image
imagewidth (px)
16
7k
text
stringlengths
25
184k
title
stringlengths
3
76
Infobox scientist | name = แอลัน ทัวริง | honorific_suffix = | image = Alan Turing az 1930-as években.jpg | caption = ทัวริง ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1930 | birth_date = | birth_place = ไมดาเวล กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ | death_date = | death_place = วิล์มสโลว์ เชชเชอร์ ประเทศอังกฤษ | resting_place = Ashes scattered near Woking Crematorium | death_cause = การเป็นพิษจากไซยาไนด์ | residence = วิล์มสโลว์ ชีไชร์ ประเทศอังกฤษ | field = Plainlist| * ตรรกศาสตร์ * คณิตศาสตร์ * Cryptanalysis * วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ * คณิตศาสตร์ชีววิทยา | work_institutions = | education = Sherborne School | alma_mater = | doctoral_advisor = อลอนโซ เชิร์ช | doctoral_students = Robin Gandycite thesis|degree=PhD|publisher=University of Cambridge|title=On axiomatic systems in mathematics and theories in physics|first= Robin Oliver|last=Gandy|date=1953|url=https://www.repository.cam.ac.uk/handle/1810/245090|id=|website=repository.cam.ac.uk|doi=10.17863/CAM.16125 | influences = Max NewmanIvor Grattan-Guinness|Grattan-Guinness, Ivor, Chapter 40, ''Turing's mentor, Max Newman''. In | thesis_title = Systems of Logic Based on Ordinals | thesis_url = https://webspace.princeton.edu/users/jedwards/Turing%20Centennial%202012/Mudd%20Archive%20files/12285_AC100_Turing_1938.pdf | thesis_year = 1938 | signature = Alan Turing signature.svg | known_for = | prizes = Smith's Prize (1936) '''แอลัน แมธิสัน ทัวริง''' (; 23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) – 7 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954)) เป็นนักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยาและวีรบุรุษสงครามชาวอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ เขาได้สร้างรูปแบบที่เป็นทางการทางคณิตศาสตร์ของการระบุขั้นตอนวิธีและการคำนวณ โดยใช้เครื่องจักรทัวริง ซึ่งตามข้อปัญหาเชิร์ช-ทัวริงได้กล่าวว่าเป็นรูปแบบของเครื่องจักรคำนวณเชิงกลที่ครอบคลุมทุก ๆ รูปแบบที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ทัวริงมีส่วนในการแกะการเข้ารหัสลับ|รหัสลับของฝ่ายประเทศเยอรมนี|เยอรมัน โดยเขาเป็นหัวหน้าของกลุ่ม Hut 8 ที่ทำหน้าที่ในการแกะรหัสของเครื่องเอนิกมาที่ใช้ในฝ่ายทหารเรือ ซึ่งประมาณกันว่าเขาสามารถย่นเวลาสงครามได้ถึง 2 ปี หลังสงครามเขาได้ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถโปรแกรมได้เครื่องแรก ๆ ของโลกที่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติ และได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นจริง ๆ ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ รางวัลทัวริงได้รับการก่อตั้งขึ้นเพื่อยกย่องเขาในเรื่องนี้ นอกจากนั้นแล้ว การทดสอบของทัวริงที่เขาได้เสนอนั้นมีผลอย่างสูงต่อการศึกษาเรื่องปัญญาประดิษฐ์ แต่มีข้อถกเถียงว่า ''เป็นไปได้หรือไม่ที่จะกล่าวว่าเครื่องจักรนั้นมีสำนึกและสามารถคิดได้'' == ประวัติ == แอลัน ทัวริงเป็นชาวอังกฤษ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) ที่ลอนดอน และอาศัยอยู่กับพี่ชาย บิดาและมารดาของทัวริงพบกันและทำงานที่ประเทศอินเดีย ในสมัยมัธยม ทัวริงสนิทและนับถือรุ่นพี่คนหนึ่งชื่อ คริสโตเฟอร์ มอร์คอม (Christopher Morcom) ซึ่งเสียชีวิตไปเสียก่อน ทัวริงเสียใจมากจึงตั้งใจสานต่อสิ่งที่รุ่นพี่เขาอยากทำให้สำเร็จ ตลอดสามปีหลังจากนั้น เขาเขียนจดหมายอย่างสม่ำเสมอให้คุณแม่ของมอร์คอม ว่าเขาคิดและสงสัยเรื่องความคิดของคนว่าไปจับจดอยู่ในเรื่องหนึ่ง ๆ ได้อย่างไร (how the human mind was embodied in matter) และปล่อยเรื่องนั้น ๆ ออกไปได้อย่างไร (whether accordingly it could be released from matter) แล้ววันหนึ่งเขาก็ไปเจอหนังสือดังในยุคนั้นชื่อ "The Nature of the Physical World" อ่านไปก็เกิดนึกไปเองว่ากลศาสตร์ควอนตัม|ทฤษฏีกลศาสตร์ควอนตัมมันต้องเกี่ยวกับปัญหาเรื่อง mind and matter ที่เขาคิดอยู่ === การเสียชีวิต === วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (ค.