|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
04,0191,001,ปัจจัยแห่งนามกิตก์
|
|
04,0191,002,(๑๓๔) ปัจจัยที่สำหรับประกอบนามกิตก์นั้น จัดเป็น ๓ พวก
|
|
04,0191,003,คือ กิตปัจจัย สำหรับประกอบกับศัพท์ที่เป็นกัตตุรูปอย่างเดียว ๑
|
|
04,0191,004,กิจปัจจัย สำหรับประกอบกับศัพท์ที่เป็นกัมมรูปและภาวรูป ๑
|
|
04,0191,005,กิตกิจจปัจจัย สำหรับประกอบกับศัพท์แม้ทั้ง ๓ เหล่า ๑.
|
|
04,0191,006,"๑) กิตปัจจัย อย่างนี้ :- <B>กฺวิ, ณี, ณฺวุ, ตุ, รู.</B>"
|
|
04,0191,007,"๒) กิจจปัจจัย อย่างนี้ :- <B>ข, ณฺย.</B>"
|
|
04,0191,008,"๓) กิตกิจจปัจจัย อย่างนี้:- <B>อ, อิ, ณ, ตเว, ติ, ตุํ, ยุ.</B>"
|
|
04,0191,009,ในบาลีไวยากรณ์นี้ ข้าพเจ้าจะเลือกคัดเอาแต่ปัจจัยที่ใช้เป็น
|
|
04,0191,010,"สาธารณะทั่วไปแก่ธาตุทั้งปวง มาสำแดงในที่นี้, ส่วนปัจจัยที่จำเพาะ"
|
|
04,0191,011,ธาตุบางตัว ไม่สาธารณะแก่ธาตุอื่น จะยกไว้สำแดงในหนังสืออื่น.
|
|
04,0191,012,อนึ่ง การจัดปัจจัยเป็นพวก ๆ อย่างนี้ ในคัมภีร์ศัพทศาสตร์
|
|
04,0191,013,ทั้งหลายไม่ยืนลงเป็นแบบเดียวกันได้ มักเถียงกัน เพราะฉะนั้น การ
|
|
04,0191,014,ร้อยกรองหนังสือนี้ ต้องอาศัยความที่ผู้แต่งเห็นชอบเป็นประมาณ.
|
|
04,0191,015,วิเคราะห์แห่งนามกิตก์
|
|
04,0191,016,แต่นี้จะตั้งบทวิเคราะห์ เพื่อจะสำแดงสาธนะและปัจจัยที่กล่าว
|
|
04,0191,017,มาแล้วข้างต้น พอเป็นหลักฐานที่กำหนดของกุลบุตรสืบไป :-
|
|
|