|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
09,0025,001,๖. พหุพพิหิ
|
|
09,0025,002,สมาสนี้ มีบทอื่นเป็นประธาน ไม่มีประธานในบทปลง ต้องหา
|
|
09,0025,003,บทอื่นมาเป็นประธาน รูปสำเร็จในบทปลงเป็นเพียงคุณนาม ฉะนั้น
|
|
09,0025,004,พหุพพิหิสมาสนี้ จึงเป็นสมาสคุณ ท่านแจกสมาสนี้เป็น ๖ อย่าง ตาม
|
|
09,0025,005,วิภัตติของ ย ศัพท์ ที่นำมาใช้ในรูปวิเคราะห์ ตั้งแต่ ทุติยาวิภัตติ
|
|
09,0025,006,จนถึง สัตตมีวิภัตติ คือ :-
|
|
09,0025,007,๑. ทุติยา พหุพพิหิ
|
|
09,0025,008,๒. ตติยา พหุพพิหิ
|
|
09,0025,009,๓. จตุตถี พหุพพิหิ
|
|
09,0025,010,๔. ปัญจมี พหุพพิหิ
|
|
09,0025,011,๕. ฉัฏฐี พหุพพิหิ
|
|
09,0025,012,๖. สัตตมี พหุพพิหิ
|
|
09,0025,013,ในวิเคราะห์แห่งสมาสเหล่านี้ บทประธานและบทวิเสสนะ มี
|
|
09,0025,014,วิภัตติวจนะและลิงค์เสมอกัน แปลกแต่บทสัพพนาม คือ ย ศัพท์ ที่
|
|
09,0025,015,นำมาประกอบในรูปวิเคราะห์ ซึ่งต้องประกอบวิภัตติไปตามชื่อของ
|
|
09,0025,016,สมาส คือจะเป็นทุติยา ก็ต้องประกอบ ย ศัพท์เป็นทุติยาวิภัตติเป็นต้น
|
|
09,0025,017,และประกอบลิงค์ของ ย ศัพท์นั้นตามบทประธาน ซึ่งจะนำมาใช้ใน
|
|
09,0025,018,บทปลงของวิเคราะห์ ซึ่งเรียกว่าอัญญบท ส่วนปฐมาพหุพพิหิ ไม่
|
|
09,0025,019,ค่อยมีใช้ เพราะมีเนื้อความเหมือนกัมมาธารยะบางอย่าง ดังที่ท่าน
|
|
09,0025,020,แสดงอุทาหรณ์ไว้ในสัททสารัตถชาลินีว่า กากสูโร คนกล้าเพียงดังกา
|
|
09,0025,021,สีหสูโร คนกล้าเพียงดังสีหะ ทั้ง ๒ ศัพท์นี้ เป็นปฐมาพหุพพิหิ แต่
|
|
|