dhamma-scholar-book / 49 /490042.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
49,0042,001,<B>สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา</B>
49,0042,002,สติปรารถนาในที่ทั้งปวง
49,0042,003,อธิบายว่า สติ แปลว่าความระลึกได้ เป็นคู่กับสัมปชัญญะความ
49,0042,004,รู้สึกตัว เป็นธรรมมีอุปการมากในการทำธุระ ไม่ว่าจะทำอะไร เมื่อ
49,0042,005,นึกได้ก่อนว่า ตนจะทำสิ่งนั้น ก็อาจทำได้ถูกต้อง แม้การพูดก็เหมือน
49,0042,006,กัน เมื่อนึกได้ก่อนว่าตนจะพูดเรื่องนั้น ก็อาจพูดได้ถูกต้อง ตรงกับที่
49,0042,007,นึกไว้ การจะเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ยืน เอน นั่ง นอนเป็นต้น ถ้ามีสติ
49,0042,008,ควบคุมแล้วก็ไม่ผิดพลาด. อนึ่ง กิจที่ทำคำที่พูดแม้ล่วงไปนาน ผู้มีสติ
49,0042,009,ย่อมจำได้แม่นยำไม่เลอะเลือน การปฏิบัติธรรม ถ้าผู้ปฏิบัติมีสติกำกับ
49,0042,010,ก็สามารถปฏิบัติถูกต้อง ดำเนินขึ้นสู่ภูมิธรรมชั้นสูงได้. บัณฑิตผู้มี
49,0042,011,ปัญญาย่อมสรรเสริญสติโดยอเนกปริยาย เช่นว่า <B> สติ เตสํ นิวารณํ </B> สติ
49,0042,012,เป็นเครื่องกันกระแสคือตัณหา <B>สติ โลกสฺมิ ชาคโร</B> สติเป็นเครื่องตื่น
49,0042,013,ในโลก ดังนี้เป็น ด้วยเหตุนี้ สติจึงเป็นธรรมที่ปรารถนาให้มีในที่
49,0042,014,ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้.
49,0042,015,สรุปใจความแห่งสุภาษิตทั้ง ๓ ข้อ คงได้ใจความย่อ ๆ ว่าข้อต้น
49,0042,016,ที่ท่านกล่าวว่าทุกข์เกิดในลำดับแห่งสุขนั้น ท่านเพ่งสามิสสุข คือสุขที่เจือ
49,0042,017,ด้วยอามิสอันเป็นเหตุให้หลงติด ดังมังสะอันเกี่ยวอยู่ที่เบ็ด ว่าเป็นสุขไม่
49,0042,018,แท้อาจกลับกลายเป็นทุกข์ได้ สุขชนิดนี้ไม่ควรยินดีพอใจ ควรปรารถนา
49,0042,019,สุขอันตรงกันข้าม คือนิรามิสสุข ซึ่งไม่มีทุกข์เจือปน ไม่อาจให้
49,0042,020,เกิดทุกข์ในลำดับ เมื่อปรารถนานิรามิสสุขเช่นนี้ ท่านจึงสอนให้รีบทำ
49,0042,021,ความเพียรเสียในวันนี้ เพราะพรุ่งนี้อาจเป็นเหยื่อของมัจจุโดยไม่รู้สึกตัว