|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
09,0035,001,วิภัตติใด วิภัตตินั้นก็เป็นชื่อของพหุพพิหินั้น เช่น ย ศัพท์ประกอบ
|
|
09,0035,002,"ด้วยทุติยาวิภัตติ ก็เรียกว่าทุติยาพหุพพิหิ, ย ศัพท์ประกอบด้วยตติยา-"
|
|
09,0035,003,"วิภัตติ ก็เรียกว่าตติยาพหุพพิหิ, ย ศัพท์ประกอบด้วยจตุตถีวิภัตติ ก็"
|
|
09,0035,004,"เรียกว่าจตุตถีพหุพพิหิ, ฯลฯ ย ศัพท์ประกอบด้วยสัตตมีวิภัตติ ก็เรียก"
|
|
09,0035,005,ว่าสัตตมีพหุพพิหิ.
|
|
09,0035,006,อนึ่ง ย ศัพท์ เป็นวิเสสนสัพพนามอาจแจกได้ทั้ง ๓ ลิงค์ เหมือน
|
|
09,0035,007,กันกับ ต ศัพท์ เพราะฉะนั้น จึงควรกำหนดไว้ให้แม่นยำว่า ย ศัพท์
|
|
09,0035,008,กับ ต ศัพท์นั้นใช้โยคนามนามตัวเดียวกัน คือ ถ้า ย ศัพท์โยคนามนาม
|
|
09,0035,009,บทใด ต ศัพท์ก็โยคนามนามบทนั้น จะต่างกันก็วิภัตติเท่านั้น เพราะ
|
|
09,0035,010,ย ศัพท์ประกอบด้วยวิภัตติอื่นนอกจากปฐมาวิภัตติ มีทุติยาวิภัตติเป็น-
|
|
09,0035,011,ต้นจนถึงสัตตมีวิภัตติ ส่วน ต ศัพท์ คงประกอบด้วยปฐมาวิภัตติเสมอ
|
|
09,0035,012,ไป ส่วนวจนะและลิงค์ต้องให้เสมอกันทั้ง ย และ ต แต่ในแบบบาลี
|
|
09,0035,013,ไวยากรณ์ตอนนี้ ทั้ง ย ทั้ง ต ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ
|
|
09,0035,014,๒. <B>ในประโยค ต</B> ก็มีแต่ ต ศัพท์ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ
|
|
09,0035,015,(คือโส) และบทปลง ซึ่งเป็นบทสมาสเท่านั้น เพราะฉะนั้น ประโยค ต
|
|
09,0035,016,จึงมีเฉพาะแต่ ต ศัพท์ที่ประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ และบทปลง รวม
|
|
09,0035,017,๒ บทเท่านั้น.
|
|
09,0035,018,อนึ่ง บทปลงที่เป็นพหุพพิหิสมาสนี้เป็นสมาสคุณ ฉะนั้นจึงต้อง
|
|
09,0035,019,หานามนามบทอื่นมาเป็นประธาน บทนามนามที่นำมาใช้เป็นประธาน
|
|
09,0035,020,นี้ ก็สำคัญเหมือนกัน เพราะเป็นหลักที่จะให้ใช้บทปลงแสดงลักษณะ
|
|
09,0035,021,ได้ถูกต้อง ดังนั้น เมื่อพบ ต ศัพท์หรือบทปลง เป็นลิงค์ วจนะ
|
|
|