ศ.1954) ทัวริงถูกพบเสียชีวิตในบ้านพัก ขณะอายุเพียง 41 ปี หลังการชันสูตรพบว่าเขารับสารไซยาไนด์ในปริมาณที่ฆ่าคนได้ แต่จนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีใครทราบเหตุผลที่ทำให้เขาตาย บ้างว่าเขาฆ่าตัวตายเพราะแรงกดดันจากข้อหารักร่วมเพศและการถูกฉีดยาลดความต้องการทางเพศ บ้างก็ว่าเขารับไซยาไนด์โดยบังเอิญเพราะเป็นสารเคมีที่เขาใช้ในการทำงาน บ้างก็ว่าเขาถูกลอบสังหารเพื่อป้องกันความลับของรัฐบาลรั่วไหลhttps://www.posttoday.com/world/595043 อลัน ทัวริงผู้ช่วยชีวิตคนนับล้าน แต่กลายเป็นอาชญากรเพราะรักผู้ชาย === ล้างมลทิน === ในปี พ.ศ. 2556 (ค.ศ.2013) อลัน ทิวริง ได้รับพระราชทานอภัยโทษหลังการเสียชีวิตจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และอังกฤษได้บังคับใช้กฎหมายลดทอนความเป็นอาชญากรรมของการรักร่วมเพศระหว่างผู้ชาย หรือ 'ทิวริงส์ลอว์' (Turing's Law) ซึ่งส่งผลให้ชายที่ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดตามกฎหมายรักร่วมเพศที่ถูกยกเลิกไปก่อนหน้านี้ ทั้งผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วและยังมีชีวิตอยู่ พ้นจากความผิด โดยจะได้รับการล้างมลทินและข้อหาดังกล่าวจะถูกลบออกจากประวัติอาชญากรรมhttps://www.bbc.com/thai/international-49007726 ธนบัตร 50 ปอนด์ : อลัน ทิวริง สำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์โลกจึงได้รับเกียรติบนแบงก์รุ่นใหม่ === สันนิษฐานเกี่ยวกับการเสียชีวิต === มีการสันนิษฐานว่าแอลัน ทัวริงนั้นได้ทำการฆ่าตัวตาย ได้สันนิษฐานได้หลายสาเหตุ ว่าจะมาจากการหนักใจเรื่องการรักษาด้วยยาปรับฮอร์โมน ที่รัฐบาลอังกฤษได้สั่งให้ทำการรักษาเพื่อไม่ให้เป็นเกย์แทนการจำคุก และยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งคือ อาจจะเกิดการฆาตกรรมเนื่องจากรักษาความปลอดภัยความลับทางทหารเกี่ยวกับภารกิจเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พบอยู่ภายในห้องนอนของเขาคือผลแอปเปิ้ลที่ถูกกัดแหว่ง ได้ทำการคาดเดาว่าการตายโดยแอปเปิ้ลของทัวริงไม่จำเป็นต้องมีเจตนา หรืออาจจะเจตนา จากการตรวจพบสารไซยาไนด์บนผลแอปเปิ้ล ซึ่งอาจจะคล้ายกับภาพยนตร์แอนิเมชั่นสโนว์ไวท์เกี่ยวกับแอปเปิ้ลอาบยาพิษ หรืออีกสาเหตุหนึ่งคือการวางผลแอปเปิ้ลโดนสารไซยาไนด์ในห้องทดลองของเขาแล้วเผลอรับประทานเข้าไป แต่ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปการเสียชีวิตของแอลัน ทัวริงได้https://www.mentalfloss.com/article/64049/did-alan-turing-inspire-apple-logo == การศึกษาและงาน == ใน พ.ศ. 2474 เขาเข้าเรียนคณิตศาสตร์ที่คิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (หมายเหตุ: ยุคนั้นคิงส์คอลเลจเป็นที่พักชายล้วน ซึ่งทัวริงก็อยู่อย่างเปิดเผยว่าเขาเป็นเกย์ และเข้าร่วมกิจกรรมชมรม) ทัวริงมีความสุขกับชีวิตที่นี่มากและทำกิจกรรมหลายอย่าง เช่น พายเรือ, เรือใบเล็ก และ วิ่งแข่ง ทัวริงพูดเสมอว่า "งานของผมนั้นเครียดมาก และทางเดียวที่ผมจะเอามันออกไปจากหัวได้ก็คือ วิ่งให้เต็มที่" และเขาก็วิ่งอย่างจริงจัง โดยที่ผลการวิ่งมาราธอนของเขา ชนะเลิศการแข่งขันของสมาคมนักกรีฑาสมัครเล่น ด้วยเวลา 2 ชั่วโมง 43 นาที 3 วินาที ใน พ.ศ. 2489 ซึ่งในการแข่งขันวิ่งมาราธอนโอลิมปิก เมื่อ พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) คนที่ได้เหรียญทอง ทำเวลาได้เร็วกว่าเขาเพียง 11 นาที ส่วนในเรื่องวิชาการในวงการคณิตศาสตร์ยุคนั้น เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์|รัสเซลล์ (Russell) เสนอเอาไว้ว่า "mathematical truth could be captured by any formalism" แต่ยุคนั้น คูร์ท เกอเดิล|เกอเดิล (Gödel) โต้ว่า "the incompleteness of mathematics: the existence of true statements about numbers which could not be proved by the formal application of set rules of deduction". พอปี พ.