Book,Page,LineNumber,Text 12,0034,001,อัจจันตสังโยค 12,0034,002,"๔. เป็นที่ลุล่วง [สิ้น, ตลอด ] เรียกชื่อว่า อจฺจนฺตสํโยโค" 12,0034,003,อุ. ติโยชนํ คจฺฉติ. 12,0034,004,อธิบาย : [ ๑ ] อัจจันตสังโยค คือ เป็นที่ผ่านตลอด หรือ 12,0034,005,ลุตตลอด หมายความว่า เป็นที่ลุล่วง ได้แก่ทุก ๆ สิ่ง จะเป็นระยะทาง 12,0034,006,กาลเวลา หรืออะไรก็ตาม ที่กิริยาทำผ่านตลอดหรือลุล่วงไป อุ. 12,0034,007,ติโยชนํ คจฺฉติ (ในแบบ) 'ย่อมไปสิ้น ๓ โยชน์' ติโยชนํ เป็น 12,0034,008,ที่ไปลุล่วง จึงเป็น อัจจันตสังโยค ใน คจฺฉติ. อิทานิ เม อิทํ ภตฺตํ 12,0034,009,เอกรตฺตินฺทิวํ รกฺเขยฺย [ สุขสามเณร. ๕/๘๓ ] 'บัดนี้ ภัตนี้ของ 12,0034,010,เรา พึงรักษาสิ้นคืนและวันหนึ่ง.' สกลสรีรํ ผรนฺตา ปีติ อุปฺปชฺชิ. 12,0034,011,[ สปฺปทาสตเถร. ๔/๑๓๒ ] ' ปีติ บังเกิดแผ่ไปตลอดสีรระทั้งสิ้น.' 12,0034,012,[ ๒ ] อัจจันตสังโยคกับสัมปาปุณิยกัมม ต่างกันในข้อที่ใช้ใน 12,0034,013,ความหมายเป็นลุล่วงกับเป็นจุดหมายที่ไปถึง. บางบทต้องวินิจฉัย 12,0034,014,"ก่อนว่า ใช้ในอรรถไหน เช่น สกลชมฺพุทีปํ วิจริตฺวา, [ สามาวตี." 12,0034,015,๒/๕๖ ] ในความท่อนนี้ หมายความว่า เที่ยวไปทั่วชมพูทวีป 12,0034,016,สกลชมฺพุทีปํ จึงเป็น อัจจันตสังโยค. ใน วิจริตฺวา อิโต โยชน- 12,0034,017,มตฺตํ อาคโต. [ เทวทตฺต. ๑/๑๔๓ ] ในพากย์นี้ หมายความว่า 12,0034,018,พระเทวทัตต์มาถึงที่ประมาณโยชน์หนึ่ง นับจากพระเชตวันนี้ มิได้ 12,0034,019,หมายความว่า มาได้ประมาณโยชน์หนึ่ง นับจากต้นทางที่มา [ เพราะมี 12,0034,020,อิโต บ่งอยู่ ] ฉะนั้น โยชนมตฺตํ จึงเป็น สัมปาปุณิยกัมม ใน อาคโต.