Book,Page,LineNumber,Text
46,0039,001,[ เบญจศีลชื่อว่าพรหมจรรย์ ]
46,0039,002,"[๔๙๗] เบญจศีลชื่อว่าพรหมจรรย์ ในติตติรชาดกว่า "" ภิกษุ "
46,0039,003,ทั้งหลาย เบญจศีลนี้แล ได้เป็นพรหมจรรย์ ชื่อว่า ติตติระ ( ของนก
46,0039,004,"กระทา ) นั้น. """
46,0039,005,[ อัปปมัญญาชื่อว่าพรหมจรรย์ ]
46,0039,006,[๔๙๘] อัปปมัญญาทั้งหลาย ชื่อว่าพรหมจรรย์ ในมหาโควินท๑-
46,0039,007,"สูตรในมหาวรรค ทีฆนิกายว่า "" ปัญจสิขะ ก็พรหมจรรย์นั้นแล ย่อม"
46,0039,008,"เป็นไปเพื่อนิพพิทา ( ความหน่าย ) หามิได้, เพื่อวิราคะ ( ปราศ"
46,0039,009,"กำหนัด ) หามิได้, เพื่อนิโรธ ( ความดับ ) หามิได้, ย่อมเป็นไป"
46,0039,010,"เพียงเพื่อความเข้าถึงพรหมโลก."""
46,0039,011,[ เมถุนวิรัติชื่อว่าพรหมจรรย์ ]
46,0039,012,[๔๙๙] เมถุนวิรัติ ( เว้นเมถุน ) ชื่อว่าพรหมจรรย์ ในอุโบสถ๒-
46,0039,013,สูตรในติกนิบาต อังคุตตรนิกาย และในพรหมชาล๓สูตรเป็นต้นว่า
46,0039,014,"ละความประพฤติไม่ประเสริฐ มีปกติประพฤติประเสริฐ."""
46,0039,015,"อรรถกถา๔อุโบสถสูตรเป็นต้นว่า "" บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า"
46,0039,016,อพฺรหฺมจริยํ ได้แก่ ความประพฤติไม่ประเสริฐ. ชื่อว่า พฺรหฺมจารี
46,0039,017,"เพราะประพฤติอาจาระอันประเสริฐ คือ ล้ำเลิศ."""
46,0039,018,"ฎีกาอุโบสถสูตรเป็นต้นนั้นว่า ""บทว่า อเสฏฺจริยํ ได้แก่"
46,0039,019,"ความประพฤติของคนไม่ประเสริฐ คือ คนเลว, อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่"
46,0039,020,"ความประพฤติไม่ประเสริฐ คือทราม คือเลว, อธิบายว่า เมถุน."
46,0039,021,
46,0039,022,๑. ที. มหา. ๑๐/๒๘๕. ๒. องฺ. ติก. ๒๐/๒๗๑. ๓. ที. สี. ๙/๕. ๔. มโน. ปู. ๒/๒๖๑.