งแต่การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลไปจนถึงการจัดส่งใบอนุญาตหรือเอกสารต่าง ๆ ทางดิจิทัล
การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เป็นกระบวนการแรกที่สำคัญในการเข้าสู่บริการภาครัฐซึ่งหน่วยงานของรัฐต้องประเมินความต้องการของหน่วยงานเพื่อพิจารณาว่าบริการใดบ้างที่จำเป็นต้องใช้ดิจิทัลไอดีในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับบริการภาครัฐ โดยมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ ประกอบด้วย
(๖) แนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ - ภาพรวม (Digitalization: Digital ID - Overview)
(๗) แนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ - การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย (Digitalization: Digital ID - Identity Proofing and Authentication)
(๘) แนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ - การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล สำหรับนิติบุคคล (Digitalization: Digital ID - Identity Proofing and Authentication)
(๙) แนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ - การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติอื่น (Digitalization: Digital ID - Identity Proofing and Authentication)
(๑๐) แนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล เรื่องการออกดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ (Digitalization: Digital ID - Government Issued ID)
(๘) | |
สารบัญ
๑. ขอบข่าย .................................................................................................................................................. ๑
๒. ข้อกำหนดการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล (Enrolment and Identity Proofing Requirements)... ๒
๒.๑ ระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี (Identity Assurance Level: IAL) ............................................ ๒
๒.๒ ขั้นตอนการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล (Process Flow) ................................................. ๓
๒.๓ ข้อกำหนดทั่วไป (General Requirements) ...................................................................................... ๕
๒.๔ ข้อกำหนดวิธีการพิสูจน์ตัวตน (Identity Proofing Method Requirements) ................................ ๗
๒.๕ ข้อกำหนดของระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี ระดับที่ ๑ (IAL1)................................................. ๘
๒.๖ ข้อกำหนดของระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี ระดับที่ ๒ (IAL2)................................................. ๙
๒.๗ ข้อกำหนดของระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี ระดับที่ ๓ (IAL3).............................................. ๑๐
๒.๘ สรุปข้อกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี (Summary of Requirements)...................... ๑๒
๒.๙ ข้อกำหนดขั้นต่ำในการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล (Minimum Requirements for
Enrolment and Identity Proofing) ......................................................................................................... ๑๔
๓. ข้อกำหนดการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Authentication Requirements)........................................... ๒๑
๓.๑ ระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator Assurance Level: AAL)............. ๒๑
๓.๒ ชนิดและข้อกำหนดสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator and Verifier Requirements).............. ๒๒
๓.๓ การบริหารจัดการสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator Lifecycle Management) ...................... ๒๒
๓.๔ การบริหารจัดการเซสชัน (Session Management) ....................................................................... ๒๔
๓.๕ ภัยคุกคาม (Threats and Security Considerations)................................................................... ๒๖
๓.๖ ข้อกำหนดขั้นต่ำในการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Minimum Requirement of Authentication). ๒๙
๔. การพิจารณาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Considerations)............................................... ๓๔
๔.๑ การจัดเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็น (Data Minimization)....................................................................... ๓๔
๔.๒ เอกสารแจ้งข้อมูลและเอกสารแสดงความยินยอม (Privacy Notice and Consent)..................... ๓๔
๔.๓ การคุ้มครองความเป็นส่วนบุคคล (Privacy Control)...................................................................... ๓๕
๔.๔ การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็น (Use Limitation) ................................................................... ๓๕
๔.๕ การแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (Redress) .............................................................................................. ๓๕
๔.๖ การประเมินความเสี่ยงด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Risk Assessment)................ ๓๖
