|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
12,0002,001,ต้องรู้จักตัวทัพพสัมภาระก่อนฉะนั้น.
|
|
12,0002,002,[๒] <B>วากย์</B>แปลว่าประโยคคำพูดที่เป็นพากย์ ได้แก่พากย์
|
|
12,0002,003,สัมพันธ์ แปลว่าประกอบหรือผูก จะเอาอะไรมาประกอบ ? ก็เอา
|
|
12,0002,004,คำพูดนั่นเอง คือเอาคำพูดแต่ละศัพท์ (บท) แต่ละตอน (พากยางค์)
|
|
12,0002,005,มาประกอบเข้าเป็นพากย์ วากยสัมพันธ์จึงได้แก่ การประกอบหรือ
|
|
12,0002,006,วิธีประกอบคำพูดเข้าเป็นพากย์ โดยตรง หมายถึงการแต่งหรือวิธี
|
|
12,0002,007,แต่งภาษาบาลีให้ต้องตามแบบอย่าง. ในบาลีไวยากรณ์ทั้ง ๔ ภาค
|
|
12,0002,008,ท่านจัดวากยสัมพันธ์เป็นภาคที่ ๑ เพราะควรศึกษาต่อจากวจีภาค
|
|
12,0002,009,และกำหนดให้ว่าด้วยการก ๑ วิธีประพันธ์ผูกคำพูดที่แบ่งไว้ในวจีวิภาค
|
|
12,0002,010,ให้เข้าเป็นประโยคอันเดียวกัน ๑. (ดูในคำนำสมัญญาภิธานและสนธิ).
|
|
12,0002,011,[๓] <B>การก</B>คือ นามนามที่ประกอบด้วยวิภัตติ ซึ่งมีความ
|
|
12,0002,012,เกี่ยวพันธ์กันกับคำกิริยา (แม้ที่ไม่เข้ากับกิริยา เช่นบท ฉัฏฐีวิภัตติ
|
|
12,0002,013,ก็สงเคราะห์เข้าในการกด้วย) คัมภีร์การกย่อมแสดงวิธีใช้วิภัตติ
|
|
12,0002,014,ในการประกอบคำพูดเกี่ยวด้วยการกนั้น ๆ. คัมภีร์ว่าด้วยการรกท่าน
|
|
12,0002,015,แสดงไว้อีกส่วนหนึ่ง ผู้ศึกษาวากยสัมพันธ์พึงศึกษาให้ตลอด จึง
|
|
12,0002,016,สามารถแต่งบาลีให้ถูกต้องตามสำนวนบาลีได้ แต่ในชั้นต้นนี้ พึง
|
|
12,0002,017,ศึกษาสัมพันธ์ คือกำหนดพากย์ที่เรียงไว้แล้วให้รู้ว่าบทไหนเข้ากับ
|
|
12,0002,018,บทไหนก่อน ซึ่งจะกล่าวต่อไปตามลำดับ.
|
|
12,0002,019,<B>วิเคราะห์คำ</B> ก. คำว่าพากย์ หมายความว่าข้อความท่อนหนึ่ง ๆ
|
|
12,0002,020,ที่ได้ความบริบูรณ์ตามวิธีไวยากรณ์.
|
|
12,0002,021,คำว่าประโยค หมายความว่าข้อความท่อนหนึ่ง ๆ บริบูรณ์
|
|
|