Book,Page,LineNumber,Text
44,0026,001,ทำถ้อยคำของพระสุคต ผู้อันตัณหาไม่อาศัยแล้ว
44,0026,002,"ผู้คงที่ ย่อมยินดี."" "
44,0026,003,สีหสูตร ในสุมนวรรคที่ ๔ จบ.
44,0026,004,[๒๔] ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถา๑อัฏฐกนิบาต อังคุตตรนิกายว่า
44,0026,005,'คำว่า 'สีโห เสนาปติ' ได้แก่พระราชกุมารมีพระนามอย่างนั้น
44,0026,006,ผู้เป็นนายทัพ. แท้จริง ในกรุงเวสาลี มีเจ้า ๗๗๐๗ (เจ็ดพันเจ็ดร้อย
44,0026,007,เจ็ด) พระองค์ เจ้าเหล่านั้นทั้งหมด ประชุมกันปรึกษาว่า 'ท่าน
44,0026,008,ทั้งหลายจงเลือกบุคคลผู้หนึ่ง ที่สามารถจะยึดเหนี่ยวใจของปวงชน
44,0026,009,แล้วจัดการแว่นแคว้นได้' เลือกกันอยู่ เห็นสีหราชกุมาร ทำความ
44,0026,010,ตกลงกันว่า 'ผู้นี้จักสามารถ' ได้ให้ฉัตรแห่ง (ตำแหน่ง) เสนาบดี
44,0026,011,"มีสีดังมณีแดง อันบุด้วยผ้ากัมพลแก่เธอ."""
44,0026,012,"[๒๕] อรรถกถา๒สีหสูตรนั้นว่า ""บทว่า สนฺทิฏฺิกํ ได้แก่"
44,0026,013,อันบุคคลพึงเห็นเอง. บทว่า ทายโถ ได้แก่ ผู้กล้าในการให้. อธิบาย
44,0026,014,ว่า ผู้ไม่หยุดอยู่ด้วยเพียงความเชื่อว่า 'ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จ'
44,0026,015,เท่านั้น อาจแม้เพื่อสละด้วย. บทว่า ทานปติ ความว่า บุคคล
44,0026,016,ให้ทานใด เป็นนายแห่งทานนั้นให้ มิใช่เป็นทาส (แห่งทาน) มิใช่
44,0026,017,เป็นสหาย (แห่งทาน). จริงอยู่ ผู้ใดบริโภคของอร่อยด้วยตน ให้
44,0026,018,ของไม่อร่อยแก่ชนเหล่าอื่น ผู้นั้นชื่อว่าเป็นทาสแห่งไทยธรรม กล่าว
44,0026,019,คือทานให้. ผู้ใดบริโภคสิ่งใดด้วยตนเอง ให้สิ่งนั้นแหละ ผู้นั้นชื่อว่า
44,0026,020,เป็นสหาย (แห่งทาน) ให้. ส่วนผู้ใดตนเองยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่ง
44,0026,021,
44,0026,022,๑. มโน. ป. ๓/๒๖. ๒. มโน. ป. ๓/๒๖.