๔.๗ การดำเนินการให้สอดคล้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Compliance).................. ๓๖
๕. แนวทางการนำไปใช้ (Usability Considerations) .............................................................................. ๓๖
(๙) | |
๕.๑ สำหรับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน (Identity Provider: IdP) ............................................................. ๓๖
๕.๒ สำหรับผู้ให้บริการภาครัฐ .................................................................................................................. ๓๘
๕.๓ สำหรับแหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ (Authoritative Source: AS) .................................................... ๓๙
บรรณานุกรม ............................................................................................................................................... ๔๐
(๑๐) | |
สารบัญตาราง
(๑๑) | |
สารบัญภาพ
รูปที่ ๑ ขั้นตอนการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล ..............................................................................๓
(๑๒) | |
ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
เรื่อง มาตรฐานและหลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล
ว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย
ตามพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว
มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อการให้บริการและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้หน่วยงานของรัฐ
จัดให้มีการบริหารงานและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบและช่องทางดิจิทัล โดยมีการบริหารจัดการ
และการบูรณาการข้อมูลภาครัฐและการทำงานให้มีความสอดคล้องกันและเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคง
ปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล ประกอบกับให้เป็นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔
และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความน่าเชื่อถือ และมีผลทางกฎหมาย
เช่นเดียวกับการทำธุรกรรมโดยวิธีการทั่วไปที่เคยปฏิบัติ รวมทั้งให้หน่วยงานต่าง ๆ เกิดการพัฒนา
ทางเทคโนโลยีและส่งเสริมการใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ให้สอดคล้องตามมาตรฐานที่กำหนด
เพื่อให้การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลเป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว
ข้างต้น โดยที่พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๑๒ (๒) กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำกระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัลเพื่อการบริหาร
ราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน กระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัลนั้นต้องทำงาน
ร่วมกันได้ตามมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด เพื่อให้มี
ความสอดคล้องและเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นได้ ประกอบมาตรา ๑๒ (๔) จัดให้มี
ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๖๒ หมวด ๓/๑ ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อกำกับดูแลการพิสูจน์
และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลให้มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์
การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ
สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๗ (๓) (๔) มาตรา ๑๒ (๒) (๔) แห่งพระราชบัญญัติ
การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ในคราวการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ วันที่ ๓๑ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ จึงมีมติให้ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานและ
หลักเกณฑ์การจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัลว่าด้วยเรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับ
บริการภาครัฐ สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย"
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
"บริการภาครัฐ" หมายความว่า การดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดที่หน่วยงานของรัฐจัดทำหรือ
จัดให้มีขึ้นหรือมอบอำนาจให้เอกชนดำเนินการแทนเพื่ออำนวยความสะดวกหรือตอบสนองความต้องการ
ของประชาชน | |
-๒-
"ไอเดนทิตี" (identity หรือ ID) หมายความว่า คุณลักษณะ หรือชุดของคุณลักษณะที่ใช้ระบุตัวบุคคล
ในบริบทที่กำหนด
"ดิจิทัลไอดี" (digital identity หรือ digital ID) หมายความว่า คุณลักษณะ หรือชุดของคุณลักษณะ
ที่ถูกรวบรวมและบันทึกในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งสามารถใช้ระบุตัวบุคคลในบริบทที่กำหนด และสามารถใช้
ทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
"ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน" (identity provider) หมายความว่า บุคคลหรือหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ
ซึ่งทำหน้าที่
(๑) รับจดทะเบียนและพิสูจน์ตัวตน และ
(๒) บริหารจัดการสิ่งที่ใช้รับรองตัวตน สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนที่เชื่อมโยงไอเดนทิตีเข้ากับสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ
โดยที่ตนเองและยืนยันตัวตนอาจบริหารจัดการสิ่งที่ใช้รับรองตัวตนเพื่อใช้ภายในองค์กรหรือ
ใช้ภายนอกองค์กรก็ได้
