dhamma-scholar-book / 49 /490009.csv
uisp's picture
init upload
c5b6280
Book,Page,LineNumber,Text
49,0009,001,นั้นได้ แต่ถ้าบุคคลใดมาเห็นโทษของทุกข์เหล่านั้นโดยประจักษ์แจ้ง
49,0009,002,ย่อมเกิดความเบื่อหน่ายในทุกข์เหล่านั้น และพยายามเพื่อพ้นจากทุกข์
49,0009,003,เหล่านั้น เพราะน้อมใจยินดีต่อพระนิพพาน คือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่ง
49,0009,004,ทุกข์ทั้งปวง ผู้นั้นจึงจะหลุดพ้นจากทุกข์เหล่านั้นได้ เพราะว่าพระ
49,0009,005,นิพพานเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ได้ในพระพุทธภาษิตว่า
49,0009,006,<B>อนฺโต ทุกฺขสฺส นิพฺพานํ</B>
49,0009,007,แปลว่า พระนิพพานเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ดังนี้ ฯ
49,0009,008,จริงอย่างนั้น เพราะพระนิพพานเป็นธรรมหากิเลสเครื่องเสียด
49,0009,009,แทงและร้อยรัดมิได้ เป็นธรรมว่างจากกิเลสอาสวะทั้งปวง ได้ใน
49,0009,010,พระพุทธภาษิตว่า
49,0009,011,<B>นิพฺพานํ ปรมํ สุฺํ</B>
49,0009,012,แปลว่า พระนิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง ดังนี้ ฯ
49,0009,013,เพราะอย่างนี้แล พระนิพพานจึงชื่อว่าเป็นสุขอย่างยิ่ง ไม่มีสุข
49,0009,014,อื่นจะเทียมถึง เพราะสุขอย่างอื่นเป็นวิปริณาธรรมไม่ยั่งยืนแก่ผู้ประสบ
49,0009,015,และเป็นสุขมีทุกข์เจือปน ส่วนสุขของพระนิพพานเป็นสุขเยือกเย็น
49,0009,016,เป็นสุขสดใส เป็นสุขถาวรไม่แปรผัน ดังพจนประพันธพุทธภาษิตว่า
49,0009,017,<B> นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ</B>
49,0009,018,แปลว่า พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้ ฯ
49,0009,019,เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงได้กล่าวยกย่องพระนิพพาน
49,0009,020,ว่าเป็นธรรมอย่างยิ่ง ประเสริฐกว่าธรรมอื่น ได้ในพระพุทธภาษิตว่า