|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
09,0031,001,๖. สัตตมีพหุพพิหิ
|
|
09,0031,002,สมาสนี้ ย ศัพท์ประกอบสัตตมีวิภัตติ เนื่องกันได้ทั้งตัวประธาน
|
|
09,0031,003,และตัววิเสสนะ สุดแล้วแต่เนื้อความจะบังคับให้เป็นไป เมื่อความเข้า
|
|
09,0031,004,กับตัวไหนเหมาะกว่า ก็ควรแปลให้เข้ากับตัวนั้น อายตนิบาตที่ใช้มาก
|
|
09,0031,005,"ก็คือ ใน, ที่, เป็นต้น ดัง อุ. ว่า สมฺปนฺนานิ สสฺสานิ ยสฺนิ ยสฺมึ โส"
|
|
09,0031,006,สมฺปนฺนสสฺโส ชนปโท ข้าวกล้า ท. ในชนบทใด ถึงพร้อมแล้ว
|
|
09,0031,007,"ชนบทนั้น ชื่อว่ามีข้าวกล้าถึงพร้อมแล้ว, (ถ้าตัวประธานในวิเคราะห์"
|
|
09,0031,008,ต่างลิงค์กันกับบทประธานของบทปลง ก็ต้องเปลี่ยนรูปให้เหมือนประ-
|
|
09,0031,009,ธานของบทปลง) บางแห่งตัวประธานในวิเคราะห์เป็นอิตถีลิงค์ เมื่อ
|
|
09,0031,010,จะปลงให้เป็นวิเสสนะของ ปุํ. ท่านลง ก เข้าข้างท้ายบ้าง ดังนี้:-
|
|
09,0031,011,พหู นทิโย ยสฺมึ โส=พหุนทิโก ชนปโท แม่น้ำ ท. ใน
|
|
09,0031,012,ชนบทใด มาก ชนบทนั้น ชื่อว่ามีแม่น้ำมาก. นที ศัพท์ เดิมเป็น
|
|
09,0031,013,อิตถีลิงค์ เมื่อเป็นวิเสสนะของชนบทอันเป็น ปุํลิงค์ ท่านใช้ลง ก
|
|
09,0031,014,เข้าข้างท้าย.
|
|
09,0031,015,ในตัวอย่างที่แสดงมาแล้ว ตั้งแต่ ทุติยา ถึง สัตตมี พหุพพิหิ
|
|
09,0031,016,นี้ ตัวประธานของบทปลงเป็น ปุํลิงค์ อย่างเดียว เมื่อจะให้เป็นลิงค์
|
|
09,0031,017,อื่น ก็ต้องประกอบ ย ศัพท์และ ต ศัพท์ ให้มีลิงค์ตรงกัน เช่น:-
|
|
09,0031,018,สนฺตํ จิตฺตํ ยาย สา=สนฺตจิตฺตา ภิกฺขุนี จิต ของภิกษุณีใด
|
|
09,0031,019,สงบแล้ว ภิกษุณีนั้น ชื่อว่ามีจิตสงบแล้ว.
|
|
09,0031,020,พหูนิ ธนานิ ยสฺมึ ตํ=พหุธนํ กุลํ ทรัพย์ ท. ในสกุลใด
|
|
09,0031,021,มาก สกุลนั้น ชื่อว่ามีทรัพย์มาก.
|
|
|