"ผู้ให้บริการภาครัฐ" (relying party) หมายความว่า หน่วยงานของรัฐที่ให้บริการภาครัฐหรืออนุญาต
ให้เข้าถึงข้อมูลหรือระบบบริการภาครัฐ โดยอาศัยสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนและผลการยืนยันตัวตนหรือ
สิ่งที่ใช้รับรองตัวตนจากผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
"แหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ" (authoritative source) หมายความว่า หน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ
และสามารถเข้าถึงหรือมีข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งทำหน้าที่
(๑) ตรวจสอบข้อมูลหรือสถานะของหลักฐานแสดงตนของผู้ใช้บริการตามการร้องขอจาก
ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน หรือ
(๒) อนุญาตให้ผู้ให้บริการภาครัฐเข้าถึงข้อมูลที่น่าเชื่อถือหรือข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งได้รับความยินยอม
จากผู้ใช้บริการ
"ผู้สมัครใช้บริการ" (applicant) หมายความว่า บุคคลที่ผู้สมัครใช้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตน
กับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
"ผู้ใช้บริการ" (subscriber) หมายความว่า ผู้สมัครใช้บริการที่ผ่านการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตน
กับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน และได้รับสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนสำหรับใช้ยืนยันตัวตนกับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
"การลงทะเบียน" (enrolment) หมายความว่า กระบวนการที่ผู้สมัครใช้บริการลงทะเบียนเป็น
ผู้ใช้บริการของผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
"การพิสูจน์ตัวตน" (identity proofing) หมายความว่า กระบวนการที่ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
รวบรวมข้อมูลตรวจสอบหลักฐานแสดงตน และตรวจสอบตัวตนของผู้สมัครใช้บริการ
"การยืนยันตัวตน" (authentication) หมายความว่า กระบวนการที่ผู้ใช้บริการยืนยันตัวตน
กับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนว่าเป็นเจ้าของไอเดนทิตีที่กล่าวอ้างด้วยการใช้สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน
"สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน" (authenticator) หมายความว่า สิ่งที่ผู้ใช้บริการครอบครองเพื่อใช้ในการ
ยืนยันตัวตนโดยสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนจะมีปัจจัยของการยืนยันตัวตนอย่างน้อยหนึ่งปัจจัย
"สิ่งที่ใช้รับรองตัวตน" (credential) หมายความว่า เอกสาร วัตถุ หรือกลุ่มข้อมูล ที่เชื่อมโยง
ไอเดนทิตีเข้ากับสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน
"คุณลักษณะ" (attribute) หมายความว่า ลักษณะหรือคุณสมบัติที่ใช้ระบุตัวบุคคล | |
-๑-
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๑ เพื่อให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล มีความน่าเชื่อถือ พร้อมใช้ ตรวจสอบได้ และ
เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยพิจารณาถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสำคัญ ให้ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
ผู้ให้บริการภาครัฐ และแหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีมาตรการหรือระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
(๒) จัดให้มีข้อตกลงในการดำเนินการและปฏิบัติตามข้อตกลงนั้น
(๓) ให้ความสำคัญและบริหารความเสี่ยงให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงของบริการภาครัฐ
โดยพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพื่อกำหนดวิธีการบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน ผู้ให้บริการภาครัฐ และแหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่เป็นหน่วยงานของรัฐ
ให้จัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐและดำเนินการให้เป็นไปตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับ
กระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลสำหรับบริการภาครัฐด้วย
หมวด ๒
การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
ข้อ ๔ ให้ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดรูปแบบของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล และจัดสรรบุคลากร ระบบ เทคโนโลยี
ที่จำเป็น ให้สอดคล้องกับระดับความน่าเชื่อถือ
(๒) กำหนดนโยบายและกระบวนการปฏิบัติงานภายในที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตน
ทางดิจิทัลที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องทบทวน สื่อสาร ทำความเข้าใจ สร้างความตระหนักให้กับ
เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรมหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้เห็นถึงความสำคัญ และปฏิบัติตามนโยบายและ
กระบวนการปฏิบัติงานภายในหรือหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงต้องสื่อสารทำความเข้าใจและ
ให้ความรู้กับผู้ใช้บริการด้วย
(๓) กรณีที่ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนเป็นหน่วยงานของรัฐให้ดำเนินการตามข้อกำหนด
การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์นี้ หากผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
เป็นหน่วยงานของเอกชนให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(๔) จัดให้มีการขอความยินยอมของผู้สมัครใช้บริการ โดยต้องแจ้งวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บ
รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลด้วย
(๕) จัดให้มีการแสดงตนและรวบรวมข้อมูลเพื่อระบุตัวตนที่จำเป็นจากผู้สมัครใช้บริการ เพื่อแยกแยะ
