|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
09,0030,001,ยสฺส โส=หตฺถจฺฉินฺโน ปุริโส มือ ท. ของบุรุษใดขาดแล้ว บุรุษ
|
|
09,0030,002,นั้นชื่อว่ามีมือขาดแล้ว.
|
|
09,0030,003,อนึ่ง ในฉัฏฐีพหุพพิหินี้ ในรูปวิเคราะห์ประกอบด้วยอุปมาก็มี
|
|
09,0030,004,เรียก ฉัฏฐีอุปมาพหุพพิหิ วิธีตั้งวิเคราะห์ต้องประกอบเจ้าของแห่ง
|
|
09,0030,005,สิ่งที่นำมาอุปมาเป็นฉัฏฐีวิภัตติ ตัวอุปมาเป็นปฐมาวิภัตติ มี อิว
|
|
09,0030,006,ศัพท์ต่อท้าย ตัวประธานในรูปวิเคราะห์อยู่ข้างหลัง เมื่อสมาสกันเข้า
|
|
09,0030,007,แล้ว ตัวอุปมาและ อิว ศัพท์ลบทิ้งเสีย คงไว้แต่ตัวเจ้าของแห่งสิ่งนั้น
|
|
09,0030,008,ดังนี้ สุวณฺณสฺส วณฺโณ อิว วณฺโณ ยสฺส โส=สุวณฺณวณฺโณ
|
|
09,0030,009,ภควา วรรณะของพระผู้มีพระภาคใด เพียงดังวรรณะแห่งทอง. สุวณฺณสฺส
|
|
09,0030,010,เป็นเจ้าของ วณฺโณ ตัวอุปมาที่มี อิว อยู่ข้างหลัง วณฺโณ ตัวอุปมา
|
|
09,0030,011,และอิวท่านลบเสีย คงได้แต่ สุวณฺณ ซึ่งเป็นเจ้าของตัวอุปมาเท่านั้น
|
|
09,0030,012,จึงเป็น สุวณฺณวณฺโณ รูปศัพท์เช่นนี้ ถ้าประธานในบทสมาสเอง
|
|
09,0030,013,ไม่ใช่คุณบทของศัพท์อื่น ก็ต้องเป็นฉัฏฐีตัปปุริสะ แม้อุทาหรณ์
|
|
09,0030,014,อื่น เมื่อนักศึกษาเห็นศัพท์มีรูปเช่นนี้ และเป็นคุณของบทอื่นแล้ว
|
|
09,0030,015,ก็เป็นฉัฏฐีอุปมาพหุพพิหิ เช่น อุ. ว่า พฺพหฺมุโน สโร อิว สโร ยสฺส
|
|
09,0030,016,โส=พฺรหฺมสโร ภควา เสียงของพระผู้มีพระภาคใด เพียงดังเสียง
|
|
09,0030,017,แห่งพรหม พระผู้มีพระภาคนั้น ชื่อว่ามีเสียงเพียงดังเสียงแห่งพรหม.
|
|
09,0030,018,สูกรสฺส สีสํ อิว สีสํ ยสฺส โส=สูกรสีโส เปโต ศีรษะของเปรตใด
|
|
09,0030,019,เพียงดังศีรษะแห่งสุกร เปรตนั้นชื่อว่ามีศีรษะเพียงดังศีรษะแห่งสุกร.
|
|
09,0030,020,ถ้าเข้าเป็นวิเสสนบุพพบทอีก ลบ สีสี เสีย คงไว้แต่ สูกรเปโต ก็ได้.
|
|
|