ศ. 2476 ทัวริงก็ได้เจอกับรัสเซลล์แล้วก็ตั้งคำถาม พร้อมถกเรื่องราวเหล่านี้ขึ้นมา ทำให้เขาสนใจ ใน พ.ศ. 2477 ทัวริงก็จบจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ทางมหาวิทยาลัยก็เลยเชิญเขาอยู่เป็น Fellow ด้านคณิตศาสตร์ต่อ (ส่วนใหญ่ Fellow ของเคมบริดจ์จะเป็นพวกที่จบปริญญาเอก แต่ทัวริงจบเพียงปริญญาตรี) ปี พ.ศ. 2478 ทัวริงไปเรียนกับจอห์น ฟอน นอยมันน์ เรื่อง ปัญหาของการตัดสินใจ (Entscheidungs problem) ที่ถามว่า "Could there exist, at least in principle, a definite method or process by which it could be decided whether any given mathematical assertion was provable?" ทัวริงก็เลยมาคิด ๆ โดยวิเคราะห์ว่า คนเราทำอย่างไรเวลาทำงานที่เป็นกระบวนการที่มีกฎเกณฑ์ (methodical process) แล้วก็นึกต่อว่า วางกรอบว่าให้เป็นอะไรซักอย่างที่สามารถทำได้อย่างเป็นกลไก (mechanically) ล่ะ? เขาก็เลยเสนอทฤษฏีออกมาเป็น "The analysis in terms of a theoretical machine able to perform certain precisely defined elementary operations on symbols on paper tape". โดยยกเรื่องที่เขาคิดมาตั้งแต่เด็กว่า 'สถานะความคิด' (state of mind) ของคน ในการทำกระบวนการทางความคิด มันเกี่ยวกับการเก็บ และเปลี่ยนสถานะจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนี่ง ได้ตามการกระทำทางความคิด โดยทัวริงเรียกสิ่งนี้ว่า คำสั่งตรรกะ (logical instructions) แล้วก็บอกว่าการทำงานต้องมี กฎเกณฑ์ที่แน่นอน (definite method) (ต่อมาเรียกว่า ขั้นตอนวิธี) เมื่อ พ.ศ. 2479 เขาจึงเตรียมออกบทความวิชาการที่มืชื่อเสียง "On Computable Numbers with an application to the Entscheidungsproblem" แต่ก่อนเขาออกบทความนี้ มีอีกงานของฝั่งอเมริกาของ Church ออกมาทำนองคล้าย ๆ กันอย่างบังเอิญ เขาเลยถูกบังคับให้เขียนอิงงาน Church ไปด้วย (เพราะบทความเขาออกทีหลัง) แต่พอบทความเขาออกมาจริง ๆ คนอ่านก็เห็นว่าเป็นคนละทฤษฏีกันและของเขามีเนื้อหา relied upon an assumption internal to mathematics แม่นกว่า การเน้นเรื่อง operation ใน physical world (ยุคต่อมาคนก็เลยนำ concept เขาไปประยุกต์ใช้และให้เกียรติว่า เครื่องทัวริง|Turing machine จึงเป็นที่มาของการยกย่องให้ทัวริงเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์) ปลายปีนั้นเองเขาก็ได้รับรางวัลสมิธ (Smith's Prize) ไปครอง แล้วเขาก็ไปทำปริญญาโทและปริญญาเอกต่อที่ศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ซึ่งสงบเงียบตัดห่างจากผู้คน แล้วก็ออกบทความว่า โลกทางความคิดกับโลกทางกายมันเชื่อมถึงกันได้ ผ่านออกมาด้วยการกระทำ (ในยุคนั้นคนยังไม่คิดแบบนี้กัน) แล้วก็เสนอความคิดออกมาเป็น Universal Turing Machine (เครื่องจักรทัวริง) ในยุคนั้นยังไม่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ แต่เรียกว่าเป็นเครื่องคำนวณที่สามารถป้อนข้อมูลได้ ต่อมาทัวริงก็สร้างเครื่องเข้ารหัส (cipher machine) โดยใช้รีเลย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สำหรับการคูณเลขฐานสอง หลังจากเขาสำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยปรินซ์ตันก็เสนอตำแหน่งให้เขา แต่เขาตัดสินใจกลับเคมบริดจ์ เลยทิ้งทีมเพื่อน ๆ ไว้และจอห์น ฟอน นอยมันน์ก็เข้ามาสานต่อพอดี ส่วนตัวทัวริงก็เลือกไปทำงานด้าน 'ordinal logic' ต่อแทน เพราะเขาบอกว่าเป็น "my most difficult and deepest mathematical work, was an attempt to bring some kind of order to the realm of the uncomputable" เพราะทัวริงเชื่อว่าคนเรา โดยสัญชาตญาณสามารถตอบโต้ต่อเหตุการณ์ได้โดยไม่ต้องคำนวณ ("Human 'intuition' could correspond to uncomputable steps in an argument") แต่งานยังไม่เสร็จ ก็มีสงครามโลกครั้งที่สองเสียก่อน คือก่อนหน้านั้นเขาก็ทำงาน (อย่างเป็นความลับ) ให้กับ British Cryptanalytic department (หรือเรียกกันว่า Government code & cypher school) พอสงครามเริ่มเขาเลยเปิดเผยตัวเอง (ปกติจะทำเป็น fellow ที่คิงส์คอลเลจ เคมบริดจ์ อยู่หน้าฉากงานเดียว) เลยออกย้ายไปทำงานที่ the wartime cryptanalytic headquaters, Bletchley Park เป้าหมายคือเจาะรหัสของเครื่องเข้ารหัสเอนิกมา (Enigma Cipher Machine) ของเยอรมันให้ได้ ช่วงนั้น ทัวริงทำงานกับ W.G. Welchman นักคณิตศาสตร์ชื่อดังของเคมบริดจ์อีกคน (คนนี้ทำ critical factors, ทัวริงทำ machanisation of subtle logical deduction) ทัวริงบอกว่าเขาเจาะรหัสได้แล้วคร่าว ๆ ในปี ค.