ว่าใดเป็นที่ของผู้สมัครใช้บริการนี้โดยเฉพาะหนึ่งเดียว และมีความเฉพาะเจาะจงภายในบริบทของผู้ใช้บริการ
ทั้งหมดที่ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนดูแล
(๖) ตรวจสอบหลักฐานแสดงตนของผู้สมัครใช้บริการ เพื่อตรวจสอบความแท้จริง สถานะการใช้งาน และ
ความถูกต้องของหลักฐานแสดงตน และตรวจสอบข้อมูลในหลักฐานแสดงตนว่าเป็นของบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริง
(๗) ตรวจสอบตัวบุคคลของผู้สมัครใช้บริการที่แสดงหลักฐานแสดงตนว่าเป็นเจ้าของโดยแท้ที่กล่าว
อ้างจริง โดยอาจตรวจสอบช่องทางติดต่อว่าเป็นเจ้าของช่องทางที่ใช้ในการติดต่อ และสามารถติดต่อหรือ
ส่งข้อมูลไปยังผู้สมัครใช้บริการผ่านช่องทางดังกล่าวได้จริง | |
-๔-
(๗) เก็บรักษาข้อมูลและหลักฐานแสดงตน รวมถึงภาพและเสียง (ถ้ามี) และการบันทึกเหตุการณ์และ
รายละเอียดการทำธุรกรรมเกี่ยวกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล โดยระยะเวลาการเก็บรักษาและ
การทำลายดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ หรือแนวนโยบายที่เกี่ยวข้อง
(๘) ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วย
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(๑๐) ประกาศข้อกำหนดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลทราบ
โดยทั่วกัน
ข้อ ๕ ให้ผู้ให้บริการภาครัฐดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดความต้องการและระบบของหน่วยงานที่ต้องการใช้ดิจิทัลไอดี
(๒) ประเมินความเสี่ยงเพื่อพิจารณาถึงผลกระทบ ระดับความรุนแรง และความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น
ให้ครอบคลุมถึงการยืนยันตัวตนเชิงลึกด้วย
(๓) นำผลการจัดระดับความเสี่ยงเทียบกับระดับความน่าเชื่อถือหรือระดับความน่าเชื่อถือของ
ไอเดนทิตีและระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน
(๔) เลือกรูปแบบ และวิธีการลงทะเบียน การพิสูจน์ตัวตนและยืนยันตัวตนทางดิจิทัล รวมถึงกำหนด
เงื่อนไขให้สอดคล้องตามข้อกำหนดในแต่ละระดับความน่าเชื่อถือตามคู่มือให้บริการภาครัฐ และแจ้งให้ทราบ
ล่วงหน้า
ข้อ ๖ ให้แหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือตรวจสอบข้อมูลหรือสถานะของหลักฐานแสดงตนของ
ผู้สมัครใช้บริการตามการร้องขอจากผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน และส่งผลการตรวจสอบข้อมูลกลับไปยัง
ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๗ ในระยะเริ่มแรก มิให้นำมาตรฐานและหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้มาใช้บังคับกับผู้พิสูจน์และ
ยืนยันตัวตน ผู้ให้บริการภาครัฐ และแหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ จนกว่าจะพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ประกาศ
นี้มีผลใช้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔
[signature]
(นายดอน ปรมัตถ์วินัย)
รองนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล | |
มรด. ๑ - ๒ : ๒๕๖๔
มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัล
ว่าด้วยแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล
เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ –
การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย
๑. ขอบข่าย
มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลฯ ฉบับนี้ เป็นแนวทางการจัดทำกระบวนการและการดำเนินงานทางดิจิทัล
เรื่องการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับบริการภาครัฐ – การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล สำหรับบุคคลธรรมดาที่มี
สัญชาติไทย เป็นข้อกำหนดและแนวทางในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของผู้ใช้บริการที่ต้องการใช้
บริการภาครัฐด้วยดิจิทัลไอดี เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ดิจิทัลไอดีมีความเข้าใจตรงกัน โดยอ้างอิง
ข้อกำหนด ดังนี้
(๑) มาตรฐาน NIST Special Publication 800-63-3 – Digital Identity Guidelines [๑]
(๒) มาตรฐาน NIST Special Publication 800-63A – Digital Identity Guidelines – Enrollment and
Identity Proofing [๒]
(๓) มาตรฐาน NIST Special Publication 800-63B – Digital Identity Guidelines – Authentication and
Lifecycle Management [๓]
(๔) ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ว่าด้วยแนวทางการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับประเทศไทย – ภาพรวมและอภิธานศัพท์ [๔]
(๕) ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ว่าด้วยแนวทางการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับประเทศไทย – การลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตน [๕]
(๖) ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ว่าด้วยแนวทางการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับประเทศไทย – การยืนยันตัวตน [๖]
(๗) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. ๑๙/๒๕๖๒ เรื่อง หลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้า (Know Your
Customer: KYC) สำหรับการเปิดบัญชีเงินฝากของสถาบันการเงิน [๙]
(๘) ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ว่าด้วยการทำธุรกรรมแบบพบเห็นลูกค้าต่อหน้าสำหรับธนาคาร [๑๐]
ในมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลฯ ฉบับนี้ รูปแบบของคำที่ใช้แสดงออกถึงคุณลักษณะของเนื้อหา
เชิงบรรทัดฐาน (normative) และเนื้อหาเชิงให้ข้อมูล (informative) [๑] มีดังนี้
- "ต้อง" (shall) ใช้ระบุสิ่งที่เป็นข้อกำหนด (requirement) ที่ต้องปฏิบัติตาม
