Book,Page,LineNumber,Text
44,0006,001,ของหอมที่บดแล้วและที่มิได้บด. บทว่า วิเลปนํ ได้แก่เครื่องทำการ
44,0006,002,ย้อมผิว. บทว่า เสยฺยา๑ ได้แก่ สิ่งที่พึงใช้นอน มีเตียวและตั่ง
44,0006,003,เป็นต้น และมีผ้าปาวารและผ้าโกเชาว์เป็นต้น. ก็ด้วยเสยยาศัพท์ ใน
44,0006,004,บทว่า เสยฺยาวสถํนี้ พึงเห็นว่า ท่านถือไปถึงอาสนะด้วย. บทว่า
44,0006,005,อาวสกํ ได้แก่ ที่อาศัยสำหรับบำบัดอันตรายมีลมและแดดเป็นต้น.
44,0006,006,บทว่า ปทีเปยฺยํ ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์แก่ประทีปมีเรือน (คือตัว)
44,0006,007,"ประทีปเป็นต้น."""
44,0006,008,"[๖] อรรถกถา๒นาคสังยุตในขันธวรรคว่า ""บทว่า อนฺนํ ได้แก่"
44,0006,009,ของเคี้ยวและของกิน. บทว่า ปานํ ได้แก่ ของลิ้มทุกอย่าง. บทว่า
44,0006,010,วตฺถํ ได้แก่ ผ้านุ่งและผ้าห่ม. บทว่า ยานํ ได้แก่ ปัจจัยแห่งการ
44,0006,011,ไปทุกอย่าง ตั้งแต่ร่มและรองเท้าเป็นต้นไป. บทว่า มาลํ ได้แก่
44,0006,012,ดอกไม้ทุกอย่างมีระเบียบดอกมะลิเป็นต้น. บทว่า คนฺธํ ได้แก่ ของ
44,0006,013,ลูบไล้ทุกอย่างมีจันทน์เป็นต้น. สองบทว่า เสยฺยาวสถํ ปทีเปยฺยํ
44,0006,014,ได้แก่ ที่นอนมีเตียงตั่งเป็นต้น ที่พักมีเรือนชั้นเดียวเป็นต้น เครื่อง
44,0006,015,"อุปกรณ์แห่งประทีปมีไส้และน้ำมันเป็นต้น."""
44,0006,016,"[๗] ฎีกานาคสังยุตนั้นว่า ""ชื่อว่า อันนะ เพราะเป็นของ"
44,0006,017,สำหรับกิน. ชื่อว่าขัชชะ เพราะเป็นของสำหรับเคี้ยว. ชื่อว่าปานะ
44,0006,018,เพราะเป็นของสำหรับดื่ม. ชื่อว่าสายนะ เพราะเป็นของสำหรับลิ้ม
44,0006,019,คือน้ำดื่มมีรสมะม่วงเป็นต้น. ชื่อว่านิวาสนะ เพราะเป็นของที่พึงนุ่ง.
44,0006,020,ชื่อว่า ปารุปนะ เพราะเป็นของที่พึงห่ม. ชื่อว่ายานะ เพราะเป็นเครื่อง
44,0006,021,
44,0006,022,๑. ศัพท์นี้ในบาลีสมาสกับศัพท์ อาวสถํ เป็น เสยฺยาวสถํ. ๒. สา.ป. ๒/๔๒๒.