ศ. 1939 แต่ต้องได้เครื่องเอนิกมา มาวิเคราะห์การคำนวณทางสถิติเป็นขั้นสุดท้ายก่อน แล้วทุกอย่างจะออกหมด แต่ต้องรอถึงปี ค.ศ. 1942 ที่เรือดำน้ำ U-boat ของสหรัฐไปยึดมาได้ และแล้วหลังจากนั้นอีนิกมาก็ไม่มีความหมายอีกต่อไป พอสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มสงบ ค.ศ. 1944 ทัวริงก็เริ่มสานต่อโครงการเก่าตั้งชื่อ "Buiding the Brain" แต่ตัดสินใจล้มโครงการไปในปี ค.ศ. 1945 พอได้ข่าวว่าจอห์น ฟอน นอยมันน์ออกบทความเรื่อง EDVAC ออกมาจากฝั่งอเมริกา ปี ค.ศ. 1946 ทัวริงกลับมาดูงานใหม่ ก็พบว่าเป็นงานคนละแนวคิดกัน ทางอเมริกาเน้นด้านอิเลกทรอนิกส์ แต่ทัวริงคิดแบบคณิตศาสตร์ ("I would like to implement arithmetical functions by programming rather than by building in electronic components, a concept different from that of the American-derived designs). โครงการตอนนั้นของทัวริงคือเครื่องคำนวณ (computation machine) ที่สามารถเปลี่ยนได้ตามใจชอบจาก numerical work เป็น algebra เป็น code breaking เป็น file handling หรือแม้กระทั่งเกมส์. ปี ค.ศ. 1947 ทัวริงเสนอว่า ต้องมีระบบจัดเก็บข้อมูล และ โปรแกรมคอมพิวเตอร์|ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ต้องขยายตัวเองออกเป็น ชุดคำสั่งย่อย ๆ ได้ โดยการใช้รูปย่อแบบ รหัสย่อ (คำสั่ง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของภาษาโปรแกรม) แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับการสนันสนุน มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ยังคงเสนอตำแหน่งให้เขา แต่ทัวริงตัดสินใจเปลี่ยนสายขอพัก ไม่ทำด้านคณิตศาสตร์ ไม่ทำด้านเทคโนโลยี แต่ไปทำเรื่อง neurology กับ physiology sciences แทน แล้วก็ออกบทความเรื่องเครือข่ายประสาท ขึ้นมาว่า "a sufficiently complex mechanical system could exhibit learning ability" แล้วส่งบทความไปตีพิมพ์กับ NPL แต่ NPL ก็ทำงานช้า อยู่ ๆ ทีมนักวิจัยที่เคมบริดจ์เอง (สมัยนั้นยังชื่อ Mathematical Laboratory อยู่ ยังไม่ได้เปลี่ยนเป็น Computer Laboratory) ก็ผลิตเครื่อง EDSAC ขึ้นมา (เป็นเครื่อง storage computer machine เครื่องแรก) โดยใช้หลักของชาร์ล แบบเบจ พร้อมๆ กับ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ได้ทีมของทัวริงไปทำเครื่องในแนวทัวริงได้สำเร็จ ทัวริงเลยขี้เกียจยุ่งเรื่องการแข่งขันผลงานทางวิทยาศาสตร์ (ช่วงนั้นผลิตกันเร็วมาก) เลยไปวิ่งแข่งแทน เพราะเวลาที่เขาวิ่งในปี ค.ศ. 1946 นั้น ทำให้เขามีสิทธิ์ลุ้นเหรียญทองวิ่งมาราธอนโอลิมปิก แต่โชคร้ายเขาประสบอุบัติเหตุรถยนต์ก่อน เลยไม่สามารถไปแข่งโอลิมปิกในปี ค.ศ. 1948 ได้ (ในปีนั้นคนที่ได้เหรียญเงินเวลารวมก็แพ้ทัวริง) สุดท้ายทัวริงก็เลยตัดสินใจกลับเคมบริดจ์ ผ่านไประยะนึง ทีมงานเก่าเขาที่ย้ายไปมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ก็เชิญเขาไปเป็นหัวหน้าภาควิชาใหม่ (ภาควิชาคอมพิวเตอร์) ทัวริงเลยตัดสินใจย้ายไป คราวนี้ไปเน้นด้านซอฟต์แวร์ ออกบทความวิชาการชื่อดังอีกอันในยุคนั้น "Computer Machine and Intelligence" ในปี ค.ศ. 1950 ซึ่งเป็นรากฐานของแนวคิดพัฒนา ปัญญาประดิษฐ์ ในวงการคอมพิวเตอร์ ใน ค.ศ. 1951 เขาก็จับงานใหม่อีกเล่นอีกแนว morphogenetic theory ออกบทความเรื่อง "The Chemical Basis of Morphogenesis" ซึ่งต่อมาเป็น founding paper of modern non-linear dynamical theory (พวก pattern formation of instability into the realm of spherical objects, e.g. radiolaria, cylinder, model of plant stems) ใน ค.ศ. 1952 เขาถูกจับ โทษฐานมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย ทัวริงไม่ปฏิเสธและยอมรับโทษแต่โดยดี มีทางเลือกให้เขาสองทางคือ จำคุกกับการฉีดฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลาหนึ่งปีเพื่อลดความต้องการทางเพศ ซึ่งเขาเลือกที่จะรับการฉีดยา และแล้วปี ค.