- "ควร" (should) ใช้ระบุสิ่งที่เป็นข้อแนะนำ (recommendation)
- "อาจ" (may) ใช้ระบุสิ่งที่ยินยอมหรืออนุญาตให้ทำได้ (permission)
-๑- | |
มรด. ๑ - ๒ : ๒๕๖๔
การลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล (Enrolment and Identity Proofing)
๒. ข้อกำหนดการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล (Enrolment and Identity Proofing Requirements)
การลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัลต้องทำให้มั่นใจได้ว่าผู้สมัครใช้บริการเป็นบุคคลที่กล่าวอ้างจริง โดยผ่านการแสดงตน (presentation) การตรวจสอบหลักฐานแสดงตน (validation) และการตรวจสอบตัวบุคคล (verification) โดยผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนควรพิจารณาถึงความสมดุลระหว่างความเป็นส่วนบุคคลและความต้องการที่จะใช้ข้อมูลของผู้ใช้บริการ เพื่อกำหนดเป็นคุณลักษณะขั้นต่ำที่จำเป็น (attribute) ในการพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล เช่น เลขประจำตัวประชาชน ชื่อ ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด เลขหลังบัตรประจำตัวประชาชน (laser code)
๒.๑ ระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี (Identity Assurance Level: IAL)
ระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี คือ ระดับความเข้มงวดในกระบวนการพิสูจน์ตัวตนของผู้สมัครใช้บริการ การกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตีที่เหมาะสมจะช่วยลดโอกาสของการพิสูจน์ตัวตนผิดพลาด โดยระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ดังนี้
(๑) ระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี ระดับที่ ๑ (IAL1)
มีการรวบรวมข้อมูลเพื่อระบุตัวตน พิจารณาและตรวจสอบหลักฐานแสดงตนหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ไม่มีข้อกำหนดในการแสดงตนและตรวจสอบตัวบุคคลโดยผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน เหมาะสำหรับบริการภาครัฐที่มีความเสี่ยงต่ำ
(๒) ระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี ระดับที่ ๒ (IAL2)
กำหนดให้มีการรวบรวมข้อมูลเพื่อระบุตัวตน พิจารณาหลักฐานแสดงตน โดยผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนต้องตรวจสอบกับแหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือว่าไอเดนทิตีที่กล่าวอ้างมีอยู่ในโลกแห่งความจริง รวมถึงตรวจสอบผู้สมัครใช้บริการว่าเป็นเจ้าของไอเดนทิตีที่กล่าวอ้าง การพิสูจน์ตัวตนที่ระดับ IAL2 สามารถทำได้ทั้งแบบพบเห็นต่อหน้า หรือแบบไม่พบเห็นต่อหน้า
ทั้งนี้ ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนที่รองรับระดับ IAL2 สามารถส่งผลการยืนยันตัวตนให้กับผู้ให้บริการภาครัฐที่ให้บริการที่ต้องการระดับ IAL1 ได้ หากผู้ใช้บริการให้ความยินยอม เหมาะสำหรับบริการภาครัฐที่มีความเสี่ยงปานกลางถึงความเสี่ยงสูง
(๓) ระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี ระดับที่ ๓ (IAL3)
เพิ่มความเข้มงวดให้กับข้อกำหนดที่ระดับ IAL2 ด้วยการพิจารณาหลักฐานแสดงตนเพิ่มเติมและการตรวจสอบข้อมูลชีวมิติ เพื่อป้องกันการปลอมตัวเป็นบุคคลอื่น การหลอกลวงการลงทะเบียนซ้ำหรือความเสียหายอื่น ๆ การพิสูจน์ตัวตนที่ระดับ IAL3 สามารถทำได้เฉพาะแบบพบเห็นต่อหน้าซึ่งรวมถึงแบบเสมือนพบเห็นต่อหน้า
ทั้งนี้ ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนที่รองรับระดับ IAL3 สามารถส่งผลการยืนยันตัวตนให้กับผู้ให้บริการภาครัฐที่ให้บริการที่ต้องการระดับ IAL1 และ IAL2 ได้ หากผู้ใช้บริการให้ความยินยอม เหมาะสำหรับบริการภาครัฐที่มีความเสี่ยงสูง
-๒- | |
มรด. ๑ - ๒ : ๒๕๖๔
๒.๒ ขั้นตอนการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล (Process Flow)
เพื่อให้ขั้นตอนการรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลหลักฐานแสดงตนของผู้สมัครใช้บริการ
มีคุณภาพเพียงพอที่จะมั่นใจว่า (๑) ผู้สมัครใช้บริการมีตัวตนจริงและมีเพียงหนึ่งเดียว (๒) หลักฐานเป็น
ของแท้ มีข้อมูลถูกต้อง และ (๓) ผู้สมัครใช้บริการเป็นเจ้าของหลักฐานที่นำมาแสดง มีกระบวนการ
ดำเนินการ ดังนี้
(๑) การรวบรวมข้อมูลเพื่อระบุตัวตน เป็นกระบวนการที่ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนรวบรวมคุณลักษณะ
และหลักฐานแสดงตนที่จำเป็นจากผู้สมัครใช้บริการ เพื่อแยกแยะว่าไอเดนทิตีของผู้สมัครใช้บริการ
มีเพียงหนึ่งเดียวและมีความเฉพาะเจาะจงภายในบริบทของผู้ใช้บริการทั้งหมดที่ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
ดูแล ทั้งนี้ การระบุตัวตนที่ดีควรใช้ชุดของคุณลักษณะเท่าที่จำเป็นในการแยกแยะไอเดนทิตีของ
ผู้สมัครใช้บริการแต่ละราย
(๒) การตรวจสอบหลักฐานแสดงตน เป็นกระบวนการที่ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนตรวจสอบความแท้จริง
สถานะการใช้งาน และความถูกต้องของหลักฐานแสดงตน รวมถึงตรวจสอบข้อมูลที่อยู่ในหลักฐาน
แสดงตนว่าเป็นของบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริง
(๓) การตรวจสอบตัวบุคคล เป็นกระบวนการที่ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนตรวจสอบตัวบุคคลที่แสดง
หลักฐานแสดงตน ว่าเป็นเจ้าของไอเดนทิตีที่กล่าวอ้างจริง โดยอาจมีการตรวจสอบช่องทางการติดต่อ
ของผู้สมัครใช้บริการที่ได้ให้ไว้ในขั้นตอนการลงทะเบียนว่าเป็นเจ้าของช่องทางที่ใช้ในการติดต่อจริง
รวมถึงสามารถติดต่อหรือส่งข้อมูลข่าวสารสำคัญไปยังผู้สมัครใช้บริการผ่านช่องทางดังกล่าวได้จริง
```mermaid
graph LR
A[ผู้สมัครใช้บริการ] --> B[รวบรวมข้อมูล]
B --> C[ตรวจสอบหลักฐานแสดงตน]
C --> D[ตรวจสอบตัวบุคคล]
D --> E[ผู้ใช้บริการ]
subgraph "1"
B
