Book,Page,LineNumber,Text 14,0012,001,ต. พยัญชนะที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๕ ในวรรคทั้ง ๕ เว้นแต่ ง กับ ย ล ส 14,0012,002,"ซ้อนหน้าตัวเองได้, ง ว ฬ ได้แต่ซ้อนหน้าพยัญชนะอื่นบางตัว [ ๒๔๗๘ ]." 14,0012,003,[ สนธิ] 14,0012,004,ถ. สนธิกับสมาส มุ่งลักษณะอย่างเดียวกันมิใช่หรือ ? เห็น 14,0012,005,อย่างไร ? จงอธิบาย . 14,0012,006,ต. มุ่งลักษณะต่างกัน สนธิหมายเอาลักษณะการต่อตัวอักษร 14,0012,007,มิได้เพ่งถึงศัพท์. ส่วนสมาสเพ่งการย่อศัพท์หลาย ๆ บท ให้เข้าเป็นบท 14,0012,008,เดียวกัน มิได้มุ่งการต่อตัวอักษร. แต่ถ้าอักษรที่ต่อกันในสมาส 14,0012,009,มีวิธีซึ่งต้องต่อด้วยวิธีของสนธิ จึงต้องเอาวิธีสนธิมาให้. [ ๒๔๗๔ ]. 14,0012,010,ถ. จงพรรณนาความต่างแห่งศัพท์สนธิกับศัพท์สมาส ? มหา- 14,0012,011,สาโล ศัพท์นี้ เป็นศัพท์สนธิด้วยหรือไม่ ? เพราะเหตุไร ? 14,0012,012,ต. ศัพท์สนธิกับศัพท์สมาสต่างกันอย่างนี้ ต่อศัพท์และอักขระ 14,0012,013,ให้เนื่องกันด้วยอักขระ เพื่อจะย่ออักขระให้น้อยลง เป็นอุปมการะใน 14,0012,014,การแต่งฉันท์ และให้คำพูดสละสวย เรียกสนธิ. ย่อบทวิภัตติ 14,0012,015,หลาย ๆ บท ให้เป็นบทเดียวกัน เรียกสมาส. เป็นศัพท์สนธิด้วย. 14,0012,016,เพราะอาเทสพยัญชนะ คือ ร เป็น ล จึงเป็นมหาสาโล. [ ๒๔๖๓]. 14,0012,017,ถ. สนธิ กล่าวตามประเภทเป็นกี่อย่าง ? นิคคหิตสนธิ ๑ 14,0012,018,อย่างไหน ต้องใช้สนธิกิริโยปกรณ์เท่าไร ? คืออะไรบ้าง ? 14,0012,019,ต. เป็น ๓ คือ สระสนธิ ๒ พยัญชนะสนธิ ๑ นิคคหิตสนธิ ๑ 14,0012,020,สระสนธิ ใช้สนธิกิริโยปกรณ์ ๗ คือ โลโป อาเทโส อาคโม 14,0012,021,วิกาโร ปกติ ทีโฆ รสฺสํ. พยัญชนะสนธิ ใช้สนธิกิริโยปกรณ์ ๕