ศ. 1954 ร่างของทัวริงก็ถูกพบโดยพนักงานทำความสะอาด ในสภาพมีแอปเปิลครึ่งลูกหล่นอยู่ข้าง ๆ และมีร่องรอยการทำการทดลองทางเคมีอยู่ใกล้ ๆ ในที่สุดเมื่อวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2009 หลังจากการรณรงค์ทางอินเทอร์เน็ต กอร์ดอน บราวน์นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรก็ทำการขอโทษอย่างเป็นทางการในนามของรัฐบาลบริติชต่อวิธีอันไม่ถูกต้องที่รัฐบาลปฏิบัติต่อทัวริงหลังสงครามhttp://news.bbc.co.uk/1/hi/technology/8249792.stm BBC coverage of Gordon Brown's apology for Turing's mistreatment by the British government หลายปีต่อมา มีการเปิดเผยขึ้นมาว่า ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสงบลง เขายังคงทำงานให้กับองค์การ 'รหัสลับ' แบบลับ ๆ ของรัฐบาลอยู่ อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถบอกเพื่อน ๆ ได้ว่าทำอะไรบ้างและปิดบังมาตลอด ช่วงนั้นกำลังมีสงครามเย็น สหราชอาณาจักรกับสหรัฐเป็นพันธมิตรกัน สู้กับยุโรปตะวันออก, แต่เพื่อนชาวยุโรปตะวันออก ที่เคยร่วมงานกันมาก่อนพยายามติดต่อตัวเขา เช่นในปี ค.ศ. 1953 เพื่อนเขาชาวนอร์เวย์ (เป็นสังคมนิยม) ถึงกับมาเยี่ยม ขณะที่เขากำลังพักผ่อนอยู่ที่ประเทศกรีซ ทำให้พอเขากลับมาถึงอังกฤษ ก็ถูกเรียกไปคุยกับเจ้าหน้าที่ความมั่นคง แต่ก็ไม่มีใครรู้ว่าจริง ๆ แล้วมันเกิดเรื่องอะไรและมีเบื้องหลังอย่างไร สำหรับผลงานที่เด่น ๆ ของทัวริง เช่น การคิดโมเดลที่สามารถทำงานได้เทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ (แต่อาจมีความเร็วต่ำกว่า) โดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ เพียง เดินหน้า ถอยหลัง เขียน ลบ == เกียรติยศ / เชิดชู == === อนุสรณ์ === * '''อนุสรณ์ของแอลัน ทัวริง''' เป็นประติมากรรมลอยตัว สวมสูท นั่งบนม้านั่ง มือด้านขวาถือแอปเปิ้ลที่ถูกกัด ปฏิมากรรมสร้างขึ้นด้วยเหล็กสำริด บนพื้นมีลายธง :en:Pride|Pride ทำด้วยกระเบื้องโมเสค ปฏิมากรรมนี้ตั้งอยู่ ณ สวนสาธารณะ Sackville Park ถนน Sackville Street ลอนดอน|กรุงลอนดอน (London)https://www.manchestereveningnews.co.uk/news/nostalgia/manchester-public-art-alan-turing-8054356 , สหราชอาณาจักร * ไฟล์:Alan Turing Memorial Closer.jpg|thumb|อนุสรณ์ แอลัน ทัวริง ณ Sackville Gardens , กรุงลอนดอนไฟล์:Alan Turing by Stephen Kettle 2007.jpg|thumb|ประติมากรรมแอลัน ทัวริง ปั้นขึ้นโดยนักประติมากรชาวอังกฤษ Stephen Kettle '''ประติมากรรมแอลัน ทัวริง''' เป็นประติมากรรมลอยตัว สร้างสรรค์ผลงานโดยนักประติมากรชาวอังกฤษ Stephen Kettle ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะโดยการใช้วัสดุหินฉนวน ตั้งอยู่ ณ Bletchley Park ที่ทำการเมื่อครั้งแอลัน ทัวริง กับคณะใช้ในการปฏิบัติการณ์ทำลายรหัสนาซี ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งอยู่ที่ มณฑลบักกิงแฮมเชอร์ สหราชอาณาจักร|, สหราชอาณาจักรhttps://en.wikipedia.org/wiki/Stephen_Kettle === สลักรูปบนธนบัตร === * พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) ธนบัตร 50 ปอนด์สเตอร์ลิง ของประเทศอังกฤษ ได้ทำการสลักรูป "อลัน ทิวริง" เพื่อเชิดชูผลงานและสร้างคุณูปการและช่วยชีวิตผู้คนจำนวนมากบนโลก ในสงครามโลกครั้งที่ 2https://www.bbc.com/thai/international-49007726 === เกมคอมพิวเตอร์ === * ชื่อของแอลัน ทัวริง ยังถูกพาดพิงถึงในเนื้อเรื่องของเกมคอมพิวเตอร์แนวสยองขวัญชื่อว่า "เอาท์ลาสท์" (Outlast) โดยในเนื้อเรื่องที่ถูกสมมุติขึ้นมานี้กล่าวว่า ทัวริงเป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรเมอร์กออฟร่วมกับ ดร.