end
subgraph "2"
C
end
subgraph "3"
D
end
style A fill:#f9f,stroke:#333,stroke-width:2px
style E fill:#bbf,stroke:#333,stroke-width:2px
```
รูปที่ ๑ ขั้นตอนการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล
ที่มา: ปรับปรุงจาก (NIST, NIST Special Publication 800-63A – Digital Identity Guidelines
- Enrollment and Identity Proofing, 2017) [๒]
-๓- | |
มรด. ๑ - ๒ : ๒๕๖๔
จากรูปที่ ๑ แสดงให้เห็นขั้นตอนการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล มีทั้งหมด ๓ ขั้นตอน
ได้แก่
(๑) รวบรวมข้อมูลเพื่อระบุตัวตน (resolution)
การรวบรวมข้อมูลเพื่อระบุตัวตนมีจุดมุ่งหมายเพื่อแยกแยะว่าไอเดนทิตีที่กล่าวอ้างมีเพียงหนึ่งเดียว
โดยใช้ชุดของคุณลักษณะที่ใช้ระบุตัวตนให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเพื่อแยกแยะไอเดนทิตีที่กล่าวอ้างออก
จากไอเดนทิตีอื่น ซึ่งการรวบรวมข้อมูลเพื่อระบุตัวตนถือเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการลงทะเบียนและ
พิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล เช่น
(๑.๑) รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้สมัครใช้บริการ เช่น เลขประจำตัวประชาชน ชื่อ ชื่อสกุล
วันเดือนปีเกิด เลขหลังบัตรประจำตัวประชาชน อีเมล หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่
(๑.๒) รวบรวมหลักฐานแสดงตน เช่น บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง โดยอาจ
มีการทำสำเนาหรือถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐาน
(๒) ตรวจสอบหลักฐานแสดงตน (validation)
การตรวจสอบหลักฐานแสดงตนมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมหลักฐานการระบุตัวตนที่เหมาะสมที่สุด
จากผู้สมัครใช้บริการเพื่อแสดงถึงความเป็นของแท้ สมบูรณ์ และถูกต้อง ซึ่งขั้นตอนของการตรวจสอบ
หลักฐานแสดงตน ประกอบด้วย การรวบรวมหลักฐานแสดงตนที่เหมาะสม การยืนยันหลักฐานแสดงตน
ว่าเป็นของแท้ และการยืนยันข้อมูลของหลักฐานแสดงตนว่าถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไอเดนทิตี
ที่กล่าวอ้างมีอยู่ในโลกแห่งความจริง เช่น
(๒.๑) ตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลตามข้อ (๑) กับแหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
โดยผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนต้องประเมินข้อมูลที่ได้รับจากผู้สมัครใช้บริการว่าตรงกัน
(๒.๒) ตรวจสอบสำเนาหรือภาพถ่ายของหลักฐานแสดงตนว่าไม่มีการปลอมแปลงแก้ไข เช่น
เลขประจำตัวประชาชนที่อยู่ในสำเนาหรือภาพถ่ายต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐานที่
กรมการปกครองกำหนด
(๒.๓) ตรวจสอบข้อมูลกับแหล่งออกหลักฐานแสดงตนว่าตรงกัน
(๓) ตรวจสอบตัวบุคคล (verification)
การตรวจสอบตัวบุคคลมีจุดมุ่งหมายเพื่อยืนยันและเชื่อมโยงระหว่างไอเดนทิตีที่กล่าวอ้างกับ
บุคคลที่ยื่นหลักฐานแสดงตนว่าตรงกันและมีตัวตนอยู่ในโลกแห่งความจริง เช่น
(๓.๑) ให้ผู้สมัครใช้บริการถ่ายภาพตนเอง เพื่อพิสูจน์ความเป็นบุคคลและสังเกตพฤติกรรม
(liveness check) และตรวจสอบกับหลักฐานแสดงตนว่าตรงกัน
(๓.๒) นำภาพถ่ายจากหลักฐานแสดงตนเทียบกับภาพถ่ายของผู้สมัครใช้บริการว่าตรงกัน
(๓.๓) อาจมีการส่งรหัสการลงทะเบียนไปยังหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้สมัครใช้บริการ
โดยให้ผู้สมัครใช้บริการยืนยันรหัสการลงทะเบียนกลับมายังผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน
โดยผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนเป็นผู้ยืนยันว่ารหัสดังกล่าวตรงกัน เพื่อเป็นการตรวจสอบว่า
หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นเป็นของผู้สมัครใช้บริการจริง
-๔- | |
มรด. ๑ - ๒ : ๒๕๖๔
๒.๓ ข้อกำหนดทั่วไป (General Requirements)
ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตน ดำเนินการพิสูจน์ตัวตนของผู้สมัครใช้บริการที่มาขอใช้บริการว่าเป็นบุคคลรายนั้นจริง เพื่อป้องกันการทุจริตจากการปลอมแปลงหรือใช้ข้อมูลของบุคคลอื่นในการใช้บริการภาครัฐ ดังนี้
(๑) ต้องจัดให้ผู้สมัครใช้บริการแสดงตนและตรวจสอบความถูกต้อง ความแท้จริง และความเป็นปัจจุบันของข้อมูลและหลักฐานแสดงตนที่ได้รับจากผู้สมัครใช้บริการ รวมถึง ตรวจสอบว่าบุคคลที่มาสมัครใช้บริการภาครัฐเป็นบุคคลเดียวกันกับบุคคลในหลักฐานแสดงตน
(๒) ต้องบริหารความเสี่ยงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความเสี่ยงของบริการภาครัฐ โดยวิธีการพิสูจน์ตัวตนแบบไม่พบเห็นต่อหน้าและแบบเสมือนพบเห็นต่อหน้าอาจมีความเสี่ยงสูงกว่าแบบพบเห็นต่อหน้า จึงต้องพิสูจน์ตัวตนในระดับที่เข้มข้นกว่า รวมถึงจัดให้มีมาตรการหรือระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
(๓) ต้องกำหนดนโยบายและกระบวนการปฏิบัติงานภายในที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องทบทวน สื่อสาร ทำความเข้าใจ สร้างความตระหนักให้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้เห็นถึงความสำคัญ และปฏิบัติตามนโยบายและกระบวนการปฏิบัติงานภายในของผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนหรือหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ต้องสื่อสารทำความเข้าใจและให้ความรู้กับผู้ใช้บริการด้วย
ทั้งนี้ ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนดำเนินการพิสูจน์ตัวตนที่ระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี ระดับที่ ๒ หรือ ๓ ดังนี้
(๑) การพิสูจน์ตัวตนต้องไม่เป็นการประเมินถึงความเหมาะสม หรือการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงบริการหรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
