Book,Page,LineNumber,Text 12,0045,001,ในข้อนี้ ต่างจากข้อข้างต้น ตรงที่มีรูปเป็นภาวสาธนะ แต่ใช้ 12,0045,002,หมายถึงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง มิใช่เป็นกิริยาอาการตามปกติ. ส่วนใน 12,0045,003,ข้อข้างต้น เป็นภาวสาธนะ ที่ใช้กิริยาอาการตามปกติ. เพราะเหตุนี้ 12,0045,004,ผู้ศึกษาพึงทำความเข้าใจโดยย่อว่า บทตติยาวิเสสนในอรรถซ้ำกับกิริยา 12,0045,005,ข้างหลังตนนั้น ต้องซ้ำทั้งธาตุทั้งเป็นภาวสาธนะที่ใช้เป็นกิริยาอาการ 12,0045,006,ตามปกติ นอกจากนี้ คือมีรูปเป็นภาวสาธนะแต่ใช้หมายถึงสภาพธรรม 12,0045,007,อย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี เป็นสาธนะอื่นก็ดี ก็มิใช่ตติยาวิเสสน. บทที่อาจ 12,0045,008,ใช้ได้หลายอย่าง พึงวินิจฉัยถึงความมุ่งหมายแล้วใช้ให้เหมาะ. 12,0045,009,รวมความว่า บท ตติยาวิภัตติที่ซ้ำมี ๒ อย่าง คือซ้ำกรณได้แก่ 12,0045,010,ซ้ำเครื่องพิกัดหรือกำหนด ๑ ซ้ำตติยาวิเสสน ได้แก่ซ้ำกิริยาอาการ ๑. 12,0045,011,ซ้ำกรณนั้น ซ้ำกับกิริยาบ้าง [ ปญฺจหิ วิมุตฺตีหิ วิมุตฺตานํ ] ซ้ำกับ 12,0045,012,นามบ้าง [ ปญฺจหิ จกฺขูหิ จกฺขุมา ]. ซ้ำตติยาวิเสสนนั้นซ้ำกับกิริยา. 12,0045,013,ทั้ง ๒ นี้ซ้ำกับบทไหน ก็เข้ากับบทนั้น. 12,0045,014,อนึ่ง ยังมีบทที่ซ้ำกับบทอื่นนอกจากกิริยาข้างหลังอีก ซ้ำเช่นนี้ 12,0045,015,ไม่จำต้องเข้ากับบทที่ซ้ำ แต่เข้าตามอรรถที่ใช้ เช่น ธเนน ธนกรณียํ 12,0045,016,กริสฺสามิ' [มาร. ๗/๑๖๕ ] ธเนน ไม่เข้ากับ ธน- แต่เข้ากับ 12,0045,017,"กริสฺสามิ โดยอรรถาธิบายว่า อันกิจที่พึงทำด้วยทรัพย์, เมื่อจักทำ" 12,0045,018,ก็ต้องทำด้วยทรัพย์. เหตุฉะนั้น ธเนน จึงเป็นกรณใน กรสฺสามิ. 12,0045,019,ในที่อื่นที่มีความหมายเช่นเดียวกัน พึงอธิบายอย่างนี้ทุกแห่ง 12,0045,020,[ ๖ ] ศัพท์อัพยยปัจจัยลงในอรรถ ตติยาวิภัตติ ใช้เป็นตติยา- 12,0045,021,วิเสสนบ้าง อุ. เอกโต ปุญฺานิ กโรนฺตา [ มหลฺลกตฺเถร. ๗/๗๖ ]