รูดอล์ฟ เวอร์นิค ซึ่งเป็นตัวละครสมมุติในเนื้อเรื่องของเกม === ภาพยนตร์ === * ภาพยนตร์ ถอดรหัสลับ อัจฉริยะพลิกโลก (The Imitation Game) เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์/ชีวิต/ระทึกขวัญ กำกับโดยMorten Tyldum|มอร์เทน ทิลดัม เขียนบทโดยเกรแฮม มัวร์ โดยดัดแปลงจากหนังสือ Alan Turing: The Enigma โดยแอนดรูว์ ฮอดจ์ส นำแสดงโดย เบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตช์ถอดรหัสลับ อัจฉริยะพลิกโลก === โลโก้ === * ได้มีการคาดเดาว่าโลโก้ปัจจุบันของแบรนด์ "Apple" ที่ก่อตั้งขึ้นโดย สตีฟ จอบส์ มีลักษณะเป็นลูกแอปเปิ้ลแหว่ง ซึ่งตรงกับการตายของแอลัน ทัวริง ที่กัดแอปเปิ้ลที่มีสารพิษอยู่ไป 1 คำ เนื่องจากแบรนด์ Apple ก็ได้ผลิตคอมพิวเตอร์ ซึ่งตรงกับแอลัน ทัวริง ที่ถูกยกย่องว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ดังนั้นบริษัท Apple ได้ออกแบบโลโก้เพื่อเคารพต่อ แอลัน ทัวริง หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีการถามหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแรงบรรดารใจของโลโก้ Rob Janoff นักออกแบบผู้สร้างโลโก้ กล่าว ''“ผมเกรงว่ามันจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน”'' แต่สตีฟ จ็อบส์ ได้กล่าวว่า ''“พระเจ้า! เราหวังว่ามันจะเป็นอย่างนั้น”''https://www.mentalfloss.com/article/64049/did-alan-turing-inspire-apple-logo Did Alan Turing Inspire the Apple Logo? == อ้างอิง == * Campbell-Kelly, Martin (ed.) (1994). ''Passages in the Life of a Philosopher''. London: William Pickering. ISBN 0-8135-2066-5 * Campbell-Kelly, Martin, and Aspray, William (1996). ''Computer: A History of the Information Machine''. New York: Basic Books. ISBN 0-465-02989-2 * Ceruzzi, Paul (1998). ''A History of Modern Computing''. Cambridge, Massachusetts|Cambridge, Massachusetts, and London: MIT Press. ISBN 0-262-53169-0 * Chandler, Alfred (1977). ''The Visible Hand: The Managerial Revolution in American Business''. Cambridge, Massachusetts: Belknap Press. ISBN 0-674-94052-0 หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ หมวดหมู่:นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หมวดหมู่:ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน หมวดหมู่:บุคคลจากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เอ็มบีอี‎ หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์โอบีอี หมวดหมู่:ผู้ฆ่าตัวตายด้วยพิษไซยาไนด์ หมวดหมู่:ผู้ฆ่าตัวตายในสหราชอาณาจักร หมวดหมู่:บุคคลจากลอนดอน หมวดหมู่:บุคคลจากวิล์มสโลว์ หมวดหมู่:ชายรักร่วมเพศชาวอังกฤษ หมวดหมู่:นักวิชาการที่มีความหลากหลายทางเพศ
แอลัน ทัวริง
ไฟล์:CharlesBabbage.jpg|thumb|right|ชาลส์ แบบเบจ (26 ธันวาคม พ.ศ. 2334 - 18 ตุลาคม พ.ศ. 2414) ไฟล์:Babbage - On the economy of machinery and manufactures, 1835 - 5864499.tif|thumb|''On the economy of machinery and manufactures'', 1835 '''ชาลส์ แบบเบจ''' () ( 26 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1791 (พ.ศ. 2334) - 18 ตุลาคม พ.ศ. 2414) แบบบิจเกิดที่แคว้นอังกฤษ|อังกฤษ ในครอบครัวของนายธนาคาร แบบบิจเติบโตมาในยุคที่อังกฤษเป็นมหาอำนาจ และกำลังอยู่ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลสนับสนุนให้ทุนการพัฒนาในสาขาต่าง ๆ อย่างเต็มที่. แบบบิจศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่ ทรินิตี้ คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ที่คณะคณิตศาสตร์ (Mathematical Laboratory) ช่วงเป็นนักศึกษา เขารวมกลุ่มกับเพื่อน ทำ induction of the Leibnitz notation for the Calculus ขึ้นจนมีชื่อเสียง ทำให้มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอน. พอเรียนจบ แบบเบจก็ตัดสินใจเป็นอาจารย์ต่อที่คณะ. ในปี ค.ศ. 1814, แบบเบจสมรสกับ Geogiana Whitmore นักคณิตศาสตร์หญิงคนเก่งคนหนึ่งในยุคนั้น ในทางคณิตศาสตร์ แบบเบจเน้นศึกษาด้านแคลคูลัสเป็นพิเศษ ปี ค.ศ. 1816 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Fellow ของ Royal Society ปี ค.ศ. 1820 เขาตั้งชมรมด้านดาราศาสตร์ขึ้น พร้อม ๆ กับเริ่มทำงานวิจัยสำคัญของเขาในยุคต้น ที่ทำให้เขาโด่งดังมากคือ Difference Engine (ใช้ Newton's method of successive differences) ในปี ค.