buddhist-theology / 12 /120044.csv
uisp's picture
initial upload
6bd72a3
raw
history blame
3.98 kB
Book,Page,LineNumber,Text
12,0044,001,<B>ชุติยา ขนฺธาทิเภเท ธมฺเม โชเตตฺวา €ิตา</B> ก็พึงทราบว่า ถ้าไม่ใช่ ชุติ
12,0044,002,เป็นกรณสาธนะ [ โดยแปลว่าเครื่องรุ่งเรือน ] แต่ใช้เป็นภาวสาธนะ
12,0044,003,[ โดยแปลว่าการรุ่งเรือง ] อรหตฺตมคฺคญฺาณชุติยา ก็กลายเป็นตติยา
12,0044,004,วิเสสน [ และต้องแปลว่าโดยการรุ่งเรืองเพราะอรหัตตมรรคญาณ ].
12,0044,005,[ ๔ ] บทภาวสาธนะ ที่มีธาตุเหมือนกับธาตุแห่งกิริยาข้างหลัง
12,0044,006,เช่นนี้ เรียกว่าใช้ซ้ำกับกิริยาข้างหลัง ดังที่กล่าวแล้วในตอนที่ว่าด้วย
12,0044,007,กิริยาวิเสสน ใน ทุติยาวิภัตติ. บทเช่นนี้ พึงทราบว่า ท่านใช้
12,0044,008,ประกอบด้วย ทุติยาวิภัตติบ้าง ตติยาวิภัตติบ้าง ถ้าประกอบด้วย
12,0044,009,"ทุติยาวิภัตติ ก็เรียกว่า กิริยาวิเสสน, ถ้าประกอบด้วย ตติยาวิภัตติ"
12,0044,010,ก็เรียกว่า ตติยาวิเสสน และเข้ากับกิริยาข้างหลังที่ซ้ำกันนั้น.
12,0044,011,บทซ้ำเช่นนี้ เรียกว่าตติยาวิเสสน เพราะเป็นบท ตติยาวิภัตติ
12,0044,012,ที่ระบุทางดำเนินของกิริยาข้างหลัง เช่น <B>ป€มคมเนน...คนฺตฺวา</B> ที่แสดง
12,0044,013,แล้ว <B>คนฺตฺวา</B> อาจหมายถึงไปครั้งไหน ๆ ก็ได้ แต่ <B>ป€มคมเนน</B>
12,0044,014,ระบุให้อยู่ในขอบเขตของการไปครั้งแรกเท่านั้น มิใช่ครั้งไหน ๆ.
12,0044,015,"[ ๕ ] บางบท มีรูปเป็นภาวสาธนะ แต่ถ้าใช้หมายถึงข้อปฏิบัติ,"
12,0044,016,ธรรมหรือสภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง มิใช่เป็นกิริยาอาการตามปกติ เช่น
12,0044,017,นี้ แม้จะมีธาตุซ้ำกับกิริยาข้างหลัง ก็มิใช่ตติยาวิเสสน เช่น <B>ปญฺจหิ
12,0044,018,วิมุตฺตีหิ วิมุตฺตานํ</B> [ โคธิกตฺเถรปรินิพฺพาน. ๓/๘๙ ] ถ้าเพ่งความ
12,0044,019,ว่า <B>วิมุตฺตหํ</B> เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ก็เป็นกรณ ใน <B>วิมุตฺตานํ</B>
12,0044,020,จัดเข้าในพวกกรณที่ใช้เป็นเครื่องพิกัด หรือกำหนดตามที่กล่าวแล้ว
12,0044,021,แปลว่า 'หลุดพ้นด้วยวิมุตติ ๕.'