Book,Page,LineNumber,Text
42,0013,001,กิเลสทั้งหลาย เห็นพระนิพพานนั่นแลแจ่มแจ้ง คือชัดเจนด้วย
42,0013,002,"ปัญญา."" "
42,0013,003,"ฎีกาแห่งจังกีสูตรนั้น ว่า ""บทว่า ปยิรุปาสติ คือเข้าไปนั่ง"
42,0013,004,ด้วยอำนาจการอุปัฏฐาน. พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า ' บทว่า โสตํ
42,0013,005,ได้แก่โสตประสาท' ด้วยประสงค์ว่า 'ก็โสตประสาทนั้น อันบุคคลควร
42,0013,006,เงี่ยเพื่อสดับ.' บทว่า ธาเรติ คือทรงจำไว้ด้วยหทัย ได้แก่เก็บธรรม
42,0013,007,นั้นไว้ในหทัยนั้น. บทว่า อตฺถโต คือโดยใจความของธรรมตามที่
42,0013,008,ทรงไว้แล้ว. บทว่า การณโต คือโดยยุกติ ได้แก่โดยเหตุอุทาหรณ์
42,0013,009,โดยสมควร. บทว่า โอโลกนํ ความว่า ธรรมทั้งหลายย่อมทน
42,0013,010,คือธารได้ซึ่งความเป็นสภาพ อันจะพึงเห็นได้ด้วยปัญญาจักษุตาม
42,0013,011,"สภาพว่า ""ข้อนี้ เป็นอย่างนี้."" ความทนได้นั้น ก็คือกิริยาที่"
42,0013,012,เนื้อความปรากฏในจิต เพราะบรรลุ ดุจแววหางแห่งปลากราย
42,0013,013,"เพราะฉะนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า ""อิธ"" ดังนี้เป็นต้น."
42,0013,014,ความพอใจในกุศล กล่าวคือความเป็นผู้ใคร่จะทำ ชื่อว่ากัตตุกัมยตา-
42,0013,015,ฉันทะ. บทว่า วามติ ความว่า ย่อมทำความพยายาม คือความ
42,0013,016,บากบั่นด้วยสามารถยังวิสุทธิ ๔ ข้างต้นให้ถึงพร้อม. บทว่า มคฺคปฺปธานํ
42,0013,017,ความว่า ย่อมเริ่มตั้งความเพียรชอบ ๔ ประการอันนำมาซึ่งมรรค
42,0013,018,คือนับเนื่องในมรรค ได้แก่ยังความเพียรชอบ ๔ ประการนั้นให้
42,0013,019,บริบูรณ์ ด้วยอำนาจการตั้งความเพียร. บทว่า ปรมตฺถสจฺจํ
42,0013,020,ความว่า สัจจะชื่อว่าปรมัตถ์ เพราะเป็นธรรมไม่เปล่า. บทว่า
42,0013,021,สหชาตนามกาเยน ความว่า ปัญญาที่ยังนิพพานให้ถึงพร้อมได้ด้วย