ศ. 1828 แบบเบจได้รับแต่งตั้งให้เป็น the Lucasian Chair of Mathematics at Cambridge (เหมือนกับ ไอแซก นิวตัน|เซอร์ ไอแซก นิวตัน และ สตีเฟ่น ฮอว์คิง) ต่อมา แบบเบจขยายงานมาศึกษาเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) เพื่อสร้างเป็น เครื่องจักรที่สามารถรองรับการคำนวณทุกชนิด (ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์) แต่ก็เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น เพราะเขาไม่สามารถสร้างออกมาในช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ เนื่องจากมีคนไม่เห็นด้วยมากมาย เพราะความคิดของเขาทันสมัยเกินกว่าเทคโนโลยีในยุคนั้น จนทุก ๆ คนคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ จึงโดนตัดงบวิจัยในปี ค.ศ. 1832 แต่แบบเบจก็ฝืนทำต่อแบบไม่มีงบประมาณ จนทำไม่ไหว จนต้องปิดโครงการนี้ไป ในปี ค.ศ. 1842 พอปี ค.ศ. 1856, แบบเบจก็เริ่มมีฐานะขึ้นมาจากงานอื่นๆ เพราะนอกจากเป็นนักคณิตศาสตร์แล้ว เขาก็ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี การเมือง และเศรษฐกิจ อีกด้วย (เป็น a Celebrated Policial Economist แห่งยุค) เขาจึงเอาเงินทุนมาลงทุนทำวิจัยด้านเครื่องวิเคราะห์ต่อ แต่ก็ต้องทำและแก้หลายครั้ง จนเขาเสียชีวิตไปในปี ค.ศ. 1871 (แล้วลูกชายเขามาสานต่อ) ช่วงก่อนตาย เขาเขียนหนังสือชื่อดัง (ดังยุคหลัง) ชื่อ ''Passages from the life of a Philosopher'' เพราะในปีที่เขาเสียชีวิต โลกยังไม่ค่อยรู้จักเขา เครื่องวิเคราะห์ของเขาไม่มีคนสนใจลงมือสร้างเป็นชิ้นเป็นอัน จนกระทั่งอีกประมาณ 40 ปีต่อมา หลังจากเขาตาย มีคนเอางานเขาไปเผยแพร่จนเป็นที่ชื่นชม แล้วคนยุคหลังก็นำสมองของเขา (ที่ดองเอาไว้ในแอลกอฮอล์) มาผ่าเพื่อศึกษาความสามารถในการคิดของเขา (ถูกนิยามไว้ว่าเป็นหนึ่งในนักคิดที่ลึกซึ้งที่สุดแห่งศตวรรษ) ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ แบบเบจเชื่อว่า โลกเรานี้สามารถวิเคราะห์ทำนายได้ (a world where all things were dutifully quantified and could be predicted) โดยได้รับความสนับสนุนจากเอดา เลิฟเลซซึ่งเป็นเพื่อนสนิทในวงการว่า ถ้าจิตใจมนุษย์สามารถเข้าใจพฤติกรรมของอนุภาคเล็กๆ มันจะอธิบายทุกอย่างได้ (if a mind could know everything about particle behavior, if could describe everything: nothing would be uncertain, and the future, as the past, could be present to our eyes) ปี ค.ศ. 1856, แบบบิจเสนองาน "Table of Constants of the Nature and Art" ที่อ้างว่า รวบรวมข้อเท็จจริงทุกอย่าง สำหรับอธิบายศาสตร์ทางวิทย์และศิลป์ ด้วยตัวเลข แบบเบจชอบไฟมาก ขนาดลองเอาเตาอบมาอบตัวเองเล่นที่ 265 องศาฟาเรนไฮต์เป็นเวลา 5-6 นาที หรือพยายามปีนภูเขาไฟเวซูเวียส เพื่อที่จะไปดูลาวาเดือด ๆ == ดูเพิ่ม == * วิทยาการคอมพิวเตอร์ * คณิตศาสตร์ หมวดหมู่:นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ|บแบเบจ, ชาลส์ หมวดหมู่:นักวิทยาการคอมพิวเตอร์|บแบเบจ, ชาลส์ หมวดหมู่:นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ หมวดหมู่:บุคคลจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หมวดหมู่:บุคคลจากเอ็กซิเตอร์
ชาลส์ แบบบิจ
"กล่องข้อมูล ผู้นำประเทศ\n| honorific-prefix = \n| name (...TRUNCATED)
ปรีดี พนมยงค์
"Infobox scientist\n| name = สตีเฟน ฮอว์กิง\n| image = Stephen Hawking.Sta(...TRUNCATED)
สตีเฟน ฮอว์กิง
"กล่องข้อมูล ชีวประวัติ 2\n| name = อัลเบิร(...TRUNCATED)
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
"กล่องข้อมูล มหาวิทยาลัย\n | ชื่อ = สถาบ(...TRUNCATED)
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
"Infobox basketball biography\n| name = ไมเคิล จอร์แดน\n| image = Michael (...TRUNCATED)
ไมเคิล จอร์แดน
"กล่องข้อมูล ชีวประวัติ 2\n| name = จิตร ภูม(...TRUNCATED)
จิตร ภูมิศักดิ์
"'''ซูว์ลี พรูว์ดอม''' () เป็นนามปากกาของ (...TRUNCATED)
ซูว์ลี พรูว์ดอม
"รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทยเรียงตามลำด(...TRUNCATED)
รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย

