Book,Page,LineNumber,Text 07,reface,001,คำชี้แจง 07,reface,002,ในคราวทำคำอธิบายบาลีไวยากรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ ข้าพเจ้า 07,reface,003,รับภาระแต่งอภิบายสมัญญาภิธานและสนธิ ตามที่ปรากฏในหนังสือ 07,reface,004,เล่มนี้. 07,reface,005,สมัญญาภิธานนั้น มีทั้งความรู้เบื้องต้นและเบื้องปลายรวมกัน 07,reface,006,คือถ้าต้องการรู้เพียงว่า ในภาษาบาลีมีอักษรเท่าไร ออกเสียง 07,reface,007,อย่างไร ก็ไม่ยาก แต่ถ้าจะรู้ให้ตลอดถึงฐานกรณ์ และที่มาของ 07,reface,008,เสียงและอักษร ก็นับว่าเป็นความรู้เบื้องปลาย การศึกษาให้รู้จัก 07,reface,009,สมัญญาภิธานดี จะเป็นอุปการะในการออกเสียงและการเขียนสะกด 07,reface,010,(สังโยค). 07,reface,011,สนธิ คือต่อคำศัพท์ เป็นวิธีนิยมในภาษาบาลีอย่างหนึ่ง เช่น 07,reface,012,คำปกติ จิรํ อาคโต อสิ ถ้าพูดเป็นสนธิว่า จิรมาคโตสิ ดังนี้ 07,reface,013,คำสนธิฟังไพเราะกว่าปกติ แต่ผู้ศึกษาต้องรู้จักวิธีต่อ วิธีแยก และ 07,reface,014,ความนิยมใช้ ฉะนั้น จึงต้องเข้าใจวิธีสนธิให้แจ้งชัด. 07,reface,015,ข้าพเจ้าเขียนคำอธิบายหนังสือนี้ เพื่อต้องการช่วยการศึกษา 07,reface,016,ดังกล่าว ได้พิมพ์ ๒ คราวหมดไปแล้ว จึงให้พิมพ์ขึ้นอีกตามฉบับ 07,reface,017,เดิม.