(๒) การรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลต้องรวบรวมให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เพื่อตรวจสอบไอเดนทิตีที่กล่าวอ้างและเชื่อมโยงกับหลักฐานแสดงตนของผู้สมัครใช้บริการได้อย่างเหมาะสมสำหรับการรวบรวมข้อมูลเพื่อระบุตัวตน การตรวจสอบหลักฐานแสดงตน และการตรวจสอบตัวบุคคลซึ่งอาจตรวจสอบหลักฐานแสดงตนกับแหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและส่งให้ผู้ให้บริการภาครัฐใช้ในการตัดสินใจให้สิทธิเข้าใช้บริการ
(๓) ต้องแจ้งวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนของการรวบรวมและจัดเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้สำหรับการพิสูจน์ตัวตนเท่าที่จำเป็น รวมถึงระบุคุณลักษณะที่ขึ้นอยู่กับความสมัครใจหรือคุณลักษณะที่จำเป็นต่อกระบวนการพิสูจน์ตัวตน และผลที่ตามมาหากผู้สมัครใช้บริการไม่แสดงคุณลักษณะดังกล่าว
(๔) ไม่นำคุณลักษณะที่รวบรวมและจัดเก็บในกระบวนการพิสูจน์ตัวตนไปใช้กับวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากการพิสูจน์ตัวตน การยืนยันตัวตน หรือปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดโดยผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนต้องมีมาตรการในการรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับความเป็นส่วนบุคคล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทำผิดกฏหมาย เว้นแต่ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนได้แจ้งให้ผู้สมัครใช้บริการทราบอย่างชัดเจน และได้รับความยินยอมให้นำคุณลักษณะไปใช้กับ
-๕- | |
มรด. ๑ - ๒ : ๒๕๖๔
วัตถุประสงค์อื่น ๆ ทั้งนี้ ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนต้องไม่กำหนดการให้ความยินยอม
ให้นำคุณลักษณะไปใช้กับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เป็นเงื่อนไขในการให้บริการ
(๕) ต้องจัดให้มีกลไกสำหรับการแก้ไขข้อร้องเรียนหรือปัญหาของผู้สมัครใช้บริการที่เกิดขึ้น
จากการพิสูจน์ตัวตน โดยกลไกดังกล่าวต้องให้ผู้สมัครใช้บริการค้นหาและใช้งานได้ง่าย ทั้งนี้
ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนต้องประเมินประสิทธิภาพของกลไกต่าง ๆ ในการแก้ไขข้อร้องเรียนหรือ
ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
(๖) ต้องดำเนินการตามนโยบายหรือแนวปฏิบัติของการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตน ซึ่งระบุขั้นตอน
ของการตรวจสอบไอเดนทิตี โดยแนวปฏิบัติดังกล่าวต้องประกอบด้วยมาตรการควบคุมของ
ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนที่ต้องดำเนินการอย่างไร หากมีข้อผิดพลาดในการพิสูจน์ตัวตนที่ทำให้
ผู้สมัครใช้บริการลงทะเบียนไม่สำเร็จ เช่น จำนวนครั้งที่อนุญาตให้ลองลงทะเบียนใหม่ ทางเลือก
ของการพิสูจน์ตัวตน (เช่น ระบบออนไลน์ล้มเหลว) หรือมาตรการรับมือการฉ้อโกงเมื่อตรวจพบ
ความผิดปกติ
(๗) ต้องจัดเก็บบันทึก รวมถึงบันทึกการตรวจสอบ (audit log) ของรายละเอียดทุกขั้นตอนของ
การตรวจสอบไอเดนทิตีของผู้สมัครใช้บริการ ต้องบันทึกประเภทหลักฐานแสดงตน
ที่นำมาแสดงตนในขั้นตอนของการพิสูจน์ตัวตน และต้องดำเนินการตามกระบวนการบริหาร
จัดการความเสี่ยง รวมถึงการประเมินความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนบุคคลและความมั่นคงปลอดภัย
เพื่อกำหนด ดังนี้
(๗.๑) ขั้นตอนเพิ่มเติมใด ๆ ที่ใช้ในการตรวจสอบไอเดนทิตีของผู้สมัครใช้บริการ นอกเหนือจาก
ข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติตามซึ่งระบุไว้ในมาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลฯ ฉบับนี้
(๗.๒) ข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงข้อมูลชีวมิติ รูปภาพ ภาพสแกน หรือสำเนาของหลักฐานแสดงตนอื่น ๆ
ที่ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนต้องจัดเก็บไว้เป็นบันทึกของการพิสูจน์ตัวตน
(๗.๓) ระยะเวลาของการจัดเก็บบันทึกของการพิสูจน์ตัวตนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ
หรือนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๘) ข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดที่ได้รวบรวมมาจากกระบวนการลงทะเบียน ต้องมีการปกป้องเพื่อให้
มั่นใจได้ว่ามีการรักษาความลับ (confidentiality) มีความครบถ้วน ถูกต้อง สมบูรณ์ (integrity)
และระบุแหล่งที่มาของข้อมูล (attribution of the information source)
(๙) การทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับการพิสูจน์ตัวตนทั้งหมด รวมถึงธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่สาม
ต้องดำเนินการผ่านช่องทางการติดต่อสื่อสารที่มีความมั่นคงปลอดภัย
(๑๐) ควรมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อบรรเทาการฉ้อโกงและเพิ่มความน่าเชื่อถือในการพิสูจน์ตัวตน เช่น
การตรวจสอบตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ การตรวจสอบอุปกรณ์ การตรวจสอบลักษณะและ
พฤติกรรมของผู้สมัครใช้บริการ และต้องประเมินความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนบุคคลสำหรับ
มาตรการดังกล่าวข้างต้น ซึ่งการประเมินความเสี่ยงดังกล่าวต้องรวมถึงการบรรเทาความเสี่ยง เช่น
การยอมรับหรือถ่ายโอนความเสี่ยง การจัดเก็บในระยะเวลาที่จำกัด การจำกัดการใช้ข้อมูล
และการแจ้งข้อมูลรวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยบรรเทาความเสี่ยง เช่น การเข้ารหัส
(cryptography) และการจัดทำเอกสารตามข้อกำหนดที่ ๒.๓ (๗)
-๖- | |
มรด. ๑ - ๒ : ๒๕๖๔
(๑๑) เมื่อกระบวนการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนสิ้นสุดลง ต้องกำจัดหรือทำลายข้อมูลอ่อนไหว