Thai Famous People Image Dataset

Dataset Description

The Thai Famous People Image Dataset is a collection of images and descriptions of famous Thai personalities. This dataset is designed to provide a comprehensive resource for researchers, developers, and enthusiasts interested in Thai culture, history, and notable figures. The data was extracted from the Thai Wikipedia dump in September 2024, ensuring up-to-date and relevant information.

Maintainer

Kobkrit Viriyayudhakorn ([email protected])

License

Apache 2.0

Key Features:

  • Images of famous Thai people
  • Textual descriptions of each personality
  • Titles or names of the individuals

Dataset Creation

This dataset was created using a custom script that processes information extracted from the Thai Wikipedia dump of September 2024. The script performs the following steps:

  1. Extracts relevant articles and images from the Wikipedia dump
  2. Processes and cleans the extracted data
  3. Retrieves images from either local files or URLs
  4. Combines images with corresponding textual descriptions and titles
  5. Creates a Hugging Face Dataset object
  6. Pushes the dataset to the Hugging Face Hub

Dataset Structure

The dataset consists of the following fields:

  • image: An image of the famous Thai person
  • text: A textual description of the person extracted from their Wikipedia article
  • title: The name or title of the person

Usage

You can use this dataset for various tasks, including but not limited to:

  • Image classification of Thai personalities
  • Text-to-image or image-to-text generation tasks
  • Cultural and historical research on Thai public figures
  • Analysis of Thai Wikipedia content

To use the dataset, you can load it using the Hugging Face datasets library:

Downloads last month
46

Collection including iapp/thai_famous_people_images_dataset