Book,Page,LineNumber,Text 34,0016,001,รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ไหลไปในภพทั้งปวง. 34,0016,002,บทว่า ลตา ความว่า ตัณหาได้ชื่อว่า ลดา เพราะอรรถ 34,0016,003,วิเคราะห์ว่า เป็นเหมือนเครือเถา โดยอรรถว่า เป็นเครื่องพัวพันและ 34,0016,004,โดยอรรถว่า เป็นเครื่องรึงรัดไว้. 34,0016,005,สองบทว่า อุพฺภิชฺช ติฏฺ€ติ ความว่า ตัณหาดุจเถาวัลย์เกิด 34,0016,006,ขึ้นโดยทวาร ๖ แล้ว ย่อมตั้งอยู่ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น. 34,0016,007,สองบทว่า ตญฺจ ทิสฺวา ความว่า ก็ท่านเห็นตัณหาดังเครือ 34,0016,008,"เถานั้น ด้วยอำนาจแห่งที่มันเกิดแล้วว่า ""ตัณหานี้ เมื่อจะเกิด ย่อม" 34,0016,009,"เกิดขึ้นในปิยรูปและสาตรูปนี้.""" 34,0016,010,บทว่า ปญฺาย ความว่า ท่านทั้งหลายจงตัดที่ราก ด้วยมรรค 34,0016,011,ปัญญา ดุจบุคคลตัดซึ่งเครือเถาที่เกิดในป่าด้วยมี ฉะนั้น. 34,0016,012,บทว่า สริตานิ คือแผ่ซ่านไป ได้แก่ซึมซาบไป. 34,0016,013,บทว่า สิเนหิตานิ ความว่า และเปื้อนตัณหาเพียงดังยางเหนียว 34,0016,014,"ด้วยอำนาจตัณหาเพียงดังยางเหนียวอันเป็นไป ในบริขารมีจีวรเป็นต้น," 34,0016,015,อธิบายว่า อันยางเหนียวคือตัณหาฉาบทาแล้ว. 34,0016,016,บทว่า โสมนสฺสานิ ความว่า โสมนัสทั้งหลายเห็นปานนั้น 34,0016,017,ย่อมมีแก่สัตว์ผู้เป็นไปในอำนาจตัณหา. 34,0016,018,สองบทว่า เต สาตสิตา ความว่า บุคคลเหล่านั้น คือผู้เป็นไป 34,0016,019,ในอำนาจแห่งตัณหา เป็นผู้อาศัยความสำราญ คืออาศัยความสุข 34,0016,020,นั่นเอง จึงเป็นผู้แสวงหาความสุข คือเป็นผู้เสาะหาความสุข. 34,0016,021,บทว่า เต เว เป็นต้น ความว่า เหล่านระผู้เห็นปานนี้ย่อมเข้า