(sensitive data) รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคล หรือการป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต
ตลอดช่วงระยะเวลาของเก็บรักษาข้อมูล
๒.๔ ข้อกำหนดวิธีการพิสูจน์ตัวตน (Identity Proofing Method Requirements)
ต้องนำข้อมูลและหลักฐานแสดงตนมาตรวจสอบความถูกต้อง ความแท้จริง และ
ความเป็นปัจจุบัน รวมถึงตรวจสอบตัวบุคคลว่าเป็นผู้สมัครใช้บริการรายนั้นจริง โดยต้องดำเนินการ
ดังนี้
๒.๔.๑ การพิสูจน์ตัวตนแบบพบเห็นต่อหน้า
(๑) ต้องตรวจสอบหลักฐานแสดงตนว่ามีความถูกต้อง ความแท้จริง และยังมีสถานะใช้งานได้
(๒) กรณีผู้สมัครใช้บริการแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ต้องตรวจสอบสถานะของข้อมูลและ
บัตรประจำตัวประชาชนของผู้สมัครใช้บริการที่เป็นปัจจุบันผ่านระบบให้บริการของ
แหล่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพื่อทราบสถานะของข้อมูลและบัตรประจำตัวประชาชน
(๓) กรณีผู้สมัครใช้บริการแสดงหลักฐานแสดงตนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือ
ต้องตรวจสอบความถูกต้อง ความแท้จริงของข้อมูลและหลักฐานแสดงตนด้วยเครื่องมือ
อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อป้องกันการปลอมแปลงข้อมูลบนหน้าหลักฐานแสดงตน ทั้งนี้ หาก
ผู้สมัครใช้บริการไม่มีหลักฐานแสดงตนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือ หรือมีเหตุจำเป็น
ที่หลักฐานแสดงตนที่มีข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์บกพร่อง ให้บริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
อย่างเหมาะสมและรัดกุม
(๔) กรณีผู้สมัครใช้บริการให้ช่องทางการติดต่อเป็นหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออีเมล
ต้องตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออีเมลดังกล่าวของผู้สมัครใช้บริการว่าสามารถ
ติดต่อได้จริง
(๕) กรณีเลือกใช้วิธีการตรวจสอบลักษณะที่ปรากฏเทียบกับรูปถ่ายจากหลักฐานแสดงตน
(physical comparison) ต้องตรวจสอบว่าตรงกับลักษณะที่ปรากฏของผู้สมัครใช้บริการ
เพื่อยืนยันว่าเป็นเจ้าของหลักฐานแสดงตนดังกล่าวจริง ทั้งนี้ กรณีผู้สมัครใช้บริการแสดง
หลักฐานแสดงตนที่มีข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ควรใช้รูปถ่ายที่อยู่ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
จากหลักฐานแสดงตนดังกล่าว เพื่อป้องกันการปลอมแปลงรูปถ่ายบนหน้าหลักฐานแสดงตน
(๖) กรณีเลือกใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลชีวมิติ (biometric comparison) เช่น ภาพใบหน้า หรือ
ลายนิ้วมือ ต้องตรวจสอบเทียบกับข้อมูลชีวมิติจากหลักฐานแสดงตนว่าตรงกับ
ผู้สมัครใช้บริการรายนั้นจริง
๒.๔.๒ การพิสูจน์ตัวตนแบบไม่พบเห็นต่อหน้า
(๑) ต้องตรวจสอบหลักฐานแสดงตนว่ามีความถูกต้อง ความแท้จริง และยังมีสถานะใช้งานได้
(๒) ต้องจัดให้มีกระบวนการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนผ่านระบบที่มีความน่าเชื่อถือ และ
มีมาตรการหรือระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการตรวจสอบข้อมูลและหลักฐานแสดงตน
ของผู้สมัครใช้บริการเทียบเท่ากับการพิสูจน์ตัวตนแบบพบเห็นต่อหน้า หรือเสมือนพบเห็นต่อหน้า
-๗- | |
มรด. ๑ - ๒ : ๒๕๖๔
(๓) กรณีเลือกใช้วิธีการตรวจสอบลักษณะที่ปรากฏจากรูปถ่ายของผู้สมัครใช้บริการเทียบกับ
รูปถ่ายจากหลักฐานแสดงตน ต้องตรวจสอบว่าตรงกับลักษณะที่ปรากฏของผู้สมัครใช้บริการ
เพื่อยืนยันว่าเป็นเจ้าของหลักฐานแสดงตนดังกล่าวจริง
(๔) กรณีเลือกใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลชีวมิติ เช่น ภาพใบหน้า หรือลายนิ้วมือ อาจใช้เทคโนโลยี
เพื่อพิสูจน์ความเป็นบุคคลและสังเกตพฤติกรรมผู้สมัครใช้บริการ (liveness detection)
และเทคโนโลยีเปรียบเทียบข้อมูลชีวมิติของผู้สมัครใช้บริการ เพื่อพิสูจน์ว่าเป็น
ผู้สมัครใช้บริการรายนั้นจริงทดแทนการพบเห็นต่อหน้า ถ้าไม่สามารถสังเกตพฤติกรรมของ
ผู้สมัครใช้บริการ ต้องกำหนดกระบวนการหรือแนวทางการบริหารความเสี่ยงเพิ่มเติม
เพื่อลดความเสี่ยงจากกรณีทุจริตต่าง ๆ ได้
๒.๔.๓ การพิสูจน์ตัวตนแบบเสมือนพบเห็นต่อหน้า
(๑) ต้องตรวจสอบหลักฐานแสดงตนว่ามีความถูกต้อง ความแท้จริง และยังมีสถานะใช้งานได้
(๒) ต้องจัดให้มีกระบวนการลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนผ่านระบบที่มีความน่าเชื่อถือ
และมีมาตรการหรือระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการตรวจสอบข้อมูลและ
หลักฐานแสดงตนของผู้สมัครใช้บริการเทียบเท่ากับการพิสูจน์ตัวตนแบบพบเห็นต่อหน้า
(๓) ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบและผ่านการฝึกอบรม ทำหน้าที่เฝ้าสังเกตและ
เข้าร่วมสนทนาออนไลน์กับผู้สมัครใช้บริการแบบถ่ายทอดสดตลอดเวลาของการลงทะเบียน
และพิสูจน์ตัวตน
๒.๕ ข้อกำหนดของระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี ระดับที่ ๑ (IAL1)
ผู้พิสูจน์และยืนยันตัวตนต้องดำเนินการตามข้อกำหนดของระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี
ระดับที่ ๑ ดังนี้
(๑) รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อระบุตัวตนของผู้สมัครใช้บริการหรือไม่ก็ได้
(๒) กรณีขอหลักฐานแสดงตนที่ยังไม่หมดอายุจากผู้สมัครใช้บริการ มีดังนี้
(๒.๑) บัตรประจำตัวประชาชน หรือ
(๒.๒) หนังสือเดินทาง หรือ
(๒.๓) หลักฐานแสดงตนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือ
(๓) ตรวจสอบข้อมูลหรือหลักฐานแสดงตนตามข้อ ๒.๕ (๒) ว่าเป็นของแท้ และถูกต้อง
(๔) ตรวจสอบช่องทางการติดต่อว่าสามารถติดต่อผู้สมัครใช้บริการได้
-๘- |
End of preview. Expand
in Dataset Viewer.
README.md exists but content is empty.
- Downloads last month
- 47