Book,Page,LineNumber,Text 42,0014,001,สหชาตนามกาย ทำนิพพานที่ตนกำลังทำให้แจ้งนั้นนั่นแล ให้แจ่ม 42,0014,002,แจ้ง คือให้ปรากฏ ชื่อว่าเห็นอยู่ คือทำให้ประจักษ์อยู่ด้วยสัจฉิ- 42,0014,003,กิริยาภิสมัยนั้นนั่นแล. 42,0014,004,[๑๒๕] ความเป็นผู้ฉลาดของเหล่าคฤหัสถ์ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะ 42,0014,005,ฟังหรือเรียนศิลปะภายนอก ชื่อว่าพาหุสัจจะของคฤหัสถ์. แม้ใน 42,0014,006,"พาหุสัจจะของคฤหัสถ์นั้น พาหุสัจจะใดไม่มีโทษ, พาหุสัจจะนั้นก็จัด" 42,0014,007,เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุนำมาซึ่งประโยชน์สุขในโลกทั้ง ๒. ในข้อนั้น 42,0014,008,มีเรื่องดังต่อไปนี้ (เป็นอุทาหรณ์) :- 42,0014,009,[เรื่องเสนกบัณฑิต] 42,0014,010,"ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์นามว่า ""เสนก"" ใน" 42,0014,011,กรุงพาราณสี เรียนสรรพศิลปะในกรุงตักกสิลาสำเร็จแล้ว กลับมา 42,0014,012,ยังกรุงพาราณสี. ในกาลนั้น พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงพระนามว่า 42,0014,013,"""ชนก"" ได้พระราชทานตำแหน่งอมาตย์ พร้อมด้วยยศใหญ่แก่" 42,0014,014,พระโพธิสัตว์. พระโพธสัตว์นั้นเป็นอมาตย์ผู้อนุศาสน์อรรถธรรมของ 42,0014,015,พระราชา ในวันแห่งปักษ์ทั้งหลาย นั่นแสดงธรรมด้วยพุทธลีลาบน 42,0014,016,ธรรมาสน์ที่ตกแต่งในธรรมสภา อันพระราชาเป็นต้นจัดเตรียมไว้. 42,0014,017,ครั้งนั้น พราหมณ์แก่คนหนึ่ง เที่ยวขอทรัพย์ได้มาพนกหาปณะ จึง 42,0014,018,ฝากไว้ในสกุลพราหมณ์สกุลหนึ่ง แล้วไปขออีก. พราหมณ์สกุลนั้น 42,0014,019,ใช้กหาปณะเสียแล้ว เมือพราหมณ์แก่นั้นกลับมา. ไม่อาจจะคืนให้ 42,0014,020,จึงได้ให้ธิดาของตนทำให้เป็นบาทบริจาริกาแก่พราหมณ์นั้น. แกพา 42,0014,021,นางไปอยู่ในพราหมณ์คาม ใกล้กรุงพาราณสี. ฝ่ายพราหมณีนั้น